เวลาที่เจอแอพถูกใจอยากโหลดมาติดตั้งไว้ใช้งานแต่เจอปัญหาว่าพื้นที่เก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟนเหลือไม่เพียงพอที่จะทำดังว่า ครั้นต้องการจะลบแอพที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกก็ต้องมาไล่ดูเอาว่าแอพตัวไหนกินพื้นที่เท่าไหร่ และแอพตัวไหนไม่ค่อยใช้งานมากนัก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทำกันได้แต่ก็ไม่ใคร่จะสะดวกนัก
แต่ตอนนี้เพื่อช่วยหาทางออกให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน Android ที่ต้องการติดตั้งแอพจาก Google Play ทาง Google ได้เริ่มปล่อยระบบแนะนำการถอดแอพให้แก่ผู้ใช้บางราย กรณีที่พื้นที่ในสมาร์ทโฟนของผู้ใช้เหลือน้อยเกินกว่าจะติดตั้งแอพจาก Google Play ได้ จากแต่เดิมจะมีข้อความเตือนปรากฏเพียงอย่างเดียวตอนนี้จะมีตัวเลือกแอพพร้อมระบุขนาดของมันแสดงให้ผู้ใช้เห็นด้วย
ระหว่างงาน Google I/O 2016 ที่ผ่านมา ทาง Google ได้ประกาศผลรางวัล Google Play Awards 2016 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลนี้แก่นักพัฒนาแอพบน Google Play มีเกณฑ์การให้คะแนนที่คุณภาพของแอพ, นวัตกรรมและการเปิดตัวหรือพัฒนาแอพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาซึ่งตัดสินโดยทีมของ Google Play โดยมีผลรางวัล 10 ประเภทดังต่อไปนี้
ข่าวเล็กๆ ในงาน Google I/O 2016 ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักพัฒนาสาย Android คือกูเกิลออกแอพ Google Play Developer Console (เรียกย่อๆ ว่า Play Console) เพื่อให้นักพัฒนาสามารถดูสถิติของแอพตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าเว็บ Developer Console อีกต่อไป
รูปแบบการใช้งานก็คล้ายๆ กับแอพกลุ่มเดียวกันของกูเกิลอย่าง Google Analytics หรือ Google AdSense บนมือถือ ที่แสดงกราฟและสถิติต่างๆ อย่างละเอียด แต่ออกแบบให้ดูง่ายบนจอของโทรศัพท์
หลังจากเผลอยืนยันว่า Chrome OS จะมี Play store และอนุญาตให้แอพ Android ขึ้นมารันบนระบบปฏิบัติการได้เต็มที่ ล่าสุด Google ก็แถลงเปิดตัวคุณสมบัตินี้อย่างเป็นทางการ พร้อมกับรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
กล่าวโดยสรุปคือแอพ Android บน Chrome OS จะมีสถานะเป็น first-class citizen หรือใช้งานได้เต็มที่ โดยเข้าถึงคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องได้ ทั้งการแจ้งเตือน, การรองรับการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดและเมาส์, แสดงผลในสถานะที่เป็นหน้าต่างได้ 3 ขนาด, เข้าถึงไฟล์ในเครื่องได้ และสามารถเข้าถึง Wi-Fi หรือ Bluetooth ได้ หากได้รับอนุญาตจากผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบ ส่วนตัว Chrome OS ก็จะมาพร้อมกับ Play store เปิดโอกาสให้โหลดแอพ Android มาติดตั้งบน Chrome OS
เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วที่ Google ทำให้ Chrome OS สามารถรันแอพ Android ได้ แต่ก็เป็นเพียงแอพที่อยู่ในวงจำกัดเท่านั้น และเคยมีข่าวลือว่า Google กำลังทำให้ Chrome OS รองรับ Play store เพื่อเปิดทางให้แอพ Android สามารถขึ้นมาอยู่บน Chrome OS ได้อย่างไม่จำกัด ล่าสุด Google เผลอยืนยันเองว่า Play Store บน Chrome OS จะมาจริง
ปัญหาสำคัญของโลกแห่งแอพคือ เราต้องติดตั้งแอพก่อนใช้งาน กระบวนการถึงแม้จะไม่ยุ่งยากจนเกินไป แต่ก็ถือเป็นอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาหรือบริการในแอพได้ง่ายนัก (เช่น ต้องเปิด Store ก่อน, ต้องรอโหลด, พื้นที่อาจไม่พอ) กูเกิลพยายามแก้ปัญหานี้มาสักพักใหญ่ๆ ผ่านฟีเจอร์ของเครือข่ายโฆษณาชื่อ App Streaming ที่เป็นการรันแอพบนเซิร์ฟเวอร์แล้วสตรีมหน้าจอมายังเครื่องของผู้ใช้
แต่ในงาน Google I/O 2016 ฟีเจอร์นี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยเราสามารถรันแอพจริงๆ (ไม่ใช่สตรีมหน้าจอ) แบบไม่ต้องติดตั้งแอพลงในเครื่องเลย กูเกิลเรียกมันว่า Android Instant Apps
ที่ผ่านมากระบวนการลงชื่อเพื่อเป็นผู้ทดสอบแอพรุ่นที่อยู่ระหว่างการพัฒนา (beta tester signup) ของ Google Play Store นั้นทำได้ค่อนข้างยุ่งยาก (ต้องไปหน้าเฉพาะพิเศษแล้วกดลงชื่อ) แต่อัพเดตล่าสุดของ Play Store เวอร์ชั่น 6.7 ที่ Google เริ่มปล่อยออกมานั้น ทำให้ขั้นตอนการเข้าทดสอบนั้นง่ายขึ้นว่าเดิม
ฝ่ายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินทางปัญญา (Computer Crime and Intellectual Property Section) สังกัดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ร่วมกับอัยการเขต Northern District of Georgia ฟ้องนาย Aaron Blake Buckley ฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากการนำแอพพลิเคชันบน Play Store มาปล่อยบน Applanet ซึ่งเป็นสโตร์เถื่อนเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับผิดต่อศาล
นอกจากนาย Buckley แล้ว นาย Gary Edwin Sharp ก็ถูกยื่นฟ้องและยอมรับผิดในข้อหาเดียวกัน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมและนำแอพไปปล่อยบน SnappzMarket สโตร์เถื่อนอีกแห่ง โดยทั้งคู่จะถูกตัดสินความผิดในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานว่ามีแอพพลิเคชันมากกว่ากว่า 4 ล้านแอพถูกดาวน์โหลดผ่าน Applanet คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่บน SnappzMarket มีผู้ดาวน์โหลดแอพไปกว่า 1 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา - DoJ via Android Central
เมื่อปลายปีที่แล้ว Google Play เริ่มแจ้งนักพัฒนาให้ระบุว่าแอพของตนมีโฆษณาหรือไม่ ถ้าไม่ระบุจะไม่สามารถอัพเดตแอพเวอร์ชันใหม่ได้
วันนี้ Google Play เริ่มแสดงข้อมูลเรื่องโฆษณาในหน้ารายการแอพแล้ว โดยแสดงไว้ตำแหน่งเดียวกับที่บอกว่าแอพตัวนั้นมี in-app purchase หรือไม่ ช่วยให้ผู้ใช้มีข้อมูลมากขึ้นว่าดาวน์โหลดแอพไปแล้วจะเจอกับอะไรบ้าง
