หลัง Surface Duo สมาร์ทโฟนฝาพับรันแอนดรอยด์ตัวแรกของไมโครซอฟท์เริ่มวางขายออกมาเมื่อวาน ไมโครซอฟท์ก็ได้ปล่อยซอสโค้ดเคอร์เนลของ Surface Duo ตามออกมาทันทีบน GitHub
ในแง่เสียงตอบรับของ Surface Duo ถือว่าไม่น่าแปลกใจกับการเป็นอุปกรณ์รุ่นแรก ที่หลาย ๆ อย่างยังไม่พร้อมหรือยังไม่สมบูรณ์ คงต้องรอ Surface Duo อีกอย่างน้อย 1-2 รุ่น เพื่อให้ไมโครซอฟท์ปรับจูนหลาย ๆ อย่างรวมถึงรอนักพัฒนาแอนดรอยด์ทำแอปให้รองรับมากขึ้น สมาร์ทโฟน (หรือแท็บเล็ต?) จอพับรุ่นนี้น่าสมบูรณ์พร้อมมากขึ้น
Linus Torvalds เห็นชอบให้โค้ดและเอกสารของเคอร์เนลลินุกซ์ เลิกใช้คำที่อ่อนไหวอย่าง master/slave และ blacklist/whitelist
ข้อเสนอนี้มาจาก Dan Williams หนึ่งในผู้ดูแลเคอร์เนลลินุกซ์ โดยเสนอให้เลิกใช้คำเดิม ส่วนจะแทนด้วยคำใหม่ว่าอะไรนั้นไม่ได้กำหนดตายตัว ขึ้นกับบริบทของการใช้งานและการตัดสินใจของนักพัฒนาแต่ละคน
Andrea Righi พนักงานของ Canonical และทีมงานพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ของ Ubuntu เสนอแพตช์เข้าเคอร์เนลลินุกซ์ ช่วยให้ระยะเวลาการ hibernate/resume ของลินุกซ์เร็วกว่าเดิมมาก
หลักการทำงานของ hibernate คือนำข้อมูลจากในแรมเก็บลงดิสก์ และเรียกกลับคืนแรมตอน resume ซึ่งเคอร์เนลสั่งอาจคืนบางส่วนของแรมออกก่อนเพื่อประหยัดพื้นที่ดิสก์ โดยสร้างข้อมูลเหล่านี้ใหม่หลัง resume
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เว็บไซต์ AndroidRookies รายงานว่า วิศวกรคนหนึ่งของ Huawei ได้ส่งแพตช์ความปลอดภัย ชื่อ HKSP (Huawei Kernel Self Protection) เข้าไปเคอร์เนลลินุกซ์ โดยแพตช์นี้จะแนะนำตัวเลือกชุดเครื่องมือเสริมความปลอดภัยให้แก่เคอร์เนลของลินุกซ์
ซึ่งต่อมา ทาง Grsecurity ได้ตรวจพบช่องโหว่ในแพตช์ HKSP และได้เผยแพร่รายละเอียดออกมาบนบล็อกของตัวเอง ซึ่งแพตช์ HKSP ก่อให้เกิดช่องโหว่ buffer overflow ที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิ์ปกติอาจจะรันโค้ดในเคอร์เนลได้ โดยทาง Grsecurity ระบุว่าช่องโหว่นี้เจาะได้ง่ายมาก
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 5.6 ตามรอบปกติ ของใหม่ที่สำคัญคือ WireGuard ซอฟต์แวร์ VPN ที่ถูกผนวกเข้ามายังเคอร์เนลลินุกซ์
สิ่งที่น่าสนใจคือในอีเมลของ Linus พูดถึงสถานการณ์ "social distancing" ที่ทั้งโลกกำลังเผชิญอยู่ว่าไม่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเคอร์เนล เพราะนักพัฒนาเคอร์เนลส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้านอยู่แล้ว กรณีของตัวเขาเองยังโดนลูกสาวแซวด้วยซ้ำว่าเป็น "แชมป์ social distancing" (social distancing champ) และเขาก็คาดว่าเคอร์เนล 5.7 จะพัฒนาเสร็จตามปกติ
ที่มา - LKML, The Register
เคอร์เนลลินุกซ์ออกเวอร์ชัน 5.0 แล้ว การขยับเลขเวอร์ชันครั้งนี้ไม่ได้มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ เพราะเคอร์เนลใช้วิธีการออกรุ่นตามระยะเวลา แทนการอิงกับฟีเจอร์ใหญ่ๆ มานานแล้ว
