ที่งาน TechEd Europe 2013 ไมโครซอฟท์เปิดตัวฐานข้อมูล SQL Server 2014 รุ่นใหม่ล่าสุด ฟีเจอร์สำคัญคือรองรับการโหลดฐานข้อมูลทั้งฐานไว้ในหน่วยความจำ (in-memory database) ตามทิศทางของซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลในปัจจุบัน
ไมโครซอฟท์บอกว่าปัจจุบันหน่วยความจำมีราคาถูกลงมาก เมื่อบวกกับความต้องการประมวลผลข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ทำให้ฐานข้อมูลในหน่วยความจำเป็นทางออกทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การย้ายฐานข้อมูลไปไว้ในหน่วยความจำของ SQL Server 2014 จะวิเคราะห์หาตารางที่ถูกเรียกใช้งานบ่อยๆ โดยอัตโนมัติ นักพัฒนาไม่ต้องแก้โค้ดใดๆ และความสามารถนี้จะฝังมาใน SQL Server รุ่นมาตรฐาน ไม่ต้องมี edition แยกพิเศษแต่อย่างใด
ข่าวความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และออราเคิลประกาศออกมาเป็นทางการแล้วในวันนี้ โดยออราเคิลจะรับรองการทำงานซอฟต์แวร์ของตัวเองหลายตัวบน Hyper-V และ Azure แม้ทุกวันนี้อาจจะมีผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ในรูปแบบนี้อยู่แล้ว แต่การรับรองเป็นทางการนี้ก็ทำให้ใช้ไลเซนส์ในแบบ license mobility ทำให้ย้ายซอฟต์แวร์ไปมาระหว่างศูนย์ข้อมูลภายในและศูนย์ข้อมูลภายนอกที่ใช้บริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆได้
ความร่วมมือสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คืือ ไมโครซอฟท์จะมีบริการ Oracle Database, Oracle WebLogic, รวมถึง Oracle Linux ไว้บน Azure สำหรับลูกค้าที่ไม่มีไลเซนส์ของออราเคิลอยู่แล้วก็สามารถเช่าใช้งานได้ทันที
ออราเคิลเปิดตัว Oracle Database 12c ตั้งแต่ปีที่แล้ว แม้ตอนนี้ยังไม่ออกตัวจริงแต่ทางซีอีโอ Larry Ellison ก็เริ่มพูดถึงเวอร์ชันต่อไป Oracle Database 12.1c แล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ของ Oracle 12.1c จะเน้นเรื่องการใช้งานฐานข้อมูลแบบโหลดทั้งหมดใส่หน่วยความจำ (in-memory database) แทนการอ่านข้อมูลจากดิสก์เพราะมีประสิทธิภาพดีกว่ากันมาก และคู่แข่งอย่าง SAP ก็ล้ำหน้าไปก่อนแล้วด้วย SAP HANA
อย่างไรก็ตาม Ellison ยืนยันว่า Oracle 12.1c จะมีประสิทธิภาพดีกว่า SAP HANA มากจนถึงขนาดว่า HANA สู้ไม่ได้เลยทีเดียว (แต่ออราเคิลก็ยังไม่บอกว่าจะออก 12.1c เมื่อไร)
MariaDB ซึ่งเป็นโครงการโอเพนซอร์สด้านซอฟต์แวร์การจัดการระบบฐานข้อมูลได้เข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของ SkySQL เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
MariaDB เป็นผลงานจากบริษัท MontyProgram AB ของ Michael Widenius คนเดียวกันกับผู้ก่อตั้ง MySQL ซึ่งถูกซื้อกิจการไปโดย Sun Microsystems ในปี 2008 ก่อนที่ในภายหลัง Oracle จะเป็นผู้ซื้อกิจการ Sun Microsystems อีกต่อหนึ่ง
ข่าวนี้เป็นข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ายังไม่มีใครลงเลยเอามาเขียนซะหน่อย
