DARPA เผยข้อมูลโครงการ TUNA พัฒนาอุปกรณ์เพื่อการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงที่ลอยกลางมหาสมุทร ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้งานในภาวะฉุกเฉินยามสงคราม
ชื่อ TUNA นั้นย่อมาจาก "Tactical Undersea Network Architecture" ซึ่งสื่อถึงตัวอุปกรณ์สำหรับระบบสื่อสาร โดยใช้ใยแก้วนำแสงทอดผ่านใต้ผืนน้ำมหาสมุทร โดยที่ปลายทั้งสองด้านของสายใยแก้วจะมีตัวแปลงสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุลอยที่ผิวน้ำเพื่อติดต่อสื่อสารกับหน่วยรบซึ่งอาจจะเป็นเครื่องบินหรือเรือที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณโดยรอบนั้น
Harshwardhan Zala เด็กหนุ่มชาวอินเดียวัย 14 ปี กลายเป็นคนดังของประเทศขึ้นมาทันที เมื่อเขาได้ทำข้อตกลงร่วมกับทางการของรัฐคุชราตในประเทศอินเดียเพื่อพัฒนาโดรนสำหรับตรวจหาและทำลายกับระเบิด โดยข้อตกลงนี้มีมูลค่า 50 ล้านรูปี (ประมาณ 26 ล้านบาท) พร้อมกันนี้เขาได้ตั้งบริษัท "Aerobotics7" ของตนเองเพื่อต่อยอดงานพัฒนาโดรนของเขาด้วย
Safran Electronics & Defense ประสบความสำร็จในการทดสอบระบบนำทางเฉื่อย Sigma 40 shipborne navigation system ซึ่งจะใช้ควบคู่กับจรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือไทย ซึ่งสร้างโดยอู่ต่อเรือเกาหลีใต้ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นกระบี่ลำที่ 2 ซึ่งสร้างเองในประเทศอีกด้วย
เรือรบไต้หวันยิงมิสไซส์ต้านเรือรบ Hsiung Feng III ขณะจอดในฐานทัพเรือทางใต้และกำลังฝึกซ้อม มิสไซส์ออกจากเรือรบไป 75 กิโลเมตรไปทางจีนแผ่นดินใหญ่และชนเข้ากับเรือประมงของไต้หวันเอง มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายบาดเจ็บสามราย แต่ตัวมิสไซล์ไม่ระเบิด
ทางไต้หวันระบุว่าอุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ได้มีแรงจูงใจทางการเมือง แต่เกิดจากเจ้าหน้าที่รายหนึ่งปรับเลือกโหมดผิดพลาดเป็นโหมดสงครามระหว่างการฝึกซ้อม ทำให้มิสไซล์ถูกยิงออกไปจริงๆ และหลังจากนี้ทางกองทัพจะสอบสวนเพิ่มเติมว่าเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร
สภากิจการแผ่นดินใหญ่ (Mainland Affairs Council) ของไต้หวันระบุว่าได้แจ้งเรื่องนี้ไปยังปักกิ่งแล้ว
ถ้าเป็นความผิดพลาดของผู้ใช้จริง เหตุการณ์นี้ก็น่าจะเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
การฝึกผสม Guardian Sea 2016 ระหว่างวันที่ 24–27 พฤษภาคม 2559 ในพื้นที่ทะเลอันดามัน เป็นปฏิบัติการทดสอบกองทัพเรือไทยในภารกิจปราบเรือดำน้ำ โดยใช้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ USS San Francisco เป็นเรือข้าศึกสมมติ รวมทั้งปฏิบัติการทางเรือร่วมกันระหว่างกองทัพเรือไทยและกองทัพเรืออเมริกาด้วย
เรื่องสำคัญอีกประการคือการทดสอบระบบ Datalink ที่ติดตั้งอยู่บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือหลวงนเรศวร, เรือหลวงตากสิน และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ S-70B ทั้ง 3 เครื่อง นับเป็นการทดสอบผ่านการซ้อมรบจริง (Exercise) เป็นครั้งแรก หลังจากที่เคยทดสอบฝึกซ้อม (Training) กับกองทัพอากาศไปแล้วก่อนหน้านี้
ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียม GPS หรือ Global Positioning System ถูกคิดค้นโดย The Aerospace Corp หน่วยงานวิจัยที่แยกตัวมาจากกองทัพอากาศสหรัฐ (ปัจจุบันมีสถานะเป็นบรรษัทอิสระที่ไม่หวังผลกำไร และได้ทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ) มาตั้งแต่ปี 1966
ล่าสุดมีเอกสารของ The Aerospace Corp เผยแพร่ต่อสาธารณะ ระบุว่ากำลังพัฒนาระบบบอกพิกัด (Positioning, Navigation, and Timing - PNT) แบบใหม่ภายใต้โค้ดเนมว่า Project Sextant
Project Sextant ไม่ใช่ GPS 2.0 ที่พัฒนาขึ้นจากของเดิม แต่ต้องการพัฒนาแนวทางใหม่ให้เหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะตอนที่คิดระบบ GPS ขึ้นมา มุ่งใช้งานด้านการทหารเป็นหลัก อีกทั้งเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์-การสื่อสารยังไม่พัฒนาเท่ากับสมัยนี้
หลายคนอาจจะทราบว่าระบบการจัดซื้อของหน่วยงานราชการนั้นยุ่งยากและซับซ้อนเพียงใด โดยเฉพาะในกรณีของกองทัพอากาศของสหรัฐฯ ที่มีเอกสารกำหนดระเบียบการจัดซื้อเอาไว้หนาถึง 1,897 หน้า ซึ่งทำให้กองทัพ ต้องหันไปพึ่งเทคโนโลยีในการจัดการกับความซับซ้อนนี้ และเป็นระบบของ IBM Watson ที่เข้ามารับหน้าที่นี้
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ประกาศตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม (Defense Innovation Advisory Board) เพื่อดึงความรู้จากภาคเอกชน โดยเฉพาะฝั่ง Silicon Valley มาปรับปรุงการทำงานของกระทรวงกลาโหม
ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้คือ "ให้คำปรึกษา" กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เน้นไปในเรื่องที่ฝั่ง Silicon Valley เชี่ยวชาญ เช่น การสร้างต้นแบบรวดเร็ว (rapid prototyping), กระบวนการพัฒนาแบบปรับปรุงตลอดเวลา (iterative product development), การวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง, การใช้เทคโนโลยีโมบายล์และคลาวด์ เป็นต้น แต่คณะกรรมการจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการทหารแต่อย่างใด
กองทัพสหรัฐอเมริกามีความคิดที่จะนำเอาเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาใช้เตรียมอาหารให้แก่ทหารของกองทัพในอนาคต โดยจะเตรียมให้มีสารอาหารเหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายทหารแต่ละนาย
Lauren Oleksyk นักวิจัยด้านโภชนาการของ NSRDEC (Natick Soldier Research, Development and Engineering Center) แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา เผยถึงแนวคิดของงานที่เธอกำลังทำอยู่ว่า ในอนาคตทางกองทัพมีแผนจะให้ทหารทุกนายสวมใส่ชุดที่มีเซ็นเซอร์ที่จะวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย เพื่อประเมินว่าสภาพร่างกายของทหารเป็นอย่างไร จากนั้นเซ็นเซอร์จะส่งข้อมูลที่วัดได้กลับมายังฐานหรือครัวสนาม
The New York Times รายงานข้อมูลว่าวงการทหารและข่าวกรองของสหรัฐ มีประเด็นกังวลว่ารัสเซียอาจส่งเรือดำน้ำไปตัดสายเคเบิลในมหาสมุทร ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐไม่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศอื่นได้
แหล่งข่าวของ The New York Times ระบุว่าพบกิจกรรมของเรือดำน้ำรัสเซียเพิ่มขึ้นในจุดที่มีสายเคเบิลอยู่ ความถี่ของเรือดำน้ำถือว่าใกล้เคียงกับสมัยสงครามเย็น สิ่งที่หน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐกลัวคือสายเคเบิลจะถูกตัดในจุดที่น้ำลึกมาก ซึ่งซ่อมแซมได้ยากกว่าจุดที่น้ำตื้น
