หลังจากเริ่มมีการรับรองมาตรฐาน 802.11n กันไปแล้ว ตอนนี้เครือข่ายไร้สายความเร็วสูงก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นตามลำดีบ ล่าสุดทางมหาวิทยาลัย Duke ก็ร่วมมือกับทางซิสโก้ติดตั้งเครือข่าย 802.11n ทั่วมหาวิทยาลัยแล้ว
การติดตั้งครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่ให้บริการเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงทั้งหมดหกล้านตารางฟุต โดยใช้แอกเซสพอยต์ของทางซิสโก้ทั้งหมด 2,500 ชุด และการติดตั้งเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงนี้ทำให้บุคคลากรและนิสิตกว่า 45,000 คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการแบนวิดท์สูงเช่นวีดีโอและเสียงได้อย่างเต็มที่
บ้านเรามีที่ไหนเริ่มติดตั้งกันแล้วบ้างรึเปล่า....
ที่มา - Yahoo! Biz (Press Release)
การเปลี่ยนไปใช้งาน IPv6 ทั่วโลกยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้ากว่าที่หลายๆ คนคาดการณ์เอาไว้ แต่ความก้าวหน้าก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ ล่าสุดทาง ICANN ก็ออกมาประกาศเตรียมการเพิ่มเรคอร์ด AAAA ซึ่งเป็นช่องระบุ IPv6 สำหรับชื่อโดเมนที่ส่งค่าค้นหาเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ DNS
ข่าวนี้คงไม่มีผลอะไรกับการใช้งานตามบ้านมากนัก แต่ถ้าใครทำงาน ISP อยู่ คงได้เวลาตรวจสอบทั้ง ไฟร์วอล, เราท์เตอร์, และซอฟต์แวร์ DNS กันทั้งชุด
อย่ารอให้คนเริ่มเข้าเว็บไม่ได้แล้วค่อยอัพเกรดกันนะครับ
ที่มา - ArsTechnica
ถัดจากเครือข่ายระยะใกล้ๆ แบบ Bluetooth ที่เรียกกันว่า Personal Area Network (PAN) แล้ว ตอนนี้ทาง IEEE ก็ได้จัดตั้งกลุ่มทำงานใหม่เพื่อร่างมาตรฐานในเครือข่ายที่ใกล้ตัวยิ่งขึ้น อยู่ในระดับบุคคล เรียกว่า Body Area Network (BAN)
การใช้งานเครือข่ายระยะสั้นเช่นนี้จะสร้างแนวทางใหม่ๆ เช่นการตรวจการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ให้แจ้งสถานะเครื่องไปยังนาฬิกาข้อมือ เป็นต้น หรือการแลกเปลี่ยนนามบัตรอิเลกทรอนิกส์ในระยะสั้นๆ
อ่านไปอ่านแล้วดูเหมือน Bluetooth ยุคแรกๆ ไปแล้ว แต่ขณะนี้ทาง Bluetooth ก็มุ่งไปพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความเร็วและระยะทางกันเสียมาก
ช่วงหลายปีให้หลังมานี้ลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่างเงียบๆ ตัวหนึ่งก็คือ OpenWRT ที่มีการใช้งานกันในเราท์เตอร์ราคาถูกตามบ้านจำนวนมาก แต่การใช้งาน OpenWRT ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เนื่องจากจะส่งผลให้หมดประกันทันทีหลังการติดตั้ง และขั้นตอนการติดตั้งก็เป็นการลองผิดลองถูกกันเอง
FON เป็น Wi-Fi community ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกประมาณ 530,000 ราย หลักการของ FON คือ สมาชิกเปิด share wireless Internet access ที่บ้านตัวเอง จากนั้นสามารถเข้า Internet ผ่าน Fonero's Access Point ได้ทุกที่ทั่วโลก
