กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย (FACT) ได้ส่งมอบคำถาม 20 ข้อ ให้กับ ดร. สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อขอความชัดเจนในการเข้าดำเนินการบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าว แน่นอนว่าชื่อของกลุ่ม FACT นี้คงแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของกลุ่มได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่รายการคำถามแม้จะไม่ได้โจมตีการบล็อคเว็บโดยตรง แต่ก็เป็นรายการคำถามที่ถามถึง "ช่องว่าง" ที่แสดงความน่าสงสัยในกระบวนการปิดกั้นบริการหลายๆ อย่างในอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของตัวกระทรวงเอง หรือจะเป็นกระบวนการที่ตอนนี้ขาดความชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง
เป็นที่รู้กันว่าในทุกๆวันพุธ ในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ จะมีฉบับแทรกที่ให้ข้อมูลข่าวสารและบทวิเคราะห์ถึงแก่นในแวดวงไอทีที่ชื่อ Database มาจนถึงฉบับล่าสุดวันนี้ (7 ก.พ. 2550) เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปี Database จึงเพิ่มขนาดพิเศษจุใจ 16 หน้า พิมพ์บนกระดาษขาว และลงรูปสีอย่างดี แต่ราคาเท่าเดิม
เนื้อหานอกจากข่าวสารและบทความตามปกติแล้ว ยังมีการเพิ่มในส่วนของการสรุปประวัติศาสตร์ไอซีทีเมืองไทย บทสัมภาษณ์บุคคลสำคัญๆ และมองต่อไปในอนาคตของวงการไอทีเมืองไทยอีกด้วย
ขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ ยอมรับตามตรงเลยว่า ติดใจ Database มากๆ และเชื่อว่าหลายๆท่านก็คงคิดเหมือนๆกัน .. รีบๆซื้อก่อนหมดแผงนะครับ
แอนดรูว์ แม็คบีน ผู้ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์ประเทศไทย ได้ประกาศลาออกจากบริษัทแล้ว หลังจากที่ได้ทำงานในประเทศไทยมาเป็นเวลา 4 ปี โดยมีแผนที่จะเข้าไปทำงานที่ดีแทค เพื่อการอาศัยอยู่ในประเทศไทยระยะยาว
สำหรับโครงการที่นายแอนดรูว์ผลักดันในช่วงที่ทำงานอยู่ เช่น การนำ Windows Starter Edition เข้ามาในไทย, โครงการ Unlimited Potential และโครงการ Partners in Learning
ส่วนบุคคลที่จะมารับตำแหน่งคนต่อไป ขณะนี้ยังไม่มีการระบุชื่อออกมา อย่างไรก็ตามทางไมโครซอฟท์จะหาบุคคลเข้ามาอย่างเร็วที่สุด
ที่มา - ไทยรัฐ
Biolawcom.de มีบทความแนะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทไว้ค่อนข้างครบถ้วน บทความนี้ผมขอแนะนำให้บล็อกเกอร์ทุกท่านได้อ่านครับ เพราะใครจะรู้วันดีคืนดีเราอาจะมีคดีฟ้องบล็อกเกอร์ในเมืองไทย (หรือมีไปแล้ว?)
เผื่อใครไม่ค่อยได้เข้าเว็บข่าวอย่าง CNN.com จากเวลาล่าสุดที่ตรวจสอบเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตของไทยถูกบล็อคทำให้ไม่สามารถเข้าเว็บ CNN.com ได้ โดยจากการตรวจสอบ การบล็อคครั้งนี้เป็นการบล็อคในระดับไอพี เท่าที่ตรวจสอบได้ในตอนนี้รายการไอพีที่ถูกบล็อคมีดังนี้ 64.236.16.20, 64.236.16.52, 64.236.16.84, 64.236.16.116, 64.236.24.12, 64.236.24.20, 64.236.24.28 และ 64.236.29.120 โดยเป็นการบล็อคแบบเจาะจงไอพีทำให้ไอพีข้างเคียงซึ่งอาจจะเป็นเว็บอื่นๆ ยังคงใช้งานได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด โดยในเวลาที่เขียนข่าวนี้ระบบ DNS ในไทยยังสามารถ Resolve ไอพีเหล่านี้ออกมาได้อย่างถูกต้อง อนึ่งการบล็อคในครั้งนี้แตกต่่างจากการบล็อคเว็บอื่นๆ ในไทยที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีการส่งข้อมูลหลอกเช่น favicon.ico not found
