ความคืบหน้าของกรณี คณะกรรมาธิการด้านผูกขาดของวุฒิสภาสหรัฐสอบสวนกูเกิล ซึ่งก่อนหน้านี้
กูเกิลประกาศข่าวสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่ออันดับของผลการค้นหา (ตัวเลขของกูเกิลบอกว่ากระทบ 35% ของผลการค้นหาทั้งหมด) นั่นคือเพิ่มปัจจัยเรื่อง "ความสดใหม่" ของเพจเข้ามาพิจารณาให้มากขึ้น
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นเคยกับบริการ "ฝากดูแลคอมเมนต์" อย่าง Disqus, Intense Debate ซึ่งภายหลังก็มี Facebook Comments เข้ามาแจมในตลาดนี้
ระบบคอมเมนต์แบบนี้มักใช้เทคนิค <iframe> ฝังคอมเมนต์ลงบนหน้าเว็บ ซึ่งมีผลให้บอท crawler ไม่สามารถดูดเนื้อหาไปใส่ฐานข้อมูลของตัวเองได้ และทำให้เราไม่สามารถค้นหาคอมเมนต์เหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ค้นหาต่างๆ
ถ้าเป็นเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าจะมีวันนี้ แต่ประโยค "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร" ก็ยังใช้ได้เสมอ
คนแถวนี้คงรู้จักบริการย่อลิงก์ยอดนิยมอย่าง bitly (เปลี่ยนชื่อจาก bit.ly แล้วนะครับ) ซึ่งตอนนี้เปิดบริการที่น่าสนใจคือ search engine
แต่ระบบค้นหาของ bitly ต่างไปจากระบบค้นหาแบบดั้งเดิมอย่างกูเกิล เพราะ bitly จะไม่มี spider/crawler ไล่สแกนหน้าเว็บ แต่จะใช้ฐานข้อมูล URL จำนวนมหาศาลที่ถูกส่งเข้ามาสร้างลิงก์ย่อ (มากถึงวันละ 80 ล้านลิงก์!) ผลก็คือ bitly จะแสดงลิงก์ที่กำลังเป็นกระแสในขณะนั้นได้ดีกว่า (ซึ่งบางลิงก์บางเพจ อาจจะใหม่จนยังไม่มี PageRank ด้วยซ้ำ) ส่วนการจัดอันดับความสำคัญของลิงก์ bitly ก็ดูจากอัตราการคลิกลิงก์นั่นเอง
ตอนนี้ระบบค้นหาของ bitly ยังอยู่ในขั้นเบต้า และอนาคตจะเปิดให้บริการในฐานะ bitly Enterprise
รวมข่าว Google+ ครับ
อย่างแรกคือ Eric Schmidt ประธานและอดีตซีอีโอของกูเกิลมาใช้แล้ว หลังจากโดนวิจารณ์มานานว่าเป็นผู้นำบริษัทแต่ดันไม่ยอมมาใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง - TechCrunch
อย่างที่สอง Google+ เพิ่มฟีเจอร์อีก 2 อย่าง คือ
งานวิจัยจาก IBM Research ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 345 คนว่าการค้นหาอีเมลด้วยคำสั่ง search ในโปรแกรมอีเมล กับการจัดระเบียบอีเมลแยกตามโฟลเดอร์ต่างๆ มีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างไร
ผลคือการค้นด้วยคำสั่ง search ใช้เวลาเฉลี่ย 17 วินาที ส่วนการค้นหาอีเมลตามโฟลเดอร์ใช้เวลาเฉลี่ย 58 วินาที
ผลการศึกษาสรุปว่าการจัดระเบียบอีเมลในโฟลเดอร์ที่ซับซ้อน มีจุดประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในตอนค้นหา แต่ผลการทดลองพบว่าไม่ได้ช่วยให้หาเร็วขึ้นสักเท่าไร สิ่งที่ช่วยให้หาอีเมลเร็วขึ้นกลับเป็นความสามารถด้าน search และการจัดกลุ่มอีเมลตาม thread มากกว่า
