ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Genius โวยวายว่า Google ลอกเนื้อเพลงมาแสดงผลในหน้าเสิร์ช โดยทาง Google ระบุว่าเนื้อเพลงที่นำมาแสดงผลได้รับการยินยอมจากพาร์ทเนอร์แล้วและจะสืบสวนเรื่องนี้เพิ่มเติม
ล่าสุด Google แถลงข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมการแก้ปัญหาแล้วว่า ที่ผ่านมา Google ได้จ่ายเงินส่วนแบ่งให้กับค่ายเพลงหรือคนแต่งเพลง ที่เป็นเจ้าของสิทธิในเนื้อเพลงเหล่านี้ ขณะที่การแสดงผลเนื้อเพลงส่วนใหญ่จะมาจากบุคคลที่ 3 ที่เป็นพาร์ทเนอร์ เพราะเจ้าของเนื้อเพลงหรือค่ายเพลง ไม่ได้เก็บหรือแสดงผลเนื้อเพลงที่เป็นของตัวเองเอาไว้ในโลกออนไลน์
ใครที่ใช้ Spotify น่าจะคุ้นเคยกับ Genius ที่ป้อนเนื้อเพลงและรายละเอียดไปจนถึงเบื้องหลังของเพลงนั้นๆ โดยล่าสุด Genius กำลังมีปัญหากับ Google ที่โจมตีว่า Google คัดลอกเนื้อเพลงจาก Genius ไปแสดงในผลเสิร์ช
Wall Street Journal รายงานว่า Genius ได้ยื่นเรื่องนี้ไปยัง Google ตั้งแต่ปี 2017 แล้วพร้อมระบุว่าการนำเนื้อเพลงไปแสดงผลนั้นละเมิดข้อตกลงในการใช้งานของ Genius รวมถึงละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดด้วย
วันสองวันนี้หลายคนอาจสังเกตเห็น Google Search บนเดสก์ท็อปมีหน้าตาต่างไปจากเดิมเล็กน้อย โดยแถบ search bar ใต้กล่องค้นหา (ตรงที่มีให้เลือกประเภทของผลการค้นหา เช่น Images, News, Videos) มีไอคอนเพิ่มเข้ามา เมื่อเทียบกับของเดิมที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว
ในอดีต Google Search เคยมีไอคอนลักษณะเดียวกันนี้ (แต่เป็นเวอร์ชันสี) มาตั้งแต่ปี 2010 และเอาออกไปในปี 2011 สุดท้ายก็นำกลับมาอีกครั้ง ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Google Search เวอร์ชันมือถือจะปรับหน้าตาตามไปด้วยหรือไม่
ที่มา - Search Engine Land
กูเกิลประกาศการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผลเสิร์ช ผ่านบัญชี Twitter Search Liaison โดยระบุว่าเป้าหมายคือต้องการให้ผลเสิร์ชมีความหลากหลายมากขึ้น จากที่บางคำค้นอาจได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเนื้อหาจากเว็บไซต์เดียวซ้ำกันเป็นชุด
โดยกูเกิลบอกว่าผลลัพธ์ใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงนี้ จะแสดงผลจากเว็บที่ซ้ำกันไม่เกิน 2 ครั้ง ในส่วนของ top result อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้น หากคำค้นหามีความเจาะจงเป็นพิเศษ ก็อาจให้ผลลัพธ์จากเว็บที่ซ้ำกันมากกว่า 2 ได้
เงื่อนไขเว็บซ้ำนั้นกูเกิลบอกว่าซับโดเมนต่าง ๆ จะถือว่ามาจากโดเมนหลักและเป็นเว็บเดียวกันด้วย แต่อาจมีข้อยกเว้นได้เช่นกัน
