Vanguard International Semiconductor Corporation (VIS) บริษัทผลิตชิปจากไต้หวันประกาศร่วมทุนกับ NXP Semiconductor ในสัดส่วน 60:40 ลงทุนตั้งโรงงานผลิตชิป ในสิงคโปร์ด้วย ลงทุนก่อสร้าง 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 285,000 ล้านบาท โรงงานจะจ้างงานประมาณ 1,500 คน
โรงงานใหม่นี้เป็นโรงงานที่ผลิตชิปด้วยเวเฟอร์ขนาด 300 มิลลิเมตร กำลังผลิต 55,000 เวเฟอร์ต่อเดือน ผลิตด้วยเทคโนโลยี 130nm ไปจนถึง 40nm ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานในสินค้ากลุ่มพลังงาน, ชิปจัดการสัญญาณอนาล็อก, ชิปสำหรับอุตสาหกรรม, ตลอดจนชิปอุปกรณ์คอนซูมเมอร์ต่างๆ
ทาง VIS ลงเงินลงทุน 2,400 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ NXP ลงทุน 1,600 ล้านดอลลาร์ หลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะลงทุนเพิ่มอีก 1,900 ล้านดอลลาร์ ส่วนเงินที่เหลือเป็นเงินกู้
คุณโจเซฟีน เตียว (Josephine Teo) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศแห่งสิงคโปร์ เปิดตัว AI Verify - Project Moonshot เวอร์ชันเบต้าเป็นชุดเครื่องมือทดสอบปัญญาประดิษฐ์ ออกแบบมาประเมินความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ซึ่งเป็น Open-source เจ้าแรกๆ ที่สามารถจำลองการโจมตี (red-teaming) การเปรียบเทียบมาตรฐาน และการทดสอบพื้นฐานมารวมกันในแพลตฟอร์มเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้าน AI
สิงคโปร์ประกาศจัดสรรพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลเพิ่ม 300MW จากตอนนี้ที่มีใช้งานอยู่แล้ว 1.4GW เพื่อรองรับการเติบโตต่อไป แม้ว่าตอนนี้สิงคโปร์จะติดปัญหาพลังงานมีจำกัดจนต้องจำกัดการเปิดศูนย์ข้อมูล
แผนการพัฒนาศูนย์ข้อมูลของสิงคโปร์ยอมรับว่ามีข้อจำกัดของประเทศขนาดเล็ก แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง โดยศูนย์ข้อมูลใหม่จะต้องมีประสิทธิภาพพลังงาน (Power Usage Effectiveness - PUE) ต่ำกว่า 1.3 และหันไปใช้แนวทางระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเช่นการระบายความร้อนด้วยน้ำ, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลให้ทนความร้อนได้ดีขึ้น, และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศงบลงทุนเป็นเงิน 295 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท ในช่วงเวลา 5 ปีข้างหน้า เป็นงบประมาณสำหรับการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 100 คน พร้อมกับทุกสนับสนุนต่างๆ ให้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมในประเทศ
สิงคโปร์ลงทุนวิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมตั้งแต่ปี 2002 รวมเป็นเงิน 400 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 11,000 ล้านบาท และตอนนี้มีนักวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมประมาณ 450 คน
Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ยอมรับว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังต้องผ่านข้อจำกัดอีกหลายอย่างกว่าจะใช้งานเชิงธุรกิจได้จริง แต่ก็ยังลงทุนต่อ โดยแผนกลยุทธ์ควอนตัมของสิงคโปร์วางเป้าให้สามารถพัฒนาโปรเซสเซอร์ของตัวเอง
Ong Ye Kung รัฐมนตรีสาธารณสุขสิงคโปร์ออกมาขอให้ประชาชนไปรับวัคซีน COVID-19 เวอร์ชั่นอัพเดต หลังจากตัวเลขผู้นอนโรงพยาบาลจาก COVID-19 ในสิงคโปร์เริ่มเพิ่มขึ้น จนถึง 280 คนในสัปดาห์ที่ผ่านมา