คราวนี้ไลนัส ให้เหตุผลยาวขึ้นอีกนิดว่าเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลสาย 4.x (รุ่นล่าสุดขณะที่เขียนข่าวคือ 4.20) ชักเยอะจนเขาหมดนิ้วจะนับแล้วทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า (the 4.x numbers started getting big enough that I ran out of fingers and toes) เลยตัดสินใจขึ้นเวอร์ชันใหม่เป็น 5.0 แทน และกระบวนการพัฒนาเคอร์เนล 5.1 ก็เริ่มต้นตามปกติ
เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.0 ออกเมื่อปี 2015 โดยขยับเลขขึ้นมาจากเคอร์เนล 3.19 ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กัน
ประวัติศาสตร์ของวงการลินุกซ์คงต้องจารึกไว้ว่า เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.19 มีตำนานโลดโผนไม่น้อย เริ่มตั้งแต่ Linus Torvalds ลืมวันประชุม ส่งผลให้ทีมงานผู้ดูแลเคอร์เนลต้องเปลี่ยนสถานที่ประชุมตามเขาไปด้วย ไปจนถึง Linus ขอพักเบรกสักระยะหนึ่งเพื่อทบทวนตัวเอง ปรับปรุงพฤติกรรมให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
วันนี้เคอร์เนล 4.19 รุ่นจริงออกเรียบร้อย โดยมี Greg Kroah-Hartman มาเป็นหัวหน้าทีมดูแลการออกเคอร์เนลแทนชั่วคราว
ด้วยความที่แอนดรอยด์รันอยู่บนเคอร์เนลลินุกซ์ ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่นำแอนดรอยด์ไปใช้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง GNU General Public License v2 (GPLv2) ที่ข้อหนึ่งระบุให้ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ต้องเปิดเผยซอสโค้ดที่แบรนด์นั้นๆ นำไปปรับปรุง เพื่อรักษาความเสรีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้
อย่างไรก็ตามทาง XDA ระบุว่า HMD Global ที่ได้รับสิทธิ์วางขายสมาร์ทโฟนแบรนด์ Nokia ยังไม่มีการเปิดเผยซอสโค้ดใดๆ ออกมาเลย โดย CTO ของ HMD Global เคยพูดถึงเรื่องนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายนว่ากำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ก็เงียบหายมาจนปัจจุบัน
ปกติแล้ว เคอร์เนลลินุกซ์รุ่นใหม่จะออกทุก 70 วันหรือประมาณ 2 เดือน โดยมีเคอร์เนลบางรุ่นที่เป็น Long Term Support (LTS) ที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 2 ปี
ตัวเลขนี้อาจไม่มีปัญหาในโลกของพีซี แต่โลกของอุปกรณ์พกพาที่การอัพเกรดทำได้ยากกว่า ระยะเวลา 2 ปีอาจน้อยเกินไป กรณีตัวอย่างคือ Android ที่นำเคอร์เนลต้นฉบับ (รุ่น LTS) มาดัดแปลงเป็นเคอร์เนลเวอร์ชันของตัวเอง (Android Common) แล้วค่อยส่งต่อให้ผู้ผลิตชิป SoC (เช่น Qualcomm, MediaTek) เพื่อส่งต่อไปยังผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต่อไป
กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานานพอสมควร อาจนานถึง 1 ปีกว่าเราจะได้เห็น Android รุ่นใหม่ปล่อยอัพเกรดไปยังสมาร์ทโฟน นั่นแปลว่าระยะเวลาซัพพอร์ตของเคอร์เนลรุ่นนั้นอาจเหลือไม่ถึงปีด้วยซ้ำ เมื่อนับจากวันที่เคอร์เนลออก
ไลนัสประกาศเคอร์เนลลินุกซ์ 4.13 รุ่นตัวจริงหลังจากออก release candidate มาแล้ว 7 รุ่น โดยความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือการเปลี่ยนค่าเริ่มต้นของระบบไฟล์ CIFS ให้รองรับเฉพาะ SMB 3.0 โดยยังรองรับรุ่นเก่ากว่าทั้งหมด แต่ผู้ใช้ต้องระบุในคอนฟิกด้วยตัวเอง
