อ่านแต่หัวข่าวเฉยๆ มันจะเข้าใจยากนิดนึงครับ ขออธิบายเพิ่มดังนี้
"วัตถุ" หรือ "อ็อบเจ็คต์" แต่ละชนิดจะมีข้อมูล metadata ที่อธิบายตัวมันเองแตกต่างกันไป เช่น ภาพยนตร์มีข้อมูลความยาว ผู้กำกับ นักแสดงนำ, หนังสือมีข้อมูลผู้เขียน ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ฯลฯ ซึ่งเวลาเก็บข้อมูล metadata เหล่านี้ในฐานข้อมูลเฉพาะก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะกำหนดฟิลด์ชัดเจนว่าฟิลด์ไหนหมายถึงอะไร (structured data)
แต่พอ "แสดงผล" ข้อมูลออกมาเป็น HTML บนหน้าเว็บ มันจะกลายเป็นข้อความ text ธรรมดาทั้งหมด (unstructured data) แยกแยะได้ยากว่าข้อความส่วนไหนคือฟิลด์ผู้เขียน ฟิลด์ผู้กำกับ ฯลฯ แน่นอนว่าเราอาจดักจับแพทเทิร์นบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะแต่ละเว็บใช้ไม่เหมือนกัน
มีคนตาดีเห็นว่าในหน้าการตั้งค่า Internet Explorer 9 บน Windows Phone 7.1 "Mango" มีหัวข้อ "Default Search Engine" ปรากฏอยู่ (ดูภาพอ้างอิงที่ท้ายข่าว) จึงมีความเป็นไปได้ที่ไมโครซอฟท์จะยอมให้ผู้ใช้เลือกเสิร์ชเอนจิ้นที่จะค้นหาข้อมูลบน Internet Explorer หรือกระทั่งการกดปุ่ม Search บนตัวเครื่องได้เองเสียที (หากอัพเดตตัวจริงที่ไมโครซอฟท์จะปล่อยออกมายังมีตัวเลือกนี้อยู่!)
และแน่นอน คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อยู่แถบสหรัฐฯ หรือยุโรปก็คงจะเลือกกูเกิลแทน Bing!?
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาสายการบินบนเว็บไซต์ของตัวเองแล้ว โดยพิมพ์คำค้นที่เกี่ยวกับ flight พร้อมเมืองต้นทางและปลายทาง กูเกิลจะแสดงสายการบินต่างๆ ในหน้าผลการค้นหาให้เรา
ฟีเจอร์นี้มีในกูเกิลภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ อีก 9 ภาษา (ยังไม่มีภาษาไทย แต่มีข้อมูลสายการบินในประเทศไทยถ้าเข้า google.com ภาษาอังกฤษ ลองดูภาพประกอบ)
เมื่อคืนนี้หุ้นของบริษัท Yandex NV จากประเทศรัสเซียซึ่งเป็นเจ้าของเว็บเสิร์ชภาษารัสเซีย Yandex เริ่มซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq โดยมีราคาเริ่มต้นหรือ IPO 25 ดอลลาร์ และจบการซื้อขายวันแรกที่ราคา 38.84 ดอลลาร์ เพิ่มสูงขึ้นถึง 55%
ชื่อ Yandex ย่อมาจากคำว่า "Yet Another Index" ตัวเว็บได้รับความนิยมในรัสเซียมากจนได้ฉายาว่ากูเกิลแห่งรัสเซีย ปัจจุบันมี Arkady Volozh ดำรงตำแหน่งซีอีโอ โดยเขากล่าวว่าบริษัทมีรายได้หลักจากการโฆษณาเหมือนกับเสิร์ชรายอื่น เพียงแต่ตลาดของรัสเซียยังมีโอกาสเติบโตได้สูงและรวดเร็วอีกหลายเท่าตัว โดยปีที่แล้ว Yandex มีรายได้ 445 ล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิ 135 ล้านดอลลาร์
ทั้ง Bing และกูเกิลต่างผนวกรวมข้อมูลจาก Twitter เข้ามาอยู่ในผลการค้นหาของตัวเองแล้ว แต่ในกรณีของข้อมูลจาก Facebook ซึ่งมีความสัมพันธ์กับกูเกิลในฐานะ "คู่แข่ง" ก็มีเพียง Bing เจ้าเดียวที่ได้มา
