กสทช.
หลังจาก กสทช. ขีดเส้นตาย 22 ก.ค. นี้ ถ้าเว็บเผยแพร่ภาพยังไม่ลงทะเบียนผิดกฎหมาย ซื้อโฆษณาต้องรับโทษด้วย / YouTube - Facebook ยังไม่ลงทะเบียน ทาง AIC (Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียแปซิฟิก ที่ประกอบไปด้วย Apple, Facebook, Google, LinkedIn, Twitter และ Yahoo
วันนี้กสทช. ชี้แจงกับบริษัทเอเจนซี่โฆษณาถึงแนวทางการโฆษณาระบุว่าภายในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้หากเว็บที่กสทช.ถือว่าเข้าข่ายการแพร่ภาพและเสียงยังไม่มาลงทะเบียนถือว่าเป็นการบริการที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และผู้ที่ลงโฆษณากับเว็บเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้องรับโทษ 2 ใน 3
ตอนนี้ทั้ง Facebook และ YouTube ยังไม่ติดต่อลงทะเบียนผู้ให้บริการโครงข่ายแต่อย่างใด
ข่าวนี้เผยแพร่ครั้งแรกโดยอ้างอิงสำนักข่าว Bloomberg ทางตัวแทนกสทช.ติดต่อ Blognone ว่าข่าวนี้ผิดพลาดและขอให้ลบออก
จากข่าว TOT เลือกดีแทคเป็นคู่ค้าบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ล่าสุด กสทช. ออกมาระบุว่า ดีแทคไม่สามารถนำคลื่น 2300 MHz ไปออกแพกเกจรวมบริการด้านเสียง (วอยซ์) และข้อมูล (ดาต้า) ได้ และต้องส่งแพคเกจให้ กสทช.ตรวจสอบก่อนให้บริการคลื่น 2300 MHz
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า กสทช.ยังไม่ได้รับสัญญาการเป็นคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัททีโอทีและดีแทคในการพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งในรายละเอียดจะต้องไม่ให้บริการเกินขอบเขตที่กสทช.อนุญาตไว้ หากในสัญญาคู่ค้าไม่ถูกต้องตามกฎที่วางเอาไว้ก็มีสิทธิที่ กสทช.จะเพิกถอนการอนุญาตแก่ทีโอทีได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ที่ได้เข้าร่วมหารือและลงนามความร่วมมือกับนายนิโคลัย นิกิโฟรอฟ รัฐมนตรีกระทรวงโทรคมนาคมและการสื่อสารมวลชล สหพันธรัฐรัสเซีย ว่ามีการพูดคุยหารือและเสนอแนวทางความร่วมมือระหว่างสองรัฐบาล ในการพัฒนาโซเชียลมีเดียของไทยร่วมกัน
แนวคิดนี้คือการจัดตั้งโฮลดิ้งคอมพานีร่วมกันระหว่างไทย ที่ถือหุ้น 51% และรัสเซีย 49% ในการพัฒนาแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย, เสิร์ชเอ็นจินและแอปแชทของไทยเอง โดยรัฐบาลรัสเซียมองว่าโซเชียลมีเดียและเสิร์ชเอ็นจินที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน ไม่ได้จ่ายภาษีให้รัฐบาลไทย ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ โดยรัสเซียเองก็มี Yandex เป็นเสิร์ชเอ็นจินของตัวเอง
ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ หรือมินิคาบิเนต มีมติให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางรวมข้อมูลจากทุกกระทรวงสำหรับจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ เปิดให้ประชาชนเข้ามาใช้จดทะเบียนทำธุรกิจโดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก โดย กสทช. สนับสนุนงประมาณพัฒนาระบบเบื้องต้น 4 พันล้านบาท ให้รองรับการยืนยันตัวตนออนไลน์ มีดิจิทัลไอดี ซิงเกิ้ลฟอร์ม เป็นต้น
ประธานในที่ประชุมคือนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งการว่าให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เร่งดำเนินการให้เสร็จภายในสามเดือน
หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกสทช.ขีดเส้นตายให้เฟซบุ๊กบล็อค URL เพิ่มเติมอีก 131 URL ภายในวันนี้เวลา 10 โมงตรง วันนี้คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.ก็ออกมาระบุว่ากระทรวง DE ได้ส่งหมายศาลสั่งบล็อค 34 URL จาก 131 URL ที่ขีดเส้นตายนั้นให้เฟซบุ๊กไปแล้วเมื่อวานนี้ ส่วนอีก 97 URL ยังไม่ได้ส่งให้
