อัพเดต - ทางเอไอเอสแย้งมาว่าบริษัทจะคิดค่าบริการตามจริง (คือราคาที่ปรากฎอยู่บน Google Play ในขณะนั้น) โดยไม่บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม และสำหรับลูกค้ารายเดือนยอดนี้จะถูกรวมมาให้ในบิลปัจจุบันทันที ต้องขออภัยในความผิดพลาดด้วยครับ-ผู้เขียน
เรียกได้ว่าเป็นการประกาศตัดหน้าดีแทคที่มีข่าวออกมาจากกูเกิลอย่างเป็นทางการแบบสายฟ้าแล่บเลยทีเดียว เพราะในวันนี้เอไอเอสได้ประกาศเปิดให้บริการ Google Play Carrier Billing อย่างเป็นทางการแล้ว โดยสามารถใช้งานได้เฉพาะลูกค้าของ AIS 3G (AWN) ที่จดทะเบียนเบอร์โทรศัพท์ในแบบบุคคลธรรมดาเท่านั้นครับ
เมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา แอพ IFTTT ซึ่งเป็นแอพจัดการการทำงานแอพพลิเคชันแบบอัตโนมัติได้เปิดตัวในกูเกิล Play Store เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้เปิดตัวในแอปเปิล App Store ไปแล้วก่อนหน้านี้
Google เริ่มขายเครื่องควบคุมอุณหภูมิ Nest Learning Thermostat ผ่านทาง Google Play
ราคาขายของ Nest Learning Thermostat อยู่ที่เครื่องละ 249 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับที่วางขายผ่านทางเว็บค้าปลีกอย่าง Lowes, Nest.com และ Amazon โดย Google ระบุว่าระยะเวลาจัดส่งสินค้าโดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-2 วันทำงานภายหลังได้รับคำสั่งซื้อสินค้า
ในส่วนเครื่องตรวจจับควัน Nest Protect นั้นยังคงมีปัญหาเรื่องอัลกอริธึม ทำให้ไม่สามารถวางขายบน Google Play ได้พร้อมกับ Nest Learning Thermostat
เมื่อต้นเดือนเรามีข่าว Virus Shield แอพพลิเคชั่นป้องกันไวรัสปลอมบน Google Play ไม่ทำอะไรเลยแต่ขาย 3.99 ดอลลาร์ ซึ่งสร้างเสียงวิจารณ์ต่อ Google Play อย่างมากว่าปล่อยให้แอพนี้หลุดมาได้อย่างไร (แถมมีคนจ่ายเงินซื้อไปเกิน 10,000 ครั้ง)
ล่าสุดมีรายงานว่ากูเกิลแก้ตัวอย่างเงียบๆ โดยส่งอีเมลถึงลูกค้า Google Play ที่พลาดจนต้องเสียเงิน 3.99 ดอลลาร์ ว่าจะคืนเงินค่าแอพ 3.99 ดอลลาร์ให้ภายใน 14 วัน และปลอบใจเพิ่มเติมโดยมอบเครดิต 5 ดอลลาร์สำหรับซื้อสินค้าอื่นๆ บนร้าน Google Play ด้วย
ถือว่าเป็นค่ายที่ 4 ถัดจาก HTC ที่เริ่มหั่นบริการต่างๆ ของตัวเองแล้วปล่อยลง Google Play เพื่อความสะดวกในการจัดการอัพเดตต่างๆ ในอนาคต เสียแล้ว โดยเมื่อสักครู่นี่โซนี่ได้ปล่อยแอพพลิเคชันระบบลง Google Play ไปหนึ่งตัว นั่นก็คือ Xperia Keyboard ครับ
โดย Xperia Keyboard ตัวใหม่นี้ ได้รับการปรับปรุงในแง่คุณภาพเพิ่มจากเดิมพอสมควร และถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ใช้รอมตัวอื่นที่ไม่ใช่ของโซนี่โดยตรง ซึ่งก็รวมถึง Sony Z Ultra Google Play Edition ที่ปล่อยไปเมื่อปลายปีก่อน และโครงการ AOSP บน Github อีกด้วย