ปัญหาเรื่องเคเบิลใต้น้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในสมัยสงครามเย็น ประเด็นที่กลัวกันคือการดักฟังข้อมูลฝ่ายตรงข้ามจากสายเคเบิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเด็นเรื่องสาธารณูปโภคด้านการสื่อสารที่อาจถูกทำลายแทน
วิทยาลัยกองทัพเรือสหรัฐ (US Naval Academy) เตรียมนำวิชาการเดินเรือดาราศาสตร์ (celestial navigation) กลับมาสอนนักศึกษาอีกครั้ง หลังมีความกังวลว่าระบบนำทางด้วย GPS อาจถูกแฮ็กได้ในอนาคต
อาจารย์ของวิทยาลัยให้สัมภาษณ์ว่าเลิกสอนวิชาเดินเรือด้วยการดูดาว-วัตถุบนท้องฟ้าไปนานนับ 10 ปี ด้วยเหตุผลว่าใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้หมด ปัญหาคือถ้าระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาก็ไม่มีอะไรสำรองไว้เลย ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า ระบบ GPS (ที่ดูแลโดยกองทัพอากาศของสหรัฐ) อาจต้องปิดชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามาใช้งาน หรืออาจโดนสัญญาณ GPS ปลอมหลอกเอาได้
พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ (รับตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2558) นัดประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพครั้งแรกของปีงบประมาณ 2559 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา มีประเด็นหารือหลายอย่าง
ประเด็นที่น่าสนใจคือ พล.อ.สมหมาย ย้ำว่าจะต้องตั้ง "กองสงครามไซเบอร์" ควบคู่กับยุทธศาสตร์ไซเบอร์ของกองทัพไทย เพื่อรับมือกับสงครามไซเบอร์ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของกองสงครามไซเบอร์ว่าจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้ว่าเป็นนโยบายเรื่องปฏิรูปกองทัพ โดยกระทรวงกลาโหมจะต้องรับผิดชอบการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และไม่เกี่ยวกับนโยบาย Single Gateway แต่อย่างใด
ดูเหมือนในอนาคตอันใกล้ เหล่าเกมเมอร์จะมีโอกาสได้ติดยศในชีวิตจริงกันแล้ว เมื่อ Dmitry Rogozin รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า "Теперь нам нужны не танкисты, а игроки из worldoftanks.ru )" ซึ่งแปลได้ว่า "เราไม่ต้องการผู้ควบคุมรถถังแล้ว เราต้องการผู้เล่นเกม World of Tanks"
Apple พร้อมด้วย Boeing และ Harvard เตรียมร่วมมือกับบริษัทเอกชนและสถาบันวิจัยอื่นๆ เข้าร่วมกลุ่ม FlexTech Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่สำหรับใช้ในการทหารให้แก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา
เป้าประสงค์สำคัญของงานวิจัยค้นคว้าของกลุ่ม FlexTech Alliance คือการอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ มาสร้างชิปหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นจนสามารถนำไปปรับแต่งผลิตเป็นอุปกรณ์สวมใส่สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานได้ หรืออาจนำดัดแปลงสภาพรูปร่างให้เหมาะต่อการนำไปติดตั้งใช้กับเครื่องบินหรือยุทโธปกรณ์อื่นได้ด้วย ซึ่งอาจเป็นการฝังวงจรพร้อมเซ็นเซอร์ลงในเนื้อวัสดุประกอบเครื่องบินหรืออุปกรณ์เหล่านั้นโดยตรง
