Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า Diem Association หน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลสกุลเงินคริปโต Diem (เดิมชื่อ Libra) ของ Meta หรือ Facebook เดิม กำลังเตรียมขายสินทรัพย์ทอดตลาดเพื่อหาเงินมาคืนให้กับนักลงทุน
Diem หรือ Libra ถูกธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) กดดันอย่างหนักมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้น จนมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง จากไอเดียตั้งต้นที่จะใช้ตะกร้าสกุลเงินจากหลายประเทศ มาใช้เป็นเงินดอลลาร์ค้ำ เปลี่ยนชื่อกระเป๋าเงินจาก Libra เป็น Novi และเปลี่ยนชื่อสกุลเงินจาก Libra เป็น Diem
มีรายงานจาก The Financial Times ระบุว่า Meta กำลังพัฒนาเครื่องมือสำหรับสร้าง แสดง และขาย NFT ผ่านแพลตฟอร์มในเครือทั้ง Facebook และ Instagram นอกจากนี้ยังเตรียมใช้กระเป่าเงินดิจิทัล Novi มารองรับการทำงานส่วนนี้ด้วย
รายงานยังบอกว่า Instagram อาจถูกใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับให้คนที่มีผลงาน NFT นำมาแสดงผล สอดรับกับแนวทางที่บริษัทต้องการไปสู่โลกเสมือน ซึ่งการเพิ่มเครื่องมือซื้อขายสินค้าดิจิทัลก็เป็นหนึ่งในนั้น
ทั้งนี้ตัวแทนของ Meta ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดัวกล่าว
ที่มา: Engadget
Meta บริษัทแม่ของ Facebook ประกาศเลื่อนการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงานออกไปอีกครั้ง จากเดิมปลายเดือนมกราคม เป็น 28 มีนาคมนี้
ผู้บริหารของ Meta กล่าวว่าในสถานการณ์นี้บริษัทต้องการให้พนักงานมีเวลามากพอ ที่จะเลือกว่าจะกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงานหรือทำงานจากที่บ้านต่อไป จึงขยายเวลาทำงานที่บ้านออกไประยะหนึ่ง โดยหากเลือกทำงานที่บ้านต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าภายในกลางเดือนมีนาคม และบริษัทจะขยายเวลาไปอีก 3-5 เดือน
ทั้งนี้ Meta กำหนดว่าพนักงานที่จะกลับมาทำงานที่สำนักงานต้องได้รับวัคซีนเข็มบูสเตอร์แล้วเท่านั้น
ศาลมอสโก สั่งปรับ Google และ Meta เนื่องจากไม่ยอมลบเนื้อหาต้องห้ามที่ผิดกฎหมายของรัสเซีย โดย Google โดนสั่งปรับ 7.2 พันล้านรูเบิล (ราว 3.3 พันล้านบาท) และ Meta โดนปรับ 2 พันล้านรูเบิล (ราว 900 ล้านบาท)
Roskomnadzor หน่วยงานด้านการสื่อสารและสื่อมวลชนของรัสเซีย (คล้ายๆ กสทช. ของบ้านเรา) ระบุว่าได้แจ้งให้กูเกิลลบเนื้อหาผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ความรุนแรง การก่อการร้าย ฯลฯ ออกจากแพลตฟอร์มมากกว่า 26,000 รายการ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง เลยต้องยื่นคำร้องให้ศาลตัดสินสั่งปรับ ส่วน Facebook และ Instagram ของบริษัท Meta ก็ได้รับคำร้องลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ได้ระบุจำนวน
เว็บไซต์ Yahoo Finance ทำแบบสำรวจคนอ่านเพื่อโหวตบริษัทยอดเยี่ยม และยอดแย่แห่งปี หลังปีนี้ Microsoft คว้าตำแหน่งบริษัทยอดเยี่ยมไป Yahoo Finance ก็ประกาศมอบตำแหน่งบริษัทยอดแย่แห่งปี 2021 ให้กับ Meta หรือชื่อเดิม Facebook
วารสารการแพทย์ The BMJ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง Mark Zuckerberg เรียกร้องให้เฟซบุ๊กแก้ไขระบบตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังระบบของเฟซบุ๊กห้ามไม่ให้ผู้ใช้แชร์บางบทความของ The BMJ
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Professional Mode ให้กับบัญชี Profile คนดัง มีความสามารถหารายได้-จัดการระบบหลังบ้านแบบเดียวกับที่ Page
