Bun รันไทม์จาวาสคริปต์ ออกเวอร์ชัน 1.0 ตามที่ประกาศไว้ ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจากเวอร์ชัน 0.8 คือรองรับการรันเฟรมเวิร์คยอดนิยม Next.js, Astro, Nest.js แล้ว
Bun เป็นรันไทม์ที่ออกแบบมาให้ใช้แทน Node.js ได้ทันที (drop-in replacement) สามารถนำแอพที่เขียนบน Node.js และแพ็กเกจ npm มาใช้ทำงานได้เลย จุดเด่นของมันคือความเร็วที่เหนือกว่า 4 เท่า ยิ่งถ้าเขียนโค้ดมาเป็น TypeScript ที่ต้องแปลง (transpile) มาเป็น JavaScript ก่อนรัน ยิ่งเห็นความแตกต่างมากขึ้นอีก เพราะ Bun มีตัว transpiler ฝังมาในรันไทม์เลย สามารถรัน TypeScript ได้ในตัวเช่นเดียวกับ JavaScript
David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp และผู้สร้าง Ruby on Rails ประกาศถอดภาษา TypeScript ออกจากโครงการ Turbo ที่เร่งความเร็วหน้าเว็บด้วยการลดการโหลดจากการกดลิงก์หรือส่งข้อมูลฟอร์ม
Hansson ระบุในประกาศว่าเขาไม่เคยชอบ TypeScript ตั้งแต่แรก และไม่ชอบตลอดที่ใช้งานมา 5 ปี แต่กลับชอบ JavaScript มากกว่าและนับว่าเป็นภาษาที่ชอบเป็นรองเพียง Ruby เท่านั้น และข้อเสียต่างๆ ของ JavaScript ก็ถูกแก้ไปเยอะแล้ว โดยเฉพาะระบบ class ขณะที่ภาษา TypeScript นั้นเพิ่มขั้นตอนการคอมไพล์เข้ามาและบังคับใช้ type จนวุ่นวายและสุดท้ายในเคสยากๆ ก็ต้องใช้ any
jq ภาษาโปรแกรมเฉพาะทางสำหรับประมวลผลข้อมูลแบบ JSON นับเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่โครงการก็หยุดพัฒนาไปพักใหญ่ ล่าสุดโครงการก็กลับมาอีกครั้ง โดยการกลับมาครั้งนี้มีความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาให้เป็นชุมชนมากขึ้น
เดิม jq เป็นโครงการส่วนตัวเอง Stephen Dolan นับแต่เวอร์ชั่น 1.7 กลุ่มนักพัฒนาจะช่วยกันดูแลภายใต้โครงการ jqlang ตอนนี้มีนักพัฒนาหลักช่วยกันดูโครงการถึง 10 คน
เวอร์ชั่น 1.7 แก้ไขบั๊กจำนวนมาก เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาหลายส่วน ฟังก์ชั่นใหม่ๆ เช่น pick สำหรับคิวรีค่าใน json dict, debug ตัวใหม่ที่ประมวลข้อมูลก่อนพิมพ์ได้, abs สำหรับหาค่าสมบูรณ์ของตัวเลข
ที่มา - GitHub: jqlang
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดคอร์สออนไลน์ Foundational C# with Microsoft เรียนฟรี เรียนจบสอบผ่านมีใบรับรองให้ฟรี เรียนได้ทั้งโลกไม่จำกัดประเทศ
คอร์สนี้เป็นความร่วมมือของไมโครซอฟท์กับ freeCodeCamp หน่วยงานไม่หวังผลกำไรที่สอนโปรแกรมมิ่ง คอร์สนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่เคยเขียน C# มาก่อนเลย โดยสอนความรู้พื้นฐาน เช่น วิธีการเขียนและรันโค้ด ชนิดของข้อมูล ตัวแปร เมธ็อด ไปจบด้วยการดีบั๊กโค้ดที่รันในคอนโซล (ยังไม่ไปถึงโค้ดมี UI)
ชุมชนโปรแกรมเมอร์ภาษา Rust เผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้ภาษา Rust ประจำปี 2022 (เพิ่งมาเผยแพร่ตอนนี้) จำนวน 9,433 คนจากทั่วโลก พบว่าราว 30% มีการใช้งาน Rust ในที่ทำงาน (ไม่ใช่แค่เขียนเองใช้ส่วนตัว) เพิ่มขึ้น 52% จากผลสำรวจรอบก่อนหน้า