วันนี้กูเกิลได้อัพเดตหน้าข้อมูลของ Google Play Carrier Billing บริการตัดค่าคอนเทนต์บน Google Play Store ผ่านเครือข่ายใหม่ครับ โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ กูเกิลได้ประกาศว่าดีแทคจะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Carrier Billing ด้วยเช่นกัน
โดยวิธีการใช้บริการก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่เข้าไปเลือกซื้อแอพพลิเคชันใน Google Play ตามปกติ แต่ขั้นตอนการจ่ายเงิน ต้องเลือกให้คิดค่าบริการผ่านเครือข่ายแทนบัตรเครดิตซึ่งเป็นเงื่อนไขการจ่ายเงินเดิม และหลังจากนั้นดีแทคก็จะรวมยอดตัวนี้เข้าไปในใบแจ้งค่าบริการเดือนถัดไปเอง
กูเกิลมีมาตรการด้านความปลอดภัยหลายอย่างให้กับแพลตฟอร์ม Android (ข่าวเก่า: กูเกิลบอกมีมัลแวร์ Android เพียง 0.001% เท่านั้นที่หลุดระบบป้องกันและอาจเกิดอันตราย, รายละเอียดสถาปัตยกรรมความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม Android)
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจอันหนึ่งคือ Verify Apps ที่ถูกเพิ่มเข้ามาตั้งแต่เวอร์ชัน 4.2 โดยเมื่อเปิดใช้แล้วกูเกิลจะสแกนแอพที่ติดตั้งเข้ามาในเครื่อง (ไม่ว่าจะลงผ่าน Play Store หรือไม่) ว่ามีมัลแวร์หรือไม่ ปัจจุบันฟีเจอร์นี้ถูกใช้ตรวจสอบแอพไปแล้วกว่า 4 พันล้านครั้ง
ไม่แปลกสำหรับระบบปฏิบัติการที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ย่อมเป็นเป้าหมายหลักของผู้ไม่หวังดี โดยปีที่แล้ว ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มีสัดส่วนของมัลแวร์มากที่สุดถึง 97% ในขณะที่อีก 3% ไม่ได้มาจาก iOS, Blackberry OS หรือ Window Phone แต่กลับเป็น Symbian OS
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงจำนวนของมัลแวร์ที่รันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไม่ได้หมายความว่า มัลแวร์เหล่านั้นมีที่มาจาก Play Store เพราะ Play Store มีสัดส่วนของมัลแวร์บนแอนดรอยด์เพียง 0.1% เท่านั้น อีก 99.9% ที่เหลือมาจาก store เถื่อนต่างๆ
Virus Shield เป็นแอพพลิเคชั่นที่หลอกผู้ใช้ว่าสแกนหาไวรัสในเครื่อง โดยทุกครั้งที่ผู้ใช้กดดูแอพพลิเคชั่นจะขึ้นไอคอนแสดงว่าได้ตรวจไวรัสในเครื่องแล้ว โดยขายราคา 3.99 ดอลลาร์ และขายดีจนกระทั่งขึ้นอันดับหนึ่งใน Google Play อยู่ช่วงสั้นๆ ยอดขายรวมกว่า 10,000 ชุด หลังจากนำแอพพลิเคชั่นขึ้น Google Play เพียงสัปดาห์เดียว ขึ้นที่หนึ่ง Top New Paid Android Apps แต่ทางกูเกิลก็ถอดแอพพลิเคชั่นตัวนี้ออกไปในที่สุด
ตัวแอพพลิเคชั่นโฆษณาว่าทำงานโดยไม่กินแบตเตอรี่และไม่มีโฆษณา
ทีมงาน Android Police ดีคอมไพล์โค้ดของแอพพลิเคชั่นนี้ออกมาแล้วอัพโหลดไว้บน GitHub เพื่อแสดงว่าแอพพลิเคชั่นนี้ไม่ได้ทำอะไรเลยจริงๆ
Google Play ได้เริ่มทดลองเพิ่มแท็บ "My Play Activity" ในหน้าหลักของตนเองแล้ว โดยหน้าแท็บดังกล่าวจะแสดงประวัติการ "+1" และการให้คะแนนแอพต่างๆ บน Google Play ในรูปแบบจำนวนดาวตามที่ผู้ใช้เคยทำมาทั้งหมด
