Honestbee สตาร์ทอัพบริการส่งของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตจากสิงคโปร์ ที่สถานการณ์ช่วงที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก โดยมีการปิด-ปลดพนักงาน สาขาต่างประเทศหลายแห่ง (เพิ่มเติม: Honestbee ล่าสุดไล่ CEO ออกแล้ว แถมยังหาเงินทุนไม่ได้ ต้องปิดกิจการในอินโดนีเซียเพิ่ม - Brand Inside) ล่าสุดผลกระทบมาถึงสิงคโปร์ประเทศสำนักงานใหญ่แล้ว
โดย Honestbee ได้ประกาศปรับแผนธุรกิจครั้งใหญ่ ซึ่งจะยกเลิกบริการส่งอาหาร และบริการซักรีด มีผลในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม เป็นต้นไป เหลือเพียงธุรกิจหลักดั้งเดิมคือส่งสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ต ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างดังกล่าว คาดว่าจะมีผลกับพนักงานส่งสินค้าราว 400 คน
ในงานสัมมนา Articulate Food Robotics ที่ซานฟรานซิสโกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการนำเสนอเรื่องราวของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่นำมาปรับใช้ในธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งตอนนี้มีสตาร์ทอัพใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาหุ่นยนต์เครื่องจักรสำหรับทำหน้าที่ต่าง ๆ มากขึ้น โดยมีการรวบรวมโครงการที่น่าสนใจดังนี้
ถ้าให้คิดถึงหุ่นยนต์ในร้านอาหารแบบที่พอจะเชื่อว่าทดแทนคนได้ ก็คงเป็นหุ่นยนต์สำหรับหน้าที่เตรียมวัตถุดิบ หรือจัดส่งอาหาร Briggo เป็นสตาร์ทอัพที่พัฒนาสิ่งที่เรียกว่าหุ่นยนต์บาริสต้า โดยสามารถเตรียมเครื่องดื่มได้ถึง 100 แก้วต่อชั่วโมง เสิร์ฟลูกค้าพร้อมกันได้สูงสุด 10 คน ในเวลาเดียว
DoorDash ผู้ให้บริการส่งอาหารจากร้านอาหารไปยังลูกค้า ออกแคมเปญใหม่ Kitchens Without Borders ช่วยโปรโมทร้านอาหารที่มีผู้อพยพเป็นเจ้าของโดยเฉพาะ โดยหนึ่งในนั้นมีร้านอาหารไทยด้วย จัดส่งอาหารจากร้านเหล่านี้โดยไม่คิดค่าส่ง
โครงการใหม่เริ่มโปรโมท 10 ร้านอาหารในย่าน San Francisco Bay Area ก่อน ประกอบด้วยร้าน Besharam, Z Zoul Cafe, Onigilly, Los Cilantros, Sabores Del Sur, West Park Farm & Sea, Little Green Cyclo, Afghan Village, D’Maize และ Sweet Lime Thai Cuisine
Rakuten เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือกับ JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจากจีน เพื่อพัฒนาโซลูชั่นระบบขนส่งโดยไม่ต้องใช้คนร่วมกันในประเทศญี่ปุ่น
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Rakuten จะนำประสบการณ์ขนส่งสินค้าผ่านโดรนในญี่ปุ่น และโซลูชั่นด้านไอทีของบริษัท มาแชร์กับ JD.com ที่มีประสบการณ์ด้านโดรนและกลุ่มพาหนะแบบไม่ต้องใช้คนบังคับ (unmanned group vehicles หรือ UGV) ในจีน เพื่อพัฒนาบริการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนของ Rakuten ให้ใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์
Uber ประกาศทดลองเพิ่มบริการแบบใหม่สำหรับบริการส่งอาหาร Uber Eats โดยนำรูปแบบมาจาก Uber Pool ที่เป็นการแชร์รถโดยสารคันเดียวกัน ไปเส้นทางใกล้กัน ทำให้จ่ายค่าโดยสารในราคาที่ถูกกว่า แต่คราวนี้เปลี่ยนมาเป็นกับบริการสั่งอาหาร