เมื่อปลายปีที่แล้ว Bing ได้ประกาศว่าจะรวมผลการกด Like ของเพื่อนๆ เข้ามาในผลการค้นหาของเราด้วย
วันนี้ Bing ประกาศเพิ่มเติมว่าจะนำข้อมูลอื่นๆ จาก Facebook เข้ามารวมในผลการค้นหาของตัวเองอีกชุดใหญ่
สิ่งที่ประกาศวันนี้มีดังนี้
จากการศึกษาของ Experian Hitwise พบว่า Bing ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า Google โดย Bing มีอัตราการค้นพบผลลัพธ์ที่พึงพอใจอยู่ที่ 81.54% ในขณะที่ Google อยู่ที่ 66.58% เท่านั้น โดยวิธีการวัดความแม่นยำนั้นจะวัดจากอัตราที่ผู้ใช้ "คลิก" เข้าชมเว็บไซต์ผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ถึงความแม่นยำที่ผลลัพธ์จะมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ
แน่นอนว่าการที่ Bing มีความแม่นยำสูงกว่า Google นั้น จะเป็นตัวเร่งส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข่าวนี้
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Google Image Search คือการแสดงรูปภาพตามหมวดหมู่หรือ Sort by subject
ฟีเจอร์นี้จะกดเลือกได้จาก sidebar ด้านซ้ายมือของหน้าผลการค้นหา ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแสดงผลการค้นรูปภาพจากเดิมที่เรียงตามความแม่นยำ มาเป็นการจัดหมวดภาพที่คล้ายๆ กันได้ เช่น ค้นหาภาพหมา ก็จะแสดงภาพหมาแบ่งกลุ่มตามสายพันธุ์ต่างๆ (ดูวิดีโอประกอบ)
กูเกิลบอกว่าฟีเจอร์นี้พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีการจัดกลุ่มรูปภาพตัวเดียวกับที่ใช้ใน Google Similar Images และ Google Image Swirl
ที่มา - Official Google Blog
ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มมีคำเตือนว่าแฮ็กเกอร์กำลังใช้ Google Image Search ชักจูงผู้ใช้ไปยังเว็บที่มีอันตรายแฝงอยู่
กระบวนการทำงานของแฮ็กเกอร์คือแฮ็กเว็บไซต์จำนวนหนึ่ง (ตามข่าวคือ WordPress แต่ CMS ตัวอื่นก็มีสิทธิโดนเหมือนกัน) แล้วฝังสคริปต์ PHP ลงไป สคริปต์ตัวนี้จะคอยตรวจสอบว่า "คำค้น" ไหนใน Google Image Search ที่กำลังนิยม (เช่น รูปภาพของบิน ลาเดน) จากนั้นมันจะไปดูดรูปภาพที่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้
เป็นข่าวภายในที่กูเกิลไม่ได้ประกาศต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ แต่ในเอกสารทางการเงินของกูเกิลที่ยื่นต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ก็ระบุตำแหน่งของผู้บริหารกูเกิล Alan Eustace ซึ่งเดิมดูแลฝ่าย "Search" เปลี่ยนชื่อเป็น "Knowledge" แล้ว
เว็บไซต์ TechCrunch ตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้อาจสะท้อนวิสัยทัศน์ของ Larry Page ซีอีโอคนใหม่ ที่ต้องการขยายภารกิจของกูเกิล จากเดิม "organize the world's information and make it universally accessible and useful" ซึ่งเน้นไปที่การค้นหา มาเป็น "understanding and facilitating the creation of knowledge" ซึ่งครอบคลุมเครื่องมือกว้างกว่านั้น
