กสทช.
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ไปพูดปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ 5G ปลุกไทยที่ 1 อาเซียน ที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอเรื่องการหารายได้แบบใหม่จาก OTT อาทิ YouTube, Netflix
เลขาธิการ กสทช. ระบุว่าปัจจุบันมีการใช้ดาต้าเฉลี่ยปีละ 6 ล้านเทราไบต์ และเมื่อ 5G เริ่มใช้งาน ปริมาณการใช้งานดาต้าน่าจะเพิ่มราว 40 เท่า โดยเจ้าตัวเสนอว่า การหารายได้เข้ารัฐจากปริมาณดาต้าขนาดนี้ รัฐก็ควรจะจัดเก็บรายได้ตามปริมาณการใช้งาน เพราะถือว่าเป็นการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
หลังจากเมื่อวานนี้คุณ stan ได้โพสกระทู้ ส่องดูแอป "พฤติมาตร" ของกสทช. รายงานถึงการแจกจ่ายแอปพฤติมาตร ที่ชักชวนให้ผู้คนลงแอปเพื่อร่วมลุ้นรางวัล และมีความน่ากังวลว่าแอปนี้ขอสิทธิ์ระดับลึกหลายสิทธิ์ วันนี้ทางกสทช. ก็ส่งหนังสือชี้แจงมาให้กับ Blognone แล้ว โดยระบุว่าเป็นแอปที่ต้องการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานโดยตัดข้อมูลอันอาจอ้างอิงถึงตัวบุคคลออกแล้ว
ประเด็นหนึ่งที่ผมกังวลอย่างมาก คือ ตัวแอปอยู่นอก Google Play ทางกสทช. ชี้แจงว่ากำหนดกลุ่มตัวอย่างไว้ 4,500 ตัวอย่าง "จึงไม่นำขึ้นแอปสโตร์ในชั้นนี้"
ครั้งนี้อาจเป็นครั้งแรกๆ ที่หน่วยงานรัฐออกมายอมรับอะไรอย่างนี้ เมื่อนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ทวีตเรื่องการปิดกั้นเนื้อหาเว็บไซต์ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและความผิดอื่นๆ พร้อมยอมรับว่าไม่สามารถบล็อคหน้าเว็บที่เชื่อมต่อผ่าน HTTPS ได้
กสทช. ระบุว่ามีการแจ้งความร้องทุกข์ให้บล็อคเว็บทั้งหมด 309 URL บล็อคไปแล้ว 81 URL ส่วนที่เหลือ 228 URL ไม่สามารถบล็อคได้เพราะใช้ HTTPS พร้อมระบุว่าจะขอความร่วมมือจากต่างประเทศและเจ้าของแพลตฟอร์มในต่างประเทศ เข้ามาหารือกับ กสทช. เพื่อปิดกั้นเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์และผิดกฎหมายไทย โดยเบื้องต้น กสทช. ส่งหนังสือผ่านไปทางสถานทูตสหรัฐและญี่ปุ่นเรื่องเนื้อหาที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ที่มีการเข้ารหัสและ กสทช. ไม่สามารถดำเนินการปิดกั้นได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่าทาง กสทช. เตรียมกำหนดวันยุติการให้บริการเครือข่าย 2G ในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 และระบุให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช. รับทราบ โดยก่อนหน้านี้มีการหารือกับ AIS, dtac และ True อย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว
เลขาธิการ กสทช. ให้เหตุผลว่าที่ต้องยกเลิกอย่างเป็นทางการ เพราะผู้ให้บริการ 2G ลดลงอย่างมาก ตอนนี้อยู่ที่ราว 5.2 ล้านเลขหมาย จากจำนวนทั้งหมด 126 ล้านเลขหมาย (รวม 3G/4G) ประกอบกับที่ผ่านมายังไม่มีการกำหนดวันที่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคยังเลือกใช้ 2G ต่อแม้จะรับมือถือ 3G มาจากค่ายมือถือฟรีก็ตาม เพราะมองว่า 2G ราคาถูกกว่า ซึ่งไม่จริง
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