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) องค์การมหาชนที่กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พัฒนาเครื่องฝึกจำลองยุทธ (simulator) ให้กับหลายหน่วยงานของทั้งสามเหล่าทัพแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องฝึกบุคคลทำการรบ
สถาปัตยกรรมของระบบสามารถเชื่อมเครื่องฝึกทุกแบบเข้าด้วยกัน เพื่อฝึกผ่านระบบเครือข่ายได้ และเนื่องจาก สทป. เป็นผู้พัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบ ทำโมเดลลิ่ง และสำรวจพื้นที่จริงเพื่อจำลองภูมิประเทศสามมิติด้วยตัวเอง ทำให้ประหยัดเงินจากการซื้อเครื่องฝึกจำลองยุทธจากต่างประเทศ
ในวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารที่ส่งผลกับเด็ก ซึ่งพลเอกประยุทธ์ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของโลกอินเทอร์เน็ต และโลกโซเชียลที่จะมีผลกับเด็ก ส่งผลให้เด็กโตไปเป็นคนที่ก้าวร้าว โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า
เว็บไซต์กองทัพบกสหรัฐฯ www.army.mil ถูกเปลี่ยนหน้าเว็บ (deface) ไปเมื่อวานนี้ทำให้ขึ้นข้อความโจมตีกองทัพสหรัฐฯ ว่าฝึกคนเพื่อส่งไปตาย โดยกลุ่ม Syrian Electronic Army (SEA) อ้างความรับผิดชอบว่าเป็นผู้ลงมือ
เว็บกองทัพบกสหรัฐฯ ปิดตัวลงอย่างรวดเร็วและยังเข้าไม่ได้ในตอนนี้ ทาง SEA ยังแสดงภาพหน้าจอหลังบ้านของเว็บกองทัพบกที่เป็นหน้าจอของ Limelight CDN ทำให้เป็นไปได้ว่าเว็บที่ถูกแฮกจริงๆ คือ Limelight และทางบริษัทระบุว่ากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่
เว็บกองทัพสหรัฐฯ เช่น stratcom.mil ปิดตัวลงไปพร้อมๆ กับเว็บกองทัพบก แม้จะไม่มีรายงานว่าถูกแฮกก็ตาม
Cyber Defense Exercise (CDX) เป็นงานซ้อมรบไซเบอร์ประจำปีสำหรับโรงเรียนนายร้อยสหรัฐฯ จัดโดย NSA มาตั้งแต่ปี 2001 เพื่อฝึกซ้อมให้เจ้าหน้าที่ในแต่ละกองทัพมีความสามารถในการป้องกันและตอบโต้การโจมตีไซเบอร์ได้ ปีนี้มีโรงเรียนนายร้อยในสหรัฐฯ 5 โรงเรียนและอีกหนึ่งโรงเรียนจากแคนาดาส่งทีมเข้าซ้อม และทีมงานโรงเรียนทหารเรือนายร้อยสหรัฐฯ ก็เป็นผู้ชนะไป
ในการแข่ง CDX แต่ละทีมจะต้องติดตั้งบริการตามที่กำหนด ได้แก่ อีเมล, แชต, เว็บ, และโดเมนคอนโทรลเลอร์ จากนั้นดูแลให้บริการดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ Red Team ของ NSA จะพยายามเข้าเจาะระบบทีละระบบไปเรื่อยๆ นักเรียนที่ดูแลระบบอยู่จะต้องสามารถตรวจสอบและรายงานการเจาะระบบได้อย่างแม่นยำ และอุดรูรั่วที่ถูกเจาะเข้ามาอย่างรวดเร็ว
กองทัพบกสหรัฐฯ ยอมรับว่ากระบวนการจัดหากำลังพลตามช่องทางปกติไม่สามารถหาคนทำงานด้านไซเบอร์ได้เร็วพอ และมีข้อจำกัดการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ ในการแถลงต่อวุฒิสภารอบล่าสุด นายพลสหรัฐฯ ก็ออกมาระบุว่าต้องสร้างช่องทางใหม่ให้กับการดึงตัวพลเรือนมาประจำหน่วยนี้
สหรัฐฯ มีหน่วย Cyber Branch 17 สำหรับกำลังพลของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว แต่การหาคนเข้ามาทำงานและดึงตัวไว้ให้ทำงานต่อเนื่องกลับทำได้ยาก ตอนนี้่ทางกองทัพจึงเตรียมหาทางดึงตัวพลเรือนเข้ามาทำงาน พร้อมกับแรงจูงใจใหม่ๆ เช่น การทำการตลาด, จ่ายค่าย้ายที่อยู่, จ่ายโบนัสในกรณีทำงานต่อเนื่อง, และช่วยจ่ายเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ว่า โลกโซเชียลมีเดียในปัจจุบันนั้นมีความโหดร้ายอยู่มาก โดยเฉพาะการให้ร้ายคนอื่นอย่างไม่มีหลักฐานหรือข้อเท็จจริง