ตัวเลขเป็นทางการของทางกระทรวงไอซีทีเมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมามีรายงานถึงการบล็อคเว็บจำนวน 13,435 เว็บเทียบกับเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมปีที่แล้วที่ตัวเลขอยู่ที่ 2,475 เว็บ นอกจากการบล็อกจากกระทรวงไอซีทีแล้ว อินเทอร์เน็ตไทยยังมีการบล็อคจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น ด้านตำรวจที่ระบุตัวเลขจำนวนเว็บที่ถูกบล็อคอย่างเป็นทางการจำนวน 32,500 เว็บ และยังมีเว็บไม่ระบุจำนวนถูกบล็อคโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย
โดยทั่วไปแล้วการบล็อกเว็บเหล่านี้เกิดจากการ "ขอร้อง" อย่าง "ไม่เป็นทางการ" จากเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้ทางผู้ให้บริการบล็อคเว็บตามคำขอร้องเหล่านั้น โดยมากแล้วผู้ให้บริการทั้งหมดก็มักจะทำตามคำขอร้องเหล่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะตามมา
ตอนแรกถ่ายรูปมาประมาณ 40 รูป (แอบไปเดินตอนพักเที่ยง) แต่คิดไปคิดมารูปอื่นๆ คงไม่มีใครสนใจเท่าใหร่ งานนี้มีไม่กี่รูปเพราะใช้กล้องในมือถือ ก็เอาว่าเอาไปดูเล่นเผื่อใครตัดสินใจว่าจะไปไม่ไปแล้วกัน
มหกรรมเกมส์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย (ใช้ชื่อย่อว่า tgs ซะด้วย แหมนึกว่าไปงาน Tokyo Game Show ซะอีก) ซึ่งโดยปกติแล้วจะจัดในวันเด็กอยู่ข้างๆงาน Thailand Animation & Multimedia (TAM) แต่ปีนี้ต้องจัดเดี่ยวเพราะอีกงานโดนพิษจากรถถังเลื่อนไปจัดปลายปีซะแล้ว
คนรักเกมส์พลาดไม่ได้กับการเปิดตัวเกมส์ใหม่ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็น World of War Craft ที่เข้ามาเปิดในไทย(ซะที) , "ก้านกล้วย ดิ แอดเวนเจอร์" พร้อมทั้งเครื่องเกมส์รุ่นเก๋า เก๋า อย่าง นินเทนโด แฟมิคอม ไปจนถึง Wii , PS3 และ Xbox 360
จากข่าวการจดทะเบียนเว็บ Buddhaporn.com ซึ่งเป็นเว็บลามกส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศพยายามประท้วงไปยังรัฐบาลสหรัฐเมื่อวานนี้ ตามขั้นตอนที่ทางกระทรวงไอซีทีทำมาโดยตลอดก็ได้บล็อกเว็บดังกล่าวไปแล้ว แต่ที่น่าสนใจคือการให้สัมภาษย์ของนายเอกพล สามัตถิยดีกุล ที่ได้กล่าวว่า "ขณะนี้สมาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีได้บล็อคเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว พบการจดทะเบียนเว็บไซต์แม่ข่ายอยู่ที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้การบล็อคเว็บไซต์ภายในประเทศไทยไม่เป็นผลสำหรับนักท่องอินเทอร์เน็ต จึงคิดว่าระบบเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยของกระทรวงไอซีทีและกระทรวงวัฒนธรรมยังมีจุดบอด จึงอยากให้รัฐบาลเปิดเมนเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยให้เหมือนกับที่ประเทศจีน ที่ขณะนี้สามารถตรวจสอบ และบล็อกเว็บไ
Center for Public Policy ของมหาวิทยาลัย Brown ได้จัดอันดับด้าน e-Government เป็นประจำทุกปี โดยคิดคะแนนจากการสำรวจเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐว่ามีความพร้อมมากแค่ไหน
ของปี 2006 ห้าประเทศที่คะแนนสูงสุดคือ เกาหลีใต้ 60.3, ไต้หวัน 49.8, สิงคโปร์ 47.5, สหรัฐ 47.4 และ คานาดา 47.3 ซึ่งเกาหลีพุ่งพรวดจากปีก่อน 26.2 คะแนน ข้ามเป็นสิบๆ อันดับขึ้นมาครองแชมป์ได้อย่างสวยงาม (ปีก่อนไต้หวันเป็นแชมป์เก่า)
ส่วนของประเทศไทยปีนี้อยู่ที่ 23.4 คะแนน (ลดลงมาเรื่อยๆ ปี 2004 ได้ 27.6 ส่วนปี 2005 ได้ 24.1) ผมไม่อยากบอกเลยว่า 23.4 คะแนนนี้ น้อยกว่าลาว (28.0) อิรัก (27.0) อัฟกานิสถาน (26.7) หรือแม้แต่พม่า (25.3) เสียอีกนะ น่าเศร้าเนอะ
ถ้าหากใครได้คอยติดตามว่าประเทศของเรานั้นมี bandwidth ของอินเทอร์เน็ตเข้าออกประเทศเท่าไหร่แล้วนั้นจะสังเกตได้ว่า ประเทศไทยมี bandwidth ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมา โดยช่วงหลัง ๆ นี้จะใหญ่ขึ้นเป็นพิเศษ
ณ วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยมี International Bandwidth ทั้งหมด 11154.176 Mbps เข้า/ออกประเทศครับ มาดูของปีที่ผ่าน ๆ มากัน...