Google เพิ่มระบบ AR สำหรับการจำลองภาพสัตว์ในผลการค้นหา ให้ผู้ใช้จำลองภาพสัตว์ได้ตั้งแต่แบบสามมิติ ไปจนถึงวางบนโลกจริงที่ขนาดเสมือนจริง รองรับสัตว์หลายประเภท เช่น หมี, สิงโต, เสือ, สุนัข, แมว และอื่น ๆ สามารถใช้ผ่านแอป Google Search หรือเบราว์เซอร์ Chrome ได้ (มือถือต้องรองรับ AR ด้วย)
วิธีใช้งาน คือค้นหาชื่อสัตว์ที่ต้องการ ถ้ารองรับจะแสดงปุ่ม View in 3D เมื่อกดปุ่มแล้วภาพสัตว์สามมิติจะปรากฏพร้อมให้ผู้ใช้ขยับได้ และกด View in Your Space หากต้องการให้วางบนพื้นที่จริง ซึ่งสัตว์จะมีเอฟเฟคเหมือนจริงด้วย เช่น เสือคำราม, แพนด้ากินไผ่ เป็นต้น (ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องให้แอปเข้าถึงกล้องและพื้นที่เก็บข้อมูลจึงจะใช้งานได้)
ด้วยความร้อนแรงของบริการสั่งอาหารออนไลน์ ล่าสุดกูเกิลก็เลยเพิ่มบริการสั่งอาหารออนไลน์โดยตรงผ่านบริการของกูเกิลทั้ง Google Search, Google Maps และ Google Assistant โดยคำสั่งซื้อจะผ่านไปยังพาร์ทเนอร์บริการส่งอาหารอาทิ DoorDash, Postmates, Delivery.com และ ChowNow ซึ่งไม่ต้องโหลดแอปเหล่านั้นเพิ่ม
บริการดังกล่าวตอนนี้มีเฉพาะผู้ใช้กูเกิลในอเมริกาเท่านั้น
กูเกิลบอกว่าจะเพิ่มบริการส่งอาหารจากผู้ให้บริการอื่นเพิ่มเติมอีกในอนาคต อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจคือแม้กูเกิลจะพยายามรวมบริการต่าง ๆ เข้ามาไว้ในพื้นที่กูเกิลเอง แต่ผู้ให้บริการส่งอาหารที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงในอเมริกา อาทิ Uber Eats, Deliveroo, Grubhub และ Just Eat รายชื่อเหล่านี้ยังไม่มีในบริการส่งอาหารของกูเกิล
กูเกิลโชว์ดีไซน์แบบใหม่ของหน้าผลการค้นหา (search result page) เวอร์ชันมือถือ ซึ่งจะมีผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือผลการค้นหาจะแสดงไอคอนของเว็บไซต์ (favicon) เพิ่มเข้ามา และปรับตำแหน่งของชื่อเว็บไซต์ไปอยู่เหนือชื่อบทความที่เป็นลิงก์ โดยกูเกิลให้เหตุผลว่าเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลแต่ละชิ้นมาจากเว็บไซต์ใดบ้าง
ในกรณีที่ผลการค้นหานั้นเป็นโฆษณา สัญลักษณ์ที่แสดงคำว่า Ad ก็ชัดเจนขึ้นจากเดิม เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีดำเด่นชัด
กูเกิลบอกว่าหน้าผลการค้นหาแบบใหม่จะเริ่มใช้กับ mobile web ก่อน และคาดว่าเวอร์ชันเดสก์ท็อปจะเปลี่ยนแปลงตามในภายหลัง
ที่มา - Google
หลังจาก Google เปิดตัวโหมดค้นหาแบบไม่แสดงตัวตนบน YouTube ในปีที่แล้ว ล่าสุดจะเปิดตัวโหมดนี้ใน Google Search และ Google Maps ด้วย
