งานแถลงข่าวเปิดตัวสินค้าใหม่ของแอปเปิล งานแรกของปีนี้ Peek Performance เริ่มต้นด้วยการเปิดตัว iPhone 13 และ iPhone 13 Pro สีใหม่ (ปีที่แล้วก็แบบนี้) ในธีมสีเขียว
โดย iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max จะมีสีใหม่ชื่อว่า Alpine Green ส่วน iPhone 13 และ iPhone 13 mini เป็นสีเขียว (Green)
สีเขียวใหม่นี้จะเป็นตัวเลือกสีที่ 5 ของตระกูล iPhone 13 จากที่มีสีกราไฟต์, ทอง, เงิน และเซียร์ร่าบลู สินค้าเปิดให้สั่งได้ตั้งแต่เวลา 9:00 น. ตามเวลาในประเทศไทยของวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม และวางขายตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม
Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง เผยว่าแอปเปิลได้ลดคำสั่งการผลิต iPhone 13 ลง เนื่องจากมีปัญหาชิปขาดแคลน ที่ผู้ผลิตไม่สามารถส่งมอบได้ในจำนวนที่ต้องการตามแผนการผลิตแรก
ตัวเลข iPhone 13 ที่ลดกำลังการผลิตลงนั้น ระบุว่าอาจสูงสุดถึง 10 ล้านเครื่อง สำหรับการผลิตในปี 2021 โดยเป็นข้อมูลจากผู้ผลิตชิ้นส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับชิป ซึ่งถูกลดคำสั่งซื้อตามด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ Bloomberg ระบุชื่อของ Broadcom และ Texas Instruments ว่าเป็นซัพพลายเออร์ที่ส่งมอบชิปไม่ได้ตามที่แอปเปิลต้องการ
ก่อนหน้านี้แอปเปิลเคยระบุในช่วงแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมา ว่าปัญหาชิปขาดแคลนยังส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า แต่เป็นไลน์สินค้ารุ่นเก่ามากกว่า
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 15.0.1 และ iPadOS 15.0.1 ซึ่งเป็นอัพเดตย่อย ที่ออกมาหลังจาก iOS 15.0 เปิดให้อัพเดตกับผู้ใช้งานทุกคนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ในอัพเดตนี้แอปเปิลระบุว่าได้แก้ไขปัญหาหลายอย่างโดยที่ระบุถึงได้แก่ ปัญหาปลดล็อกหน้าจอด้วย Apple Watch ใน iPhone 13, ปัญหาคำเตือนพื้นที่หน่วยความจำเต็มหลังอัพเดต และปัญหาโหมด Audio meditations ทำงานเองใน Apple Watch ของผู้สมัครใช้ Fitness+
ผู้ใช้ iOS อัพเดตแบบ OTA ได้ โดยไปที่ Settings > General > Software Update
iFixit ได้แกะ iPhone 13 Pro โดยพบประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างที่แตกต่างไปจากใน iPhone 12 ประเด็นแรกคือชิ้นส่วนของ Face ID ที่รวมเป็นโมดูลเดียวกัน ทำให้รอยบากหน้าจอเล็กลง และทำให้ส่วนของ Face ID แยกออกมาจากชิ้นส่วนหน้าจอ ประเด็นนี้ทำให้ iFixit มองว่า Face ID จึงไม่ทำงานหากมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนหน้าจอจากร้านภายนอก ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ เพราะทำให้ชิ้นส่วนไม่เข้าคู่กัน
แบตเตอรี่มีขนาด 3,095mAh เพิ่มขึ้นจาก iPhone 12 Pro ที่ 2,815mAh โดยแบตเตอรี่เป็นรูปตัว L แตกต่างจากปีก่อนที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และแรมมีขนาด 6GB
แอปเปิลเพิ่มข้อมูลในหน้า Support ระบุว่าผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งพบปัญหาการใช้ฟีเจอร์ปลดล็อกหน้าจอด้วย Apple Watch ไม่สามารถใช้งานได้กับ iPhone 13 โดยบอกว่าจะมีการแก้ไขในอัพเดตซอฟต์แวร์ แต่ไม่ได้ระบุว่าเวอร์ชันใด หรือจะออกมาเมื่อใด
