โครงการ Debian เป็นลินุกซ์ดิสโทรที่เป็นพื้นฐานของลินุกซ์อื่นๆ อีกหลายตัวรวมถึง Ubuntu โครงสร้างการพัฒนามีแกนกลางหลักเป็น Debian Developer (DD) วันนี้คุณนิวตรอน เสามั่น ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือก DD เป็น DD คนที่สี่ของไทย (เป็นคนที่สามหากนับเฉพาะคนที่ยัง active)
คนไทยที่เป็นหรือเคยเป็น DD ตอนนี้ ได้แก่ 1. คุณชนพ ศิลปอนันต์ 2. คุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ 3. คุณปรัชญ์ พงษ์พานิช 4. คุณนิวตรอน เสามั่น
ทีมงาน Debian แจ้งเตือนระยะซัพพอร์ตของ Debian 6.0 squeeze ว่าจะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2016 (5 ปีหลังออกเวอร์ชันแรก) หลังจากนั้น Debian จะไม่ออกแพตช์ความปลอดภัยใดๆ ให้กับ Debian 6.0 อีกแล้ว
Debian 7 wheezy จะกลายมาเป็นดิสโทรแบบ Long Term Support (LTS) แทน ยาวนานไปถึงเดือนพฤษภาคม 2018
ใครที่ยังรัน Debian 6 อยู่ก็ได้เวลาเตรียมอัพเกรดครับ
ที่มา - Debian
Ian Murdock ผู้สร้าง Debian ("ian" ในคำว่า Debian) เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 42 ปี ส่วนสาเหตุของการตายยังไม่แน่ชัด
ผลงานสำคัญของเขาคือดิสโทร Debian ซึ่งเป็นดิสโทรลินุกซ์ตัวแรกๆ ของโลก เริ่มโครงการในปี 1993 จากนั้นก็พัฒนาชุมชนนักพัฒนาจนแข็งแกร่ง มีระบบผู้นำโครงการ (Debian Project Leader) จากการเลือกตั้งเป็นประจำทุกปี ตัวของ Ian รับบทเป็นผู้นำคนแรก ก่อนส่งมอบตำแหน่งให้ผู้นำรุ่นหลัง จากนั้นเขาเคยทำงานที่ Sun Microsystems และ Linux Foundation ส่วนปัจจุบัน Ian Murdock เป็นพนักงานของบริษัท Docker
ไมโครซอฟท์ประกาศรองรับ Debian เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่แนะนำให้ใช้งาน (endorsed distribution) บนแพลตฟอร์ม Azure แล้ว
Debian ที่ Azure รับรองมีทั้ง Debian 7 (wheezy) และ Debian 8 (jessie) แบบ 64 บิต ผ่านความร่วมมือกับบริษัท credativ ผู้เชี่ยวชาญด้านโอเพนซอร์สจากเยอรมนี ในอนาคต credativ ยังจะออกอิมเมจของ Debian รุ่นใหม่ๆ ให้เลือกใช้งานผ่าน Azure Marketplace อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์รองรับดิสโทรลินุกซ์หลายค่ายบน Azure ได้แก่ Ubuntu, CentOS, Oracle, SUSE Enterprise (SLES), OpenSUSE และ CoreOS
ที่มา - Microsoft Azure Blog
Chrome จะหยุดอัพเดตเวอร์ชันบนระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าเพิ่มเติม ในเดือนมีนาคม 2016 โดยระบบปฏิบัติการที่เข้าข่าย คือ
Chrome จะยังทำงานได้บนระบบปฏิบัติการเหล่านี้ แต่ไม่มีอัพเดตรุ่นถัดไปจาก Chrome อีกแล้ว Google แนะนำให้ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเหล่านี้อัพเกรดไปยังระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ เช่น Ubuntu 14.04 หรือ Debian 8
