เราเห็นข่าวอุปกรณ์ Wi-Fi มาตรฐาน IEEE 802.11ac กันมาพอสมควร แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลุ่มพันธมิตร Wi-Fi Alliance เพิ่งเริ่มกระบวนการออกใบรับรองให้กับอุปกรณ์เครือข่าย 802.11ac เช่น เราเตอร์ หรือ อแดปเตอร์ ว่าเข้ากันได้กับมาตรฐาน 802.11ac จริงๆ
อุปกรณ์ตระกูล 802.11ac ที่วางขายอยู่ในขณะนี้จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานบนมาตรฐานฉบับ "ร่าง" เท่านั้น ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่จะอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้เข้ากับมาตรฐาน 802.11ac ฉบับสมบูรณ์ต่อไป (และติดตรา Wi-Fi CERTIFIED สำหรับอุปกรณ์ที่จะออกใหม่ในอนาคต)
เมื่อวันนี้ของปีที่แล้วได้มีการเปิดการใช้งาน IPv6 โดยผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ของโลกในวัน World IPv6 Launch ที่ได้รับความร่วมมือจากยักษ์ใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก วันนี้เวียนมาครบรอบ 1 ปีแล้ว ทาง World IPv6 Launch จึงได้จัดทำ Infographic แสดงความคืบหน้าของการติดตั้งและใช้งาน IPv6 ทั่วโลกออกมาครับ โดยมีสรุปดังนี้
Cisco ประกาศความร่วมมือกับ O2 ในการเข้าไปวางระบบเครือข่ายไร้สายให้กับสนามฟุตบอล Etihad Stadium ของ Manchester City เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในวันแข่งขันฟุตบอลที่มีคนจำนวนมหาศาลไปรวมตัวกัน (และส่วนใหญ่มีอุปกรณ์พกพา)
ระบบที่ Cisco จะเข้าไปทำให้ได้แก่
Open Compute Project เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Facebook มีเป้าหมายเพื่อเปิดข้อมูลของฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้นเองสำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ปัจจุบันสถานะข
คำขอจดสิทธิบัตรของ Apple ฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่า Apple พยายามพัฒนาระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์หลายตัวเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของทุกอย่าง...และทุกคน
สิ่งที่ Apple พยายามพัฒนาคือระบบที่เชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยอาศัยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ชนิดพิเศษ ซึ่งข้อมูลในคำขอจดสิทธิบัตรระบุว่าเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว, อุณหภูมิ, ความชื้น, การเปลี่ยนแปลงทางเคมี, อัตราการเต้นของหัวใจ, ชีพจร, ความดัน, ความเครียด, น้ำหนัก รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ภายนอก และสภาพความเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม
Google ยื่นคำขออนุญาตต่อ FCC เพื่อสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับทดลองใช้งานขนาดเล็กภายในสำนักงานของ Google เอง
เอกสารระบุว่า Google จะติดตั้งสถานี 50 จุด ภายในเขตสำนักงานที่ Mountain View เพื่อทดลองให้บริการโทรศัพท์มือถือราว 200 เครื่อง โดยสถานีที่ติดตั้งในอาคารจะมีรัศมีการให้บริการไม่เกิน 200 เมตร ส่วนสถานีที่ติดตั้งด้านนอกจะให้บริการภายในระยะไม่เกิน 1 กิโลเมตร ทั้งนี้มีกำหนดระยะเวลาใช้งาน 2 ปี
