ไม่ได้มาฟันธงอะไรแต่อย่างใด แต่งานวิจัยล่าสุดจากการร่วมมือของมหาวิทยาลัย ETH Zurich กับมหาวิทยาลัย East China ได้แสดงการวิเคราะห์ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังเข้าใกล้จุดสูงสุดในเร็วๆ นี้
งานวิจัยในชื่อ "The 2006-2008 Oil Bubble and Beyond."(PDF) เป็นความพยายามที่จะศึกษาต้นเหตุของวิกฤติราคาน้ำมันที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ จากจุดเริ่มต้นของฟองสบู่ราคาน้ำมันนี้ที่เกิดจากการลดกำลังผลิตลงในช่วงปี 2006 ที่สวนทางกับความต้องการของตลาดโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2007 เป็นต้นมากำลังผลิตนั้นเริ่มตามความต้องการได้ทัน แต่ราคาก็ยังแปรผันอยู่มาก
รถยนต์แบบไฮบริดในวันนี้คงไม่มีใครเกินหน้า Toyota Prius ที่ยอดขายเกินล้านคันไปได้ และเนื่องจาก Prius รุ่นที่สองนั้นวางตลาดมาใกล้ครบห้าปีแล้ว (รุ่นแรกในปี 1997 รุ่นสองในปี 2003) เลยคาดกันว่ารุ่นที่สามนั้นน่าจะวางตลาดภายในปีหน้า และความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดคือการติดแผงโซลาร์เซลล์ไปบนตัวรถ
ข่าวนี้ยังไม่มียืนยันจากทางโตโยต้าแต่อย่างใด แต่ในตัวข่าวก็ระบุว่าตัวแผงโซลาเซลล์นั้นจะผลิตโดยบริษัทเคียวซีร่า และพลังงานที่ได้จะถูกนำมาใช้ในระบบปรับอากาศ
ไม่รู้ว่าบ้านเรานโยบายเรื่อง Eco-car ไปถึงไหนกันแล้ว
ที่มา - Reuters
เมอร์เซเดส-เบนซ์ประกาศไม่พึ่งพิงน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงภายในปี 2015 โดยให้เหตุผลสามข้อ คือ ต้นทุน, สิ่งแวดล้อม และลดความเสี่ยงจากภาวะน้ำมันหมดโลกในอนาคต
เมอร์เซเดส-เบนซ์ลงทุนไปแล้วกว่า 2 ล้านปอนด์ในแผนระยะยาวชื่อ Sustainable Mobility และเตรียมจ่ายอีก 7 พันล้านปอนด์ระหว่างช่วงนี้ถึงปี 2014 โดยจะวิจัยเพิ่มความสะอาดของเครื่องยนต์ การเพิ่มอัตราส่วนของเครื่องไฮบริด รวมถึงพลังงานอื่นๆ อย่างเช่นไฮโดรเจนด้วย
รถรุ่น A-Class และ B-Class ที่เตรียมขายเดือนตุลาคมนี้จะมีเทคโนโลยี Start/Stop ซึ่งเมื่อรถจอดติดไฟแดงจะหยุดเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ และติดเครื่องใหม่ให้อีกรอบ เมื่อคนขับปล่อยเท้าออกจากเบรกตอนไฟเขียว ส่วน Blue Efficiency A-Class 160 และ C-Class ที่ออกปลายปีจะประหยัดน้ำมันขึ้น 12%
หนึ่งในประเทศที่แสวงหาความมั่นคงทางพลังงานมากที่สุดในโลกคงไม่มีใครเกินหน้าญี่ปุ่นไปได้ เพราะด้วยจำนวนประชากรที่สูงและภาคเศรษฐกิจที่ต้องการพลังงานสูงมาก ล่าสุดเมืองซาไกก็ออกมาประกาศความร่วมมือกับทางบริษัทชาร์ป และบริษัท Kansai Electric Power ที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ที่มีกำลังผลิตถึง 10 เมกกะวัตต์แล้ว (สูงสุด 18 เมกกะวัตต์และต่ำสุด 9 เมกกะวัตต์)
การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในปี 2009 และคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ในปี 2011 โดยที่ตั้งนั้นเป็นพื้นที่ถมทะเลบริเวณชายฝั่งเมืองซาไกนั่นเอง มูลค่าการก่อสร้างครั้งนี้ประมาณ 5 พันล้านเยน
ก่อนหน้านี้สองบริษัทเคยร่วมกันสร้างโรงงานไฟฟ้าในแบบเดียวกันนี้สำหรับโรงงานของชาร์ปแต่มีขนาดเล็กกว่าคือ 5 เมกกะวัตต์
เทคโนโลยีแสงอาทิตย์ในตอนนี้น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจสูงสุด เพราะสะอาดและน่าจะวางใจได้ว่าไม่หมดในเร็วๆ นี้ แต่ปัญหาของเทคโนโลยีเหล่านี้คือต้นทุนค่าเทคโนโลยีและการผลิตที่แพงมาก ล่าสุดนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจาก MIT ก็สาธิตจานรวมแสงประสิทธิภาพสูงที่อาจจะเป็นเทคโนโลยีรวมแสงให้คุ้มค่าในแง่ของต้นทุนมากที่สุดในตอนนี้
