ที่สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Columbus Dispatch รายงานข่าวโดยอ้างจากรายงานข่าวของทางสำนักข่าว Bloomberg อีกทีหนึ่งว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันการแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่จะทำให้ระบบประมวลผลข้อมูล Watson ของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA: Food and Drug Administration) ซึ่งทาง IBM พยายามผลักดันมานานกว่า 2 ปีแล้ว
Cellscope บริษัทที่ทำอุปกรณ์ด้านการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวที่ตรวจหู (otoscope) อัจฉริยะ โดยประกอบร่างรวมเข้ากับเคสสำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ พร้อมแอพสำหรับใช้คู่กับที่ตรวจหูเป็นการเฉพาะ
หลักการของที่ตรวจหูตัวนี้ ทำงานเหมือนที่ตรวจหูทั่วไป โดยใช้เลนส์ชุดพิเศษในการเชื่อมเข้ากับกล้อง เพื่อส่องเข้าไปในรูหูของคนไข้ แต่ที่พิเศษกว่าตรงที่มีแอพทำงานคู่ด้วย ซึ่งหากใช้กับที่บ้าน ตัวแอพดังกล่าวก็จะสามารถส่งข้อมูลไปให้แพทย์ที่มีข้อตกลงกับบริษัท ช่วยวินิจฉัยอาการได้ด้วย โดยตั้งเป้าว่าจะวินิจฉัยอาการภายใน 2 ชั่วโมง เมื่อได้รับภาพจากที่ตรวจหูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กูเกิลเผยกับเว็บไซต์ Engadget ว่า กำลังทดสอบบริการให้ผู้ค้นหาอาการของโรคสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลล์ได้โดยตรง
ในหน้าผลลัพธ์การค้นหา (ดูตัวอย่างที่ท้ายข่าว) ระบุว่ากูเกิลออกค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับแพทย์ในช่วงทดสอบการให้บริการ เข้าใจว่าการทดสอบนี้เฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้นครับ
ที่มา: jasonahoule บน Reddit ผ่าน Engadget
นับวันกูเกิลเริ่มที่จะสอดผสานเอาเทคโนโลยีที่มีในมือเข้ากับเรื่องต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีรายงานมาว่ากูเกิลเริ่มเก็บข้อมูลทางการแพทย์จากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครกว่า 175 คน และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยใช้ชื่อโครงการว่า Project Baseline ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้หน่วยงาน "กูเกิลเอ็กซ์ (Google X)" ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านอื่นนอกเหนือจากเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวกระโดดในระยะหลัง ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกในการพัฒนาวิทยาการด้านอื่นๆ ซึ่งก็รวมถึงด้านการแพทย์ด้วย ดังเช่นผลงานการค้นคว้าของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการนำการพิมพ์ 3 มิติมาช่วยในการสร้างอวัยวะเทียมให้แก่มนุษย์ และล่าสุดก็สามารถหาทางสร้างหลอดเลือดเทียมด้วยการพิมพ์เป็นผลสำเร็จ
Apple กำลังวางแผนรุกเข้าไปทำตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะ ในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้น บริษัทกำลังทำงานร่วมกับ Tomlinson Holman วิศวกรเสียง (audio engineer) เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถทำนายอาการหัวใจวายได้โดยการฟัง "เสียง" ของเลือดขณะไหลอยู่ในเส้นเลือดแดง
