เมื่อต้นปี 2019 เราเห็นข่าว Google Play ห้ามแอพที่ขอสิทธิเข้าถึงบันทึกการโทรและ SMS โดยไม่จำเป็น โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แต่ก็สร้างเสียงวิจารณ์ไม่น้อย
เวลาผ่านมาครบปี กูเกิลสรุปตัวเลขให้เห็นชัดๆ ว่าแอพที่ขอสิทธิการใช้งาน SMS และการโทร (call data) มีจำนวนลดลงถึง 98% โดย 2% ที่เหลือคือแอพที่ยังจำเป็นต้องใช้งานสิทธิเหล่านี้จริงๆ
กูเกิลยังให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของ Google Play ในปี 2019 ดังนี้
จากที่มีข่าวออกมาว่า Huawei เตรียมเข้าร่วม GSDA สร้างแอปสโตร์สำหรับผู้ผลิตมือถือจีน ร่วมกับ Xiaomi, Oppo, Vivo
Xiaomi ในฐานะหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ Global Developer Service Alliance (GDSA) ออกแถลงการณ์มาแก้ข่าวว่า GDSA เป็นบริการช่วยอำนวยความสะดวกในการอัพโหลดแอพขึ้นสโตร์เท่านั้น เพื่อให้นักพัฒนาอัพโหลดไฟล์ครั้งเดียว ส่งขึ้นสโตร์ของพาร์ทเนอร์ทั้ง 3 รายได้เลย (Xiaomi, Oppo, Vivo) ดังนั้น GDSA ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาแข่งกับ Google Play Store แต่อย่างใด
ในแถลงการณ์ของ Xiaomi ยังระบุชื่อพาร์ทเนอร์เพียงแค่ 3 รายเท่านั้น ยังไม่มีชื่อของ Huawei เข้าร่วมด้วย
ปัญหามัลแวร์หรือแอปประสงค์ร้ายบนแอนดรอยด์เป็นปัญหาที่หลอกหลอน Google มานาน แม้จะพยายามหามาตรการป้องกันเท่าไหร่ก็ตามแต่ก็ยังมีข่าวเจอแอปที่ฝังมัลแวร์จาก Play Store อยู่เรื่อย ๆ
ล่าสุด Google เลยอาศัยความร่วมมือจากมืออาชีพอย่าง ESET, Lookout และ Zimperium สามบริษัทแอนตี้ไวรัสเพื่อมาช่วยป้องกันและตรวจสอบ Play Store ให้มากขึ้นภายใต้โครงการ App Defense Alliance ที่ Google จะนำเอนจินสแกนหามัลแวร์จากทั้ง 3 เจ้ามาช่วยสแกน Play Store รวมถึงตรวจสอบแอปที่จะขึ้นสโตร์ใหม่ ช่วย Google Play Protect เพิ่มเข้าไปอีก 3 แรง
ที่มา - Google Security Blog
Fleksy เป็นคีย์บอร์ดที่ได้รับความนิยมสูง มีดาวน์โหลด 5 ล้านครั้ง จากชื่อเสียงเรื่องพิมพ์ได้เร็ว ถูก Google Play ปรับเรทอายุผู้ใช้ จากเดิม PEGI 3 ที่เหมาะกับทุกคน เป็นสำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป
เรื่องเกิดจาก Fleksy ส่งอัพเดตแอพขึ้น Play Store กลับถูกบล็อคโดยไม่ทราบสาเหตุ ทาง Fleksy จึงเมล์ไปถามกูเกิลเกี่ยวกับประเด็นนี้ถึงทราบว่า "อีโมจินิ้วกลาง" เป็นต้นเหตุ อย่างไรก็ตาม Fleksy ชี้ว่าคีย์บอร์ด Gboard ของกูเกิลเองที่มีอีโมจิเดียวกัน ยังได้รับเรท PEGI 3 แบบเดิมอยู่
กูเกิลปล่อยแพตช์ความปลอดภัยประจำรอบเดือนตุลาคม 2019 (2019-10-05) ซึ่งถือเป็นแพตช์ชุดแรกของ Android 10 ที่ออกตัวจริงในช่วงต้นเดือนกันยายน
แพตช์ตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะฟีเจอร์ใหม่ของ Android 10 คือ Project Mainline ทำให้กูเกิลสามารถอัพเดต "บางส่วน" ของตัว OS ผ่าน Google Play Store ได้เหมือนกับการอัพเดตแอพทั่วไป แพตช์ตัวนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กูเกิลปล่อยอัพเดตความปลอดภัยผ่านระบบใหม่ที่ว่านี้
