เมื่อเดือนพ.ย. ปี 2009 กูเกิลได้เสนอโพรโตคอล SPDY (อ่านเหมือน speedy) ขึ้นมาเพื่อใช้แทน HTTP โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดความล่าช้าในการส่งข้อมูล ถึงวันนี้ ผ่านไปเพียงปีกว่าๆ กูเกิลได้เริ่มนำ SPDY มาใช้งานจริงแล้ว
Wi-Fi Alliance ร่วมกับบริษัทวิจัย Wakefield Research สำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ Wi-Fi ในสหรัฐจำนวน 1,054 คนระหว่างเดือนธันวาคม 2010 พบผลที่น่าสนใจดังนี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของ Wi-Fi Alliance สรุปว่าผู้ใช้ส่วนมากรับรู้ว่าการเปิด Wi-Fi ให้คนอื่นใช้งานเป็นสิ่งอันตราย แต่ก็ไม่ได้ตั้งค่าความปลอดภัยให้กับ Wi-Fi ของตัวเองมากนัก
ที่ผ่านมาเราเห็นการแฮ็กมือถือเพื่อปรับแต่งค่าต่างๆ ทำกันที่ระดับระบบปฏิบัติการหลัก (อาจรวมถึง bootloader) แต่ในงานประชุมแฮ็กเกอร์ Black Hat Conference นักวิจัยด้านความปลอดภัยเริ่มโชว์การแฮ็กตัว baseband processor (หรือบางคนเรียก radio) ซึ่งเป็นตัวสื่อสารระหว่างมือถือกับเสาสัญญาณ
Ralf-Philipp Weinmann นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลักเซมเบิร์ก ให้สัมภาษณ์ว่าเขาพบบั๊กในหน่วยประมวลผลสัญญาณ GSM ที่ผลิตจาก Qualcomm และ Infineon จึงสามารถแฮ็กเข้าไปที่ตัวมือถือได้ กระบวนการที่เขาใช้คือสร้างเสาสัญญาณหลอกๆ ขึ้นมาให้มือถือเชื่อว่าเป็นเสาจริงก่อน แล้วค่อยยิงโค้ดเข้าไปที่เฟิร์มแวร์
Internet Society ได้ประกาศให้วันที่ 8 มิ.ย. ของปีนี้เป็น "วัน IPv6 โลก" (World IPv6 Day) ซึ่งวันนี้จะเป็น 24 ชั่วโมงแห่งการทดสอบการเปิดให้บริการ IPv6 ในแบบ native งานนี้บรรดายักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google, และ Yahoo ได้ประกาศตัวเข้าร่วมแล้ว เพื่อช่วยรณรงค์ให้ประชาคมชาวอินเทอร์เน็ตทั่วโลกก้าวไปใช้ IPv6 อย่างเต็มรูปแบบกันเสียที
แม้ Wi-Fi จะพัฒนาขึ้นมายาวนาน แต่ในโทรศัพท์ทุกวันนี้เวลาที่เราต้องการส่งไฟล์หรือข้อมูลอื่นๆ ระหว่างกันในโทรศัพท์มือถือก็ยังต้องการ Bluetooth ที่มีมาตรฐานครบถ้วนให้ใช้งานได้มากกว่า เช่นการส่งข้อมูลไฟล์ระหว่างกันโดยตรง แต่ Wi-Fi Direct ก็จะมาช่วยอุดช่องโหว่นี้แล้ว
โดยหลักการแล้ว Wi-Fi Direct จะคล้ายกับการทำเครือข่าย Adhoc แบบเดิมๆ เพราะมีส่วนของ Device Discovery ไว้หาเครื่องรอบๆ โดยไม่ต้องเข้าร่วมเครือข่ายกันเสียก่อน และ Service Discovery ที่ใช้แจ้งว่าเครื่องปลายทางสามารถรับบริการอะไรได้บ้าง
จากที่ผ่านมา 2-3 เดือนนี้จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับ IPv4 ออกมาเป็นระยะๆ ดังเช่น ทำเนียบขาวขีดเส้น หน่วยงานรัฐของอเมริกาต้องใช้ IPv6 ภายในปี 2012 และ จำนวน IPv4 เหลือใช้ได้อีกไม่ถึงปี แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอินเทอร์เน็ตของจริงกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว เพราะ หน่วยงานที่จัดสรรหมายเลขเหล่านี้ได้ออกมาระบุแล้วว่า IPv4 ล็อตสุดท้ายกำลังจะถูกปล่อยในต้นปีหน้า
