ไมโครซอฟท์ออก SQL Server 2016 รุ่น Community Technology Preview 3.0 ซึ่งถือเป็นรุ่นที่มีฟีเจอร์สำคัญครบถ้วน (หลังจากนี้เน้นแก้บั๊ก)
ฟีเจอร์สำคัญของรุ่นนี้คือรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยภาษา R (SQL Server R Services) ที่ใช้กันแพร่หลายในวงการวิจัย ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยตรง (data in-database) หรือดึงข้อมูลออกมาวิเคราะห์บนเครื่องอื่นก็ได้ นอกจากนี้ คนที่มีโค้ดภาษา R อยู่แล้วยังสามารถดึงข้อมูลออกมารันด้วย T-SQL ได้ด้วย
ออราเคิลประกาศแผนการออกซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล Oracle Database 12c Release 2 (หรือเรียกเป็นเลขเวอร์ชันว่า 12.2) โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทดสอบรุ่นเบต้าแล้ว
ของใหม่ใน Oracle Database 12c Release 2 ได้แก่
เข้ามาเล่นในตลาดสตอเรจแฟลชอย่างจริงจังสำหรับ Oracle หลังจากเมื่อต้นปีเพิ่งเปิดตัว FS1 รุ่นไฮบริดไปก่อน ก็ถึงคิวเปิดตัวเวอร์ชันแฟลชล้วนมาบ้างเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พร้อมกับเปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
สเปคตัวคอนโทรลเลอร์ของ FS1 รุ่นแฟลชล้วนจะเท่ากับรุ่นไฮบริดแทบทุกอย่าง ซีพียูเป็น Xeon E5-2620 หกคอร์ความถี่ 2GHz (รวมเป็น 24 คอร์) ใส่แรมได้สูงสุด 384GB รองรับ SSD ความจุสูงสุด 912TB แต่ถ้าใช้ SSD แบบเน้นประสิทธิภาพสูงจะอยู่ที่ 156TB
Bloomberg Business รายงานว่าสัดส่วนลูกค้าใหม่ของฐานข้อมูล Oracle Database เริ่มลดลง ถึงแม้ว่าฐานลูกค้าเก่าจะเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นสัญญาณว่าฐานข้อมูล Oracle Database เริ่มถูกชิงส่วนแบ่งตลาดโดยฐานข้อมูลโอเพนซอร์สที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า
Bloomberg ลองสำรวจข้อมูลจากสตาร์ตอัพหน้าใหม่ที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ จำนวน 20 ราย (ในจำนวนนี้มี Cloudflare และ Pinterest) พบว่าบริษัทเกือบทั้งหมดใช้ฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส มีหนึ่งรายที่ใช้ Microsoft SQL Server และไม่มีรายไหนใช้ Oracle Database เลย
ไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายความสามารถใหม่ของ SQL Server 2016 ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลรุ่นถัดไป ที่เตรียมจะออกรุ่นพรีวิวในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์แรกคือ Always Encrypted ผู้ใช้ที่ต้องการความปลอดภัยสูง สามารถเข้ารหัสข้อมูลบางฟิลด์ในฐานข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยแยกเก็บกุญแจไว้ในสภาพแวดล้อมที่เชื่อถือได้ (trusted environment)
กูเกิลเปิดตัวบริการฐานข้อมูล Google Cloud Bigtable ที่สร้างมาจากระบบ Bigtable ที่กูเกิลใช้งานภายในมาเป็นเวลานาน มีข่าวว่ากูเกิลอาจจะเปิดบริการนี้สู่ภายนอกมาตั้งแต่ปี 2008 ตอนนี้ก็เปิดบริการจริงแล้ว
Google Cloud Bigtable จะใช้ API เดียวกับ Apache HBase ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาสำหรับใช้งานภายในกันอยู่แล้วน่าจะย้ายมาทำงานบนแพลตฟอร์มของกูเกิลได้ไม่ยาก
กูเกิลโชว์ความสามารถของ Google Cloud Bigtable ว่าคุ้มค่ากว่าการติดตั้งระบบฐานข้อมูลเองมากเพราะได้ประสิทธิภาพต่อราคาที่ดีกว่าหลายเท่าตัว โดยเฉพาะประสิทธิภาพการอ่านฐานข้อมูล
มีรายงานว่าแอปเปิลเข้าซื้อ FoundationDB บริษัทที่มีจุดเด่นด้านการปรับแต่งฐานข้อมูล NoSQL ให้รวดเร็ว และทนทานต่อการโจมตี โดยไม่ระบุวงเงินแล้ว