ในที่สุดกลุ่มบริษัทดีแทคก็ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ถือเป็นเอกชนรายสุดท้ายที่สิ้นสุดสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แล้วเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบใบอนุญาตอย่างเต็มตัว
ในอดีตประเทศไทยเริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้สัญญาร่วมการงานหรือเรียกกันว่าระบบสัมปทาน โดยมีทีโอทีถือครองคลื่น 900 MHz กสท โทรคมนาคมถือครองคลื่น 850 MHz และ 1800 MHz แล้วให้เอกชนคือ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เป็นคู่สัญญาสัมปทานตามลำดับ
หลังจากที่ดีแทคประกาศจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 900MHz ในวันนี้ (วันที่ 28 ตุลาคม 2561) ซึ่งเป็นวันประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ตามที่ทางกสทช.เคยแถลงไปแล้วนั้น ทางผู้บริหารดีแทคได้เดินทางมาประมูลตามที่ได้เคยแถลงไว้
การประมูลเริ่มต้นขึ้นในเวลา 09.45 น. โดยดีแทคเคาะเพิ่มเพียง 1 ครั้ง จากราคาที่กสทช.กำหนดไว้ที่ราคา 37,988 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 76 ล้านบาท สิ้นสุดที่ราคา 38,064 ล้านบาท การประมูลสิ้นสุดเวลา 10.40 น. ทำให้ดีแทคคว้าคลื่น 900MHz ในประมูลครั้งนี้ไปครองในที่สุด
หลังจาก AIS และ True ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 900 ไปแล้ว ทาง dtac ก็ออกมาระบุว่าบริษัทยังพิจารณาเงื่อนไขปลีกย่อย และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ
วันนี้เป็นวันสุดท้ายตามกรอบเวลาแรกของการประมูลคลื่น 900 MHz รอบที่สอง โดยหากไม่มีใครยื่นประมูลก็จะเลื่อนออกไปอีก 1 สัปดาห์โดยอัตโนมัติ ดังนั้น dtac ก็จะมีเวลาพิจารณาไปถึงวันที่ 16 ตุลาคมนี้
บริษัทระบุเพียงว่าจะพิจารณาให้แล้วเสร็จเพื่อตัดสินใจภายในตามกำหนด
ที่มา - จดหมายข่าว dtac
ดีแทคกำลังพิจารณาเงื่อนไขประมูลคลื่น 900 MHz แต่มั่นใจว่าเสร็จทันตามกรอบเวลา กสทช.
หลังจากไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดเข้าประมูลคลื่นย่าน 900MHz ที่ กสทช. จัดประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม
เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ และประกาศวันที่จัดประมูลคือวันที่ 20 ตุลาคมนี้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในการประมูลรอบใหม่คือ
หลัง กสทช. มีมติไม่คุ้มครองเยียวยาคลื่น 850 ทำให้ความหวังเดียวของ dtac อยู่ที่ศาลปกครองกลางเท่านั้น และล่าสุดศาลมีคำตัดสินออกมาแล้วว่า dtac ได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมติ กสทช ในการประชุมครั้งที่ 13/2561 วันที่ 18 กรกฎาคม เป็นระยะเวลา 3 เดือนถึง 15 ธันวาคม 2561
ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า คำสั่งคุ้มครองมีความมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการที่ไม่อาจโอนย้ายไปยังคลื่นอื่นหรือผู้บริการอื่นได้ อาทิ ผู้เจ็บป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่ต้องติดต่อสื่อสารหรืออยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ที่คลื่น 850 ถูกนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกล หาก dtac ไม่สามารถให้บริการได้ ความเสียหายอาจร้ายแรงยากแก่การเยียวยาในภายหลัง