รัฐบาลสิงคโปร์แนะนำให้ประชาชนไปรับวัคซีนเพิ่มเติม โดยห่างจากเข็มล่าสุดไม่ต่ำกว่า 5 เดือน และควรไปรับหากเข็มล่าสุดได้รับมาประมาณหนึ่งปีแล้ว โดยมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก ได้แก่ Pfizer/BioNTech, Moderna, Novavax, และ Sinovac ก่อนหน้านี้ Novavax เคยถอนออกจากตลาดไปเนื่องจากยังไม่ได้อัพเดตสายพันธุ์ แต่ตอนนี้ Novavax/Nuvaxovid XBB.1.5 ก็กลับมาใช้งานในสิงคโปร์อีกรอบแล้ว โดยแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีน mRNA
คาดว่า COVID-19 เวฟใหม่ในสิงคโปร์ยังจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุดในปลายเดือนมิถุนายนนี้
คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิงคโปร์ (Personal Data Protection Commission - PDPC) สั่งปรับบริษัท PPLingo Pte ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ LingoAce หลังเกิดเหตุข้อมูลหลุดกระทบนักเรียนและผู้ปกครองกว่า 550,000 คน เนื่องจากผู้ดูแลระบบตั้งรหัสเป็น "lingoace123" ซึ่งเป็นบริการตามด้วยเลข 123
ระบบที่ถูกแฮกคือเซิร์ฟเวอร์ operations support system (OPS) ที่ใช้สำหรับจัดการชั้นเรียน และตารางเรียนต่างๆ โดยเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งตั้งแต่ปี 2020 และไม่เคยเปลี่ยนรหัสเลย ในวันที่ 26 เมษายน 2022 แฮกเกอร์ก็พยายามยิงรหัสผ่านบัญชีแอดมิน และภายในวันเดียวรหัสผ่านก็หลุด
ศูนย์ต่อต้านการล่อลวงออนไลน์ (Anti-Scam Center - ASC) ของสิงคโปร์ รายงานถึงการติดตามเงินของเหยื่อหญิงวัย 70 ปี แม้คนร้ายจะได้เงินและโอนออกนอกประเทศได้ แต่สุดท้ายตำรวจร่วมกับธนาคารสามารถตามเงินกลับมาได้
กรณีนี้คนร้ายหลอกด้วยโฆษณาที่ปลอมตัวเป็นไมโครซอฟท์ แสดงโฆษณาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าคอมพิวเตอร์ถูกแฮกให้รีบติดต่อไปยังศูนย์ซัพพอร์ต เหยื่อตกหลุมพรางเชื่อโฆษณาปลอมและโทรติดต่อไป จากนั้นคนร้ายขอรีเซ็ตรหัสผ่านธนาคารแล้วเหยื่อก็แจ้ง OTP จากโทเค็นให้คนร้าย
คนร้ายใช้เวลาหลายชั่วโมงจึงสั่งเพิ่มวงเงินโอนเงินต่างประเทศ และโอนเงิน 170,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ออกไปยังสหรัฐฯ อาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเหยื่อรู้ตัวจึงรีบแจ้งตำรวจ และ ASC ก็ทำงานร่วมกับธนาคาร DBS ตามเงินกลับมาได้เต็มจำนวน
ให้หลังการเดินทางมาเยือนเอเชียของ Satya Nadella ของไมโครซอฟท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วันนี้ที่งาน AWS ASEAN Summit ทาง Amazon ประกาศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ในสิงคโปร์เพิ่มอีก 8.88 พันล้านเหรียญ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 4 ปีต่อจากนี้
ส่วนของไทย AWS เคยประกาศตั้งศูนย์ข้อมูลเมื่อปี 2022 และประกาศลงทุนเม็ดเงิน 1.5 แสนล้านบาท เป็นระยะเวลา 15 ปี
ที่มา - Reuters
วันนี้ธนาคารบริการออนไลน์ของธนาคาร DBS ในสิงคโปร์ล่มไปตั้งแต่ช่วง 5 โมงเย็นตามเวลาประเทศไทย และแก้ไขจนกลับมาได้ในเวลา 3 ชั่วโมง โดยปัญหาครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแบงค์ชาติสิงคโปร์ (MAS) เพิ่งปลดคำสั่งล็อกฟีเจอร์ระบบเพื่อให้ธนาคารแก้ปัญหาเสถียรภาพระบบก่อน
นอกจากระบบของ DBS เองแล้ว ระบบของธนาคารไปรษณีย์สิงคโปร์ หรือ POSB ที่ DBS เป็นคนให้บริการก็ล่มไปพร้อมกัน ทางธนาคารขอให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตหรือเดบิต ตลอดจนถอนเงินจาก ATM ไปก่อน
ลูกค้า DBS เข้าไปแสดงความไม่พอใจรูปแบบต่างๆ เช่นพาดพิงถึงซีอีโอธนาคารที่ได้รับค่าจ้างปีที่ผ่านมากว่า 10 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แม้จะลดลงถึง 27% แล้ว