บริษัทวิจัยเครือข่าย TeleGeography เผยสถิติการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในปี 2010 ว่ามีปริมาณทราฟฟิกรวมโตขึ้นจากปีก่อน 62%
ดูตัวเลขอาจรู้สึกว่ามาก แต่ถ้าเทียบอัตราการเติบโตปีต่อปีถือว่าลดลง เพราะในปี 2009 มีอัตราการเติบโต 74% เทียบจากปีก่อน รายละเอียดอ่านกราฟกันเอง
ส่วนภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดคือยุโรปตะวันออก และเอเชียใต้ ที่โตเกิน 100% ตามด้วยตะวันออกกลางโตประมาณ 100%
ที่มา - Telegeography, GigaOm
การเปลี่ยนผ่านจาก IPv4 มาเป็น IPv6 เป็นกระบวนการที่ล่าช้ากว่าที่ทุกคนคาดมาก แต่ IPv4 ก็หมดลงเรื่อยๆ และเหลืออีกไม่กี่บล็อคเท่านั้น ล่าสุด Vivek Kundra ซึ่งรับบทเป็น CIO ของรัฐบาลโอบามา ได้ประกาศแผนการย้ายสำหรับหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐแล้ว
ตามแผนของ Vivek คือ
มาตรฐาน 802.3 อยู่กับเรามาตั้งแต่รุ่น 1-2Mbps และมาจนวันนี้มันก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะจากเราไปไหนเมื่อกลุ่ม Ethernet Task Force ได้ออกมาตรฐาน IEEE 802.3ba เพื่อเตรียมรองรับความเร็วระดับ 40Gbps และ 100Gbps กันแล้ว
ที่ความเร็วระดับนี้เราต้องการสายไฟเบอร์ออปติกส์เท่านั้นแทนที่จะเป็นสายทองแดงเช่นมาตรฐานความเร็ว 10Gbps ที่ยังใช้งานบนสาย CAT6 ได้ และการใช้งานในตอนนี้ยังคาดว่าจะจำกัดอยู่ในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์และสวิตซ์แกนเท่านั้น
กว่าจะราคาถูกคงอีกนาน แต่เห็นการซ่อมบำรุงสายไฟเบอร์แล้วผมคงถอยก่อน
ที่มา - net-security
ศาลประเทศเยอรมนีได้ตัดสินว่า ประชาชนทั่วไปจะต้องดูแลความปลอดภัยของเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายของตนเอง ป้องกันไม่ให้มีบุคคลที่สามมาใช้งานในการกระทำความผิดกฎหมาย
ในคดีนี้ นักดนตรีคนหนึ่ง ได้ฟ้องผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เจ้าของ WLAN ที่ดาวน์โหลดเพลงและแชร์ไฟล์ให้กับผู้อื่น แต่เจ้าของได้พิสูจน์ว่า ตนเองไม่ได้อยู่บ้านในขณะเกิดเหตุ
ศาลตัดสินว่า เจ้าของเครือข่ายไม่มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุว่า เจ้าของเครือข่ายต้องทำให้เครือข่ายปลอดภัยเพียงพอ โดยอาจโดนโทษปรับไม่เกิน 100 ยูโร (ประมาณ 4000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ทั้งนี้ หน้าที่ความปลอดภัยอย่างเพียงพอดังกล่าว ไม่รวมถึงว่าจะต้องอัปเดตระบบความปลอดภัยตลอดเวลา แต่จะต้องตั้งรหัสผ่านไว้ตอนเริ่มติดตั้งเท่านั้น
คาดกันว่า Android 2.2 "Froyo" จะเปิดตัวในงาน Google I/O สัปดาห์หน้า ช่วงนี้เลยมีข่าวรั่วข่าวหลุดออกมาเป็นระยะ เช่น Flash 10.1 หรือ เร็วขึ้น 450%