นั่นหมายความว่า ผู้ใช้สามารถค้นหา ระบุสถานที่ที่จะไปได้โดยที่ข้อมูลจะไม่ถูกเก็บอยู่กับบัญชี Google ของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถเปิดและปิดโหมดนี้ได้โดยกดที่รูปโปรไฟล์บนแอพ และกดที่ turn on,off incognito mode นอกจากนี้ที่ปุ่มโปรไฟล์จะมีปุ่มให้ผู้ใช้จัดการข้อมูลบัญชีของตัวเองได้เลย และสามารถลบกิจกรรมออนไลน์ของตัวเองได้จากปุ่มนี้
Google Go แอปเสิร์ชกูเกิลที่ใช้ปริมาณข้อมูลน้อย ออกแบบมาให้เหมาะกับการเชื่อมต่อความเร็วต่ำ จะสามารถใช้งาน Google Lens ได้ รองรับการแปลเป็นภาษาไทยด้วย
เมื่อยกกล้องจ่อที่ป้ายภาษาต่างประเทศ ระบบจะแปลให้ ผู้ใช้สามารถกดฟังสิ่งที่ป้ายเขียนไว้ กดแปล และกดให้อ่านสิ่งที่แปลให้ฟังได้ นอกจากนี้ยังแตะที่คำเพื่อนำไปค้นหาในช่อง Search ต่อได้ด้วย ซึ่งความสามารถในการแปลนี้ยังรองรับไม่กี่ภาษา แต่หนึ่งในนั้นมีรองรับภาษาไทย
กูเกิลเปิดงาน Google I/O ปีนี้ด้วยการประกาศแผนอัพเดตบริการ Google Search ที่จะมีฟีเจอร์เพิ่มอีก 3 ฟีเจอร์หลัก คือ การแสดงผลเรื่องราวตามเวลา (story timeline), ค้นหา podcast, และการแสดงผลเป็น augmented reality (AR)
Google เล่นกับกระแสของ Avengers: Endgame ที่กำลังจะเข้าฉายในสหรัฐวันนี้บนหน้าเสิร์ชด้วยการที่ หากคุณค้นหาคำว่า Thanos แล้วคลิ๊กที่ถุงมือ Infitnity ด้านขวา นิ้วของถุงมือจะถูกดีดและผลการค้นหาจะสลายหายไปเป็นฝุ่น
ขณะที่ตัวเลขที่แสดงจำนวนผลการค้นหาก็จะหายไปครึ่งหนึ่งด้วย เช่นจาก 94,300,000 ผลการค้นหาจะเหลือเพียง 47,150,000 ผล และหากกดที่ถุงมืออีกครั้ง ถุงมือจะใช้งาน Time Stone ย้อนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิมด้วย
หลังเปิดตัว AMP Stories มาตั้งแต่ปีที่แล้ว วันนี้ Google ประกาศเตรียมนำฟีเจอร์ดังกล่าวมาใช้งานจริงแล้วในหน้า Google Search บนมือถือ
AMP Stories จะแสดงบนเป็นแถบแยกของตัวเอง โดยช่วงแรกจะแสดงผลเฉพาะการค้นหาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวก่อน ขณะที่หมวดอื่นๆ จะตามมาในภายหลัง
ที่มา - Android Police
ปกติเวลาค้นหาอะไรเก่าๆ ใน Google ผู้ใช้ต้องกดหลายเมนูกว่าจะเจอตัวเลือกที่สามารถกำหนดเวลาที่จะค้นหาย้อนหลังได้ โดยผู้ใช้ต้องกดเข้าไปที่ Tools ก่อน จากนั้นกด Any Time จะเห็นตัวเลือกเวลาว่าจะให้แสดงผลการค้นหาในช่วงไหน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือ 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นต้น จากนั้นเลือกเมนู Custom Range จึงจะสามารถระบุวันเดือนปีที่ต้องการค้นหาได้แบบเฉพาะเจาะจง
ล่าสุด Google จึงทดสอบฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้พิมพ์คีย์เวิร์ดระบุช่วงเวลาในช่องค้นหาโดยตรง และ Google จะแสดงผลการค้นหาให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดของผู้ใช้แทน เช่นพิมพ์ค้นหาเกี่วกับ Avengers ก็ให้เพิ่มคีย์เวิร์ด avengers endgame before:2019, avengers endgame after:2019-04-01, avengers endgame after:2019-03-01 before:2019-03-05 เป็นต้น Google จะขึ้นผลการค้นหาตามเวลาที่ระบุมาให้
