ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน เวลา 15.00 น. HUAWEI CLOUD ประเทศไทย จะจัด Cloud Diary Special Session ซึ่งเป็นการสัมมนาออนไลน์ฟรีผ่านการสตรีมสดบนหน้า Facebook (@HuaweiCloudTH) หัวข้อนี้มีชื่อว่า “KBTG x HUAWEI CLOUD: Eatable by KBank Food Ordering Platform in the New Normal” โดยมีวิทยากรพิเศษคือ คุณเจนวิทย์ จันทรโชติ (โอ๊ต) หัวหน้าฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีของกลุ่มเทคโนโลยีธุรกิจ ธนาคารกสิกรไทย (KASIKORN Business-Technology Group) จะมาบรรยายเกี่ยวกับแพลตฟอร์มการสั่งอาหารแบบใหม่ “Eatable” ซึ่งรองรับทางเลือกในการสั่งอาหารทุกประเภท ตั้งแต่การสั่งเพื่อจัดส่งไปรับประทานที่บ้านหรือในร้านอาหาร
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา เราดูวีดีโอ เล่นเกมส์ อ่านข่าว และซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตแทบทุกวัน ในช่วงหลายปีนี้การศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การทำงานทางไกล และการให้บริการสุขภาพแบบออนไลน์ (eHealth) ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังบริการออนไลน์เหล่านี้ก็คือ Content Delivery Network หรือ CDN ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยส่งคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าเราอาจไม่สนใจหรือไม่รู้ว่ามี CDN ทำงานอยู่เบื้องหลังก็ตาม
Huawei เพิ่งเปิดตัว EMUI 11 เวอร์ชันใหม่ ที่น่าสนใจคือมันไม่ได้พัฒนาขึ้นจากซอสโค้ด Android 11 ตามชื่อเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ยังคงพัฒนาจาก Android 10 เหมือน EMUI 10 แค่มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่บน Android 11 เข้ามา
โฆษก Huawei บอกว่าที่ EMUI 11 ยังใช้ซอสโค้ดจาก Android 10 เพราะคำสั่งแบนของสหรัฐ ทำให้ Huawei เพิ่งได้เข้าถึงซอสโค้ด Android 11 (AOSP) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ที่ผ่านมาทีมพัฒนาเลยต้องอาศัยการเพิ่มฟีเจอร์ที่มีมาให้ Android 11 เข้าไปแทน และการพัฒนา EMUI บนฐานของซอสโค้ด Android 11 จริง ๆ น่าจะกินเวลาอีกหลายเดือน
การเปลี่ยนแปลง EMUI 11 หลัก ๆ คือการปรับแต่ง Always-on-Display, Multi-windows ที่ดีขึ้นและการปรับปรุงความเป็นส่วนตัว
Huawei เปิดตัวสมาร์ทวอทช์รุ่นใหม่ Watch GT2 Pro รุ่นอัปเกรดจาก Watch GT2 มาพร้อม LiteOS ของ Huawei หน้าจอ AMOLED 1.39 นิ้ว ความละเอียด 454 x 454 พิกเซล ครอบด้วยกระจกแซฟไฟร์
ตัวเรือนขนาด 47 มิลลิเมตรเป็นไทเทเนียม ด้านหลังเรือนเป็นเซรามิก ทำให้ชาร์จไร้สายได้ผ่านระบบ Qi แบตเตอรี่สแตนด์บายได้ 14 วัน ชาร์จ 10 นาทีใช้งานเพิ่มได้ 5 ชั่วโมง มีลำโพงในตัว เก็บเพลงไว้บนหน่วยความจำภายในได้ 2GB มีระบบตรวจจับการนอนหลับ ตรวจจับการเต้นหัวใจผิดปกติ รวมไปถึงโหมดกีฬา เช่นวงสวิงกอล์ฟ ว่ายน้ำ ปีนเขา วิ่ง และกีฬาอื่นๆ กว่า 100 ชนิด