Facebook บอกว่าที่ผ่านมาได้สร้างเครื่องมือสำหรับครีเอเตอร์หลายอย่าง โดยเฉพาะการหารายได้ผ่านโฆษณา และระบบวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้าน แต่มีให้ใช้เฉพาะ Page เท่านั้น ในขณะที่ครีเอเตอร์จำนวนมากใช้วิธีโพสต์จาก Profile ของตัวเอง จึงขยับขยายเครื่องมือเหล่านี้มาให้ Profile ใช้งานด้วย โดย Profile ต้องเปิด Professional Mode ก่อนถึงจะใช้งานได้
เบื้องต้น Professional Mode ยังมีให้เฉพาะ Profile ในสหรัฐอเมริกา และยังทดสอบในกลุ่มปิดเท่านั้น
Facebook ประกาศปรับปรุงระบบการสนับสนุนครีเอเตอร์ด้วยดาว (Stars) มีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: Meta
Facebook มีโครงการ Facebook Protect บังคับการล็อกอินแบบ 2FA หากเป็นนักการเมือง คนดัง นักสิทธิมนุษยชน นักข่าว ฯลฯ เพื่อความปลอดภัยจากการโดนแฮ็กบัญชี แต่ก่อนหน้านี้ยังจำกัดการใช้งานเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น
สัปดาห์ที่แล้ว Facebook ประกาศว่าจะขยายโครงการนี้เพิ่มในอีกกว่า 50 ประเทศภายในปีนี้ แม้ไม่ได้ระบุรายชื่อประเทศทั้งหมด แต่ Facebook ประเทศไทยก็แจ้งข่าวนี้เป็นภาษาไทยด้วย จึงมีโอกาสสูงที่ประเทศไทยจะเข้าข่าย
Facebook ประกาศปรับข้อกำหนดการลงโฆษณาเกี่ยวกับเงินคริปโต จากก่อนหน้านี้ท่าทีของ Facebook คือไม่อนุญาตให้โฆษณาทุกกรณี จากนั้นก็ปรับมาเป็นผู้ลงโฆษณาต้องให้ Facebook ตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือ
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการแสดงข้อมูลใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล จากเดิมกำหนดเพียง 3 หน่วยงานเท่านั้น ได้เพิ่มเป็น 27 หน่วยงาน ซึ่งรวมทั้ง ใบอนุญาตผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ของ ก.ล.ต. ประเทศไทย ด้วย ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบของ Facebook ทำได้สะดวกและแม่นยำมากขึ้น
David Marcus หัวหน้าทีมส่วนธุรกิจเงินคริปโตของ Meta บริษัทแม่ Facebook ประกาศว่าเขาจะลาออกจากบริษัทสิ้นปีนี้ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะไปทำอะไร แต่น่าจะกลับไปเริ่มต้นในฐานะผู้ประกอบการอีกครั้ง
Marcus เดิมเป็นประธานอยู่ที่ PayPal ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย Messenger ของ Facebook และย้ายไปอยู่ฝ่ายบล็อกเชนช่วงปี 2018 ซึ่งจากนั้น 1 ปี Facebook ก็เปิดตัว Diem (ตอนแรกชื่อ Libra) สกุลเงินดิจิทัลที่ Facebook อธิบายว่าทำให้การรับส่งเงิน ง่ายเหมือนกับการส่งข้อความใน Messenger
หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry - CMA) ออกคำสั่งให้ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์ม GIF ที่ Facebook ซื้อกิจการมาเมื่อปีที่แล้ว ออกไปเป็นบริษัทอิสระ ตามที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
CMA ให้เหตุผลว่าการที่ Facebook ซื้อ Giphy ทำให้เกิดการผูกขาดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นการปิดโอกาสทำเงินจากโฆษณาของ Giphy ซึ่งจะสร้างการแข่งขัน อีกทั้ง Giphy ยังทำให้คู่แข่งที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล GIF บนแพลตฟอร์ม อาจต้องแชร์ข้อมูลให้ Facebook อีกด้วย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย Scott Morrison มีแผนเตรียมจะเสนอกฎใหม่ ให้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter เปิดเผยตัวตนของคนคอมเม้นท์หมิ่นประมาท โดยให้ผู้ใช้งานสามารถร้องเรียนแพลตฟอร์มให้ลบคอมเม้นท์หมิ่นประมาทที่ส่งผลกระทบต่อตัวเอง และถ้าแพลตฟอร์มไม่ทำตาม กระบวนการศาลจะสามารถบังคับให้แพลตฟอร์มระบุตัวตนของผู้หมิ่นประมาทในโซเชียลได้
Scott Morrison บอกว่า บนโลกออนไลน์ไม่ควรเป็นพื้นที่ให้พวกหัวรุนแรง ทำร้ายผู้คนโดยไม่เปิดเผยตัวตนได้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกจริง และไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นบนโลกดิจิทัลเช่นกัน
