กูเกิลประกาศสถิติว่าในปี 2017 ทั้งปี ถอดแอพที่ทำผิดเงื่อนไขการใช้งานออกจาก Play Store มากถึง 700,000 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2016 ถึง 70%
ระบบของ Play Store ต่างไปจาก App Store ของแอปเปิล เพราะฝั่งกูเกิลเน้นใช้ระบบอัตโนมัติช่วยตรวจสอบเป็นหลัก โดยกูเกิลบอกว่าอัลกอริทึมที่ใช้ตรวจสอบนั้นแม่นยำขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นผลให้ถอดแอพประสงค์ร้ายได้มากขึ้น
กูเกิลยังบอกว่าแอพที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม (abusive contents) จะถูกตรวจสอบได้ก่อนขึ้น Play Store เกือบหมด (ความแม่นยำ 99%) ส่วนแอพสายมัลแวร์ที่พยายามซ่อนตัวไม่ให้จับได้ แม้จะได้ขึ้น Store แต่ก็ถูกตามไปสอยร่วงในเวลาไม่นาน
Google เปิดตัว Audiobook บนบริการ Google Play ใน 45 ประเทศ รองรับ 9 ภาษา (ไม่ได้ระบุว่าประเทศไหนบ้าง แต่ไม่มีไทยแน่นอน) รองรับทั้งแอนดรอยด์, iOS และเว็บ ไม่มีระบบสมัครสมาชิก พร้อมสามารถพรีวิวออดิโอบุ๊คไปฟังก่อนได้ พร้อมรองรับ Family Library
แน่นอน Audiobook ทำงานร่วมกับ Google Assistant สามารถสั่งค้นหาชื่อหนังสือ, ผู้เขียน โดยเบื้องต้นรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษบนลำโพงอัจฉริยะและสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ก่อนจะตามมาใน Assistant บน Android Auto ในสหรัฐต่อไป
ที่มา - Google Blog
ข่าวสำคัญที่นักพัฒนาสาย Android ควรทราบ กูเกิลประกาศนโยบายใหม่สำหรับ Play Store หลายข้อ กำหนดเวอร์ชันของ API (ในที่นี้คือ targetSdkVersion) ในปี 2018, กำหนดว่าต้องเป็นแอพแบบ 64 บิตเท่านั้นในปี 2019, และบังคับให้ต้องมี metadata ด้านความปลอดภัย
Target API level ขั้นต่ำ
ช่วงสิ้นปีแบบนี้ก็เป็นเวลาที่ Google Play ประกาศผลแอพพลิเคชันแห่งปีที่ได้รับความนิยมสูงสุด รวมทุกประเภทตั้งแต่ เกมส์, ดนตรี, หนัง, รายการทีวี และหนังสือ ในปีนี้มีเพิ่มการแนะนำแอพจากบรรณาธิการในหมวดแอพที่ดีที่สุดและเกมส์ที่ดีที่สุดอีกด้วย โดยลำดับมีดังนี้
วันนี้ Google ได้ส่งอีเมลหานักพัฒนาในโปรแกรม Google Play Developer เรื่องการอัพเตดนโยบายใหม่ โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องของ Lockscreen Monetization ที่การห้ามแอปหาเงินผ่านโฆษณาบนหน้าล็อคสกรีน ถ้าไม่ใช่แอปล็อคหน้าจอ
กล่าวอย่างง่ายคือถ้าแอปนั้นๆ เป็นแอปล็อคหน้าจอ สามารถหาเงินจากโฆษณาที่ปรากฎบนหน้าล็อคสกรีนได้ แต่ถ้าเป็นแอปประเภทอื่นทาง Google จะไม่อนุญาต อย่างแอป VPN บางตัวที่หาเงินจากโฆษณาบนหน้าล็อคสกรีน
ที่มา - Android Police
UC Browser เบราว์เซอร์ยอดนิยมจากจีน (ที่ดันไปดังในอินเดียมากกว่า) ถูกกูเกิลถอดออกจาก Play Store ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าทำผิดกฎเรื่องการโปรโมทให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อติดตั้งแอพตัวนี้
