Google ประกาศผลเสิร์ชเอนจิ้นผู้ชนะการประมูลเพื่อแสดงผลเป็นตัวเลือก default ใน Android ที่เปิดใช้งานใน 31 ประเทศยุโรปนอกเหนือจาก Google แก้ปัญหาการผูกขาด และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับ Android โดยผู้ใช้งานมีสิทธิ์เลือกเสิร์ชเอนจิ้นทางเลือกสี่ราย (รวม Google แล้ว)
ก่อนหน้านี้กูเกิลอัพเดตผลการค้นหาให้สอดคล้องกับ COVID-19 เช่น แสดงจุดตรวจ COVID-19 ใน Google Maps, แสดงคำแจ้งเตือนเกี่ยวกับ COVID-19
ล่าสุดหลังบางเมืองสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์และเปิดให้ท่องเที่ยวได้ กูเกิลจะแสดงผลการค้นหาว่า ปลายทางที่จะไปมีโรงแรมเปิดอยู่และเที่ยวบินที่เปิดให้บริการกี่เปอร์เซนต์ โดยอาศัยข้อมูลจาก Google Flights และ Hotels
กูเกิลอัพเกรด Search บนมือถือในสหรัฐฯ ให้ผู้ใช้งานหาช่องทีวีที่ถ่ายสดกีฬาและรายการทีวีได้ง่ายขึ้น เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ค้นหารายการที่มองหาอยู่ ยกตัวอย่าง where to watch the Clippers game หรือ how to watch the A’s game ระบบจะแสดงการ์ดระบุช่องที่ถ่ายทอดสดไว้ด้านบนเหนือ Top Stories
เปิดมิติใหม่ของการหาคนทำงาน กูเกิลแสดงการ์ดประวัติการทำงานของผู้ใช้งานแบบย่อหรือที่เรียกว่า people card สามารถหาเจอได้บน Google Search ฟีเจอร์นี้ยังเปิดใช้งานเฉพาะอินเดียและรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ เหมาะกับคนทำงาน, ฟรีแลนซ์, อินฟลูเอนเซอร์ที่อยากให้คนรู้จักเรามากขึ้น และหาเราเจอได้ง่ายขึ้น
Woolworths ซูเปอร์มาร์เก็ตออสเตรเลียรายใหญ่เชื่อมบริการแชตกับลูกค้าผ่านทาง Google Search และ Google Maps หลังกูเกิลขยายบริการ Business Messages ไปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยเปิดรับธุรกิจทุกประเภทรวมถึงบริการภาครัฐ
ตัว Woolworths เองมีแชตบอตของตัวเองที่ชื่อว่า Olive สำหรับให้บริการสอบถามข้อมูล ตำแหน่งของสินค้าในร้านค้า, ปริมาณสินค้าในสต็อก, ช่วงเวลาเปิดปิด, ไปจนถึงมาตรการเกี่ยวกับ COVID-19
หลังจาก Twitter คนดังโดนแฮก ทวิตให้โอนเงินเข้า Bitcoin ไปเมื่อวันก่อน ล่าสุด Google ได้หยุดแสดงผลเสิร์ช Carousel จาก Twitter ชั่วคราว โดยเมื่อค้นหาจะพบเพียงลิงก์ไปยังบัญชี Twitter เท่านั้น
Google ยืนยันจะยังไม่แสดงผลเสิร์ชดังกล่าวจนกว่าจะได้ตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดจากข้อมูลเท็จ
ที่มา - Android Police
Google เริ่มเปิดใช้งานแอปพลิเคชั่น Google Search ในรูปแบบ dark mode แล้ว หลังเริ่มทดลองแบบเบต้ามาราว 2-3 เดือน ผู้ใช้งานอุปกรณ์ระบบ Android 10 และ iOS 13 และ 12 จะได้ใช้ dark mode ก่อน และสามารถปิดโหมดได้ในเมนูตั้งค่า
ทาง Google ระบุว่า Google Search ในรูปแบบ dark mode เริ่มปล่อยให้ใช้ในวันอังคารนี้ (19 พ.ค.) และจะค่อยๆ ทยอยให้ใช้กันในวงกว้างขึ้นภายในสัปดาห์ถัดไป