กูเกิลนั้นจ่ายเงินให้แอปเปิลมาตลอดหลายปี เพื่อแลกกับการที่กูเกิลเป็นเสิร์ชที่กำหนดเป็นค่าเริ่มต้นในระบบปฏิบัติการ iOS ทั้ง iPhone และ iPad โดย Goldman Sachs ประเมินว่าตัวเลขที่กูเกิลจ่ายให้แอปเปิลปี 2018 สำหรับเสิร์ชนี้สูงถึง 9,460 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 3,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2017 และ 1,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2014 ด้วยแนวโน้มดังกล่าว คาดว่าปีนี้กูเกิลอาจต้องจ่ายเงินถึง 12,000 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว
Google Search เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ แสดงหน้าเว็บที่เคยเข้าไปตอนหาข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น หาข้อมูลเรื่องลดน้ำหนัก ระบบจะแสดงหน้าเว็บไซต์ที่เราเคยเข้าไปดูมาให้ เพื่อความสะดวกถ้าเราอยากจะกดเข้าไปดูข้อมูลที่เว็บนั้นอีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นที่คล้ายๆ กับการบุ๊คมาร์ก คือกดบันทึกหน้าเว็บไซต์นั้นลง Activity ได้เก็บเป็นคอลเลคชั่นไว้เผื่อจะเข้ามาหาข้อมูลอีกครั้ง โดยสามารถเก็บข้อมูลแบ่งเป้นหัวข้อตามที่เราตั้งขึ้นเองได้ ฟีเจอร์ดังกล่าวยังใช้งานได้เฉพาะสหรัฐฯก่อน
Google ประกาศนำ Google Lens มาใส่ในระบบค้นหารูปภาพ Google Images โดยจะทำการระบุสิ่งของต่าง ๆ ในรูปภาพ เพื่อค้นหาสิ่งเหล่านั้นเพิ่มเติม ตามที่ประกาศไว้ตอนโอกาสครบรอบ 20 ปีเมื่อเดือนที่แล้ว
วิธีใช้ Google Lens คือผู้ใช้เลือกรูปภาพที่ปรากฏใน Google Images จากนั้นกดปุ่ม Lens รูปภาพก็จะปรากฏเป็นจุดบนสิ่งของต่าง ๆ ที่ Google Lens ตรวจจับได้ และเมื่อกดที่จุดนั้น ๆ ก็จะเป็นการค้นหาข้อมูลตามสิ่งต่าง ๆ ในภาพต่อได้ ซึ่ง Google ระบุว่า Lens เป็นอีกหนทางหนึ่งในการค้นพบข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์เหมือนกับ Google Search
ปัจจุบัน หากผู้ใช้ค้นหาผ่าน Google Search และล็อกอินบัญชี Google ไว้ด้วย ข้อมูลการค้นหาจะถูก Google บันทึกไว้ และหากต้องการลบจะต้องไปค้นหาในหน้าจัดการบัญชีและลบเอง ซึ่ง Google ได้เพิ่มปุ่มใหม่ให้ผู้ใช้จัดการข้อมูลส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น
สำหรับปุ่มใหม่คือ "ควบคุมข้อมูลใน Google Search" จะปรากฏบนหน้าแรกและเมนูการตั้งค่าของเว็บ Google Search บนเดสก์ท็อป และ sidebar ของเว็บ Google Search บนมือถือ ซึ่งเมื่อคลิกปุ่มนี้แล้ว ผู้ใช้สามารถดูและสั่งลบกิจกรรมการค้นหาที่ไม่ต้องการให้เก็บ Google ไว้ได้ และในหน้านี้ Google จะให้ข้อมูลด้วยว่า Google Search ทำอะไรกับข้อมูลผู้ใช้บ้าง (วิดีโออยู่ท้ายข่าว)