ส่วนคนที่ใช้ Linux 32-bit, Ubuntu 12.04 และ Debian 7 และอยากใช้ Chrome รุ่นถัดไป ก็มี Chromium มารับช่วงต่อการรองรับแล้ว (โดย Chromium ในที่นี้ คือ เวอร์ชันของดิสโทรคอมไพล์ให้จากซอร์สโค้ด ไม่ใช่ของ Google ทำเอง)
ซีพียูตระกูล SPARC มีข่าวน้อยลงเรื่อยๆ หลังออราเคิลซื้อซันไป ตอนนี้ทางโครงการเดเบียนก็ออกมาประกาศถอด SPARC ออกจากโค้ดของโครงการ ทั้ง unstable, experimental, jesse-updates, และโค้ดภายในอื่นๆ
ก่อนหน้านี้เดเบียนรองรับสถาปัตยกรรม SPARC 64 บิตเฉพาะเคอร์เนลเท่านั้นแต่แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะรันที่ 32 บิต
ดิสโทรอื่นๆ หยุดซัพพอร์ต SPARC กันไปเป็นก่อนหน้าเดเบียนเป็นเวลานาน Red Hat หยุดออกรุ่น SPARC ตั้งแต่ปี 2000, SUSE ออกรุ่นสุดท้ายปี 2002, และ Ubuntu ออกรุ่นสุดท้ายปี 2010
ที่มา - The Register
หลัง Debian 8.0 Jessie ออกรุ่นจริงเรียบร้อย ก็ได้เวลาที่โครงการ Debian จะมุ่งสู่เวอร์ชันถัดไป 9.0 โดยทีมงานยังยึดธรรมเนียมเดิมคือตั้งชื่อโค้ดเนมตามตัวละครใน Toy Story โค้ดเนมรอบนี้ชื่อ "Stretch" ปลาหมึกสีม่วงจาก Toy Story 3
ทางโครงการ Debian ยังประกาศแผนการออก Debian 8.1 รุ่นแก้บั๊กตามมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือนนับจากนี้
หลังจากที่เปิดตัว Debian 7.0 Wheezy ไปเมื่อสองปีก่อน วันนี้ Debian เดินทางมาถึงรุ่น 8.0 แล้ว การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เห็นได้มีดังนี้
Will Cooke ผู้จัดการฝ่ายเดสก์ท็อปของ Ubuntu โพสต์ข้อความใน Google+ ระบุแผนการของ Ubuntu รุ่นหน้า (หวังว่าจะทำทัน 15.10) คือเปลี่ยนระบบแพ็กเกจจาก .deb ของ Debian ที่ใช้สืบทอดกันมานาน กลายเป็นแพ็กเกจแบบใหม่ Snappy ที่เริ่มใช้กับเวอร์ชันเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กแล้ว
ทีมงานของ Ubuntu ยืนยันว่า Ubuntu ทุกเวอร์ชันของ Canonical ในอนาคตจะเปลี่ยนมาใช้ Snappy ทั้งหมด อย่างไรก็ตามตัวอิมเมจหลักของระบบที่ดึงมาจาก Debian จะยังใช้ .deb เช่นเดิม ส่วน Ubuntu รุ่นย่อยที่พัฒนาโดยชุมชน (เช่น Kubuntu) ก็ขึ้นกับทางโครงการเองว่าสนใจเปลี่ยนมาเป็น Snappy หรือไม่
Debian 8 Jessie เริ่มพัฒนามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2013 วันนี้ โดยทางโครงการออกประกาศมาเพื่อเตือนนักพัฒนาในโครงการย่อยให้รีบแก้ไขบั๊กก่อนที่จะถึงกำหนดการออกรุ่นจริง โดยตอนนี้การเลื่อนกำหนดการจะต้องมีบั๊กระดับวิกฤติที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลาเท่านั้น
ทางโครงการแจ้งเตือนนักพัฒนาว่าตอนนี้ยังมีบั๊กอยู่อย่างน้อย 12 บั๊กที่ยังไม่ได้ปิด ซึ่งอาจจะทำให้แพ็กเกจถูกถอดออกจากระบบด้วยบอทอัตโนมัติได้ก่อนออกรุ่นจริง บั๊กทั้งหมดต้องแก้ไขก่อนวันที่ 18 เมษายนนี้
ที่มา - Debian Announce