ลักษณะปัญหานั้น จะมีข้อความเตือนใน iPhone ว่า ไม่สามารถติดต่อกับ Apple Watch ได้ เมื่อพยายามปลดล็อกขณะที่กำลังใส่มาสก์อยู่
ฟีเจอร์ปลดล็อกหน้าจอด้วย Apple Watch เป็นคุณสมบัติที่แอปเปิลเพิ่มเข้ามา ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปลดล็อก iPhone ได้ แม้สวมใส่มาสก์ที่ปิดใบหน้าบางส่วน ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมต่อกับ Apple Watch ที่ใส่ในการยืนยันตัวตนเพิ่มเติม
หลังจากแอปเปิลเริ่มส่งมอบ iPhone 13 Pro และ Pro Max ซึ่งมีจุดขายคือหน้าจอที่อัตรารีเฟรชสูงสุด 120Hz อย่างไรก็ตามนักพัฒนาพบว่าส่วนของแอนิเมชันในแอปนั้น กลับไม่ได้อัตรารีเฟรชสูงสุดที่ 120Hz แต่ถูกจำกัดไว้ที่ 60Hz เท่าเดิม
แอปเปิลได้ชี้แจงปัญหาดังกล่าวว่า นักพัฒนาจะสามารถใช้ประสิทธิภาพการรีเฟรชจอได้เต็มที่ถึง 120Hz แต่ต้องระบุรายละเอียดไว้ใน plist entry ของแอป ซึ่งแอปเปิลชี้แจงรายละเอียดกับนักพัฒนาในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อควบคุมการใช้แบตเตอรี่ของ iPhone นอกจากนี้มีปัญหาการแสดงผลแอนิเมชันที่สร้างด้วย Core Animation แอปเปิลบอกว่าจะแก้ไขในอัพเดตซอฟต์แวร์ถัดไป
แอปเปิลเริ่มส่งมอบ iPhone 13 ให้กับลูกค้าในกลุ่มประเทศแรกที่จองแล้ววันนี้ ซึ่งทันทีก็มีรายงานปัญหาการใช้งานออกมา และแอปเปิลก็ออกแนวทางแก้ไขเบื้องต้นทันที สำหรับการใช้ Apple Music
โดยปัญหานั้น พบในผู้ใช้งาน iPhone 13 และ iPad รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ใช้วิธีกู้คืนข้อมูลจาก backup ในการตั้งค่าเครื่องใหม่ อาจไม่สามารถเข้าถึงแคตตาล็อก Apple Music, Settings ของ Apple Music หรือ Sync Library ได้
สำหรับวิธีการแก้ไขนั้น แอปเปิลระบุว่าให้อัพเดต iOS 15 ก่อนแบบ OTA โดยไปที่ Settings > General > Software Update โดยในรายละเอียดระบุว่าเป็นอัพเดตย่อยที่แก้ไขปัญหาความปลอดภัยและแก้ไขบั๊ก
แอปเปิลเริ่มเชิญบล็อกเกอร์และยูทูบเบอร์มารีวิว iPhone 13 Pro แล้ว โดยรีวิวจากหลายรายได้พูดถึงปัญหาหนึ่งเหมือนกัน คือระบบกล้องโหมดมาโครของ iPhone 13 Pro ที่เปลี่ยนเป็นโหมดนี้อัตโนมัติ เมื่อเลนส์เข้าใกล้วัตถุ และปรับคืนเมื่อเลนส์ขยับออก ซึ่งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปคุณสมบัติน่าจะดี แต่จะดีกว่าหากผู้ใช้เลือกควบคุมได้เองด้วย (ดูลักษณะปัญหาได้จากคลิปด้านล่าง)
แอปเปิลบอกว่ารับทราบปัญหานี้แล้ว โดยจะออกซอฟต์แวร์แก้ไขในภายหลัง ให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้กล้องเข้าโหมดมาโครอัตโนมัติ หรือต้องกำหนดเอง ทั้งนี้ส่วนการตั้งค่า Lock Camera นั้น มีผลสำหรับการถ่ายโหมดมาโครแบบวิดีโอเท่านั้น ยังไม่มีผลกับการถ่ายภาพนิ่ง
เมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลเปิดตัว iPhone 12 พร้อมกับแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเลิกให้ที่ชาร์จกับหูฟัง เพื่อลดปริมาณขยะ ทำให้กล่องบางลง ขนส่งต่อหน่วยได้มากขึ้น ลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ที่ต่อมาผู้ผลิตหลายรายก็ทำตาม มาปีนี้ iPhone 13 ก็ได้ประกาศแนวทางอนุรักษ์เพิ่มเติมอีก
