ไมโครซอฟท์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ MariaDB Foundation โดยเป็นสมาชิกระดับสูงสุด (Platinum Member) มีศักดิ์ฐานะเท่ากับ Booking.com, Alibaba Cloud, Tencent Cloud
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ระบุว่า ต้องการสนับสนุนการใช้งาน MariaDB บน Azure ให้เต็มที่ จึงเข้ามาสนับสนุนโครงการ MariaDB โดยตรงในฐานะสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการ
แนวทางของไมโครซอฟท์คือสนับสนุนฐานข้อมูลที่หลากหลายบน Azure จึงรองรับทั้ง SQL Server, MySQL, MariaDB แต่ช่วงหลังลินุกซ์ดิสโทรส่วนใหญ่เริ่มขยับจาก MySQL มาเป็น MariaDB ก็ทำให้ไมโครซอฟท์เริ่มปรับทิศทางมาสนับสนุน MariaDB แทน
ไมโครซอฟท์จะออก Azure Database for MariaDB เวอร์ชันโฮสต์บนคลาวด์ในเร็วๆ นี้
Google Cloud Spanner บริการระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) ที่มั่นคงและรองรับการขยายตัวได้ดีจาก Google ได้ออกอัพเดตล่าสุด โดยรองรับระบบ multi-region ซิงค์ข้อมูลข้ามทวีปโดยอัตโนมัติ รวมถึงปรับปรุง Service Level Agreement ใหม่
MariaDB Corporation บริษัทผู้พัฒนาฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส MariaDB ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่ Series C จำนวน 27 ล้านดอลลาร์
บริษัทที่เป็นผู้นำของการลงทุนรอบนี้คือ Alibaba แต่ก็มีบริษัทอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ Intel Capital, California Technology Ventures, Tesi, SmartFin Capital, Open Ocean
ก่อนหน้านี้ MariaDB ยังได้เงินลงทุนจาก European Investment Bank (EIB) จำนวน 27 ล้านดอลลาร์เท่ากัน ทำให้ปีนี้ MariaDB ได้เงินไปแล้ว 54 ล้านดอลลาร์
การเข้ามาลงทุนของ Alibaba เป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่าง MariaDB กับ Alibaba Cloud แนบแน่นยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองบริษัทเคยร่วมกันพัฒนา AliSQL หรือ MariaDB เวอร์ชันรันบนคลาวด์ Alibaba Cloud มาก่อนแล้ว
แม้ MySQL จะเป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่บั๊กบางอย่างก็ใช้เวลาแก้ไขนานอย่างไม่น่าเชื่อ ในเวอร์ชั่น 8.0.3 (สถานะเป็น release candidate 1 ของรุ่น 8.0) ทาง MySQL ก็ได้แก้บั๊กหมายเลข 199 ที่เปิดมาตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2003 หรือประมาณ 14 ปีกับอีก 6 เดือนมาแล้ว
บั๊กหมายเลข 199 เป็นปัญหาของระบบ auto_increment เมื่อใช้กับตารางที่เป็น innodb โดยหมายเลขสูงสุดที่เคยถูกใช้งานจะไม่ถูกจำไว้ หากมีการรีสตาร์ตตัวเซิร์ฟเวอร์ใหม่ ทำให้มีปัญหาการใช้หมายเลขซ้ำในกรณีที่มีการลบ record ล่าสุดออกไปแล้วรีสตาร์ต
ฐานข้อมูล PostgreSQL ออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการขยับเลขเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่ออก PostgreSQL 9.0 ในปี 2010
หมายเหตุ: ที่ผ่านมา PostgreSQL 9.x ถือเป็นรุ่นใหญ่ (major) ทุกรุ่น แต่นับจากนี้ไปจะเปลี่ยนมาใช้เลขเวอร์ชันแบบ x.y โดย x คือรุ่นใหญ่ y คือรุ่นย่อย เหมือนอย่างซอฟต์แวร์ปกติ
ของใหม่ใน PostgreSQL 10.0 มีหลายอย่าง ดังนี้