วันนี้จากการประกาศแผนการพัฒนา HarmonyOS 2.0 ทาง Huawei ก็ประกาศโครงการฝั่งโอเพนซอร์สในชื่อ OpenHarmony ที่ตอนนี้ยังเป็นเพียงระบบปฎิบัติการสำหรับอุปกรณ์ IoT รองรับอุปกรณ์ที่มีแรมระหว่าง 128KB ถึง 128MB เท่านั้น เพราะยังเป็น lite kernel อยู่
ทาง Huawei ยอมรับตั้งแต่ปีที่แล้วว่า HarmonyOS ยังต้องใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยตอนประกาศเมื่อปีที่แล้วก็ระบุว่ามีการใช้งาน 3 เคอร์เนล ได้แก่ Linux, HarmonyOS microkernel, และ lite kernel และที่ผ่านมาซอร์สโค้ดจากทาง Huawei ที่เปิดต่อสาธารณะก็มีเพียง lite kernel สำหรับอุปกรณ์ IoT เท่านั้น ไม่มีการเปิดเผยความก้าวหน้าของโครงการส่วนอื่นต่อสาธารณะ
เก็บตกรายละเอียดเพิ่มเติม (อีกนิด) ของ HarmonyOS 2.0 ระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ Huawei (เวอร์ชัน 1.0 ใช้กับสมาร์ททีวีที่ออกในปี 2019)
รายละเอียดทางเทคนิคของตัว OS ยังมีไม่เยอะนัก เท่าที่บัญชีทวิตเตอร์ @HuaweiMobile โพสต์เอาไว้ ก็ยังเป็นแผนภาพที่แสดงข้อมูลกว้างๆ ไม่ลงรายละเอียดมากนัก
FreeBuds Pro มาพร้อมไดรเวอร์ขนาด 11 มิลลิเมตร ชิป Kirin A1 พร้อม ANC ที่บอกว่าลดเสียงได้ถึง 40 เดซิเบล มีไมโครโฟนสามตัวช่วยรับเสียง และมีระบบช่วยเร่งเสียงคนพูดรอบข้าง แบตเตอรี่ใช้งานได้ 4.5 ชั่วโมง รวมเคสได้ 20 ชั่วโมงเมื่อเปิด ANC และประมาณ 7 ชั่วโมง รวมเคส เป็น 30 ชั่วโมง เมื่อปิด ANC
หลังจากแจ้งเบื้องต้นไปว่า HarmonyOS พัฒนาได้กว่า 70-80% แล้ว ล่าสุด Richard Yu ซีอีโอของ Huawei Consumer ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ในงานสัมมนาประจำปี Huawei Developer Conference 2020 ว่าจะเปิดให้ผู้พัฒนาทดสอบ HarmonyOS เวอร์ชั่นเบต้าได้ในเดือนธันวาคมปีนี้ และเตรียมนำมาใช้งานบนมือถือแบบเต็มรูปแบบในปีหน้า
ซัมซุงและ SK Hynix ผู้ผลิตชิปเซ็ตจากเกาหลีกำลังเป็นรายล่าสุดที่ถูกบีบจากกฎหมายของสหรัฐ ทำให้ไม่สามารถผลิตและส่งมอบชิปให้ Huawei หลังวันที่ 15 กันยายนนี้ตามกำหนด 120 วัน หลังออกกฎหมาย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งชิปเซ็ตและชิปความจำ
Richard Yu ซีอีโอของ Huawei Consumer ให้สัมภาษณ์กับสื่อจีนถึงสถานะของ Harmony OS หรือ Hongmeng OS ว่าตอนนี้พัฒนามาได้ประมาณ 70-80% ของ Android แล้ว บริษัททุ่มงบประมาณหลักร้อยล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนา OS ตัวนี้ และมันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
Yu ยอมรับว่าการแบน Google Mobile Services (GMS) มีผลสะเทือนต่อธุรกิจสมาร์ทโฟนของ Huawei นอกประเทศจีนอย่างมาก ในขณะที่ธุรกิจอุปกรณ์เครือข่ายไม่ได้รับผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่าการแบนระลอกสอง ที่ห้ามโรงงานผลิตชิปให้ Huawei และห้ามบริษัทอื่นขายชิปให้ด้วย ก็ส่งผลอย่างมากเช่นกัน
เขายังพูดถึงตลาดอุปกรณ์ 5G ว่านำหน้าคู่แข่งไปไกลมาก โดยประเมินว่า Huawei นำหน้า Ericsson อยู่ปีครึ่ง ส่วน Ericsson ก็นำหน้า Nokia อยู่ 5 ปี
