ZTE ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนตั้งเป้าพัฒนาโซลูชัน "Big Video 4K+" ซึ่งประกอบไปด้วยสมาร์ทดีไวซ์ ที่รองรับวิดีโอความละเอียดสูงและ VR, เน็ตเวิร์คโซลูชัน ที่มีแบนด์วิดท์สูงและมี latency ต่ำสำหรับการสตรีมวิดีโอ และระบบประเมินและวิเคราะห์ประสบการณ์ใช้งานของซึ่งอิงข้อมูลจาก big data
โซลูชัน Big Video จะทำงานอยู่บนเครือข่าย Pre5G ที่ ZTE กำลังพัฒนา โดยขณะนี้บริษัทได้จับมือกับ China Mobile, China Unicom และ China Telecom ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และ ecosystem อยู่ด้วย
HPE โชว์เทคโนโลยีส่งข้อมูลด้วยแสงในงาน HPE Discover 2016 เมื่อต้นเดือนนี้ อุปกรณ์ต้นแบบใช้ชื่อว่า X1 เป็นชิปสำหรับเสียบลงเมนบอร์ด สามารถส่งข้อมูลได้สูงถึง 1.2Tbps (Thunderbolt 3 ในปัจจุบันทำได้ 40Gbps)
อุปกรณ์ตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ สามารถส่งข้อมูลได้ไกล 30-50 เมตร นอกจากนี้ HP ยังมีเทคโนโลยีส่งข้อมูลด้วยแสงตัวอื่น ที่ส่งได้ไกลถึง 50 กิโลเมตร โดยลดอัตราการส่งข้อมูลลงมาเหลือ 200Gbps
เป้าหมายหลักของ HPE คือนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีปัญหาคอขวดในการส่งข้อมูล ในอนาคตเราอาจเห็นระบบเซิร์ฟเวอร์ที่แยกกันระหว่างซีพียู หน่วยความจำ สตอเรจ โดยมีเทคโนโลยีส่งข้อมูลด้วยแสงเป็นตัวเชื่อม
IDC ออกรายงานส่วนแบ่งตลาดสวิตช์ (สำหรับ Ethernet หรือ Layer 2/3) และเราเตอร์สำหรับองค์กรและผู้ให้บริการ (service provider) ในไตรมาสแรกของปี 2016 สภาพตลาดสวิตช์รวมโตขึ้น 1.4% และเราเตอร์โตขึ้น 3.3% จากปีที่แล้ว
เจ้าตลาดสวิตช์ยังเป็น Cisco ที่นำห่างด้วยส่วนแบ่งตลาด 59% (ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย) ตามด้วย HPE ครองส่วนแบ่ง 9.7%, อันดับที่เหลือคือ Arista, Huawei, Juniper ตามลำดับ ถ้านับเฉพาะตลาดสวิตช์แบบ 10Gb ผู้นำตลาดคือ Cisco ส่วนแบ่ง 55.7%
สำหรับตลาดเราเตอร์ Cisco ก็ยังเป็นเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่ง 48.8% ครับ
ในยุคที่บริษัทอินเทอร์เน็ตหันมาออกแบบฮาร์ดแวร์ในศูนย์ข้อมูลกันเอง เราเห็นข่าวกูเกิล-เฟซบุ๊กทำอะไรแบบนี้กันอยู่บ่อยๆ บริษัทอย่าง LinkedIn ก็มีโครงการแบบเดียวกัน โดยเปิดตัวสวิตช์รุ่นแรกของตัวเองที่เรียกว่า "Pigeon"
โครงการของ LinkedIn มีชื่อว่า Project Falco มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหา latency ภายในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ทีมวิศวกรพบว่าปัญหา latency เกิดจากอาการ "microbust" หรือบัฟเฟอร์แพ็คเก็ตมีข้อมูลเยอะจนล้น แต่ผู้ขายอุปกรณ์เครือข่ายในท้องตลาดไม่ตอบโจทย์ เพราะไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าถึง API ดูข้อมูลชิปควบคุม ส่งผลให้ LinkedIn ไม่สามารถพัฒนาฟีเจอร์หรือแก้บั๊กเองได้ นั่นแปลว่าชะตาชีวิตของบริษัทอยู่ในกำมือคนอื่น