เว็บไซต์แห่งหนึ่งรายงานว่า ผู้ใช้เว็บไซต์ Google.com รายหลายที่เปิดใช้ไมโครโฟนได้เห็นไอคอนรูปไมโครโฟน และหากคลิกลงไปจะมี widget เขียนว่า "Speak Now" เพื่อให้ผู้ใช้พูดสิ่งที่ต้องการค้นหาลงไป ผู้ใช้ที่เห็นฟังก์ชั่นนี้ยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ใช้ส่วนเสริม Voice Search บนเบราว์เซอร์ Google Chrome แต่อย่างไร
ไม่ใชว่ากูเกิลไม่เคยทำฟังก์ชั่นค้นหาข้อมูลด้วยเสียงเลย เพราะ Android นั้นมีฟังก์ชั่นนี้มาพร้อมระบบปฏิบัติการมาเป็นปีแล้ว ตอนนี้คงต้องรอกันต่อไปว่ากูเกิลจะปล่อยฟังก์ชั่นค้นหาด้วยเสียงบนหน้าเว็บเมื่อไร
สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์ขึ้นเวที BlackBerry World Event และประกาศว่าบริการค้นหาและแผนที่ของไมโครซอฟท์จะกลายเป็นเสิร์ชเอ็นจินและระบบแผนที่หลักในสมาร์ทโฟนจากค่าย RIM ด้าน Bing Maps จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ และจะผูกบริการอิงสถานที่และการซื้อขายเข้ามาด้วย
คุณบัลเมอร์ยังเสริมว่าไมโครซอฟท์จะยังคงลงทุนในแพลตฟอร์ม BlackBerry ควบคู่ไปกับ Windows Phone 7 ของตัวเอง ในฐานะพันธมิตรที่เหนียวแน่นของ RIM อีกด้วย
ที่มา - Pocketnow
ข่าวนี้เป็นภาคต่อของ eHow โดนกูเกิลลดอันดับในหน้าผลการค้นหาแล้ว บริษัทวิจัยตลาด Experian Hitwise ได้วัดสถิติทราฟฟิกผู้เข้าชมเว็บไซต์ในเครือ Demand Media หลังโดนกูเกิลลดอันดับ ได้ผลดังนี้
ข่าวนี้เป็นภาคต่อครับ ต้องอ่านย้อนก่อน 3 ตอน กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm, กูเกิลปรับอัลกอริทึมใหม่ ลดอันดับ content farm, กูเกิลเอื้อประโยชน์ให้ Demand Media เป็นพิเศษ?
ถึงแม้เว็บไซต์ eHow.com ในเครือ Demand Media ซึ่งถือเป็น content farm รายใหญ่สามารถเอาตัวรอดมาจากการปรับอัลกอริทึมของกูเกิลรอบก่อนได้จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ แต่ชัยชนะก็อยู่กับ eHow ได้ไม่นานอย่างที่คิด เพราะการปรับอัลกอริทึมของกูเกิลรอบล่าสุดที่เรียกกันว่า "Panda" อันดับของ eHow ตกฮวบทีเดียว
ไมโครซอฟท์ออกเวอร์ชันสำหรับไอโฟนมาตั้งแต่ปลายปี 2009 ตอนนี้ออกมาสำหรับไอแพดแล้วครับ
โดยหลักๆ เวอร์ชันนี้ได้ถูกออกแบบให้มีหน้าตาที่ใช้ง่าย เหมาะกับขนาดจอของไอแพด และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ให้ง่ายที่สุดเช่น ข่าว ภาพยนตร์ แผนที่ เป็นต้น มีเพิ่มเติมหน้าแสดง "Trends" ไว้สำหรับดูว่าในแต่ละวันมีหัวข้อไหนที่ถูกค้นหามากที่สุด และยังเพิ่มฟีเจอร์ Voice Search ให้อีกด้วย
ดูหน้าตาได้จากภาพท้ายข่าวครับ
ที่มา: Bing Community
หน้าโฮมของ Bing ภาพพื้นหลังเปลี่ยนได้เองในแต่ละวัน
แม้ว่า Bing จะยังมีส่วนแบ่งตลาดตามหลังกูเกิลอยู่ไกล แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่ยอมแพ้ เก็บเล็กผสมน้อยเพิ่มฟีเจอร์มาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนตอนนี้ Bing (และ Yahoo! ที่ใช้เอนจินของ Bing) มีส่วนแบ่งตลาดสหรัฐรวมกันแตะหลัก 30% แล้ว (สถิติจาก Hitwise)