ในโอกาสครบรอบ 20 ปี Google นอกจากจะปรับโฉมใหม่ใน Google Chrome ที่มีอายุครบ 10 ปีแล้ว ฟีเจอร์การค้นหาบน Google Search ก็ยกเครื่องใหม่หลายอย่าง
ปี 2017 Google เปิดตัว Feed บนหน้าค้นหา Google ที่ใช้ machine learning นำเสนอเนื้อหาที่อ้างอิงกับประวัติการค้นหาของผู้ใช้บนหน้าคนหานั้นเลย ล่าสุด Google ปรับเปลี่ยนปุ่ม Home ที่อยู่ล่างซ้ายมือให้เป็นปุ่ม Discover ดีไซน์ใหม่สวยงามขึ้น เพิ่มคอนเทนต์และแบ่งประเภทเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจด้วย และเพิ่มเนื้อหาประเภทวิดีโอเข้ามาใน Feed ด้วย
ยังไม่มีความชัดเจนอย่างเป็นทางการเรื่อง Google จะกลับไปเปิดบริการเสิร์ชในจีนหรืออีกนามว่า Dragonfly แต่มีข่าวลือว่าตัวบริการเสิร์ชนี้นอกจากจะบล็อคคำและเว็บไซต์ตามนโยบายเซนเซอร์เนื้อหาของจีนแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวของคนจีนได้ด้วย
เว็บไซต์ The Intercept อ้างอิงแหล่งข่าววงในบอกว่า ตัวเสิร์ชสามารถเชื่อมไปยังเบอร์มือถือของผู้ใช้งานแอนดรอยด์ได้ ซึ่งหมายความว่าการค้นหาของผู้ใช้แต่ละรายสามารถติดตามได้ง่ายและผู้ใช้ที่หาข้อมูลที่รัฐบาลห้าม นอกจากนี้มีรายงานตัวอย่างคำภาษาจีนที่เป็นคำต้องห้ามบนตัวเสิร์ชคือ "สิทธิมนุษยชน" "การประท้วงของนักศึกษา" และ "รางวัลโนเบล"
Google ประกาศว่าการเสิร์ชผ่าน Chrome บนแอนดรอยด์ด้วยคำค้นเดิม ผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนเดิมด้วยสคริปต์ Service Worker ที่แคชผลการค้นหาเอาไว้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแสดงผลการค้นหาเดิมเร็วขึ้นมาก
ทีมวิศวกรของ Google บอกว่าที่ตอนนี้รองรับเฉพาะ Chrome บนแอนดรอยด์ก็เพราะเบราว์เซอร์อื่นๆ ยังไม่รองรับ Navigation Preload ขณะที่ฝั่งเจ้าของเว็บก็ต้องรันคำสั่ง Service Worker ผ่าน JavaScript ของหน้าเว็บและต้องเป็น HTTPS ด้วย
สคริปต์ Service Worker ดูได้จากที่มาครับ
Google Analytics ประกาศปรับปรุงการแสดงผล ในหน้า Acquisition ส่วนของ Source / Medium โดยเพิ่ม google images / organic แยกออกมาจากที่ส่วนนี้รวมอยู่กับ google / organic เพื่อให้ผู้ดูข้อมูลสามารถแยกที่มาของทราฟิกได้ชัดเจนมากขึ้น ว่ามาจากผลเสิร์ชแบบข้อความ หรือการเสิร์ชแบบค้นหารูปภาพ
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลในหน้า Referral ด้วย โดยจะแสดงแยกกันระหว่าง google.com กับ images.google.com