เรื่องน่าแปลกใจคือทำไมกสทช. จึงออกมาขีดเส้นตายล่วงหน้าทั้งที่เอกสารเพิ่งส่งตามไป
ที่มา - VoiceTV
วันนี้เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมาเส้นตายของกสทช. ที่สั่งให้เฟซบุ๊กปิดกั้นเว็บอีก 131 URL จากที่ยอมปิดกั้นตามคำสั่งไปแล้ว 178 URL กสทช. ไม่ได้ระบุโดยตรงว่าจะทำอย่างไรแต่บอกเพียงว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย คำถามที่อยากให้สมาชิกทุกท่านมาแบ่งปันคือคือ หากมีการใช้กฎหมายเพื่อปิดกั้นเฟซบุ๊กไปทั้งหมด จะกระทบแค่ไหน และจะแก้ผลกระทบนั้นอย่างไรกัน ได้เตรียมทางออกไว้หรือไม่
จากกรณี กสทช.กับสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ดำเนินการปิดเว็บไซต์กว่า 6,300 เว็บไซต์ จาก 6,900 เว็บไซต์ตามคำสั่งศาล และยังเหลืออีกกว่า 600 เว็บไซต์ที่ยังดำเนินการไม่ได้เพราะมีการเข้ารหัสไว้
วันนี้มีการแถลงเพิ่มเติมจาก กสทช.ว่า ในส่วนของ Facebook ได้ดำเนินการปิดกั้นไปแล้ว 178 URL ยังเหลืออีก 131 URL โดยทั้งหมดเป็นแฟนเพจล้วน ทาง กสทช. สมาคม ISP หน่วยงานความมั่นคงและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ประชุมร่วมกันมีมติว่า ให้เวลาดำเนินการปิดกั้นถึงวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม เวลา 10.00 น. หากยังเหลือ URL ที่ยังไม่ปิดกั้น ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และจะเชิญ Facebook ประเทศไทยมาพูดคุยให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับคำสั่งศาล
ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ยืนยันว่าจะไม่ดำเนินการให้กระทบต่อการใช้งานของประชาชน แต่ต้องดำเนินการตามหมายศาล เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทย
วันนี้กสทช. ร่วมกับสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) แถลงการสั่งปิดเว็บไซต์กว่า 6,300 เว็บไซต์จากทั้งหมด 6,900 เว็บไซต์ตามคำสั่งศาล โดยรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุว่าส่วนใหญ่เป็นเว็บที่นำเสนอนเนื้อหาไม่เหมาะสม อย่างการพนัน ลามกอนาจาร เว็บพิชชิ่งและเว็บที่มีเนื้อหาด้านความมั่นคง
อย่างไรก็ตามอีกกว่า 600 เว็บไซต์ที่ยังปิดไม่ได้นั้น เนื่องจากถูกเข้ารหัสและมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ โดยทาง ISP ทำหนังสือไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศแล้ว พร้อมยืนยันว่าส่วนใหญ่เข้าและให้ความร่วมมือยกเว้นเฟซบุ๊ก ที่ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร "ทั้งที่ควรให้ความร่วมมือ เพื่อให้กฎหมายไทยศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น"
วันนี้นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์และ นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย ได้ลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยการยกระดับความปลอดภัยในการใช้ บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เป็นพยาน
หลังจากช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นว่า กสทช.กำลังผลักดันหามาตรการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over-The-Top) พร้อมตั้งอนุกรรมการขึ้นมาดูแล วันนี้ทางกสทช. ได้จัดการบรรยายในประเด็นเรื่องการกำกับดูแล OTT นี้โดย พ.อ. ดร. นที ศุกลรัตน์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)
ประธาน กสท. ย้ำว่าการบรรยายนี้ เป็นเพียงการนำเอา "งานวิจัยหรือผลการศึกษาของทีมที่ปรึกษา" มานำเสนอเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดนั้นเกี่ยวกับรูปของสื่อ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาและโมเดลการหารายได้ที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก จากการแพร่หลายของอินเทอร์เน็ต รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปดูวิดีโอออนดีมานด์รูปแบบต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น