Holman มีผลงานเทคโนโลยีด้านเสียงที่เป็นที่รู้จักอย่างระบบ THX ของ Lucasfilm และระบบเสียง 10.2 เป็นรายแรกของโลก
Bloomberg รายงานว่าเมื่อไม่นานที่ผ่านมาทีมวิจัย Google X ของ Google ได้ส่งตัวแทนเข้าพูดคุยกับฝ่ายงานอุปกรณ์ด้านการแพทย์ของ FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา) โดยคาดว่าการเข้าพูดคุยในครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่จาก Google X นั่นเอง
มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของ FDA ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับอุปกรณ์ใหม่ของ Google ที่ทำงานสัมพันธ์กับดวงตาและหัวใจ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวพันกันกับผลงานของ Brian Otis หนึ่งในสมาชิกทีม Google X ผู้ถือสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์คอนแทคเลนส์ที่ทำงานเป็นเซ็นเซอร์จับสัญญาณชีพโดยสื่อสารแบบไร้สาย
คาดว่าแทบทุกคนล้วนเคยมีการบ้านเก็บคะแนนโดยการเขียนเรียงความ หรือทำรายงาน หากแต่คงไม่บ่อยนักที่จะเห็นการให้คะแนนผู้เรียนจากผลงานการแก้ไขบทความบน Wikipedia โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี หากแต่คณะแพทยศาสตร์แห่ง University of California เลือกที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์สามารถทำผลงานเอาคะแนนได้โดยวิธีดังกล่าว
ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับการเรียบเรียง, แก้ไข และเผยแพร่บทความผ่านทาง Wikipedia ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 โดยหลักสูตรมีระยะเวลาราว 1 เดือน และแน่นอนว่าเกณฑ์การวัดผลนั้นย่อมต้องพิจารณาจากผลงานการแก้ไขและเผยแพร่บทความวิชาการบนเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์นี้เอง โดยบทความดังกล่าวจะต้องเป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์นั่นเอง
ในยุคที่ทุกหน้าจอกำลังแข่งกันเรื่องความละเอียด ตัวแปรที่ถูกพูดถึงบ่อยๆ ก็คือความหนาแน่นพิกเซล ซึ่งบนมือถือรุ่นท็อปจะอยู่ที่ราวๆ 300-400 PPI แต่วันนี้โซนี่เพิ่งเปิดตัวอุปกรณ์ตัวใหม่ที่ใช้หน้าจอความหนาแน่นพิกเซลสูงถึง 2098 PPI เลยทีเดียว
สำหรับคนที่โดนดักเข้ามาอ่านข่าวนี้แล้ว และคิดว่าต้องไม่ใช่จอมือถือแน่ๆ ละก็ คงต้องเฉลยตรงนี้ว่าคุณคิดถูกแล้วครับ และเจ้าหน้าจอ 0.7" ความละเอียด 1280x720 พิกเซลที่ว่านี้ ถูกออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ และทางทหาร โดยอุปกรณ์ที่ใช้หน้าจอนี้เป็นจอแสดงผลสำหรับการผ่าตัดแบบส่องท่อนั่นเอง (ดูหน้าตาได้จากที่มา)
การเล่นเกมถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ไม่ใช่เล่นๆ อีกแล้ว คราวนี้เป็นวงการแพทย์เสียด้วย ที่นำเครื่อง Wii ไปใช้ฝึกศัลยแพทย์มือใหม่ในการพัฒนาฝีมือก่อนลงสนามจริง
การทดลองครั้งนี้ทำขึ้นโดยดร. Gregoria Patrizi แห่งมหาวิทยาลัยโรมลาซาปีเอนซา ที่บังคับให้ศัลยแพทย์จำนวน 21 รายเล่นเจ้าเครื่อง Wii วันละหนึ่งชั่วโมงเป็นเวลาห้าวันต่อสัปดาห์ และพบว่าศัลยแพทย์กลุ่มที่ได้เล่นเครื่อง Wii นั้นสามารถผ่าตัดได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เล่น