NuoDB เปิดตัวระบบฐานข้อมูลใหม่สำหรับกลุ่มเมฆไปเมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาครับ ระบบฐานข้อมูลใหม่นี้ถูกนิยามเป็น Cloud Data Management System (CDMS) ซึ่งเป็น "Superset สมัยใหม่ของระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์" ตามคำกล่าวของ Barry Morris ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง NuoDB
NuoDB ถูกออกแบบตามกฎ 12 ข้อสำหรับระบบฐานข้อมูลยุคใหม่ ซึ่งรวมคุณสมบัติดังนี้
ช่วงหลังเราเห็นความเคลื่อนไหวของ MariaDB โครงการแยกของ MySQL หลังโดนออราเคิลซื้อกิจการมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวก่อนหน้านี้ Wikipedia เริ่มย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL มาใช้ MariaDB แทน)
ล่าสุดโครงการ Fedora ก็มีข้อเสนอว่าจะเปลี่ยนแพกเกจฐานข้อมูลหลัก จากเดิมที่ใช้ MySQL เป็น MariaDB แทน ข้อเสนอนี้ต้องรอการพิจารณาจากชุมชน Fedora และถ้าได้รับอนุมัติก็จะเริ่มใช้ใน Fedora 19 รุ่นหน้า ส่วนแพกเกจ MySQL จะยังมีให้ใช้ใน Fedora ต่อไปแต่ไม่ใช่ดีฟอลต์แล้ว
เว็บไซต์ที่คนเข้าใช้งานเยอะเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง Wikipedia ได้เริ่มทดลองย้ายฐานข้อมูลบางส่วนไปใช้ MariaDB แทนที่ MySQL แล้ว โดย Asher Feldman สถาปนิกของ Wikimedia Foundation (องค์กรที่ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia) ได้ออกมาแจ้งข่าวผ่านทาง mailing list ว่าได้ย้ายฐานข้อมูล slave ตัวหนึ่งของหน้า Wikipedia ภาษาอังกฤษไปใช้ MariaDB 5.5 ได้สำเร็จ และมีแผนจะย้าย Wikipedia ภาษาอังกฤษทั้งหมดให้เสร็จภายในปีนี้ และถ้าไม่ติดปัญหาอะไรก็จะย้ายทั้งเว็บไซต์เสร็จในไตรมาสแรกของปี 2013
ไอบีเอ็มเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลสำเร็จรูป (database appliance) ในชื่อ PureData สินค้าล่าสุดภายใต้กลุ่ม PureSystems ที่ก่อนหน้านี้มีเซิร์ฟเวอร์ PureFlex วางขายไปก่อนแล้ว
สินค้าในกลุ่ม PureSystems คือเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์มาให้แล้ว และขายเป็นตู้สำเร็จรูปพร้อมอุปกรณ์เครือข่ายในตู้แบบเดียวกับ iDataPlex พร้อมซอฟต์แวร์จัดการและมอนิเตอร์มาให้พร้อม โดยตัว PureData คือสินค้าในกลุ่มฐานข้อมูล เปิดตัว 3 รุ่นแรก คือ PureData System for Transactions, PureData System for Analytics, และ PureData System for Operational Analytics
เก็บตกงาน Oracle OpenWorld 2012 ครับ นอกจากซอฟต์แวร์หลักอย่าง Oracle Database 12c แล้ว ออราเคิลยังเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานฐานข้อมูล Exadata รุ่นที่สาม ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า Oracle Exadata X3 Database In-Memory Machine
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลเผยข้อมูลของผลิตภัณฑ์หลัก Oracle Database รุ่นใหม่ 12c
ระยะหลังๆ ออราเคิลนับเลขเวอร์ชันแบบมีตัวอักษรห้อยท้ายเพื่อแสดงเทคโนโลยีที่ตั้งใจเน้นในรุ่นนั้นๆ เริ่มจาก 8i/9i (internet) และ 10g/11g (grid) ส่วนตัว 12c หลายคนคงเดากันได้ว่ามาจาก cloud นั่นเอง