จากกรณีที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ไม่ให้ดีแทคเข้าสู่มาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หลังสัมปทานสิ้นสุด โดยทางเลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้แถลงข่าวมติที่ประชุมภายหลังการประชุมทันที ซึ่งมีการอธิบายถึงเหตุผลต่างๆ ของที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้กล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ กสทช. เสียงข้างน้อย นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน หนึ่งในผู้ลงมติแตกต่างได้จัดทำความเห็นของตนเอง เพื่อให้ทางสำนักงาน กสทช. ใส่ประกอบไว้ในรายการงานประชุมของ กสทช. นัดพิเศษครั้งที่ 5/2561 (วันที่ 12 กันยายน 2561) ต่อไป
กสทช. แถลงยืนยันไม่คุ้มครองเยียวยาคลื่นความถี่ 850 ของ dtac โดยระบุว่าผู้ใช้ที่ยังคงอยู่บนระบบ 94,625 ราย โดยระบุว่าการที่มีข้อบังคับต่างๆ ทำซิมดับนั้นก็เคยมีมาตรการ เช่น การปิดคลื่นความถี่อื่น หรือแม้แต่การประกาศบังคับลงทะเบียนซิมก็เคยมีผลกระทบมากกว่านี้ และแม้จะมีลูกค้าที่โรมมิ่งอยู่โดย dtac อ้างว่ามีถึงล้านคนนั้น ไม่สามารถนำมานับรวมได้
การลงมติครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ โดยมติ 4 ต่อ 2 ว่าไม่เข้าองค์ประกอบการเยียวยา และจะมีการออกคำสั่งต่อไป
การไม่คุ้มครองครั้งนี้กระทบกับคลื่น 850 เท่านั้น สำหรับคลื่น 1800 เนื่องจาก dtac เป็นผู้ชนะประมูลด้วย ทางกสทช. ให้สิทธิ์ใช้งานช่องสัญญาณอื่นที่ใช้อยู่เดิมไปได้อีก 30 วัน และหลังจากนั้นจะพิจารณาอีกครั้ง
dtac ฟ้องร้องผ่านศาลปกครองโดยมีการไต่สวนเมื่อวานนี้ และยังไม่มีคำสั่งออกมาแต่อย่างใด โดยกสทช. จะนำส่งมติที่ประชุมให้ศาลปกครองต่อไป
ที่มา - MXPhone
นับเป็นช่วงสำคัญของ dtac อีกครั้งเมื่อคลื่นสัมปทานภายในมือย่าน 850 MHz และ 1800 MHz ที่ถืออยู่กำลังจะหมดอายุในวันที่ 15 กันยายนนี้ ถึงแม้ dtac จะเพิ่งประมูลได้คลื่น 1800 MHz ภายใต้ระบบของ กสทช. ไปเมื่อ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 12,511 ล้านบาท แต่หลังวันที่ 15 คลื่น 1800 ในมือจะเหลือความกว้างเพียง 5 MHz จากของเดิมที่มีถึง 25 MHz
dtac ให้บริการบนคลื่น 850 และ 1800 ภายใต้สัมปทานจาก CAT มายาวนานถึง 27 ปี ตอนนี้เหลือผู้ใช้อยู่บนระบบสัมปทานเดิมราว 340,000 รายที่ยังไม่ได้ย้ายมาใช้คลื่นใหม่ที่ได้จากการประมูล (เป็นลูกค้าของบริษัท dtac TriNet) โดยแบ่งเป็นผู้ใช้บนคลื่น 850 จำนวน 90,000 รายและ 1800 จำนวน 250,00 ราย แต่ทาง กสทช. ยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะเยียวยาคลื่นหลังหมดสัมปทานให้กับทาง dtac หรือไม่ จน dtac ต้องฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครอง เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ลูกค้ากว่า 340,000 รายซิมดับ
สถานการณ์ของ dtac จึงค่อนข้างหัวเลี้ยวหัวต่อ เราขอสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดให้อีกครั้ง รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย
ทรู ส่งหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ ไม่เห็นด้วยกับมติของ กสทช. ที่ต้องนำส่งเงินรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 1800 MHz ในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่วันที่เข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว จำนวน 3,381.95 ล้านบาท