หลังจากที่สหรัฐออกกฎให้บริษัทนอกสหรัฐ ที่ใช้เทคโนโลยีสหรัฐในการผลิตและจะขายชิปให้ Huawei ต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งกระทบ TSMC ที่เป็นซัพพลายเออร์ให้ Huawei เต็ม ๆ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าหวยจะไปตกกับ MediaTek ที่ถึงแม้จะจ้าง TSMC ผลิต แต่ยังพอมีช่องว่างให้สามารถขายชิปให้ Huawei ได้อยู่
อย่างไรก็ตามดูเหมือนสถานการณ์จะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เมื่อ MediaTek ได้ยื่นเรื่องไปยังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ขอใบอนุญาตเพื่อส่งมอบชิปให้ Huawei ก่อนเดดไลน์วันที่ 15 กันยายนนี้
Ming Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเชนแอปเปิลมองว่าสถานการณ์ตอนนี้ของ Huawei หลังโดนบีบทุกช่องทางโดยเฉพาะซัพพลายเชนชิปเซ็ต เคสที่ดีที่สุดคือส่วนแบ่งการตลาดลดลง ส่วนเคสที่แย่ที่สุดคือ Huawei อาจต้องออกจากธุรกิจมือถือนี้ไปเลย ซึ่งอาจส่งผลต่อซัพพลายเชนสมาร์ทโฟนในภาพรวมไปเลย
Ming Chi Kuo บอกว่า Huawei มักสั่งชิ้นส่วนกล้อง, HDI, ชิปสตอเรจและชิป 5G ที่คุณภาพสูงกว่าและจำนวนชิ้นเยอะกว่าคู่แข่งเจ้าอื่นในตลาด และหากความสามารถในการแข่งขันในตลาดนี้ของ Huawei ลดลง (หรือออกจากตลาด) ก็จะกระทบเทรนด์การอัพเกรดชิ้นส่วนเหล่านี้ในอุตสาหกรรมให้ช้าลงอีกทอด
Ren Zhengfei ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Huawei เปิดเผยในปาฐกถา Shanghai Jiao Tong เมื่อเดือนที่แล้วว่า Huawei เริ่มหันไปลงทุนในรัสเซียมากขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการถูกแบนโดยรัฐบาลสหรัฐ
การลงทุนของ Huawei ไม่ใช่แค่เม็ดเงินที่จะลงในรัสเซีย แต่รวมถึงการเพิ่มจำนวนและเพิ่มเงินเดือนให้นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย นอกจากนี้ Financial Times รายงานด้วยว่า Huawei จะหันไปโฟกัสกับธุรกิจคลาวด์ให้มากขึ้น เพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้ในระยะยาว โดยนักวิเคราะห์มองว่าธูรกิจคลาวด์ของ Huawei ไม่ได้รับผลกระทบในแง่ของซัพพลายชิปเหมือนธุรกิจสมาร์ทโฟน ที่ตอนนี้แทบจะสิ้นหวังไปแล้ว
ปี 2020 เป็นปีแห่งอภิมหาวิวัฒนการของ Cloud Computing, AI, 5G การพัฒนาและประยุกต์ใช้ Cloud+AI+5G แบบผสมผสานจะเป็นแรงผลักดันใหม่ในการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงอย่างชาญฉลาดจะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมขององค์กร ปัจจุบันการรับรู้เกี่ยวกับระบบคลาวด์ขององค์กรกำลังเป็นที่แพร่หลายบริษัทจำนวนมากเริ่มหันมาใช้ Cloud Computing ในระบบข้อมูลขององค์กร
Ross Young ซีอีโอของ Display Supply Chain Consultants บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลจอแสดงผล เผยข้อมูลว่าหน้าจอของ Huawei Mate 40 เริ่มผลิตในเดือนนี้แล้ว เป็นหน้าจอขนาด 6.5 นิ้ว ความละเอียด 2340 x 1080 พิกเซล รีเฟรชเรต 90Hz นอกจากนี้ยังมีอีกสามรุ่นคือ Huawei Mate 40 Pro, Pro + และ รุ่นพิเศษ Mate 40 RS Porsche ที่ดีไซน์ร่วมกับบริษัทรถสปอร์ตชื่อดัง