- 1 มิถุนายน 2549: 9199.703 Mbps - 1 มกราคม 2549: 7910.871 Mbps - 1 มิถุนายน 2548: 5524.223 Mbps - 1 มกราคม 2548: 3354.625 Mbps - 1 มิถุนายน 2547: 2397.875 Mbps - 1 มกราคม 2547: 1435.875 Mbps - 2 มกราคม 2546: 1170.875 Mbps
นักธุรกิจหนุ่มไอทีไทยคนหนึ่งซึ่งดูแลและบริหารคนไอทีนับร้อยในไทยและได้ไปเย ี่ยมชมที่เวียดนามีความคิดเห็นว่า ความรู้และความสามารถของคนไอทีเวียดนามกับคนไอทีไทยน่าจะพอ ๆ กัน แต่คนเวียดนามสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากกว่าคนไอที ไทยประมาณ 4-5 เท่า เหตุผลเป็นเพราะ
1. วิศวกรไทยทำงานจริง ๆ ประมาณ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่วิศวกรเวียดนามทำงานจริง ๆ ประมาณ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2. วิศวกรไทยไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในตนเอง ไม่ชอบงานหนักและลำบาก ในขณะที่ชอบเงินเยอะ ๆ ฉะนั้นจึงเปลี่ยนงานบ่อย แทนที่จะมองว่าปัญหาต่าง ๆ เป็นสิ่งน่าท้าทายที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่กลับมองว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้ตนเองสบายน้อยลง
(คัดลอกเนื้อความบางส่วนมาตรงๆ โดยไม่ได้แก้ไข ต้องการอ่านฉบับเต็ม ดูได้จากลิงก์ข้างล่าง)
ดร. บอนนี่ ดอคเฮอตี้ อาจารย์ผู้ดูแลประจำแผนงานสิทธิมนุษยชน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเป็นผู้นำทีมคณะนักวิจัยมายังประเทศไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม
...ทีมงานจะพิจารณาการปิดกั้นและคัดกรองเว็บในปัจจุบัน ซึ่งกระทำโดยหน่วยงานรัฐบาลไทยจำนวนหนึ่ง ที่เด่นชัดก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทีมงานจะสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับสถานการณ์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกอย่างเสรี และจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในบริบทที่กว้างกว่า เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน
Camfrog กลายเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อตำรวจได้บุกยึดเซิร์ฟเวอร์ของห้อง ฮาเร็ม, ไทยเกย์แคม และ ไทยเกิร์ลมูฟ เอ็กซ์ เอ็กซ์ เอ็กซ์ ได้จากบรรดาดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศซึ่งหนึ่งในนั้นตั้งอยู่ในการสื่อสารแห่งประเทศไทยอีกด้วย เมื่อโดนยึดก็แปลว่าเจ้าของเครื่องจึงกลายเป็นผู้ต้องหาไปโดยปริยาย และแล้วบรรดาเจ้าของจึงจับมือกันเดินเข้าไปมอบตัวกับทางตำรวจเมื่อวานนี้เอง สำหรับคำให้การก็ตรงไปตรงมา คาดได้ไม่ยาก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง
1. เปิดเพื่อความสนุก ไม่หวังผลประโยชน์ มีกฏชัดเจน สมาชิกเยอะ ดูแลไม่ทั่วถึง 2. มีผู้ไม่หวังดีขโมยไอพีไปกระทำผิด
เมื่อวานผมไปงานเสวนา “ร่วมวิพากษ์ร่าง พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....” พบว่าการบรรยายช่วงเช้าของ อ. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (รองประธานคณะกรรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... คนที่ 2) มีประโยชน์มาก เลยขอ อ. ทวีศักดิ์นำมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย
ไกล้ช่วงสิ้นปีกันแล้ว หลายคนเริ่มเตรียมตัวรับปีใหม่ที่จะมาถึง ในขณะที่หลายๆคนเริ่มมองหางานใหม่หลังได้โบนัสกันไปแล้ว (ฮา) ทางบริษัท Kelly ประเทศไทยเค้าเลยออกสำรวจมาตรฐานเงินเดือนไทย ในตำแหน่งต่างๆ แยกตามประเภทของกิจการไป
ขออาศัยช่วงที่กระแสโอเพนซอร์สยังไม่ตก แนะนำให้อ่านบล็อก Thailand FOSS Retrospects ของคุณเทพพิทักษ์ น่าจะทำให้หลายคนเข้าใจถึงรากเหง้าและวิธีคิดของซอฟต์แวร์เสรี/โอเพนซอร์สในยุคแรกเริ่ม รวมถึงแยกแยะเหตุผลที่ทำให้จิตวิญญาณเหล่านี้ในประเทศไทยหายไปเยอะในช่วงหลังๆ