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมยอดนิยม 4 คน มารวมตัวกันเป็นครั้งแรกในงานเสวนาเพื่อการกุศล Language Creators Charity Fundraiser โดยรายได้จากการขายบัตรจะมอบให้หน่วยงานด้านการศึกษา Last Mile Education Fund และ NumFOCUS
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมทั้ง 4 คนที่เข้าร่วมได้แก่
งานเสวนาครั้งนี้จัดโดยกลุ่ม PyData Seattle วันที่ 19 กันยายน 2023 ที่เมือง Bellevue ในรัฐวอชิงตัน
ก่อนหน้านี้ 3 จาก 4 คนข้างต้น (ไม่รวม Goldberg) เคยขึ้นเวทีร่วมกันมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2019 รวมกับอีกคนคือ Larry Wall ผู้สร้างภาษา Perl
Meta ปล่อย Code Llama โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาต่อจาก Llama2 มาฝึกกับซอร์สโค้ดขนาด 500 ล้านโทเค็น ได้โมเดลทั้งแบบเติมโค้ดปกติ, แบบรับคำสั่ง, และโมเดลฝึกเฉพาะกับโค้ด Python
ผลทดสอบการเขียนโค้ด HumanEval นั้น Code Llama ขนาด 34B ได้คะแนนดีกว่าโมเดลอื่นๆ ทั้งหมด รวมถึง GPT-3.5 หรือ ChatGPT ด้วย เป็นรองเพียง GPT-4 เท่านั้น ขณะที่โมเดลขนาดรองลงมา เช่น 7B และ 13B ก็ยังทำคะแนนได้ดีและตอบสนองเร็วกว่ามาก
กระบวนการฝึก Code Llama นั้นเน้นถึงการเติมโค้ดตรงกลางเพิ่มเข้ามา เนื่องจากการใช้งานมักต้องใช้สำหรับ code completion ด้วย และต้องฝึกให้ขยาย context จาก 4K เป็น 100K เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเขียนโค้ดขนาดใหญ่ๆ
DARPA หน่วยงานให้ทุนวิจัยของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดโครงการ V-SPELLS ที่ช่วยให้กลาโหมสหรัฐฯ สามารถอัพเดตซอฟต์แวร์เก่าที่เขียนมานานแล้วด้วยการ decompile จนสามารถนำโค้ดกลับมาใช้งานได้
เทคนิคการ decompile ไบนารีนั้นมีมานานแล้ว แต่ส่วนมากมักได้โค้ดที่คุณภาพแย่จนใช้เพื่อดูการทำงานซอฟต์แวร์เท่านั้น ไม่เหมาะกับการนำไปพัฒนาต่อจริงๆ
ทีมงานจากมหาวิทยาลัยจอร์เจีย หนึ่งในทีมงานที่ร่วมโครงการ V-SPELLS อาศัยการแปลงโค้ดเป็นไฟล์ HAR (highly abstract representation) ที่วิศวกรสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ และยังคอมไพล์กลับไปเป็นไบนารีเพื่อใช้งานต่อได้ โดยตัวภาษาเป็น pseudo-code ที่แสดงความเชื่อมโยงโค้ดเป็นกราฟ ตัวนักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดในภาษา C/C++ ได้
กูเกิลแสดงผลการทดลองใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม Large Language Model (LLM) มาเขียนโค้ดยิงไลบรารีต่างๆ ภายใต้โครงการ OSS-Fuzz เพื่อหาช่องโหว่ซอฟต์แวร์
การทดสอบแบบ fuzzing ช่วยให้พบช่องโหว่แบบที่คนคิดไม่ถึงโดยเฉพาะช่องโหว่หน่วยความจำ ด้วยการอาศัยการยิงอินพุตแบบสุ่ม อย่างไรก็ดีโค้ดที่ใช้ทดสอบนั้นต้องเขียนด้วยมือทำให้ชุดทดสอบต่างๆ มักครอบคลุมโค้ดที่ต้องการทดสอบไม่มากนัก โดยเฉลี่ยครอบคลุมเพียง 30% เท่านั้น
ทีมงานกูเกิลเขียน prompt ให้ LLM ของกูเกิลเองเขียนโค้ดสำหรับทดสอบ หากโค้ดรันไม่ผ่านก็สามารถอ่าน error แล้วแก้ไขโค้ดใหม่ไปได้ ข้อดีสำคัญคือโค้ดที่ได้จะทดสอบส่วนต่างๆ ของโครงการโอเพนซอร์สได้เพิ่มเติม ทำให้ความครอบคลุมโดยรวมดีขึ้น
