Flightradar24 เว็บไซต์ตรวจสอบตำแหน่งเครื่องบินยอดนิยม พบปัญหาไม่สามารถเข้าใช้งานตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้ โดยข้อมูลจาก DownDetector พบการรายงานปัญหาตั้งแต่ประมาณ 18:00น. ตามเวลาในไทย
เที่ยวบินที่ทำให้มีผู้เข้าเว็บไซต์ Flightradar24 จำนวนมากคือ SPAR19 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งมีข่าวว่า Nancy Pelosi ประธานรัฐสภาสหรัฐฯ มีแผนจะเดินทางไปยังไต้หวัน ซึ่งอาจทำให้จีนตัดสินใจแสดงออกเพื่อตอบโต้ จึงเป็นที่จับตามองอย่างมาก
Booking Holdings ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ Etraveli Group ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการจองเที่ยวบินโดยสาร โดยได้รับเงินทุนจาก CVC Capital Partners มูลค่าดีลราว 1,630 ล้านยูโร
ปัจจุบัน Etraveli เป็นพาร์ทเนอร์ด้านระบบจองเที่ยวบินโดยสาร บนแพลตฟอร์มของ Booking อยู่แล้ว ผู้บริหารระบุว่าหลังสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ Booking มองเห็นโอกาสเติบโตในธุรกิจนี้ หลังดีลนี้สิ้นสุดแบรนด์ต่าง ๆ ในเครือของ Etraveli จะยังคงดำเนินงานอิสระต่อไปภายใต้แบรนด์เดิม
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครื่องบิน Boeing 747-400 ของสายการบิน British Airways เที่ยวบิน BA112 จากท่าอากาศยาน John F. Kennedy เมืองนิวยอร์กไปท่าอากาศยาน Heathrow เมืองลอนดอน ได้ทำสถิติบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเร็วที่สุดในย่านความเร็ว subsonic (ความเร็วต่ำกว่าเสียง) โดยทำความเร็วสูงสุดถึง 717 น็อต หรือราว 1,327 กม./ชม.
ปกติแล้วไฟลท์ดังกล่าวจะใช้เวลาบินราว 6 ชั่วโมง 13 นาที แต่ไฟลท์นี้ใช้เวลาบินเพียง 4 ชั่วโมง 56 นาที โดยตามรายงานระบุว่าช่วงเวลาที่เครื่องบินมาถึงลอนดอนก็เป็นจังหวะเดียวกับที่พายุ Ciara เคลื่อนตัวเข้าเกาะอังกฤษพอดี เป็นเหตุให้เครื่องบินทำความเร็วได้สูงกว่าปกติจากกระแสลมของพายุ
AeroData ซอฟต์แวร์ที่ช่วยคำนวนน้ำหนักและบาลานซ์ของเครื่องบินก่อนวางแผนการบินที่หลายสายการบินในสหรัฐใช้งาน เกิดมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ราว 40 นาทีเมื่อวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้หลายสายการบินทั่วสหรัฐต้องล่าช้า
ปัญหาส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความเก่าของตัวซอฟต์แวร์ AeroData เมื่อพิจารณาจากหน้าเว็บของ AeroData ที่ไม่ได้อัพเดตมาตั้งแต่ปี 2009 โดยยังคงใช้ Flash และเขียนด้วย Microsoft Visual Studio 7.0 ขณะที่สายการบินที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ Southwest Airlines ที่มีไฟล์ทกว่า 620 ต้องดีเลย์ ตามมาด้วย SkyWest ที่ 200 ไฟล์ทและ United Continental 150 ไฟล์ท
ปกติการเช็คอินเที่ยวบินต้องเข้าไปที่เว็บไซต์สายการบิน และกรอกเลขและข้อมูลต่างๆ ล่าสุด Google มาเหนือ ให้ผู้ใช้งานพูด Hey Google ให้ Google Assistant เช็คอินไฟลท์บินได้แล้ว ไม่ต้องกรอกเลขใดๆ แต่ยังจำกัดเฉพาะเที่ยวบินในประเทศของสายการบิน United Airlines และจะขยายไปยังสายการบินอื่นในอนาคต
เมื่อผู้ใช้งานจองเที่ยวบินโดยใช้ Gmail ยืนยัน Google Assistant จะแจ้งเตือนผู้ใช้ว่าถึงเวลาที่สามารถเช็คอินได้แล้ว ผู้ใช้ไม่ต้องกรอกเลขยืนยันการจองตั๋วแต่อย่างใด ผู้ใช้สามารถดู boarding pass ใน Google Pay หรือแค่พูด Hey Google, show me my boarding pass ก็ได้