Buzzfeed เผยรายงานพบว่ากูเกิล ลบแอพจีนออกจาก Play Store กว่า 46 แอพเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีแอพเซลฟี่, แอพเกี่ยวกับ security, แอพคีย์บอร์ด, แอพดูดวง, แอพอีโมจิ, แอพสุขภาพ เป็นต้น
ทั้ง 46 แอพมาจากผู้พัฒนาบริษัทเดียวคือ iHandy อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมกุเกิลถึงลบแอพของ iHandy
จำนวนมากในเดือนเดียว ทั้งกูเกิลและ iHandy ยังไม่ออกมาตอบอะไร
iHandy ถือเป็นผู้พัฒนาแอพมือถือรายใหญ่รายหนึ่งของจีน มีทีมทำงานที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ด้วย
กระแสของ Dark mode กำลังแผ่ขยายไปทุกแอพในตอนนี้ ต่อจาก Instagram ที่กำลังทดสอบ Dark modeก็เป็นคิวของ Play Store ที่รองรับ Dark mode กันบ้างแล้วหลังจากแอพอื่น ๆ ของกูเกิลพากันได้ Dark mode ไปจนเกือบหมด
สำหรับ Dark mode ต้องให้สมาร์ทโฟนของเราเป็น Android 10 และ Play Store ต้องอัปเดทเป็นเวอร์ชั่น 16.7.21 ก่อนถึงจะใช้งานได้ โดยสีของทั้งแอพจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้มเกือบดำยกเว้นแถบค้นหาที่สีจะอ่อนลงเล็กน้อย โดยตัวอย่างภาพสามารถเปิดดูได้ในที่มา
ที่มา : 9to5Google
กูเกิลเปิดตัวบริการใหม่ Google Play Pass ซึ่งเป็นบริการเหมาจ่ายรายเดือนสำหรับเล่นเกมและแอปได้แบบไม่จำกัด ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าเป็นบริการคู่แข่งของ Apple Arcade ราคาอยู่ที่ 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ตรงกับที่หลุดออกมา
ในช่วงแรกบริการนี้ใช้ได้เฉพาะลูกค้าในอเมริกาเท่านั้น สามารถแชร์แบบ Family Plan ได้สูงสุด 6 คน พร้อมออกโปรโมชัน ทดลองใช้งานฟรี 10 วัน และหากสมัครใช้งานช่วงนี้ราคาจะเหลือเพียง 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี
เดือนที่แล้วมีข้อมูลเรื่อง Google Play Pass บริการจ่ายเหมารายเดือนเพื่อเล่นเกม ชนกับ Apple Arcade โดยตรง
ล่าสุด Google แย้มข้อมูลออกมาอย่างเป็นทางการว่าบริการ Play Pass กำลังจะมาเร็ว ๆ นี้ ราคาเบื้องต้นที่หลุดออกมาคือ 5 เหรียญต่อเดือนเท่า Apple Arcade
ที่มา - @GooglePlay via The Verge
กูเกิลทดสอบหน้าตาของแอพ Google Play Store โฉมใหม่มาได้สักระยะ และตอนนี้ก็ปล่อยอัพเดตให้ผู้ใช้ทั่วโลกแล้ว
Google Play Store ดีไซน์ใหม่ถูกออกแบบตามแนวทาง Material Design เวอร์ชันล่าสุด เน้นการใช้สีขาวมากกว่าเดิม ส่วนแถบด้านล่างแยกเป็น 4 หมวดคือ Games, Apps, Movies & TV, Books ซึ่งกูเกิลระบุว่าตั้งใจแยกเกมและแอพออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาเกมหรือแอพได้ตรงใจมากขึ้น
กูเกิลยังย้ำว่า Google Play Store เวอร์ชันใหม่ ใช้นโยบายไอคอนแบบใหม่ที่เป็นสี่เหลี่ยมมุมโค้ง และขอให้นักพัฒนารีบปรับไอคอนกันโดยเร็ว
กูเกิลทดสอบ Play Pass ระบบจ่ายรายเดือนเพื่อใช้งานแอพพลิเคชั่น ในราคา 5 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ กูเกิลเปิดตัว Stadia มาแล้ว ซึ่ง Stadia ก็เป็นโมเดลจ่ายรายเดือนเพื่อเล่นเกมพรีเมี่ยมต่างๆ ที่ไม่มีการซื้อในเกมเพิ่มเติม ฝั่งแอปเปิลก็มี Arcade ที่ผู้เล่นจะได้เล่นเกมนอกกระแส