ใบอนุญาตชั่วคราวจากรัฐบาลสหรัฐ ที่อนุญาตให้ Huawei ยังดำเนินการกับบริษัทบางแห่งได้แม้จะถูกแบน ทำให้มือถือรุ่นที่วางจำหน่ายก่อนเดือน พฤษภาคมปี 2019 (เดือนที่คำสั่งแบนออก) เช่น Huawei P30 ยังสามารถอัพเดตเวอร์ชั่นแอนดรอยด์ หรืออัพเดตความปลอดภัยต่างๆ จาก Google ที่เป็นบริษัทสหรัฐได้อยู่ และใบอนุญาตนี้ ได้หมดอายุลงไปเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว
South China Morning Post รายงานอ้างอิงข้อมูลที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลอินเดียเตรียมจะสั่งห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศสั่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ 5G จาก Huawei และ ZTE โดยเรื่องนี้จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการหลังนายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งนี้
อินเดียกับจีนอาจกระทบกระทั่งกันบ้างตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ความสัมพันธ์ของสองประเทศนี้อยู่ในช่วงวิกฤติหลังการปะทะกันของทหารบริเวณพรมแดนประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยก่อนหน้านี้บริษัทเทคของจีนก็ได้รับผลกระทบไปแล้วจากการแบนแอป 2 ระลอกรวมกันกว่า 100 แอป
Wall Street Journal รายงานอ้างอิงเอกสารของ Qualcomm ที่ส่งไปให้รัฐบาลสหรัฐ เพื่อล็อบบี้ให้กระทรวงพาณิชย์อนุญาตการขายชิปเซ็ตให้กับ Huawei โดยอ้างเหตุผลว่า การแบนไม่ได้ช่วยป้องกัน Huawei จากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็น แถมยังเสี่ยงทำให้รายได้ปีละราว 8 พันล้านเหรียญ (ที่ Qualcomm ควรได้จาก Huawei) ไปตกอยู่กับคู่แข่งต่างชาติแทน
Qualcomm อ้างว่าผลประโยชน์ดังกล่าวจะไปตกกับ MediaTek ของไต้หวันและซัมซุงของเกาหลีใต้ และอาจส่งผลต่อส่วนแบ่งตลาดชิป 5G ในระดับโลกที่สหรัฐจะสูญเสียไป และส่งผลกระทบต่อการวิจัยและการเป็นผู้นำด้าน 5G ของสหรัฐอีกต่อ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลไม่เป็นผลดีต่อผลประโยชน์สหรัฐเลย
Richard Yu ซีอีโอฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ของ Huawei ออกมายอมรับว่าปีนี้ เราน่าจะได้เห็นชิป Kirin ระดับไฮเอนด์เป็นรุ่นสุดท้าย หลังถูกสหรัฐแบนผ่านซัพพลายเออร์อย่าง TSMC กล่าวอย่างอ้อม ๆ คือ Yu ยอมรับว่าชิป Kirin จะหมดในปีนี้
Yu บอกด้วยว่าจากการแบนรอบล่าสุด TSMC แจ้งว่าจะรับออเดอร์ถึงแค่ 15 พฤษภาคมเท่านั้นและจะผลิตให้ถึงแค่ 15 กันยายน ขณะเดียวกันเจ้าตัวก็ยอมรับว่ายอดขายสมาร์ทโฟนปีนี้น่าจะต่ำกว่าปีที่แล้วที่ทำไว้ 240 ล้านเครื่อง แต่ไม่ได้ระบุจำนวน
Zara Larsson นักร้องชาวสวีเดนที่เคยเป็นพรีเซนเตอร์ของหัวเว่ยในประเทศบ้านเกิดของเธอ ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2019 เป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง หลังถูกนักการเมืองท้องถื่น ลงบทความแบบ op-ed ในหนังสือพิมพ์ กล่าวหาว่าเธอเป็นเด็กเดินสารให้กับประเทศจีน ("running China's errands") เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