Juniper Networks ประกาศซื้อกิจการ BTI Systems ผู้ขายอุปกรณ์เครือข่ายให้บรรดา ISP และผู้ให้บริการคลาวด์ สินค้าของ BTI มีหลากหลาย ทั้งอุปกรณ์ Ethernet สำหรับโอเปอเรเตอร์, อุปกรณ์บริหารเครือข่าย ไปจนถึงของใหม่ๆ อย่าง Software-Defined Networking (SDN) และ Network Functions Virtualization (NFV)
Juniper ระบุว่าจะรวมสายผลิตภัณฑ์ของ BTI Systems เข้ากับคอนโทรลเลอร์ NorthStar ของตัวเอง การซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยให้สินค้าของ Juniper ครบเครื่องมากขึ้น ส่วนมูลค่าการซื้อกิจการไม่เปิดเผย
โครงการ Open Compute ของ Facebook เกิดขึ้นเพื่อแชร์สถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์แบบเปิด ทั้งเซิร์ฟเวอร์ประมวลผล สตอเรจและอุปกรณ์เครือข่าย
หลังจาก Comcast เปิดตัว อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ฯ 2Gbps แล้วนั้น ทาง Comcast อัพเกรดระบบ DOCSIS เป็นรุ่น 3.1 สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็ว 2 Gbps (เดิมใช้ DOCSIS รุ่น 3.0) ตามสเปคของ DOCSIS รุ่น 3.1 รองรับความเร็วอินเทอร์เน็ตด้าน download ได้ถึง 10 Gbps และ ด้าน upload ได้ถึง 1 Gbps
อินเทอร์เน็ตความเร็ว 2 Gbps ของ Comcast เปิดให้บริการแล้วใน 14 รัฐใหญ่ (เดิมเปิดให้บริการแล้วใน 7 รัฐใหญ่) อย่างไรก็ตาม ยังมีราคาเท่าเดิมอยู่ที่ 299.95 เหรียญ (10791.30 บาท) ซึ่งก็แพงกว่า 4 เท่า (โดย Google ให้บริการที่ความเร็ว 1 Gbps ราคา 70 เหรียญ)
Wireshark ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับตรวจสอบแพ็กเกตเครือข่าย ออกเวอร์ชัน 2.0 แล้ว
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเปลี่ยนระบบ GUI จาก GTK+ มาเป็น Qt ซึ่งเคยประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ถึงแม้หน้าตาใหม่จะยังคล้ายของเดิมแต่ทั้งหมดคือการเขียนใหม่ สำหรับ Wireshark บนวินโดวส์จะยังมี GUI ทั้งสองแบบให้เลือกใช้งาน (รุ่น GTK+ จะเลิกใช้งานใน Wireshark 2.2 รุ่นถัดไป) ส่วนเวอร์ชันแมคจะมีแต่หน้าตาแบบใหม่เพียงอย่างเดียว
ข่าวดีสำหรับคนที่อยู่ในเมือง Detroit เมื่อ Rocket Fiber เตรียมให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 10 Gbps ในราคา $299 ต่อเดือน (ประมาณ 10,741 บาท) (ความเร็ว Upload/Download เท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง) ในปี 2016
ก่อนหน้านั้น US Internet ได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็ว 10 Gbps แต่มีราคาแพงกว่าที่ $399 ต่อเดือน โดย Rocket Fiber ทำราคาอินเทอร์เน็ตความเร็ว 10 Gbps ถูกกว่า US Internet ถึง $100 หรือ ถูกกว่าถึง 3,600 บาท แต่ยังแพงกว่า So-net 10 Gbps ถึง 4 เท่า โดยความแตกต่างอยู่ที่ Rocket Fiber ให้ความเร็ว Upload ถึง 10 Gbps (So-net ให้ความเร็ว Upload 2.5 Gbps)
ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่ของโลก Ericsson และ Cisco ประกาศผนึกกำลังเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (strategic partnership) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายยุคหน้าในหลายมิติ ทั้งการส่งข้อมูล (routing/networking), ศูนย์ข้อมูล, คลาวด์, อุปกรณ์พกพา, การบริหารจัดการ และการให้บริการลูกค้า
ทั้งสองบริษัทมีสิทธิบัตรรวมกัน 56,000 รายการ, Cisco ยังจะได้สิทธิใช้งานสิทธิบัตรของ Ericsson และทั้งสองบริษัทจะวิจัยเทคโนโลยีร่วมกัน
Ericsson แข็งแกร่งด้านการสื่อสารแบบโทรศัพท์ (cellular) ส่วน Cisco มาจากเทคโนโลยีสาย Internet Protocol (IP) ทั้งสองบริษัทคาดว่าผลจากความร่วมมือครั้งนี้ จะสร้างรายได้กลับคืนบริษัทละ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018
ด้วยการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์พกพาได้รับความนิยมสูง และมีจำนวนเครื่องที่ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะให้ความเร็วเหลือกินเหลือใช้ แต่เมื่อต้องใช้งานในที่ผู้คนคับคั่ง การใช้งานก็ยังช้าลงอยู่ดีด้วยแบนด์วิดท์จากสถานีฐานที่ยังจำกัด
เอชพีเปิดตัวระบบปฎิบัติการ OpenSwitch สำหรับใช้งานบนสวิตช์ที่ทำตามมาตรฐาน Open Network Install Environment (ONIE) ตอนนี้มีสวิตช์ที่รองรับทั้งหมด 4 รุ่นจากเอชพีเองและ Edge-Core
การรองรับ OpenSwitch เพิ่มเติมทำให้สวิตช์ในตระกูล Altoline ของเอชพีรองรับระบบปฎิบัติการแล้วสามตัว ตัว จากเดิมที่รองรับ Pica8 และ Cumulus อยู่แล้ว
HP ประกาศซื้อกิจการบริษัท ConteXtream ที่ทำซอฟต์แวร์ด้านเครือข่ายเสมือน (software-defined networking หรือ SDN) ด้วยมูลค่าไม่เปิดเผย
ทุกวันนี้ HP มีธุรกิจด้านอุปกรณ์เครือข่ายจากการซื้อ 3Com ในปี 2009 และเมื่อต้นปีก็เพิ่งซื้อ Aruba Networks มาเพิ่ม
กูเกิลยังเดินหน้าพัฒนาความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่อไป ที่ผ่านมาเราเห็นการผลักดันโพรโทคอล SPDY จนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ HTTP/2 แล้ว คราวนี้กูเกิลหันมารีดประสิทธิภาพที่โพรโทคอลระดับชั้นต่ำลงมาคือ TCP/UDP
ในเอกสารของ Edward Snowden ชุดที่เผยแพร่โดยนักข่าว Glenn Greenwald เมื่อปีที่แล้ว เปิดเผยว่า NSA แอบดักเอาอุปกรณ์เครือข่ายระหว่างการจัดส่ง เพื่อฝังช่องโหว่ลงในอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับดักฟังหน่วยงานผู้ซื้ออุปกรณ์นั้น
ข่าวนี้สร้างความตื่นตระหนกให้กับบริษัทอุปกรณ์เครือข่ายอย่างมาก (เพราะของถูกดักเอากลางทาง ไม่สามารถการันตีลูกค้าได้ว่าสินค้าปลอดภัย) บริษัทรายใหญ่อย่าง Cisco เคยออกมาส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีโอบามาให้แก้ปัญหาเรื่องนี้
ปีที่แล้ว Facebook เปิดตัวฮาร์ดแวร์สวิทช์ของตัวเองในชื่อ Wedge ซึ่งใช้แนวคิด "ทำสวิตช์ให้เหมือนเซิร์ฟเวอร์" นั่นคือใช้ฮาร์ดแวร์มาตรฐาน และเน้นการควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (Linux + ซอฟต์แวร์ควบคุมชื่อ FBOSS)