Uber อธิบายรูปแบบการทำงานของ Uber Eats Pool ว่า เมื่อผู้ใช้เปิดแอปขึ้นมา ก็จะแสดงข้อมูลว่าร้านไหนกำลังให้ส่วนลด 2 ดอลลาร์ สำหรับการสั่งอาหาร เนื่องจากตอนนี้มีคนบริเวณใกล้เคียงกัน กำลังสั่งอาหารจากร้านนี้อยู่ พร้อมทั้งแสดงนาฬิกานับถอยหลังเพื่อกระตุ้นให้คนรีบตัดสินใจสั่งอาหารร้านเดียวกัน
Amazon ได้ส่งอีเมลแจ้งลูกค้าในอังกฤษว่าบริการส่งอาหารเดลิเวอรี Amazon Restaurants จะหยุดให้บริการในอังกฤษ มีผลตั้งแต่ 3 ธันวาคม เป็นต้นไป
บริการส่งอาหาร Amazon Restaurants เป็นหนึ่งในบริการสำหรับลูกค้า Prime Now ปัจจุบันมีให้บริการในอเมริกาและอังกฤษ โดยที่อังกฤษเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2016 มีร้านอาหารในระบบกว่า 200 ร้าน อย่างไรก็ตามการแข่งขันในธุรกิจส่งอาหารนั้นไม่ง่ายสำหรับ Amazon เพราะมีคู่แข่งสำคัญทั้ง Deliveroo และ Uber Eats
บุคคลในอุตสาหกรรมให้ความเห็นที่น่าสนใจว่าตลาดเดลิเวอรีอาหารนั้นมีการแข่งขันสูง และไม่ใช่แค่มีบริการขนส่งสินค้าอยู่แล้วจะมาทำส่งอาหารได้เลย ธุรกิจนี้มีรายละเอียดที่ซับซ้อนกว่านั้น
Go-Jek บริการเรียกรถสารพัดชนิดของอินโดนีเซีย (กำลังจะเข้ามาทำตลาดบ้านเราในชื่อ Get) เปิดบริการใหม่ Go-Pertamina บริการเติมน้ำมันถึงรถยนต์ของผู้ใช้ในอินโดนีเซีย
Go-Jek ร่วมมือกับบริษัทปั๊มน้ำมัน Pertamina จัดส่งน้ำมันจากปั๊มที่ใกล้ที่สุดไปยังรถยนต์ของผู้ใช้ ให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 ทุกวัน
Go-Pertamina เป็นบริการหนึ่งของแอพ Go-Life แอพลูกของ Go-Jek ที่ให้บริการเดลิเวอรีสิ่งของและบริการต่างๆ เช่น ทำผม ทำความสะอาด เป็นต้น
ที่มา - Go-Jek, Tech in Asia
Zomato เว็บค้นหาร้านอาหารของประเทศอินเดีย ประกาศรับเงินเพิ่มทุนอีก 210 ล้านดอลลาร์ จาก Alipay สิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นของ Zomato อยู่แล้
ก่อนหน้านี้ Zomato รับเงินเพิ่มทุน 200 ล้านดอลลาร์จาก Alipay เช่นกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยถึงตอนนี้ Alipay ถือหุ้นใน Zomato ราว 20-22% เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด
Zomato ก่อตั้งเมื่อปี 2008 โดยเริ่มจากเป็นเว็บรวมลิสท์ร้านอาหาร ให้บริการใน 41 เมืองของอินเดีย และขยายไปสู่บริการสั่งอาหารและจองโต๊ะอาหาร มีคู่แข่งหลักในอินเดียคือ Swiggy, Uber Eats และ Foodpanda
ที่มา: NDTV
ดูเหมือนว่าบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ จะกลายเป็นธุรกิจร้อนแรงในสายตาบริษัทไอทีรายใหญ่ ล่าสุดมีข่าวว่า Amazon เอง ก็ได้เจรจาเพื่อขอซื้อกิจการ Deliveroo สตาร์ทอัพเดลิเวอรี่รายใหญ่ของอังกฤษ แต่ดีลยังไม่บรรลุ
เมื่อวันก่อนมีรายงานว่า Uber ก็ได้เริ่มเจรจาขอซื้อกิจการ Deliveroo เช่นกัน เพื่อขยายฐานบริการในพื้นที่ยุโรป
รายงานระบุว่า Amazon ได้เจรจากับ Deliveroo ตั้งแต่เมื่อสองปีก่อน แต่ไม่สำเร็จ แล้วมีการเจรจาอีกครั้งเมื่อ 9 เดือนที่แล้ว
Deliveroo มีแผนจะไอพีโอเข้าตลาดหุ้นภายในปี 2019-2020 เหตุผลหนึ่งที่บริษัทเป็นที่สนใจในการเทกโอเวอร์ เพราะปัจจุบันบริษัทมีกำไร แม้อัตราส่วนกำไรจะค่อนข้างน้อย โดยอยู่ที่ราว 0.7%