แบงค์ชาติสิงคโปร์ (MAS) ปรับมาตรการลงโทษธนาคาร DBS ที่ถูกสั่งล็อกระบบเพื่อให้แก้ปัญหาธนาคารออนไลน์ล่มเมื่อต้นปี 2023 โดยหลังจากนี้จะอนุญาตให้ DBS ปรับระบบและการทำธุรกิจได้ตามปกติ
มาตรการล็อกระบบที่ผ่านมาทำให้ DBS แทบเพิ่มฟีเจอร์อะไรไม่ได้ นอกจากการแก้ให้ระบบเสถียรขึ้นเท่านั้น และยังห้ามไม่ให้ลดสาขาหรือตู้เอทีเอ็มอีกด้วย
แอปเปิลประกาศแผนลงทุนในประเทศสิงคโปร์เป็นเงิน 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายพื้นที่สำนักงานในย่าน Ang Mo Kio เพื่อรองรับการเติบโต ตลอดจนงานด้าน AI และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการก่อสร้างขยายพื้นที่จะเริ่มภายในปีนี้ ในอาคารสองหลังที่แอปเปิลซื้อมาในปี 2022 ใกล้กับสำนักงานปัจจุบัน
ปัจจุบันสำนักงานของแอปเปิลในสิงคโปร์มีพนักงานอยู่ประมาณ 3,600 คน และเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเพื่อดูแลงานทั้งซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์, ซัพพอร์ต และธุรกิจ Services
ซีอีโอ Tim Cook ซึ่งตอนนี้เดินสายหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวันนี้อยู่ที่สิงคโปร์ กล่าวว่าการขยายพื้นที่สำนักงานนี้ เพื่อรองรับเรื่องราวบทใหม่ที่สิงคโปร์ และนวัตกรรมใหม่ที่จะออกมาในอนาคต
ธนาคารกลางสิงคโปร์ร่วมมือกับธนาคาร 6 แห่ง ได้แก่ DBS, OCBC, UOB, Citibank, HSBC, และ Standard Chartered Bank เปิดแพลตฟอร์ม COSMIC สำหรับการแชร์ข้อมูลบัญชีต้องสงสัย
ธนาคารจะมีเงื่อนไขสำหรับผู้ใช้เอาไว้ล่วงหน้า (แถลงข่าวไม่บอกพารามิเตอร์ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง) และเมื่อบัญชีใดเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมุ่งแก้อาชญากรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ การฟอกเงิน, การก่อการร้าย, และการหาทุนให้อาชญากรรม
COSMIC เปิดให้ธนาคารที่พบบัญชีต้องสงสัย สามารถขอข้อมูลลูกค้าจากธนาคารอื่นๆ, แชร์ข้อมูลให้ธนาคารอื่น, และแจ้งเตือนหน่วยงานรัฐว่ามีบุคคลต้องสงสัย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกรายงานถึงอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลว่าไทยมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยมีอัตราการเติบโตในรอบ 2021-2023 อยู่ที่ 54% และคาดว่าหลังจากนี้จะมีการลงทุนเติบโตปีละ 31.2% CAGR
แม้จะเติบโตได้ค่อนข้างดี แต่ในอาเซียนด้วยกันนั้นมาเลเซียยังคงมีอันตราการเติบโตดีกว่า คาดว่าจะอยู่ 36.8% CAGR โดยมาเลเซียมีความได้เปรียบทั้งค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ถูกกว่าไทย และการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คที่มีสายเคเบิลใต้น้ำเชื่อมต่อถึง 20 เส้น
สิงคโปร์เป็นอีกประเทศที่เจอปัญหา scam หลอกลวงเงิน แบบเดียวกับประเทศไทย ที่ผ่านมา รัฐบาลสิงคโปร์มีมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันปัญหา เช่น ระบบล็อคเงินห้ามถอนออนไลน์, ความร่วมมือกับกูเกิลบล็อคแอพใน Play Store, ทำฐานข้อมูลชื่อผู้ส่ง SMS ทั้งประเทศ
Alvin Tan รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมสิงคโปร์ให้ข่าวว่าตัวเลขประชาชนที่ใช้ฟีเจอร์ล็อกเงินไม่ให้ถอนผ่านบริการออนไลน์ตอนนี้มีเกิน 61,000 บัญชี รวมมูลค่าเงินถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 140,000 ล้านบาท หลังจากธนาคารหลักๆ ในสิงคโปร์เปิดบริการนี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ตำรวจสิงคโปร์ออกรายงานสรุปภาพรวมคดีหลอกลวง โดยปีนี้เป็นปีแรกที่แอปดูดเงิน (malware scam) ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานนี้ โดยรวมมีคดี 1,899 คดี คิดเป็นความเสียหาย 34.1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 910 ล้านบาท