ทีมงานอาศัยการรวมแสงจากจานสะท้อนเข้าหาหม้อต้มน้ำสีดำขนาดเล็ก รูปร่างของจานนั้นคล้ายกับจานดาวเทียม
เทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้เคยมีมาก่อนหน้า และผู้ถือสิทธิบัตรในเทคโนโลยีนั้นคือ Doug Wood โดย Wood นั้นก็ได้เซ็นสัญญาอนุญาตให้ทีมงานใช้เทคโนโลยีของเขาไปแล้ว
อินเทลประกาศก่อตั้งบริษัทลูกในชื่อ SpectraWatt มีจุดประสงค์หลักในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ป้อนโรงงานผลิตโมดูลโซลาร์เซลล์ โดยอินเทลลงทุนประเดิมก้อนแรกเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์พร้อมๆ กับกองทุนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
SpectraWatt จะเปิดโรงงานแรกในรัฐโอเรกอน การก่อตั้งบริษัทน่าจะเรียบร้อยในไตรมาสที่สามของปีนี้ และจะเริ่มส่งมอบสินค้ากันภายในกลางปีหน้า โดยบริษัทอ้างว่าบริษัทมีลูกค้ารอสินค้าอยู่แล้ว และเริ่มเตรียมวัตถุดิบไว้แล้ว
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Hatch ในรัฐจอร์เจียประกาศปิดโรงไฟฟ้าชั่วคราวเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เนื่องมาจากวิศวกรระบบที่ทำหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ให้โรงไฟฟ้า ทำการลงซอฟต์แวร์อัพเดตในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเครื่องดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจจับความผิดพลาดในโรงงาน
เมื่อวิศวกรทำการลงโปรแกรมเสร็จ เครื่องก็จัดการรีบู้ทตัวเอง ส่งผลให้ข้อมูลการควบคุมทั้งหมดถูกตั้งค่าใหม่ทั้งหมด ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยจึงต้องทำการปิดโรงไฟฟ้าชั่วคราว
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงไฟฟ้านี้มีข้อบกพร่องในการออกแบบ ส่งผลให้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวสามารถส่งผลกระทบได้ในวงกว้างเช่นนี้
ป่านนี้วิศวกรคนนั้นคงกลุ้มกะโหลกแย่
นักฟิสิกส์ญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ได้ยืนยันว่าสามารถทำฟิวชั่นแบบเย็นเป็นผลสำเร็จ การทดลองทำโดยการบังคับให้ก๊าซดิวเทเรียมเข้าสู่ห้องที่มีพัลลาเดียม (Palladium) กระจายอยู่ในเซอร์โคเนียมออกไซด์ (Zirconium oxide)ภายใต้แรงดัน ซึ่งทำให้ดิวเทเรียมดูซึมพัลลาเดียมไว้ เป็นผลให้เกิดเป็น เดนเซอร์ (densor) หรือ พินโค (pynco) ดิวเทเรียม ซึ่งนิวเคลียสของดิวเทียมเรียมจะเข้าใกล้กันจะสามารถรวมตัวกันได้ ส่งผลที่ไห้เกิดเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า 70 องศาเซลเ
นักวิจัยในประเทศจีนได้ประกาศถึงความสำเร็จในการแปรรูปฟางข้าว ให้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนราคาถูกสำหรับพลังงานชีวภาพ โดยทางทีมวิจัยอ้างว่า ด้วยวิธีใหม่นี้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานชีวภาพจากฟางข้าวได้ถึง 65%
ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ตัดสินใจไม่ใช้ฟางข้าวเป็นแหล่งพลังงาน เนื่องจากว่าฟางข้าวนั้นมีโครงสร้างของเซลลูโลสที่ซับซ้อน และแข็งแกร่ง จึงทำให้แบคทีเรียไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสเหล่านั้นได้โดยง่าย
หนึ่งในวิธีใหม่ของนักวิจัยกลุ่มนี้คือ การนำฟางข้าวไปผ่านกระบวนการทางเคมีกับโซดาไฟ (Sodium Hydroxide) ก่อนที่จะนำไปหมักกับแบคทีเรีย โดยกระบวนการดังกล่าวนี้จะเพิ่มปริมาณของเซลลูโลสในฟางข้าวที่สามารถถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียได้