IBM ประกาศข่าวว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson จะเริ่มถูกใช้งานจริงสำหรับงานด้านการแพทย์และสุขภาพแล้ว โดยลูกค้าสองรายแรกคือบริษัทประกันสุขภาพ WellPoint กับศูนย์วิจัยมะเร็ง Memorial Sloan-Kettering Cancer Center ในสหรัฐ
Watson จะคำนวณประวัติด้านการแพทย์ของผู้ป่วย และให้คำแนะนำแก่พนักงานของทั้งสององค์กรว่าควรทำอย่างไรกับผู้ป่วยบ้าง เช่น กรณีของศูนย์มะเร็ง Watson จะแนะนำวิธีการรักษาที่น่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด ส่วนกรณีของประกันสุขภาพก็จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะกับค่าใช้จ่ายมากที่สุด
กูเกิลยังคงพยายามทำให้หน้าค้นหาของตัวเองตอบคำถามของผู้ใช้ได้มากขึ้่นเรื่อยๆ ผ่านฟีเจอร์ Knowledge Graph ที่ล่าสุดเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกัีบตัวยาเข้าไปแล้ว
เมื่อผู้ใช้ค้นหาชื่อยา (เช่น Ibuprofen) กูเกิลจะแสดงผล Knowledge Graph โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา วิธีใช้ คำเตือน ผลข้างเคียง รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อย่างแบรนด์ที่ผลิต และตัวยาอื่นที่ออกฤทธิ์ใกล้่เคียงกันมาด้วย
ข้อมูลตัวยาต่างๆ กูเกิลบอกว่ารวบรวมมาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ หอสมุดแพทย์แห่งชาติ และกรมกิจการทหารผ่านศึก และจากที่ลองค้นหา ดูเหมือนจะยังใช้ได้แค่ในสหรัฐฯ ครับ
สมาคมด้านการแพทย์ 2 แห่งในสหรัฐ เริ่มสั่งห้ามผู้ประกอบวิชาชีพในเครือขายบริการผ่านคูปองออนไลน์ (หรือพูดง่ายๆ ว่าบริการจำพวก Groupon นั่นเอง)
รายแรกคือคณะกรรมการทันตแพทย์ของรัฐโอเรกอน (Oregon Board of Dentistry) ออกประกาศว่าการโฆษณาและขายบริการผ่าน "อินเทอร์เน็ตคูปอง" ที่แบ่งรายได้กันระหว่างคลินิกและผู้ขายคูปอง ละเมิดกฎของสมาคมที่ห้ามแบ่งรายได้จากการให้บริการผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่น นอกเหนือจากบุคลากรภายในองค์กรเอง
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ นำโดยศาสตราจารย์ Ramesh Raskar ได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดสายตา ที่ทำงานโดยติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับโทรศัพท์มือถือ
อุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเลนส์ที่ติดตั้งอยู่บนหน้าจอ โดยผู้ที่จะรับการตรวจต้องมองเข้าไป และควบคุมภาพที่เห็นด้วยปุ่มของโทรศัพท์
ศาสตราจารย์ Raskar อธิบายว่า คุณภาพของโทรศัพท์ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างในกรณีนี้คือจอภาพ จะช่วยสามารถดัดแปลงเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ การเข้าถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศกำลังพัฒนานั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การเข้าถึงบริการสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังเป็นปัญหา อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นและมีราคาถูกนี้ น่าจะช่วยเหลือคนจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาได้
ใน YouTube นั้นมีวิดีโอเพื่อการศึกษามากมาย รวมไปถึงวิดีโอสอนทำคลอดในรถ สอนผ่าตัดด้วย แต่คงไม่มีใครคิดจะทำตามจริงๆ หรอกใช่ไหมครับ?