ตอนนี้ไม่มีข้อมูลจากฝั่งกูเกิลว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร แต่มีนักพัฒนารายหนึ่งที่อ้างว่าเป็นพนักงานของ UCWeb ระบุว่าโดนแบนเป็นเวลา 30 วัน ผู้ที่ยังต้องการใช้ UC Browser บน Android ยังสามารถดาวน์โหลด APK มาติดตั้งเองได้จาก UCWeb
UC Browser มียอดดาวน์โหลดบน Play Store สูงถึง 500 ล้านดาวน์โหลด เป็นผลงานของบริษัท UCWeb Inc. ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเครือ Alibaba
วันที่ผู้ใช้แอนดรอยด์จะมีแอปจัดการไฟล์ในเครื่องที่ออกโดย Google น่าจะใกล้เข้ามาแล้ว จากการค้นพบแอป Files Go บน Play Store แต่ทว่ายังไม่ถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการและอยู่ในโปรแกรม Early Access เท่านั้น
ฟีเจอร์ของ Files Go เบื้องต้นคือการค้นหาเอกสาร, การแนะนำการจัดการไฟล์เพื่อทำความสะอาดเครื่อง, การแชร์ไฟล์กับเครื่องอื่นขณะออฟไลน์ เป็นต้น ไม่รวมการก๊อปปี้ ย้ายและลบไฟล์ที่น่าจะเป็นฟีเจอร์พื้นฐาน โดย Files Go จะรองรับแอนดรอยด์ 5.0 ขึ้นไป ทว่าตอนนี้เมื่อเข้าไปใน URL ของแอปบน Play Store กลับไม่พบหน้านี้แล้ว คาดว่า Google น่าจะปล่อยให้ดาวน์โหลดกันเร็วๆ นี้
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาแอป "Update WhatsApp Messenger" ปรากฎตัวขึ้นมาใน Google Play โดยใช้ภาพจากแอป WhatsApp เองและยังปลอมชื่อผู้ผลิตเป็น "WhatsApp Inc." โดยใส่ช่องว่างหลอกไว้หลังชื่อผู้ผลิตทำให้มองไม่ออกว่าเป็นคนละผู้ผลิตกัน
สิ่งที่น่าตกใจคือแอปตัวมียอดดาวน์โหลดถึงหนึ่งล้านครั้ง ตัวแอปไม่ได้ขอสิทธิ์อะไรเป็นพิเศษนอกจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้น และมีไว้แสดงโฆษณาบนเครื่องของเหยื่อที่ดาวน์โหลดมา
ผู้ผลิตรายนี้เริ่มส่งแอปขึ้น Google Play ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อแอป "WhatsApp Business" และชื่อผู้ผลิตเป็น "Whasp. Business Inc." ก่อนจะปรับชื่อจนเหมือนบริษัทจริงในไม่กี่วันที่ผ่านมา
งาน Google Play Playtime เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้นักพัฒนาได้มีโอกาสพูดคุยกับทางกูเกิ้ลเกี่ยวกับเรื่องของแอปพลิเคชั่นและทิศทางต่างๆ Google Play โดยมีจัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยในโซนเอเซียแปซิฟิกก็จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งทางกูเกิ้ลประเทศไทยก็ได้พาเราไปร่วมงานและเก็บบรรยากาศมาฝากกันครับ
ช่วงกลางปี Google ได้เปิดตัว Google Play Protect ทางแล็บ AV-TEST ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยจากเยอมันได้ทดสอบความสามารถของฟีเจอร์นี้ และพบว่า Google Play Protect ล้มเหลวในการปกป้องผู้ใช้เพราะป้องกันมัลแวร์ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก
AV-TEST ได้ทดสอบระบบ โดยพบว่า Google Play Protect สามารถหยุดมัลแวร์ได้เพียง 65.8% ของมัลแวร์ใหม่ และ 79.2% ของมัลแวร์ที่มีอายุกว่า 4 สัปดาห์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.7% และ 98.4% ตามลำดับ ทำให้ AV-TEST ให้คะแนนส่วนการป้องกันมัลแวร์ของ Google Play Protect ทั้งสิ้น 0 จาก 6 คะแนน
กูเกิลเปิดโครงการ Google Play Security Reward Program สำหรับการจ่ายโบนัสให้กับนักวิจัยเมื่อได้รายงานช่องโหว่ร้ายแรงให้กับผู้ผลิตแอปใน Google Play ที่ไม่ใช่กูเกิล เป็นการจ่ายเงินเพิ่ม 1,000 ดอลลาร์จากที่ผู้พัฒนามีโครงการจ่ายเงินให้รางวัลอยู่ก่อน
ช่องโหว่ตอนนี้ต้องเป็นช่องโหว่รันโค้ดระยะไกล (remote code execution) เท่านั้น โดยครอบคลุมไปถึง Android 4.4 ขึ้นไป กูเกิลระบุว่าผู้ผลิตที่แสดงความตั้งใจว่าจะแก้ไขช่องโหว่จึงได้รับเชิญเข้าโครงการนี้
ผู้ผลิตแอปกลุ่มแรกที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ Alibaba, Dropbox, Duolingo, Headspace, LINE, Mail.ru, Snapchat, และ Tinder โดยกูเกิลระบุว่าเปิดให้ผู้ผลิตรายอื่นสมัครเข้าร่วมโครงการได้เรื่อยๆ
กูเกิลปรับปรุงหน้าตาของ Google Play บางส่วน โดยเปลี่ยนดีไซน์หน้า Editor's Choice ใหม่สำหรับผู้ใช้ในบางประเทศ ส่วนของเกมยังปรับปรุงหน้าตาใหม่ เพิ่มภาพและเทรลเลอร์เกมมากขึ้น พร้อมเพิ่มหมวดเกมใหม่คือ New สำหรับเกมใหม่ และ Premium สำหรับเกมที่ต้องจ่ายเงิน
กูเกิลยังผนวกเอาฟีเจอร์ Instant Apps เข้ามารวมกับ Google Play ให้มากขึ้น โดยเพิ่มปุ่ม Try it Now บนหน้ารายการแอพ เพื่อให้ลองใช้แอพก่อนโดยไม่ต้องติดตั้ง
บริษัทความปลอดภัย Check Point ตรวจพบแอพ Android จำนวนอย่างน้อย 50 ตัวที่ฝังมัลแวร์และหลุดรอดการตรวจสอบของกูเกิลขึ้นไปอยู่บน Play Store ได้
Check Point เรียกมัลแวร์ตัวนี้ว่า ExpensiveWall เพราะมันจะสมัครบริการ SMS แบบเสียเงินเพื่อหารายได้จากผู้ใช้สมาร์ทโฟน จากสถิติของ Check Point พบว่ามีคนดาวน์โหลดแอพกลุ่มนี้ไปแล้ว 5.9-21.1 ล้านครั้ง (สถิติการดาวน์โหลดของ Google Play บอกเป็นช่วง) ล่าสุด Check Point แจ้งปัญหาไปยังกูเกิล และกูเกิลลบแอพทั้งหมดออกหมดแล้ว
ในแง่รูปแบบการโจมตีที่สมัคร SMS คงไม่มีอะไรใหม่ แต่ความน่าสนใจของเคสนี้คือเทคนิคของมัลแวร์ที่ "เข้ารหัส" โค้ดส่วนมัลแวร์เอาไว้ เพื่อให้หลบเลี่ยงการตรวจสอบของกูเกิลได้สำเร็จ
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กูเกิลเปิดตัว Google Play Protect ซึ่งเป็นการรีแบรนด์ระบบรักษาความปลอดภัยของ Android เป็นแบรนด์ใหม่ (จากเดิมที่ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ คราวนี้จัดชุดรวมเป็นแบรนด์เดียว ในแง่ฟีเจอร์เหมือนเดิม)