ในเดือนกุมภาพันธ์ Bing มี 13.49% ส่วน Yahoo! มี 14.99% รวมกันได้ 28.48% แต่พอมาถึงเดือนมีนาคม Bing เพิ่มเป็น 14.32% และ Yahoo! เป็น 15.69% เพิ่มเป็น 30.01%
ส่วนกูเกิลเดิมมี 66.69% ลดลงมาเป็น 64.42%
นี่สินะที่เรียกว่า "ความพยายาม"
ไมโครซอฟท์ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ระบุว่ากูเกิลผูกขาดตลาดค้นหาในยุโรปและกีดกันคู่แข่งไม่ให้แข่งขันได้ โดยไมโครซอฟท์ขอให้คณะกรรมการยุโรปสั่งกูเกิลให้หยุดการกระทำเหล่านี้
ในบล็อกของไมโครซอฟท์ระบุว่ากูเกิลครองส่วนแบ่งตลาดในยุโรป 95% (ส่วนในอเมริกาครองประมาณ 75%) ส่วนประเด็นที่ไมโครซอฟท์กล่าวหาว่ากูเกิลกีดกันคู่แข่ง ที่ยกตัวอย่างมาในบล็อกของไมโครซอฟท์มี 5 อย่าง (ในคำร้องมีมากกว่านั้น)
หลังจากปล่อยให้คู่แข่งอย่างกูเกิลก้าวล้ำหน้าไปด้วย Google Instant วันนี้ยาฮูเองก็เปิดตัว Search Direct บริการค้นหาแบบเรียลไทม์ลักษณะเดียวกัน (แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว) มาแล้ว
Search Direct สามารถลองเล่นได้ที่ http://search.yahoo.com/ ครับ วิธีการใช้งานดูได้จากวิดีโอท้ายข่าว
ผู้ที่สนใจเบื้องหลังทางเทคนิค สามารถอ่านสถาปัตยกรรมข้างใต้ Search Direct ได้ที่ Yahoo! Developer Network ส่วนการเปรียบเทียบผลการค้นหากับ Google Instant ลองดูที่ Search Engine Land
ไล่มาจาก ฝรั่งเศส, คณะกรรมาธิการยุโรป ตอนนี้การสอบสวนว่าการจัดอันดับผลการค้นหาของกูเกิลเป็นการผูกขาดทางการค้าหรือไม่ก็ลามมาถึงสหรัฐฯ แล้ว โดยวุฒิสมาชิก Herb Kohl ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการการต่อต้านการผูกขาดได้ประกาศว่าเข้าสอบสวนกูเกิล เนื่องจากมีเว็บจำนวนมากได้ร้องเรียนมาว่ากูเกิลได้จัดอันดับผลการค้นหาอย่างไม่เป็นธรรม และการเข้าซื้อโฆษณาบนผลค้นหา
การประกาศนี้เป็นการประกาศเริ่มต้นกระบวนการสอบสวน แต่ผลที่เกิดขึ้นแน่นอนคือการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ ในอนาคตของกูเกิลจะถูกตรวจสอบอย่างหนักขึ้น
จากข่าวเก่าที่กูเกิลออก Chrome Extension เพื่อบล็อคเว็บขยะ วันนี้กูเกิลรวมความสามารถนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการค้นหาแล้ว โดยกูเกิลจะเปิดความสามารถนี้ให้แก่ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเท่านั้น เพื่อไม่ให้รบกวนผลการค้นหาของคนอื่น ในช่วงแรกนี้จะเปิดให้กับผุ้ใช้ google.com ภาษาอังกฤษเท่านั้น และจะทยอยเปิดให้ผู้ใช้โดเมนอื่นและภาษาอื่นในภายหลัง
กูเกิลบอกว่าการบล็อคจะไม่มีผลต่อการจัดลำดับผลการค้นหา แต่ทางกูเกิลจะดูเนื้อหาของเว็บที่ถูกบล็อคเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับอัลกอริทึมต่อไป
ที่มา Official Google Blog
กูเกิลเปิดบริการพรีวิวหน้าเว็บก่อนที่จะเข้าเว็บจริงให้กับเบราเซอร์ทั่วไปมาแล้วตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และวันนี้บริการนี้ก็มาถึงสมาร์ตโฟนกันแล้ว โดย Google Instant Previews จะเปิดให้ผู้ใช้ที่ค้นหาหน้าเว็บผ่านโทรศัพท์ที่ใช้ Android 2.2 หรือ iOS 4.0 ขึ้นไปสามารถกดดูภาพได้ทันที