Oracle Database 12c ปรับสถาปัตยกรรมใหม่ซึ่งซุ่มทำมาหลายปีแล้ว จุดเด่นของมันคือแนวคิดที่เรียกว่า multitenant database หรือ plausible database ช่วยให้เก็บข้อมูลคนละชุดคนละอย่าง (data store) ลงในฐานข้อมูลเดียวกันโดยไม่ต้องแยก schema ข้อมูลแต่ละชุดมีหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำแยกขาดจากกัน ซึ่งเหมาะสำหรับยุคของกลุ่มเมฆที่เราประมวลผลงานหลายๆ อย่างบนเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนเครื่องเดียวกันจนเป็นปกติ
ช่วงนี้มีงาน Oracle OpenWorld 2012 จะมีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ของออราเคิลเยอะหน่อยนะครับ เริ่มจากฐานข้อมูลยอดนิยมของโลกโอเพนซอร์ส MySQL ออกรุ่นใหม่ 5.6 Release Candidate ซึ่งใกล้เป็น 5.6 ตัวจริงเต็มทีแล้ว
ของใหม่ของ MySQL 5.6 คงเป็นเรื่องประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่อง query และ subquery ที่ทีมงาน MySQL ปรับแต่งรีดเร้นประสิทธิภาพมาในหลายจุด (รายละเอียดตามต้นฉบับ) นอกจากนี้ตัวเอนจินอย่าง InnoDB ก็ปรับปรุงเรื่อง transactional และ full text search ด้วย - Oracle
ฐานข้อมูลแบบกระจาย (distributed database) ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่การกระจายฐานข้อมูลออกไปไกลระดับครอบคลุมทั้งโลก (ห่างกันหนึ่งซีกโลก) กลับมีปัญหาเรื่อง latency ทำให้การอ่าน-เขียนข้อมูลบนฐานข้อมูลแต่ละชุด (ซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลซ้ำกันหรือเป็น replication) ทำได้ไม่พร้อมกัน
กูเกิลแก้ปัญหานี้ด้วยซอฟต์แวร์ชื่อ Spanner ที่ใช้เทคนิคช่วยให้การวัด "เวลา" แม่นยำขึ้น ผ่านทั้งตัวรับสัญญาณ GPS และนาฬิกาอะตอม (atomic clock) ที่ติดตั้งไว้ในศูนย์ข้อมูลของกูเกิล แทนการส่งข้อมูลข้ามไปถามศูนย์ข้อมูลอื่นๆ ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่อง latency ได้
นอกจากนี้ Spanner ยังช่วยกำหนดประเภทของข้อมูลที่ต้องการอ่าน-เขียนได้ เช่น
Esteban Martinez Fayo นักวิจัยด้านความปลอดภัยของบริษัท AppSec ได้นำเสนอช่องโหว่ใหม่ที่เกิดขึ้นบนโปรโตคอลที่ใช้ในการล็อกอินของ Oracle DB ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ผ่านทางการโจมตีแบบ bruce-force attack โดยช่องโหว่นี้เกิดขึ้นได้เพียงแค่ผู้โจมตีรู้ถึงชื่อผู้ใช้งานที่ถูกต้องของฐานข้อมูลและชื่อของฐานข้อมูล
สิ่งที่ออราเคิลได้ไปจากการซื้อซัน นอกจากจาวาแล้วยังมี MySQL ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลกตัวหนึ่ง หลายคนสงสัยว่าท่าทีของออราเคิลต่อชุมชนโอเพนซอร์สจะเป็นอย่างไรต่อไป ในวันนี้ก็เริ่มเห็นสัญญาณแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ออราเคิลแสดงแพตซ์ใหม่ๆ โดยไม่มีเทสของแพตซ์ติดมาด้วย
ระบบเทสของ MySQL นั้นเป็นระบบเฉพาะที่ชื่อว่า mysql-test