ของใหม่อีกอย่างในงาน Oracle OpenWorld 2017 คู่มากับฐานข้อมูล Oracle Database 18c (เลขเวอร์ชันก้าวกระโดดอย่างลึกลับ) คือเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล Oracle Exadata รุ่นใหม่ X7
Exadata คือเซิร์ฟเวอร์กลุ่มที่เรียกว่า Engineered System ปรับแต่งมาอย่างดีโดยวิศวกรของ Oracle ว่ารีดประสิทธิภาพของฐานข้อมูล Oracle Database ได้ดีที่สุด
Larry Ellison ซีทีโอของ Oracle เปิดเผยรายละเอียดของฐานข้อมูลใหม่เวอร์ชัน 18c โดยจะใช้ machine learning เรียนรู้จากข้อมูลบันทึกที่เก็บไว้ และสามารถทำงานด้านการป้องกันข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลได้อัตโนมัติ มีจุดประสงค์หลักเพื่อลดงานของผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ไปทำงานในด้านอื่นแทนอย่างเช่นการวางแผนและความปลอดภัย
การใช้ machine learning ในฐานข้อมูลนั้น เพื่อเป็นการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของฐานข้อมูลในงานที่ใช้บ่อย ๆ ผ่านการ caching, indexing และเทคนิคอื่น ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ใครที่ขโมย credential ไปเข้าถึงข้อมูลธุรกิจได้ และยังสามารถลดหรือเพิ่มการคำนวณหรือปริมาณข้อมูลที่ใช้ได้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ประกาศ SQL Server 2017 เข้าสถานะ GA (general availability) ในวันที่ 2 ตุลาคม โดยมีให้ใช้งานบน 3 แพลตฟอร์มคือ Windows, Linux, Docker
เนื่องจาก SQL Server 2017 เป็นฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ตัวแรกที่รันได้บนลินุกซ์ ไมโครซอฟท์จึงจับมือกับ Red Hat เปิดให้ใช้งานบน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) พร้อมให้ส่วนลด 30% ด้วย และถ้าหากลูกค้ามีไลเซนส์ SQL Server อยู่แล้ว และซื้อไลเซนส์ RHEL เพิ่มก็จะได้ส่วนลดจาก Red Hat อีก 30%
ส่วนการใช้งานบน Docker ที่เปิดทดสอบมาเกือบปี ก็เข้าสถานะ GA เช่นกัน โดยสามารถใช้งานบน Docker Enterprise Edition อย่างเป็นทางการ
กูเกิลประกาศว่าฐานข้อมูล Cloud Spanner ภายใต้บริการ Google Cloud Platform เข้าสถานะตัวจริง (GA หรือ General Availability) แล้ว หลังจากทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
Cloud Spanner คือระบบฐานข้อมูลที่กระจายตัวอยู่ทั้งโลก ไม่ใช่แค่ทำสำเนาไว้ในศูนย์ข้อมูลเพียงไม่กี่แห่งในภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น เทคโนโลยีนี้พัฒนาจากงานวิจัยของกูเกิลในปี 2012 ที่พยายามแก้ปัญหาเรื่อง latency หรือเวลาหน่วงของข้อมูลที่อยู่ห่างกันคนละซีกโลก
ที่งาน BUILD ปีนี้ไมโครซอฟท์ประกาศการอัพเดต Azure ด้วยความสามารถใหม่หลายอย่าง ที่เปิดเผยมาวันนี้คือการควบคุม Azure ด้วย bash จากบนเว็บโดยตรงโดยไม่ต้องล็อกอิน SSH แต่อย่างใด โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบนเว็บ, แอนดรอยด์, และ iOS
บริการด้านฐานข้อมูล database-as-a-service ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการ PostgreSQL และ MySQL เพิ่มเติมจากเดิมมีเฉพาะเอนจิน SQL Server ทำให้ตอนนี้ Azure รองรับฐานข้อมูลโอเพนซอร์สหลักสองตัวเช่นเดียวกับ AWS ที่รองรับมากที่สุด (มี Oracle และ Aurora เพิ่มมา) ขณะที่ Google Cloud รองรับเฉพาะ MySQL และ PostgreSQL แต่ไม่รองรับ SQL Server