วันนี้ Facebook เผยความคืบหน้าของโครงการดังนี้
บริษัทซีเคียว เน็ตเวิร์ค โอเปอเรชั่น เซ็นเตอร์ หรือ Snoc ประกาศความร่วมมือกับบริษัท NexusGuard ผู้ให้บริการระบบป้องกัน DDoS ผ่านกลุ่มเมฆรายใหญ่ของโลก ตั้ง node สำหรับบริการป้องกัน DDoS ในประเทศไทย
ปัจจุบันเราจะเห็นข่าวการโจมตีแบบ DDoS ถล่มให้เว็บไซต์ล่มหรือระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้กันอยู่เรื่อยๆ วิธีการป้องกันแบบหนึ่งคือวางระบบกรองทราฟฟิกไว้ด้านหน้าเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งปัจจุบันระบบกรองทราฟฟิกผ่านกลุ่มเมฆก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีขีดความสามารถในการป้องกัน DDoS ได้เยอะกว่า
เอชพีประกาศเข้าซื้อบริษัท Aruba Networks เสริมทัพสินค้าฝั่งเครือข่าย โดยมูลค่าการเข้าซื้อครั้งนี้อยู่ที่สามพันล้านดอลลาร์ ตรงตามข่าวลือที่ออกมาก่อนหน้านี้
เอชพีระบุว่าแบรนด์ Aruba จะยังคงอยู่ต่อไปหลังจากเข้าซื้อแล้ว แต่จะเป็นแผนกอยู่ภายใต้ HP Enterprise Group
Aruba มีรายได้ปี 2014 อยู่ที่ 729 ล้านดอลลาร์ ส่วนเอชพีเฉพาะไตรมาสล่าสุดที่ 26.8 พันล้านดอลลาร์
ที่มา - The Inquirer
Bloomberg รายงานข่าวลือว่า HP กำลังเจรจาซื้อ Aruba Networks บริษัทที่ขายโซลูชัน Wi-Fi ให้กับองค์กรต่างๆ
Aruba ก่อตั้งเมื่อปี 2002 และเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2007 ปัจจุบันมีพนักงาน 1,200 คน สินค้าที่ขายมีตั้งแต่ access point, เสาอากาศ, สวิตช์ รวมไปถึงโซลูชันด้านซอฟต์แวร์ มูลค่าบริษัทตามราคาหุ้นตอนนี้อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์
ถ้าการซื้อกิจการครั้งนี้สำเร็จลุล่วง น่าจะถือเป็นการซื้อกิจการครั้งใหญ่ของ HP ในรอบหลายปี ก่อนหน้านี้ HP เคยซื้อบริษัทอุปกรณ์เครือข่าย 3Com ไปเมื่อปี 2009
ปีที่แล้วเฟซบุ๊กเปิดตัว Wedge สวิตช์มาตรฐานเปิดตัวแรกของบริษัท ตอนนี้ Wedge ก็พัฒนามาเป็นสวิตช์ขนาดกลางที่ชื่อว่า 6-pack แล้ว
6-pack เป็นสวิตช์ขนาด 6 ช่อง ชุดจ่ายไฟ 4 ชุด สามารถใส่ line card ได้ทั้งหมด 8 ชุด ชุดละ 16 พอร์ตรวมเป็น 128 พอร์ต บนตัว line card มีเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กอยู่ในตัวทำให้วิศวกรสามารถเข้าไปจัดการได้โดยตรงเหมือนเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป
อีกส่วนคือ fabric card ที่เชื่อม line card เข้าด้วยกัน การ์ดแต่ละชุดจะเป็น line card สองชุดเชื่อมต่อกันอยู่เพื่อเชื่อมต่อแบบ mesh ให้กับทุกพอร์ตบนสวิตช์ พร้อมกับเชื่อมต่อช่องทางเข้าจัดการการ์ดทั้งหมด