ถือเป็นอีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของแบรนด์ที่มักใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า แต่ตัวโซเชียลมีเดียก็มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นส่วนตัว ไปจนถึง Hate Speech โดย Lush แบรนด์ความงามที่สินค้ายอดนิยมคือสบู่บาธบอม จะปิดบัญชีโซเชียลใหญ่ทั้ง Facebook, Instagram, TikTok และ Snapchat จนกว่ามันจะปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับระบบซื้อขายของในกลุ่ม ฟีเจอร์แรกคือร้านค้าของกลุ่ม (Shops in Groups) ให้แอดมินตั้งขายสินค้าบนเพจที่เชื่อมกับกลุ่มได้ โดยเน้นไปที่แอดมินอาสา และกลุ่มองค์กร
กลุ่มที่ Facebook ยกมาเป็นตัวอย่างคือกลุ่ม OctoNation กลุ่มขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์ รายได้จากการขายของจึงถูกมอบให้องค์กรเพื่อให้ความรู้และสร้างรายได้ให้กับทีมงานที่เป็นทีมงานอาสา
ยังไม่แน่ชัดว่าหากกลุ่มนั้นไม่ใช่กลุ่มการกุศล และไม่ใช่กลุ่มขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มสนทนาสาธารณะ การให้แอดมินตั้งร้านขายสินค้าในกลุ่มได้ จะกลายไปเป็นช่องทางหาเงินเข้ากระเป๋าของแอดมินเองคนเดียวหรือไม่ คงต้องติดตามผลที่จะเกิดต่อไป
เฟซบุ๊ก (Meta) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการแปลภาษาหลายภาษา (multilingual translation) ที่ชนะโมเดลปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่เจาะจงคู่ภาษาถึง 10 คู่ภาษาจาก 14 คู่ภาษา
แนวทางของเฟซบุ๊กสร้างโมเดลแปล 7 ภาษาเป็นภาษาอังกฤษ และโมเดลสำหรับแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาทั้ง 7 นั้นฝึก โดยโมเดลทั้งสองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การค้นหาเอกสารที่แปลแล้วในเว็บ, หรือการใช้เอกสารภาษาเดียวเพื่อฝึกจากปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่มีอยู่แล้ว (back translation), และการปรับแต่งโมเดลด้วยข้อมูลเฉพาะทาง (in-domain finetuning)
ปัญหาการฝังรหัสผ่านหรือคีย์ไว้ในซอร์สโค้ด ถือเป็นช่องโหว่ความปลอดภัยที่มักพลาดกันบ่อยๆ ทำให้บริการฝากซอร์สโค้ดอย่าง GitHub มีฟีเจอร์ชื่อ Secret Scanning คอยไล่ตรวจว่าในโค้ดมีการฝังคีย์ลักษณะนี้หรือไม่ (บังคับเฉพาะโค้ดแบบ public ส่วนโค้ดแบบ private เป็นฟีเจอร์แบบเสียเงิน และต้องเลือกเปิดเอง)
วิธีการคือ GitHub ร่วมกับบริษัทดังๆ หลายเจ้า เช่น AWS, Azure, Google Cloud, Dropbox, Slack, Stripe, Shopify, Twilio (รายชื่อทั้งหมด) เพื่อตรวจสอบแพทเทิร์นคีย์ของบริษัทเหล่านี้ และแจ้งเตือนบริษัทผู้ออกคีย์ให้ถอนคีย์ออก หากพบว่ามีคีย์ถูกเผยแพร่ในที่สาธารณะ
Meta ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เชื่อมต่อระบบโซเชียลในองค์กร Workplace (เดิมชื่อ Workplace from Facebook) เข้ากับ Microsoft Teams
ก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทเพิ่งประกาศความร่วมมือกันโดย หน้าจอ Facebook Portal จะรองรับวิดีโอคอลล์จาก Microsoft Teams ด้วย
Facebook ประกาศถอดตัวเลือกการเจาะจงตัวบุคคลสำหรับโฆษณา (Detailed Targeting) ที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศ แนวคิดทางศาสนา-การเมือง และความสนใจด้านสุขภาพออก ทำให้นักโฆษณาและแบรนด์ไม่สามารถใส่เงื่อนไขเหล่านี้ในการโฆษณาได้อีก
การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในวันที่ 19 มกราคม 2022 โดย Facebook ยกตัวอย่างตัวเลือกที่ถูกตัดออกดังนี้