ที่งาน Build 2017 ไมโครซอฟท์เปิดตัวฐานข้อมูล SQL Server 2017 ตัวจริง หลังจากออกรุ่นพรีวิวมาตั้งแต่เดือนเมษายน
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ SQL Server 2017 มีสามอย่าง ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศปล่อย SQL Server 2017 Community Technology Preview 2.0 ให้นักพัฒนาได้ลองใช้งานกันก่อน โดยเพิ่มฟีเจอร์หลักสองอย่างได้แก่การปรับปรุงการคิวรี และการรองรับภาษา Python ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ฟีเจอร์ Adaptive Query Processing จะเพิ่มไว้ใน SQL Server 2017 แต่ในเวอร์ชั่น CTP 2.0 ก็เพิ่มฟีเจอร์ย่อยเพื่อให้ปรับปรุงประสิทธิภาพได้เองเพิ่มขึ้นในบางกรณี
อีกฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับภาษา Python ได้ในตัว โดยสามารถฝังไปกับ T-SQL เพื่อแปลงข้อมูลและประมวลผลได้เลย นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังใส่ฟังก์ชั่นการประมวลผลแบบขนานให้เรียกใช้จากโค้ด Python ได้อีกด้วย
ดาวน์โหลดแล้วแล้วทั้งบนวินโดวส์, ลินุกซ์, และ Docker
MongoDB อาจเป็นฐานข้อมูลสาย NoSQL ยอดนิยม แต่พอมาถึงยุคของคลาวด์ ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AWS ก็มีผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล NoSQL ของตัวเองในชื่อว่า DynamoDB
ล่าสุด AWS เพิ่มบริการย้ายฐานข้อมูล Database Migration Service (DMS) ให้เราสามารถย้ายข้อมูลจาก MongoDB ขึ้นมาเก็บบน DynamoDB ได้โดยตรงแล้ว
ที่ผ่านมา บริการย้ายฐานข้อมูล DMS ของ AWS รองรับเฉพาะการย้ายฐานข้อมูลแบบ relational database (เช่น Oracle, Microsoft SQL Server, MySQL, MariaDB, PostgreSQL) ไปยังฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันบนคลาวด์ หรือย้ายข้อมูลจาก data warehouse ยี่ห้อต่างๆ ไปยัง Amazon Redshift
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ฐานข้อมูล Access 2016 คือการรองรับตัวเลขขนาดใหญ่ (ชื่อในทางเทคนิคคือ BigInt แต่ใน Access จะเรียก Large Number) ช่วยให้การทำงานร่วมกับฐานข้อมูลตระกูล SQL ที่รองรับตัวแปรชนิด BigInt อยู่แล้วทำได้สะดวกขึ้น นำเข้าข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นมาใช้งานกับ Access ได้ง่ายขึ้น
BigInt คือเลขจำนวนเต็ม (integer) ที่ขนาด 64 บิท ตัวเลขแบบเป๊ะๆ คือ -2^63 (-9,223,372,036,854,775,808) ไปจนถึง 2^63-1 (9,223,372,036,854,775,807) มีขนาดใหญ่กว่า Int แบบปกติที่เก็บข้อมูลแบบ 32 บิทมาก
ปกติแล้วเรามักใช้โปรแกรมแบบ Visio วาดแผนผังโครงสร้าง-ความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล (database structure) ก่อนนำไปสร้างฐานข้อมูลจริงๆ อีกที แต่ในหลายสถานการณ์ เราอาจได้รับมอบฐานข้อมูลเก่าที่ไม่มีข้อมูลโครงสร้างหลงเหลืออยู่
ไมโครซอฟท์แก้ปัญหานี้โดยออกส่วนขยายตัวใหม่ชื่อ Database Modeling ให้กับ Visio Pro for Office 365 ที่สามารถเชื่อมต่อไปอ่านฐานข้อมูล แล้วแปลงกลับมาเป็นแผนภาพให้เราอัตโนมัติ (ไมโครซอฟท์เรียกกระบวนการนี้ว่า reverse engineering)