ล่าสุดกูเกิลประกาศขยายผลแบรนด์ Google Play Protect ไปอีกขั้น โดยจะเพิ่มโลโก้ของ Google Play Protect ไว้ข้างกล่องผลิตภัณฑ์ Android ที่ผ่านการรับรองจากกูเกิลด้วย
ปกติแล้วผลิตภัณฑ์ Android ที่จะติดตั้ง Google Play ต้องผ่านการรับรองจากกูเกิลเป็น "Certified Android" อยู่แล้ว ในแง่ความเปลี่ยนแปลงจึงไม่มีอะไรยกเว้นการแสดงโลโก้ให้เห็นชัดเจนขึ้นนั่นเอง
Google ได้ลบแอปออกจาก Play Store ไปกว่า 300 แอป หลังได้รับแจ้งจากฝ่ายวิจัยของบริษัท Akamai ว่าแอปที่ดูไม่มีพิษภัยเหล่านั้น (อาทิแอปเล่นหนังหรือริงโทน) แฝงมาด้วย botnet ที่ชื่อว่า WireX และใช้เครื่องที่ิติดตั้งแอปสำหรับการโจมตีแบบ DDoS
โฆษก Google ระบุตอนนี้กำลังพยายามลบแอปและ botnet ออกจากเครื่องที่มีปัญหาทั้งหมด โดยตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีเครื่องที่ติดมัลแวร์มีทั้งหมดกี่เครื่อง ขณะที่นักวิจัยของ Akamai คาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 7 หมื่นเครื่อง ขณะที่การโจมตีของ WireX บางกรณีมีการเรียกค่าไถ่ด้วย
ขณะที่นักวิจัยจากหลายบริษัท อาทิ Google, Akamai, Cloudflare, FLashpoint, Oracle Dyn ฯลฯ กำลังร่วมกันสืบสวนและแก้ปัญหานี้กันอยู่
กูเกิลประกาศปรับวิธีการจัดเรียงแอพใน Play Store โดยจะนำปัจจัยเรื่อง "คุณภาพ" ของแอพมาคำนวณด้วย
คำว่าคุณภาพในที่นี้ นับรวมเสถียรภาพของแอพ ความรวดเร็วในการทำงาน และอัตราการใช้งานแบตเตอรี่ อธิบายง่ายๆ คือแอพที่แครชบ่อยหรือกินแบตเยอะ ก็จะอยู่อันดับต่ำกว่าแอพที่แครชน้อย-ไม่เปลืองแบต
กูเกิลอธิบายว่าปรับอัลกอริทึมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักพัฒนาปรับปรุงแอพของตัวเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทุกคน กูเกิลยังแนะนำให้นักพัฒนาดูสถิติใน Play Console เพื่อเช็คว่าผู้ใช้พบปัญหาอะไรบ้างในแอพของเรา
บริษัทวิจัย Sensor Tower ออกรายงานอีกฉบับพูดถึงรายได้ของแอพอื่นที่ไม่ใช่เกมบนมือถือ (Non-Game) ถึงแม้กลุ่มเกมยังมีรายได้โตในอัตราที่สูง แต่กลุ่มไม่ใช่เกมมีความน่าสนใจว่าเติบโตในอัตราที่สูงกว่า
ไตรมาส 2/2017 ภาพรวมรายได้แอพที่ไม่ใช่เกมอยู่ที่ 2,430 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 56% จากไตรมาสที่ 2/2016 โดย App Store ยังมีส่วนแบ่งหลักราว 1.9 พันล้านดอลลาร์ และ Google Play 506 ล้านดอลลาร์
ถ้าดูเฉพาะจำนวนดาวน์โหลดอย่างเดียว อาณาจักร Facebook ยังครองพื้นที่ 3 ใน 5 อันดับแรกไว้ทุกแพลตฟอร์ม (Facebook, WhatsApp และ Instagram)
บริษัทวิจัย Sensor Tower เปิดเผยตัวเลขรายได้ของธุรกิจเกมบนมือถือในช่วงไตรมาสที่ 2/2017 ภาพรวมรายได้เพิ่มขึ้น 32% อยู่ที่ 12,200 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็น iOS โต 34% และ Google Play โต 28%
เกมเป็นหมวดแอพที่ทำเงินหลักให้กับทั้ง App Store ของ iOS (77%) และ Google Play ของ Android (88%)