จากความพยายามที่จะสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) เพื่อที่จะมาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ได้มีผลทำให้อาหารมีราคาสูงขึ้นทั่วโลก (เช่นข้าว และ น้ำตาล) นักพัฒนาจึงได้เริ่มค้นคว้าถึงความเป็นไปได้ที่จะลดผลกระทบของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพต่อราคาของอาหาร โดยหลีกเลี่ยงการใช้พืชที่มนุษย์สามารถนำมาบริโภคได้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีเอกสารทั้งหมด 3 ฉบับ ที่ได้มีการวิเคราะห์ และชี้แจงถึงอุปสรรค และความเป็นไปได้ของวิธีการต่างๆ ที่สามารถสรุปได้ดังนี้
หน่วยวิจัยของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ร่วมกับภาคเอกชนได้สำรวจถึงการใช้พลังงานลมของสหรัฐฯ และพบว่ามีแนวโน้มว่าสหรัฐกำลังจะใช้พลังงานลมถึงร้อยละ 20 ภายในปี 2030 ที่จะถึงนี้ โดยพลังงานในสัดส่วนนี้จะเท่ากับพลังงานที่ผลิตจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เลยทีเดียว
ปัจจุบันสหรัฐฯ ใช้พลังงานลมทั้งประเทศอยู่ที่ 16,000 เมกกะวัตต์ แต่พลังงานร้อยละ 20 นั้นหมายถึงสหรัฐต้องใช้พลังงานลมเป็น 300,000 เมกกะวัตต์ แม้การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะมีอุปสรรคที่ต้องการการแก้ไขอีกมากมาย แต่ข่าวดีคือเทคโนโลยีพลังงานลมนั้นมีความพร้อมค่อนข้างสูง และไม่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติมมากนัก
จากการศึกษาประจำปีของประเทศบราซิล พบว่า สัดส่วนการใช้พลังงานที่มาจากอ้อย ซึ่งถูกแปรรูปไปใช้ในรูปแบบของเอธานอล และพลังงานจากกากอ้อย เพิ่มสูงขึ้นเป็น 16% จากปีที่แล้ว 14.5% แซงหน้า พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำ ขึ้นเป็นที่ 2 ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
โดยอันดับ 1 ยังคงเป็นน้ำมันด้วยสัดส่วน 36%
แนวโน้มสัดส่วนของการใช้พลังงานชีวภาพในประเทศบราซิลจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับจากนี้ไป แม้ว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มเติมก็ตาม
นอกจากนี้บราซิลยังสามารถผลิตน้ำมันได้เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ และมีเหลือพอที่จะส่งออกได้อีกด้วย
ที่มา Physorg
Enel ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศอิตาลี ได้ตัดสินใจดัดแปลงโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของตัวเอง ในเมือง Civitavecchia จากการใช้น้ำมันเป็นการใช้ถ่านหิน ทำให้สัดส่วนของการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 50% และเพิ่มอัตราส่วนของทั้งประเทศ จาก 14% เป็น 33% ด้วยเหตุผลว่าราคาของน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติทีจะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย
ผลการศึกษาจาก McKinsey พบว่าธุรกิจศูนย์ข้อมูล (หรือที่เราคุ้นกันกับชื่อ data center) จะสร้างมลพิษให้กับโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการบริโภคพลังงานจำนวนมหาศาล
แม้บ้านเราจะรณรงค์การใช้แก๊สโซฮอล์กันอย่างหนัก แต่งานวิจัยล่าสุดจาก UMass (University of Massachusetts-Amherst) อาจจะทำให้เราไม่ต้องพึ่งพลังงานจากเอธานอลอีกต่อไป ด้วยการผลิตน้ำมันจากชีวมวล (ต้นไม้ใบหญ้า) มาเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันทุกประการที่เรียกว่าเบนซินเขียว (green gasoline)
กระบวนการผลิตใช้เวลาประมาณสองนาทีและไม่ต้องการความร้อนมากนัก แต่ยังคงใช้เวลาอีกนานเพื่อที่จะพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมากๆ และมีต้นทุนที่ต่ำพอ