และแนวทางของบริษัทที่ผ่านมาก็ควบคุมคุณภาพด้วยการติดเทสเคสของทุกแพตซ์มาด้วยกันเสมอ แต่ในแพตซ์ใหม่ๆ ไฟล์เทสกลับถูกย้ายจาก mysql-test
ไปยัง internal/mysql-test/
และชุมชนภายนอกมองไม่เห็นไฟล์เทสเหล่านี้
MemSQL พัฒนาโดยอดีตนักพัฒนาของเฟซบุ๊กสองคน Eric Frenkiel และ Nikita Shamgunov มีหลักการคล้ายกับ HipHop for PHP ของเฟซบุ๊ก โดยมีการแปลงคำสั่ง SQL ที่เข้ามาไปเป็น C++ และคอมไพล์เป็น native code ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษา SQL ที่เป็น interpreter ซึ่งทำงานได้ช้ากว่า เมื่อเจอคำสั่งรูปแบบเดิมก็จะใช้โค้ดเดิมที่คอมไพล์ไว้แล้ว และมีการทำงานกับข้อมูลบนเมมโมรี่ซึ่งเร็วกว่าการอ่านเขียนจากดิสก์
IBM บริษัทแม่เปิดตัวไปตั้งแต่เดือนเมษา แต่เรายังไม่ได้ลงข่าว ดังนั้นพอ IBM ประเทศไทยเปิดตัวบ้างก็ลงรวบยอดเป็นข่าวเดียวไปเลยนะครับ แถวนี้น่าจะมีคนทำ DB2 อยู่พอสมควร
ภาพรวมก็คือ IBM ออกระบบฐานข้อมูล DB2 เวอร์ชันใหม่ที่นับเป็นเวอร์ชัน 10 แล้ว (รวมถึงคลังข้อมูล InfoSphere Warehouse 10 ด้วย) ของใหม่ก็คงไม่ต่างอะไรจากคู่แข่งมากคือเน้นไปที่ Big Data เป็นหลัก สำหรับฟีเจอร์ตาม press มีดังนี้
BigQuery เป็นบริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของกูเกิล มันใช้หลักการ big data ที่สร้างตารางข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนแต่มีขนาดใหญ่มากๆ (ระดับ 1 พันล้านแถว) ซึ่งต่างไปจากแนวทางของ relational database มาก
BigQuery คือการออกแบบคำสั่งคล้ายๆ SQL (แต่ฟีเจอร์ไม่ครบเท่า SQL) เพื่อให้ค้นหรือวิเคราะห์ข้อมูลในตารางได้ง่ายๆ และกูเกิลทำหน้าเว็บให้เราป้อนคำสั่ง BigQuery แล้วรับข้อมูลกลับได้จากหน้าเว็บเลย (อัพโหลด/ดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน CSV)
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดตัวบริษัทลูก Microsoft Open Technologies, Inc. ไปเมื่อกลางเดือนนี้ ล่าสุดบริษัทใหม่ได้เปิดตัว Redis บน Windows หรือระบบฐานข้อมูลแบบโอเพนซอร์สเพื่อการจัดเก็บข้อมูลแบบ key-value ไว้ในหน่วยความจำ (in-memory)
Twitter ใช้ฐานข้อมูลยอดนิยมอย่าง MySQL แต่ก็นำมันไปปรับแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะกับความต้องการของตัวเอง (โดยเฉพาะการรองรับโหลดจำนวนมหาศาล) ล่าสุดบริษัทประกาศโอเพนซอร์สโค้ดส่วนที่ปรับแต่งเพิ่มเติมแล้ว โดยใช้สัญญาอนุญาตแบบ BSD และฝากโค้ดไว้ที่ Github
โครงการของ Twitter นี้ถือเป็น fork ของ MySQL ซึ่งบริษัทก็ยืนยันว่าจะร่วมกับชุมชนผู้พัฒนา MySQL เพื่อนำโค้ดส่วนนี้กลับเข้าต้นน้ำของโครงการ MySQL ต่อไป
ตัวอย่างฟีเจอร์ที่ Twitter เพิ่มเข้ามาได้แก่การปรับปรุงเอนจิน InnoDB ในหลายจุด, เพิ่มความสามารถในการยกเลิก query ที่รันนานเกินเวลาที่กำหนด, ปรับแต่งการจองหน่วยความจำของฐานข้อมูล, ปรับการทำงานของ MySQL บนเครื่องที่ใช้ SSD เป็นต้น
หลังจาก Microsoft SQL Server 2012 เสร็จแล้ว เข้าสถานะ RTM เมื่อเดือนที่แล้ว ล่าสุดไมโครซอฟท์ก็เปิดขายอย่างเป็นทางการ (GA หรือ general availability) ในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