ที่ทำให้คนเสพข้อมูลเหล่านี้เกิดความโกรธเกลียดซึมลึกเข้าไปในใจ โดยไม่มีการให้อภัยกัน ซึ่งพลเอกประยุทธ์มองว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรจะมีการให้อภัยกันบ้าง และถ้ามีอะไรขัดข้อง ตนเองก็พร้อมพูดคุยและเข้าสู่กระบวนการ เพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลาย ทั้งนี้ขอให้ทุกคนไม่ใช้โซเชียลเป็นช่องทางในการตอบโต้กัน เพื่อแสดงออกถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย สร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (1 ก.พ.) จากงานเสวนา "สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้ ร่างพรบ ความมั่นคงไซเบอร์" ที่หอสมุดสันติประชาธรรม เจริญนคร โดยมีนายอาทิตย์ สุริยวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต และนายณรงค์ศักดิ์ เนียมสอน ตัวแทนจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมเสวนา พร้อมทั้งพันโทกิตติภพ เธียรสิริวงษ์ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 19 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมาสังเกตการณ์
ช่วงบ่ายของวันนี้ (1 ก.พ.) มีงานเสวนา "สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้ ร่างพรบ ความมั่นคงไซเบอร์" ที่หอสมุดสันติประชาธรรม เจริญนคร โดยมีตัวแทนจากเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen) และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เข้าร่วม
อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มงาน เจ้าหน้าที่ทหารได้ขอเข้าร่วมงาน โดยจะเข้ามาฟังการเสวนา บันทึกภาพ พร้อมนั่งเป็นวิทยากรเองด้วยเลย แต่ก็ไม่ได้ห้ามการจัดงานแต่อย่างใด
ที่มา - ประชาไท
กองทัพอากาศอินเดียปล่อย Guardians of the Skies เกมจำลองการรบสามมิติแบบประจัญบาน เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่รู้จักอาชีพนักบินเครื่องบินรบมากขึ้น และดึงดูดเยาวชนรุ่นใหม่สมัครเข้ากองทัพ
เกมมีทั้งโหมดฝึกอบรมและโหมดภารกิจจริง 10 ภารกิจ โดยโหมดฝึกอบรมจะทำให้ผู้เล่นคุ้นเคยกับการขับเครื่องบินรบผ่านอากาศยานรุ่น Sukhoi SU 30 เครื่องบินรบไอพ่นคู่สำหรับนักบินสองนาย และสองภารกิจแรกจะทำให้ผู้เล่นคุ้นเคยกับเหตุการณ์สมมติที่ประเทศ Zaruzia จะบุกโจมตีประเทศอินเดีย แปดภารกิจที่เหลือจะเปิดให้ผู้เล่นเลือกอากาศยานได้ อาทิ Sukhoi SU 30, M2000, Tejas, Phalcon AWACS, C130, Mi 17, Mi 35 และ ALH Dhruv
ไม่ได้มีแค่บริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในยุโรปหรือแม้แต่กูเกิลที่กำลังพัฒนารถยนต์ไร้คนขับเพื่อใช้ในเชิงพานิชย์เพียงอย่างเดียวแล้ว เมื่อนาวิกโยธินสหรัฐได้ทดสอบรถออฟโร้ดไร้คนขับสำเร็จเป็นครั้งแรกแล้ว โดยจุดประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อขนอุปกรณ์และทหารที่บาดเจ็บในสนามรบ
รถออฟโร้ดไร้คนขับนี้มีชื่อเรียกว่า Ground Unmanned Support Surrogate (GUSS) โดยตัวรถถูกติดตั้งด้วยเซ็นเซอร์ LIDAR กล้อง และระบบแผนที่ในการขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 128 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Watson ของ IBM ที่โด่งดังจากการแข่งขันชนะมนุษย์ในรายการเกมโชว์ Jeopardy! เมื่อปี 2011 หลังจากนั้นก็มีการใช้งานมันทั้งทางด้านการแพทย์, การประกันภัย, การเงิน และอาหาร