มีรายงานข่าวว่า รัฐบาลอินเดีย โดย DoT (The department of telecom) สั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายในประเทศระงับการใช้หมายเลขโทรศัพท์กว่า 25 ล้านหมายเลข ที่ไม่มีหมายเลข IMEI หรือไม่มีการลงทะเบียนผู้ใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2552 เพื่อป้องกันการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศ จากจำนวนหมายเลขทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 315 ล้านราย
ถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกจะไม่สดใส แต่รัฐบาลอินเดียยังมีความหวังว่า ความต้องการใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่ของอินเดียจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2552 ด้วยบทบาทของโครงข่าย 3G และไวแมกซ์ รวมถึงการเปิดให้บริการ MNP (Mobile Number Portability) ซึ่งเป็นบริการที่ลูกค้ายังคงใช้หมายเลขเดิมได้แม้จะเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการ)
ความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของอินเดียคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 136 ล้านรายในปี 2552 สูงขึ้น 23.9% จากปี 2551 ที่มีจำนวน 110 ล้านราย ซึ่งจะทำให้ตัวเลขความต้องการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศะเพิ่มขึ้นเป็น 319.9 ล้านรายเมื่อถึงสิ้นปี 2551 โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 กว่า 36.9% ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการ 233.6 ล้านราย
การเปิดประมูลใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และบริการไวแมกซ์ ของประเทศค่อนข้างล่าช้าและอาจทำไม่ได้ในปีนี้ คงต้องรอในปีหน้า
สาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากรัฐบาลยังมีความไม่ชัดเจนต่อการกำหนดสเป็คตรัมคลื่นความถี่วิทยุในบางพื้นที่ใช้งานจำนวน 9 พื้นที่จากจำนวนทั้งหมด 22 พื้นที่ของประเทศ เช่น เดลฮี, จามมูและแคชเมียร์, คุชราช, อุตรประเทศตะวันตกและตะวันออก เป็นต้น
ไวแมกซ์ ฟอรัม (WiMAX Forum) คาดการณ์ตลาดไวแมกซ์ในอินเดียว่า รายได้จากบริการและอุปกรณ์รวมกันจะมีมูลค่าราว 13 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2555 และมียอดผู้ใช้บริการไวแมกซ์เพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านราย หรือ 20% ของจำนวนผู้ใช้บริการไวแมกซ์ทั่วโลก
ทางกลุ่มไวแมกซ์คาดหมายว่า การเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ของประเทศยังมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (ที่มีการเติบโตขึ้นราว 9% ต่อปี) หากมีการวางรากฐานการริเริ่มนำไปใช้ในงานต่างๆที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น เช่น การเรียนการสอนทางไกล เทเลเมดิซีน และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)