ทีมวิจัยจาก Purdue University ลองสำรวจการใช้ ChatGPT ตอบคำถามด้านโค้ดดิ้ง โดยเทียบคำถามเดียวกันกับที่ถามบน Stack Overflow จำนวน 517 คำถาม แล้วนำคำตอบมาเปรียบเทียบกับคำตอบของมนุษย์ว่าถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วนแค่ไหน อีกทั้งให้อาสาสมัครจำนวนหนึ่งเลือกว่าชอบคำตอบอันไหนมากกว่า
ผลคือคำตอบ 52% ของ ChatGPT ตอบผิด (incorrect) ส่วนอาสาสมัครเลือกคำตอบจาก ChatGPT จำนวน 39.34% เนื่องจากใช้ภาษาดี แสดงเหตุผลดูน่าเชื่อถือ ซึ่ง 77% ของคำตอบเหล่านี้ผิดซะด้วย
กูเกิลเปิดตัว Project IDX เว็บพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเดียวกับ GitHub Codespaces และ Replit
การทำงานโดยรวมของ Project IDX คล้ายกับบริการที่มีอยู่ตอนนี้ ตั้งแต่การดึงโค้ดจาก GitHub และสร้าง virtual machine เพื่อรันโค้ดระหว่างที่เปิด IDE ใช้งาน ที่ตัว IDE ของ Project IDX เองก็ใช้ฐานจาก VS Code เช่นกัน ในช่วงแรกจะสามารถพรีวิวโครงการที่เป็นเว็บได้ในตัว แต่อนาคตจะรองรับการรันทั้งแอปแอนดรอยด์และ iOS
Stability.AI บริษัทปัญญาประดิษฐ์โอเพนซอร์สเปิดตัว StableCode ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ในเครื่องตัวเอง
StableCode มีสามเวอร์ชั่น ได้แก่
Nim Language ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ เขียนง่ายเหมือน Python, เร็วเหมือน C และเขียนมาโครได้เหมือน Lisp ออกเวอร์ชั่น 2.0
ฟีเจอร์ใหญ่ของเวอร์ชั่นนี้คือเปิด ORC memory management และ multi threads เป็นค่าเริ่มต้น. ซึ่ง ORC MM ทำให้ตัวโปรแกรมหลัง compile ไม่ต้องมี garbage collector ทำงานอยู่เบื้องหลังเมื่อรันโปรแกรม. ทำให้ภาษาสามารถใช้กับงานที่ไม่ต้องการให้โปรแกรมหยุดจากการทำงานของ GC เช่นงาน soft real-time.
Stack Overflow ประกาศฟีเจอร์ AI ชุดใหญ่ในชื่อแบรนด์ว่า OverflowAI ภาพรวมคือการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ LLM ช่วยสรุปเนื้อหากระทู้ถาม-ตอบ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์อ่านทำความเข้าใจได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม
รายงานดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE Index ประจำเดือนกรกฎาคม 2023 มีประเด็นที่น่าสนใจ โดยหลังจาก C++ แซง Java มีความนิยมขึ้นมาเป็นอันดับ 3 แทน ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แนวโน้มส่วนแบ่งของ C++ นั้นเข้าใกล้อันดับ 2 ภาษา C มากขึ้น ระยะห่างเหลือเพียง 0.76%
ส่วนอันดับอื่นที่ TIOBE พูดถึง JavaScript ขึ้นมาเป็นอันดับ 6 สูงสุดเท่าที่เคยทำได้ เช่นเดียวกับ Matlab, Scratch และ Rust ขึ้นมาอันดับสูงสุดที่ 10, 12 และ 17 ตามลำดับ ขณะที่ COBOL กลับขึ้นมาในอันดับ 20
อันดับ 1-2-3 ได้แก่ Python (13.42%), C (11.56%) และ C++ (10.80%)
ที่มา: TIOBE
JetBrains เปิดตัว Qodana (อ่านว่า โคดานา) เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ดอย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปี 2021