ในตอนนี้แท็บ "My Play Activity" ยังคงแสดงผลเฉพาะบนเครื่องเดสก์ท็อปเท่านั้น และยังคงอยู่ในช่วงทดสอบกับผู้ใช้เพียงบางส่วน แต่คาดว่าไม่นานผู้ใช้ทุกคนจะสามารถเข้าถึงแท็บนี้ได้ เช่นเดียวกับการเข้า Google Play ผ่านจากอุปกรณ์พกพา
ที่มา - Engadget
หลังจากที่มีการเปิดเผยว่า Galaxy S5 และ HTC One (M8) มีโลโก้ powered by Android โผล่มาตอนบูตเครื่อง และสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ากูเกิลกำลังใช้เอกสารสัญญาเป็นข้อบังคับให้สองบริษัทนี้โดยเฉพาะหรือเปล่านั้น ล่าสุดมีการค้นพบแล้วว่า สิ่งที่เห็นนี้ คือสิ่งที่เป็นข้อบังคับข้อใหม่จากกูเกิลจริงๆ
โดยข้อบังคับใหม่นั้น นั่นก็คือผู้ผลิตทุกรายต้องใส่โลโก้ "powered by Android" เอาไว้ที่ "หน้า Bootloader" ด้วย ถึงจะผ่านเงื่อนไขในการขอสิทธิ์การใช้งาน Google Mobile Service โดยตำแหน่งโลโก้นั้นกูเกิลได้กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าต้องวางไว้ที่ด้านล่างสุดของจอ และต้องมีความสูงประมาณ 20dp หรือ 0.6 นิ้ว โดยห้ามใหญ่หรือเล็กเกินกว่าขนาดที่กำหนดไว้
สิ่งหนึ่งที่ Google Play หละหลวมเกินไปตั้งแต่สมัย Android Market นั้น ก็คือไม่มีการตรวจเนื้อหาของแอพพลิเคชันตั้งแต่ต้น และทำให้เกิดเหตุการณ์มัลแวร์ระบาดจนทำให้กูเกิลต้องออก Bouncer ออกมาดักมัลแวร์ รวมถึงติดตั้งตัวสแกนมัลแวร์ไว้ใน Android 4.2 ก่อนจะแยกมารวมไว้ใน Google Play Service ในภายหลัง แต่อีกหนึ่งประเด็นที่ยังไม่มีการแก้ไขให้เห็นก็คือเรื่องของเนื้อหาอนาจาร
เมื่อวานนี้ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นที่ใช้ชื่อว่า SCIENTIFIKA MEDIA ได้อัพโหลดแอพพลิเคชั่นเลียนแบบธนาคารไทยหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, และธนาคารธนชาต
เมื่อสักครู่ทางธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาแจ้งเตือนแล้วแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ไม่ใช่ของธนาคาร โดยแอพพลิเคชั่นของธนาคารจริงจะมีชื่อผู้พัฒนาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์โดยตรง
ผู้ที่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นธนาคารช่วงวันสองวันนี้อาจจะต้องรีบเข้าไปตรวจสอบว่าได้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นไปบ้างหรือไม่ ถ้าเผลอติดตั้งไปแล้วควรเร่งติดต่อธนาคารครับ
ที่มา - @scb_thailand
คล้อยหลังจากรุ่นหลักเปิดตัว HTC ก็ได้เปิดตัว HTC All New One Google Play Edition ตามมาด้วย ถือเป็นการอัพเกรดจากรุ่นเดิมที่วางจำหน่ายอยู่ครับ
โดยโมเดลที่ HTC ส่งให้กูเกิลวางขายนั้น เป็นรุ่นปกติสีขาวที่เปลี่ยนใส้ในจากเดิม Android 4.4.2+Sense 6 มาเป็น Android 4.4.2 ฉบับกูเกิลล้วน ส่วนสเปคอื่นๆ จะเหมือนกับรุ่นปกติทั้งหมด แต่ข้อดีอย่างหนึ่งคือรุ่น Google Play ตัวนี้ สามารถติดตั้งแอพพลิเคชันที่เป็นบริการบน Sense 6 ได้ทั้งหมด เพียงแค่ดาวน์โหลดตัวเซอร์วิสและตามด้วยแอพพลิเคชันที่ต้องการเท่านั้น