ยักษ์ใหญ่สีฟ้าไอบีเอ็ม (IBM) เปิดตัวศูนย์การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing Center) พร้อมกันถึง 4 แห่ง คือ เซาเปาโล ประเทศบราซิล, บังกาลอร์ ประเทศอินเดีย, โซล ประเทศเกาหลี, และฮานอย ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ศูนย์ดังกล่าวสามารถให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆให้กับระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน และไอบีเอ็มยังได้จ้างนักวิจัยกว่า 200 ตำแหน่ง พร้อมทั้งประกาศลงทุนด้วยงบถึง 100 ล้านเหรียญสำหรับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ไอบีเอ็มทุ่ม 300 ล้านตั้งศูนย์ข้อมูล 13 แห่ง
บริษัท Bharti Airtel Ltd หนึ่งในเครือ SingTel และบริษัท Vodafone ได้เริ่มวางขายไอโฟน 3G แล้วในวันนี้ ในตลาดที่มีความต้องการมือถือที่สูงที่สุดในโลก "ประเทศอินเดีย"
คล้าย ๆ กับเมืองไทย ชาวอินเดียไม่ค่อยคุ้นเคยกับมือถือพ่วงสัญญา ทำให้ต้องเจอราคาจริง ๆ ของไอโฟน โดยรุ่นความจุ 8GB มีราคาที่ 31,000 รูปีหรือประมาณ 25,000 บาท ส่วนรุ่นความจุ 16GB มีราคาที่ 36,100 รูปี หรือประมาณ 28,000 บาท
แม้ว่าจะไม่มีสัญญาทาสพ่วงมาหนึ่งถึงสองปีเหมือนในประเทศอื่น ๆ แต่ไอโฟน 3G ทุกเครื่องในอินเดีย จะถูกล็อกเครือข่าย
ราคาเอง ยังไม่รวมบริการ 3G ซึ่งยังไม่มีการเปิดให้บริการในประเทศอินเดีย เช่นเดียวกับไทย
หากไอโฟน 3G เปิดตัวเมืองไทยจริงละก็ คงพอเดาราคากันได้แล้วสินะ
แม้จะมีการประกาศเทคโนโลยี WiMAX กันมานาน แต่ดูเหมือนว่าจนวันนี้แล้วความนิยมในเทคโนโลยีเครือข่ายความเร็วสูงแบบใหม่นี้ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก นอกจากที่มีการใช้งานไปก่อนหน้านี้ในประเทศเกาหลี และประเทศอื่นๆ บ้าง แต่หากเป็นการประกาศจาก Tata Communication บริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่จากทางอินเดีย ที่ประกาศร่วมมือกับบริษัท Telisma
แผนการติดตั้งโครงข่ายจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือการใช้บริการตามบ้าน กับการให้บริการระดับองค์กร โดยในปีแรกนั้นจะมีการให้บริการทั้งสองแบบประมาณ 10 เมืองนำร่อง โดยจะเปิดบริการในช่วงแรกและเพิ่มเป็น 110 เมืองสำหรับระดับองค์กร และ 15 เมืองสำหรับบริการตามบ้านในปีนี้
จากข่าว ความเห็นของไมโครซอฟท์ประเทศไทยต่อ OOXML ตอนนี้เริ่มมีรายงานความเห็นของแต่ละประเทศต่อเรื่องนี้ออกมาแล้ว
ผลจากการประชุมของคณะกรรมการ 21 คนแบบมาราธอนกว่า 6 ชั่วโมง (และการล็อบบี้อีกมากมายจากทั้งสองค่าย) อินเดียตัดสินใจเอกฉันท์ว่าจะ "โหวตโน" โดยมีเงื่อนไขว่าอาจพลิกเป็น "เยส" ได้ถ้าไมโครซอฟท์แก้ปัญหาทางเทคนิคของ OOXML กว่า 200 จุดได้
Rakesh Bakshi หัวหน้าฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์ว่า "ตัวเลือกมีแค่สามทาง คือรับ ไม่รับ และไม่ลงคะแนน ซึ่งเราก็เคารพการตัดสินใจของรัฐบาล"
นาย Kiran Karnik ประธานสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการของอินเดีย (National Association of Software and Services Companies - NASSCOM) ได้ออกมาให้ความเห็นว่าอินเดียกำลังจะต้องการการปรับปรุงการศึกษาครั้งใหญ่ เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดจากจีนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
ในการให้ความเห็นนี้นาย Karnik ได้ให้ความเห็นว่าจีนยังคงต้องตามหลังอินเดียไปอย่างน้อยสามถึงห้าปี แต่ด้วยอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เขาเตือนว่าอินเดียไม่สามารถมองข้ามจีนไปได้แม้แต่น้อย