Huawei Mate 40 และ Mate 40 Pro มือถือตระกูล Mate ของ Huawei ที่เตรียมวางจำหน่ายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มีภาพเรนเดอร์หลุดมาบนทวิตเตอร์@OnLeaks ที่ร่วมมือกับ @HandsetExpert ปล่อยมาให้ชม โดยในภาพรวม Mate 40 มี ขนาดหน้าจอ 6.4 นิ้ว โมดูลกล้องหลังขนาดใหญ่ 3 กล้อง และกล้องหน้าคู่แบบเจาะรูแบบ pill-shape สแกนลายนิ้วมือใต้จอ ส่วนขอบหน้าจอยังเป็นแบบโค้ง เช่นเดียวกับ P40
บริษัทวิจัยตลาด Canalys เปิดเผยว่า Huawei ทำยอดขายมือถือแซง Samsung เป็นครั้งแรก ในไตรมาสที่สองของปี 2020 โดยทำยอดขายได้ 55.8 ล้านเครื่อง แซง Samsung ที่ทำได้ 53.7 ล้านเครื่อง ซึ่งแม้ยอดขายโดยรวมจากทั่วโลกของ Huawei จะลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว แต่ยอดขายของ Samsung กลับลดลงมากกว่า อยู่ที่ 30%
ยอดขายของ Huawei ในประเทศจีน เติบโตขึ้น 8% ทำให้แม้ยอดขายในประเทศอื่นลดลง 27% แต่ก็ทำให้จำนวนยอดขายรวมทั่วโลก ลดลงเพียง 5% เท่านั้น โดยยอดขายที่ทำได้ในไตรมาสที่สอง ของปีนี้ มาจากประเทศจีนถึง 72% และที่อื่นในโลกเพียง 28% เท่านั้น เทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2019 ที่ยอดขายมาจากประเทศจีน 64% และจากประเทศอื่น 36%
รัฐบาลชิลีเตรียมเดินหน้าเคเบิลใต้น้ำเชื่อมอเมริกาใต้เข้ากับเอเชียแปซิฟิก โดยมีสองกลุ่มยื่นข้อเสนอคือกลุ่มหัวเว่ยจากจีนและ NEC จากญี่ปุ่น และตอนนี้รัฐบาลก็เลือกเส้นทางจากญี่ปุ่นแม้หัวเว่ยจะพยายามล็อบบี้รวมถึงการเสนอลงทุนศูนย์ข้อมูลในชิลี
ข้อเสนอของหัวเว่ยนั้นเสนอให้ลากสายเคเบิลจากชิลีตรงเข้าเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 22,800 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ข้อเสนอของ NEC เสนอให้ลากเคเบิลเข้านิวซีแลนด์และต่อไปยังออสเตรเลีย แล้วต่อขึ้นไปยังโตเกียว ระยะทาง 24,000 กิโลเมตร มูลค่า 600 ล้านดอลลาร์
Taiwan Semiconductor Manufacturing หรือ TSMC ยืนยันการหยุดรับออเดอร์ผลิตชิปจาก Huawei ตามคำสั่งแบนการส่งออกเทคโนโลยีชิปของรัฐบาลสหรัฐ
TSMC บอกว่าหยุดรับออเดอร์จาก Huawei มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐออกกฎสั่งแบน และจะส่งสินค้าล็อตสุดท้ายตามออเดอร์ก่อนหน้านี้ ภายในวันที่ 14 กันยายน
การเสียลูกค้ารายใหญ่อย่าง Huawei อาจกระทบต่อรายได้ของ TSMC แต่ธุรกิจของบริษัทในปีนี้ก็ไปได้ดี ประเมินรายได้ช่วงไตรมาส 3 เติบโตถึง 20% จากปัจจัยสินค้าด้าน 5G บูม
ที่มา - Nikkei Asian Review
Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐแถลงว่า ทางกระทรวงมีแผนเตรียมจะแบนการออกวีซ่าให้กับพนักงานชาวจีนบางรายของ Huawei และบริษัทไอทีจีนอื่น ๆ ที่สนับสนุนระบอบที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและข่มเหงประชาชนทั้งในและต่างประเทศ (Pompeo ยกตัวอย่างค่ายกักกัน เพื่อล้างสมองชาวอุยกูร์ ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์)
อย่างไรก็ตาม Pompeo ไม่ได้ระบุว่าพนักงานคนไหน หรือพนักงานแบบไหนที่เข้าข่าย โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศอ้างว่าเป็นความลับในกระบวนการออกวีซ่า ขณะเดียวกันญาติหรือครอบครัวของพนักงานคนดังกล่าวก็จะไม่ได้รับวีซ่าเช่นเดียวกัน