ฟีเจอร์ใหม่ของ Bing อธิบายยากเล็กน้อย แต่น่าสนใจในฐานะพัฒนาการของเครื่องมือค้นหาข้อมูล
ฟีเจอร์นี้ชื่อว่า Adaptive Search มันคือการเก็บพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ (เก็บ query โดยอิงกับคุกกี้ และเก็บไว้นาน 28 วัน) แล้วดูว่าผู้ใช้นิยมค้นหาข้อมูลด้านไหนบ้าง จากนั้นในโอกาสต่อๆ ไป Bing จะพยายามปรับผลการค้นหาให้เข้ากับเราเอง
บริการนี้คนไทยอาจจะยังไม่ได้ใช้ในอนาคตอันใกล้ (ระยะยาวไม่แน่) แต่น่าสนใจเพราะเกี่ยวข้องกับการซื้อบริษัทฐานข้อมูลสายการบิน ITA ของกูเกิลเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีปัญหาเรื่องการผูกขาด จน
ในขณะที่ กูเกิลหมดสัญญากับ Twitter ในการดึงข้อมูลทวีตมาใส่ระบบค้นหา และยังไม่สามารถเจรจาเพื่อต่อสัญญาได้
กูเกิลเปิดบริการตัวใหม่ชื่อ Google Related ซึ่งจะคอย "แนะนำ" เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บที่เราเปิดอยู่ในตอนนั้นให้ผ่านทูลบาร์ด้านล่างของหน้าจอ
หลักการทำงานของมันก็คือส่ง URL ของเว็บที่เราเปิดอยู่ในตอนนั้นไปยังกูเกิล (ซึ่งกูเกิลจะรู้แน่นอนว่าเราเปิดเว็บหน้าไหนบ้าง คนที่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวพึงระวัง) จากนั้นจะส่งรายชื่อเว็บที่เกี่ยวข้องจาก Google Search กลับมาให้ ทั้งหน้าเว็บ รูปภาพ ข่าวสาร วิดีโอ แผนที่ สถานที่ (ส่วนจะแสดงอะไรบ้าง ขึ้นกับว่าเปิดเว็บที่เกี่ยวข้องกับอะไร ไม่จำเป็นต้องแสดงทั้งหมด)
สิ่งที่หลายๆ คนคาดกันไว้ก็เกิดขึ้นแล้ว เมื่อกูเกิลเริ่มรวมลิงก์ที่เพื่อนๆ ของเราแชร์กันใน Google+ เข้ามาใน Google Social Search ซึ่งจะโผล่ในผลการค้นหาของกูเกิลนั่นเอง (ดูภาพประกอบ)
ช่วงหลังๆ กูเกิลกำลังประกาศสงครามกับเว็บปั่นคีย์เวิร์ดจำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้กูเกิลจะมีไม่ชอบเฉพาะเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกับเว็บอื่นๆ แต่หลังจากเปิดตัวอัลกอริทึม Panda กูเกิลก็เริ่มวิเคราะห์มากกว่านั้นส่งผลให้ผลการค้นหาเปลี่ยนไปจำนวนมาก และวันนี้กูเกิลก็ประกาศใช้อัลกอริทึมนี้ในภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ยกเว้นเพียงสามภาษาคือ จีน, ญี่ปุ่น, และเกาหลี ที่ยังต้องการการทดสอบเพิ่มเติม
กูเกิลระบุว่าการปรับตำแหน่งใหม่ครั้งนี้จะทำให้ผลการค้นหาเปลี่ยนไป 6-9% ต่ำกว่าภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนไปถึง 12%
หลังจากคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (FTC) เริ่มเข้าสอบสวนการทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของกูเกิล แต่ยังไม่มีใครทราบประเด็นที่ FTC จะสอบสวน ล่าสุด หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานว่า FTC จะเน้นการสอบสวนไปยังสองประเด็นคือ
กูเกิลประกาศปรับหน้าเว็บ Google Search ใหม่เพื่อผู้ใช้แท็บเล็ต โดยปรับขนาดของ UI ให้ข้อความและปุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะแก่การสัมผัสด้วยนิ้วมือมากขึ้น