สำหรับรุ่นนี้กูเกิลวางขายแล้ววันนี้เป็นวันแรก โดยตั้งราคาที่ 699 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,800 บาท) แพงกว่ารุ่นแรก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ครับ
ดูเหมือนว่าแนวทางการอัพเดตแต่แพลตฟอร์มที่ไม่เน้นบริการ ที่กูเกิลทำกับแอนดรอยด์และโมโตโรลานั้น เริ่มส่งอิทธิพลไปยังผู้ผลิตรายอื่นๆ เสียแล้ว เพราะเมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า HTC ได้เริ่มปล่อยแอพพลิเคชันที่เป็นฟีเจอร์ของ Sense 6 บางส่วนลง Google Play Store เพื่อที่จะได้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้งานได้
กูเกิลประกาศอัพเดต Google Play services 4.3 พร้อมๆ กับ Google Play Games ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว มีฟีเจอร์สำคัญได้แก่
กูเกิลเตรียมประกาศฟีเจอร์ใหม่ใน Google Play Games ให้นักพัฒนาสามารถใช้ Google Play เป็นแพลตฟอร์มได้ครบถ้วนกว่าเดิม ได้แก่
กูเกิลจะเปิดรายละเอียดอีกครั้งในการบรรยายในงาน GDC ปีนี้
เริ่มมีผู้ใช้ Android ได้อัพเดต Google Play Store เป็นเวอร์ชัน 4.6.16 มีของใหม่ที่สำคัญดังนี้
@evleaks ปล่อยภาพเคสของเอชทีซี All New One (หรือที่รู้จักกันในโค้ดเนม HTC M8) โดยจากภาพจะเห็นว่าฝาเคสด้านหน้ามีรูเล็กๆ จำนวนมากจัดเรียงเป็นตาราง และมีการแสดงผลเวลาและสภาพอากาศแบบมีสีสัน สีของเคสนั้นน่าจะมีอย่างน้อยสี่สี คือ ดำ เขียว ส้ม และน้ำเงิน ตามภาพท้ายข่าว
เว็บไซต์ The Verge คาดว่า เคสนี้อาจแสดงผลข้อมูลสำคัญๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องปลุกมือถือให้ทำงานขึ้นมาได้
@evleaks ยังเปิดเผยว่า All New One จะมีรุ่น Google Play Edition ด้วย
Google Play ฉลองครบรอบ 2 ปีที่เปลี่ยนชื่อจาก Android Market มาเป็น Google Play Store ด้วยการลดราคาหรือแจกฟรีแอพและเกมชุดใหญ่ ตัวอย่างเช่น
สำหรับผู้ใช้ Google Play ที่อยู่นอกประเทศไทย ยังสามารถซื้อภาพยนตร์และเพลงลดราคาได้ด้วยครับ (คนไทยอด)
ช่วงนี้วงการด้านความปลอดภัยไอทีมีงานสัมมนาใหญ่ประจำปี RSA Conference 2014 (จัดโดย RSA ที่เป็นบริษัทลูกของ EMC) ทำให้มีข่าวด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยใหม่ๆ ออกมาพอสมควร
Adrian Ludwig หัวหน้าทีมวิศวกรด้านความปลอดภัย Android ไปพูดที่งานนี้ และเผยแพร่สไลด์นำเสนอเรื่องความปลอดภัยของ Android ทั้งแพลตฟอร์ม (รวม Google Play Services, Google Play Store และบริการอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ตัว AOSP) ผมดูแล้วเห็นว่ามีประโยชน์และเป็นความรู้เชิงเทคนิคที่มีคุณค่า เลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ
เรียกได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยตลอดระยะเวลา 11 ปี ที่เว็บไซต์ XDA-Developers ถูกก่อตั้งขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งผู้ผลิตที่เอาใจนักพัฒนาภายนอกเป็นพิเศษถูกครองโดยโซนี่ ที่ขึ้นชื่อว่าเปิดทางให้นักพัฒนาภายนอกพอสมควรในช่วง 2-3 ปีนี้ แต่ล่าสุดตำแหน่งนี้ก็ถูกยกให้กับโนเกียเพิ่มเติมเสียแล้ว
เรื่องของเรื่องก็คือ หลังจากที่นาย Kasha Malaga (@KashaMalaga) ได้โพสต์วิธีการรูท Nokia X และติดตั้ง Google Mobile Service ให้ดู ว่ามันสามารถใช้งานได้จริง นาย Kasha Malaga ก็ได้ส่งผลงานไปให้ @nokiadeveloper และ @nokiaspain ได้ดูกัน รวมถึงยังบอกอีกว่า อย่าถือโทษในสิ่งที่ทำลงไปด้วยเลยละกันนะครับ
ประเด็นฉาวของ Google Play ที่กูเกิลใช้ควบคุมผู้ผลิตโทรศัพท์แอนดรอยด์อย่างหนักทำให้เป็นจังหวะดีสำหรับคู่แข่งรองๆ ที่จะเสนอบริการทดแทน ตอนนี้ Yandex ผู้ให้บริการเสิร์ชจากรัสเซียก็ออกเฟิร์มแวร์ของตัวเองมาทดแทนบริการของกูเกิลแล้ว ในชื่อ Yandex.Kit
Yandex มีบริการหลักๆ ครบถ้วน ทั้งแผนที่, เมล, บริการค้นหา, เบราว์เซอร์, หน้าร้านขายแอพพลิเคชั่น, และบริการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ
ตอนนี้มีผู้ผลิตคือ Huawei และ Explay ประกาศขายเครื่องที่ใช้บริการของ Yandex โดยเตรียมเปิดตัวในงาน Mobile World Congress ปีนี้
ที่มา - Yandex
ด้วยความดังของ Flappy Bird ที่แม้ว่าตัวเกมจะถูกเอาออกจาก App Store ไปแล้ว แต่เกมลอกเลียนทั้งหลายก็ยังสามารถขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของแอพที่คนดาวน์โหลดเยอะได้ ล่าสุดทั้งกูเกิล และแอปเปิลออกมามีมาตรการแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการปฏิเสธแอพที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "Flappy" แล้ว
เรื่องเริ่มต้นจากที่นาย Ken Carpenter นักพัฒนาเกมชาวแคนาดาพบว่าแอปเปิลปฏิเสธเกมที่เขาชื่อว่า Flappy Dragon ที่เขาส่งขึ้นไป โดยให้เหตุผลว่าชื่อเกมของนาย Carpenter นั้นตั้งใจทำให้คล้ายกับแอพชื่อดังมากเกินไป ซึ่งอยู่ในกฎข้อที่ 22.2 ของข้อบังคับใช้ใน App Store
ข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์คงหนีไม่พ้นการเข้าตรวจสอบ Android ใน EU ที่แต่ละประเทศเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของแพลตฟอร์ม Android ที่ประกาศตนว่าเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดตั้งแต่เริ่ม แต่พักหลังๆ มีท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และล่าสุดก็มีการหลุดเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งที่กูเกิลเรียกมันว่า "Mobile Application Distribution Agreenment" หรือ MADA ซึ่งเป็นสัญญาฉบับสำคัญระหว่างกูเกิลและผู้ผลิตออกมา และนี่ก็สามารถเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่อาจจะบ่งชี้ได้ว่ากูเกิลเริ่มพา Android กลับเป็นระบบปฏิบัติการแบบปิดเสียแล้ว
โดยข้อตกลงในฉบับนี้มีใจความสำคัญที่สามารถพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