CIFS เดิมรองรับ SMB 1.0 เป็นค่าเริ่มต้น แต่ในเคอร์เนล 4.13 จะต้องระบุเวอร์ชั่น "vers=2.1" สำหรับการรองรับ SMB 2.1 และ "vers=1.0" เพื่อรองรับ SMB 1.0 โดยตัวไลนัสเองก็ย้ำว่าไม่ควรใช้ SMB 1.0 อีกแล้ว และสำหรับคนที่ไม่ได้อัพเกรดเคอร์เนลมาใช้รุ่นล่าสุดก็ควรปรับออปชั่นเพื่อเลิกใช้ SMB 1.0 อยู่ดี
ปัญหาอย่างหนึ่งของแอนดรอยด์ คือการใช้เคอร์เนลลินุกซ์ที่เก่ามาก (แอนดรอยด์ใช้ 3.18 ที่ออกในปี 2014 ส่วนเคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดคือ 4.11)
Dave Burke หัวหน้าทีมวิศวกรรมแอนดรอยด์ ตอบคำถามเรื่องนี้ในบทสัมภาษณ์กับ Ars Technica ว่าเคอร์เนล 3.18 เป็นเคอร์เนลที่ซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ซึ่งมันหมดอายุซัพพอร์ตแล้วในเดือนมกราคม 2017
ปัญหาของเรื่องนี้เกิดจากแผนการซัพพอร์ต LTS ของลินุกซ์กับแอนดรอยด์มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ลินุกซ์มีระยะซัพพอร์ต 2 ปี ส่วนแอนดรอยด์มีระยะซัพพอร์ตความปลอดภัย 3 ปี ทางแก้คือทีมแอนดรอยด์กำลังเจรจากับทีมลินุกซ์ให้ระยะการซัพพอร์ตยาวนานขึ้น
โครงการ Bufferbloat เป็นโครงการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ของเราเตอร์หลายรุ่น ที่ทำงานช้าเพราะบัฟเฟอร์ข้อมูลมากเกินไป ทีมงาน Bufferbloat ยังขยายมาทำโครงการ Make-Wi-Fi-Fast เพื่อปรับปรุงความเร็วการส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi ให้ดีขึ้น
โครงการ Make-Wi-Fi-Fast เน้นการใช้งานกับเราเตอร์เป็นหลัก แต่เมื่อเราเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โครงการจะต้องยุ่งเกี่ยวกับเคอร์เนลของลินุกซ์ โดยปรับแต่งให้ Wi-Fi stack และไดรเวอร์ของลินุกซ์ทำงานได้ดีขึ้น
Project Zero ของกูเกิลตรวจสอบช่องโหว่ความปลอดภัยของโครงการหลากหลาย โดยมีนโยบายว่าจะติดต่อกับเจ้าของโครงการเป็นการลับและให้เวลา 90 วันก่อนเปิดข้อมูลสู่สาธารณะ และผู้ได้รับแจ้งมักขอเวลาปิดเป็นความลับจนกว่าแพตช์เสร็จสิ้น
แต่ช่องโหว่ล่าสุดที่ Project Zero แจ้งไปยังทีมงานเคอร์เนลลินุกซ์ ทีมงานผู้ดูแลโมดูลเครือข่ายกลับแจ้งมายัง Project Zero ว่า "ขอให้โพสต์เป็นสาธารณะได้เลย" ทีมงานจะรีบแก้ไขต่อไป
ช่องโหว่อยู่ในโมดูล netfilter เมื่อเรียกใช้ออปชั่น IPT_SO_SET_REPLACE จากฟังก์ชั่น setsockopt จะทำให้แอปพลิเคชั่นที่ไม่มีสิทธิ์แก้ไขข้อมูลในเคอร์เนล สามารถแก้ไขข้อมูลในฮีป (heap) นอกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลการโจมตีในทางปฎิบัติว่าช่องโหว่นี้เอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
Linus Torvalds ออกมาตอบโต้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยหลายคน ที่บอกว่าเขาและทีมพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ "ไม่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยเท่าที่ควร" โดยไม่สนใจแก้ปัญหาหรือบั๊กด้านความปลอดภัยที่มีคนแจ้งเข้ามามากนัก