Debian ดัดสินใจใช้ Systemd ใน Debian 7 เป็นต้นไปและมีแนวโน้มจะรับ Systemd เป็นระบบหลักสร้างความไม่พอใจให้กับนักพัฒนาบางส่วนอย่างมาก เพราะ Systemd นั้นรวมเอาโครงการจำนวนมากไปอยู่ภายใต้โครงการของ Systemd เอง ตอนนี้นักพัฒนากลุ่มหนึ่งก็ประกาศแยกวงออกมาพัฒนาโครงการของตัวเองในชื่อ Devuan (อ่านว่า dev-one)
Devuan ระบุว่าโครงการจะคงแนวทางพัฒนาของ Debian ต่อไป โดยเหตุผลที่ต้องแยกโครงการคือการพัฒนาโครงการให้เล็กที่สุด (stay minimal) ตามหลักปรัชญาของ Unix ที่เน้นให้แต่ละส่วนทำหน้าที่ของตัวเองเฉพาะงานและทำให้ดีที่สุด
เป้าหมายของ Devuan 1 จะเริ่มต้นให้ดาวน์โหลดปีหน้าโดยผู้ใช้ Debian 7 จะไม่ต้องทำอะไรนอกจากเปลี่ยน repository ไปใช้ Devuan เท่านั้น
โครงการ Debian ตัดสินใจเปลี่ยนระบบเดสก์ท็อปดีฟอลต์จาก Xfce กลับมาเป็น GNOME โดยจะมีผลตั้งแต่ Debian 8.0 Jessie ที่น่าจะออกช่วงต้นปี 2015
เหตุผลที่ Debian กลับมาใช้ GNOME อีกครั้งเป็นผลมาจากการประเมินข้อดีข้อเสียของ desktop environment หลายๆ ตัวที่มี แล้วพบว่า GNOME ได้คะแนนด้าน accessibility และการทำงานร่วมกับ systemd (ตัวช่วยบูตระบบที่มาแทน init) ดีกว่าระบบเดสก์ท็อปตัวอื่นๆ
Debian เคยตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ Xfce เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และเปลี่ยนกลับมาเป็น GNOME ในท้ายที่สุด
คุณ @trestest แจ้งว่าขณะนี้กำลังทำ mirror สำหรับ Raspbian (Debian สำหรับ Raspberry Pi) ในไทย 2 ที่ (คาดว่าจะเสร็จพร้อมใช้งานวันพรุ่งนี้ -- ผู้เขียน) ได้แก่
ผมเองไม่มี Raspberry Pi ไว้ทดลอง แต่เข้าใจว่าการเลือก mirror สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับ Ubuntu คือเปิดไฟล์ /etc/apt/sources.list
แล้วไล่แก้ไขบรรทัดต่างๆ ให้อยู่ใน format ดังนี้
Neil McGovern จากบริษัท Collabora ที่ปรึกษาของ Valve ที่ช่วยพัฒนา SteamOS ออกมาประกาศว่าทาง Valve จะให้คืนกับชุมชน Debian โดยขั้นแรกคือการแจกบัญชี subscription ฟรีให้กับ Debian Developer (DD) ทุกคน
บัญชี subscription จะประกอบด้วยเกมของ Valve ทั้งหมดรวม 27 เกม ตอนนี้เกมส่วนใหญ่รองรับลินุกซ์แล้ว มูลค่ารวมหลายร้อยดอลลาร์
ค่าย Valve มีสายสัมพันธ์อันดีกับโครงการ Ubuntu มาโดยตลอด โดย Steam เวอร์ชันลินุกซ์ก็รองรับเฉพาะบน Ubuntu เท่านั้น แต่เมื่อ Valve เปิดตัว SteamOS ก็มีพลิกโผเล็กๆ เมื่อบริษัทเลือกพัฒนาบน Debian แทน Ubuntu
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve อธิบายเรื่องนี้กับสื่อเยอรมัน Heise.de ว่าตอนแรก Valve ก็ตั้งใจใช้ Ubuntu นั่นแหละ แต่ด้วยความไม่แน่นอนทางกฎหมาย (legal uncertainties) ของซอฟต์แวร์บางตัวที่มากับ Ubuntu ทำให้บริษัทต้องเปลี่ยนมาใช้ Debian ในภายหลัง ซึ่งก็ส่งผลเสียให้ Valve ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ใน Ubuntu แต่ไม่มีอยู่บน Debian ขึ้นมาเอง