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Uber กำลังเริ่มเจรจาเบื้องต้นเพื่อขอซื้อกิจการ Deliveroo แพลตฟอร์มบริการเดลิเวอรี่ของอังกฤษ ที่มีพื้นที่บริการทั่วยุโรป โดยมูลค่าเสนอเบื้องต้นอยู่ที่ระดับหลายพันล้านดอลลาร์
มูลค่ากิจการของ Deliveroo หลังเพิ่มทุนรอบล่าสุดอยู่ราว 2 พันล้านดอลลาร์ ฉะนั้น Uber ต้องยื่นข้อเสนอที่สูงกว่านี้
Deliveroo ให้บริการในพื้นที่ของยุโรป และถือเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Uber Eats บริการส่งอาหารของ Uber แต่ส่วนแบ่งการตลาดของ Deliveroo นั้นมากกว่า
Amazon เปิดตัว Hub by Amazon โซลูชันสำหรับการจัดส่งสินค้าพัสดุสำหรับผู้พักอาศัยในอพาร์ทเม้นท์ โดย Amazon จะติดตั้งตู้เก็บของเหมือนกับ Amazon Locker ในพื้นที่ของอพาร์ทเม้นท์ และผู้รับสินค้าก็สามารถมาใส่รหัสเปิดตู้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ไฮไลท์ก็คือ Amazon บอกว่าบริการ Hub นี้ ไม่ได้จำกัดแค่การส่งสินค้าจาก Amazon เท่านั้น แต่รองรับการส่งพัสดุจากใครก็ได้ เปรียบเสมือนเป็น ตู้ ปณ. ประจำอพาร์ทเม้นท์
Walmart เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งอีกขั้นโดยประกาศจะเปิดบริการส่งของจากออนไลน์ถึงบ้านใน 100 เมืองทั่วสหรัฐฯ จากร้านค้าที่มีประมาณ 800 สาขา จัดส่งโดยพาร์ทเนอร์เช่น Uber, Deliv เป็นต้น
ลูกค้าต้องสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ 30 ดอลลาร์ ขึ้นไป และเสียค่าธรรมเนียมส่งสินค้า 9.95 ดอลลาร์ และถ้าสั่งสินค้าก่อนบ่ายโมงจะได้สินค้าภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง โดย Walmart ตั้งเป้าจะขยายบริการ 100 เมืองให้ได้ภายในปีนี้
มีรายงานว่า Alibaba ได้เริ่มเจรจาเพื่อซื้อกิจการทั้งหมดของ Ele.me แพลตฟอร์มบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ โดยเป็นการขอซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด (ปัจจุบัน Alibaba ถือหุ้น Ele.me อยู่แล้วบางส่วน) ซึ่งหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั้นก็คือ Baidu ที่เข้ามาถือหุ้นจากการที่ Ele.me ไปซื้อกิจการ Waimai บริการส่งอาหารคู่แข่งตอนนั้น
ดีลนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา แต่แหล่งข่าวบอกว่ามูลค่าอาจสูงถึง 9,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Alibaba ต้องการควบคุมกิจการ Ele.me ทั้งหมด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ Meituan Dianping ผู้ให้บริการเบอร์หนึ่งที่มี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลัก
ในธุรกิจส่งอาหารที่สามารถส่งอาหารไปยังลูกค้าทุกรายได้ การนำอาหารเหลือไปยังผู้ที่มีความต้องการอาหารก็คงไม่ยากเย็นเกินไป
DoorDash ผู้ให้บริการส่งอาหารจากร้านอาหารไปยังลูกค้า เพิ่มทางเลือกใหม่ให้ร้านอาหารที่มีอาหารเหลือต้องทิ้ง (ตามกฎหมายไม่สามารถนำมาขายในวันถัดไปได้) สามารถนำอาหารเหลือไปยังธนาคารอาหารหรือ Food Bank เพื่อแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการอาหาร เช่น คนไร้บ้าน ต่อไป