TechCrunch รายงานฟีเจอร์เพิ่มเติมของ Android 2.2 ว่ามันสามารถทำ tethering (ต่อเน็ตผ่านมือถือ แล้วส่งไปให้โน้ตบุ๊กใช้เน็ตผ่าน USB) ได้ในตัว ซึ่งเดิมทีต้องติดตั้งโปรแกรมภายนอกเอาเอง
นอกจากนี้ Android 2.2 ยังสามารถแปลงร่างมือถือให้เป็น Wi-Fi Hotspot ได้เช่นกัน ภาพหน้าจอดูได้ตามข่าวครับ
ที่มา - TechCrunch
ยาฮูประกาศแจกเครื่องมือ TCP Traffic Analyzer (หรือ yconalyzer) ซึ่งยาฮูใช้สำหรับวิเคราะห์การเดินทางของแพกเกจเป็นการภายใน ตอนนี้เป็นโครงการโอเพนซอร์สบน SourceForge เรียบร้อยแล้ว
yconalyzer เป็นเครื่องมือแบบคอมมานด์ไลน์ เขียนด้วยภาษา C++ และใช้สัญญาอนุญาตแบบ BSD ครับ
ที่มา - Yahoo! Developer Network
พูดคำว่าโดเมนชั้นสูงสุด (Top-Level Domains - TLD) เราอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงเว็บเราทุกคนคงรู้จัก .com, .net, และ .org กันเป็นอย่างดี ในวันนี้ ICANN ก็ได้ประกาศว่าอีกสามโดเมนชั้นสูงสุด (ดอท) ที่เพิ่มขึ้นมาล่าสุดจะไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ทำให้นี่เป็นครั้งแรกในโลกที่เราจะมีโดเมนที่อาจจะไม่มีตัวอักษรโรมันอยู่เลย
สามโดเมนได้แก่
Blognone นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของ IPv4 มาแล้วหลายครั้ง เป็นที่รู้กันว่าภายในปีนี้หรือปีหน้า ผู้จ่ายไอพีอย่าง ARIN จะไม่มีหมายเลขไอพีให้กับผู้ให้บริการอีกต่อไป และผู้เชี่ยวชาญอย่าง R. Kevin Oberman ก็เริ่มออกมาแสดงความกังวลว่าภาวะเช่นนี้อาจจะสร้างตลาดมืดสำหรับไอพีขึ้นมาได้ ส่งผลให้ราคาไอพีจะพุ่งขึ้นไปไม่หยุดตราบเท่าที่ผู้ซื้อ (ซึ่งมักเป็นธุรกิจที่ต้องการใช้ IPv4) จะยินดีจ่าย
Oberman เชื่อว่าตลาดมืดสำหรับไอพีนั้นเริ่มก่อตัวแล้วในทุกวันนี้ แต่ราคายังไม่สูงนักเนื่องจาก ARIN ยังมีไอพีป้อนตลาดอยู่เรื่อยๆ
เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ ได้รายงานปัญหาเกี่ยวกับระบบอินเทอร์เน็ตภายในกระทรวงไอซีที ที่ศูนย์ราชการ ถ. แจ้งวัฒนะ ว่ามีปัญหาล่มบ่อย และต่อ Wi-Fi ยาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการทำงานของบุคคลากรเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้กระทรวงไอซีทียังมีปัญหากับ TOT ผู้วางเครือข่าย เพราะระบบแรกเริ่มของ TOT เป็น IP Phone ที่จำกัดให้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ 1 เครื่องและโทรศัพท์ 1 เครื่องเท่านั้น ภายหลังกระทรวงไอซีทีมีบุคคลากรเพิ่มขึ้น ต้องใช้วิธีต่อพ่วงผ่านฮับ ทำให้ TOT ส่งหนังสือเรียกเก็บเงินเพิ่มในจุดที่ต่อพ่วงเข้ามา แต่กระทรวงไอซีทีไม่มีงบประมาณในจุดนี้ และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับ TOT
หลังจาก Cisco ซื้อบริษัท Pure Digital ผู้ผลิตกล้องวิดีโอพกพา Flip ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องใช้ง่าย เวลาผ่านมาหนึ่งปี เราเริ่มเห็นผลงานของทีม Flip เมื่อยามต้องอยู่ใต้ยักษ์ใหญ่อย่าง Cisco แล้ว