ความเสียหายและจำนวนคดีของแอปดูดเงินนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับการหลอกลวงอื่นๆ หากนับตามมูลค่าความเสียหายแล้ว 5 อันดับแรกได้แก่ 1) หลอกลวงลงทุน 204.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 2) หลอกลวงว่าได้จ้างงาน 135.7 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 3) หลอกลวงว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 92.5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ 4) หลอกให้รัก 39.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
กูเกิลร่วมมือกับองค์กรความมั่นคงไซเบอร์สิงคโปร์ (Cyber Security Agency of Singapore - CSA) ทดสอบการบล็อคแอปที่ต้องการสิทธิ์ระดับสูงนอกสโตร์ โดยการทดลองครั้งนี้ยังจำกัดเฉพาะในสิงคโปร์ก่อน
สิทธิ์ระดับสูง ได้แก่ การรับและอ่าน SMS, การอ่าน notification, และ accessibility ซึ่งสิทธิ์เหล่านี้ถูกกลุ่มคนร้ายใช้สร้างแอปดูดเงินบ่อยๆ โดยพบว่าคนร้ายมักหลอกให้เหยื่อติดตั้งแอปเหล่านี้ และเหตุการณ์ 95% เป็นการติดตั้งนอกสโตร์
แม้ Google Play Protect จะเตือนและบล็อคการติดตั้งแต่ในความเป็นจริงคนร้ายก็อาจจะหลอกให้เหยื่อปิด Google Play Protect ได้ (ยกเว้นผู้ใช้ที่เปิด Google Advanced Protection ที่ไม่สามารถปิดได้เลย)
รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศปิดระบบ TraceTogether และ SafeEntry ระบบเก็บข้อมูลสำหรับการติดตามโรคในช่วงโรคระบาด COVID-19 ที่ผ่านมา หลังจากเริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ต้นปี 2020 และปัจุจุบันก็แทบไม่มีการใช้งานอีกแล้ว
การเก็บข้อมูล COVID-19 ครั้งนี้อาศัยกฎหมายพิเศษที่ผ่านรัฐสภาสิงคโปร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ให้อำนาจรัฐมนตรีในการกำหนดวันสิ้นสุดการใช้งาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องลบข้อมูลทิ้งทั้งหมด
แม้ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบไป แต่ทางรัฐบาลเปิดเผยว่าต้องเก็บข้อมูลบางส่วนไว้โดยไม่มีกำหนด เนื่องจากใช้ข้อมูลนี้เป็นหลักฐานในคดีฆาตกรรมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้กับทางตำรวจ
ปัญหาแอปดูดเงินหรือการฉ้อโกงออนไลน์ต่างๆ มีจุดร่วมเหมือนกันคือต้องอาศัยบัญชีม้าเพื่อนำเงินออกไปยังตัวคนร้ายตัวจริงโดยปกปิดตัวตนของคนร้าย สิงคโปร์เองรายงานถึงการดำเนินคดีกับผู้ที่ไปรับเปิดบัญชีม้าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ต้องหาในคดีเหล่านี้กลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนปีนี้
ปี 2019 มียอดผู้ถูกสอบสวนฐานเปิดบัญชีม้าเพียงประมาณ 1,000 ราย ก่อนจะเพิ่มเป็น 4,800 รายในปี 2020, 7,500 รายในปี 2021, 7,800 รายในปี 2022 ส่วนปี 2023 เฉพาะครึ่งปีแรกมียอดแล้ว 4,700 ราย แต่ในช่วงปี 2020-2022 นั้นมีผู้ถูกดำเนินคดีจริงๆ เพียง 236 รายเท่านั้น เพราะตำรวจไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้เปิดบัญชีม้านั้นตั้งใจเปิดเพื่อให้คนร้ายใช้งานจริงๆ
รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศแผนยุทธศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ (Singapore National AI Strategy หรือ NAIS) ฉบับที่สอง หลังจากออกแผนฉบับแรกมาตั้งแต่ปี 2019
แผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้มองว่า AI เปลี่ยนสถานะจากสิ่งที่ควรมีมาสู่สิ่งที่จำเป็น (From Opportunity
to Necessity) เปลี่ยนจากโครงการแยกย่อยมาเป็นระบบ (From Projects to Systems) และเปลี่ยนจากเรื่องเฉพาะประเทศมาเป็นเรื่องระดับโลก (From Local to Global)
ธนาคารหลักของสิงคโปร์ ได้แก่ DBS, OCBC, และ UOB ประกาศบริการล็อกเงินใบบัญชี เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะถูกหลอกลวงรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปดูดเงิน โดยแนวทางคล้ายกันคือลูกค้าจะกันเงินบางส่วนให้ถอนได้จากที่สาขาเท่านั้น ไม่สามารถใช้แอปได้
DBS ให้บริการในชื่อ digiVault สามารถใช้ได้กับบัญชีฝากประจำส่วนบุคคลเท่านั้น ลูกค้าสามารถสั่งล็อกบัญชีจากในแอปได้เอง แต่หลังจากล็อกไปแล้วไม่สามารถปลดล็อกจากในแอปได้อีกต่อไป ต้องไปถอนเงินที่สาขาเท่านั้น ความพิเศษคือ DBS ให้ดอกเบี้ยกับบัญชี digiVault เพิ่มเติมด้วย
Monetary Authority of Singapore (MAS) เผยแพร่มาตรการคุ้มครองนักลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ Digital Payment Token (DPT) โดยมีการควบบริษัทซื้อขายเพิ่มเติมหลายประการ เช่น ต้องมีมาตรการตรวจสอบและป้องกันการขัดแย้งกันของผลประโยชน์, ต้องมีกระบวนการคัดเลือกโทเค็นมาให้บริการ, ตลอดจนการกำหนดมาตรการรับเรื่องร้องเรียน
แต่จุดสำคัญของประกาศนี้อยู่ที่มาตรการคุ้มคองผู้บริโภคที่มีมาตรการหนาแน่นขึ้นมาก โดยบังคับไม่ให้กระดานซื้อขายให้แรงจูงใจใดๆ เพื่อให้คนมาซื้อขายคริปโต, ห้ามรับบัตรเครดิตที่ออกจากสิงคโปร์, ห้ามปล่อยกู้เพื่อซื้อขายรวมถึงรูปแบบการซื้อขายแบบมาร์จิน นอกจากนี้ยังจำกัดการนำมูลค่าเงินคริปโตมาคิดมูลค่าทรัพย์สินรวมของลูกค้า
Central Provident Fund (CPF) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแห่งชาติสิงคโปร์ประกาศเตรียมจำกัดวงเงินการถอนต่อวันเหลือ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 50,000 บาท เพื่อสู้กับการหลอกลวงต่างๆ รวมถึงแอปดูดเงิน
นโยบายใหม่นี้มีผลวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้และจะบังคับกับผู้ที่มีสิทธิ์ถอนเงินอายุ 55 ปีขึ้นไป การตั้งค่าเริ่มต้นอยู่ที่ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จากนั้นผู้ใช้จะสามารถสแกนใบหน้าเพื่อปรับค่าระหว่าง 0-200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ได้เอง แต่หลังการสั่งปรับวงเงินแล้วจะต้องรออีก 12 ชั่วโมง คำสั่งจึงจะมีผล
Paxos แพลตบล็อคเชนตั้งบริษัทลูก Paxos Digital Singapore และขอใบอนุญาตเบื้องต้น (in principle approval - IPA) จากแบงค์ชาติสิงคโปร์เพื่อทำ stablecoin ในสกุลดอลลาร์ได้แล้ว
แบงค์ชาติสิงคโปร์เพิ่งออกแนวทางการกำกับดูแล stablecoin เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีมาตรการค่อนข้างแน่นหนา เงินที่ออกมาจะต้องมีสินทรัพย์หนุนค่าเป็นเงินสดหรือหนี้ระยะสั้นอยู่เต็มจำนวนตลอดเวลา
แบงค์ชาติสิงคโปร์ (MAS) ออกมาตรการลงโทษธนาคาร DBS ที่ระบบออนไลน์มีปัญหาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมาตรการใหม่เป็นการล็อกระบบแทบทั้งหมดของธนาคารจนกว่าจะแก้ปัญหาเสร็จ
มาตรการที่ออกมาสั่งห้ามทำธุรกิจใหม่ (acquire new business ventures), ห้ามลดจำนวนสาขาและตู้เอทีเอ็ม ตลอดจนห้ามเปลี่ยนระบบไอทียกเว้นส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัย, การทำตามมาตรการกำกับดูแลและการจัดการความเสี่ยง โดยมาตรการนี้มีระยะเวลา 6 เดือนและจะพิจารณาใหม่อีกครั้งหลังจบช่วงเวลาว่าทาง MAS พอใจกับการปรับปรุงหรือไม่