Cognition Labs สตาร์ตอัพปัญญาประดิษฐ์เปิดตัว Devin ปัญญาประดิษฐ์แบบ agent ที่วางแผนการทำงาน จากนั้นเขียนโค้ด, ดูผลลัพธ์, และแก้ปัญหาได้ในตัวเองจนกว่างานจะเสร็จ
Devin ทำงานในสภาพแวดล้อมปิด มี shell ของเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว, ตัวแก้ไขโค้ด, และเบราว์เซอร์ และมีหน้าจอรายงานผลการทำงานว่าถึงขั้นตอนไหน หรือกำลังทำอะไรอยู่ โดยรวมแล้ว Devin ทำงานเหมือนนักพัฒนาคนหนึ่งในทีมงานและผู้ควบคุมยังสามารถแนะนำแนวทางการทำงานระหว่างทางได้
ทาง Cognition สาธิต Devin เช่น สร้างเกมทั้งเกมพร้อม deploy ขึ้น Netlify, แก้ไขบั๊กที่ผู้ใช้ส่งโค้ดให้, ปรับปรุงโมเดลปัญญาประดิษฐ์, พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์แบบ computer vision ที่รับงานมาจาก Upwork จนสำเร็จ
ServiceNow, Hugging Face และ NVIDIA เปิดตัว StarCoder2 ชุดโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรี (open-access) สำหรับงานเขียนโค้ด ซึ่งมีจุดเด่นคือประสิทธิภาพการทำงาน ความโปร่งใสของ AI และช่วยในการจัดการต้นทุน
StarCoder2 เป็นโครงการของชุมชน BigCode ที่ให้การสนับสนุนโดย ServiceNow และ Hugging Face โมเดลถูกเทรนบนภาษาเขียนโปรแกรม 619 ภาษา ออกแบบมาให้สามารถทำงานร่วมกับแอพพลิเคชันภายในองค์กร สำหรับงานต่าง ๆ เช่น ช่วยสร้างซอร์สโค้ด, สร้างเวิร์กโฟลว์, เขียนสรุปเนื้อหา และอื่น ๆ องค์กรสามารถนำไปใช้งาน โดยอาศัยการปรับแต่งด้วยทรัพยากรที่ไม่ต้องสูงมาก
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ได้เข้าร่วมงานสัมมนา World Government Summit ที่ดูไบ และได้ให้ความเห็นในประเด็นหนึ่งที่กลายเป็นบทสนทนาขณะนี้ โดยเขาบอกว่าขณะที่ซีอีโอบริษัทเทคโนโลยีจำนวนมาก แนะนำให้เด็กรุ่นใหม่มีความรู้และเรียนเขียนโค้ด Huang นั้นมีมุมมองที่ต่างออกไปนั่นคือไม่จำเป็น
เขาบอกว่าตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติด้วย AI ทำให้การเขียนโปรแกรมไม่ใช่ทักษะที่จำเป็นมากเท่าก่อนหน้านี้ การเขียนโค้ดเป็นงานที่สามารถจัดการได้ด้วย AI เขาจึงมองว่ามนุษย์ควรสนใจหัวข้อความรู้อื่นมากกว่าเช่น ชีววิทยา, การศึกษา, การผลิต หรือเกษตรกรรม
Phind บริษัทปัญญาประดิษฐ์ LLM สำหรับการช่วยเขียนโค้ดเป็นหลัก เปิดตัวโมเดลของตัวเอง Phind-70B ที่วัดเฉพาะความสามารถในการเขียนโค้ด HumanEval และ CRUXEval ใกล้เคียงกับ GPT-4 มาก แต่ชูความเด่นกว่าที่ความเร็วในการตอบและโมเดลถูกฝึกให้ขยันตอบมากกว่า GPT-4 ที่เคยมีปัญหาไม่ยอมตอบบางคำถาม
ความเร็วในการตอบของ Phind-70B อยู่ที่ 80 token/s เร็วกว่า GPT-4 Turbo ประมาณสี่เท่าตัว และคาดว่าจะเร่งความเร็วได้สูงกว่านี้อีก
ก่อนหน้านี้ Phind เคยออกโมเดลเวอร์ชั่น 34B มาก่อนแล้ว และเตรียมจะปล่อยโมเดลให้เอาไปใช้งานในอนาคตรวมถึงโมเดลเวอร์ชั่น 70B เช่นกันแต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา สำหรับผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ Phind-70B ได้ฟรีแบบจำกัดข้อความต่อวัน และสามารถจ่ายเงินค่าสมาชิกเพื่อเพิ่มโควต้าได้