Qodana เป็นเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพโค้ด (code quality platform) โดยจะดึงซอร์สโค้ดมาอ่าน วิเคราะห์หาบั๊ก หาปัญหาประสิทธิภาพ หาช่องโหว่ความปลอดภัย หาการใช้โค้ดจากภายนอก (เผื่อเจอปัญหาไลเซนส์) ทั้งหมดสามารถทำงานได้กับระบบ CI/CD ใดๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ของ JetBrains (จะเชื่อมกับ GitHub Actions, GitLab, CircleCI, Jenkins, Azure Pipelines ได้หมด) รองรับการวิเคราะห์โค้ดกว่า 60 ภาษาและเฟรมเวิร์คชื่อดังต่างๆ
ข่าวนี้เหมาะสำหรับครูบาอาจารย์ที่สอนวิชาโปรแกรมมิ่ง และกำลังสนใจสอนภาษา Kotlin ในฐานะภาษาใหม่ที่กำลังมาแรง
JetBrains ในฐานะบริษัทผู้สร้าง Kotlin เปิดเอกสารทั้งหมดในคอร์ส Programming in Kotlin ให้ใช้งานได้ฟรี ครอบคลุมถึงสไลด์ประกอบการบรรยาย ควิซ การบ้าน และคลิปวิดีโอการบรรยายของ Anastasia Birillo ผู้สอนวิชานี้ เอกสารสามารถดาวน์โหลดได้จาก หน้าเว็บ Kotlin Educator
JetBrains เปิดตัวปลั๊กอิน Kotlin Notebook สำหรับ IntelliJ IDEA เพื่อให้ผู้สนใจภาษา Kotlin สามารถลองเขียนโค้ด ใส่ตารางข้อมูล ทำภาพ visualization ได้จบในตัว แบบเดียวกับโน้ตบุ๊กภาษา Python
JetBrains บอกว่าแนวคิดการใช้โน้ตบุ๊ก Jupyter ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการทำโปรแกรมต้นแบบ, การวิเคราะห์ข้อมูล และงานสาย data science จึงต้องการขยายผลมายังภาษา Kotlin ด้วย รูปแบบการทำงานยังเหมือนกัน ตัวไฟล์โน้ตบุ๊กจะใช้นามสกุล .ipynb และมีโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลแบบเดียวกัน
ในเบื้องต้น ปลั๊กอิน Kotlin Notebook ยังมีสถานะเป็นแค่การทดลอง (experimental) ต้องอิงกับบางส่วนในปลั๊กอิน Python อยู่ แต่จะแยกขาดจากกันในภายหลัง
Svelte เฟรมเวิร์คพัฒนา front-end ยอดนิยมออกเวอร์ชั่น 4 โดยกระบวนการเขียนโปรแกรมและ API ต่างๆ ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก แต่เป็นการปูทางสู่ Svelte 5 ที่เตรียมจะเขียนคอมไพล์เลอร์และรันไทม์ใหม่พร้อมกัน
แม้จะเปลี่ยนอินเทอร์เฟซไม่เยอะ แต่ก็มีการปรับปรุงขนาดไฟล์ลงมาก ตัวแพ็กเกจ Svelte เองมีขนาดลดลง 75% เหลือ 2.8MB จากเดิม 10.6MB จำนวน dependency ลดลงเหลือ 16 รายการจากเดิม 61 รายการทำให้ขั้นตอนดาวน์โหลดแพ็กเกจสั้นลงมาก
แพ็กเกจและแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่พัฒนาบน Svelte 3 ควรทำงานได้บน Svelte 4 ทันที แต่ขึ้นกับ dependency อื่นๆ เช่น เวอร์ชั่นนี้ต้องใช้ Node.js 16 ขึ้นไป
ที่มา - Svelte
Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์ค Next.js เปิดตัว Vercel AI SDK ชุดพัฒนาสำหรับการสร้างเว็บแบบเดียวกับ ChatGPT ของ OpenAI สามารถใช้งานได้กับ React และ Svelte
ภายใน SDK มีสองส่วนประกอบหลัก ส่วนแรกคือ LLM Adapters เปิดทางให้เชื่อมกับ API ของผู้ให้บริการปัญญาประดิษฐ์เจ้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ตอนนี้รองรับ OpenAI, LangChain, Anthropic, และ Hugging Face
ส่วนที่สองคือการสตรีมข้อมูลที่ได้จาก API แบบเดียวกับที่เราใช้ ChatGPT แล้วคำตอบค่อยๆ ตอบขึ้นมา นอกจากค่อยๆ ส่งคำตอบไปยังเว็บแล้ว ยังมี API สำหรับการเซฟคำตอบสุดท้ายในกรณีที่ต้องการเซฟคำตอบลงฐานข้อมูล
