วันนี้ (4 พ.ค. 55) กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. จัดงานแถลงข่าว “เตือนภัยคนไทยใช้มือถือในต่างแดน (International Roaming)” ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเปิดตัวคู่มือการใช้บริการโรมมิ่ง “มือถือไปเมืองนอก” เพื่อให้ผู้ใช้มือถือชาวไทยรู้ทันเงื่อนไขของบริการโรมมิ่งระหว่างประเทศ ไม่ให้โดนคิดเงินแพงเกินควร (ปัญหา bill shock)
ผมเชื่อว่าผู้อ่าน Blognone คงรู้เรื่องโรมมิ่งระหว่างประเทศกันดีอยู่แล้ว แต่ก็คงต้องตอบคำถามเรื่องนี้บ่อยๆ จากคนใกล้ตัว ดังนั้นจึงนำไฟล์ PDF ของหนังสือ "มือถือไปเมืองนอก" ที่ กสทช. เปิดให้ดาวน์โหลดอยู่แล้วมาเผยแพร่ต่อ เผื่อจะมีประโยชน์กับใครอีกหลายคนครับ
ที่มา - กสทช.
สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้บริหารของโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ในยุโรป 4 บริษัท (ไม่เปิดเผยชื่อบริษัท) เกี่ยวกับมุมมองต่อ Nokia Lumia ซึ่งเป็นมือถือรุ่นสำคัญของค่าย Windows Phone
ความเห็นของโอเปอเรเตอร์ออกมาตรงกันว่า Lumia ยังไม่ดีพอจะโค่นคู่แข่งอย่าง iPhone หรือ Android ได้ โดยโอเปอเรเตอร์บอกว่า Lumia ยังมีนวัตกรรมไม่เยอะพอ, ตั้งราคาสูงเกินไป, โปรโมทน้อยกว่าที่ควร, มีปัญหาซอฟต์แวร์และแบตเตอรี่ในช่วงแรกๆ
ผู้บริหารรายหนึ่งบอกกับรอยเตอร์ว่า ไม่มีลูกค้าสักคนมาที่ร้านของเราแล้วบอกพนักงานว่า "อยากได้ Windows Phone"
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ให้ข้อมูลว่าเรียกตัวแทนบอร์ดของบริษัท TOT และ CAT Telecom ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีทีเข้าพบ เพื่อกำหนดเป้าหมายว่า TOT และ CAT จะต้องเสนอแผนปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อความอยู่รอด หลังรายได้จากสัญญาสัมปทานมือถือจะหมดลงในเร็วๆ นี้
ส่วนนายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ CAT ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์ว่า บอร์ด CAT จะต้องประชุมกันโดยด่วนเพื่อกำหนดทิศทางขององค์กรใหม่ โดยทิศทางคร่าวๆ คือจะต้อง "ปลุกพนักงานที่ทำอะไรไม่ได้กลับมา" ต้องทำงานเป็นทีม สามัคคี ทุ่มเท จริงจัง ผู้บริหารจะต้องเป็นตัวอย่างให้เห็นแล้วปฏิบัติกันตามมาตามลำดับขั้น
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เผยผลการสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องสัญญาการให้บริการ 3G ระหว่าง CAT Telecom และ True พบว่ามีปัญหา "อาจ" เข้าข่ายผิดกฎหมาย 5 ประเด็น
แม้ว่าจำนวนผู้ใช้งานมือถือในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเริ่มอิ่มตัวแล้ว แต่ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมไร้สายอย่าง NTT DoCoMo เพิ่งมียอดผู้ใช้งานทะลุ 60 ล้านเลขหมายไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ (11 มีนาคม) ที่ผ่านมา
ที่น่าสนใจคือยอดผู้ใช้งานของ NTT DoCoMo ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ต่างกับคู่แข่งอย่าง KDDI และ Softbank ที่ขายไอโฟนได้ดีกว่า ส่วน NTT DoCoMo นั้นจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ขายไอโฟนเสียที
ย้อนกลับไปดูช่วงที่มีอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานสูงสุด จะต้องย้อนไปถึงช่วงท้ายยุค 90s ที่ผู้ใช้งานกระโดดไปถึง 10 ล้านเลขหมายภายใน 18 เดือน ส่วนในปัจจุบันกว่าจะข้ามจาก 50 ล้านเลขหมายมาจอดที่ 60 ล้านเลขหมายใช้เวลาถึง 6 ปีด้วยกัน
คนแถวนี้คงรู้จัก Google Wallet กันดี (ถึงแม้จะยังไม่มีใครเคยใช้ของจริง) ข่าวนี้เป็นเรื่องของคู่แข่งของ Google Wallet ที่ชื่อ ISIS