oBike บริการแชร์จักรยานในสิงคโปร์ เปิดตัวบริการเดลิเวอรี่ภายใต้ชื่อ oBike Flash ทางบริษัทการันตีส่งของในระยะเวลา 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังเปิดให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ส่งของหรือ Flashman ด้วย
oBike เปิดตัวบริการ oBike Flash ท่ามกลางการแข่งขันสูง และบรรดาคู่แข่งอย่าง ofo, Mobike ต่างก็เพิ่งระดมทุนได้เป็นจำนวนมาก oBike Flash จึงอาจเป็นอีกช่องทางเพิ่มรายได้ให้บริษัท
Yandex บริษัทเสิร์ชรายใหญ่ของรัสเซีย ที่เพิ่งควบรวมบริการรถแท็กซี่ Yandex.Taxi กับ Uber เสร็จสิ้นไปเมื่อเดือนก่อน ประกาศซื้อกิจการ Foodfox สตาร์ทอัพส่งอาหาร ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย แต่คาดไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน Foodfox เป็นบริการส่งอาหารรายใหญ่อันดับ 2 มีร้านอาหารในแพลตฟอร์มราว 2,000 แห่งในมอสโคว โดยจะเข้ามารวมกับ UberEats ที่มีร้านอยู่จำนวนหลักหลายร้อยแห่ง
คู่แข่งสำคัญของ Foodfox คือ Delivery Club ที่มีร้านอาหารอยู่ราว 6,500 แห่ง ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าของคือ Mail.Ru บริษัทออนไลน์รายใหญ่อีกแห่งของรัสเซีย ที่ซื้อกิจการมาจาก Rocket Internet ไปเมื่อปีก่อน
Grab ประเทศไทยเปิดตัวบริการใหม่ GrabFood บริการรับส่งอาหารด้วย GrabBike โดยเบื้องต้นเปิดให้บริการแบบจำกัดพื้นที่ในกรุงเทพฯ ได้แก่ สยาม สีลม สาทร เยาวราช และสุขุมวิท ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้บริการได้ผ่านแอพ Grab
บริการ GrabFood จะจัดส่งอาหารจากร้านในรัศมี 4 กิโลเมตรจากตำแหน่งของผู้ใช้เท่านั้น ในช่วงเวลา 10:00-22:00น. ของทุกวัน คิดราคาค่าบริการจัดส่งแบบเหมาจ่าย 60 บาท ยังไม่รวมค่าอาหาร ในช่วงแรกนี้รองรับการจ่ายค่าบริการและค่าอาหารเป็นเงินสดเท่านั้น
บริการ GrabFood เริ่มให้บริการครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย
สตาร์ทอัพบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ Foodpanda ประกาศรีแบรนด์ใหญ่ โดยเปลี่ยนโลโก้จากธีมสีส้ม มาเป็นหมีแพนด้าในธีมสีชมพู ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้ขายกิจการให้ Delivery Hero ไปเมื่อปีที่แล้ว
Laura Kantor หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Foodpanda บอกว่าการเลือกใช้สีชมพูนี้ จะทำให้ Foodpanda แตกต่างและโดดเด่นมากขึ้นในตลาด ซึ่งมีผู้ใช้สีส้มกันอยู่ค่อนข้างมาก
ปัจจุบัน Foodpanda ให้บริการอยู่ใน 190 เมือง 12 ประเทศ รวมทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และไทย
ที่มา: Marketing
Facebook ประกาศเพิ่มคุณสมบัติใหม่ในแอพชื่อ Order Food โดยผู้ใช้งานสามารถสั่งอาหารได้จากร้านบริเวณใกล้เคียงที่แสดงขึ้น เลือกได้ว่าจะไปรับเองที่ร้านหรือให้มาส่ง รวมทั้งแสดงข้อมูลความคิดเห็นของเพื่อนที่เคยไปร้านนั้นๆ มาแล้ว
Facebook เคยทดสอบฟีเจอร์นี้เมื่อปลายปีที่แล้ว และเพิ่มการสั่งอาหารเมื่อเดือนพฤษภาคม แต่ครั้งนี้ Facebook ประกาศขยายพื้นที่ให้บริการทั่วทั้งอเมริกา
สำหรับบริการสั่งอาหารนี้ Facebook เลือกไม่ทำเอง แต่ใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับบริการส่งอาหารที่มีอยู่แล้วหลายราย อาทิ EatStreet, Delivery.com, DoorDash, ChowNow และ Olo รวมทั้งเป็นพาร์ทเนอร์ตรงกับเชนร้านอาหารด้วย