ตัว SDK เป็นโอเพนซอร์สแบบ Apache 2.0 ไม่ต้องใช้งานกับ Next.js และในอนาคตจะรองรับ Vue เพิ่มเติม
DeepMind เปิดตัว AlphaDev ปัญญาประดิษฐ์พัฒนาโปรแกรมที่ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมธรรมดา แต่สามารถออปติไมซ์โปรแกรมจนเกินกว่าที่คนทั่วไปเขียนได้ ในกรณีนี้ทาง DeepMind ใช้ AlphaDev สร้างฟังก์ชั่น sort สำหรับเรียงลำดับข้อมูลที่มีการพัฒนากันมานาน
AlphaDev ทำงานคล้าย AlphaZero ที่เคยใช้สำหรับการเล่นเกมโกะมาก่อน โดย AlphaDev จะวางคำสั่ง assembly ลงไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้โค้ดรันได้เร็วที่สุดเหมือนเกมโกะที่พยายามครองพื้นที่ให้ได้มาก แต่หากโปรแกรมทำงานผิดก็จะถือว่าแพ้เกมนั้นไป โมเดลการให้รางวัลและปรับจูนไปเรื่อยๆ เช่นนี้ทำให้ AlphaDev สามารถเขียนโค้ด sort ที่ทำงานเร็วกว่าโค้ดเดิมใน LLVM ได้ทุกกรณี ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อยโค้ดจะเร็วกว่าถึง 70% ขณะที่เมื่อข้อมูลมีจำนวนมากๆ ก็ยังเร็วกว่า 1.7%
Google Colab เป็นเครื่องมือเขียนโค้ดภาษา Python แบบออนไลน์ผ่านเบราว์เซอร์ เนื้อข้างในเป็น Jupyter ที่โฮสต์บนเครื่องกูเกิลและเปิดให้ทุกคนใช้งานฟรี
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Colab จะได้ฟีเจอร์ AI ช่วยเขียนโค้ดกับเขาด้วยเช่นกัน โดยใช้โมเดล Codey ที่ดัดแปลงจาก PaLM 2 เพื่อให้เจาะลึกด้านโปรแกรมมิ่ง และเป็นโมเดลตัวเดียวกับที่ใช้ใน Android Studio เวอร์ชันล่าสุด แต่กูเกิลก็บอกชัดว่าปรับแต่งให้เหมาะกับ Python และพฤติกรรมการใช้งานของ Colab โดยเฉพาะด้วย
กูเกิลและ JetBrains โชว์การนำภาษา Kotlin มาเขียนเว็บ โดยคอมไพล์เป็น WebAssembly เพื่อให้รันในเบราว์เซอร์ได้ มีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่าเนทีฟ
ในยุคสมัยที่โลกมี 3 แพลตฟอร์มใหญ่คือ Android, iOS และเว็บ การมีแอพ 3 เวอร์ชันเป็นภาระในการดูแล จึงมีคนหาวิธีสร้างแอพด้วยภาษา-เครื่องมือเดียวกันกับทุกแพลตฟอร์ม (ด้วยวิธีการทางเทคนิคที่ต่างกัน แต่เป้าหมายเดียวกัน) เช่น .NET/Xamarin (C#) หรือ Flutter (Dart)
บริษัท Modular ผู้พัฒนาโคงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เปิดตัวภาษา Mojo ที่ตัวภาษาเหมือนภาษา Python แต่เป็นภาษาคอมไพล์และใช้ฟีเจอร์เร่งความเร็วต่างๆ ของซีพียูจนได้ประสิทธิภาพเต็มที่ ในงานที่สามารถใช้ฟีเจอร์ประมวลผลขนานของซีพียูได้มากๆ สามารถทำความเร็วได้เหนือ Python ปกติถึง 35,000 เท่าตัว
David Weston หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยระบบปฏิบัติการของ Windows ไปพูดในงานสัมมนาความปลอดภัย BlueHat IL 2023 ที่อิสราเอล เปิดเผยว่าไมโครซอฟท์เริ่มใช้ภาษา Rust เขียนบางส่วนของ Windows เพื่อแก้ปัญหาช่องโหว่หน่วยความจำแล้ว
Weston เล่าว่าช่องโหว่ด้านหน่วยความจำ มีสัดส่วนเป็น 70% ของช่องโหว่ทั้งหมดของ Windows ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีแก้ไขที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยวิธีการหนึ่งคือใช้ภาษาโปรแกรมที่ป้องกันเรื่องนี้ตั้งแต่ระดับของตัวภาษาเลย