ซัมซุงเปิดตัวชิป SoC รุ่นหน้าอย่าง Exynos 5250 หรือชื่อปัจจุบัน Exynos 5 Dual ไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ล่าสุดซัมซุงได้ปล่อยสเปคของชิปที่ว่าผ่าน white paper มาแล้ว
ฝั่งซีพียู Exynos 5 Dual เป็น Cortex-A15 สองตัวที่ใช้สถาปัตยกรรมขนาด 32 นาโนเมตร ความถี่อยู่ที่ 1.7GHz
ฝั่งจีพียูใช้ ARM Mali-T604 รองรับความละเอียดสูงสุด 2560x1600 พิกเซล (WQXGA) รองรับ OpenGL ES 3.0, OpenCL 1.1 รวมถึง DirectX 11 ด้วย
AMD ประกาศจับมือกับ ARM และผู้ผลิตชิป ARM อีกสามรายคือ Imagination, MediaTek, Texas Instruments ประกาศตั้งองค์กร HSA Foundation (Heterogeneous System Architecture Foundation) เพื่อสร้างมาตรฐานกลางของการประมวลผลแบบใหม่ "Heterogeneous Processing"
Heterogeneous Processing คือชิปประมวลผลที่ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลต่างชนิดกัน (เช่น CPU+GPU) อยู่บนชิปแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ AMD ผลักดันมาตลอดกับซีพียูตระกูล Fusion/APU และไปกันได้กับทิศทางเรื่อง SoC ในโลกอุปกรณ์พกพา
วันนี้ NVIDIA จัดงานพบปะกับนักลงทุน ซึ่งผู้บริหาร Rob Csonger ก็ให้ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ "Kai" ที่ตั้งใจออกมาจับแท็บเล็ตราคาถูก
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลของ Kai ชัดเจนนัก บริษัทบอกแค่ว่าต้องการนำพลังของ Tegra 3 มาจับตลาดแท็บเล็ตราคาถูก 199 ดอลลาร์ โดยยังคงพลังระดับควอดคอร์และทำงานบนระบบปฏิบัติการ Android 4.0 ICS อยู่ แต่ก็มียุทธศาสตร์อื่นๆ ในการลดต้นทุนการผลิต และลดพลังงานที่หน้าจอใช้งานลงมา
คาดว่า Kai เป็นฮาร์ดแวร์ต้นแบบของแท็บเล็ต Tegra 3 ที่กำหนดส่วนประกอบให้เหมาะสม และปรับแต่งให้เข้าที่ร่วมกับระบบปฏิบัติการ ไม่แน่ว่ามันอาจเป็นขุมพลังภายใน Nexus Tablet ที่มีข่าวลือกันมาตลอดก็เป็นได้
ปี 2011 ที่ผ่านมานั้นนับเป็นปีแรกที่วงการสมาร์ทโฟนได้ใช้ชิปแบบดูอัลคอร์กันอย่างกว้างขวาง ล่าสุดผลบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Strategy Analytics ได้ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของชิปดูอัลคอร์ว่าปีที่ผ่านมามีการใช้ชิปดูอัลคอร์เป็นสัดส่วนเทียบกับทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 20% โดยมีซัมซุงเป็นแชมป์ผู้ผลิตชิปดูอัลคอร์ที่กวาดไปถึง 60% จากจำนวนชิปดูอัลคอร์ทั้งหมด
Strategy Analytics เผยว่าผู้ผลิตรายอื่นอย่าง NVIDIA, Qualcomm และ Texus Instruments ต่างก็พยายามแข่งขันกับซัมซุง โดยมีเจ้าที่ทำได้ดีที่สุดคือ Qualcomm ที่กินไปได้ 16% จากความได้เปรียบที่มีชิปบางตัวรองรับ LTE แล้ว แม้แต่สมาร์ทโฟนซัมซุงบางรุ่นที่ใช้ LTE ยังต้องเปลี่ยนมาใช้ชิปจาก Qualcomm เลย
ในงาน International Solid-State Circuits Conference ซัมซุงเคยโชว์ซีพียูตระกูล Exynos รุ่นควอดคอร์อย่าง Exynos 4412 ไปแล้ว ซึ่งชิปตัวนี้ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นตัวที่ใช้ใน Galaxy S III
ตัวแทนของ NVIDIA ส่งกราฟแสดงประสิทธิภาพของ GPU บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ พีซี เครื่องเกมคอนโซล และสมาร์ทโฟนให้กับเว็บไซต์ AnandTech
ในกราฟของ NVIDIA แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของ GPU บนสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และน่าจะแซง GPU ของคอนโซลรุ่นปัจจุบัน (กราฟของ NVIDIA ใช้ Xbox และ Xbox 360 อ้างอิง) ในช่วงปี 2013-2014 นี้
ข้อมูลพวกนี้อาจช่วยให้บริษัทเกมทั้งหลายต้องหันมามองเกมบนอุปกรณ์พกพากันอย่างจริงจังได้แล้ว
หลังจากปลายปีที่แล้ว RockChip ลงมาโชว์ Android 4.0 บนชิปของตัวเองไปแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาเปิดตัวชิปรุ่นใหม่จากฝั่งจีนกัน ในชื่อตระกูล RK30xx
ชิปในตระกูลนี้จะเป็น ARM Cortex-A9 แบบสองคอร์ ทำานที่สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.4GHz รองรับแรมทั้ง DDR2, DDR3, และ LPDDR2 ตัว GPU เป็น Mali-400 MP ในแง่ของฟีเจอร์นั้นมันรองรับการเข้ารหัสและถอดรหัสวิดีโอ 1080P และรองรับวิดีโอสามมิติ
ปรกติแล้ว RockChip มักจะถูกใช้งานในแท็บเล็ตราคาถูกตั้งแต่ 100 ถึง 300 ดอลลาร์ จากสเปคชิปรุ่นใหม่นี้เราอาจจะเห็นแท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่ทำงานได้ "ลื่น" ในราคาไม่แพงในตลาดกันเร็วๆ ประมาณกลางปีนี้ เพราะตัวชิปจะเริ่มส่งมอบได้ในช่วงเดือนมีนาคม
ถึงแม้ ST-Ericsson (บริษัทร่วมทุนของ Ericsson กับ STMicroelectronics) จะไม่โด่งดังในแง่หน่วยประมวผลบนสมาร์ทโฟนเท่ากับคู่แข่งอย่าง Qualcomm, NVIDIA หรือ TI ก็ตาม แต่ก็มีลูกค้าเจ้าใหญ่หลายรายใช้บริการอยู่เงียบๆ (เช่น Galaxy S Advance, Panasonic,
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าแอปเปิลได้กลับมาพึ่งซัมซุงอีกครั้ง สำหรับการผลิตชิปประมวลผลให้กับ iPad 2 และ iPhone 4S โดยโรงงานใหม่ของซัมซุงที่ตั้งอยู่ในรัสเท็กซัสจะรับหน้าที่ผลิตชิป Apple A5 ให้กับแอปเปิล
ในขณะนี้ทั้งซัมซุงและแอปเปิลต่างก็ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสองบริษัท แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่แอปเปิลต้องหันกลับมาพึ่งซัมซุงในด้านการผลิตชิปอีกครั้ง หากดูจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ทั้งสองบริษัทต่างร่วมกันผลิตและออกแบบหน่วยประมวลผล Apple A4 ที่เป็นขุมพลังให้กับไอแพ็ดรุ่นแรกและ iPhone 4