ISIS เป็นระบบจ่ายเงินบนมือถือด้วย NFC ที่โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ในสหรัฐ 3 เจ้าคือ AT&T, Verizon, T-Mobile ลงขันกันเปิดบริษัทลูกขึ้นมาจับตลาดนี้ ตอนนี้ ISIS ยังอยู่ในขั้นเตรียมการ และรอเริ่มทดสอบจริงในช่วงกลางปีนี้
กระทรวงอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศจีนได้เผยตัวเลขผู้ใช้งานมือถือที่ 997 ล้านเลขหมายเมื่อจากสถิติที่เก็บในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าคงเกิน 1 พันล้านเลขหมายในช่วงสิ้นเดือนที่แล้ว
ถ้าหากว่าตัวเลขนี้แม่นพอ จะทำให้ประเทศจีนเป็นแห่งแรกที่มีผู้ใช้งานมือถือในประเทศเกิน 1 พันล้านเลขหมาย แม้ว่ายังถือว่ามีสัดส่วนผู้ใช้ต่อจำนวนประชากรน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ Gartner เคยประเมินไว้ที่ราว 80% ส่วนสัดส่วนในจีนยังอยู่ราวๆ 76%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากสถิติเก่า 500 ล้านเลขหมายเมื่อปี 2007 นับว่าเป็นการเติบโตที่สูงมากแล้ว
Facebook ประกาศยุทธศาสตร์สำคัญบนมือถือ 3 ประการใหญ่ๆ ที่งาน MWC
ข่าวแรกคือขยายแพลตฟอร์ม Facebook Platforms for Mobile หรือการใช้แอพของ Facebook บน Facebook เวอร์ชันมือถือ (ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชันแอพหรือเว็บ) จากเดิมที่รองรับเฉพาะ iOS ก็ขยายมาเป็น Android ด้วย
บริษัทญี่ปุ่น 4 รายอันประกอบไปด้วย NTT DOCOMO, NEC, Panasonic, Fujitsu ประกาศร่วมมือกันสร้างชิปสื่อสาร (โมเด็มหรือเบสแบนด์) ที่รองรับได้ทั้ง GSM, W-CDMA, HSPA+, LTE ภายในชิปตัวเดียว (แถม LTE จะยังรองรับทั้ง FDD-LTE ที่ใช้กันทั่วไป และ TDD-LTE ที่ใช้ในจีนด้วย)
ก่อนหน้านี้ มือถือที่รองรับเครือข่าย LTE จะต้องใช้ชิปสื่อสาร LTE แยกเฉพาะอีกตัวหนึ่ง นอกเหนือไปจากชิป 2G/3G มาตรฐาน ซึ่งการพัฒนาชิปสื่อสารที่รองรับเครือข่ายครบทุกแบบในปัจจุบัน จะช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต พลังงาน และพื้นที่ใช้สอยภายในตัวเครื่องมือถือได้อีกมาก
ตามข่าวยังไม่บอกว่าชิปตัวนี้จะเสร็จเมื่อไร บอกเพียงแค่ว่าในอนาคตก็อยากจะรองรับ LTE Advanced ด้วยอีกอย่าง
โครงการที่กูเกิลทำทิ้งไว้ 2 อย่างที่ดูไม่เกี่ยวข้องกัน เริ่มต่อจิ๊กซอออกมาให้เห็นแผนการที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
ความนิยมในแอพส่งข้อความบนสมาร์ทโฟนชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น BBM, Whatsapp, Facebook Chat ฯลฯ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการส่งข้อความมากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็ทำให้โอเปอเรเตอร์สูญเสียรายได้จาก SMS/MMS เป็นมูลค่ามหาศาล
บริษัทวิจัยด้านโทรคมนาคม Ovum ออกรายงานผลวิจัยในเรื่องนี้ โดยพบว่าในปี 2011 ตลอดทั้งปี โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกมีรายได้จากค่า SMS หดหายไปถึง 1.39 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.2 แสนล้านบาท) อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ไม่ได้นับรวมค่า mobile data ที่โอเปอเรเตอร์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้งานแอพเหล่านี้
Ovum แนะนำให้โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ จากเดิมที่หวังรายได้จากค่า SMS ให้หันมาทำธุรกิจเชิงรุก โดยจับมือกับผู้ผลิตแอพเหล่านี้อย่างใกล้ชิดแทน
เบื่อปัญหาความเร็วในการดาวน์โหลดมือถือตกเมื่อนั่งอยู่ในรถเร็ว ๆ หรือไม่? มีบ้านหรือที่ทำงานที่ตั้งอยู่จุดที่ห่างจากเสาสัญญาณมือถือเกินไป? Nokia Siemens ได้ออกมาเผยคุณสมบัติใหม่ของ HSPA+ Multiflow ที่จะทำให้โทรศัพท์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสองสถานีฐานได้พร้อม ๆ กัน
นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้แล้ว HSPA+ Multiflow สามารถเพิ่มความเร็วให้กับมือถือได้อีกสองเท่าเมื่อเทียบกับเครือข่าย HSPA+ แบบปกติ โดยทั้งหมดนี้ก็มาจากความสามารถในการเชื่อมต่อสองสถานีฐานได้พร้อม ๆ กันนั่นเอง
อ่านข่าวเมืองนอกกันมาเยอะ มาดูข่าวไทยบ้างนะครับ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 (วันนี้) กระทรวงไอซีทีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Smart Thailand ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของประเทศไทย โดยโครงการนี้แบ่งย่อยได้ 2 ส่วน
1) Smart Network ขยายโครงการใยแก้วนำแสงให้ครอบคลุมประชากร 80% ในปี 2558 และ 95% ในปี 2563 ใช้งบประมาณรวม 80,000 ล้านบาท ไม่เฉพาะวางโครงข่ายหลักอย่างเดียว แต่จะพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้เป็นจำนวนมากขึ้น
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าว Orange ใจป้ำ คนแอฟริกา-ตะวันออกกลางเข้า Wikipedia ไม่คิดค่า Data มาแล้ว รอบนี้ Orange ทำคล้ายๆ กันแต่เป็นบริการแบบเก็บเงินครับ
AT&T ยักษ์ใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมสหรัฐอเมริกา ออกมาเผยสถิติการเติบโตของ mobile data ในรอบปี 2011
แน่นอนว่าเหตุผลหลักมาจากสมาร์ทโฟน ทั้งลูกค้าใหม่ที่ซื้อสมาร์ทโฟนของ AT&T และลูกค้าเก่าที่ทยอยอัพเกรดมาใช้สมาร์ทโฟน
ปัญหาเรื่องปริมาณทราฟฟิก-คลื่นความถี่ไม่พอใช้ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโอเปอเรเตอร์ทั่วโลก เนื่องจากคลื่นความถี่มีจำกัด เราก็คงต้องหาวิธีบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ
Texas Instrument เปิดตัวชิปสื่อสารรุ่นใหม่ WiLink 8.0 ที่รองรับการสื่อสารสมัยใหม่ 5 ชนิด ได้แก่ Wi-Fi, Bluetooth, FM, NFC, GPS/GLONASS ภายในชิปตัวเดียว
ในแง่เทคโนโลยีการสื่อสารไม่มีอะไรใหม่ แต่ในแง่การผลิตฮาร์ดแวร์จะช่วยลดต้นทุนชิปไปอีก 60%, ลดขนาดของชิปทั้งหมดไปได้ 45% และลดการบริโภคพลังงานลงไป 30%
TI คาดว่าอุปกรณ์พกพาที่ใช้ชิปไร้สายตัวนี้จะเริ่มออกสู่ตลาดได้ในครึ่งหลังของปีนี้ การที่มันรวมความสามารถใหม่ๆ อย่าง NFC เข้ามาน่าจะช่วยให้ NFC แพร่หลายได้เร็วกว่าเดิม
Disclaimer หรือการประกาศตัวเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นมารยาทที่ควรทำเพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงาน ดังนั้นผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้แจ้งข้อมูลสักหน่อยนะครับ
ต่อจากข่าว AT&T เริ่มจำกัดความเร็วเน็ตของผู้ใช้แปลน Unlimited Data ที่ 2GB ทางโฆษกของ AT&T ออกมาให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ดังนี้ครับ
สองยักษ์ด้านโทรคมนาคมของโลกคือ Qualcomm และ Ericsson ประกาศความสำเร็จในการทดสอบการส่งข้อมูลเสียงระหว่างเครือข่าย 3G กับ LTE
ต้องอธิบายก่อนนิดนึงครับว่ายุค 2G/3G ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะแยกช่องสัญญาณเสียงกับข้อมูลออกจากกัน แต่พอเป็น 4G LTE จะคิดใหม่ทำใหม่ คือทุกอย่างที่ส่งกันบน LTE จะเป็นข้อมูลล้วนๆ (วิ่งบน IP ตามปกติ) ทำให้การโทรศัพท์ด้วยเสียงผ่าน LTE ตรงๆ ไม่สามารถทำได้ (การใช้งานมือถือ LTE ในปัจจุบันจึงต้องใช้ทั้ง LTE และ 2G/3G ควบคู่กันไป ขึ้นกับว่าตอนนั้นสื่อสารด้วยอะไร)
ถึงแม้สมาร์ทโฟนจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้มากมาย แต่ปริมาณการใช้ mobile data ก็สร้างปัญหาให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก
ล่าสุด NTT DoCoMo ผู้ให้บริการอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ออกมาให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์ Nikkei ว่าแอพบน Android ด้าน VoIP แบบไม่คิดเงิน เป็นปัญหาทำให้ระบบเครือข่ายของ NTT ล่ม และแอพบางตัวส่งสัญญาณออกมาทุก 3-5 นาทีถึงแม้ว่าแอพจะไม่ถูกใช้งานก็ตาม ทำให้อัตราการใช้งานเครือข่ายสูงกว่ามือถือปกติถึง 10 เท่า
NTT ตั้งใจจะส่งคำขอไปยังกูเกิลให้ Android ควบคุมการส่งข้อมูลของแอพให้ความถี่ลดลง
Orange ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส ประกาศจับมือกับ Wikimedia Foundation ทำโครงการ CSR ให้ลูกค้าของ Orange ที่อยู่ในแอฟริกาและตะวันออกกลาง โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่เสียค่า mobile data ในส่วนของทราฟฟิกที่เปิด Wikipedia บนมือถือ
Orange มีธุรกิจมือถืออยู่ในภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลางจำนวน 20 ประเทศ และมีลูกค้าในภูมิภาคนี้กว่า 70 ล้านราย ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ Wikipedia ที่ต้องการผลักดันให้คนเข้าเว็บผ่านทางมือถือมากขึ้น เพื่อขยายฐานผู้อ่านหน้าใหม่ๆ เพิ่มเติม
ผู้บริหารของ Orange ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทต้องการให้คนในประเทศเหล่านี้สามารถ "เข้าถึง" สารสนเทศบน Wikipedia ได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
ข่าวนี้ช้าไปนิดนึงนะครับ เพราะ กสทช. จะจัดงานรับฟังความคิดเห็นสาธารณะวันพรุ่งนี้ (27 ม.ค.) แล้ว แต่ก็ยังสามารถส่งความเห็นเข้าไปทางช่องทางอื่นๆ เช่น อีเมล ไปรษณีย์ หรือแฟ็กซ์ได้เช่นกัน
สรุปเนื้อหาแบบสั้นๆ คือ กสทช. กำลังจะประกาศ "มาตรฐาน" ของการให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าข้อกำหนดเรื่อง mobile data ว่าผู้ให้บริการต้องมีมาตรฐานอย่างไรบ้าง เช่น ระยะเวลาการส่ง SMS จากต้นทางถึงปลายทาง, อัตราการโหลดแพ็คเก็ต HTTP ให้สำเร็จบนเครือข่าย 3G ควรจะเป็นเท่าไร ฯลฯ ซึ่งจะกระทบต่อชีวิตการใช้เน็ตบนมือถือของพวกเราแน่นอน
แถวนี้มีวิศวกรเครือข่ายอยู่เยอะแน่นอน ดังนั้นโปรดสละเวลากันคนละเล็กน้อย อ่านร่างประกาศนี้ว่าอะไรดีไม่ดี แล้วส่งความเห็นกลับไปที่ กสทช. ด้วยนะครับ
15 เดือนผ่านไป กับการพิจารณาคดีที่ กสท. ยื่นฟ้อง กทช. เพื่อให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz สำหรับใช้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ของ กทช จนมีคำสั่งศาลปกครองออกมาเพื่อระงับการประมูลชั่วคราวจนกว่าจะพิจารณาคดีเสร็จ (ข่าวเก่า 1, 2, 3, 4) ในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้น "ไม่รับคำฟ้อง" คดีระงับประมูล 3G ดังกล่าวแล้ว
ขออนุญาตยกเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดให้ไว้มาใส่ประกอบครับ
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ซึ่งเป็นกสทช. ในส่วนของโทรคมนาคม (ข่าวเก่า: แผนการทำงานปี 2555 ของกทค.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการกทค. ได้หารือถึงร่างประกาศกสทช.
Keith Lampron ผู้บริหารฝ่ายการตลาดฮาร์ดแวร์ของ Verizon ให้สัมภาษณ์กับ CNET ว่าต่อจากนี้ไป มือถือที่ขายกับเครือข่าย Verizon (ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีคนใช้มากที่สุดของสหรัฐ) จะต้องรองรับ 4G LTE ด้วยทุกรุ่น มีเพียง 3G ไม่ได้แล้ว
คำว่า "ทุกรุ่น" ในที่นี้หมายถึงทั้ง Android, iOS, BlackBerry และ Windows Phone โดยมีข้อยกเว้นในบางกรณีที่มือถือต้องใช้ฟีเจอร์ push-to-talk ก็จะมีเฉพาะ 3G เท่านั้น (อย่างไรก็ตาม Verizon ไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าเป็นเมื่อไร)
Verizon ให้ข้อมูลว่าจะอัพเกรดระบบเครือข่ายเป็น 4G LTE เสร็จสมบูรณ์ในช่วงสิ้นปี 2013 ซึ่งจุดที่ปัจจุบันใช้งานเครือข่าย 3G EV-DO ของ Verizon ได้ ก็จะใช้ 4G LTE ได้ด้วย