จากกรณี Huawei P10/P10 Plus ทาง กสทช. โดยนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยว่าตัวแทนของ Huawei ประเทศไทยได้เข้ามาชี้แจงกับ กสทช. แล้ว โดยมีประเด็นดังนี้
กสทช. ออกประกาศกำหนดให้ผลิต, จำหน่าย, ผู้นำเข้า "กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต" (Internet TV Box) ต้องขออนุญาตนำเข้าตามมาตรา 70 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
ประกาศของกสทช. ระบุชัดว่าไม่ว่ากล่องเหล่านี้จะติดตั้งแอปพลิเคชั่นสำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์อยู่ก่อนแล้วหรือไม่ก็ต้องขออนุญาตทั้งสิ้น โดยยกตัวอย่างอุปกรณ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ Android box, Chromecast, Apple TV
น่าสนใจว่านิยามของกสทช. นั้นแทบจะเป็น "คอมพิวเตอร์" อยู่แล้ว โดยตัวอุปกรณ์ที่นำภาพออกโทรทัศน์และรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ก็น่าจะครอบคลุมคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า กสท. หรือกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กำลังผลักดันหามาตรการกำกับดูแลกิจการ OTT (Over-The-Top) หรือ บริการแพร่ภาพเนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเอง ล่าสุดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. จัดประชุมบอร์ดนัดพิเศษโดยมีวาระเกี่ยวกับการกำกับดูแลการให้บริการ OTT
ที่ประชุมมีมติให้การบริการ OTT ถือเป็นบริการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และมอบหมายให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดำเนินการ กำหนดอายุการทำงานของคณะอนุกรรมการไว้ 1 ปี โดยกฎเกณฑ์การกำกับดูแลยังไม่ปรากฏชัดเจน
วันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาผ่านร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) หรือร่างแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ คะแนน 197-0 งดออกเสียง 2 เสียง
เอสโตเนียเป็นประเทศแรกๆ ที่นำ Blockchain กับบริการดิจิทัลมาบริหารประเทศเต็มตัว บริการภาครัฐทุกอย่างอยู่ในออนไลน์ 99% ธุรกรรมธนาคารอยู่ในระบบบล็อกเชน 99.8% การเลือกตั้ง สั่งจ่ายยาให้คนไข้ก็ทำผ่านออนไลน์แล้วด้วย นอกจากนำระบบมาใช้จนประสบความสำเร็จ เอสโตเนียยังพิสูจน์ให้เห็นว่า Blockchain ยังนำมาใช้บริหารประเทศได้ ไม่ใช่แค่ทำให้ธุรกรรมการเงินง่ายและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ประเทศไทยมีเป้าหมายอยากจะเป็นรัฐบาลดิจิทัลให้ได้ในอนาคต วันนี้ (21 มีนาคม 2017) กสทช.จึงจัดงานสัมมนา Blockchain ศึกษากรณีตัวอย่างจากประเทศเอสโตเนีย โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain จากเอสโตเนียมาเป็นวิทยากร ประกอบด้วย Anna Piperal ผู้อำนวยการโชว์รูม E-Estonia ที่ Enterprise Estonia, Jaan Priisalu อดีตอธิบดีหน่วยงานด้านข้อมูลในเอสโตเนีย และ Martin Ruubel รองประธาน European Cyber Security Organization หรือ ECSO
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยวันจัดประมูลคลื่นความถี่ 850MHz และ 1800MHz ของดีแทคในวันที่ 4 มีนาคมปี 2561 ก่อนที่ใบอนุญาตทั้งสองจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2561
คลื่น 850MHz ที่จะถูกนำมาประมูลมีความกว้างคลื่น 10MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต คลื่น 1800MHz ทั้งหมด 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15MHz และคลื่น 2600 MHz ของอสมท. จำนวน 4 ใบอนุญาติ ใบอนุญาตละ 20MHz