Idea มาจากแนวคิดง่ายๆ ที่ว่าทำไมเราต้องจ่ายค่าบริการ Wi-Fi Hotspot อีกในกรณีต้องการเข้า Internet ในขณะอยู่นอกบ้าน ในเมื่อเราก็จ่ายค่าบริการ broadband Internet ที่บ้านอยู่แล้ว concept ของ FON เกิดขึ้นเพื่อสร้าง Wi-Fi community จากผู้ใช้ Internet broadband ทั่วไป ผลที่ได้คือทุกคนได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการที่นำ Internet connection ที่มีอยู่แล้วมา share กัน
เมื่อวานนี้ ITU ซึ่งหน่วยงานกำหนดมาตรฐานการสื่อสารภายใต้สหประชาชาติได้มีมติยอมรับ WiMAX เข้าเป็นหนึ่งในมาตรฐาน IMT-2000 หรือมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G แล้ว ท่ามกลางความยินดีของผู้ผลิตหลายรายเช่น อินเทล, ซัมซุง, โมโตโรลา, และโนเกีย ที่ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและผลักกันเทคโนโลยีนี้ให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อย่างไรก็ดีบางประเทศสมาชิกยังคงไม่เห็นด้วยกับการยอมรับดังกล่าว เช่น จีนนั้นต้องการผลักกันเทคโนโลยีของตนเป็นหลัก
หลังจากที่มีการพัฒนาการนำสัญญาณ Wi-Fi เข้ามาให้แทนที่สายแลน
มากขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ผู้ใช้กำลังกังวลใจอยู่คือเรื่องความปลอดภัยของสัญญาณว่าจะส่งผลกระทบต่อสุภาพร่างกายมาน้อยเพียงใด ทำให้องค์กร Heath Protection Agency (HPA)
ในประเทศอังกฤษเข้ามาศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ถึงแม้ว่าจากการศึกษาและการวิจัยในปัจจุบันยังไม่พบผลกระทบทางสุขภาพของการใช้
Wi-Fi และสัญญาณโทรศัพท์ แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางได้มีรายงานเกี่ยวกับสัญญาณความถี่คลื่น ที่ส่งผลให้การไหลเวียนของโปรตีนในร่างกายทำงานผิดปรกติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้การผลการตรวจวัดเกี่ยวปัญหาทางสุขภาพไม่ถูกต้องเท่าที่ควร
ไม่ใช่คะแนนบอล แต่คอเน็ตเวิร์คคงรู้กันว่าเน็ตเวิร์คที่ดีนั้น เราต้องการความน่าเชื่อถือในระดับร้อยละ 99.999 (อ่านทับศัพท์ว่า ไฟฟ์ไนท) โดยในหนึ่งปีระบบที่มีความน่าเชื่อถือในระดับนี้จะล่มได้ไม่เกินห้านาทีต่อปีเท่านั้น เรียกว่าบูตเครื่องได้ทีเดียวก็หมดแล้ว
งานนี้ทางเว็บ pingdom ได้แถลงผลการทดสอบความน่าเชื่อถือของบริการกูเกิลในประเทศต่างๆ พบว่าบริการในประเทศบราซิลนั้นมีความน่าเชื่อถือสูงในระดับที่ว่านี้โดยมีเวลาที่ระบบล่มไปเพียงสามนาทีเท่านั้น
สำหรับกูเกิลประเทศไทยนั้นอยู่อันดับสี่ มีเวลาที่ล่มไปรวมเป็น 13 นาที ส่วนดอทคอมที่เป็นเว็บหลักนั้นใช้ล่มรวมทั้งปีอยู่ที่ 31 นาที
หลังจาก Cisco เข้าซื้อ Linksys ไปเมื่อปี 2003 และยังคงทำตลาดด้วยแบรนด์เดิมมาตลอด แต่แล้วล่าสุดผู้บริหารก็ออกมาประกาศยกเลิกการใช้งานแบรนด์ดังกล่าว และจะเริ่มทำตลาดทั้งหมดด้วยชื่อ Cisco แทน
