Google ได้แบนคีย์เวิร์ด Kodi จากฟีเจอร์ autocomplete เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มจำนวนมาก
แม้ว่า Kodi จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เซ็ตท็อปบ็อกซ์ที่ใช้สำหรับการสตรีมมิ่งที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ของ Kodi นั้น มีการรองรับ add-on จากบุคคลที่สามที่สามารถใช้งานเพื่อรับสื่อละเมิดลิขสิทธิ์ได้ และเมื่อปีที่แล้ว ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปก็ออกกฎว่าการขายเซ็ตท็อปบ็อกซ์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อให้ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และรายการทีวีได้ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
จากที่กูเกิลเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2016 ว่า ดัชนีค้นหาของกูเกิลจะเป็น Mobile-First ดึงข้อมูลจากเว็บเวอร์ชันมือถือเป็นหลัก และทดสอบมาเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง ในที่สุดกูเกิลก็เริ่มเดินหน้าย้ายดัชนีค้นหามาเป็น Mobile-First แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบของ Google Search ที่เดิมที่อิงจากเว็บเพจเวอร์ชันเดสก์ท็อปเป็นหลัก จะเปลี่ยนมาอิงกับเว็บเพจเวอร์ชันมือถือแทน (ถ้ามี) แต่ถ้าเว็บไซต์มีเฉพาะเพจเวอร์ชันเดสก์ท็อปหรือเป็น responsive ทำงานได้ทุกหน้าจอ ก็จะยังทำงานได้ตามปกติ
กูเกิลเริ่มแสดงหน้าผลการค้นหา (search result page) ที่ไม่มีลิงก์สีน้ำเงิน 10 ลิงก์แบบที่เราคุ้นเคยกันมานาน แต่จะแสดงเฉพาะ "คำตอบ" ให้กับคำถามที่ค้นหาเท่านั้น
หน้าผลการค้นหาแบบใหม่จะมีเฉพาะบางคำค้นเท่านั้น และต้องเป็นคำค้นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (fact) เช่น ถามอุณหภูมิ-เวลา, เปลี่ยนหน่วย, คิดเลขตามสมการที่กรอก เป็นต้น
ผมลองคำค้นตามตัวอย่างในลิงก์ต้นทางแล้ว พบว่าบางอย่างก็ไม่ได้ผลตามนั้น เช่น "5+6" ที่ได้คำตอบเป็น 11 ก็ยังมีลิงก์ให้เห็นอยู่ แต่บางคำค้นอย่าง "time in Bangkok" หรือเปลี่ยนหน่วย "10 kg to lbs" พบว่าไม่มีลิงก์แล้วจริงๆ
กูเกิลเผยอัพเดตผลการค้นหาชื่อศิลปิน จากเดิมข้อมูลที่แสดงผ่าน Knowledge Panel จะมีเพียงข้อมูลคร่าวๆ ของศิลปินนั้นๆ ผลการค้นหาแบบใหม่เพิ่มข้อมูลเพลงใหม่ที่จะปล่อยออกมา รวมทั้งทัวร์คอนเสิร์ตครั้งต่อไป ผู้ใช้สามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้ได้บนหน้าแรกของการค้นหา ไม่ต้องไปกดที่เมนู News หรือในเว็บไซต์อื่นเพิ่มเติม
เบื้องต้นมีศิลปินที่ได้รับการอัพเดตการค้นหาแบบใหม่แล้วคือ Lorde, Sia, Son Little, Sofi Tukker, Shakira, Kygo และ Steve Aoki
Google ปรับปรุงระบบค้นหาภาพใหม่เล็กน้อยแต่สำคัญมาก โดยการนำปุ่ม “ดูรูปภาพ” ออก ดังนั้นผู้ใช้ที่ดูรูปภาพผ่าน Google Search จะไม่สามารถกดปุ่ม “ดูรูปภาพ” เพื่อเข้าไปยังหน้าลิงก์ที่ปรากฏเป็นรูปภาพโดยตรงได้อีกแล้ว