ในคีย์โน้ตของ iPhone 13 Pro นั้น ช่วงท้ายแอปเปิลได้พูดถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยมีประเด็นสำคัญคือ การระบุว่าจะเลิกใช้พลาสติกห่อแพ็คเกจกล่อง iPhone 13 ช่วยลดปริมาณพลาสติกได้มากถึง 600 ตัน
แอปเปิลปกติจะไม่พูดถึงขนาดของแรมในอุปกรณ์ที่วางขาย อย่างไรก็ตามข้อมูลใน Xcode 13 beta ล่าสุด ได้ระบุขนาดของแรมในอุปกรณ์ที่เพิ่งเปิดตัวไว้ดังนี้
โดย iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max มีแรม 6GB เท่ากับปีก่อนในรุ่น iPhone 12 Pro เช่นเดียวกับ iPhone 13 mini และ iPhone 13 ที่มีแรมเท่าเดิมคือ 4GB
ส่วน iPad mini ที่เปิดตัวไปนั้น ใช้ชิป A15 Bionic แบบเดียวกับ iPhone 13 ได้เพิ่มแรมมาเป็น 4GB โดยรุ่นก่อนหน้านี้มี 3GB ส่วน iPad รุ่นที่ 9 มีแรม 3GB เท่ากับรุ่นที่ 8
มีคุณสมบัติใหม่หนึ่งของ iPhone 13 และ iPhone 13 Pro ที่แอปเปิลไม่ได้ประกาศในงานอีเวนต์ คือการรองรับ eSIM คู่ จากเดิมที่ iPhone รองรับ eSIM เพียงซิมเดียว โดยเป็นการใช้งานคู่กับ Nano-SIM ซึ่งแอปเปิลได้ระบุคุณสมบัตินี้ไว้ในหน้าข้อมูลทางเทคนิค โดยสามารถเลือกได้ทั้งการใช้ซิมคู่แบบเดิม หรือแบบเป็น eSIM ทั้งคู่
iPhone เริ่มรองรับ eSIM ตั้งแต่ iPhone XR และ iPhone Xs
ที่มา: 9to5Mac
หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญของ iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max ที่เปิดตัวเมื่อคืนนี้ คือหน้าจอที่รองรับรีเฟรชเรตสูงสุด 120Hz ซึ่งคงไม่ใช่ของใหม่อะไรสำหรับคนใช้สมาร์ทโฟนเรือธงค่ายอื่น และซัมซุงก็คงแค่อยากบอกเอาไว้ให้รู้กัน
โดยบัญชีทวิตเตอร์ Samsung Mobile US ได้ทวีตข้อความหลังแอปเปิลเปิดตัว iPhone 13 Pro ว่า "เรามีหน้าจอที่รีเฟรชเรต 120Hz มาสักพักหนึ่งแล้ว"
สมาร์ทโฟนของซัมซุงรุ่นแรกที่รองรับหน้าจอรีเฟรชเรต 120Hz คือ Galaxy S20 ที่เปิดตัวต้นปี 2020 ฉะนั้นซัมซุงมีหน้าจอแบบนี้ขายมาสักพักหนึ่งแล้วจริง ๆ
เก็บตกรายละเอียดของชิป A15 Bionic ตัวใหม่ที่ใช้ใน iPhone 13, iPhone 13 Pro และ iPad Mini ที่เปิดตัวเมื่อคืนนี้
โครงสร้างหลักของชิปยังเหมือนเดิมกับของ A14 Bionic รุ่นที่แล้วคือ ซีพียู 6 คอร์ (4+2), จีพียู 4 คอร์, Neural Engine 16 คอร์ และยังใช้กระบวนการผลิต 5nm TSMC เหมือนเดิม จุดต่างเดียวคือกรณีที่เป็น iPhone 13 Pro จะได้จีพียู 5 คอร์ที่ถือเป็นรุ่นท็อปของ A15
หลังจากแอปเปิลเปิดตัวสินค้าตระกูล iPhone 13 ในคราวนี้แอปเปิลก็ประกาศรายละเอียดราคาขายไทยออกมาพร้อมกันเลย เป็นดังนี้
ถึงคราวแอปเปิลเปิดตัว iPhone 13 รุ่นไฮเอนด์ คือ iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max มาพร้อมขนาดกล้องหลังสามตัวที่ขยายขึ้น ชิป A15 Bionic และสีใหม่ Sierra Blue
กล้องหลังสามตัวอันเป็นเอกลักษณ์คือ กล้อง Tele เลนส์ระยะ 77mm, กล้อง Ultra-wide ใช้ f/ 1.8, กล้อง wide ใช้ f/ 1.5 ทั้งสองรุ่นมีขนาด 6.1 นิ้ว และ 6.7 นิ้ว ตามลำดับ รองรับการรีเฟรชหน้าจอ 10Hz – 120Hz ปรับรีเฟรชเรตตามการใช้งานของเรา เช่นรีเฟรชจะช้าลงหากเลื่อนอ่านข้อความ
iPhone 13 Pro และ iPhone 13 Pro Max มาพร้อม Super Retina XDR พร้อม ProMotion ซึ่งมีอัตราการรีเฟรชเป็นสองเท่าของ iPhone รุ่นก่อน