Visio Database Modeling รองรับฐานข้อมูลหลายยี่ห้อ ทั้ง SQL Server ของไมโครซอฟท์เอง, MySQL และ Oracle ผลลัพธ์ที่ได้สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลเรียลไทม์ ถ้าหากฐานข้อมูลเปลี่ยน แผนผังใน Visio จะอัพเดตตามให้ทันที
Google ประกาศเปิดตัวระบบบริการจัดการฐานข้อมูลแบบใหม่เรียกว่า Cloud Spanner ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านระบบ Google Cloud Platform โดยออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูลที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก แต่สำหรับงานทั่วๆ ไปแล้ว ข้อมูลจะกระจายอยู่ในศูนย์ข้อมูล 3-5 แห่งภายในภูมิภาคเดียวกันเท่านั้น
Cloud Spanner เป็นการใช้งานจริงของ Spanner ที่ Google เคยเขียนเอกสารไว้ตั้งแต่ปี 2012 และใช้งานในบริษัทกันมานับปี ตัวระบบรองรับภาษา SQL, ระบบ tranctions แบบกระจายตัว และ ACID (atomicity, consistency, isolation, durability) อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ง่าย เนื่องจากรองรับเครื่องมือและภาษาทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกับฐานข้อมูลแบบ relational ด้วย
เราเห็นข่าวฐานข้อมูล MongoDB และ Hadoop โดนเจาะกันไปแล้ว ฐานข้อมูลรายล่าสุดที่หนีไม่พ้นชะตากรรมนี้คือ CouchDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ชื่อดังอีกราย ที่มีรายงานว่าโดนเจาะไปแล้ว 450 เครื่องแล้ว
รูปแบบการเจาะก็คล้ายกันคือเป็น CouchDB ที่ต่อตรงออกอินเทอร์เน็ตและไม่ได้ตั้งรหัสผ่านไว้ (หรือเดารหัสผ่านได้ง่าย) โดยแฮ็กเกอร์ใช้วิธีเรียกค่าไถ่ข้อมูลเป็นเงิน 0.1 BTC (เทียบอัตราปัจจุบันคือประมาณ 100 ดอลลาร์)
มีรายงานว่าฐานข้อมูล MongoDB จำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตถูกเจาะ โดยแฮ็กเกอร์ลบข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลเดิมออก และเรียกค่าไถ่ข้อมูลที่ขโมยออกไป
ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดว่า ฐานข้อมูล MongoDB ที่ได้รับผลกระทบมีจำนวนเท่าไรกันแน่ แถมจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขล่าสุดคือ 2,000 แห่ง ผู้ที่เจาะฐานข้อมูลเป็นรายแรกใช้นามแฝงว่า “Harak1r1” โดยเรียกค่าไถ่จำนวน 0.2 BTC (ประมาณ 220 ดอลลาร์หรือ 8,000 บาท) แต่เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป ก็มีแฮ็กเกอร์รายอื่นๆ มาร่วมเจาะ MongoDB อีกเช่นกัน
AWS เปิดตัวบริการใหม่ด้านฐานข้อมูลอีกสองตัว ได้แก่ PostgreSQL for Aurora และ Athena บริการคิวรีจาก S3
AWS ระบุว่า PostgreSQL for Aurora จะประสิทธิภาพดีกว่า PostgreSQL หลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ Aurora รุ่นเดิมที่เป็น MySQL
อีกด้านของระบบการจัดการข้อมูลองค์กร AWS เปิดบริการ Athena บริการคิวรีข้อมูลจาก S3 ด้วยคำสั่ง SQL โดยตรง เป็นบริการที่สามต่อจาก Redshift และ EMR ความแตกต่างคือบริการนี้ผู้ใช้ไม่ต้องสร้างคลัสเตอร์ขึ้นมารันคิวรี แต่สามารถสั่งรันได้โดยตรง โดยคิดค่าบริการรายครั้งไป
เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์ช็อควงการฐานข้อมูลด้วยข่าว SQL Server บนลินุกซ์ เวลาผ่านมาครึ่งปีกว่า วันนี้ SQL Server เวอร์ชันลินุกซ์ออกรุ่นพรีวิวตัวแรกให้คนทั่วไปลองใช้งานแล้ว (ก่อนหน้านี้ทดสอบแบบ private preview)
SQL Server บนลินุกซ์จะเป็นส่วนหนึ่งของ SQL Server เวอร์ชันถัดไป (ตอนนี้ยังไม่ระบุเวอร์ชัน ใช้โค้ดเนมว่า SQL Server Next) ตอนนี้มีแพ็กเกจแบบ RPM สำหรับ Red Hat Enterprise และ APT สำหรับ Ubuntu แล้ว ส่วน SUSE Linux จะตามมาในภายหลัง สิ่งที่น่าสนใจคือ SQL Server บนลินุกซ์สามารถรันบน Docker ได้เลย ดังนั้นเราสามารถนำมันไปรันบน macOS ผ่าน Docker อีกทีได้เช่นกัน
ศูนย์ข้อมูลของศาลสูงจีน (Supreme People's Court) ประกาศจัดตั้งฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อนำแฟ้มคดีทั้งหมดในประเทศขึ้นไปไว้บนคลาวด์ โดยปัจจุบันมีแฟ้มคดีอยู่บนฐานข้อมูลแล้วราว 91 ล้านคดี
Wang Lansheng รองผู้อำนวยของศูนย์ข้อมูลเผยว่า ศาลใช้เวลากว่า 3 ปีในการรวบรวมแฟ้มคดีจากทั่วประเทศ ทั้งคดีใหม่, คดีเก่า คดีที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา และแฟ้มคดีเก่า (archived case) โดยในแต่ละวันมีแฟ้มคดีถูกเพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูลราว 50,000-60,000 คดี
รอง ผอ. เผยว่าบนฐานข้อมูลแฟ้มคดีถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 แพลตฟอร์ม โดยหนึ่งในนั้นเอาไว้สำหรับค้นหาแฟ้มคดี และอีกหนึ่งแพลตฟอร์มเอาไว้สำหรับค้นหาบทลงโทษทางอาญากรรมต่างๆ รวมถึงหารายชื่อบุคคลที่ถูกทางการแบล็คลิสต์ไว้
Google Cloud Platform ประกาศข่าวผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูล เข้าสถานะ GA (general availability) พร้อมใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ และให้บริการตามเงื่อนไข Service Level Agreements (SLAs) ดังนี้
Evan Klitzke จาก Uber เขียนบล็อกเล่าถึงสถาปัตยกรรมภายในของ Uber ที่แต่เดิมพัฒนาระบบหลังบ้านด้วย Python และ PostgreSQL ทั้งระบบ แต่ระบบใหม่ๆ กลับหันไปใช้ Schemaless บน MySQL แทน
เมื่อต้นสัปดาห์ MariaDB ออกรุ่นอัพเดตย่อย 10.1.16 แต่สำหรับคนไทยรุ่นนี้มีความสำคัญเพราะระบบการเรียงข้อความภาษาไทยเป็นไปตามหลักภาษาไทยแล้ว
ปัญหาการเรียงลำดับภาษาไทยเป็นข้อจำกัดของระบบฐานข้อมูลหลายตัว เพราะภาษาไทยไม่ได้เรียงตามลำดับตัวอักษรโดยตรงแต่เรียงตามพยัญชนะ เช่น "กา", "ขา", "เก" ควรเรียงเป็น "กา", "เก", "ขา" ตามลำดับ
EnterpriseDB (EDB) หรือรุ่นการค้าของ PostgreSQL ผ่านมาตรฐาน Security Technical Implementation Guide (STIG) ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เป็นแบรนด์ที่สาม ตามหลัง Oracle และ Microsoft SQL Server และนับเป็นระบบฐานข้อมูลโอเพนซอร์สตัวแรกที่ผ่านมาตรฐานนี้
มาตรฐาน STIG กำหนดเงื่อนไขกว่าร้อยรายการ แต่รายการตรวจสอบเป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้นไม่เปิดเผยสำหรับบุคคลทั่วไป เอกสารแนะนำ STIG ระบุเพียงเงื่อนไขกว้างๆ เช่น ต้องรองรับการตรวจสอบย้อนกลับ (audit), มีระบบสำรองข้อมูล, มีกระบวนการป้องกันข้อมูล, เข้ารหัสข้อมูลทั้งขณะส่งข้อมูลและขณะที่ข้อมูลอยู่ในดิสก์ ฯลฯ