Torvalds ตอบว่าหลักการพื้นฐานคือไม่มีระบบใดปลอดภัย 100% และความปลอดภัยเป็นเพียงแค่แง่มุมหนึ่งในการพัฒนา ที่ต้องแบ่งให้น้ำหนักกับมิติอื่นๆ อย่างประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น ความง่ายในการใช้งานด้วย เขายังวิจารณ์คนที่บอกว่า "ความปลอดภัยสำคัญที่สุด" ว่าบ้าไปแล้ว (completely crazy) โลกไม่ได้มีแค่ขาวกับดำสักหน่อย
Sarah Sharp นักพัฒนาเคอร์เนลหญิงผู้ดูแลไดรเวอร์ USB 3.0 ประกาศหยุดการทำงานในโครงการลินุกซ์ โดยเริ่มโอนโครงการ USB 3.0 ให้คนอื่นตั้งแต่กลางปี 2014 และเธอจะหมดวาระจาก Linux Foundation Technical Advisory Board เร็วๆ นี้โดยเธอประกาศไม่ลงเลือกตั้งสมัยหน้า
เธอวางแผนประกาศนี้มานาน (บล็อกของเธอเป็นดราฟต์มาแล้วหนึ่งปี) แม้ว่าเธอจะระบุว่าเธอรู้สึกผิด แต่เธอไม่สามารถทำงานกับชุมชนที่ไม่เคารพตัวบุคคล แม้ว่าลินุกซ์จะเชิญชวนให้นักพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่กลับอนุญาตให้นักพัฒนาหน้าใหม่สามารถถูกด่าทอด้วยคำรุนแรง
Linus Torvalds ประกาศออก Linux 4.0 ตามที่เคยสัญญาไว้
เคอร์เนลเวอร์ชัน 4.0 ไม่มีอะไรใหม่เป็นพิเศษ เพราะเป็นการขยับเลขเวอร์ชันต่อจากเคอร์เนล 3.19 เท่านั้น และจากนี้ไปทางโครงการก็เดินหน้าพัฒนาเคอร์เนล 4.1 ต่อตามปกติ
แต่ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นแค่เลขเวอร์ชัน การเดินทางมาถึงเวอร์ชัน 4.0 ก็ถือเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งของประวัติศาสตร์ลินุกซ์อยู่ดีครับ
ที่มา - linux-kernel, Phoronix
Linus Torvalds ประกาศในเมลกลุ่ม linux-kernel ว่าเราน่าจะได้เห็นเคอร์เนลลินุกซ์ 4.0 กันในสัปดาห์หน้า หลังทางโครงการออกเคอร์เนล 4.0-rc7 เรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม Torvalds ระบุว่าเขาต้องเดินทางในสัปดาห์ถัดไป และถ้าเขาคิดว่าตัวเองไม่พร้อม ก็จะเลื่อนการออกเคอร์เนลไปอีก 1 สัปดาห์ ซึ่งเขาจะประกาศการตัดสินใจอีกทีหนึ่ง
เคอร์เนล 4.0 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากจากเคอร์เนลสาย 3.x ตามที่ Torvalds เคยประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ว่าจะเป็นการปรับเลขเวอร์ชันเท่านั้น เคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ 3.19 ซึ่งจะเป็นตัวสุดท้ายของสาย 3.x ครับ
เคอร์เนลลินุกซ์เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 3.17 ของใหม่ได้แก่
ที่มา - OMG Ubuntu, Phoronix
Marcus Meissner ได้ค้นพบบั๊กที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถทำการ DoS และขโมยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบในระบบปฏิบัติการบนพื้นฐานของลินุกซ์เคอร์เนลได้ โดยเชื่อกันว่านี่นับเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ที่อยู่ในระดับอันตรายนับตั้งแต่ช่องโหว่ perf_events
(CVE-2013-2049) เป็นต้นมา