แต่ Play Pass จะต่างจาก Stadia และ Arcade ตรงที่ไม่ได้จำกัดแค่แอพเกมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแอพพลิเคชั่นพรีเมี่ยมต่างๆ เช่น แอพสตรีมมิ่งเพลง แอพฟิตเนส เป็นต้น แต่คอนเซปต์คือจะเป็นแอพที่ผู้ใช้ไม่ต้องซื้อของในแอพเพิ่ม และไม่มีโฆษณา ทางกูเกิลยอมรับว่ากำลังทดสอบระบบดังกล่าวจริงแต่ยังไม่บอกเวลาเปิดตัวที่แน่นอน
Tinder เป็นบริษัทออนไลน์รายล่าสุด ที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานจ่ายเงินนอกระบบ Google Play ของกูเกิล เพื่อเลี่ยงการโดนหักส่วนแบ่งรายได้ 30%
Tinder จะแสดงข้อความให้ผู้ใช้กรอกหมายเลขบัตรเครดิตเข้าไปในระบบของ Tinder โดยตรง แทนการจ่ายเงินซื้อ in-app purchase ที่จะโดนหักส่วนแบ่ง
Justine Sacco โฆษกของ Match Group บริษัทแม่ของ Tinder ให้สัมภาษณ์ว่าบริษัททดลองหาวิธีการใหม่ๆ ในการจ่ายเงินของผู้ใช้อยู่เสมอ การกรอกข้อมูลบัตรเครดิตกับ Tinder โดยตรง จะช่วยให้ผู้ใช้สะดวกในการจ่ายเงินในอนาคตบนทุกแพลตฟอร์ม
นโยบายการอนุญาตให้ส่งแอพขึ้นบน Google Play Store ได้ทันที ทำให้เกิดข้อผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง กรณีล่าสุดคือมีแอพปลอมชื่อ Updates for Samsung - Android Update Versions ถูกเผยแพร่บน Play Store และมีผู้ใช้ดาวน์โหลดเกิน 10 ล้านคน
แอพตัวนี้ไม่ใช่มัลแวร์ แต่เต็มไปด้วยโฆษณามากมาย พร้อมปุ่มเชิญชวนให้ปลดล็อคโฆษณาด้วยการจ่ายเงินประมาณ 12 ดอลลาร์ และปุ่มสมัครสมาชิกเพื่ออัพเดตเฟิร์มแวร์ซัมซุงอีก 34.99 ดอลลาร์ โดยปลอมเป็นปุ่มจ่ายเงินผ่าน Google Pay แต่จริงๆ แล้วเป็นการขอให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลบัตรเครดิตลงไปเอง
Aleksejs Kuprins นักวิเคราะห์มัลแวร์จากบริษัทความปลอดภัย CSIS Security Group ค้นพบปัญหานี้ และแจ้งไปยังกูเกิล ซึ่งลบแอพออกจาก Play Store เรียบร้อยแล้ว
กูเกิลมีฟีเจอร์หลายอย่างที่ช่วยให้การใช้ Android ในองค์กรราบรื่นมากขึ้น ฟีเจอร์อย่างหนึ่งที่มีมานานแล้วคือการเปิดให้องค์กรสามารถส่งแอพของตัวเองขึ้น Google Play Store และเปิดให้มองเห็น-ดาวน์โหลดเฉพาะ "คนใน" เท่านั้น
ล่าสุดกูเกิลขยับไปอีกขั้น โดยเปิดตัว Managed Google Play iframe มันคือการสร้างหน้าเว็บ Google Play เวอร์ชันขององค์กรเอง (พร้อมรายชื่อแอพที่พนักงานควรดาวน์โหลด) แล้วนำไป "ฝัง" ในเว็บขององค์กรได้เลยผ่านแท็ก iframe
Google Play Store อัพเดตนโยบายใหม่ โดยด้านเกี่ยวกับคอนเทนต์ต้องห้ามนอกจากพวกแอพที่โปรโมทเนื้อหาทางเพศ การซื้อขายบุหรี่ แอลกอฮอล์ อาวุธ ยังห้ามแอพที่โปรโมทและซื้อขายสินค้ากัญชาด้วย ไม่ว่ากัญชาจะถูกกฎหมายในประเทศหรือในรัฐนั้นๆ หรือไม่
Google ระบุว่า ทางแพลตฟอร์มไม่อนุญาตให้มีแอพที่อำนวยความสะดวกในการขายผลิตภัณฑ์กัญชา ตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์แอพที่มีการอนุญาตให้ผู้ใช้สั่งซื้อกัญชา, ช่วยเหลือผู้ใช้ในการจัดส่งหรือรับกัญชา, อำนวยความสะดวกในการขายผลิตภัณฑ์ที่มีสาร THC