Blognone เสนอข่าวของ Wi-Fi มาตรฐานใหม่ 802.11ac มาหลายครั้งแล้ว ล่าสุดมีข่าวลือจากเว็บไซต์ The Next Web รายงานว่าแอปเปิลเซ็นสัญญากับ Broadcom หนึ่งในผู้ผลิตชิป 802.11ac เตรียมนำ Wi-Fi รุ่นใหม่มาใช้กับเครื่องแมคในเร็วๆ นี้
802.11ac ถูก Broadcom โฆษณาว่าเป็น "5G Wi-Fi" โดยมีความเร็วในทางทฤษฏีสูงสุดที่ 1.3Gbps (ต้องใช้เสาอากาศสามเสา ทั้งภาครับและส่ง) เร็วกว่า 802.11n ในปัจจุบันที่มีความเร็วสูงสุด 450Mbps
ที่มา - The Next Web
Cisco ประกาศข่าวเข้าซื้อกิจการบริษัท Meraki ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับควบคุม Wi-Fi access point ผ่านกลุ่มเมฆ
Meraki เป็นบริษัทที่เคยได้รับเงินลงทุนจากกูเกิลในปี 2006 โดยช่วงแรกเน้นพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับให้เจ้าของ Wi-Fi แชร์อินเทอร์เน็ตให้คนที่ผ่านมาได้ ภายหลังผลิตภัณฑ์ของบริษัทพัฒนาขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการระบบเครือข่ายจากระยะไกล เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กร และมีฐานลูกค้ากว่า 20,000 ราย
ระยะหลัง Cisco สนใจเรื่องการบริหารระบบเครือข่ายผ่านกลุ่มเมฆ ดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ Connect Cloud ของบริษัท (ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก) การซื้อ Meraki ครั้งนี้ถือเป็นการซื้อคู่แข่งมาเสริมทัพนั่นเอง
ปัญหาเอกสารหลุดเป็นปัญหาที่บริษัทขนาดใหญ่เจอกันเรื่อยมา บริษัทอย่างซิสโก้ก็เจอปัญหาเดียวกันเมื่อมีเอกสารภายในระบุการอัพเกรดเครือข่ายของ California State University (CSU) แล้วพบว่าราคาที่ซิสโก้สเสนอสูงถึง 122 ล้านดอลลาร์ เทียบกับคู่แข่งอย่าง Alcatel-Lucent ที่เสนอราคาเพียง 22 ล้านดอลลาร์ทำให้ชนะโครงการไป ข่าวนี้สร้างความไม่พอใจกับผู้บริหารของซิสโก้ค่อนข้างมาก มีการส่งจดหมายเวียนภายในเพื่ออธิบาย และระบุว่ากระบวนการพิจารณาน่าจะไม่ได้คำนวณมูลค่ารวมทั้งหมด (Total Cost of Ownership - TCO)
CloudFlare ผู้ให้บริการ CDN (Content Delivery Network) รายงานถึงปัญหาการเข้าถึงบริการของกูเกิลไปครึ่งชั่วโมงในบางส่วนของโลก พบว่าหมายเลขไอพีจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึง 8.8.8.8 หมายเลขไอพีเซิร์ฟเวอร์ DNS สาธารณะของกูเกิล
หลังจากทาง CloudFlare เข้าตรวจสอบ พบว่ามีเครือข่ายหมายเลข AS 23947 ซึ่งเป็นของ Moratel ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในอินโดนีเซียได้ประกาศเส้นทาง (route) ปลอมออกมา เพื่อบล็อคการเข้าถึงกูเกิล แต่ประกาศเส้นทางนี้กลับรั่วออกมาสู่อินเทอร์เน็ตนอกประเทศ ทาง CloudFlare จึงติดต่อ Moratel ให้หยุดส่งประกาศเส้นทางออกมา จากนั้นสามนาทีบริการต่างๆ ของกูเกิลก็เริ่มกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
CloudFlare คาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ 3-5% ของประชากรอินเทอร์เน็ต
อัพเดต ประกาศฉบับนี้ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 5 ต.ค. 2555 ครับ ดังนั้นเป็นฉบับจริงแล้ว ไม่ใช่แค่ร่าง ขอบคุณคุณ @kaninnit ที่แจ้งข่าวมาด้วยครับ