ผมลองใช้บริการนี้ในเมืองไทยแล้วพบว่าใช้ได้ทันทีพร้อมๆ กับเมืองนอก ดังนั้นลองกันได้ทันที หรืออยากดูภาพตัวอย่างและวิดีโอแนะนำก่อนก็อยู่ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Google Mobile Blog
เมื่อครั้งที่ไมโครซอฟท์ออก IE9 Beta ได้ประกาศว่ากำลังทำ Bing เวอร์ชันที่เขียนด้วย HTML5 ซึ่งมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง (รวมถึง Instant Search แบบเดียวกับของกูเกิลด้วย) แต่ข่าวเรื่องนี้ก็เงียบหายไป
ล่าสุดเว็บไซต์ WinRumors รายงานข่าวจากวงในว่าไมโครซอฟท์จะออก Bing HTML5 รุ่นทดสอบพร้อมกับ IE9 ตัวจริง (ซึ่งยังไม่บอกว่าเมื่อไร) ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ประเทศอินเดียเคยหลุดว่า IE9 ตัวจริงจะออก 24 มี.ค. นี้ แต่สื่อส่วนมากยังคาดว่าไมโครซอฟท์จะเปิดตัว IE9 ในงาน MIX ช่วงเดือนเมษายน
วงการ search engine เริ่มหันมาจับตลาดการค้นหาตั๋วเครื่องบินมาสักระยะหนึ่งแล้ว ข่าวใหญ่เมื่อปีก่อนคือกูเกิลเข้าซื้อบริษัท ITA เจ้าของข้อมูลตั๋วเครื่องบินรายใหญ่ของโลก จนเกิดคำถามขึ้นว่ากูเกิลจะผูกขาดผลการค้นหาตั๋วเครื่องบินหรือไม่
ตลาดค้นหาตั๋วเครื่องบินเริ่มร้อนแรงอีกครั้ง เมื่อคู่แข่งอย่าง Bing ประกาศความร่วมมือกับเว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินรายใหญ่ KAYAK.com โดย Bing จะเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของ KAYAK และนำไปใช้กับผลการค้นหาของตัวเอง
ช่วงแรกข้อมูลจาก KAYAK จะมีเฉพาะตั๋วเครื่องบินในสหรัฐก่อน ภายหลังจะขยายเป็นตั๋วเครื่องบินทั่วโลก
ต่อจาก กูเกิลปรับอัลกอริทึมใหม่ ลดอันดับ content farm ทางเว็บไซต์ Wired.com มีโอกาสคุยกับวิศวกรด้านการค้นหาของกูเกิลสองคนคือ Amit Singhal และ Matt Cutts ทำให้เราได้ข้อมูลเบื้องลึกของการปรับอัลกอริทึมครั้งนี้
Amit Singhal อธิบายว่าการปรับระบบดัชนีเว็บตัวใหม่ Caffeine เมื่อกลางปี 2010 ทำให้กูเกิลทำดัชนีเว็บได้เร็วและเยอะขึ้นมาก และได้เว็บพวก content farm ที่เนื้อหาคุณภาพต่ำเยอะตามมาด้วย
ความร้อนแรงของบริการซื้อของแบบกลุ่มอย่าง Groupon ทำให้ยักษ์ออนไลน์มองตลาดนี้กันตาเป็นมัน เราเห็นข่าวมาแล้วทั้ง Google Offers และ Facebook Deals
ไมโครซอฟท์ก็เป็นเสือปืนไวอีกรายที่ร่วมวงตลาดนี้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่ไมโครซอฟท์ไม่ได้ทำบริการ Deals เองเหมือนคู่แข่งรายอื่นๆ แต่ทำตัวเป็นเครื่องมือค้นหา Deals แทน โดยจับมือกับ The Dealmap นำข้อมูลส่วนลดต่างๆ ให้ค้นหาได้ผ่าน Bing
Yelp เป็นบริการรีวิวสถานที่และร้านอาหารชื่อดังในสหรัฐ (ยังไม่มีบริการในไทย) ซึ่งเมื่อปลายปี 2009 มีข่าวออกมาว่า Yelp ปฏิเสธข้อเสนอซื้อ 500 ล้านเหรียญจากกูเกิล และหลังจากนั้นเราก็เห็นบริการแบบเดียวกันของกูเกิลอย่าง Place Page และ Hotpot ออกมาแข่ง