Microsoft SQL Server 2012 เข้าสู่สถานะ released to manufacturing (RTM) หรือพัฒนาเสร็จเรียบร้อย รอวางขายตามช่องทางต่างๆ โดยกลุ่มสมาชิก MSDN/TechNet จะดาวน์โหลดได้วันที่ 7 มีนาคมเป็นต้นไป ส่วนช่องทางซื้อแบบ volume licensing ขององค์กรจะเริ่มวันที่ 1 เมษายนนี้
ตัวแกนหลักของ SQL Server คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ของใหม่ใน SQL Server 2012 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
Greenplum เป็นบริษัทลูกของ EMC ที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลด้าน Data Warehouse/Big Data โดยเฉพาะ บริษัทมีผลิตภัณฑ์หลักในมือ 2 ตัวคือ
หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน เรื่องหนึ่งที่หลายๆ คนกลัวคือออราเคิลจะเอา MySQL ไปดองไว้เพื่อขาย Oracle DB เป็นหลัก แต่การออก MySQL Cluster 7.2 น่าจะช่วยลดความกังวลใจนี้ไปได้
ฟีเจอสำคัญของ MySQL Cluster 7.2 คือการเร่งความเร็วการคิวรีขึ้นถึง 70 เท่าจากฟีเจอร์ Adaptive Query Localization ที่ดันงานประมวลผลลงไปอยู่ที่โหนดลูกแทนที่จะนำขึ้นมาประมวลที่โหนดหลัก นอกจากการคิวรีตามปรกติแล้วยังมี NoSQL API ที่ได้ประโยชน์จากการกระจายงานจนรองรับการคิวรีได้มากกว่าพันล้านครั้งต่อชั่วโมงบรเครื่อง x86 จำนวน 8 เครื่อง
มีรุ่น GPL ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรีเช่นเดิม ส่วนถ้าใครอยากให้มีซัพพอร์ตก็มีขายเช่นกัน
ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลที่กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายองค์กรคือ PostgreSQL เนื่องจากองค์กรหลายแห่งพยายามเลี่ยง MySQL ที่ไปผูกชะตาชีวิตกับออราเคิล และตัวเลือกที่เด่นชัดในโลกองค์กรคือ EnterpriseDB ที่นำ PostgreSQL รุ่นโอเพนซอร์สมาปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในองค์กร
หลังจาก PostgreSQL ออกรุ่น 9.1 เมื่อกลางปีที่แล้ว ล่าสุดทางบริษัท EnterpriseDB ก็เพิ่งออกรุ่นเดียวกันสำหรับองค์กรในชื่อ Postgres Plus Advanced Server 9.1 (ใช้เลขเวอร์ชันเท่ากัน)
แม้ภาษาที่ได้รับความนิยมสูงๆ นั้นจะเกาะกลุ่มเดิมๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่ภาษาบางกลุ่มแม้จะไม่ได้รับความนิยมมากนักแต่ก็มีกลุ่มผู้ใช้ที่ชัดเจนสามารถสร้างฐานผู้ใช้เฉพาะทางที่เหนียวแน่น เช่นภาษา R ที่รองรับงานด้านสถิติได้เป็นอย่างดี งานนี้ออราเคิลก็ประกาศรองรับ R อย่างเป็นทางการ
Oracle Advanced Analytics เป็นชุดรวมระหว่าง Oracle R Enterprise กับ Oracle Data Mining พร้อมกับสามารถทำงานร่วมกับ Hadoop ที่เชื่อมกับฐานข้อมูลด้วย Oracle Big Data Connectors ได้ด้วย โดยออราเคิลอ้างว่า Advanced Analytics จะทำความเร็วได้กว่าเดิมตั้งแต่ 10 ถึง 100 เท่าตัว
บ้านเราคาดว่านักเรียนสายการเงินใช้ R กันเยอะพอสมควร งานนี้อาจจะมีออราเคิลเข้าไปให้นั่งเรียนเพิ่มกันอีกตัว