ทีมงาน Flip นำความถนัดเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ใช้ง่าย มาผสมกับความเข้มแข็งของ Cisco ในตลาดอุปกรณ์เครือข่าย ออกมาเป็น Valet เราเตอร์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน ที่มีจุดขายคือตัดปัญหาการเซ็ตระบบเครือข่ายออกไป
Cisco เปิดตัวเราเตอร์ตัวท็อปรุ่นใหม่ CRS-3 ในตระกูล Carrier Routing System (CRS) ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 322 Terabit ต่อวินาที
เจ้า CRS-3 ตัวนี้เร็วกว่าเราเตอร์ตัวท็อปของ Cisco รุ่นก่อนหน้าคือ CRS-1 ถึง 3 เท่าตัว และ Cisco บอกว่ามันเร็วกว่าเราเตอร์คู่แข่งถึง 12 เท่า Cisco เปรียบเปรยความเร็วของมันว่า สามารถดาวน์โหลดหนังสือทั้งหมดจากห้องสมุดของสภาคองเกรสสหรัฐได้ภายใน 1 วินาที, รองรับให้คนจีนทั้งหมดคุย video call พร้อมกันได้ และส่งข้อมูลภาพยนตร์ทั้งหมดที่เคยสร้างขึ้นมาภายใน 4 นาที
Cisco โฆษณาว่า CRS-3 ออกแบบมารองรับอินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และช่วย ISP ลดค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟ และการบำรุงรักษาได้มาก
เนื่องจาก IPv4 ที่กำลังจะหมดโลกแต่ทางด้าน IPv6 ที่ผู้ให้บริการลงทุนกันแพงๆ นั้นกลับดูเหมือนว่าจะไม่มีใครใช้ กูเกิลก็เปิดให้บริการ YouTube ผ่านทาง IPv6 อย่างเงียบๆ แล้ว
ก่อนหน้านี้บริการหลักๆ อื่นๆ ของกูเกิลนั้นล้วนรองรับ IPv6 ไปก่อนแล้ว YouTube นั้นเป็นเพียงน้องเล็กที่ตามหลัง แต่เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่วิ่งผ่าน YouTube นั้นมหาศาลทำให้การใช้งาน IPv6 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากเปิดให้บริการ
อาจจะได้เวลากลับไปอ่านหนังสือเน็ตเวิร์คอีกครั้งแล้วสินะ
ที่มา - Networked World
ถ้าคุณเป็นวิศวกรเครือข่ายที่เบื่ออากาศร้อนเมืองไทย โดยเฉพาะวันที่แอร์ในศูนย์ข้อมูลเสีย ตอนนี้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังรับสมัครวิศวกรเครือข่ายเพื่อดูแลการสื่อสารให้กับทีมงานวิจัยที่ขั้วโลกใต้ โดยต้องดูแลอุปกรณ์ทุกอย่างตั้งแต่วิทยุ HF, VHF ไปจนถึงโทรศัพท์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการที่รับสมัครได้แก่
John Chambers ซีอีโอของ Cisco บริษัทด้านเครือข่ายอันดับหนึ่งของโลก ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า "ผมไม่สนใจทำสมาร์ทโฟน"
อย่างไรก็ตาม Chambers เสริมว่า Cisco รักทุกคนที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย และสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เหล่านั้น แนวทางของ Cisco อยากเป็นพันธมิตรกับ RIM, Apple และ Palm ในการวางระบบเครือข่ายที่เติบโตขึ้นตามสมาร์ทโฟนมากกว่า
การซื้อกล้องวิดีโอ Flip ทำให้ Cisco รุกเข้าตลาดผู้ใช้ตามบ้าน และนักวิเคราะห์มองว่าตลาดกล้องวิดีโอพกพาเริ่มจะซ้อนทับกับสมาร์ทโฟนแล้ว (ข่าวเก่า เปรียบคุณภาพวิดีโอ iPod nano vs Flip SD)