กูเกิลอัพเดตบริการ Gemini Advanced (ที่ตอนนี้น่าจะยังอยู่ในช่วงทดสอบฟรีกันทุกคน) ให้สามารถรันโค้ดภาษา Python ได้ในเว็บ เป็นฟีเจอร์สำหรับผู้ใช้ที่สมัครแพ็กเกจจ่ายเงินเท่านั้น
แนวทางนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถกดรันโค้ดและดูผลลัพธ์ได้ทันที โดยเมื่อผู้ใช้กดรันโค้ดบนหน้าเว็บแล้วเว็บ Gemini จะส่งโค้ดไปรันบนเซิร์ฟเวอร์เพื่อแสดงผล โดยตัว Gemini นั้นไม่ได้อ่านผลการรันด้วยตัวเองแต่อย่างใด ทำให้บางคำถาม ตัว Gemini จะตอบผลที่ผิดแม้จะเขียนโค้ดถูกและเมื่อรันโค้ดแล้วได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องก็ตาม
Astral บริษัทสร้างเครื่องมือพัฒนาภาษา Python เปิดตัวโครงการ uv โปรแกรมสำหรับติดตั้งแพ็กเกจในภาษา Python ที่ปกตินักพัฒนามักใช้งานโปรแกรม pip หรือ poetry กันเป็นวงกว้าง โดยจุดเด่นของ uv คือประสิทธิภาพสูงมาก
ทีมพัฒนาระบุว่า uv เร็วกว่า pip ประมาณ 10 เท่าตัว เมื่อไม่ได้ใช้แคช และเร็วขึ้นถึง 80-115 เท่าตัวเมื่อใช้แคช นอกจากความสามารถในการติดตั้งแพ็กเกจแล้ว uv ยังสามารถสร้าง virtual environment ทดแทน venv หรือ virtualenv ได้ด้วย โดยยังได้ความเร็วดีขึ้น 7-80 เท่าตัว
ดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE Index รอบเดือนกุมภาพันธ์ 2024 มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือภาษา Go มาแรง เข้ามาติดอันดับ Top 10 เป็นครั้งแรก แถมมาทีเดียวกระโดดจากอันดับ 11 ขึ้นมาถึงอันดับ 8 เลยด้วย
ภาษา Go ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไต่อันดับต่อเนื่องมาสักพักแล้ว (อันดับ 13 ในเดือนพฤศจิกายน 2023, อันดับ 11 ในเดือนมกราคม 2024) โดย TIOBE วิเคราะห์ว่าการเข้ามาติด Top 10 รอบนี้น่าจะอยู่ได้ยาวๆ เพราะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการไอทีแล้ว
โครงการภาษา Go ออกเวอร์ชั่น 1.22 ปรับปรุงย่อยโดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการแก้ไขระบบ for-loop ให้รองรับการรันตามจำนวนรอบที่ต้องการอย่างเดียวโดยไม่ต้องสร้าง collection อีก แนวทางนี้ทำให้โค้ดภาษา Go ใกล้เคียงกับไพธอนยิ่งขึ้น
ในเวอร์ชั่นนี้ยังมีการแก้ปัญหาตัวแปรใน loop ที่ภาษา Go เคยแชร์ตัวแปรระหว่างรอบการวน loop ให้เป็นตัวแปรเดียวกัน ซึ่งทำให้โปรแกรมเมอร์หลายคนเจอบั๊กโดยไม่ได้ตั้งใจ หลังจากนี้จะทำให้ตัวแปรถูกสร้างใหม่ทุกครั้งที่วน loop แม้พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปบ้างแค่คาดว่าจะแทบไม่กระทบแอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่ โดยมีเครื่องมือช่วยตรวจสอบ loop ที่ได้รับผลกระทบให้
กูเกิลประกาศบริจาคเงินมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ ให้มูลนิธิ Rust Foundation เพื่อนำไปพัฒนาภาษา Rust ให้ทำงานร่วมกับโค้ดภาษา C++ ได้ดียิ่งขึ้น
กูเกิลนำ Rust มาใช้งานใน Android และผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาระยะหนึ่งแล้ว รวมถึงเป็นสปอนเซอร์ร่วมก่อตั้ง Rust Foundation ในปี 2021 แต่ก็ชี้ว่า Rust ยังไม่สามารถทำงานร่วมกับโค้ดเก่าที่เขียนด้วย C++ ได้ทุกกรณี จึงเข้ามาสนับสนุนให้ Rust ทำงานร่วมกับ C++ ผ่านโครงการต่างๆ ของ Rust Foundation ซึ่งทางมูลนิธิก็ตั้งทีม Interop Initiative ขึ้นมารับผิดชอบภารกิจนี้