Google ประกาศว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป Google Search จะเริ่มนำความเร็วของหน้าเว็บมาใช้เป็นปัจจัยในการคำนวณเพื่อจัดอันดับของผลการค้นหาบนอุปกรณ์พกพา ซึ่ง Google เรียกว่า Speed Update
Google กล่าวว่า วิธีการจัดอันดับผลการค้นหาแบบใหม่นี้จะมีผลเฉพาะหน้าเว็บที่ทำงานช้าจนเกินไป ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก Google จะใช้วิธีการคำนวณอันดับแบบเดียวกันกับหน้าเว็บทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีในการทำเว็บแบบใดก็ตาม แต่ว่าคำค้นหายังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า ดังนั้นแม้ว่าหน้าเว็บจะโหลดช้า ก็ยังสามารถอยู่ในอันดับสูงได้หากเป็นหน้าเว็บที่ดี มีคอนเทนต์ที่ตรงกับที่ผู้ใช้สนใจ
Google เริ่มปล่อยฟีเจอร์เกี่ยวกับการค้นหาใหม่ คือให้เหล่าดาราหรือเซเลบสามารถตอบคำถามของตัวเองที่มักจะถูกใช้ค้นหาอยู่บ่อยครั้งใน Google ซึ่งเซเลบเหล่านั้นจะเป็นผู้ตอบคำถามเองโดยการอัดวิดีโอเซลฟี่หน้าตัวเอง และแสดงไว้ด้านบนสุดของผลการค้นหา
สำหรับเซเลบที่อัดวิดีโอเพื่อตอบคำถามบน Google Search แล้ว อย่างเช่น Nick Jonas, Mark Wahlberg, James Franco และ Gina Rodriguez ซึ่งวิดีโอเหล่านี้จะปรากฏบนผลการค้นหาของ Google โดยตรง ดังนั้นไม่ว่าจะค้นผ่านเว็บหรือแอพ Google ก็จะแสดงวิดีโอนี้ด้วยเช่นกัน โดยตอนนี้ Google เริ่มทดสอบฟีเจอร์เหล่านี้แล้วสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์พกพาในสหรัฐฯ และกำลังพิจารณาการขยายฟีเจอร์นี้ไปยังเซเลบที่คนรู้จักน้อยลงในเดือนหน้า
Google ได้ปล่อยแอพ Google Go หรือในชื่อเดิมคือ Search Lite แอพค้นหาโดย Google ที่ใช้ปริมาณข้อมูลน้อย ออกแบบมาให้เหมาะกับการเชื่อมต่อความเร็วต่ำ ตอนนี้เริ่มปล่อยให้ผู้ใช้ได้ใช้งานจริงแล้วในอุปกรณ์ Android บางรุ่น หลังจากที่ทดสอบมาแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม
ตัวแอพ Google Go นั้นมีขนาดเพียงแค่ 5MB จุดเด่นคือมีระบบซัพพอร์ตออฟไลน์ และมีข้อมูลแสดงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตที่มา ๆ ดับ ๆ ซึ่งสองปัจจัยนี้จะเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ใช้ในอินเดีย รวมถึงตลาดเกิดใหม่ทั้งหลายซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายของแอพนี้ ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ก็มีอย่างเช่นค้นหาภาพ, GIF, ค้นหาโดยใช้เสียง และอื่น ๆ
Google เพิ่มฟีเจอร์การค้นหา 3 อย่างคือ