ดีลดังกล่าวถูกพบหลังจากมีคนไปเห็นว่า FoundationDB ยกเลิกการให้ดาวน์โหลดตัวฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ โดยคาดการณ์กันว่าการเข้าซื้อครั้งนี้ของแอปเปิลเพื่อนำเทคโนโลยีของ FoundationDB (หรือทีมงาน) ไปเสริมบริการที่ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของแอปเปิลเองทั้ง iTunes, AppStore และ iCloud รวมถึงอาจเกี่ยวข้องกับแผนให้บริการสตรีมรายการทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีข่าวลือมาไม่นาน
ไมโครซอฟท์ประกาศของใหม่ในตระกูล Azure หลายอย่างดังนี้
MongoDB เป็น NoSQL ประเภท Document-oriented database ที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาแอปพลิเคชันและบริษัทไอทีเป็นอย่างมาก ตอนนี้ได้ออกรุ่น 3.0 แล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านประสิทธิภาพหลักๆ ดังนี้
เมื่อไปช่วงสัปดาห์ก่อน ทาง Oracle เพิ่งจัดงาน showcase เทคโนโลยีในประเทศไทยซึ่งมีผู้บริหารแถบเอเชียแปซิฟิกมาให้ข้อมูลด้วย ในการพูดคุยครั้งนี้ได้พูดถึง Oracle FS1 ตู้ SAN แบบไฮบริดที่ทำผลงานได้ในระดับเดียวกับตู้ที่ใช้หน่วยความจำแฟลชล้วนๆ
ในส่วนของฮาร์ดแวร์ FS1 ตัวคอนโทรลเลอร์ใช้ซีพียู Intel E5-2620 สี่ตัว (เป็น 24 คอร์ที่ความถี่ 2GHz) แรม 64GB-384GB รองรับกล่องใส่ไดร์ฟขนาด 2U สูงสุด 30 ตัว ทำความจุ SSD ได้สูงสุด 912TB และได้ความจุฮาร์ดดิสก์สูงสุดที่ 2.9PB รายละเอียดด้านพอร์ตอื่นๆ สามารถดูได้จากเอกสารจากเว็บทางการครับ
Oracle เปิดตัวฮาร์ดแวร์ปรับแต่งพิเศษ (Engineered System) ตัวใหม่ในชื่อยาวเฟื้อยว่า Zero Data Loss Recovery Appliance หรือชื่อสั้นๆ ว่า Recovery Appliance โดยประโยชน์ของมันคือใช้สำรองและกู้คืนฐานข้อมูล Oracle โดยเฉพาะ
Recovery Appliance เหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้ฐานข้อมูล Oracle อยู่แล้ว และต้องการหาวิธีสำรองและกู้คืนข้อมูลที่มีต้นทุนการดูแลรักษาน้อยๆ โดยเครื่องนี้เครื่องเดียวสามารถสำรองและกู้คืนฐานข้อมูลได้ "หลักพัน" นอกจากนี้มันยังมีประสิทธิภาพสูงในการสำรอง-กู้คืนฐานข้อมูล (สำรองข้อมูลเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม) และรองรับการถ่ายข้อมูลลงเทปด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure DocumentDB ฐานข้อมูลแบบ NoSQL ที่ออกแบบมาเพื่องานด้านเอกสารโดยเฉพาะ โดยนำเอาฟีเจอร์ของฐานข้อมูลแบบ NoSQL มาผสมกับความสามารถด้าน transaction และภาษา query ของฐานข้อมูลแบบ relative ดั้งเดิมเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย
ไมโครซอฟท์เลือกเปิดบริการ DocumentDB ผ่านกลุ่มเมฆ (database-as-a-service) เพื่อชูจุดขายด้านประสิทธิภาพ และการทำ replication แบบข้ามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ตอนนี้ DocumentDB ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว รองรับภาษาโปรแกรมหลายตัวคือ .NET, Node.js, JavaScript, Python
ออราเคิลเปิดตัว "ฐานข้อมูลในหน่วยความจำ" Oracle Database In-Memory มาตั้งแต่ปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) วันนี้ออราเคิลจัดงานเปิดตัวอีกรอบก่อนวางขายสินค้าจริงเดือนหน้า
จุดเด่นของการนำฐานข้อมูลมาอยู่ในหน่วยความจำคือประสิทธิภาพในการประมวลผล โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถประมวลผลได้ทั้งแนว column หรือ row พร้อมกัน (ออราเคิลคุยว่ารันแอพพลิเคชันของบริษัทเอง เช่น PeopleSoft หรือ Siebel ได้เร็วขึ้น 100-1,000 เท่า) และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้เลย (real-time data analysis)