Facebook เพิ่มฟีเจอร์เพื่อการสร้างรายได้ใน Facebook Groups เพิ่มโอกาสทำเงินของแอดมินกลุ่ม โดยมี 3 ฟีเจอร์หลักคือ community shops และ fundraisers ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่แล้วใน Facebook แต่ขยายขอบเขตไปยัง Facebook Group ด้วย ส่วนฟีเจอร์ที่ 3 ซึ่งเป็นของใหม่คือ paid subgroups
โดย paid subgroups ถือเป็นกลุ่มย่อยใน Groups อีกที โดยสมาชิกจะต้องจ่ายรายเดือนเพื่อเข้าร่วมกลุ่มต่อ เพื่อจะเข้าถึงเนื้อหาเอ็กซคลูซีฟ อย่สงเช่นการโค้ชชิ่ง สร้างเครือข่าย หรือการพูกคุยเจาะลึกในประเด็นต่างๆ
ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2020 Facebook เปิดระบบ Subscriptions ให้ครีเอเตอร์ที่ผ่านเกณฑ์ เก็บเงินจากแฟนๆ รายเดือนเพื่อสร้างรายได้สำหรับสร้างเนื้อหาต่อไปได้ (โมเดลคล้าย Patreon) ล่าสุด Facebook ประกาศความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ครีเอเตอร์ใน 27 ประเทศ รวมไทยด้วย สามารถเปิด Subscriptions ได้ แต่ยังเป็นระบบ invite-only
ครีเอเตอร์สามารถโปรโมทระบบ Subscriptions ในหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงิน Facebook Pay ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ Facebook ยังจ่ายโบนัสให้กับครีเอเตอร์ $5 - $20 ถ้ามีคนมาติดตามเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญเพื่อครีเอเตอร์ที่ Facebook ประกาศมาก่อนหน้านี้
Facebook กำลังทยอยออกอัพเดตใหม่ v34 ให้กับผู้ใช้ Oculus Quest อัพเดตนี้มาพร้อมฟีเจอร์ Space Sense ระบบที่จะทำงานร่วมกับ Guardian System ที่ให้ผู้เล่นตั้งค่าบริเวณที่จะใช้เล่น VR ได้
Space Sense ช่วยไฮไลท์วัตถุที่เข้ามาในบริเวณการเล่น (Guardians bound) ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือเก้าอี้ที่ถูกเลื่อน โดยจะไฮไลท์เป็นขอบสีชมพูเรืองแสง แม้จะเล่นเกมอยู่ มีระยะการทำงาน 9 ฟุต สามารถเข้าไปเปิดได้ในการตั้งค่าส่วน “Experimental Features” หลังอัพเดตเป็น v34 แล้ว
Facebook ประกาศเตรียมปิดระบบการจดจำใบหน้า (face recognition) ของแอป Facebook ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งรวมลบเทมเพลตข้อมูลใบหน้ามากกว่า 1 พันล้านคนออกด้วย โดยผู้ใช้งานที่เลือกเปิดโหมดจดจำใบหน้าไว้จะไม่สามารถใช้ฟังก์ชันนี้ได้อีก
Facebook ให้ข้อมูลเพิ่มว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้งาน Facebook เป็นประจำทุกวัน (DAUs - Daily active users) เลือกเปิดโหมดจดจำหน้าเอาไว้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับระบบใส่ข้อมูลบรรยายรูปภาพอัตโนมัติ (automatic alt text) ด้วย ซึ่ง Facebook บอกว่าระบบนี้ช่วยให้คนมีปัญหาทางการมองเห็นสามารถเข้าใจรูปภาพได้ รวมทั้งบุคคลที่อยู่ในภาพ อย่างไรก็ตามรายละเอียดของภาพส่วนอื่นยังทำงานได้ต่อไปตามเดิม
มหากาพย์เอกสารภายในที่ Frances Haugen ผู้แจ้งเบาะแสแฉ Facebook เผยว่า จากการที่ผู้ใช้งานวัยรุ่นน้อยลง Facebook จึงพยายามสร้างโปรดักต์ใหม่ จับตลาดเด็กช่วงอายุ 6-9 ขวบด้วย
Elon Musk ปิดเพจ Facebook มาตั้งแต่ปี 2018 ตามด้วยบัญชี Instagram หลังจากนั้นไม่นาน แต่ล่าสุดมีเพจปลอม Elon Musk ที่กลับได้รับเครื่องหมายยืนยัน (Verified) จาก Facebook ซะอย่างนั้น
เพจปลอมที่ดูยังไงก็ปลอม เพราะประกาศชวนคนโอนเงิน Bitcoin ให้เขามูลค่า 1,000 ดอลลาร์แล้วเขาจะโอนกลับให้ 2,000 ดอลลาร์ มีคนกดติดตามมากถึง 154,000 คน แถมยังประกาศในหน้า About ของเพจอย่างชัดเจนว่า this is a fan page
เว็บไซต์ The Verge ระบุว่าเพจนี้ตั้งในปี 2019 โดยผู้ดูแลเพจอยู่ในอียิปต์ เพจถูกเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง รอบล่าสุดเพิ่งเปลี่ยนมาเป็น Elon Musk เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2021 นี้เอง