Google ปรับปรุงระบบ Google Finance ครั้งใหญ่ โดยจะนำแท็บ Finance เข้าไปแสดงอยู่ในหน้า Search เพื่อเข้าถึง Google Finance ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเงินโดยเฉพาะ (หรือจะเข้าผ่าน google.com/finance เหมือนเดิมก็ได้) ไม่ว่าจะเป็นข่าวด้านการเงิน, หุ้นที่น่าสนใจ, หุ้นที่ผู้ใช้กำลังติดตาม, ดัชนี, ภาพรวมตลาด, ตลาดในประเทศ, ตลาดต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่ง Google ได้ปรับดีไซน์จากเดิมไปใช้ดีไซน์ใหม่ที่เหมือนกับเว็บยุคใหม่ของ Google
ในการปรับปรุงครั้งนี้ Google ได้ยกเลิกฟีเจอร์บางอย่าง เช่น พอร์ตโฟลิโอ, ตารางย้อนหลัง แต่ข้อมูลของหุ้นในพอร์ตของผู้ใช้ยังคงสามารถเข้าดูได้ และรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับหุ้นนั้น ๆ ได้เช่นเดิม
รัสเซียประกาศว่า ทางหน่วยงานรัฐบาลอาจทำการตอบโต้ หาก Google ลดอันดับผลการค้นหาจาก Sputnik และ Russia Today (RT) ที่ปรากฏใน Google Search
Interfax รายงานโดยอ้างคำกล่าวของ Alexander Zharov หัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลสื่อว่า หน่วยงานของเขาได้ส่งจดหมายไปยัง Google เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยขอความชัดเจนในเรื่องที่ Eric Schmidt ประธานบอร์ด Alphabet เคยกล่าวว่าจะจัดการกับผลการค้นหาของเว็บไซต์รัสเซียในผลการค้นหาของ Google โดยตอนนี้ได้รับคำตอบแล้ว และเข้าใจแล้วว่าจะทำอะไรต่อไป Zharov หวังว่าความคิดของเขาจะได้รับการรับฟังและไม่ต้องการหันไปใช้วิธีที่จริงจังมากกว่านี้
Google ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบายการใช้งาน AMP ของเจ้าของเว็บไซต์ ตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีหน้าเป็นต้นไป เนื้อหาบนหน้า AMP จะต้องเหมือนกับในหน้าเว็บไซต์เต็มทุกประการ
การเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวก็เพื่อแก้ปัญหาที่บางเว็บใช้ AMP เป็นคลิ๊กเบทหรือทีเซอร์ (teaser) ให้เนื้อหามาเพียงส่วนเดียว เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้กดเข้าไปอ่านจากหน้าเต็ม ซึ่งผิดจุดประสงค์ของ Google ในการออกฟีเจอร์ AMP ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ใช้งานเว็บของผู้ใช้มากขึ้น
Google ระบุว่าหากพบเว็บไหนแสดงผลเนื้อหาในหน้า AMP ไม่เหมือนกับหน้าเต็มอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อผู้ใช้กดเข้าชมคอนเทนท์ที่เป็น AMP ก็จะลิงก์ไปยังหน้าเว็บโดยตรงแทน โดยจะไม่ส่งผลต่ออันดับการแสดงผลการค้นหาโดยรวมบน Google แต่เว็บนั้นๆ จะไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเว็บ AMP แทน
ข่าวเล็กๆ ที่สอดแทรกมากับ Firefox 57 คือ Mozilla เปลี่ยนเอนจินค้นหาหลักจาก Yahoo! กลับมาเป็น Google Search อีกครั้ง
Mozilla เซ็นสัญญากับ Yahoo! ในปี 2014 เพื่อเป็นเอนจินค้นหาหลักในบางประเทศ (นอกจากนั้นยังมี Yandex และ Baidu) เป็นเวลานาน 5 ปี ซึ่งเป็นสัญญาที่สร้างรายได้มหาศาลแก่ Mozilla