บริษัท Couchbase ผู้พัฒนาฐานข้อมูลแบบ NoSQL ประกาศออก Couchbase Mobile 1.0 ฐานข้อมูล NoSQL เวอร์ชันที่ทำงานได้บนอุปกรณ์พกพา (โครงการนี้พัฒนามาตั้งแต่ปี 2010)
โปรแกรมในชุด Couchbase Mobile ประกอบด้วย
หลังจาก SQL Server 2014 เข้าสถานะ RTM เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ก็จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ รายละเอียดฟีเจอร์อ่านได้ในข่าวเก่า สามารถดาวน์โหลดรุ่น Express มาใช้งานได้ฟรีเช่นเดิม
ที่น่าสนใจกว่าคือในงานเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลใหม่อีก 2 ตัว
MariaDB ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สที่แยกโครงการมาจาก MySQL ประกาศออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการนับเวอร์ชันแบบใหม่ของตัวเองเป็นครั้งแรก (เวอร์ชันก่อนหน้านี้คือ 5.5 ซึ่งนับตามแบบ MySQL)
ของใหม่ใน MariaDB 10 ได้แก่
SAP เปิดตัวโมเดลการใช้ระบบฐานข้อมูลในหน่วยความจำ HANA ให้เช่าใช้งานรายเดือน โดยให้ลูกค้าสามารถซื้อได้สามรูปแบบ คือ Infrastructure Services เช่าเฉพาะเซิร์ฟเวอร์และใช้ไลเซนส์ที่มีอยู่แล้วมารันบนโครงสร้างของ SAP, DB Service มาพร้อมกับไลเซนส์ HANA สามารถเช่าใช้งานได้เลย, App Service วางแอพพลิเคชั่นบนโครงสร้างของ SAP สามารถขายบน Marketplace ของ SAP ได้อีกด้วย
หลังจากไมโครซอฟท์ร่วมกับออราเคิล รองรับ Oracle Database และ WebLogic บน Windows Azure เมื่อกลางปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มี.ค. นี้ และจะเริ่มคิดค่าไลเซนส์รวมเข้ากับค่าใช้บริการ Windows Server VM
สำหรับการคิดค่าใช้บริการนั้นจะขึ้นกับจำนวนนาทีทั้งหมดที่ VM รันซอฟต์แวร์ของออราเคิลใช้งานไป (license-included Oracle VM) รายละเอียดค่าใช้บริการเป็นรายชั่วโมงดูได้จากเว็บไซต์ Windows Azure ตามที่มาของข่าว และหากทำสัญญาแบบ 6 หรือ 12 เดือน ระหว่าง 12 มี.ค. - 30 มิ.ย. ปีนี้ จะได้ส่วนลด 20-32%
Google Cloud SQL เปิดบริการเป็นส่วนเสริมสำหรับ Google App Engine เพื่อให้นักพัฒนาที่ต้องการเข้าถึง MySQL เต็มรูปแบบสามารถใช้บริการที่ขยายไปได้เรื่อยๆ แต่ก่อนหน้านี้บริการนี้อยู่ในสถานะการให้บริการอย่างจำกัด (limited preview) ตอนนี้ Cloud SQL ก็เข้าสู่สถานะมีให้บริการทั่วไป (generally available - GA) แล้ว
การให้บริการเป็นการทั่วไปครั้งนี้กูเกิลจะรับประกัน uptime ให้ 99.95% และขยายขนาดฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดเป็น 500 กิกะไบต์
บริการฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆ Amazon Relational Database Service (ตัวย่อ RDS) เปิดบริการตั้งแต่ปี 2009 โดยเริ่มจาก MySQL จากนั้นก็ขยายมายังฐานข้อมูลตัวอื่นๆ คือ Oracle และ Microsoft SQL Server
วันนี้ Amazon ประกาศรองรับฐานข้อมูลโอเพนซอร์สอีกตัวคือ PostgreSQL แล้ว เบื้องต้นยังมีเฉพาะเวอร์ชัน 9.3.1 แต่ Amazon ก็ประกาศว่าจะรองรับเวอร์ชันใหม่ๆ ในอนาคตด้วย ส่วนฟีเจอร์ด้านฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆก็ไม่ต่างอะไรจากฐานข้อมูลยี่ห้ออื่นๆ มากนัก มีทั้งการแบ็คอัพอัตโนมัติ, การสร้าง instance ของฐานข้อมูลใหม่โคลนจาก instance เดิมตามช่วงเวลาที่ต้องการ, การสร้างฐานข้อมูลข้ามโซนกลุ่มเมฆ, รองรับ VPS เป็นต้น