ด้านดีแทคที่คลื่น 1800MHz ที่ความกว้าง 35MHz กำลังจะหมดอายุใบอนุญาตในปี 2561 ระบุต้องการจะประมูลคลื่นกลับมาให้ได้ราว 20-25 MHz พร้อมมีแผนรองรับความเสี่ยง ด้วยการไปจับมือกับ TOT นำคลื่น 2300MHz มาให้บริการ
ปลายปี 2559 คสช.ใช้อำนาจตามมาตร 44 ยืดเวลาจ่ายค่าธรรมเนียมทีวีดิจิทัลและยืดเวลาคืนคลื่นของหน่วยงานรัฐอีก 5 ปี ด้วยเหตุนี้ ภาคประชาชน ผู้เช่าคลื่นวิทยุชุมชน และเครือข่ายนักวิชาการจึงมีฉันทามติร่วมกันว่า คำสั่งดังกล่าว ทำให้การปฏิรูปสื่อ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
กสทช. ประกาศความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำความร่วมมือเปิดช่องทางส่งข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือให้กับสถาบันทางการเงินโดยได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ผู้ให้บริการโทรศัพท์จะขอคำยินยอมจากเจ้าหมายเลขในการส่งความเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปยังสถาบันการเงิน โดยกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะพร้อมในไตรมาสแรกของปีหน้า
ความร่วมมือนอกจากนี้คือการขอคืนเงินค่าบริการหลังเลิกใช้บริการ หลังจากนี้จะเปิดทางคืนเงินเป็น e-wallet หรือโอนทาง PromptPay อีกสองทาง
นอกจากการใช้ ม.44 ระงับการสรรหา กสทช. คนใหม่ วันนี้ คสช. ยังออกคำสั่งอีกฉบับที่อาศัยอำนาจตาม ม.44 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล-หน่วยงานรัฐที่ถือครองคลื่นความถี่ โดยแบ่งเป็นประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
วันนี้ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ระงับกระบวนการคัดเลือกและสรรหาบุคคลมาเป็น กสทช. คนใหม่ แทน กสทช. บางคนที่จะพ้นตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี ส่งผลให้ตอนนี้ กสทช. เหลือเพียง 9 คน โดย คสช. จะให้ กสทช. ที่เหลือทำหน้าที่ต่อไปก่อน
คสช. ให้เหตุผลว่าตอนนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังมีกระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. (ชื่อเต็มๆ คือ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553) จึงรอให้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่บังคับใช้ แล้วค่อยสรรหา กสทช. ชุดใหม่ทีเดียวไปเลย (เว้นแต่ว่า กสทช. ชุดปัจจุบันจะเหลือไม่ถึง 6 คนก่อนที่ พ.ร.บ. ฉบับใหม่จะบังคับใช้)
กสทช. เตรียมเปิดระบบเก็บข้อมูลลายนิ้วมือสำหรับการเปิดซิมใหม่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ โดยเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ใช้บริการ
ทางกสทช. ระบุว่าการเก็บลายนิ้วมือเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเอง โดยเฉพาะการใช้บริการธนาคารออนไลน์ในอนาคต สำหรับตัวฐานข้อมูลของกสทช. จะพัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนา 15 ล้านบาท ส่วนระบบการยืนยันตัวตนของผู้ใช้นั้น ค่ายมือถือจะต้องเป็นผู้พัฒนาด้วยตัวเอง โดยทางกสทช. อาจจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยการลดค่าธรรมเนียมส่วนแบ่งรายได้ลงบางส่วน
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ที่ผ่านมา กสทช.ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต จัดการประชุม NBTC Public Forum เรื่อง "ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใช้มือถือ บริหารอย่างไรให้ปลอดภัย" โดยมีวิทยากรเป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมาย และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ
สำนักงานกสทช. ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต ให้ดำเนินการในช่วงเวลา 30 วัน ดังนี้
ที่มา - @TakornNBTC, จดหมายข่าว