จากข่าวคราวก่อน นักวิชาการอิสระเตรียมฟ้องศาลปกครองระงับการประมูล 3G มีประเด็นเรื่อง "คุณภาพของสัญญาณในการให้บริการ" ด้วย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในประกาศอีกฉบับหนึ่งของ กสทช. ที่เรียกกันเป็นภาษาพูดว่า "ประกาศ QoS Data" และสถานะยังเป็นแค่ฉบับร่าง
วันนี้ผมค้นเอกสารบนเว็บของ กสทช. และเจอ "ร่าง" ประกาศฉบับนี้ (ชื่อเต็มๆ คือ มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่) เข้าพอดี เลยนำมาเผยแพร่สักหน่อย เผื่อว่าคนแถวนี้จะสนใจครับ--
อินเทลเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของชิปฝั่งองค์กร อินเทลประกาศว่ากระบวนการพัฒนาชิปชั้นสูงอย่างตระกูล E7 นั้นใช้เวลานานกว่าชิปทั่วไป ทำให้ต้องข้าม Sandy Bridge ไปเลย กลายเป็น Ivy Bridge-EX แทน โดยจะออกในปีหน้าพร้อมๆ กับ Ivy Bridge-EP ที่เป็นตระกูล E5
ฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาพร้อมกับ E5/E7 รุ่นใหม่คือ APICv (Advanced Programmable Interrupt Controller) ที่ใช้ประสานงานอินเตอร์รัปต์ระหว่างซ๊อกเก็ตลดค่าโอเวอร์เฮดในการจัดการเครื่องเสมือนลง
ตัว E7 นั้นจะเปลี่ยนซ๊อกเก็ตใหม่หมด และ "อาจจะ" เป็นซ๊อกเก็ตที่ Kittson ชิปตระกูลไอทาเนียมของอินเทลมาใช้งานร่วมกัน
IEEE ประกาศตั้งกลุ่มพัฒนามาตรฐานการส่งข้อมูลด้วยสายแบบใหม่ ชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการคือ __ IEEE 802.3 Industry Connections Higher Speed Ethernet Consensus group__ หรือการพัฒนามาตรฐาน Ethernet ให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นอีกนั่นเอง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า 802.3 แบบใหม่จะมีอัตราการส่งข้อมูลเท่าไร แต่ IEEE ก็ประเมินว่าความต้องการใช้งานน่าจะอยู่ที่ 1Tbps ในปี 2015 และขึ้นไปเป็น 10Tbps ในปี 2020 อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ประเมินกันว่าเริ่มต้นที่ 400Gbps ก่อนน่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่า
คณะกรรมการชุดนี้จะเริ่มประชุมนัดแรกช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ที่สวิตเซอร์แลนด์
ช่วงหลัง Huawei ถูกโจมตีอย่างมากในประเด็นความปลอดภัย นับแต่ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาและไม่ได้แพตซ์อย่างทันท่วงที ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับกองทัพจีน งานนี้ Huawei จึงเลือกเปิดศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อไว้ทำงานร่วมกับ GHHQ (Government Communications Headquarters - หน่วยงานข่าวกรองของอังกฤษ) เพื่อให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่ Huawei จะขายให้รัฐบาลอังกฤษนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะใช้ในหน่วยงานได้
Huawei มีอิทธิพลในตลาดสูงขึ้นมากในช่วงหลัง โดยรายได้รวมในปี 2011 นั้นในตลาดโทรคมนาคม (ฝั่งผู้ให้บริการ) สูงเป็นอันดับสองเป็นรองเพียง Ericsson เท่านั้น และแนวโน้มก็ชัดเจนว่า Huawei กำลังจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในไม่ช้า