Google เพิ่มฟีเจอร์หวังลดข่าวปลอมอีกขั้น ตามปกติเมื่อผู้ใช้ค้นหาชื่อบริษัทสื่อหรือสำนักข่าวบน Google ระบบจะแสดงข้อมูลทั่วไปของบริษัทนั้นๆ ล่าสุด Google เพิ่มข้อมูลรางวัลที่บริษัทสื่อนั้นๆ ได้รับ และแนวทางการเสนอเนื้อหาของสื่อนั้นว่าออกไปในแนวทางใด เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจโทนการเขียนและธรรมชาติของเนื้อหาที่สื่อนั้นนำเสนอมากขึ้น
ข้อมูลรางวัลและแนวการเขียนจะอยู่ด้านล่างข้อมูลทั่วไป ผู้ใช้สามารถกดและเลื่อนปัดขวาดูรายละเอียดเพิ่มได้ ประโยชน์คือผู้รับข่าวสารจะมีช่องทางตรวจสอบแหล่งข่าวเพิ่มขึ้นอีกชั้น แต่ผู้ใช้จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อพิมพ์ค้นหาชื่อสำนักข่าวบน Google ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากรับข่าวสารนั้นไปแล้วระยะหนึ่ง
จากข้อมูลของ Google Trends เผยว่า ล่าสุดคำค้น “buy bitcoin” หรือ “ซื้อบิตคอยน์” บน Google นั้นได้แซงคำค้น “buy gold” หรือ “ซื้อทอง” ไปแล้ว ซึ่งก็มีนัยยะได้ว่าคนเริ่มหันมาสนใจการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลมากกว่าทองคำ โดยคำค้นซื้อบิตคอยน์เริ่มมาพุ่งสูงขึ้นมากช่วงหลังในช่วงที่บิตคอยน์เริ่มมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ
กูเกิลประกาศเพิ่มข้อมูลใหม่ในผลการค้นหา โดยเดิมหากเราค้นหาร้านค้าหรือร้านอาหาร ก็จะแสดงช่วงเวลาที่คนเยอะ แต่เร็วๆ นี้ จะเพิ่มข้อมูลเวลาที่เราต้องรอคิว และจะแสดงผลข้อมูลนี้ใน Maps ด้วย
กูเกิลบอกว่าข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานพิจารณาได้เพิ่มขึ้น ว่านอกจากทราบแล้วว่าร้านนี้คนเยอะ ก็จะรู้เวลาที่ต้องรอคิวเพื่อประเมินว่าควรหรือไม่ควรไปกันแน่
ที่มา: กูเกิล
Google ปรับรูปแบบการแสดงผลการค้นหาอีกครั้ง คราวนี้เป็นการเปรียบเทียบสมาร์ทโฟนโดยเมื่อใส่ vs ลงไประหว่างสมาร์ทโฟน 2 รุ่น (อาทิ Pixel 2 XL vs iPhone 8 Plus) ผลการค้นหาจะแสดงชาร์ทเปรียบเทียบสมาร์ทโฟนทั้งสองรุ่นให้บนหน้าผลการค้นหาเลย
ผู้ใช้สามารถกดขยายชาร์ทเพื่อดูตารางเทียบสเปคทั้งหมด รวมถึงมีตัวเลือกให้ไฮไลท์สเปคที่แตกต่างกันให้ด้วย อย่างไรก็ตามการเทียบสเปคน่าจะได้ไม่เกิน 2 รุ่นและเหมือนฟีเจอร์นี้จะยังไม่ได้พร้อมกันครับ ผมทดสอบแล้วยังไม่ขึ้น
ที่มา - Android Police
ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในรอบหลายปีของหน้าเว็บ Google.com ภาคภาษาอังกฤษ โดยมีลิงก์ About และ Store เพิ่มเข้ามาที่มุมซ้ายบนของหน้าจอ
ลิงก์ไปยัง Google Store ถือว่าสอดคล้องกับการเปิดตัวฮาร์ดแวร์ชุดใหญ่ของกูเกิลในสัปดาห์ที่ผ่านมา (รวมถึงขยาย Store ในหลายประเทศ) ส่วนลิงก์ About ชี้ไปยังหน้าแนะนำองค์กรของกูเกิล ซึ่งปรับปรุงใหม่และมีส่วนที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น แสดงไอคอน Doodle ประจำวันนั้นในอดีตให้ดู พร้อมข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับอะไรด้วย