อเล็กซานดร้า ไรซ์ ซีอีโอใหม่ดีแทคที่เข้ามารับตำแหน่งในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน เมื่อคลื่นความถี่ 850 ที่ดีแทคถืออยู่กำลังจะหมดสัมปทานในวันที่ 15 กันยายนนี้ โดยไรซ์ได้เรียกร้องไปยัง กสทช. ว่า ผู้ใช้งานในเครือข่าย 850 เมกะเฮิร์ซ ที่มีอยู่ประมาณ 4 แสนราย ควรได้รับการเยียวยา ขอเวลา กสทช. ให้ทำการคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ซ และต่อให้มีการประมูล การย้ายคลื่นก็ยังต้องใช้เวลา
การประมูลคลื่น 1800 จบลงไปอย่างเรียบง่ายอย่างที่หลายๆ คนคาด คือ AIS และ dtac ที่เข้าร่วมการประมูลต่างเลือกคลื่นแค่ 1 สล็อตและเคาะเพิ่มราคาเพียงครั้งเดียวตามกฎ มูลค่าคลื่นอยู่ที่รายละ 12,511 ล้านบาท ส่วนคลื่น 900 ที่ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ก็ต้องรอทาง กสทช. ดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ดีสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่ AIS และ dtac ได้คลื่นเพิ่มรายละ 10 MHz (5MHz x 2) แต่หลังจากวันที่ 15 กันยายน 2561 คลื่น 1800 และ 850 ที่ dtac ถือครองอยู่จะหมดอายุสัมปทานลงและโอเปอเรเตอร์ทั้ง 2 ถึงจะได้สิทธิเริ่มใช้งานคลื่นที่เพิ่งได้ประมูลไป บทความนี้เลยจะอัพเดตกันอีกครั้งว่า ภายหลังเดือนกันยายน 261 เป็นต้นไป โอเปอเรเตอร์แต่ละเจ้าเหลือคลื่นกันคนละเท่าไหร่และคลื่นไหนกันบ้าง
วันนี้ กสทช. จัดการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz ที่มีผู้เข้าร่วมประมูล 2 รายคือ AIS และ dtac และทำให้ทั้ง 2 รายได้คลื่นความถี่ 1800MHz ไปคนละ 1 ชุด ขนาด 2x5MHz มูลค่ารวมจากการประมูลครั้งนี้คือ 25,022 ล้านบาท (รายละ 12,511 ล้านบาท - เคาะครั้งเดียวตามกฎ) ทำให้ใบอนุญาตเหลือ 7 ใบจาก 9 ใบที่ กสทช. ตั้งไว้
AIS เลือกช่วงคลื่นความถี่ 1740-1745MHz และ 1835-1840MHz ส่วน dtac เลือกช่วงความถี่ 1745-1750MHz คู่กับ 1840-1845MHz โดยทาง กสทช. จะประชุมเพื่อรับรองการประมูลภายใน 7 วันก่อนและต้องชำระเงินงวดแรก 50% ของมูลค่าประมูล
(ความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ)
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่ในเดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz สองราย และไม่มีผู้สนใจประมูลคลื่น 900 MHz แม้แต่รายเดียว แม้ว่าจะเป็นคลื่นล็อตสุดท้ายของย่านนี้ก็ตาม
ดีแทคได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าจากการที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz ซึ่งมีกำหนดยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลภายในวันนี้ (8 สิงหาคม 2561) ทางดีแทคมีข้อสรุปสำหรับการเข้าร่วมประมูลดังนี้
ตามที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz ในวันที่ 18-19 สิงหาคมนี้ ล่าสุด ทรูออกหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วว่า จะไม่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้
ตามหนังสือชี้แจงของทรู ไม่ได้ระบุสาเหตุที่ชัดเจนถึงการไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ ซึ่งน่าสนใจว่าจะมีโอเปอเรเตอร์รายใดปฏิเสธการเข้าร่วมประมูลอีกหรือไม่
ที่มา : Settrade