ส่วนของ Image Search ยังปรับให้ภาพตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น โหลดภาพเร็วขึ้น และเลื่อนหน้าขึ้นลงได้ง่ายขึ้น
หน้าเว็บแบบใหม่จะแสดงให้เห็นเมื่อใช้ iPad หรือแท็บเล็ต Android 3.1 เข้าเว็บ ผมลองแล้วพบว่ามาแล้ว ใครมีแท็บเล็ตก็ทดสอบกันได้ครับ
ที่มา - Google Mobile Blog
มีรายงานว่ากูเกิลนำเว็บไซต์ที่ใช้โดเมนลงท้ายด้วย .co.cc จำนวน 11 ล้านเว็บออกจากผลการค้นหาของกูเกิลเอง โดยให้เหตุผลว่าเกือบทั้งหมดเป็นเว็บสแปมหรือปล่อยมัลแวร์
โดเมน .co.cc ไม่ใช่โดเมนบริษัทแบบเดียวกับ .co.th แต่เป็นโดเมนบริษัทเกาหลีชื่อ co แล้วลงท้ายด้วย .cc (http://co.cc) จากนั้นมาขาย/แจกซับโดเมนอีกทอดหนึ่ง ตามข้อมูลของ co.cc บอกว่ามีซับโดเมนประมาณ 11 ล้านชื่อ และสมาชิก 5.7 ล้านราย
จากรายงานของ Anti-Phishing Working Group ในปี 2010 บอกว่าโดเมน .cc มีเว็บที่เป็น phishing เยอะกว่าโดเมนอื่นๆ สองเท่า
ทีม Bing เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Bing for iPad ชื่อว่า "Lasso" มันคือการลากนิ้วรอบๆ คำที่ต้องการบนเว็บเพจเพื่อสั่งค้นหาได้ทันที
ฟีเจอร์นี้จะคล้ายๆ ฟีเจอร์ของ Firefox/Chrome ที่ลากคำแล้วคลิกขวาเพื่อสั่งค้นหา แต่กรณีของ Bing จะปรับให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส โดยเปลี่ยนจากการลากคำมาเป็นวาดนิ้วล้อมคำนั้นๆ แทน แถมยังค้นหาทันทีเมื่อล้อมคำเสร็จ ไม่ต้องกดปุ่มอะไรเพิ่ม (ดูวิดีโอประกอบ)
Bing บอกว่าฟีเจอร์นี้จะช่วยลดขั้นตอนการค้นหา จากเดิมที่ต้องป้อนคำที่ต้องการในช่องค้นหา (หรือใช้วิธีก็อปแปะ) ซึ่งต้องกดถึง 9 ขั้นตอน ในขณะที่ Lasso ใช้เพียง 2 ขั้นตอน
ทีมงาน Bing สัญญาว่าจะขยายฟีเจอร์นี้ไปยังระบบปฏิบัติการอื่นๆ ด้วย แต่ตอนนี้ยังมีแต่รุ่น iPad ครับ
ที่มา - Bing, Search Engine Land
มีรายงานว่ากูเกิลหยุดให้บริการ Realtime Search อย่างเงียบๆ ซึ่งตัวแทนของกูเกิลออกมาอธิบายทีหลังว่า สัญญาการดึงข้อมูลทวีตจาก Twitter ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2009 หมดอายุลงในวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ในความเป็นจริงแล้ว บริการ Realtime Search ของกูเกิลดึงข้อมูลจากหลายแห่ง เช่น FriendFeed, MySpace, Buzz, Gowalla ฯลฯ (แต่ข้อมูลที่มีจำนวนมากที่สุดคือ Twitter) จึงน่าแปลกใจว่าทำไมข้อมูลจาก Twitter หายไปแล้ว กูเกิลถึงปิด Realtime Search ทั้งหมด
Baidu ผู้นำแห่งเว็บค้นหาภาษาจีน ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกับ Bing (ตามข่าวลือก่อนหน้านี้) โดย Baidu จะนำผลการค้นหาในภาษาอังกฤษจาก Bing มาใส่ในเว็บของตัวเอง