เบนซินเขียวนี้มีข้อดีกว่าน้ำมัน E20 ที่บ้านเราใช้งานกันหลายอย่าง หลักๆ คือ พลังงานที่ให้เท่ากันทำให้ตัวเลขกิโลเมตรต่อลิตรเท่าน้ำมันปรกติ และไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใดๆ
นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีปรับปรุงเซลล์เชื้อเพลิงใหม่ โดยทำให้ electrode ของเซลล์เชื้อเพลิงมีขนาดเบาและบาง ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายของ คาร์บอนนาโนทูบส์ ซึ่งสามารถเข้าไปใกล้ความจริงในการนำมาใช้ได้ตามบ้านเรือน
งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ Applied Physics Letters เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2008 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการคิดค้นของสถาบันวิจัย Max Planck และ มหาวิทยาลัยDarmstadt ประเทศเยอรมันนี
เครือข่ายนาโนทูบส์ที่สร้างขึ้นมาจะทำหน้าที่เป็น electrode ในการให้แก๊สแพร่เข้าไปยังชั้นที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งมีแพลทินัมเป็นส่วนประกอบ โปรตอนและอิเล็กตรอนของแก๊สจะทำปฏิกิริยาต่อวัสดุนี้และแยกอะตอมออกมาให้พลังงานออกมา
ในสภาวะที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงอย่างในปัจจุบัน ทำให้การใช้พลังงานทางเลือกเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งแหล่งพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นพลังงานชีวภาพ
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับการนำพลังงานชีวภาพ มาใช้กันแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เหตุผลหลักๆ ของฝ่ายที่คัดค้าน ก็คือ เรื่องการใช้พลังงานทั้งหมด ในวงจรของการปลูกและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และปัญหาเรื่อง ปริมาณอาหารที่จะเพียงพอหรือไม่ หากเรานำมาใช้ผลิตเป็นพลังงาน
การพัฒนาเทคนิคในการผลิตโซลาร์เซลล์เพื่อให้ต้นทุนต่ำพอที่จะติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ยังคงอยู่ในความสนใจของคนจำนวนมาก และด้วยเทคโนโลยี Power Plastic ที่บริษัท Konarka เพิ่งประกาศความสำเร็จ ด้วยการใช้เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตแทนกระบวนการผลิตชิปซิลิกอนแบบเดิมๆ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะลดต้นทุนในการผลิตโซลาร์เซลล์ในปริมาณมาก
แม้กระบวนการผลิตจะเริ่มผลิตโซลาร์เซลล์ได้แล้ว แต่ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ที่ได้จากกระบวนการนี้ยังมีประสิทธิภาพเพียงร้อยละ 5 เทียบกันร้อยละ 15 ถึง 20 ของโซลาร์เซลล์โดยทั่วไป ในเรื่องนี้ทางด้าน Konarka ระบุว่าเราอาจจะต้องรอไปอีกประมาณสองปีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ Power Plastic ก่อนจะได้เห็นมันวางตลาดจริงๆ
ตามแผนการยกเลิกการใช้พลังงานจากถ่านหินภายในปี 2014 รัฐ Ontario ประเทศแคนาดาได้เริ่มเตรียมการประมูลการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่หลังจากไม่มีการสร้างเพิ่มเติมมานานนับสิบปี
ในปัจจุบันแคนาดามีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทำงานอยู่ทั้งหมด 16 เตาจากโรงไฟฟ้าสามแห่ง ทั้งหมดสร้างขึ้นมานานกว่ายี่สิบปี มีกำลังผลิตรวม 14,000 เมกกะวัตต์ ด้วยอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ เตาปฏิกรณ์สองเตาถูกปิดไปตั้งแต่ปี 2005 และกำลังมีอีกสองเตาต้องปรับปรุงสภาพในเร็วๆ นี้
พร้อมๆ กับแผนการนี้ทางการแคนาดากำลังเตรียมเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนจาก 6,300 เมกกะวัตต์เป็น 15,700 เมกกะวัตต์ภายในปี 2025