เหตุผลที่แบรนด์ Linksys ยังคงอยู่หลังจากเข้าซื้อกิจการนั้นก็เป็นเพราะชื่อของ Linksys เป็นที่คุ้นเคยต่อกลุ่มผู้ใช้ในสหรัฐฯ มากกว่า แต่เหตุผลนั้้นจะไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เมื่อตลาดของ Cisco กว้างขึ้นเป็นระดับสากล
จุดประสงค์หลักๆ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ การให้ตัวแทนจำหน่าย Linksys เดิม สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Cisco ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังต้องการเข้าไปจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ถึงขั้นสร้างแผนกใหม่ เพื่อรับผิดชอบด้านนี้โดยตรงเลยทีเดียว
แม้ว่าสายไฟเบอร์ออปติกส์จะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีข้อดีเหนือสายทองแดงหลายๆ อย่าง แต่ทุกวันนี้มันก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนักโดยเฉพาะในบ้านและสำนักงานขนาดเล็ก เนื่องจากค่าติดตั้งที่แพงมาก เพราะสายไฟเบอร์นั้นทนต่อความโค้งงอได้ไม่ดี ทำให้มันต้องการการติดตั้งอย่างระมัดระวังไม่ให้สายโค้งเกินมาตรฐาน และการเดินสายระยะทางไกลๆ ก็อาจจะต้องการรางเฉพาะเพื่อให้สายทำงานได้
กลุ่มนักวิจัยของ Georgia Electronic Design Center (GEDC) ใน Georgia Tech ได้แสดงตัวอย่างการวิจัยในการปล่อยข้อมูลผ่าน Wi-Fi ด้วยความเร็วที่คงที่ถึง 15Gbps ณ ระยะ 1 เมตร ถึงแม้จะอยู่ในการวิจัยช่วงเริ่มต้น สัญญาณอาจจะมีตกเล็กน้อยเมื่อมีการเพิ่มระยะทางเพียงนิดเดียว (10Gbps ณ ระยะ 2 เมตรและ 5Gbps ณ ระยะ 5 เมตร)
นักวิจัยยังกล่าวว่าสามารถส่งหนังดีวีดีเรื่อง Beaches ไปยังมือถือภายในเวลา 5 นาที อย่างไรก็ตามสัญญาณนี้ใช้ความถี่สูงที่ 60GHz ซึ่งไม่สามารถส่งผ่านร่างกายมนุษย์ได้ ตอนนี้ระบบนี้ถูกตั้งชื่อเป็น 802.15.3C ซึ่งอาจจะถูกใช้่ในการรับส่งถ่ายเนตเวิร์กส่วนตัว
ล่าสุดมหาวิทยาลัย Duke ของประเทศสหรัฐกำลังปวดหัวกับเจ้า iPhone ไม่กี่เครื่องที่ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กไร้สายของมหาวิทยาลัยล่มเป็นครั้งเป็นคราว
จากการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยพบว่าอแดปเตอร์ 802.11b/g ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ iPhone ของแอปเปิลได้ทำการ "ฟลัด" ระบบ WLAN ด้วยการรัวขอ Mac address จาก Access Point ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ทำให้ Access Point กว่า 30 จุดไม่สามารถใช้งานได้ชั่วขณะ
ทางหน่วยงานไอทีของมหาวิทยาลัยได้ทำการติดต่อ Cisco ผู้วางระบบ WLAN ของมหาวิทยาลัยว่าจะต้องรับมืออย่างไรในอนาคต อีกทั้งยังพยายามติดต่อกับแอปเปิลเพื่อที่จะแก้ปัญหานี้ก่อนช่วงเวลาเปิดเทอม
ความเร็วของบรอดแบนด์ที่เข้าไปยังบ้านเรือนทั้งหลายกำลังเร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยปีที่แล้วในญี่ปุ่นก็มีการเปิดตัวบริการบรอดแบนด์แบบไฟเบอร์ออปติกส์ กันไปด้วยความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาทีกันไปแล้ว ในตอนนี้ดูเหมือนว่าความเร็จจะไม่ได้หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น เมือนักวิจัยชาวสวีเดนได้ทดสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วถึง 40 กิกะบิตต่อวินาทีเข้าไปยังบ้านของแม่นักวิจัยผู้หนึ่ง
การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบการเข้าสัญญาณแบบใหม่ที่ทำความเร็วสูงได้ระยะทางกว่า 2000 กิโลเมตรโดยไม่ต้องมีการทวนสัญญาณแต่อย่างใด โดยงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Cisco นั่นเอง
อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบันนี้ Wireless Lan ที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายในไทยนั้น คือมาตรฐาน 802.11b/g ซึ่งใช้ความถี่ในย่าน 2.4GHz แต่เนื่องจากความถี่ย่านนี้ เป็น unlicensed ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต จึงทำให้มีอุปกรณ์หลายตัวที่แย่งกันใช้ความถี่ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น Wireless Lan, Bluetooth, Cordless Phone หรือแม้กระทั่ง เตาอบไมโครเวฟ ทำให้อาจเกิดการรบกวนซึ่งกันและกันได้
อย่างไรก็ตามย่านความถี่ที่ไม่ต้องขออนุญาตนี้ยังมีอีกหลายช่วงที่กำหนดโดย ITU-R แต่เนื่องจากกฏหมายในแต่ละประเทศไม่จำเป็นต้องสงวนคลื่นไว้ตามที่ ITU-R กำหนดไว้ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ ทำไม ประเทศไทยถึงใช้ 802.11a ไม่ได้
หลังการเปิดตัวมาตรฐานและห้องแลปตรวจสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์คในมาตรฐาน 802.11n ไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา(ข่าวเก่า) เพียงเวลาสี่วัน D-Link ก็เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ได้รับรองมาตรฐานนี้ไปแล้วกับอุปกรณ์สองชิ้นคือ D-Link Xtreme N Router (DIR-655) และ Xtreme N Notebook Adapter (DWA-652)
งานนี้ D-Link ก็ออกมามาให้ข่าวตามธรรมเนียมว่าภูมิใจเป็นอย่างมากที่เป็นผู้ค้ารายแรกที่ได้รับมาตรฐานนี้ โดยบริษัทได้ลงทุนในสินค้าเพื่อพัฒนาความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัย และความเข้ากันได้กับผู้ขายรายอื่นๆ เรื่อยมา
ภายในวันเดียวกับการออกมาตรฐาน IEEE 802.11n draft 2.0 ทาง Wi-Fi Alliance ก็ประกาศรับทดสอบอุปกรณ์เพื่อรับรองความเข้ากันได้ของอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้มาตรฐาน 802.11n ทันที
การทดสอบที่อุปกรณ์ 802.11n จะต้องผ่านเพื่อได้ตรารับรองนั้นมีตั้งแต่ความเข้ากันได้ข้ามสายการผลิตจากผู้ผลิตรายอื่นๆ, ความเข้ากันได้ย้อนหลังไปยังอุปกรณ์ a/b/g ที่มีอยู่ทั่วไปในตลาด, ความเข้ากันได้กับมาตรฐาน WPA2, และการรองรับมาตรฐาน WMM® (Wi-Fi Mutlimedia) ซึ่งเป็นมาตรฐาน QoS อันหนึ่ง
ทาง Wi-Fi Alliance เปิดห้องทดสอบจำนวน 8 จุดทั่วโลกเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมโดยไปอยู่ในใต้หวันสามห้องแลป, ญี่ปุ่นสองแห่ง, อเมริกาสองแห่ง, และยุโรปที่ประเทศสเปนอีกหนึ่งแห่ง