ผลจากข้อตกลงนี้ทำให้ Baidu ได้ผลการค้นหาข้อมูลภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ส่วน Bing จะได้ส่วนแบ่งตลาดค้นหาโลกเพิ่มขึ้น (จีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 450 ล้านคน) แถมทั้งสองรายยังเป็นคู่แข่งร่วมของกูเกิล ที่มีปัญหาในการเจาะตลาดประเทศจีนเนื่องจากกฎระเบียบของรัฐบาลจีน
ที่มา - Reuters
กูเกิลเปิดบริการ What do you love? (ย่อเป็นชื่อ WDYL.com) ที่รวมเอาบริการต่างๆ ของกูเกิลเข้าไว้ในผลการค้นหาหน้าเดียวกัน เช่นสามารถคลิกไปอ่านข่าวเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ, หรือตั้ง Google Alert, ตลอดจนหาคำแปลได้จากหน้าผลค้นหา ตัวอย่างเช่นการหา Blognone
เท่าที่ลองใช้งานดูพบว่าอาจจะใช้งานจริงจังไม่ได้มากนัก แต่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะพบบริการใหม่ๆ ที่หลายๆ คนไม่เคยรู้ว่ากูเกิลมีบริการแบบนี้ด้วย
ที่มา - TechCrunch
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐหรือ FTC เข้าสอบสวนการทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ของกูเกิลในภาพรวมว่า เข้าข่ายการผูกขาดหรือใช้อำนาจเหนือตลาดเพื่อกีดกันคู่แข่งหรือไม่
ในฝั่งยุโรป กูเกิลถูก EU สอบสวนมาก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนฝั่งสหรัฐเองก็มีความพยายามจากคณะอนุกรรมการของวุฒิสภาสหรัฐเช่นกัน
ถึงบ้านเราจะใช้ "สีม่วง" เป็นสัญลักษณ์ของเพศที่สาม แต่ในทางสากลใช้ "สีรุ้ง" และในโอกาสที่เดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นเดือนแห่งความภูมิใจของเกย์ เลสเบี้ยน และกลุ่มข้ามเพศ (Gay and Lesbian Pride Month) กูเกิลก็ช่วยสนับสนุนโดยเพิ่ม "แถบสีรุ้ง" ไว้ใต้กล่องค้นหา โดยจะแสดงในหน้าค้นหาที่เกี่ยวข้อง เช่น gay หรือ lesbian
ปีนี้ไม่ใช่ปีแรกที่กูเกิลร่วมฉลองเดือนแห่งเกย์ โดยกูเกิลทำมาตั้งแต่ปี 2008 ครับ
โลกในยุคที่ iOS App Store และ Android Market มีแอพจำนวนรวมกันหลายแสนตัว การค้นหาแอพที่เหมาะกับความต้องการของเราอาจทำได้ไม่ง่ายนัก
เว็บค้นหาอย่างยาฮูจึงเห็นโอกาสนี้ และออกบริการ "ค้นหาแอพ" ทั้งบนเว็บและในรูปตัวแอพ (แอพสำหรับหาแอพ) เอง ซึ่งยาฮูโฆษณาว่าเทคโนโลยีค้นหาข้อมูลของตัวเอง "แม่นยำกว่า"
ที่งาน Inside Search งานเดียวกับที่กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่: ค้นหาด้วยเสียงและภาพ, Instant Page โหลดหน้าเว็บทันทีที่ค้นหาเสร็จ กูเกิลยังเพิ่มฟีเจอร์บนหน้าเว็บเวอร์ชันมือถืออีก 2 อย่าง
อย่างแรกคือการแนะนำสถานที่ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่อยู่ใกล้กับพิกัดปัจจุบันของเรา (ต้องอนุญาตให้ Google Mobile Search เข้าถึงข้อมูลสถานที่ด้วย) โดยผู้ใช้สามารถกดดูได้จากหน้าแรกของเว็บ Google Mobile เลย รายละเอียดดูภาพและวิดีโอประกอบ
กูเกิลจัดงานแถลงข่าวเพิ่มฟีเจอร์หน้าค้นหาเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยมี 3 ฟีเจอร์หลักในงานนี้คือ