จีนนับเป็นประเทศที่มีประชากรเกินพันล้านคนเพียงประเทศเดียวนอกจากอินเดีย อีกทั้งมีระบบการศึกษาที่สร้างแรงงานออกมาได้เป็นจำนวนมากไม่แพ้อินเดีย แต่อินเดียนั้นได้เปรียบเนื่องจากมีการใช้ภาษาอังกฤษอยู่มากมาก่อนหน้าแล้ว
เราคุ้นกันดีว่าอินเดียโกยเงินมหาศาลไปจากการรับงานเอาต์ซอร์ส แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่าจีนขึ้นมาหายใจรดต้นคอแล้ว
บริษัท IDC ได้จัดทำ Global Delivery Index (GDI) โดยเปรียบเทียบความพร้อมของ 35 เมืองแถบเอเชียแปซิฟิกในทุกด้าน อินเดียยังครองอันดับต้นๆ อยู่เช่นเดิม แต่ IDC พยากรณ์ว่าจีนจะล้มแชมป์ในช่วงปี 2011
10 อันดับแรกมีดังนี้ครับ
รายงานฉบับเต็มยังไม่ออก เลยไม่รู้ว่ากรุงเทพอยู่อันดับที่เท่าไร
ที่มา - IDC
ผมคิดว่าคนอ่าน Blognone น่าจะได้ยินตำนานของบังกะลอร์ เมืองแห่งการ outsource งานไอทีจากสหรัฐ จนกลายเป็นรายได้มหาศาลให้กับอินเดียเป็นอย่างดี (และน่าจะเคยได้ยินนโยบายการเป็นบังกะลอร์ 2 ของรัฐบาลไทยด้วย)
ตอนนี้บรรดาบริษัทรับงาน outsource เริ่มมองหาสถานที่ใหม่ๆ แทนบังกะลอร์ ด้วยสาเหตุทั้งด้านเงิน จำนวนแรงงาน และความแออัดของบังกะลอร์เองแล้ว
สถานที่ซึ่งเอ่ยถึงในบทความได้แก่รัสเซีย, โรมาเนีย, บราซิล, ฟิลิปปินส์, เมืองต้าเหลียงในประเทศจีน (ติดกับเกาหลี รับงานจากเกาหลีญี่ปุ่น) และโฮจิมินห์ซิตี้ในเวียดนาม ซึ่งแต่ละที่ก็มีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกันไป อย่างบราซิลจะได้เปรียบประเทศอื่นเรื่องเวลาที่ตรงกับในสหรัฐ เป็นต้น
อินเดียมีโครงการที่จะจัดทำซีดีรวบรวมฟรีซอฟต์แวร์เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในประเทศ
โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Center for Development of Advanced Computing (C-DAC) และกระทรวงการสื่อการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIT) ในการที่จะรวบรวมฟรีซอฟต์แวร์ต่างๆ ซึ่ีงจะมีทั้ง Open Source ที่สามารถใช้งานได้ทั้งบนวินโดวส์และลินุกซ์ รวมถึง Close Source ที่ใช้งานได้บนวินโดวส์อย่างเดียว
ช่วงนี้ข่าวแล็ปท็อปร้อยเหรียญค่อนข้างคึกคัก
หลังจากประกาศพร้อมผลิตแล้ว ไนจีเรียเป็นประเทศแรกที่สั่งซื้อเครื่องจำนวน 1 ล้านเครื่อง แถมจ่ายตังเรียบร้อยแล้ว ทางโรงงานพร้อมจะผลิตให้ทันทีถ้ามีออเดอร์อยู่ในระดับ 5 ถึง 10 ล้านเครื่อง
ส่วนประเทศที่ตอบปฏิเสธแบบหักหน้า Nicholas Negroponte แห่ง MIT คืออินเดีย โดยรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอินเดียให้ความเห็นว่า "อินเดียไม่ควรเป็นเวทีทดสอบไอเดียใหม่ที่จะใช้กับเด็กๆ" และไม่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องล็อตแรกจำนวน 1 ล้านเครื่องนี้
สำหรับประเทศไทย ดูข่าวอันเก่า
ข่าวใหญ่วันนี้ คือในการเยือนอินเดียของนายกเหวิน เจียเป่า (ไม่แน่ใจภาษาไทยสะกดยังงี้รึเปล่านะครับ) มีการตกลงในหลายๆ เรื่องตามกติ เช่น พรมแดน หรือการค้า แต่จุดสำคัญอยู่ที่บังกาลอร์บอกว่าทั้งสองชาติควรรวมพลังกัน เพื่อสร้าง "ศตวรรษแห่งเอเชีย" ใจความมีสั้นๆ ว่า อินเดียมีซอฟท์แวร์ จีนมีฮาร์ดแวร์ ถ้ารวมกันแล้วโลกไฮเทคจะไปเหลืออะไรล่ะครับ
ประเทศที่อยู่ตรงกลาง (Indochina) ก็เกาะกระแสให้ดีๆ แล้วกัน จาก Wired: China, India: Rule Global Tech?