ไม่ได้เจ๊ง แต่ HP ก็ประกาศเข้าซื้อกิจการ 3Com ไปแล้วด้วยมูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์
การซื้อฟ้าผ่าครั้งนี้ทำให้ HP มีกิจการอุปกรณ์เครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก เพิ่มความเป็นคู่แข่งกับซิสโก้ที่มีแนวทางชัดเจนจะบุกตลาดเซิร์ฟเวอร์
การเข้าไปถือครอง 3Com จะทำให้ HP มีสิทธิในบริษัท H3C บริษัทลูกของ 3Com ที่ก่อตั้งจากการร่วมกันระหว่าง 3Com และ Huawei (ตัว Huawei ถอนตัวไปในภายหลัง) ขณะที่ HP เองมีสินค้าในตระกูล Procurve เป็นสายผลิตด้านเครือข่ายของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว
ความล่าช้าในการขนส่งข้อมูลขนาดใหญ่ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนหนึ่งไม่อยากฝากระบบไอทีไว้กับ cloud computing ซึ่งสาเหตุหนึ่งของปัญหานี้เกิดจากกระบวนการที่ฟุ่มเฟือยของโปรโตคอล TCP และเพื่อจัดการกับปัญหานี้ บริษัท Aspera จึงได้พัฒนาโปรโตคอลชื่อ Fast and Secure Protocol หรือมีชื่อย่อว่า FASP เพื่อตัดขั้นตอนบางขั้นตอนของ TCP ออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลจากแหล่งข่าวได้ยกตัวอย่างการขนส่งข้อมูลข้ามสหรัฐอเมริกาผ่านแบนด์วิธขนาด 100 Mbps ว่า ถ้าหากใช้โปรโตคอล TCP แล้ว ความเร็วที่ได้จริงอ
เมื่อปลายปีที่แล้วมีการแถลงข่าวว่า WPA นั้นสามารถถูกแฮกได้ในเวลาประมาณ 15 นาที แต่ในเดือนนี้ทีมงานวิจัยจากญี่ปุ่นตีพิมพ์งานวิจัยระบุว่าพวกเขาสามารถเจาะ WPA ได้ภายในเวลานาทีเดียวเท่านั้น
งานวิจัยนี้อาศัยเทคนิคเดิมเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่เพิ่มการส่งต่อข้อมูลแบบ man-in-the-middle เข้าไป แทนที่จะเป็นการกระตุ้นการทำงานในบางรูปแบบผ่านทางการทำ QoS ของมาตรฐาน 802.11e เช่นเทคนิคเดิม
สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นคงจะคุ้นเคยกับชื่อของ KDDI ผู้เป็นเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบรนด์ au เป็นอย่างดี ล่าสุดมีรายงานว่า KDDI ร่วมกับสถาบันวิจัยข้อมูลและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น (NICT) กำลังพัฒนาใยแก้วนำแสงที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วที่สุดในโลก คือสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 30Tbps (1Tbps = 1,000,000,000,000 bps) เทียบเป็นดีวีดีภาพยนตร์ที่มีความยาว 2 ชั่วโมง ได้ถึง 720 เรื่อง ซึ่งจะมีความเร็วกว่าใยแก้วนำแสงที่ใช้กันในปัจจุบันถึง 9 เท่า (ปัจจุบันใยแก้วนำแสงมีความเร็วสูงสุดที่ 3.2Tbps)
เมื่อต้นปี บริษัท Nortel ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของแคนาดาประสบปัญหาการเงินจนต้องประกาศล้มละลาย จากนั้นเดือนมิถุนายน Nokia Siemens Networks เสนอซื้อฝ่ายไร้สายของ Nortel เป็นมูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ เรื่องก็เหมือนจะจบแค่นั้น