สายสัมพันธ์ระหว่างแอปเปิลกับกูเกิล จืดจางลงไปหลังกูเกิลหันมาทำ Android แข่งกับ iOS ทำให้แอปเปิลก็ลดระดับความสัมพันธ์กับกูเกิลลงหลายอย่าง ที่สำคัญคือเปลี่ยนระบบค้นหาใน iOS มาเป็น Bing ตั้งแต่ปี 2013
แต่ล่าสุด แอปเปิลประกาศว่าจะเปลี่ยนเอนจินค้นหาของ iOS และ Siri รวมถึง Spotlight บน macOS กลับมาใช้เอนจินของ Google Search เหมือนเดิม (ส่วนเอนจินค้นหาของ Safari ทั้งบน iOS และ macOS เป็นกูเกิลอยู่แล้ว)
ในแถลงการณ์ของแอปเปิลระบุว่า การเปลี่ยนมาใช้กูเกิลเหมือนกันทั้งหมด ทำให้ประสบการณ์ค้นหาของผู้ใช้มีความสม่ำเสมอในทุกช่องทาง โฆษกของแอปเปิลยังบอกว่าบริษัทมีสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งกูเกิลและไมโครซอฟท์
แอพ Google บน iOS ออกอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดเพิ่มคุณสมบัติ ค้นหาหัวข้อที่อยู่ในกระแส (Trending Searches) คล้ายกับ Trending ใน Twitter และ Facebook โดยจะแสดงหัวข้อที่ได้รับความนิยมรอบตัว เมื่อเราเริ่มค้นหาข้อมูล นอกจากนี้ยังเพิ่ม Instant Answers ที่เดาคำตอบจากคำถามที่เรากำลังป้อนเข้าไป
ฟีเจอร์นี้ออกมาให้ผู้ใช้ Android ตั้งแต่ปีที่แล้ว และหากไม่ต้องการใช้งานก็สามารถปิดได้ในหน้าการตั้งค่า
ผู้ใช้ iOS สามารถอัพเดตแอพกันได้ที่ App Store
บริษัทวิจัย Bernstein ออกรายงานวิเคราะห์ว่าในปีนี้กูเกิลอาจจ่ายเงินให้แอปเปิลถึง 3 พันล้านดอลลาร์ เพื่อให้เสิร์ชกูเกิลยังเป็นค่าเริ่มต้น (default) อยู่บน Safari
ตัวเลขนี้ไม่มีการยืนยันแต่เกิดจากประเมินของนักวิเคราะห์ โดยมีเอกสารจากคดีความในอดีตระบุว่าปี 2014 กูเกิลเคยจ่ายเงินให้แอปเปิล 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคำนวณจากโอกาสที่กูเกิลได้จากค่าโฆษณาผ่านการเสิร์ชของ Safari บน iOS ซึ่งหากการจ่ายเงินยังใช้สมการเดิม ในปีนี้กูเกิลก็ควรจ่ายให้แอปเปิล 3 พันล้านดอลลาร์
บทวิเคราะห์นี้มองว่าเงิน 3 พันล้านดอลลาร์นั้นสูงมาก กูเกิลอาจเลือกไม่จ่ายก็ได้ในอนาคต และหากเป็นเช่นนั้นก็กระทบกับรายได้ส่วน Services ของแอปเปิลอยู่มากเช่นกัน
Google ได้เพิ่มฟีเจอร์พรีวิววิดีโอ 6 วินาทีลงในหน้าค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูพรีวิววิดีโอก่อนกดลิงก์เข้าไปดูวิดีโอจริงได้ ซึ่งสามารถใช้กับผู้ให้บริการวิดีโอหลายแห่งรวมถึง YouTube (แต่ทั้งนี้ถ้าวิดีโอใหม่มาก ๆ ผู้ใช้อาจยังไม่เห็นพรีวิวเพราะต้องรอให้เซิร์ฟเวอร์สร้างพรีวิวก่อน)