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้แบตเตอรี่สำรองบนเครื่องบินเที่ยว CZ3539 ของสายการบิน China Southern Airlines ในระหว่างรอออกเดินทางจากกวางโจวไปเซี่ยงไฮ้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดต้องอพยพออกจากเครื่อง และส่งผลทำให้เที่ยวบินดังกล่าวต้องล่าช้าเกือบ 3 ชั่วโมง
มีผู้บันทึกวิดีโอระหว่างเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ได้ โดยในวิดีโอปรากฎว่ามีเปลวไฟลุกไหม้กระเป๋าที่ผู้โดยสารใส่ไว้ในช่องสัมภาระเหนือศีรษะภายในห้องโดยสาร ก่อนที่เจ้าหน้าที่และผู้โดยสารคนหนึ่งจะนำน้ำดื่มและน้ำผลไม้มารดเพื่อดับไฟ ทั้งนี้จากการสืบสวนทราบว่าไฟได้ลุกไหม้แบตเตอรี่สำรองที่ใส่อยู่ในกระเป๋า โดยในขณะนั้นไม่ได้มีการเปิดใช้งานแบตเตอรี่สำรองเพื่อชาร์จไฟให้แก่อุปกรณ์ใดในกระเป๋า
Google ประกาศเตรียมหยุดให้บริการ QPX Express ซึ่งเป็น API สำหรับการใช้งานค้นหาข้อมูลราคาค่าตั๋วเครื่องบินจาก Google ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนปีหน้า ดังนั้นผู้ที่กำลังใช้งานอยู่ควรจะหาช่องทางอื่นทดแทน
สำหรับผู้ที่กระทบจากการหยุดให้บริการ API โดย Google ตอนนี้เช่น CheapTickets, Kayak.com, ANA, United Airlines, US Airways, Virgin Atlantic ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ได้ใช้ API เชื่อมต่อเข้ากับระบบแยก
โฆษกของ Google ได้ให้ความเห็นถึงการหยุดให้บริการ API ว่าเนื่องจากได้รับความสนใจจากพาร์ทเนอร์น้อย ซึ่งจะเปลี่ยนไปเน้นในด้านโซลูชั่นองค์กรสำหรับพาร์ทเนอร์และผู้ใช้แทน
สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปชอบทำกันเวลาจะโชว์ว่าตัวเองได้ขึ้นเครื่องบินนั้นก็คือการถ่ายรูปตั๋ว (boarding pass) แล้วอัพโหลดขึ้น social network แต่การทำอย่างนั้นอาจเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยที่เราคาดไม่ถึงได้
Brian Krebs บล็อกเกอร์ด้านความปลอดภัยชื่อดังที่เคยมีข่าวน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับตัวเขามากมาย (อ่านเพิ่มได้จากข่าวเก่า) เขียนเล่าว่ามีผู้อ่านบล็อกของเขาคนหนึ่งชื่อ Cory ได้สงสัยว่าบาร์โค้ดที่ปรากฎบนตั๋วเครื่องบินนั้นบอกอะไรได้บ้างหลังจากที่มีเพื่อนบนเฟซบุ๊กคนหนึ่งโพสรูปตั๋ว เขาจึงสแกนบาร์โค้ดบนตั๋วเพื่อหาข้อมูลนี้
ใครที่เคยขึ้นเครื่องบินไปเดินทางไกลๆ น่าจะคุ้นเคยกับหน้าจอด้านหลังเบาะนั่ง หรือที่เรียกกันว่าระบบความบันเทิงบนเครื่องบิน (In-Flight Entertainment) ที่แม้ว่าจะถูกปรับปรุงเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ แต่พูดกันตามตรงแล้วฟีเจอร์ก็ยังเทียบกับอุปกรณ์พกพาที่เราใช้กันอยู่ไม่ได้
ล่าสุด Virgin America สายการบินสหรัฐฯ เริ่มเห็นแล้วว่าการปรับปรุงระบบเดิมๆ เริ่มจะไม่ทันสมัย จึงจัดการเปลี่ยนระบบใหม่ และปรับไปใช้แอนดรอยด์มาเป็นแกนหลักแทน (ระบบเรียกว่า Red) โดยการมาของแอนดรอยด์จะช่วยทำให้แสดงผลระหว่างเที่ยวบิน และมีเกมจำนวนมากให้เมื่อเทียบกับระบบความบันเทิงที่ผ่านๆ มา รวมถึงความจุเพิ่มขึ้นสามเท่า ใส่ภาพยนตร์ความละเอียดสูงลงไปได้
Google Flight Search เป็นบริการค้นหาข้อมูลเที่ยวบิน ที่กูเกิลนำข้อมูลมาจากบริษัท ITA Software ที่ซื้อมาเมื่อปี 2010
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาสายการบินบนเว็บไซต์ของตัวเองแล้ว โดยพิมพ์คำค้นที่เกี่ยวกับ flight พร้อมเมืองต้นทางและปลายทาง กูเกิลจะแสดงสายการบินต่างๆ ในหน้าผลการค้นหาให้เรา
ฟีเจอร์นี้มีในกูเกิลภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ อีก 9 ภาษา (ยังไม่มีภาษาไทย แต่มีข้อมูลสายการบินในประเทศไทยถ้าเข้า google.com ภาษาอังกฤษ ลองดูภาพประกอบ)