ภาพรวมเกมที่มียอดดาวน์โหลดสูงคือ Subway Surfers และเป็นอันดับ 1 บน Google Play ส่วนบน App Store คือ Honor of Kings ของ Tencent ซึ่งมีให้เล่นเฉพาะในประเทศจีน ขณะที่เมื่อจัดอันดับรายได้ Monster Strike ของ Mixi เป็นเกมที่ทำเงินสูงสุดบนทุกแพลตฟอร์ม และ 5 ใน 10 อันดับแรกเป็นเกมจากเอเชีย
Google Play เปิดหน้าใหม่ในชื่อว่า editorial page โดยเป็นการปรับปรุง Editors’ Choice เดิม เพื่อทำการแนะนำแอพให้ผู้ใช้ที่น่าสนใจได้ดีกว่าเดิม
editorial page จะเป็นการรวบรวมแอพเป็นส่วน ๆ โดยแอพเหล่านี้จะถูกคัดเลือกจากทีมงานของ Google Play ซึ่งเป็นแอพที่ให้ประสบการณ์ที่ดีเมื่อใช้งานบน Android มีธีมหลายแบบไม่ว่าจะเป็นฟิตเนส, วิดีโอคอล ซึ่งในเซคชั่นใหม่นี้จะมาพร้อมกับคำอธิบายว่าทำไมทีมงานจึงชอบแอพเหล่านี้
หน้า editorial page นี้เริ่มเปิดให้ใช้งานแล้วบน Google Play ทั้งบนอุปกรณ์พกพาและเดสก์ท็อป ในประเทศออสเตรเลีย, แคนาดา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ โดย Google จะขยายฟีเจอร์นี้ให้ครอบคลุมอีกหลายประเทศในอีกไม่นานนัก
Google Play Movies & TV ได้เริ่มเปิดใช้งานวิดีโอแบบ HDR ให้กับผู้ใช้ทั่วไปแล้ว โดยเทคโนโลยี HDR นี้จะปรับปรุงภาพเคลื่อนไหวของวิดีโอ ทำให้ภาพสีสดขึ้น มิติสีกว้างขึ้น และดูสมจริงมากขึ้น แต่ฮาร์ดแวร์จะต้องรองรับด้วย
สำหรับ Google Play Movies & TV นี้ จะเริ่มเปิดให้ใช้วิดีโอแบบ HDR เฉพาะในสหรัฐฯ และแคนาดาก่อนเท่านั้น โดยจะต้องใช้ Chromecast Ultra เพื่อการดูวิดีโอแบบ HDR โดยตอนนี้วิดีโอที่รองรับมาจากสองสตูดิโอใหญ่คือ Sony และ Warner Bros. โดยตอนนี้ Google ยังไม่ได้ให้รายละเอียดการเปิดตัววิดีโอแบบ HDR ในประเทศอื่นทั่วโลก บอกเพียงว่าจะมาในเดือนหน้าเท่านั้น
ข่าวดีสำหรับผู้ใช้ Nokia เครื่องหิ้วโมเดล TA-1000 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะอัพเดทรอบเดือนกรกฎาคม (July Update) จะปลดล็อคฟีเจอร์ (ตัวเลือกเสริมที่ไม่อยู่ใน Change Log) ให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง Google Play Store และ Google Play Services จากเดิมที่บริการเหล่านี้ถูกบล็อคไว้โดยตรงที่ Bootloader
นั่นหมายความว่า Nokia 6 รุ่นที่ทำตลาดในสาธารณรัฐประชาชนจีน จะรองรับการดาวน์โหลดและติดตั้งแอพพลิเคชันต่าง ๆ โดยตรงจาก Google Play Store
เฟิร์มแวร์รหัส 00CN_3_31A มีขนาด 380 MB ซึ่งรวมไปถึงการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย การแสดงผลในภาษาอารบิกในแอพกล้องถ่ายภาพ และอื่น ๆ ตามที่มา
สมาร์ทโฟน Google Pixel เปิดตัวในการเข้าสู่บริษัทฮาร์ดแวร์เต็มรูปแบบของกูเกิล ผลการทดสอบก็ออกมาดีมาก แม้ราคาสูงแต่ก็ขายดี และกูเกิลเองก็ออกตัวว่าไม่ได้เน้นยอดขาย แต่สิ่งที่กูเกิลไม่เคยบอกคือ Google Pixel ขายได้เท่าไหร่กันแน่?