ไลบรารี urllib3 ออกเวอร์ชั่น 2.2.0 เพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับการใช้งานบน Pyodide รันไทม์ภาษาไพธอนสำหรับ WASM ซึ่งทำให้สามารถรันโค้ดไพธอนได้บนเบราว์เซอร์หรือ Node.js
urllib3 เป็นไลบรารีที่พัฒนาอิสระ แข่งกับโมดูล urllib ที่เป็นไลบรารีมาตรฐานในตัวไพธอนเอง และมันเป็นไบรารีเบื้องหลังโมดูล requests ที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากออกแบบ API ให้อ่านได้ง่าย
Meta ปล่อยโมเดล Code Llama ขนาด 70B หลังจากปีที่แล้วปล่อยรุ่นใหญ่สุดอยู่ที่ 34B เท่านั้น โดยตอนนี้ยังไม่บอกรายละเอียดนัก นอกจากระบุว่าคะแนนทดสอบ HumanEval อยู่ที่ 67.8 แซงหน้า GPT-4 (67.0) และ Gemini Pro (67.7) โดยระบบอื่นๆ ที่ได้คะแนนสูงกว่านี้มักใช้ GPT-4/GPT-3.5 ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เพื่อให้ทำคะแนนได้สูงขึ้น
โมเดลที่ปล่อยออกมามี 3 รุ่นย่อย ได้แก่ รุ่นพื้นฐานสำหรับใช้งานทั่วไป, รุ่นภาษาไพธอนโดยเฉพาะ, และรุ่น Instruct สำหรับรับคำสั่งเพื่อเขียนโปรแกรมตาม รุ่นที่รายงานคะแนน HumanEval นั้นคือรุ่น Instruct
โมเดลเหล่านี้ใช้งานได้ฟรีแบบมีข้อจำกัด โดยห้ามใช้งานกับองค์กรที่มีผู้ใช้เกิน 700 ล้านคนต่อเดือน
Zed โปรแกรมแก้โค้ดที่เน้นประสิทธิภาพการตอบสนองต่อการพิมพ์ในระดับเกมมิ่งและรองรับการเขียนโค้ดร่วมกันในตัว ประกาศเปิดซอร์สโค้ดทั้งฝั่งไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดให้ใช้งานได้ฟรี โดยฝั่งไคลเอนต์มีสัญญาอนุญาตเป็น GPL และฝั่งเซิร์ฟเวอร์เป็น AGPL
Zed ชูจุดเด่นที่ latency จากการกดแป้นพิมพ์จนถึงการแสดงตัวอักษรบนหน้าจอต่ำกว่าโปรแกรมแก้ไขโค้ดอื่นๆ โดยอาศัยส่วนกราฟิกใน Apple Silicon และไลบรารีของตัวเองที่ชื่อว่า GPUI ที่เขียนด้วย Rust นอกจากการตอบสนองต่อการพิมพ์จะเร็วแล้ว ยังสามารถเปิดโปรแกรมได้เร็วและกินหน่วยความจำน้อย
TIOBE Software ประกาศผล TIOBE Index ประจำเดือนมกราคม 2024 โดยภาษา C# เป็นภาษาโปรแกรมแห่งปี 2023 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของดัชนี TIOBE ที่ให้คะแนนความนิยมของภาษาการเขียนโปรแกรมทุกเดือน
C# เป็นภาษาโปรแกรมโอเพนซอร์สข้ามแพลตฟอร์มที่ทันสมัยสำหรับ .NET และเป็นภาษา 10 อันดับแรกบนดัชนี TIOBE มานานกว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งนักพัฒนาสามารถเรียนรู้ฟรี ใช้ได้ฟรี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการพัฒนาแบ็คเอนด์เว็บแอปและเกมของ Unity โดยล่าสุด C# มีความนิยมเพิ่มขึ้นมากที่สุดในปี 2023 (+1.43%) และกำลังกินส่วนแบ่งการตลาดจาก Java มากขึ้น
GitHub ประกาศออก SDK สำหรับเชื่อมต่อ GitHub API ด้วยแนวทางใหม่คือ Generated SDK
เดิมที GitHub มี SDK สำหรับนักพัฒนา ใช้ชื่อว่า Octokit รองรับภาษา JavaScript/TypeScript, C#/.NET, Ruby โดยใช้วิธีการพัฒนาตัว SDK แบบดั้งเดิม คือใช้โปรแกรมเมอร์ของ GitHub สร้างขึ้นมา