กูเกิลพยายามหลอมรวม Chrome OS ให้ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มาเป็นเวลานาน ปีที่แล้วกูเกิลเปิดตัว App Runtime for Chrome (ARC) ทำให้แปลงไฟล์ APK จากแอนดรอยด์ไปเป็นแอปโครมได้ ตอนนี้ดูเหมือนกูเกิลจะกำลังพยายามฝัง Google Play เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของ Chrome OS โดยตรง
ผู้ใช้ reddit ชื่อว่า TheWiseYoda ระบุว่าเขาพบหน้าจอถามว่าต้องการติดตั้ง Google Play บนเครื่อง Chrome OS หรือไม่
หน้าจอเหล่านี้มาจากซอร์สโค้ดของ Chorme OS เอง โดยผมสำรวจซอร์สโค้ดดูพบว่าโค้ดเหล่านี้เพิ่มเข้ามาวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา
กูเกิลออกรายงานความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำปี (Android Security Annual Report) แสดงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของชุมชนแอนดรอยด์โดยรวมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้รายงานฉบับล่าสุดสำหรับปี 2015 ก็เผยแพร่ออกมาแล้ว
Google Play เปิดตัวมาได้ 4 ปีแล้ว ล่าสุด Google ปรับปรุงชุดไอคอน Google Play ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไอคอน Google Play เองและแอพภายใต้ทั้งหมด ได้แก่ Play Movies & TV, Play Music, Play Games, Play Books และ Play Newsstand
การออกแบบไอคอนชุดนี้เน้นสีที่สว่างสดใส เน้นความเป็น Material Design และไอคอนของแอพต่างๆ จะมีสามเหลี่ยมอยู่ข้างหลังของไอคอนเพื่อบอกว่าแอพเหล่านี้อยู่ภายใต้ Google Play นั่นเอง
App Annie บริษัทรวบรวมข้อมูลแอพมือถือ เผยสถิติรวมของปี 2015 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ครับ
กูเกิลนำเสนอแอพจาก Play Store ในหน้าผลการค้นหา Google Search มานานแล้ว ที่ผ่านมาเราต้องกดลิงก์เพื่อเข้า Play Store ไปติดตั้งแอพอีกชั้นหนึ่ง
แต่ล่าสุดกูเกิลปรับกระบวนการนี้ให้ง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเราสามารถกด Install ติดตั้งแอพได้จากหน้าผลการค้นหาเลย (ไม่ต้องเปิด Play Store สักนิด)
ฟีเจอร์นี้ใช้งานบนแอพ Google Search บน Android และอาจยังไม่เปิดใช้กับทุกคนครับ (ถ้าเป็นแบบเก่า กดปุ่มสีเขียวที่บอกราคาแอพแล้วจะยังต้องเข้าแอพ Play Store อยู่ แต่ถ้าเป็นแบบใหม่จะมีหน้าจอ Install โผล่มาเลย
ที่มา - Android Police
ร้านขายแอพ Google Play เปิดให้นักพัฒนาเจ้าของแอพสามารถออกโค้ดส่วนลด (promotional code หรือที่เรียกย่อกันว่า promo code) เพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยกับแอพมากขึ้น ทั้งแอพแบบขายขาดตอนแรก (paid app) และการขายสินค้าภายในแอพ (in-app purchase)
แอพหนึ่งตัวสามารถสร้าง promo code ได้สูงสุด 500 รายการต่อไตรมาส (นับรวมทั้งการซื้อขายทั้งสองประเภท) การสร้างโค้ดทำได้จากหน้า Google Play Developer Console ได้เลย เจ้าของแอพยังสามารถกำหนดวันหมดอายุของโค้ด และหยุดพักโปรโมชั่นนั้นชั่วคราวได้ด้วย