ใครที่เล่นเกมออนไลน์ หรือเกมแนว MOBA อย่าง Dota 2, HoN หรือ LoL น่าจะหงุดหงิดกับ latency ที่ทำให้เล่นเกมได้อย่างลำบาก อาการกระตุก รวมถึงสไปค์ที่ชวนปวดหัวอยู่เป็นระยะๆ ล่าสุดผู้พัฒนาเกม LoL ออกมาประกาศแผนการใหญ่สำหรับแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ ด้วยการทำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตัวเองซะเลย
ข่าวดีสำหรับชาวเมือง Minneapolis ในรัฐ Minnesota เมื่อบริษัท US Internet ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายหนึ่งได้เสนอบริการ "อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตามบ้านที่เร็วที่สุดในโลก" ด้วยความเร็ว 10 Gbps ทั้ง upload/download ในราคา $399 ต่อเดือน
บริการดังกล่าวให้บริการด้วยใยแก้วนำแสง ซึ่งหมายความว่าต้องเดินระบบสายในบ้านใหม่เป็นสายใยแก้วนำแสงด้วย นอกเหนือจากการเดินสายในบ้านแล้ว แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ให้บริการ แต่หากจำเป็นต้องมีการเดินสายที่จำเป็นต้องมีการขุดพื้น (ก่อนถึงบ้าน) จะต้องรอจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ เนื่องจากในตอนนี้พื้นดินที่เมือง Minneapolis นั้นถูกแช่แข็งไปหมดแล้วนั่นเอง
Juniper ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายระดับสูงเปิดตัวสินค้าในกลุ่ม Open Compute เต็มตัว ด้วยสวิตช์ OCX1100 ที่รันระบบปฎิบัติการ Junos รุ่นใหม่ที่สร้างจาก Open Network Install Environment (ONIE) ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องใหม่ลงไปบนสวิตช์ได้เพิ่มเติม เช่น Puppet และ Chef
ตอนนี้ OCX1100 กำลังส่งให้โครงการ Open Compute ตรวจสอบ และคาดว่าจะได้รับการรับรองก่อนที่จะวางขายในช่วงไตรมาสแรกปี 2015
หลังจากการมาถึงของสมาร์ทโฟนในยุคนี้ทำให้ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ มีการลากสายใยแก้วนำแสงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งบนบกและใต้น้ำเพื่อรองรับความต้องการนี้ แต่การติดตั้งใยแก้วนำแสงนั้นต้องใช้เวลาและเงินในปริมาณมาก เทคโนโลยีการเชื่อมต่อลูกผสมเลเซอร์-วิทยุจาก AOptix ที่ใช้เวลาติดตั้งน้อยกว่าและราคาถูกกว่าจึงเริ่มได้รับความสนใจในการนำมาช่วยขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต
Cisco ACI เปิดเราเตอร์ให้ควบคุมจากซอฟต์แวร์ภายนอกมาได้ ตอนนี้สำหรับผู้ดูแลระบบที่ชอบเขียนภาษา Python ก็มีตัวเลือกให้ใช้งานแล้ว เมื่อซิสโก้เปิดตัว acitoolkit ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แถมโอเพนซอร์สแบบ Apache License 2.0
ตัว Cisco ACI เดิมก็รองรับ REST API อยู่แล้ว แต่การรองรับภาษา Python ตรงๆ ก็น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานที่ต้องการควบคุมเครือข่ายด้วยซอฟต์แวร์ไม่ต้องไปครอบ REST ด้วยภาษาที่ใช้พัฒนากันเอง อย่างไรก็ดียังมีบริการหลายตัวไม่รองรับในไลบรารีนี้ ได้แก่ service graphs, VMM Domains, SPAN, Atomic Counters, และการดึงค่าตรวจสอบอีกหลายอย่าง แต่ API ที่ให้มาก็น่าจะพอสำหรับการคอนฟิกพื้นฐานได้จำนวนมาก