Google เพิ่มวัตถุ AR บน Search สามารถเรียนรู้ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์, การทำงานของระบบเซลล์, ยาน Apollo 11, วัตถุและสิ่งของจากพิพิธภัณฑ์ Smithsonian National Air และ Space Museum ได้บน Google Search เลย และยังปรากฏเป็นวัตถุ AR ให้เห็นชัดๆ อีกด้วย
วิธีการทำงานของฟีเจอร์ AR บน Search คือ เลือกค้นหาในหมวด circulatory system หรือระบบไหลเวียน กดปุ่ม “View in 3D” ผู้ใช้งานก็จะมองเห็นโครงกระดูกมนุษย์เป็นวัตถุ AR ซูมเข้าเพื่อดูรายละเอียดการทำงานของระบบได้ และยังกด View in your space เพื่อกดวางวัตถุ AR ในฉากบ้านของเราได้ ผู้ใช้งานยังสามารถค้นหาในหมวด animal cell เพื่อดูการทำงานและส่วนประกอบของเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ด้วย
Dalgona Coffee หรือ กาแฟทัลโกนา กาแฟสุดฮิตแบบใหม่จากเกาหลีที่ทำจากการตีผงกาแฟสำเร็จรูปเข้ากับน้ำร้อนและน้ำตาลจนขึ้นฟู แล้วตักราดลงบนนมสดเย็นๆ ที่เริ่มเป็นกระแสหลังช่อง Youtube ของ KBS Entertain อัพโหลดวิดีโอจุงอิลวูทานกาแฟชนิดนี้ ในรายการทีวีที่ถ่ายทำในมาเก๊าและพูดว่ารสชาติหวานหอมเหมือนขนม “Dalgona” ของเกาหลี เกิดเป็นกระแส “Dalgona Challenge” มีผู้คนพยายามทำตามไปทั่วโลก
กูเกิลแสดงผล 5 ขั้นตอนพื้นฐาน หรือ Do the Five ในการป้องกันตัวเองจากโรค COVID-19 ระบาด เมื่อผู้ใช้ค้นคำว่า coronavirus tips โดย 5 ขั้นนั้นประกอบด้วย ล้างมือ ใช้ศอกแทนการใช้มือจับโดยตรง เลี่ยงการจับใบหน้า อยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1 เมตร และเลี่ยงการออกนอกบ้าน
เมื่อกดเข้าไปที่ลองค์ใต้แคมเปญ Do the Five จะเข้าถึงเว็บไซต์ WHO องค์การอนามัยโลกโดยตรง แสดงข้อมูลละเอียดขึ้นว่า การล้างมือบ่อยๆ ช่วยป้องกันเราจากไวรัสได้อย่างไรบ้าง คำแนะนำทางสุขภาพ และความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้น และถ้าค้นคำว่า coronavirus ใน YouTube ระบบจะแสดงผลของ WHO ขึ้นมาไว้ด้านบนสุด เพื่อลดการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
กูเกิลประกาศว่าดัชนีค้นหาของเว็บไซต์ทั้งหมด จะใช้การแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาเป็นค่าเริ่มต้น (Mobile-First Index) มีผลตั้งแต่กันยายน 2020 เป็นต้นไป
แนวทางนี้กูเกิลประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2016 โดยตอนนั้นระบุว่าจะเน้นเว็บเวอร์ชันมือถือเป็นหลัก ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดกูเกิลบอกว่าเว็บไซต์มากกว่า 70% มีความพร้อมสำหรับดัชนีเว็บบนมือถือแล้ว จึงตัดสินใจเปลี่ยนให้มีผลทั้งหมด
กูเกิลบอกว่าแม้ดัชนีเว็บจะยังรองรับการเก็บข้อมูลแยกระหว่างเว็บเวอร์ชันเดสก์ท็อป กับเว็บบนมือถือ แต่กูเกิลแนะนำว่าควรทำเว็บให้เป็นแบบ responsive เพราะช่วยลดปัญหาจากการแยก URL เป็นสองแบบ ที่สร้างความสับสนทั้งบนเสิร์ชและสำหรับผู้ใช้งานเอง
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามการค้า แม้จะมีข่าวลือว่า Google พยายามดีลให้สามารถทำธุรกิจกับ Huawei ได้อีกครั้ง แต่รายหลังก็ยังคงเดินหาสร้างทางเลือกและทางรอดของตัวเองเผื่อไว้แล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็มี HMS และ AppGallery ที่มาแทน GMS และ Play Store ตามลำดับ