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าวลือว่า Google Play เตรียมเปิดบริการในจีน ล่าสุดข่าวไม่ลือแล้ว หลัง Chen Xudong หัวหน้าฝ่ายมือถือของ Lenovo ออกมาให้สัมภาษณ์เองว่าแผนการของกูเกิลในการพา Google Play บุกเมืองจีนนั้นเดินหน้าไปตามแผน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้จริงภายในปี 2016 นี้
เขายังพูดถึงแผนการควบรวม Motorola เข้ากับ Lenovo ว่าคงต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีกว่าทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่ ประสบการณ์ของ Lenovo ตอนควบรวม ThinkPad ต้องใช้เวลาทั้งหมด 4 ปี
นอกจากนี้เขายังบอกว่าเราจะได้เห็นสมาร์ทโฟน Motorola ที่มีตัวอ่านลายนิ้วมือออกสู่ตลาดในปีนี้ และ Motorola จะออกสมาร์ทโฟนที่ขนาดหน้าจอ 5" ขึ้นไปเท่านั้น
Google Play เปิดให้บริการ Split Payments (เดิมเปิดให้บริการเฉพาะอินเดีย) ในอีก 17 ประเทศ ซึ่งไทยอยู่ในประเทศที่รองรับด้วย
บริการ Split Payments เป็นบริการที่จ่ายเงินจาก Google Play Credit บางส่วน แล้วจ่ายเงินร่วมกับช่องทางอื่นๆ ในส่วนที่เหลือได้ทันที ชมรูปภาพบริการนี้ได้ที่หลังเบรค
ตามนโยบายการนำแอพพื้นฐานบน Android ให้สามารถอัพเดตฟีเจอร์ได้รวดเร็วขึ้นด้วยการนำแอพขึ้นไปบน Play Store ตอนนี้ก็ถึงคิวของสองแอพหลักอย่าง Phone และ Contact แล้ว
พร้อมกับการปล่อยให้ดาวน์โหลดบน Play Store ของแอพ Phone และ Contact มีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเข้ามาพอสมควร โดยแอพ Phone จะเป็นรุ่น 2.3 (จาก 2.2 ใน Marshmallow) เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาอย่างความสามารถในการบล็อคเบอร์ได้ในตัว และ Google Caller ID สำหรับแสดงข้อมูลสายโทรเข้าละเอียดกว่าเดิม
ทางฝั่งแอพ Contact ขยับเลขรุ่นจาก 1.2 ไปเป็น 1.3 ซึ่งเพิ่มตัวเลือกสำหรับเลือกบัญชีหลักในการเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เข้ามา พร้อมทั้งปรับ UI สำหรับรวมรายชื่อที่น่าจะซ้ำซ้อนให้จัดการได้ง่ายขึ้น (ฟีเจอร์นี้ชื่อว่า Linking contact)
สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าววงในว่ากูเกิลเตรียมเปิด Google Play Store สำหรับประเทศจีนในช่วงต้นปี 2016 โดยจะเป็นเวอร์ชันพิเศษแยกสำหรับเมืองจีนโดยเฉพาะ ไม่เชื่อมโยงกับ Google Play ของประเทศอื่นๆ และจ่ายเงินผ่าน Alipay กับ WeChat Payment
กูเกิลถอนตัวออกจากประเทศจีนในปี 2010 ด้วยเหตุผลเรื่องกฎหมายและกฎระเบียบของรัฐบาลจีน แต่ตลาดจีนก็ใหญ่มากจนกูเกิลปฏิเสธไม่ได้ และก่อนหน้านี้ไม่นาน Sergey Brin ก็ให้สัมภาษณ์ว่า Alphabet เตรียมเข้าไปทำธุรกิจในจีนแล้ว
กูเกิลเริ่มส่งอีเมลแจ้งนักพัฒนาใน Google Play Store ขอให้ระบุว่าแอพของตัวเองมีโฆษณาหรือไม่ เพราะในปีหน้า Google Play Store จะเริ่มแสดงป้ายกำกับว่าแอพนั้นมีโฆษณา เพื่อให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลก่อนดาวน์โหลด
ถ้าหลังวันที่ 11 มกราคม 2016 นักพัฒนายังไม่ระบุข้อมูลนี้ แอพนั้นจะไม่สามารถอัพเดตเวอร์ชันใหม่ผ่าน Google Play Developer Console ได้