ล่าสุด GitHub บอกว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว และต้องการใช้เครื่องมือ code generation สร้าง SDK ที่อิงกับ API ของ GitHub แทน เพื่อให้ได้ SDK ที่สอดคล้องกับ API เวอร์ชันล่าสุดเสมอ 100% ไม่ต้องใช้แรงมนุษย์มาปรับแก้ทุกครั้งไป ลดภาระทั้งการดูแลและการแก้บั๊กลง
Niklaus Wirth ผู้สร้างภาษา Pascal และผู้บุกเบิกสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาด้วยวัย 89 ปี
นอกจากภาษา Pascal ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นวงกว้างแล้ว Wirth ยังเป็นหัวหน้าทีมออกแบบภาษาโปรแกรมอีกจำนวนมาก เช่น Euler (1965), ALGOL W (1966), Modula (1975), Oberon (1987), Lola (1995) เป็นต้น
ที่มา - @Bertrand_Meyer
GitHub ประกาศว่าบริการ Copilot Chat ตอนนี้เปิดให้ใช้งานสำหรับองค์กรและผู้ใช้งานทุกคนแล้ว หลังจากทดสอบในกลุ่มจำกัดสถานะเบต้าก่อนหน้านี้
GitHub Copilot Chat รองรับการใช้งานทั้งบน Visual Studio Code และ Visual Studio สำหรับผู้ใช้งานและองค์กรทุกแผนที่สมัคร ตลอดจนกลุ่มผู้ใช้งานด้านการศึกษา และโครงการโอเพนซอร์สที่ยืนยันตัวตน
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชนนักพัฒนา Ruby ที่จะออก update ทุกวันคริสต์มาสของทุกปี คริสต์มาสปีนี้เวอร์ชัน Ruby 3.3.0 ก็ได้ถูกประกาศหลุดจากสถานะ Release Candidate (RC) เป็นพร้อมใช้งาน โดยในรอบปีที่ผ่านมา แนวทางการพัฒนาของ Ruby ยังมุ่งไปในทางเพื่อเพิ่ม performance เป็นหลัก ซึ่งในเวอร์ชัน 3.3.0 นี้เอง ก็ได้มีการเพิ่มและปรับปรุงที่น่าสนใจดังนี้
Lazarus IDE โครงการ IDE เข้ากันได้กับ Borland Delphi ระบบพัฒนาซอฟต์แวร์ตระกูล Turbo Pascal ที่ออกมาตั้งแต่ปี 1995 และเคยเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับการพัฒนาโปรแกรม GUI ทั้งหลาย
Lazarus อาศัยคอมไพล์เลอร์ Free Pascal เป็นแกนกลาง เวอร์ชั่นนี้รองรับ Qt6 เพิ่มเติม ปรับปรุงการรองรับ Cocoa บน macOS และรองรับการพัฒนาเว็บเต็มรูปแบบขึ้นโดยอาศัยโครงการ pas2js สามารถพัฒนาเว็บทั้งแบบ Progressive Web Application และแบบ Electron
โครงการ Lazarus นั้นพัฒนาแยกทางกับ RAD Studio ของ Embarcadero มานาน component ใหม่ๆ เข้ากันไม่ได้หลายตัว แต่ถ้าใครคิดถึงความหลังหรือมีโครงการเก่าๆ ก็น่าจะนำมาคอมไพล์กันได้
โครงการ SvelteKit เฟรมเวิร์คเต็มรูปแบบสำหรับ Svelte ปรับเวอร์ชั่นเป็น 2.0 ถอดการรองรับ Svelte 3 ออกโดยสมบูรณ์ และเตรียมรองรับ Svelte 5 ที่จะออกในปี 2024 นี้
แม้ฟีเจอร์ส่วนมากจะเตรียมรองรับ Svelte 5 แต่ก็มีฟีเจอร์สำคัญคือ shallow routing สำหรับการสร้าง history โดยไม่ต้องเปลี่ยนหน้าเว็บ ตัวอย่างการใช้งานสำคัญคือเมื่อเว็บแสดง modal ขึ้นมา ผู้ใช้บนโทรศัพท์มักจะปัดจอเพื่อปิด modal ฟีเจอร์ใหม่นี้เปิดทางให้นักพัฒนาสร้างเพิ่ม history เข้าไป เมื่อได้รับ event การกด back รวมถึงการปัดหน้าจอบนโทรศัพท์ก็จะเป็นการปิด modal ไป
Turbo Pascal หนึ่งในเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมแบบ IDE ยุคแรกๆ มีอายุครบ 40 ปีในเดือนนี้ (ออกครั้งแรกเดือนธันวาคม 1983)