ล่าสุด XDA รายงานอ้างอิงจากกระทู้ใน reddit ว่า Huawei กำลังทดสอบแอป Huawei Search สำหรับใช้ทดแทน Google Search อยู่ในประเทศ UAE พร้อมไฟล์ APK โดยความสามารถของ Huawei Search ยังมีแค่การค้นหา ไม่ว่าจะเป็นเว็บเพจ, วิดีโอ, รูปภาพหรือข่าวบทความ พ่วงมาด้วย widget บอกสภาพอากาศเท่านั้น
หลังภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง Parasite ชนะรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ความสนใจต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว
กูเกิลจึงออกมาเผยข้อมูลผลการค้นหาภาพยนตร์เรื่อง Parasite และภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่เข้าชิงรางวัล Best Picture ในงานออสการ์ครั้งที่ 92
ช่วงก่อนงาน ภาพยนตร์ที่เข้าชิงได้รับความสนใจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สนใจเรื่อง 1917 มากที่สุด, แคนาดา จีน อินโดนีเซีย สนใจ Parasite, ประเทศแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง รัสเซีย สนใจ Joker เป็นต้น
Google Search เพิ่มการแสดงข้อมูลการเตือนภัย "โคโรนาไวรัส" เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำว่า coronavirus หรือคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลนี้จะแสดงในกล่องชื่อว่า "Help and Information" และ "Safety Tips" ในหน้าผลการค้นหา (อยู่ใต้ข่าวและอัพเดตจากทวิตเตอร์) โดยตอนนี้ยังแสดงลิงก์และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่กูเกิลก็บอกว่าจะอัพเดตข้อมูลตรงนี้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า SOS Alert ที่กูเกิลอาจปรับหน้าผลการค้นหาตามสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติในช่วงเวลานั้นๆ โดยอิงตามพื้นที่เกิดเหตุด้วย
เวลาค้นหาหัวข้อใดค้างไว้ และเมื่อต้องกลับมาค้นหาใหม่บน Google Search ก็ใช้เวลานาน ล่าสุด กูเกิลทำให้มันง่ายขึ้นด้วยการทำประวัติการค้นหาเป็น Collections เก็บไว้ โดยกูเกิลจะมีแท็บ Collections ปรากฏที่หน้าค้นหาให้กดดูย้อนหลังได้ บนแอปกูเกิลแอนดรอยด์
นอกจากนี้ ระบบยังแนะนำผลการค้นหาอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาใน Collections ให้สามารถกดบันทึกไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาภายหลัง
Google Search เผยความสามารถใหม่ เมื่อผู้ใช้ค้นหาเสื้อผ้า รองเท้า ระบบจะแสดงรายการนั้นที่เป็นที่นิยมจากแบรนด์ต่างๆ มาให้ในคราวเดียว บอกราคามาให้ด้วย แทนที่จะเข้าไปที่ทีละเว็บไซต์ของแบรนด์ สามารถใช้ตัวกรองเพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการมากขึ้น เช่น ชาย หญิง ไซส์ใหญ่ ลายดอก เป็นต้น
Google ระบุว่า ได้นำข้อมูลสินค้ามาจากร้านค้าต่างๆ ทั่วโลก และได้อัพเดตข้อมูลนี้เป็นประจำ และไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากร้านค้าในการทำฟีเจอร์นี้