มีรายงานว่า AT&T เครือข่ายอันดับสองของสหรัฐอเมริกา กำลังอยู่ในระหว่างการโอนถ่ายผู้ใช้งานไปยังระบบใหม่ หรือที่เรียกว่า Spectrum refarming ในเมืองนิวยอร์คซิตี้ ซึ่งล่าสุดก็ได้เผยกำหนดการออกมาแล้ว คือจะดำเนินการโอนย้ายผู้ใช้งานทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 มกราคม 2017 และจะดำเนินการปิดระบบ 2G ในเวลาต่อมา แต่ในแง่ของผู้ใช้งานถือว่าไม่กระทบมากนัก เพราะมีผู้ใช้งานเพียงแค่ 12% เท่านั้นที่ยังใช้งานเครือข่าย GSM และระบบ EDGE อยู่ และยังได้เผยว่าเตรียมที่จะมอบประสบการณ์การใช้งานเครือข่าย 4G และ 3G ให้กับผู้ใช้งานแล้วด้วย
Huawei เป็นแบรนด์ที่จีนที่เริ่มบุกตลาดระดับผู้ให้บริการได้มากขึ้นเรื่อยๆ จากการตัดราคาคู่แข่งอย่างหนักในช่วงหลัง แต่ที่งาน DefCon นักวิจัยด้านความปลอดภัย Felix Lindner ก็ขึ้นเวทีชำแหละปัญหาความปลอดภัยของสินค้า Huawei ทีละจุดอย่างมาก
การนำเสนอของ Felix (PDF) ไล่ประเด็นนับแต่กระบวนการจัดการกับปัญหาความปลอดภัย โดยเขาชี้ว่า Huawei ไม่มีการรายงานและคำแนะนำด้านความปลอดภัยออกมาสู่สาธารณะ ไม่มีการอัพเดตตามรายการคำแนะนำความปลอดภัยเหล่านั้น โดยลูกค้าต้องติดต่อเป็นกรณีไปเพื่อขออัพเดตด้านความปลอดภัย
เพื่อเป็นการต้อนรับมหกรรมกีฬาแห่งมนุษยชาติ โอลิมปิก 2012 ที่จะเริ่มขึ้นวันนี้ เว็บไอทีอย่าง Blognone ก็ขอพูดถึง "ระบบไอที" ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังงานโอลิมปิกครั้งนี้กันสักหน่อยนะครับ
เรื่องโอลิมปิกกับไอทีรอบนี้มีหลายเว็บเขียนถึง ผมขอยึดเวอร์ชันของ Data Center Knowledge เป็นหลัก
ช่วงหลังมานี้เราเริ่มเห็นผู้ผลิตเราท์เตอร์หลายรายออกรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับมาตรฐาน 802.11ac กันมาพอสมควรแล้ว แต่ผู้ผลิตชิปไร้สายรายใหญ่ Marvell อาจมองไปไกลกว่านั้น ด้วยการจับมือกับบริษัทหน้าใหม่ที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับใช้งานชิปร่วมกับคลื่นย่าน 60GHz อย่าง Wilocity เพื่อทำชิปไร้สายตามมาตรฐาน 802.11ad แบบไตรแบนด์ที่รองรับทั้งคลื่นย่าน 2.4GHz, 5GHz และย่าน 60GHz ที่สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 7Gbps
ซิสโก้เปิดบริการ Cloud Connect ให้กับเราท์เตอร์ไปเมื่อวันก่อน วันนี้ก็เริ่มมีเสียงบ่นจากผู้ใช้ ที่รายงานว่า เราท์เตอร์รุ่น EA4500 ที่วางขายมาก่อนหน้านี้อัพเกรดเฟิร์มแวร์ตัวเอง ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถจัดการเราท์เตอร์ได้หากไม่ทสมัครใช้งาน Cloud Connect
ที่แย่กว่านั้นคือบริการ Cloud Connect นั้นเป็นการส่งประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมดไปยังซิสโก้ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเลือกขอรักษาความเป็นส่วนตัวของตัวเองได้เลย
Western Digital หนึ่งในผู้นำทางด้านฮาร์ดดิสก์และ set-top TV (หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Western Digital ทำธุรกิจนี้) ได้ก้าวเข้าสู่สมรภูมิเราเตอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ถึงมาช้าก็ตามเหอะ) โดยส่งรุ่นบุกเบิก 3 ตระกูลแรก ได้แก่ N900, N750, N600 ซึ่งทั้ง 3 ตระกูลชูจุดเด่นของเทคโนโลยี FasTrack ที่สามารถเร่งความเร็วอินเทอร์เน็ตให้เร็วขึ้นได้ เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ Western Digital