ทิศทางของโลกซอฟต์แวร์องค์กรในรอบ 2-3 ปีหลังนี้ชัดเจนมากว่า ซอฟต์แวร์องค์กรชื่อดังๆ เริ่มออกเวอร์ชันใช้งานบนกลุ่มเมฆ เพื่อเป็นทางเลือกนอกเหนือจากการใช้งานแบบติดตั้งในองค์กร (on premise) ลักษณะเดิม
ค่าย Oracle เริ่มผลักดันยุทธศาสตร์กลุ่มเมฆของตัวเองในชื่อแบรนด์ Oracle Cloud ตั้งแต่ปีที่แล้ว (เจาะยุทธศาสตร์ Oracle Cloud) และปีนี้ก็ประกาศบริการเพิ่มอีก 10 ตัว
บริการทั้ง 10 ตัวแบ่งกลุ่มได้เป็นบริการประมวลผลลักษณะเดียวกับ Amazon Web Services, ฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆ, WebLogic บนกลุ่มเมฆ และบริการแอพพลิเคชัน ERP ต่างๆ ที่รันบนกลุ่มเมฆ
จากที่เคยเกริ่นไว้เมื่อกลางปี เมื่อวานนี้ออราเคิลก็อาศัยเวที Oracle OpenWorld เปิดตัว Oracle Database In-Memory ฐานข้อมูลเวอร์ชันทำงานในหน่วยความจำอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์นี้เป็น "ตัวเลือก" ให้กับ Oracle Database 12c ที่ออกมาตั้งแต่ปีก่อนให้สามารถทำงานในหน่วยความจำได้ โดยที่แอพพลิเคชันระดับบนไม่ต้องแก้โค้ดใดๆ แต่จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาอีกมาก นอกจากนี้ออราเคิลยังเพิ่มฟอร์แมตการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่เก็บลง column แทน row เพื่อให้เหมาะกับงานวิเคราะห์ข้อมูล (analytic) อีกด้วย
ที่มา - Oracle
Larry Ellison เปิดตัว Oracle Database In-Memory
ข่าวบริษัทใหญ่ย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL ไปใช้ MariaDB ถัดจาก Wikipedia และ Red Hat แล้ว รายล่าสุดคือกูเกิลครับ
ในงาน Extremely Large Databases (XLDB) ที่เพิ่งจัดขึ้นวิศวกรของกูเกิลให้ข้อมูลระหว่างการบรรยายว่า กูเกิลใช้ MySQL 5.1 รุ่นปรับแต่งเองเป็นหลัก และอยู่ระหว่างการย้ายไปใช้ MariaDB 10.0 แทน
นอกจากนี้ผู้บริหารของ MariaDB Foundation ยังให้ข้อมูลอีกว่า กูเกิลส่งพนักงานเข้ามาทำงานร่วมกับ MariaDB Foundation ตั้งแต่ต้นปีเพื่อช่วยพัฒนาฟีเจอร์ด้านการย้ายฐานข้อมูล (migration)
กระแสระบบฐานข้อมูล NoSQL ทำให้หลายบริษัทพยายามปรับฐานข้อมูลไปมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กูเกิลเองในระบบ Google App Engine ก็ใช้ GQL ที่แม้จะคล้าย SQL แต่ก็ไม่สามารถ join ข้ามตารางได้ แต่ในระบบที่เกี่ยวกับการเงินและมีรายการตัดเงินจำนวนมากอย่าง AdWords ก็ทำให้กูเกิลต้องกลับมาพัฒนาระบบ SQL
ระบบ F1 มีเงื่อนไขการออกแบบว่าต้องกระจายโหลดได้แบบเดียวกับ NoSQL ขณะเดียวกันก็ต้องรองรับ ACID เพื่อจะรับประกันได้ว่าการตัดยอดเงินจะแม่นยำ และเนื่องจากผู้ใช้เป็นผู้ใช้ทางฝั่งธุรกิจจึงจำเป็นต้องรองรับ SQL เต็มรูปแบบ
เอชพีประกาศเปิดบริการฐานข้อมูลในหน่วยความจำ (in-memory database) ด้วยซอฟต์แวร์ SAP HANA ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
ชื่อเต็มของบริการนี้คือ HP As-a-Service Solution for SAP HANA โดยคิดค่าบริการรายเดือนเพื่อเช่าใช้ทั้งไลเซนส์ซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานของเอชพี
บริการนี้มาคู่กับบริการ HP Migration Factory for SAP HANA ที่ให้บริการย้ายฐานข้อมูล ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นจะใช้เซิร์ฟเวอร์ HP AppSystem for SAP HANA ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้
เอชพียังไม่ระบุว่าจะเปิดบริการนี้ในประเทศอื่นๆ เมื่อไหร่ แต่แนวทางช่วงหลังของเอชพีก็คงพยายามหันไปให้บริการซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ บริการนี้ก็น่าจะกระจายไปตลาดหลักอื่นๆ ต่อไป