Walmart ร่วมมือกับบริษัททำระบบล็อกอัจฉริยะหรือ August Home ทดลองบริการส่งสินค้าและของสดจาก Walmart ถึงบ้านและนำเข้าตู้เย็นให้แม้เจ้าของบ้านไม่อยู่
วิธีการคือ ผู้ใช้สั่งซื้อสินค้าบน Walmart ตามปกติ หลังจากนั้นคนส่งของหรือ Deliv driver จะส่งของให้ถึงที่บ้าน และในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ กดกริ่งหน้าบ้านแล้วไม่มีคนมาเปิดประตู คนส่งของจะกรอกรหัสที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นบนอุปกรณ์ smart lock ของบริษัท August Home เมื่อมีการกรอกรหัสเกิดขึ้นเจ้าของบ้านจะรู้ได้จากการแจ้งเตือนผ่านแอพบนสมาร์ทโฟน
เจ้าของบ้านยังดูกิจกรรมต่างๆ ที่ Deliv driver ทำในบ้านได้เรียลไทม์ผ่านแอพและอุปกรณ์กล้องที่ติดตั้งในบ้าน และเมื่อ Deliv driver ออกจากบ้าน ล็อกประตูแล้ว ระบบจะทำการยืนยันมายังสมาร์ทโฟนของเจ้าของบ้านด้วย
Amazon สร้างแรงสะเทือนวงการค้าปลีกตอนเข้าซื้อ Whole Foods และกำลังรุกหนักขึ้นอีกขั้นในตลาดร้านอาหาร ล่าสุดจับมือกับ Olo ทำบริการส่งอาหารจากร้านอาหารในพื้นที่ใกล้เคียงถึงบ้าน
Olo คือผู้ให้บริการเทคโนโลยีสั่งซื้ออาหารและส่งถึงที่ ทำบริการแก่แบรนด์ร้านอาหารกว่า 200 แบรนด์ในสหรัฐฯ ครอบคลุมร้านอาหารประมาณ 40,000 แห่ง
แคลิฟอร์เนียเป็นเมืองหนึ่งที่ผลักดันอุตสาหกรรมกัญชาอย่างเต็มตัวให้ถูกกฎหมาย ซึ่งก็ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ต้องมีการควบคุม และล่าสุดทางการก็ได้ออกกฎหมายห้ามใช้โดรนในการส่งกัญชา
ในรายละเอียดของข้อกำหนดนี้ ยังห้ามการใช้ยานพาหนะไร้คนขับในการขนส่งด้วย โดยการจัดส่งกัญชานั้นต้องทำโดยบริษัทขนส่งที่ได้รับใบอนุญาต พร้อมมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดส่ง
ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพบริการจัดส่งกัญชาหลายรายในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งก็มีตัวเลือกให้จัดส่งด้วยโดรนอยู่ด้วย การให้บริการประเภทนี้ก็ต้องยกเลิกไป
Yelp แพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหาร ประกาศวันนี้ว่าได้ตกลงที่จะขายธุรกิจในเครือ ที่ให้บริการส่งอาหาร Eat24 ให้กับ GrubHub ที่มูลค่า 287.5 ล้านดอลลาร์ โดยในข้อตกลงนี้ Yelp ต้องเพิ่มบริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrubHub เข้าไปในแอพด้วยเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
Yelp ซื้อกิจการ Eat24 เมื่อปี 2015 ที่มูลค่า 134 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ใหญ่พอได้ เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจส่งอาหารที่อเมริกาอยู่แล้วอย่าง GrubHub รวมถึง Seamless, AllMenus และ MenuPages ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นธุรกิจในเครือของ GrubHub เช่นกัน
LINE เผยยอดผู้ใช้แอพพลิเคชั่น “LINE MAN” ครบรอบ 1 ปี มีจำนวนผู้ใช้มากถึง 5 แสนครั้งต่อเดือน มีการใช้งานอย่างหนาแน่นโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็นอัตราส่วน 70% ของผู้ใช้ LINE MAN ทั้งหมด ซึ่งมีบริการครอบคลุมร้านอาหารกว่า 30,000 ร้าน