กูเกิลประกาศผลผู้ชนะการประมูล เพื่อให้แสดงผลสำหรับเป็นตัวเลือกเสิร์ชเอนจินค่าเริ่มต้น (default) ใน Android ที่เปิดใช้งานในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาหลังถูกตัดสินจากสหภาพยุโรปว่าผูกขาดที่กำหนดกูเกิลเป็นเสิร์ชพื้นฐาน กูเกิลจึงต้องแก้เกมโดยหารายได้ทางนี้เสียเลย
หลังจากกูเกิลเปิดตัว Google Duplex ระบบปัญญาประดิษฐ์เบื้องหลัง Google Assistant ไปเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างทดสอบในสหรัฐอเมริกาที่เดียว ตอนนี้กูเกิลจะปล่อย Google Duplex ให้ชาวนิวซีแลนด์ได้ทดลองใช้หาข้อมูลร้านค้าที่ทำงานในวันแรงงานที่ 28 ตุลาคม
ในบล็อคของกูเกิลนิวซีแลนด์แจ้งไว้ว่าถ้าธุรกิจใดยินดีเข้าเป็นกลุ่มทดสอบรับสายจาก Google Duplex ก็สามารถโทรแจ้งกูเกิลได้โดยตรงหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของร้านใน Google My Business ให้เรียบร้อยแล้ว Google Duplex จะโทรมาถามเวลาทำการในวันที่ 28 ตุลาคม จากนั้นจะอัพเดตรายละเอียดขึ้น Google Maps, Google Search อัตโนมัติ
กูเกิลประกาศเปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกดาวน์โหลดแอพ Google Go หรือ Google Search เวอร์ชันกินทรัพยากรน้อย ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 แต่จำกัดเฉพาะผู้ใช้บางประเทศ
จุดเด่นของ Google Go คือใช้ทรัพยากรน้อย ตัวแอพใช้พื้นที่เพียง 5MB และประหยัดปริมาณข้อมูลที่ใช้ลงได้ 40% แต่ยังมีฟีเจอร์อย่างการสั่งงานด้วยเสียง การให้กูเกิลอ่านออกเสียงเนื้อหาในเว็บเพจให้ฟัง การใช้ Google Lens ส่องข้อความตามป้ายต่างๆ และแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ด้วย
กูเกิลประกาศไว้ตั้งแต่งาน Google I/O 2019 ว่า Google Search จะรองรับการค้นหาเนื้อใน podcast และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระบบค้นหานี้ก็เริ่มเปิดใช้งานแล้ว
วิธีการใช้งานเพียงแค่ค้นหาด้วยคำว่า podcast + ชื่อหัวข้อที่ต้องการ จากนั้นเราจะเห็นหมวด Podcasts โผล่ขึ้นมาในหน้าผลการค้นหาตามปกติ โดยอัลกอริทึมจะอิงจากการสแกนไฟล์เสียงของกูเกิลใน podcast แต่ละตอนนั่นเอง (ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะเสียงภาษาอังกฤษ และเปิดใช้เฉพาะในสหรัฐ)
กูเกิลบอกว่าในอนาคตจะไม่ต้องป้อนคำว่า podcast ด้วยซ้ำ เพราะผลการค้นหา podcast จะแสดงขึ้นมาเหมือนกับการค้นรูปหรือวิดีโอในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่า Chrome มีรอบการออกเวอร์ชันใหม่ทุก 6 สัปดาห์ แต่กลับกลายเป็น "บ็อต" ของกูเกิลที่ใช้เรนเดอร์หน้าเว็บ (Googlebot) ที่อัพเวอร์ชันตามไม่ทัน ส่งผลให้เวลาเราใช้เครื่องมือทดสอบต่างๆ ของกูเกิล (เช่น search console, mobile friendly test หรือ AMP test) จะเรนเดอร์เว็บไซต์ได้ไม่ตรงกับที่เราเห็นจริงๆ บน Chrome
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือก่อนหน้านี้ Googlebot ยังใช้ Chrome เวอร์ชัน 41 ที่ออกในปี 2015 ขณะที่ปัจจุบัน Chrome วิ่งไปถึงเวอร์ชัน 76 แล้ว เทคโนโลยีเว็บเปลี่ยนไปมาก ผลลัพธ์ของการเรนเดอร์เว็บเพจจึงต่างกันมาก (กรณีที่พบบ่อยคือ Googlebot มองเว็บเพจเป็นหน้าขาว)