ที่งาน CES ปีนี้ Hermann Eul รองประธานฝ่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่และการสื่อสารของอินเทลออกมาระบุว่าการพอร์ตเคอร์เนลของแอนดรอยด์เพื่อให้ทำงานกับซีพียู 64 บิตได้ทำจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ไม่มีความชัดเจนว่าการพอร์ตของอินเทลนั้นทำอะไรไปบ้าง และการรองรับสถาปัตยกรรม 64 บิตนั้นจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะแม้ว่าแอนดรอยด์จะมีพื้นฐานมาจากลินุกซ์ที่รองรับ 64 บิตมานานแล้ว แต่ก็มีแพตซ์แก้ไขไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงระบบที่รวมเลเยอร์ต่างๆ ตั้งแต่ไลบรารีพื้นฐานไปจนถึงระบบหน้าจอที่หลายส่วนมีโค้ดแบบเนทีฟ
Linus Torvalds เริ่มหารือกับชุมชนผู้พัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ในการปรับเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลจาก 3.x เป็น 4.0
เคอร์เนล 4.0 ยังใช้ระบบการนับเลขแบบเดียวกับเคอร์เนล 3.0 ทำให้เคอร์เนล 4.0 จะไม่แตกต่างกับเคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดคือ 3.12 มากนัก คาดว่าตัวเลขเวอร์ชันของเคอร์เนลสาย 3.x จะขึ้นไปถึง 3.19 แล้วปรับขึ้นเป็น 4.0 ในอีกประมาณหนึ่งปีข้างหน้า
ตอนนี้ไอเดียเรื่องการปรับเลขเวอร์ชันยังเป็นแค่การหารือเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นการตัดสินใจขั้นสุดท้ายครับ
Linus Torvalds บิดาแห่งระบบปฎิบัติการลีนุกซ์และผู้ดูแลโค้ดเคอร์เนลของลีนุกซ์ได้ออกมาประกาศว่า SSD ของเครื่องที่เขาใช้งานอยู่มีปัญหาถึงขั้นทำให้ระบบไม่สามารถบูทได้ ซึ่งเวลาเกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงรวมโค้ด (merge window) ของเคอร์เนลเวอร์ชั่น 3.12 อยู่พอดี
จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีแพทช์บางอันไม่ถูกรวมเข้าไปใน repository หลักของเคอร์เนล อย่างไรก็ดีเวลาที่เกิดเหตุอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของช่วงการรวมโค้ดทำให้มีแพทช์จำนวนไม่มากนักที่ยังไม่ถูกรวมเข้าไป
เพียง 10 สัปดาห์หลังจากออกลินุกซ์ 3.8 โครงการลินุกซ์ก็ประกาศเคอร์เนลรุ่น 3.9 แล้ว โดยมีฟีเจอร์สำคัญได้แก่
สืบเนื่องจากข่าว เคอร์เนล 3.4 จะได้รับการดูแลนาน 2 ปี ล่าสุดทาง Linux Foundation ในฐานะองค์กรกลางที่ดูแลลินุกซ์ ออกมาประกาศโครงการ Long Term Support Initiative (LTSI) หรือการสร้าง "ลินุกซ์กลาง" ที่มีอายุสนับสนุนนานเป็นพิเศษ (2 ปีเท่ากับ Ubuntu LTS) แล้ว
เคอร์เนลอายุยาว 2 ปีช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ทำงานง่ายขึ้นในการทดสอบระบบ เพราะเวอร์ชันของซอฟต์แวร์จะนิ่งมาก โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น Qualcomm, Panasonic, NEC, LG, Samsung, Sony, Toshiba
โครงการในส่วนของเคอร์เนลลินุกซ์ประกาศไว้ตั้งแต่ตอนออกรุ่น 3.6 ว่าจะรองรับ ARMv8 โดยใช้ชื่อในเคอร์เนลว่า AArch64 ตอนนี้รุ่น 3.7 ออกมาแล้วก็สามารถทำได้อย่างที่ประกาศไว้จริง
นอกจากการรองรับ ARMv8 แล้วในส่วนของ ARMv7 ก็เพิ่มการซัพพอร์ตแพลตฟอร์มต่างๆ ให้หลากหลายขึ้น โดยก่อนหน้านี้แม้เคอร์เนลจะรองรับชิป ARM แต่เมื่อจะติดตั้งลงชิป SoC ใดๆ ผู้ผลิตจะต้องแก้ไขค่าต่างๆ เพื่อให้เข้ากับแพลตฟอร์มต่างๆ ด้วยตัวเอง แต่นับจากนี้การซัพพอร์ตส่วนนี้จะทำภายใต้โครงการเคอร์เนล ทำให้เป็นไปได้ที่เราจะดาวน์โหลดดิสโทรต่างๆ มาติดตั้งกันเองได้
ในส่วนฟีเจอร์ทั่วไป หลักๆ มีดังนี้