เมื่อต้นปี กูเกิลเปิดตัวโครงการ Designed for Families กำหนดให้นักพัฒนาที่อยากเข้าร่วมโครงการแอพปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัว ต้องมีระบบเรตติ้งเนื้อหาภายในแอพและโฆษณา รอบนี้กูเกิลบอกว่าต้องการขยายแนวทางนี้ให้ครอบคลุมแอพทุกตัวบน Play Store ด้วย
กูเกิลประกาศปรับลดราคาต่ำสุดของแอพใน Play Store ที่สามารถกำหนดราคาขายได้ โดยมีผลใน 17 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งราคาต่ำสุดของแอพที่ขายได้ลดลงจากเดิม 32 บาท เป็น 10 บาท ส่วนประเทศอื่นที่มีการปรับลดรอบนี้ด้วยเช่น บราซิล, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
กูเกิลอธิบายว่าตลาดในแต่ประเทศมีพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้น จึงกำหนดมีการปรับราคาขั้นต่ำใหม่ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแอพของในแต่ละแห่ง
เมื่อเดือนก่อน Play Store เพิ่งปรับเพิ่มเพดานราคาสูงสุดของไทยเป็น 13,370 บาท
แม้ว่าตอนนี้โลกของแอพมือถือจะโดนกระแสฟรีเมียมจนแทบทุกแอพโหลดมาใช้กันได้ฟรีกันเกือบหมด แต่สำหรับแอพที่ยังยึดมั่นกับแนวทางทำแอพเสียเงิน ตอนนี้กูเกิลเพิ่งอัพเดตราคาของแอพแบบเสียเงินให้สามารถตั้งราคาได้แพงขึ้นแล้ว
จากเดิมที่เว็บไซต์ Android Police เก็บสถิติของราคาแพงสุดที่จะตั้งขายแอพในสหรัฐฯ อยู่ที่ 200 เหรียญ ในอัพเดตล่าสุดได้เพิ่มไปอยู่ที่ 400 เหรียญเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งคงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของราคาแอพบนสโตร์มากนัก แต่สำหรับแอพที่มี IAP น่าจะเริ่มเห็นนักพัฒนาใส่ตัวเลือกราคาแพงที่ว่าเข้าไปในเร็ววัน
Google ปล่อยอัพเดตให้กับ Play Store เพิ่มฟีเจอร์รองรับการใช้ลายนิ้วมือ เพื่อยืนยันตนก่อนใช้จ่ายภายในสโตร์แล้ว จากเดิมที่ต้องใส่แอคเคาท์ของ Google เพียงอย่างเดียว เพื่อรองรับการมาของเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือบน Nexus รุ่นใหม่
แน่นอนว่าฟีเจอร์นี้ใช้ได้เฉพาะบนแอนดรอยด์ 6.0 Marshmallow และเครื่องที่มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือเท่านั้น โดยฟีเจอร์นี้จะถูกปิดเป็นค่าดีฟอลต์ และผู้ใช้ต้องไปเปิดตัวเลือกนี้ในหัวข้อ User Control ในหน้า Setting ของ Play Store
ที่มา - Android Police
Google Play Newsstand (Google Current เดิม) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในอีก 3 ประเทศคือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย
ถึงแม้ผู้ใช้ชาวไทยจะสามารถใช้งาน Google Play Newsstand มาได้นานพอสมควรแล้ว แต่การเปิดบริการในไทยอย่างเป็นทางการก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยครับ (หน้า Google Play Newsstand ของประเทศไทย)
ใครที่ใช้บริการอยู่ก็อย่าลืมสมัคร Blognone ด้วยนะครับ
ที่มา - +Google Play
ในงานแถลงข่าวของกูเกิลเมื่อคืนนี้ ซีอีโอ Sundar Pichai เผยสถิติผู้ใช้งานของตัวเองดังนี้