Google Flu Trends เป็นอีกบริการหนึ่งของ Google.org ที่หลายคนอาจจะไม่รู้จัก หลักการง่ายๆ ของมันคือจะดูว่าผู้ใช้บริการกูเกิลนั้นค้นเว็บด้วยคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการของไข้หวัดใหญ่มากน้อยเท่าใด และนำมาพล็อตเทียบกับระยะเวลาที่ผ่านไป ซึ่งถ้ามีการค้นหาดังกล่าวมากขึ้นนั้นย่อมแสดงว่าน่าจะมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในบริเวณนั้นอยู่ด้วย
เดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็มีแต่คนใช้หูฟัง Bluetooth ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเหตุผลทางกฎหมาย อุปกรณ์สมัยใหม่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะพวกที่เกี่ยวกับเพลง มักจะมี Bluetooth ติดมาด้วยเสมอ
บริษัท Freedomscope เปิดตัว Stethoscope (หูฟังสำหรับแพทย์) โดยปกติแล้วการใช้ Stethoscope เป็นการส่งต่อสัญญาณเสียงตามหลอดพลาสติกจากปลายของ Stethoscope ที่แนบกับลำตัวของคนไข้ มายังหูของแพทย์ ซึ่งอาจมีปัญหาเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่มีโอกาสติดเชื้อจากคนไข้สูงเช่น คนไข้ที่มีประวัติสงสัย SARS เป็นต้น หูฟังรุ่นใหม่นี้ จะส่งสัญญาณผ่าน Bluetooth แทน ทำให้ไม่ต้องมีสาย
ปัจจุบัน RFID ได้มีที่ใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในโรงพยาบาล เริ่มมีความคิดที่จะนำมาใช้เพื่อ tag ถุงยา, เลือดที่จะให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการจ่ายผิดราย อย่างไรก็ดี ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีนี้ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์
เวียดนามกำลังประสบปัญหาด้านสาธารณสุขครั้งใหม่จากอหิวาตกโรคที่ระบาดไปถึง 16 เริ่มจากฮานอย ไปยังเมืองโฮจิมินต์ โดยนับแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมามีผู้ป่วยอหิวาต์แล้วถึง 600 ราย
เวียดนามประสบกับโรคระบาดถึงสามครั้งในปีที่แล้ว องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่าเวียดนามควรจะปรับปรุงระบบสาธารณสุขตลอดจนระบบาธารณนูปโภคให้ถูกสุขอนามัยยิ่งขึ้น
ประเด็นที่น่ากลัวเกี่ยวกับอหิวาต์คือเมื่อมันแพร่กระจายไปในสิ่งแวดล้อมแล้วจะกำจัดให้หายไปได้ยากมาก
ผมไปเที่ยวมาเมื่อต้นปี อนามัยของเวียดนามก็มีปัญหาจริงๆ ล่ะครับ โครงการห้องน้ำสะอาดทั่วประเทศของไทยที่ทำเมืองไทยน่าอยู่ขึ้นเยอะเลย
ที่มา - PhysOrg
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาควบคุมความดันโลหิตของตนไม่ได้ ได้มีการศึกษาที่จะประยุกต์เอา Web Service มาช่วยควบคุมความดันโลหิต
การทดลองนี้ทำโดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มที่รักษาตามปกติ, กลุ่มที่วัดความดันโลหิตแล้วส่งผลให้แพทย์ผ่านทางเว็บ, กลุ่มที่ส่งผลร่วมกับการให้คำปรึกษาจากเภสัชกรทางเว็บ จากการเปรียบเทียบผลที่ผ่านไปเป็นเวลา 1 ปี พบว่า อัตราส่วนผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ในกลุ่มที่ส่งผลและได้รับคำปรึกษาทางเว็บมากกว่า กลุ่มที่รักษาตามปกติอย่างชัดเจน (56% กับ 31% p<0.01)
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Duke ประกาศความสำเร็จในการผ่าตัดสมองของวุฒิสมาชิก Edward M. Kennedy วัย 76 ปี หลังจากการผ่าตัดนานสี่ชั่วโมงโดยที่คนไข้รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา
การผ่าตัดแบบหวาดเสียวนี้มีความจำเป็นเนื่องจากเนื้องอกในสมองนั้นอยู่ในส่วนลึกลงไป ทำให้แพทย์ต้องหาเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุดเพื่อที่จะผ่าเอาเนื้องอกออกมาโดยไม่ทำลายเนื้อสมองส่วนอื่นๆ ผลคือการผ่าตัดโดยที่แพทย์จะค่อยๆ กระตุ้นสมองทีละส่วนแล้วทดสอบคนไข้ในแบบต่างๆ เช่น ถามชื่อสิ่งของ, ทวนคำที่กำหนด, ตลอดจนการพูดคุยกับทีมแพทย์
สมาคมโรคหัวใจสหรัฐฯ (American Heart Association หรือ AHA) ได้ออกแนวทางปฏิบัติให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกคน (ประมาณ 72 ล้านรายในสหรัฐฯเอง) ควรจะมีเครื่องวัดความดันโลหิตสูงเองที่บ้าน และใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นส่วนช่วยแพทย์ในการพิจารณาปรับยา
ก่อนหน้านี้ยังไม่มีแนวทางใดแนะนำให้ผู้ป่วยซื้อเครื่องวัดมาใช้เอง แต่ก็เป็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีอันจะกิน และมีหลายบริษัทผลิตเครื่องวัดดังกล่าวออกมาเป็นล่ำเป็นสัน โดยปัจจุบันเครื่องวัดส่วนใหญ่ใช้งานง่ายเพียงพันรอบแขนและกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว ก็สามารถทราบค่าได้ทันที และราคาของเครื่องได้ลดลงเหลือประมาณ 50-100 ดอลลาร์สหรัฐ (สำหรับในเมืองไทยผมเห็นมีขายในราคาประมาณ 2,000-3,000 บาท)
ความลำบากของการรักษาอาการ Autism ประการหนึ่งคือการตรวจพบที่ทำได้ค่อนข้างล่าช้า โดยทั่วไปแล้วพ่อแม่จะสังเกตความผิดปรกติได้เมื่อลูกมีอายุ 18 ถึง 24 เดือน และการตรวจอย่างชัดเจนนั้นทำได้ที่อายุตั้งแต่ 2 ถึง 4 ปี โดยหากพบอาการช้าอาจจะทำให้มีผลกระทบในระยะยาวได้
ในงานประชุมวิชาการ 7th Annual International Meeting for Autism Research in London นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย McMaster ได้นำเสนอการใช้เทคโนโลยีจับตำแหน่งดวงตามาใช้ในเด็กอายุเพียง 9 ถึง 12 เดือน และสามารถแยกแยะเด็กที่มีอาการ Autism ได้อย่างแม่นยำ
เมื่อวานนี้สื่อต่างประเทศหลายสำนักพากันเล่นข่าวที่นักวิจัยสหรัฐฯ และเดนมาร์คพบความเกี่ยวข้องระหว่างพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและความผิดปรกติทางอารมณ์ของลูก
ทีมงานวิจัยสำรวจพฤติกรรมหลายด้านของแม่ระหว่างการตั้งครรภ์และพัฒนาการของลูกเมื่อเข้าโรงเรียน พบว่าการใช้โทรศัพท์มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับความผิดปรกติทางอารมณ์และสังคมของลูก
โรคอัลไซเมอร์คงเป็นหนึ่งในโรคที่เรากลัวว่าจะเป็นกันเมื่อแก่ตัวลง โดยโรคนี้สาเหตุเกิดจากการเพิ่มขึ้นของโปรตีนชื่อว่า amyloid-beta ข้อนี้ทำให้ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Rochester Medical Center สร้างวัคซีนเพื่อให้หนูสามารถทนทานต่อโปรตีนตัวนี้ได้
ผลการวิจัยในหนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีการผลิตโปรตีนตัวนี้ในปริมาณมาก ได้ผลที่ดีโดยหนูที่ได้รับวัคซีนสามารถทนทานต่อโปรตีนตัวนี้ได้อย่างชัดเจน และยังไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงแต่อย่างใด โดยหนูที่ได้รับวัคซีนและมีปริมาณของ amyloid-beta สูงกว่าปรกติยังคงมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำได้อย่างสมบูรณ์