เราเริ่มเห็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เครือข่ายออกผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 802.11ac กันบ้างแล้ว (ข่าวเก่า Buffalo, NETGEAR)
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายล่าสุดที่บุกเข้ามายังตลาดนี้คือ ASUS ที่มาเป็นคอมโบคือเราเตอร์ + โน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป 802.11ac
เราเตอร์ของ ASUS ใช้ชื่อรุ่นว่า RT-AC66U ใช้ชิป 5G Wi-Fi ของ Broadcom, มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือส่งข้อมูลผ่านช่วงคลื่น 2.4GHz ร่วมกับ 5GHz ทำให้มี throughput ได้สูงถึง 1.75 Gbps สูงกว่า Gigabit Ethernet ด้วยซ้ำในทางทฤษฎี
วันนี้ 6 มิ.ย. (6/6) เป็นวันที่บริษัทเครือข่ายและเว็บไซต์ดังๆ ทั่วโลก เช่น Google, Facebook, Akamai, Bing, Yahoo!, Cisco, D-Link, AT&T, KDDI ประกาศเริ่มให้บริการ IPv6 อย่างเป็นทางการพร้อมๆ กัน โดยจัดเป็นแคมเปญชื่อ World IPv6 Launch มีองค์กร Internet Society เป็นแม่งาน
ศาลประเทศฟินแลนด์ได้ตัดสินว่า เจ้าของเครือข่าย Wi-Fi ที่ไม่มีการตั้งรหัสผ่าน ไม่ต้องรับผิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์โดยบุคคลอื่นที่เข้ามาใช้เครือข่าย
ในคดีนี้ กลุ่มเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 6,000 ยูโร (ประมาณ 240,000 บาท) จากสตรีนางหนึ่งในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเกิดขึ้นระหว่างที่มีคนจำนวนนับร้อยมาชมการแสดงในเคหะสถานที่จำเลยเป็นเจ้าของ
ในกรณีนี้ ฝ่ายโจทก์ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเจ้าของเครือข่ายนั้นเป็นผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ และท้ายที่สุด ศาลได้ตัดสินว่า เจ้าของเครือข่าย Wi-Fi นั้นไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของบุคคลที่สามแต่อย่างใด
โครงการ OpenFlow เป็นโครงการวิจัยด้านเครือข่ายที่เริ่มโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แนวคิดของ OpenFlow คือออกแบบสวิตช์ให้ฉลาดกว่าเดิม เรียนรู้การทำงานของสวิตช์ตัวอื่นๆ และวางแผนการส่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของเครือข่ายทั้งหมดในภาพรวม
ความสามารถของสวิตช์ในปัจจุบันจะฉลาดในระดับหนึ่ง แต่นั่นเป็นแค่อุปกรณ์ตัวเดียว ไม่รู้การทำงานของสวิตช์ตัวอื่นๆ ในระบบ ทำให้การส่งแพกเก็ตของสวิตช์ตัวนั้นๆ อาจทำงานได้ดี แต่ระบบเครือข่ายทั้งหมดอาจทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
แอปเปิลถอดการรองรับ IPv6 ออกไปจาก AirPort Utility อย่างเงียบๆ ในุร่น 6.0 ที่เพิ่งปล่อยออกมา โดยผู้ใช้ที่ต้องการใช้ IPv6 จะต้องใช้ซอฟต์แวร์รุ่น 5.6 เท่านั้น ปัญหาคือ Comcast ผู้ให้บริการบรอดแบนด์ตามบ้านรายใหญ่ในสหรัฐฯ ให้บริการ IPv6 ไปยังบ้านทุกบ้านตั้งแต่ปีที่แล้ว และกำลังจะเปิดตัวเป็นทางการปลายเดือนนี้ บริษัทจึงต้องออกเตือนลูกค้าที่ต้องการใช้ IPv6 ให้หยุดอัพเกรดซอฟต์แวร์