กสทช. เผยไตรมาส 1 ปี 61 ปริมาณการโทรโดยตรงผ่านมือถือลดลงจากไตรมาส 4 ปี 60 ถึง 13% จากปริมาณการโทร 8,900 ล้านนาที ลดลงมาอยู่ที่ 7,700 ล้านนาที และพบการใช้งานดาต้าผ่านมือถือเพิ่มขึ้นถึง 16.95%
วันนี้กสทช. มีมติเกี่ยวกับมาตรการลงทะเบียนซิมเพิ่มขึ้นอีก 2 มาตรการ ได้แก่ การจำกัดการลงทะเบียนซิมไม่ให้เกิน 5 ซิม หากเกินนั้นต้องซื้อที่ศูนย์บริการโดยตรง ไม่สามารถซื้อผ่านตัวแทนได้ และต้องรายงานต่อกสทช., อีกมาตรการ คือการกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องเป็นผู้รับผิดชอบทางแพ่งหากเกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวแทน
กระบวนการลงทะเบียนซิมของไทยมีปัญหาข้อมูลไม่ตรงความเป็นจริงอยู่เรื่อยมา แต่ในปีนี้ปัญหาที่สะสมไว้ดูจะปะทุมาหลายกรณีพร้อมกัน ทั้งกรณี iTruemart ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายทำข้อมูลลงทะเบียนซิมหลุดสู่สาธารณะจำนวนมาก, ไปจนถึงกรณีปลอมข้อมูลพลเอกประยุทธ์มาลงทะเบียนซิม
ตั้งแต่การประมูลคลื่น 900 เมื่อปี 2016 สืบเนื่องมาจนถึงการประมูลคลื่น 1800 ปีนี้ ประเด็นที่ถูกพูดถึงที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องราคาคลื่นความที่ถี่ โดยเฉพาะการประมูลปีนี้ที่ กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นเท่ากับราคาสุดท้ายของคราวก่อน ซึ่งสูงมากและหากยิ่งประมูล ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีกนั้น
ทว่าประเด็นราคาคลื่นความถี่ที่สูงนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะในไทยเท่านั้น เมื่อ GSMA สมาคมที่ดูแลเรื่องการสื่อสาร ได้เปิดเผยรายงานการววิจัยที่พบว่า ราคาคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่แล้วเฉลี่ยสูงเหมือนกัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ
ตั้งแต่เมื่อวานนี้จนถึงวันนี้มีการแชร์ข่าว "จบปัญหาคลื่นแทรกรถไฟฟ้า กสทช.ยกคลื่น 2495MHz ให้ BTS ใช้ฟรี" ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (ตีพิมพ์ตั้งแต่ต้นเดือนแต่เพิ่งลงเว็บ) หลายคนอาจจะเข้าใจว่าอยู่ๆ BTS ได้รับคลื่นที่ประมูลกันไปหลายหมื่นล้านไปฟรีๆ
ความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อนอย่างมาก เพราะคลื่นย่าน 2400-2500 MHz นั้น กทช. (ก่อนหน้าจะมีกสทช. เสียอีก) ประกาศให้เป็นคลื่นที่ใช้งานได้ฟรีมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นอย่างน้อย (ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี 2550, ฉบับแก้ไข 2561)
dtac ออกจดหมายข่าวแสดงความกังวลต่อเงื่อนไขในการอนุญาตการประมูลคลื่น 900 เมกกะเฮิร์ต ข้อ 16, 17 และ 18 ที่ระบุให้ผู้ชนะประมูลต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนเพียงผู้เดียว
ข้อบังคับข้อ 16, 17 และ 18 ระบุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องติดตั้งฟิลเตอร์ป้องกันคลื่นรบกวนให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ครอบคลุมคลื่นหลายย่านในย่านความถี่ที่กำลังประมูล, แม้ติดตั้งแล้วหากมีการรบกวนกับระบบขนส่งทางราง ทางกสทช. สามารถปรับคลื่นความถี่ได้
ระบบขนส่งทางรางที่ข้อกำหนดคลืน 900 นี้ระบุให้ผู้ชนะต้องป้องกัน ได้แก่ ระบบ Airport Rail Link, รถไฟกรุงเทพ-หนองคาย, รถไฟความเร็วสูงดอนเมือง-อู่ตะเภา, โครงการ GSM-R