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Google ประกาศว่าจะให้ผู้ใช้งานแอนดรอยด์ในยุโรปเลือกเบราว์เซอร์และเสิร์ชเอนจิน เพื่อแก้ปัญหาการถูกตัดสินว่าผูกขาด
ล่าสุด Google อัพเดตรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะให้ผู้ใช้เลือกผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินตั้งแต่ในขั้นตอนการตั้งค่าหลังเปิดเครื่องครั้งแรกหรือรีเซ็ตเครื่องใหม่ ซึ่งจะมีผลเป็นเสิร์ชเอนจินตัวตั้งต้น ทั้งจากการเสิร์ชในหน้าโฮมและใน Chrome (ถ้าติดตั้ง)
Google ประกาศปรับโฉมแท็บข่าวสารหรือ News บน Google Search บนเดสก์ท็อปครั้งใหญ่ เปลี่ยนการแสดงจากลิงก์ธรรมดามาจัดเรียงและแสดงเป็น card เหมือนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของ Google
Google ได้ปล่อยพรีวิวผ่านทางบัญชี Twitter @GoogleNewsInitiative จากการแสดงลิงก์ที่อัดกันซึ่งเป็นดีไซน์แบบเดิมของ Google มาเป็นดีไซน์ในยุคใหม่ที่แสดงเป็นรูปแบบ card ที่อ่านได้ง่ายขึ้นเหมือนกับ Google News ที่เป็นผลิตภัณฑ์แยก ซึ่งดีไซน์ใหม่นี้จะเน้นพื้นที่ว่างและพรีวิวเนื้อหาของข่าวมากกว่าดีไซน์เดิม
อีกจุดที่แท็บข่าวสารของ Google Search เน้นให้ชัดเจนมากขึ้นคือชื่อของสำนักข่าว จากเดิมที่อยู่ใต้พาดหัวข่าว เปลี่ยนมาเป็นการวางไว้เหนือพาดหัวข่าวพร้อมเพิ่มโลโก้ของสำนักข่าวเข้ามา
คนสายทำเว็บคงรู้จักไฟล์ robots.txt ที่ใช้บอกบ็อตของเครื่องมือค้นหาว่า เพจไหนบ้างที่ไม่ต้องอ่านข้อมูลไปทำดัชนีค้นหา
ฟอร์แมตของไฟล์ robots.txt เรียกว่า Robots Exclusion Protocol (REP) ใช้งานกันแพร่หลายมายาวนาน (de facto) แต่สถานะของมันไม่เคยถูกยกระดับขึ้นเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตที่มีองค์กรกลางรับรองมาตลอด 25 ปี (ถูกคิดขึ้นในปี 1994)
ล่าสุดกูเกิลประกาศผลักดัน REP ให้เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตภายใต้การดูแลของ Internet Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นผู้ดูแลมาตรฐานหลายๆ ตัวที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น OAuth สถานะตอนนี้คือกูเกิลส่งร่างมาตรฐานไปยัง IETF แล้ว และอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการออกมาตรฐานปกติ
คาดว่าทุกคนต้องเคยเจอประสบการณ์คนถามอะไรที่สามารถค้นหาใน Google ได้ง่ายๆ และเราก็จะบอกให้เขาไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตสิ ล่าสุด Google มีฟีเจอร์มาแก้ปัญหานี้โดยที่เราไม่ต้องบอกให้คนถามไปเสิร์ช Google ทดสอบปุ่มแชร์ในช่องค้นหาหรือช่อง search ในผู้ใช้งานแอนดรอยด์ สามารถแชร์เป็นลิงก์ไปให้ผู้อื่นสามารถไปกดค้นหาต่อได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้ใช้แชร์ออกไปจะเป็นสิ่งที่ค้นหา ไม่ใช่ผลของการค้นหา เพราะผลของการค้นหามัน customize ตามประสบการณ์ของผู้ใช้แต่ละคน เช่น ถ้าค้นหา pizza near me สิ่งที่ผู้ใช้แชร์ออกไปให้คนอื่นจะเป็นเพียงลิงก์ค้นหาตรงๆ ให้คนรับไปค้นต่อ เพราะผลการค้นหาจะไม่เหมือนกัน