เอกสารอีกฉบับที่ทุกคนน่าจะอ่านคือ มหาวิหารกับตลาดสด ฉบับแปลไทยของ The cathedral and the bazaar เอกสารแนวคิดโอเพนซอร์สชิ้นสำคัญของ Eric S. Raymond ซึ่งเอกสารนี้แหละที่ทำให้ Netscape เปิดซอร์สโค้ดของ Mozilla ในปี 1998
ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนา "ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ภายใต้รัฐบาลรัฐประหาร: ทางมืดหรือสว่างของสิทธิเสรีภาพในโลกไร้พรมแดน
หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เมื่อวันที่ 15 พ.ย. โดยให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กองทุน ศ.คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และหนังสือพิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตประชาไท
ข่าวเก่า: วิเคราะห์ พรบ. นี้ที่ BioLawCom.de
การแข่งขันระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ครั้งที่ 7 NLC 2007 เปิดรับสมัครแล้วครับโดยแบ่งเป็นรุ่นนักเรียนกับรุ่นประชาชนโดยมีกำหนดการดังนี้ กำหนดการ
หมายเหตุ * จัดขึ้นพร้อมงานมหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ** กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ตามการจัดงานมหกรรมการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 11.00-12.00 ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคาร 9 ชั้น ICT3 บริษัททีโอที จำกัด มหาชน ทีม OLPC-TH เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ OLPC
ทีม OLPC-TH นำโดย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการ FIBO ได้ขอเข้าพบเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมกับทางกระทรวง โดยมีประเด็นที่นำเสนอคือ
นอกจากประเด็นโอเพนซอร์สแล้ว อีกประเด็นที่สำคัญไปไม่น้อยกว่ากันคือ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ที่โดนเร่งทำคลอดอย่างด่วนมาก
แม้กฏหมายนี้จะมีประโยชน์ แต่หากมีเจตนาแอบแฝงนั้นจะเป็นกฏหมายที่นำประเทศกลับไปยุคมืดเช่นประเทศจีนได้ง่ายๆ พอดีเว็บพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการของเรา BioLawCom.de เขียนบทวิเคราะเรื่องนี้อย่างละเอียด ทุกท่านควรเข้าไปอ่านกันครับ
เนื่องจากทางตัวแทนได้เข้าพบและยื่นจดหมายรวมถึงรายชื่อให้กับรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอปิดการลงชื่อนะครับ
คุณเทพได้ร่างจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ซึ่งกดเข้าไปดูได้ข้างใน การเข้าชื่อในจดหมายฉบับนี้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละท่านไม่มีบังคับนะครับ ช่วงนี้ผมจะเปิดให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Blognone สามารถคอมเมนต์ได้ด้วย ดังนั้นถ้าอ่านมาถึงตรงนี้และอยากลงชื่อก็ไม่ต้องสมัครสมาชิก เขียนในคอมเมนต์ได้ทันที
วันที่ปิดรับการลงชื่อจะประกาศอีกที หลังจากนั้นตัวแทนจะรวบรวมแล้วทำการยื่นจดหมายไปยังรัฐมนตรี ถ้าเห็นว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีประโยชน์ ก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์ต่อด้วยครับ - mk
เมื่อวันที่ 15 พ. ย. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวาระแรกที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอโดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คนเพื่อแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรกที่เข้า สนช. ซึ่งมีหลายคนเป็นห่วงว่าให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป (แค่สงสัยไม่ต้องมีหลักฐาน) ในฐานะประชาชนอย่างเราๆ ก็ต้องตรวจสอบว่าเค้าออกกฎหมายอะไรกันบ้าง มีแหม่งๆ รึเปล่า ใครสนใจลองอ่านร่างได้ตามลิงก์ที่ประชาไทครับ