Google Play Store ประกาศนโยบายใหม่เพื่อคุ้มครองผู้ใช้งานที่เป็นเด็กๆ และนักพัฒนาแอพ Android ทุกรายจะต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติม ระบุว่าแอพหรือเกมของตัวเองเจาะกลุ่มเป้าหมาย (target audience) ที่เป็นเด็กต่ำกว่า 18 ปีหรือไม่
หากแอพไม่ได้เน้นกลุ่มเด็กอยู่แล้ว ก็เป็นเพียงการกรอกฟอร์มสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าเป็นแอพสำหรับเด็ก ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข Family policies ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องเนื้อหาภายในแอพต้องปลอดภัยสำหรับเด็ก, โฆษณาต้องเหมาะสม และมาจากเครือข่ายโฆษณาที่กูเกิลรับรองเท่านั้น
นโยบายนี้มีผลทันทีต่อแอพใหม่ที่จะส่งขึ้น Play Store ส่วนแอพที่มีอยู่เดิม กูเกิลให้เวลากรอกข้อมูลถึงวันที่ 1 กันยายน 2019
update: บริษัทอื่น เช่น Intel, Xilinx, Broadcom, Qualcomm เริ่มมีข่าวเลิกขายสินค้าให้หัวเว่ยเช่นกัน
กูเกิลออกแถลงสั้นๆ ยืนยันว่าจะให้บริการ Google Play กับโทรศัพท์หัวเว่ยต่อไป แม้จะมีคำสั่งแบนหัวเว่ยและบริษัทในเครือจากประธานาธิบดี หลังมีข่าววันนี้ว่ากูเกิลจะหยุดให้บริการทั้งหมดกับโทรศัพท์หัวเว่ย
แถลงของกูเกิลยืนยันเฉพาะ "รุ่นปัจจุบัน" เท่านั้น (existing devices) โดยยังไม่มีรายละเอียดว่ารุ่นต่อไปในอนาคตจะเป็นอย่างไรโดยกูเกิลอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อทำตามคำสั่งนี้
Google Play Store ออกฟีเจอร์ใหม่ชื่อ in-app updates เปิดให้นักพัฒนาแอพสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้ (ภายในแอพ) ให้กดอัพเดตแอพได้ และสามารถใช้แอพตัวนั้นต่อไปได้ระหว่างการอัพเดต
in-app updates API ตัวนี้สามารถตั้งค่ากระบวนการอัพเดตได้ 2 แบบคือ
ฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจของ Android Q คือ Project Mainline หรือการแบ่งบางส่วนของตัวระบบปฏิบัติการออกมาให้อัพเดตผ่าน Play Store ได้เหมือนอัพเดตแอพปกติ ไม่ต้องรอรอบการอัพเดต OS เวอร์ชันใหญ่จากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อีกต่อไป
Project Mainline เป็นขั้นกว่าของ Project Treble หรือการแยกชั้นฮาร์ดแวร์ออกจากตัว OS ในปี 2017 โดยส่วน OS ที่เหลืออยู่ (Android OS Framework) จะถูกจับแยกเป็นโมดูลต่างๆ เพื่อให้แยกอัพเดตเฉพาะโมดูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงวิธีคำนวณคะแนนของแอปใน Play Store ใหม่ โดยจะเปลี่ยนมาให้น้ำหนักกับเรตติ้งที่มีคนรีวิวให้กับแอปเวอร์ชันล่าสุด มากกว่าเวอร์ชันในอดีต จากเดิมที่ใช้วิธีคำนวณคะแนนจากตลอดอายุของแอปเท่ากันทั้งหมด
ผู้ใช้งานทั่วไป จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของคะแนนที่คำนวณดูสูตรใหม่นี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป แต่สำหรับนักพัฒนาสามารถดูคะแนนเปรียบเทียบหลังการคำนวณแบบใหม่นี้ก่อนได้ใน Play Store Console
สำหรับระบบเรตติ้งของ App Store ของแอปเปิล นักพัฒนาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้คะแนนแบบสะสมตลอดอายุของแอป หรือใช้เฉพาะคะแนนในเวอร์ชันล่าสุด
ที่มา: TechCrunch
FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ เผยว่ามีแอพหาคู่ Meet24, FastMeet และ Meet4U ละเมิดกฎคุ้มครองข้อมูลเย่วชนหรือ COPPA เพราะเด็กอายุ 13 ปีลงไปสามารถมาลงทะเบียนใช้งานได้ ซึ่งเสี่ยงที่ผู้ไม่หวังดีจะมาเอาข้อมูลเด็กไปใช้ หรือมาติดต่อเด็กไปทำอะไรที่จะเกิดอันตรายต่อตัวเด็กเอง ล่าสุด FTC ออกมาบอกว่า Google, Apple ได้ลบแอพทั้งสามออกจากร้านค้าแอพของตัวเองแล้ว
แอพจัดการไฟล์ยอดนิยม ES File Explorer หายไปจาก Play Store โดยไม่ทราบสาเหตุ คาดกันว่าเป็นผลพวงจากกรณีกูเกิลไล่สอยแอพในเครือ DU Group หลังพบปัญหาโกงคลิกโฆษณา
ผู้พัฒนาแอพ ES File Explorer ที่ระบุชื่อบนสโตร์คือ "ES Global" แต่แท้จริงแล้วเจ้าของคือ DO Global ชื่อใหม่ของ DU Group ซึ่งแยกตัวมาจาก Baidu (หน้าเว็บของ DU Apps ก็มีไอคอนของ ES แสดงร่วมกับแอพตัวอื่นๆ ในแบรนด์ DU)
ตอนนี้บัญชีของ ES Global ถูกแบนจาก Play Store และไม่สามารถเข้าถึงได้เลย (แอพทั้งหมดของ ES ก็หายไปด้วย) ส่วนกูเกิลก็ไม่ได้ให้ข้อมูลใดๆ เรื่อง ES File Explorer ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแบน DO/DU อย่างไร
ฟีเจอร์ Family Library ซึ่งเป็นการเปิดให้ผู้ใช้งาน Google Play สามารถแชร์เนื้อหาและแอพต่างๆกับผู้ใช้ในครอบครัวเดียวกันได้นั้น เปิดตัวครั้งแรกไปเมื่อปี 2016 ซึ่งใช้งานได้ในบางประเทศเท่านั้น ตอนนี้ผู้ใช้ Google Play ในทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยสามารถใช้งาน Family Library ได้แล้ว โดยจะต้องมีผู้ใช้คนหนึ่งรับบทบาทเป็นผู้จัดการครอบครัว เพื่อสร้าง Library สำหรับครอบครัวขึ้นโดยผูก Library กับวิธีการจ่ายเงินเช่นบัตรเครดิตด้วย
เงื่อนไขในการแชร์แอพต่างๆจะขึ้นอยู่กับฝั่งผู้พัฒนาแอพว่าจะเปิดให้แชร์ได้ด้วยหรือไม่
Buzzfeed รายงานการค้นพบแอป 6 แอปบน Play Store ซึ่งเป็นของ DU Group บริษัทในเครือ Baidu ว่ามีการทำ ad fraud หรือโกงการคลิกโฆษณา ก่อนที่ล่าสุด Google ระบุว่าได้แบนแอปทั้งหมดแล้ว รวมถึงขึ้นแบล็คลิสต์ด้วย ทำให้แอปทั้ง 6 หากถูกปลดแบนก็จะไม่สามารถทำเงินจากช่องทางของ Google ใดๆ ได้เลย
แอปทั้ง 6 ถูกที่ถูกแบนได้แก่ Selfie Camera, Total Cleaner, Smart Cooler, RAM Master, AIO Flashlight และ Omni Cleaner โดยนอกจากเรื่องการทำ ad fraud แล้ว แอปทั้ง 6 ยังปกปิดข้อมูลทีมพัฒนาว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับ DU Group โดยแสดงชื่อทีมพัฒนาว่า Pic Tools Group ซึ่งผิดกฎของ Google อีกกระทงด้วย
ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แต่กวนใจของ Android คือไอคอนของแอพที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางแอพเป็นสี่เหลี่ยม บางแอพเป็นวงกลม บางแอพเป็นสัญลักษณ์ตามรูปร่างของแบรนด์ บางแอพมีพื้นหลังซ้อนให้อีกชั้น ฯลฯ
ล่าสุดปัญหานี้กำลังจะหมดไป เมื่อกูเกิลออกนโยบายของ Play Store บังคับว่าจากนี้ไป แอพที่ส่งขึ้น Play Store จะต้องใช้ไอคอนเป็นรูป "สี่เหลี่ยมมุมโค้ง" เท่านั้น มีผลเฉพาะไอคอนบน Play Store เท่านั้น ไม่รวมถึงไอคอนใน launcher