ในห้องย่อยของงาน Google I/O ทีมงาน Android ประกาศข้อมูลไว้สั้นๆ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ใช้ Android O จะสามารถอัพเดตไดรเวอร์กราฟิกผ่าน Play Store ได้โดยตรง
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลละเอียดในเรื่องนี้ แต่คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก Project Treble ที่แยกส่วนของ OS หลักกับส่วนของไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ออกจากกัน
ที่มา - Android Police
ระบบรักษาความปลอดภัยของแอนดรอยด์อาศัยการเซ็นรับรองความถูกต้องของตัวแอปด้วยกุญแจของตัวนักพัฒนา ความลำบากอย่างหนึ่งคือหากนักพัฒนาไม่ได้เชี่ยวชาญพอจนกระทั่งทำกุญแจหายไป จะไม่สามารถอัพเดตแอปเดิมได้และต้องออกแอปใหม่แทน ตอนนี้ Google Play ก็ออกบริการแก้ไขปัญหานี้แล้วชื่อว่า Google Play App Signing
นักพัฒนาที่ต้องการเข้าใช้บริการนี้จะแยกกุญแจรับรองแอปเป็นสองส่วน คือ กุญแจสำหรับอัปโหลด (upload key) และกุญแจสำหรับรับรองแอป (signing key) โดยกุญแจรับรองแอปจะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเสมอ ส่วนกุญแจอัปโหลดจะอยู่บนเครื่องนักพัฒนาเหมือนเดิม เมื่ออัปโหลดแล้ว Google Play จะตรวจกุญแจอัปโหลดว่ารับรองมาถูกต้องแล้วรับรองตัวแอปใหม่ด้วยกุญแจรับรองแอป
กูเกิลเปิดตัวบริการความปลอดภัยแบรนด์ Google Play Protect สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Google Play
กูเกิลมีบริการความปลอดภัยหลายอย่างบน Google Play มานานแล้ว เช่น การสแกนหาแอพอันตรายที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องแล้วลบออกให้อัตโนมัติ และบริการตามหาเครื่อง-ควบคุมจากระยะไกล Find My Device เป็นต้น
คราวนี้กูเกิลนำบริการเหล่านี้มาจัดเป็นชุดรวมกันให้เห็นชัดๆ ภายใต้แบรนด์ Protect เพื่อให้ผู้ใช้เห็นการทำงานของระบบความปลอดภัยมากขึ้น อย่างใน Play Store เองก็จะแสดงสถานะการสแกนเหมือนกับที่เราเห็นในโปรแกรมแอนตี้ไวรัสทั่วไป
ผู้ที่ใช้งาน Google Play อยู่แล้วจะได้รับการคุ้มครองจาก Google Play Protect โดยอัตโนมัติ