ทั้งนี้ Gabe ไม่ได้ระบุชัดว่าปัญหาทางกฎหมายของ Ubuntu คืออะไรกันแน่ครับ
Valve ทำตามที่สัญญาไว้ เปิดให้ดาวน์โหลด SteamOS ระบบปฏิบัติการสำหรับการเล่นเกม รุ่นแรก 1.0 แล้ว
SteamOS 1.0 มีโค้ดเนมว่า "alchemist" พัฒนาบน Debian 7.1 Wheezy โดยปรับแต่งแพ็กเกจไปจำนวนหนึ่ง และอัพเดตอัตโนมัติผ่าน repository ของ Valve เอง, ตัวระบบปฏิบัติการเป็นโอเพนซอร์ส แต่ส่วนของ Steam client และไดรเวอร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์แบบไม่เปิดเผยซอร์สโค้ด
สเปกฮาร์ดแวร์ที่ SteamOS ต้องการคือซีพียู x86 64 บิท, แรม 4GB, ฮาร์ดดิสก์ 500GB, UEFI และปัจจุบันยังใช้ได้กับจีพียูค่าย NVIDIA เท่านั้น (บริษัทบอกว่าจะรองรับจีพียู Intel/AMD ในภายหลัง)
DreamHost ซึ่งเป็นบริการเว็บโฮสติ้งรายหนึ่ง ประกาศอัพเกรดครั้งใหญ่ อันเนื่องมาจาก Debian 7.0 (Wheezy) ออกตัวจริง มีผลทำให้ Debian 6.0 (Squeeze) ซึ่ง DreamHost ใช้ให้บริการแก่ลูกค้าในปัจจุบัน จะหยุดการสนับสนุนด้านความปลอดภัยภายในเวลาประมาณ 1 ปีหลังจากออกรุ่นใหม่ ซึ่งโดยปกติ Debian จะมีอายุขัยของรุ่น stable ประมาณ 3 ปี
ทีมวิศกรของ DreamHost ตัดสินใจไม่ไปต่อกับ Debian และเลือก Ubuntu Server เป็นคำตอบสุดท้าย เนื่องมาจากมีอายุขัยของรุ่น LTS นานถึง 5 ปี ทำให้ทีมงาน มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า ไม่ต้องเหนื่อยกับการวางแผนอัพเกรดบ่อยๆ
หมายเหตุ: ข่าวนี้หมายถึงพีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ระบบควบคุมสถานีอวกาศนานาชาตินะครับ
NASA ประกาศเปลี่ยนระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) จากวินโดวส์มาเป็นลินุกซ์ โดยให้เหตุผลด้านเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือ รวมถึงความสามารถในการแก้ไขและควบคุมระบบจากระยะไกล
นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติจะได้ใช้พีซีที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Debian 6 และยังไม่มีแผนจะเปลี่ยนเป็น Debian 7 ที่เพิ่งออกเมื่อสัปดาห์ก่อน
หลังจากพัฒนามาสองปีกว่า Debian 7.0 รหัส Wheezy ก็ออกรุ่นเสถียรแล้ว ของใหม่มีดังนี้
มีรายงานจากผู้ดูแลระบบที่ใช้ Debian Squeeze และ niginx 1.2.3 พบผู้ใช้เว็บของตัวเองรายงานว่าเว็บมีการ redirect ไปยังเว็บมัลแวร์ในบางครั้ง โดยเมื่อตรวจสอบซ้ำก็พบว่ามีการแทรก iframe ของเว็บมัลแวร์เข้าไปใน HTTP Reply จริง
เมื่อผู้ดูแลระบบคนนี้เข้าตรวจสอบ nginx ของตัวเองด้วยคำสั่ง strace กลับไม่พบว่า nginx พยายามส่งข้อมูลออกไปยังเน็ตเวิร์คที่พยายามเขียน iframe ดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเข้าตรวจสอบ kernel แล้วจึงพบว่ามี rootkit ในเคอร์เนลเรียกฟังก์ชั่น write_startup_c
และ get_http_inj_fr
ที่ถูกฝังเข้ามา จากการวิเคราะห์พบว่า rootkit นี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา มันมีขนาดถึง 500KB แต่ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลดีบัก
สถาปัตยกรรม AMD64 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ x86-64 (อินเทลเรียกว่า EM64T) เป็นสถาปัตยกรรมที่เอเอ็มดีผลักดันมาตั้งแต่ปี 1999 และมีขายจริงในปี 2003 ในการสำรวจความนิยมครั้งล่าสุดของ Debian ก็พบว่าสถาปัตยกรรมนี้ได้รับความนิยมสูงสุดแซงหน้าที่หนึ่งตลอดกาลอย่าง i386 แล้ว
การสำรวจนี้ทำผ่านแพ็กเกจ popularity-contest
สำหรับฝั่ง Ubuntu เองก็มีการสำรวจด้วยแพ็กเกจเดียวกัน สามารถติดตั้งแล้วยืนยันการส่งข้อมูลกลับไปได้ สำหรับฝั่ง Ubuntu นั้น AMD64 ยังตามอยู่ห่างๆ พอสมควร อาจจะเพราะคนใช้งานสำหรับเดสก์ทอปมากกว่าทำให้ไม่ต้องการฟีเจอร์หลายๆ ตัวของสถาปัตยกรรม 64 บิตมากนัก
ทีมงาน Debian ประกาศโค้ดเนมของ Debian 8.0 รุ่นเสถียรถัดไปในชื่อ "Jessie"
Jessie เป็นตัวละครในภาพยนตร์ชุด Toy Story ตามธรรมเนียมปฏิบัติของ Debian โดยเธอคือคาวเกิร์ลที่ปรากฏตัวใน Toy Story 2 และ 3
ปัจจุบันนี้ Debian รุ่นเสถียรคือ 6.0 "Squeeze" ที่ออกตั้งแต่ต้นปี 2011 ส่วน Debian 7.0 "Wheezy" เริ่มเข้าสถานะ freeze เพื่อออกเป็นรุ่นเสถียรถัดไปแล้ว กำหนดออกอยู่ประมาณต้นปี 2013
ส่วน Jessie ก็จะนับต่อไปอีก 2 ปี (ตามนโยบายการออกรุ่นของ Debian ในปัจจุบัน) คือออกตัวจริงราวต้นปี 2015
เมื่อครั้งเปิดตัว Raspberry Pi มีระบบปฏิบัติการให้เลือกสามอย่างคือ Debian, Arch Linux ARM และ QtonPi แต่หลังจากได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม จึงตัดสินใจทำระบบปฏิบัติการสำหรับ Raspberry Pi ขึ้นมา โดยปรับแต่งจาก Debian รหัส Wheezy ออกมาในชื่อ Raspbian
Raspbian นั้นถูกปรับแต่งให้ทำงานร่วมกับ ARMv6 ได้ดีขึ้น และรองรับการคำนวณ floating point แล้ว ซึ่งช่วยให้การเล่นเว็บเร็วขึ้นไปด้วย (เร็วประมาณคลิปนี้)
ตัว Raspbian สามารถติดตั้งได้ผ่าน SD card ซึ่งสามารถดูวิธีทำ และดาวน์โหลดไฟล์ได้จากหน้า download ครับ
ที่มา - Raspberry Pi
Debian ถือเป็นดิสโทร "ต้นทาง" ที่ให้ดิสโทรรายอื่นๆ นำไปเป็นฐานพัฒนาต่อ ปัจจุบันมีดิสโทรที่ใช้ Debian เป็นฐานมากกว่า 300 ราย (ซึ่ง Ubuntu เป็นหนึ่งในดิสโทรเหล่านั้น) ดิสโทรเหล่านี้ทุ่มแรงงานพัฒนาส่วนต่างๆ ของ Debian ไปมาก แต่หลายครั้งซอฟต์แวร์และแพตช์เหล่านี้กลับไม่ถูกส่งคืน Debian ด้วย ทำให้ทรัพยากรถูกใช้เสียเปล่าและซ้ำซ้อน
เหตุผลหนึ่งที่แพตช์ไม่ถูกส่งกลับเข้า Debian เป็นเพราะขาดการสื่อสารและประสานงานที่ดี ทาง Matt Zimmerman ผู้บริหารของ Canonical จึงจับมือกับนักพัฒนา Debian ชื่อ Stefano Zacchiroli เปิดโครงการ DEX (ไม่มีชื่อย่อ) เพื่อทำหน้าที่เป็น "กองประสานงาน" ในการส่งแพตช์คืนกลับ Debian
พัฒนากันมานาน 24 เดือน วันนี้ Debian 6.0 รหัส "Squeeze" ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่