จุดกำเนิดของ Turbo Pascal เกิดจาก Philippe Kahn ผู้ก่อตั้งบริษัท Borland ในปี 1982 มองเห็นโอกาสธุรกิจด้านเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เดิมทีกระจัดกระจาย เขามีวิสัยทัศน์ว่าควรรวมเครื่องมือทุกอย่างเป็นแพ็กเกจเดียว (editor, compiler และอื่นๆ) โดยเขาซื้อไลเซนส์คอมไพเลอร์ Blue Label Pascal ที่สร้างโดย Anders Hejlsberg โปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก มาเพิ่ม editor และ UI ขายในชื่อว่า Turbo Pascal ในราคา 49.99 ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในยุคนั้นที่ขายในราคาหลายร้อยดอลลาร์
IBM เตรียมนำ Generative AI มาใช้แก้ปัญหาว่าโลกเรามีโค้ดภาษา COBOL รันอยู่มาก โดยเฉพาะในแวดวงธนาคาร แต่โปรแกรมเมอร์ COBOL รุ่นเก่าๆ แก่ชรากันไปเกือบหมดแล้ว และโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ๆ ก็ไม่มีใครสนใจภาษา COBOL ทำให้นักพัฒนาสายนี้ขาดแคลนอย่างหนัก
การศึกษาของ International Journal of Advanced Research in Science, Communication and Technology (IJARSCT) ประเมินว่าโค้ด 43% ในธุรกิจธนาคารยังเป็นโค้ด COBOL ดั้งเดิม
Django หนึ่งในเฟรมเวิร์คยอดนิยมในภาษา Python ออกเวอร์ชั่น 5.0 สองปีหลัง 4.0 มีการปรับฟีเจอร์เพิ่มไม่มากนัก แต่เป็นการปรับเวอร์ชั่นหลักเนื่องจากถอดฟีเจอร์บางส่วน ร่วมถึงหยุดซัพพอร์ต Python 3.8 และ 3.9 ออก
ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมา รายการสำคัญๆ ได้แก่
AWS เปิดบริการ Amazon Q แชตบอตผู้ช่วยสารพัดประโยชน์แบบเดียวกับ ChatGPT แต่ชูจุดเด่นในการอ่านข้อมูลภายในองค์กร สามารถดึงข้อมูลจากในสตอเรจ S3 หรือบริการอื่นๆ เช่น Salesforce, Google Drive, Microsoft 365, ServiceNow, Atlassian, หรือ Zendesk มาตอบคำถามผู้ใช้ได้
ข้อมูลที่ Amazon Q นำมาตอบนั้นจะใช้สิทธิการเข้าถึงเดียวกับสิทธิ์ของบริการที่ไปเชื่อมต่อ และสามารถสั่งงานแอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น เปิด ticket ใน Jira หรือเปิดเคสใน Salesforce ได้จากแอปแชต
โครงการ Biome ชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาเว็บประสิทธิภาพสูงประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโครงการให้เกือบเทียบเท่าโครงการ Prettier โครงการ code formatter ยอดนิยมที่มียอดดาวน์โหลดถึงสัปดาห์ละ 29 ล้านครั้ง
ก่อนหน้านี้ Biome ทำงานต่างกับ Prettier พอสมควร โดยสามารถผ่านชุดทดสอบของ Prettier ได้เพียง 85% เท่านั้น แต่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาทาง Prettier ก็หาเงินจากสปอนเซอร์ต่างๆ มาตั้งรางวัล 22,550 ดอลลาร์ให้กับโครงการที่สามารถอิมพลีเมนต์ code formatter ที่ผ่านชุดทดสอบของ Prettier ได้เกิน 95% โดยเขียนโค้ดด้วยภาษา Rust และทางโครงการ Biome ก็เพิ่มฟีเจอร์อย่างรวดเร็วจนผ่านชุดทดสอบได้ 96% ได้รับรางวัลไปหลังการประกาศรางวัลเพียงสามสัปดาห์
PHP ออกเวอร์ชัน 8.3 ตามนโยบายการออกรุ่นใหม่ปีละ 1 ครั้งช่วงปลายปี มีของใหม่ที่ระดับของตัวภาษาหลายอย่าง