ที่มา - PhysOrg
หลังจากเป็นข่าวมานาน รถยนต์พลังอากาศอัดก็เริ่มประกาศแผนการทำตลาดในสหรัฐฯ แล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดจอดภายในต้นปีนี้และเริ่มส่งมอบรถล็อตแรกกันในปี 2010 โดยรถดังกล่าวจะผลิตโดยบริษัท Zero Pollution Motor ซึ่งซื้อสิทธิ์ในการผลิตมาจากบริษัท MDI ในประเทศฝรั่งเศส
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านพลังงานมาค่อนข้างยาวนาน ล่าสุดทางรัฐบาลของรัฐวิคตอเรียก็ได้ผู้ชนะการประมูลในโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้โซลาร์เซลล์มูลค่า 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณหนึ่งหมื่นสามพันล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการก่อสร้างนั้นจะเริ่มต้นในปีหน้า
หากโครงการนี้ก่อสร้างสำเร็จจะทำให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้าที่กำลังผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในโลก ด้วยกำลังผลิต 54 เมกกะวัตต์ แต่ยังไม่มีข้อมูลถึงกำหนดการก่อสร้างแต่อย่างใด
ขณะที่กระแสการลดการใช้พลังงานกำลังแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ เองรถยนต์ที่ครองแชมป์ในด้านนี้อยู่คงเป็น Toyota Prius ที่มีประสิทธิภาพสูงมากเป็นดันดับต้นๆ และมีวางขายในสหรัฐฯ แต่ตอนนี้หมายเลขสองอย่างฮอนด้าก็เริ่มโชว์เทคโนโลยีขั้นต่อไปที่เหนือกว่ารถไฮบริดแบบเดิมๆ กันแล้ว โดยมีการตีพิมพ์ในงานวิจัยหัวข้อ "Advanced Transient Simulation on Hybrid Vehicle Using Rankine CYcle System"
ในวารสารวิชาการ Microbial Biotechnology เล่มล่าสุด(PDF) มีรายงานถึงการใช้แบคทีเรีย E. coli ที่ เคยสร้างปัญหาด้านความปลอดภัยกันมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง มาใช้ในการผลิตพลังงานแหล่งใหม่ โดยทีมงานวิจัยพบว่าเชื้อ E. coli นี้สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี หลังผ่านการคัดและดัดแปลงพันธุ์มาแล้ว
กระแสการใช้พลังงานชีวภาพกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบ้านเราและประเทศในกลุ่มเอเซียแปซิฟิกและยุโรป กำลังสร้างความวิตกต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะไม่คุ้มค่า จนทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ต้องออกมาเตือนว่าแม้การใช้พลังงานชีวภาพจะให้ผลดีในแง่ของความมั่นคงทางพลังงาน แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมากเกินกว่าที่เราคาดกัน
การแถลงการครั้งนี้มาจากนาย Regan Suzuki ในงามประชุมวิชาการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางสหประชาชาติและรัฐบาลไทย ระบุว่าผลกระทบหลักๆ ของการใช้พลังงานชีวภาพคือ การขาดแคลนอาหาร, การขาดแคลนน้ำที่จะถูกผันไปใช้ในการเกษตร, และพื้นที่ป่าที่จะถูกทำลายเพื่อนำมาเป็นพื้นที่เพาะปลูก
กระแสพลังงานชีวภาพเริ่มได้รับความนิยมเรื่อยมาในช่วงหลัง ที่เราเห็นๆ กันคงเป็นไบโอดีเซล กับแก๊สโซฮอลล์ ในเรื่องนี้ทางสหภาพยุโรปนั้นจริงจังกว่าเรามาก โดยระบุชัดเจนว่าภายในปี 2020 แหล่งพลังงานของระบบขนส่งต้องมาจากเชื้อเพลิงชีวภาพร้อยละ 10
ในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาจาก Joint Research Centre ซึ่งศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ของทางสหภาพยุโรปเอง ระบุชัดเจนว่าความพยายามเพิ่มการใช้งานพลังงานชีวภาพนั้นไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าค่าใช้จ่ายรวมเพื่อการบรรลุเป้าหมายร้อยละ 10 นั้นจะอยู่ที่ 33 ถึง 65 พันล้านยูโรหรือประมาณ 1.5 ถึง 3 ล้านล้านบาทไทย