เมื่อปีที่แล้วซันเปิดตัวโครงการ Blackbox ขึ้นมาโดยเป็นการยัดเอาเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเข้าไปไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ตู้เดียวแน่นๆ ให้ขนย้ายกันง่ายๆ และติดตั้งได้เร็วกว่าปรกติ พร้อมพลังประมวลผลมหาศาล (ซันอ้างว่าติด 1 ใน 200 เครื่องที่เร็วที่สุดในโลก) หลังจากดูรูปกันให้น้ำลายไหลเล่นมานาน ทางซันก็เริ่มส่งมอบเครื่องทดลองให้กับ Stanford Linear Accelerator Center (SLAC) เป็นที่แรกแล้ว โดยจะนำไปติดตั้งไว้ที่ตึก 50 ของทาง SLAC ซึ่งเป็นตึกบริการคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะเต็มจนไม่สามารถติดตั้งคอมพิวเตอร์เพิ่มได้ งานนี้ Blackbox ของซันเลยลงตัว เพราะเอามาวางหลังตึกแล้วต่อสายไฟฟ้ากับการสื่อสารก็ใช้งานได้ทันที
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของญี่ปุ่นภาคตะวันออกเกิดปัญหาใช้งานไม่ได้กว่า 7 ชั่วโมง ทางบริษัท NTT East เจ้าของเครือข่ายรายงานว่ามีผู้ใช้ที่เจอปัญหานี้ถึง 2.85 ล้านคน
จากการหาสาเหตุของ NTT East พบว่าเราเตอร์ของ Cisco จำนวนระหว่าง 2,000-4,000 ตัวเป็นต้นตอของปัญหานี้ โดยเราเตอร์พยายามจะเขียน routing table ใหม่แต่ไม่สำเร็จ ทำให้มันหยุดการทำงานไป ทาง Cisco ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ว่าเราเตอร์ที่เกิดปัญหาเป็นเราเตอร์รุ่นไหน บอกแค่ว่าได้ร่วมมือกับ NTT East ในการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด
Comcast ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีและอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของสหรัฐ ได้เปิดตัวเคเบิลโมเด็มที่มีอัตราส่งข้อมูล (ดาวน์โหลด) 150 Mbps ซึ่งเยอะกว่าเคเบิลโมเด็มในปัจจุบัน 25 เท่า! บ้านเราไม่มีเคเบิลโมเด็ม ลองเทียบกับมาตรฐาน ADSL2+ ซึ่งมีอัตราส่งข้อมูลสูงสุด 24 Mbps ดูก็น่าจะพอเห็นภาพ
เทคโนโลยีที่ใช้มีชื่อว่า DOCSIS 3.0 ซึ่งโมเด็มแบบใหม่มีราคาไม่ต่างจากแบบเดิมมากนัก ทาง Comcast ให้ความเห็นว่าน่าจะใช้ได้จริงภายในสองสามปีนี้
ที่มา - Rocky Mountain News
เราๆ ท่านๆ คงรู้กันดีว่าบุหรี่นั้นมีโทษมากมาย แต่โทษล่าสุดนี่อาจจะเข้าใกล้ผู้อ่าน Blognone อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อมันเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ในเมืองบอสตัน ทำความเสียหายให้รถไฟสาย Red Line ต้องหยุดลง พร้อมกันสาย OC-192 ที่เป็นหนึ่งในแกนหลักของ Internet2 ที่อยู่ในขั้นทดลองในทุกวันนี้
การซ่อมแซมลิงก์ดังกล่าวใช้เวลามากกว่า 48 ชั่วโมง โดยคาดว่าเป็นการสับเปลี่ยนไปใช้ลิงก์สำรองในทางอื่นๆ แทน
ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของ Internet2 ได้สร้างความสำเร็จในการส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 9.08 กิกะบิตต่อวินาทีมาแล้ว
บ้านเราเน็ตล่มสองวันอาจจะเป็นเรื่องที่ชินชาไปซะแล้ว....