สำหรับฟีเจอร์ดังกล่าวนี้ Google ใช้ machine learning ในการวิเคราะห์วิดีโอทั้งคลิปและคำนวณว่าควรจะเลือกช่วงเวลาใดมาตัดเป็นช่วงเวลาพรีวิว 6 วินาที เพื่อให้ได้ช่วงเวลาสำคัญของวิดีโอที่เหมาะสมในการเป็นพรีวิว แต่ไม่ได้อธิบายอย่างละเอียดว่าอัลกอริทึมนี้เลือกวิดีโออย่างไร
กูเกิลปรับวิธีการแสดงผลของ Image Search บนมือถือ (ตอนนี้ใช้ได้กับแอพ Google บน Android และบน mobile web) โดยแสดงป้ายข้อความ (label) เล็กๆ บอกว่าเว็บเพจที่แสดงรูปภาพนั้นเป็นเนื้อหาประเภทไหน
ตัวอย่างเช่น เราค้นหาภาพเค้กใน Image Search ก็จะมีป้ายบอกว่าถ้าคลิกที่ภาพจะไปเจอกับสูตรทำเค้ก (recipe) หรือวิดีโอสอนทำเค้ก (video พร้อมตัวเลขความยาว) เพื่อให้ผู้ใช้งานรับรู้ล่วงหน้าก่อนคลิกที่ภาพนั้น จะได้ไม่ต้องกดไปๆ กลับๆ หลายรอบให้เสียเวลา
ตัวอย่างป้ายอื่นๆ คือข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (product) และภาพเคลื่อนไหว (gif) เป็นต้น แต่ไม่ใช่ทุกภาพจะแสดงปป้าย label ครับ
เมื่อปี 2010 กูเกิลเปิดตัว Google Instant ค้นหาได้โดยไม่ต้องคลิก โดยเราพิมพ์คำลงในช่องค้นหาทีละตัวอักษร กูเกิลจะปรับหน้าจอผลการค้นหาให้เอง (โดยไม่ต้องกด enter)
เวลาผ่านมา 7 ปี กูเกิลฆ่าฟีเจอร์นี้ทิ้งแล้ว โดยโฆษกของกูเกิลให้เหตุผลว่า Google Instant ออกแบบมาสำหรับการใช้บนเดสก์ท็อป แต่ปัจจุบัน ทราฟฟิกการค้นหาของกูเกิลส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์พกพา ซึ่งมีวิธีการป้อนข้อมูลที่ต่างไปจากเดสก์ท็อป ทำให้กูเกิลถอดฟีเจอร์ Google Instant ที่ใช้งานยากบนมือถือออกไป เพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานบนอุปกรณ์ทุกประเภทเหมือนกัน
จากนี้ไป เวลาเราพิมพ์คำค้นในช่องค้นหาบนเดสก์ท็อป เราก็จะเจอแต่คำค้นแนะนำ (suggestions) เท่านั้น หน้าผลการค้นหาจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตโนมัติจนกว่าจะกด enter เอาเอง
Google เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ SOS alerts ใน Google Maps และ Google Search ให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลครอบคลุมมากขึ้นเวลาเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ เช่น ระบุสถานที่ เบอร์โทรติดต่อขอความช่วยเหลือ ช่องทางบริจาค
เมื่อผู้ใช้อยู่ในสถานที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์วิกฤต หรือค้นหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ ฟีเจอร์ SOS alerts ใน Google Search จะใช้งานทันที โดยระบบจะแสดงแบนเนอร์สีแดง ระบุข้อมูลข่าวสาร เบอร์โทรติดต่อกรณีฉุกเฉิน และสถานที่ที่ได้รับผลกระทบ ส่วน SOS alerts ใน Google Maps จะแสดงตำแหน่งสถานที่ที่ได้รับผลกระทบเป็นลูกไฟหรือวงกลมสีแดง พร้อมแสดงข้อมูลเบอร์ติดต่อเวลามีเหตุร้าย หรือต้องการขอความช่วยเหลือ ข้อมูลอัพเดทเรียลไทม์ เช่น สถานีเดินทางที่ต้องปิดทำการกะทันหัน หรือการปิดถนนฉุกเฉิน เป็นต้น