กูเกิลอธิบายว่าการแยกข้อมูลแบบนี้ จะทำให้ผู้ดูแลเว็บไซต์และผู้วิเคราะห์เข้าใจคุณค่าของ Google Images ดีขึ้น และเรียนรู้ว่าทราฟิกนั้นมาจากช่องทางใดกันแน่ เพื่อให้การปรับแต่งเว็บไซต์ทำได้ถูกทางมากขึ้น
DuckDuckGo บริการเสิร์ชที่ไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ออกมาให้ความเห็นผ่านบัญชี Twitter หลังกูเกิลถูกสหภาพยุโรปสั่งปรับจากข้อหาผูกขาดทางการค้าผ่าน Android โดยบอกว่าในฐานะ DuckDuckGo ให้บริการเสิร์ชที่ถือเป็นคู่แข่งกูเกิล มองว่ากูเกิลพยายามกีดกันการแข่งขันมากกว่าที่ทำบน Android เช่น ตัว Chrome Extension เมื่อมีอัพเดต ก็จะถามผู้ใช้ทุกคนว่าต้องการเปลี่ยนค่าคืนเป็นกูเกิล แทนที่ DuckDuckGo หรือไม่
แต่กรณีที่น่าสนใจที่สุด DuckDuckGo เปิดเผยว่ากูเกิลได้จดโดเมนเนม Duck.com เอาไว้ แล้วส่งต่อไปที่หน้าหลักของกูเกิล ซึ่งอ้างว่าทำให้ผู้ใช้งาน DuckDuckGo สับสน
Google ทดลองใช้การค้นหารูปภาพคล้าย Pinterest แต่ละรูปมีแคปชั่นและลิงก์ที่จะไปยังแหล่งที่มาของรูปภาพ เมื่อกดเข้าไปที่รูปภาพจะเห็นข้อมูลอีกมาก และถ้ารูปภาพนั้นเป็นสินค้า ก็จะเชื่อมลิงก์ไปยัง Google Shopping ที่ใช้อัลกอริทึมรวมร้านค้าต่างๆ ไว้
Google ยืนยันกับ TechCrunch ว่าได้ทดลองฟีเจอร์ดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดเพิ่มเติม ผู้อ่านสามารถดูรูปภาพหน้าตาฟีเจอร์ใหม่ที่ Google กำลังทดลองได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ในการค้นหารูปภาพตามปกติบน Google จะมีเพียงรูปภาพเรียงๆ ต่อกัน โดยไม่มีแคปชั่นด้านล่าง และเมื่อกดเข้าไปก็จะเห็นเป็นลิงก์ไปยังแหล่งที่มารูปภาพ แต่ไม่สามารถเชื่อมไปยังร้านค้า หรือ Google Shopping ได้ (Google Shopping ยังใช้ในไทยไม่ได้)
Google เผยฟีเจอร์ใหม่ เมื่อค้นหามหาวิทยาลัยที่จะเรียนในสหรัฐฯ เช่น UCLA, Spelman เป็นต้น Google จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการรับสมัคร,ค่าใช้จ่ายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในผลการค้นหาโดยตรง ผู้ใช้สำรวจทางเลือกด้านการศึกษาและมหาวิทยาลัยที่ตรงกับความต้องการง่ายขึ้น
จากตัวอย่างในภาพ จะเห็นว่า Google แสดงข้อมูลค่าเทอม อัตราส่วนการสอบเข้าและความสำเร็จในการจบการศึกษาเพิ่มเข้ามาด้วยนอกเหนือจากข้อมูลทั่วไปอย่างตำแหน่งและรูปภาพ และยังดูข้อมูลเชิงลึก เช่น อัตราการสำเร็จการศึกษา รวมถึงรายได้ประจำปีโดยทั่วไป 10 ปีหลังจากจบการศึกษามาแล้ว, ข้อมูลนักศึกษา ว่ามีเพศใด เชื้อชาติใดบ้าง
ในฟีเจอร์ใหม่นี้ Google ได้ร่วมมือกับองค์กรด้านการศึกษาคือ U.S. Department of Education’s College Scorecard และความร่วมมือด้านข้อมูลจาก Integrated Postsecondary Education Data System (IPEDS) และทำงานร่วมกับนักวิจัยด้านการศึกษาด้วย