ที่มา - The Register
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแถวไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้ระบบสื่อสารเสียหาย บริษัทด้านโทรคมนาคมละแวกนี้ 17 ราย จึงร่วมมือกันวางเคเบิลใต้น้ำใหม่เชื่อมตรงจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังสหรัฐอเมริกา ไม่ต้องผ่านไต้หวัน ญี่ปุ่นอีกต่อไป ทำให้อัตราเสี่ยงลดลง และแบนด์วิธเพิ่มสูงมากขึ้น
เคเบิลนี้ยาว 12,428 ไมล๋ มีมูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะพร้อมใช้งานในเดือนธันวาคม 2008 บริษัทไทยที่ร่วมมือในโครงการนี้คือ CAT Telecom (ในแหล่งข่าวเขียนผิดเป็น Telekom) ส่วนบริษัทที่ได้งานวางสายไปคือ Alcatel-Lucent และ NEC
ที่มา - Business Week
นักวิทยาศาสตร์จาก NASA (National Aeronautics and Space Administration) ได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2012 จะเป็นปีที่อาจจะมีการณ์เกิดพายุสุริยะ ทั้งนี้เพราะมีการเกิด sunspots และ flares คล้ายกับที่เกิดขึ้นเมื่อยุคปี 50 (ช่วงปี1950-1959) แต่ในยุคนั้นยังไม่มีมือถือหรือเครือข่ายไร้สาย, รายวิทยุหรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เป็นต้น จึงยังไม่รู้สึกว่ามีผลกระทบต่อโลกมากนัก เราได้เริ่มพบเห็นการหยุดชะงักที่เป็นปัญหาอย่างมากในระบบเครือข่ายการสื่อสาร จึงทำให้เราไม่รู้สึกตกใจเพราะมันอาจจะทำให้เริ่มมีผลกระทบไปจนถึงปี 2012 ถ้ามองในแง่ดี เนื่องจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราสามารถเห็นลำแสงเป็นแถบสวยงามในเวลากลางคืนจนทำให้คุณเพลิดเพลินจนคุณลืมนึกถึงคนอื่นไปได้
Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica
IEEE ได้เตรียมการออกมาตรฐานล่าสุดในสาย 802.16 ด้วยมาตรฐาน 802.16m ที่คาดว่าน่าจะออกมาได้ในปี 2009 ที่น่าสนใจมากคือมาตรฐานใหม่นี้จะรองรับความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 กิกะบิตต่อวินาที โดยที่ยังคงทำงานร่วมกับมาตรฐาน 802.16 ที่เริ่มมีการใช้งานในทุกวันนี้ได้
ด้วยความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาที เราคงได้เห็นบริการออนไลน์แบบรวมศูนย์กันอย่างจริงจังไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายไอพี บริการเสียง ตลอดจนบริการอื่นๆ โดยที่ทั้งหมดนี้อยู่บนการสื่อสารไร้สายทั้งหมด
บ้านเราตอนนี้ยังไม่มีข่าวว่ามีการอนุมัติการให้บริการ WiMAX แต่อย่างใด แต่ถ้ามีใบอนุญาตออกมาเมื่อใหร่ เราคงได้เห็นเครือข่ายที่ออกมาบริการแข่งกับมือถือกันสนุกสนาน
เมื่อคืนวานที่ผ่านมา DNS Root Server ซึ่งอาจถือในได้ว่าเป็นศูนย์กลางของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ถูกโจมตีด้วยการเข้าใช้งานอย่างหนัก ทำให้เซิร์ฟเวอร์บางตัวไม่สามารถตอบการ Query จากเครื่องทั่วโลก การโจมตีนี้เกิดขึ้นนานถึง 12 ชั่วโมง และนับเป็นการโจมตีที่หนักที่สุดนับแต่ปี 2002
ปัจจุบันนี้ระบบ DNS ทั้งลูกมีศูนย์กลางอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์จำนวน 13 ชุดโดยมีชื่อเรียกเป็นตัวอักษรตั้งแต่ A ถึง M จากการโจมตีเมื่อคืนที่ผ่านมานี้ทำให้เครื่อง G และ L ที่ดูเหมือนจะถูกโจมตีหนักที่สุด ไม่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง นอกจากนี้เครื่อง M และ F ก็ถูกโจมตีในแบบเดียวกัน แต่สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว