พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์ ผ่านมติคณะรัฐมนตรีในช่วงเห็นชอบหลักการ แต่ถูกวิจารณ์จากหลายหน่วยงานว่ามีปัญหาละเมิดสิทธิ์ วันนี้นักข่าวก็เข้าไปถามพลเอกประยุทธ์ถึงเหตุผลที่ต้องออกกฎหมายนี้ ก็ได้คำตอบมาว่า "จะผ่านแล้วจะทำไม ไม่งั้นจะเป็นนายกไปทำไม"
ผมเขียนข่าวถึงกฎหมายฉบับนี้ครั้งแรกที่เห็นร่างว่า "ขอให้ทุกท่านโชคดี" ตอนนี้ก็คงต้องพูดคำเดิมอีกครั้งครับ
ที่มา - @WassanaNanuam
ร่าง พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่ ถือเป็นร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอีกฉบับที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี และกำลังจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
บทความนี้จะอธิบายว่าบทบาทของ กสทช. ภายใต้ "ร่าง" กฎหมายฉบับใหม่นั้นต่างจากกฎหมายฉบับปัจจุบันอย่างไรบ้าง
ความเดิมจากตอนที่แล้ว โครงสร้างหน่วยงานด้านไอซีทีและเศรษฐกิจดิจิทัล จากร่างกฎหมายดิจิทัลชุดใหม่ จะเห็นว่ากฎหมายชุดใหม่ตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติ" (สังเกตคำว่า "แห่งชาติ" นะครับ) ขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อกำหนดนโยบายด้านดิจิทัลในภาพรวม มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงไอซีที/กระทรวงดิจิทัลอย่างเดียว
คณะกรรมการชุดนี้มีชื่อว่า คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วัดตามศักดิ์ศรีแล้วถือว่าอยู่บนจุดสูงสุดของการกำหนดนโยบายดิจิทัลของประเทศ ดังนั้นผมขอขนานนามให้ว่าเป็น "มหาเทพแห่งวงการไอซีทีไทย"
บทความนี้จะมาแนะนำข้อมูล บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ครับ
จากร่างกฎหมายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลชุดใหม่ 10 ฉบับ ที่เพิ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถ้าอ่านร่างกฎหมายอย่างละเอียด (ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Thai Netizen)จะพบว่าหน่วยงานด้านไอซีทีของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เนื่องจากรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงมีมากพอสมควร ผมขอสรุปเป็นแผนผังและข้อมูลคร่าวๆ ตามนี้ครับ (หมายเหตุ: ผมอ่านกฎหมายแล้วมีความเห็นต่างจาก แผนผังของ Thai Netizen อยู่บ้างบางจุด แต่หลักๆ แล้วเหมือนกัน)
ต่อจากข่าว สปช. มีมติให้ค่ายมือถือคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เลิกปัดเศษ โดยกสทช. เจรจาค่ายมือถือคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที แต่แยกเป็นโปรโมชั่นใหม่แทน ความคืบหน้าล่าสุดคือ คณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ดูจะยังไม่พอใจกับแนวทางปฏิบัติของ กสทช. และโอเปอเรเตอร์
หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายด้านดิจิทัล 8 ฉบับรวด (รวมทั้งชุด 10 ฉบับ) ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงร่างกฎหมายชุดนี้ตามมา (ดูรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ เปิด ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่)
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Oppo ประเทศไทยจัดงานเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่สองรุ่นรวด ได้แก่ Oppo R5 สมาร์ทโฟนสุดบางหน้าจอ AMOLED และ Oppo N3 สมาร์ทโฟนกล้องหมุนได้แบบอัตโนมัติ ในงานมีเครื่องจริงให้ลองจับกันด้วย แต่ก่อนอื่นมาว่ากันถึงสเปคของแต่ละรุ่นกันก่อนครับ
สเปคหลักๆ ของรุ่นแรก Oppo R5 เน้นไปที่ความบางเฉียบ ตัวเครื่องทำจากสแตนเลสสตีล พร้อมโครงสร้างระบายความร้อนที่ใช้มาตั้งแต่ Oppo Find 7 ช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี แม้ว่าตัวเครื่องจะบางเฉียบเพียง 4.85 มม. ก็ตาม โดยความบางระดับนี้ Oppo เคลมว่าเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นบางสุดที่ขายในประเทศไทยอีกด้วย (ซึ่งจริง) ส่วนสเปคภายในมีดังนี้ครับ
ต่อจากร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กฎหมายอีกฉบับที่เห็นชอบหลักการไปพร้อมกันคือ ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่แก้ไขฉบับเดิม
ตามร่างใหม่นี้ การแก้ไขสำคัญๆ ได้แก่
วันนี้คณะรัฐมนตรีเพิ่งผ่านเห็นชอบหลักการกฎหมาย 8 ฉบับเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล หนึ่งในร่างที่ควรต้องสนใจคือร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ก่อนหน้านี้ยังหาตัวร่างมาไม่ได้
วันนี้ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตโพสร่างกฎหมายทั้ง 8 ฉบับแล้ว ผมคงนำมาสรุปใจความสำคัญกันทีละร่าง ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ก็เป็นร่างแรกที่เลือกมา
ต่อจากข่าวเมื่อวานนี้ว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติให้ค่ายมือถือคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เลิกปัดเศษ วันนี้ กสทช. มารับลูกต่อแล้ว โดยช่วงเช้าวันนี้ (7 ม.ค.) กสทช. เชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 รายเข้าร่วมหารือ และได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้
รายชื่อกฎหมาย 8 ฉบับที่ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลออกมาแล้วเมื่อวานนี้ แม้รายละเอียดและร่างกฎหมายยังไม่ครบ แต่ก็ระบุว่าจะมีการตั้งหน่วยงานใหม่หรือโอนย้ายไปมามากมาย ตอนนี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตก็ทำภาพสรุปโครงสร้างใหม่จากข้อมูลในตอนนี้
จากโครงสร้างจะเห็นหน่วยงานตั้งใหม่จำนวนมาก และบางส่วนเป็นการปรับหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือบางส่วนแยกหน่วยงานออกมาจากหน่วยงานเดิม
ที่มา - Facebook: Thai Netizen Network
เมื่อวานนี้มีข่าวกฎหมายหลายฉบับเตรียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ ตอนนี้คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติหลักการให้กับร่างทั้งหมดแล้ว โดยกฎหมายทั้ง 8 ฉบับได้แก่
ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 211 ต่อ 3 เสียง (งดออกเสียง 7) เห็นชอบรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามระยะเวลาการใช้งานที่เป็นจริง โดยคิดเป็นวินาที เพื่อให้ กสทช. ออกคำสั่งห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือคิดค่าบริการแบบปัดเศษวินาทีเป็นนาที และคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาที
ในวันนี้ คณะกรรมการ กสทช. ได้มีการประชุมนัดแรกของปี 2558 เพื่อวางแผนงานที่จะดำเนินการภายในปี 2558 ซึ่งในขณะนี้ กสทช. ได้วางแผนงานสำคัญเอาไว้เรียบร้อยแล้วทั้งหมดสองประเด็นที่จะเป็นวาระสำคัญในปีนี้ครับ
เรื่องแรกจะเป็นเรื่องการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (ของ AIS เดิม) และ 1800 MHz (ของ AIS และ TrueMove เดิม) หลังจากที่ก่อนหน้านั้นถูก คสช. สั่งระงับการประมูลไปหนึ่งปีเพื่อจัดการปัญหาบ้านเมือง โดยแผนงานเบื้องต้นคือจะเปิดประมูลคลื่นความถี่ละ 2 ใบอนุญาต (900 MHz 2 ใบ และ 1800 MHz 2 ใบ) และตั้งเป้าที่จะเปิดประมูลให้ทันก่อนคลื่น 900 MHz ของ AIS จะหมดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายนนี้
ครอบครัวข่าวรายงานถึงนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในตอนนี้ที่กำลังจะแก้กฎหมายจำนวนมาก มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานไอทีหลายฉบับ
กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีกระบวนการแก้ไขมานานแล้วก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่กำลังจะแก้ไขกัน ตอนนี้ผมยังหาไม่เจอว่าร่างล่าสุดมีการแก้ไขอย่างใดไปแล้ว กฎหมายที่น่ากังวลอีกฉบับเพิ่มเข้ามาคือ พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ กฎหมายฉบับนี้ผมเองไม่เคยได้ยินชื่อหรือเห็นร่างมาก่อน ตอนนี้รู้เฉพาะชื่อโดยยังไม่มีเนื้อหาเปิดเผยออกมา
อีกร่างหนึ่งที่กำลังพิจารณากันคือ พ.ร.บ.กสทช. ที่มีแนวโน้มว่าจะถูกปรับการทำงานค่อนข้างแน่ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะปรับไปแบบไหนอย่างไร
เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกแถลงการณ์ต่อการที่เลขาธิการกสทช. เรียกประชุมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ประเด็นที่ทุกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถบล็อคเว็บได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกสทช.
แถลงการณ์ตั้งคำถามว่ากสทช. มีอำนาจอะไรเข้าควบคุมเนื้อหาเพราะเงื่อนไขในการประกอบกิจการอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องของทรัพยากร, มาตรฐานโครงข่าย, และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภรรยาของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของบริษัท Baidu ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ และภรรยา เดินทางเยือนประเทศจีน
รศ. นราพร จันทร์โอชา มีตำแหน่งเป็นรองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (หลายคนอาจรู้จักกันในชื่อช่องการศึกษา DLTV) จึงให้ความสนใจเยี่ยมชมเทคโนโลยีและระบบการศึกษาทางออนไลน์ของ Baidu รวม 3 อย่างคือ
เมื่อวานนี้ข่าวการนัดพูดคุยระหว่างเลขาธิการกสทช. และเฟซบุ๊กที่ไม่ได้พูดคุยกัน ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมคือทางเลขาธิการกสทช. เตรียมจะส่งหน้งสือขอความร่วมมือไปยังไลน์ และยูทูบ พร้อมกับนัดคุยกับเฟซบุ๊กอีกครั้งช่วงเดือนมกราคมนี้
โครงการสติ๊กเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการ เปิดให้ดาวน์โหลดทาง Sticker Shop ในแอพ LINE แล้ว โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีหลังจากกดเป็นเพื่อนกับบัญชี Digital Society ของกระทรวงไอซีทีก่อน
สติ๊กเกอร์มีทั้งหมด 16 ลาย (ตามที่เคยโชว์ภาพกันไปแล้ว) โดยเป็นสติ๊กเกอร์แบบเคลื่อนไหวได้ด้วยครับ
ในข้อมูลของ LINE ระบุเจ้าของสติ๊กเกอร์ชุดนี้คือกระทรวงไอซีที และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สติ๊กเกอร์เปิดให้โหลดถึงวันที่ 28 มกราคม 2015 โหลดแล้วสามารถใช้ได้นาน 90 วัน
จากข่าวเมื่อวานนี้ที่เลขาธิการกสทช. เชิญตัวแทนเฟซบุ๊กเช้าพูดคุยเพื่อหาตัวคนทำผิดมาตรา 112 วันนี้การประชุมก็มีตัวแทนจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าร่วม แต่ทางตัวแทนของเฟซบุ๊กระบุว่า "ไม่ว่าง" และไม่มีตัวแทนเข้ามา
เลขาธิการกสทช. ระบุว่ากสทช. จะเข้ามาตรวจเนื้อหาด้วยตัวเอง และยืนยันให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถปิดเว็บที่เชื่อว่าเข้าข่ายด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอความเห็นกสทช. ส่วนการดำเนินคดีจะเป็นหน้าที่ของตำรวจ ส่วนประชาชนที่มีข้อสงสัยว่าเนื้อหาข้อใดน่าจะเข้าข่ายให้รายงานไปยัง report.nbtc@gmail.com
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ รวม 19 โครงการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2558 ให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล
โครงการเด่นๆ ได้แก่ สติ๊กเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการ, งาน ICT Expo Grand SALE 2015 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์, บริการสืบค้นข้อมูลบริษัทซอฟต์แวร์โดย SIPA, ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่อง “พระมหาชนก”, โครงการพัฒนาแอพภาครัฐหลายตัว
รายชื่อโครงการทั้งหมด 19 โครงการ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ระบุว่าวันพรุ่งนี้ทางกสทช. จะเชิญตัวแทนเฟซบุ๊กประเทศไทยเข้าพบ เพื่อให้ไปคุยกับบริษัทแม่ให้มีวิธีการระบุตัวผู้ใช้ที่โพสข้อความผิดมาตรา 112
ตั้งแต่ต้นปี 2013 ทางการไทยขอข้อมูลผู้ใช้กับเฟซบุ๊กไปแล้วจำนวน 5 ครั้ง เป็นการขอข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมด 8 คน แต่ทางเฟซบุ๊กปฎิเสธไม่ให้ข้อมูลทั้งหมด ส่วนครึ่งปีแรกของปีนี้ทางเฟซบุ๊กปิดกั้นเนื้อหาออกจากประเทศไทยจำนวน 5 ชิ้นตามคำร้องขอของกระทรวงไอซีที
ที่มา - มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมาผมได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยกับทีมงานของนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เรื่องการกำกับดูแลค่าบริการโทรคมนาคม ร่วมกับคุณ @octopatr จาก DroidSans, นักวิชาการจาก TDRI, และตัวแทนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอีกหลายคน
ประเด็นการคุัมครองเรื่องค่าบริการโทรศัพท์มือถือเป็นประเด็นที่ผมพูดในเว็บนี้และที่อื่นๆ มานาน งานนี้มีโอกาสได้เสนอถึงกสทช. แม้จะเป็นแบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมาย) แต่ก็คิดว่าประเด็นที่พูดในงานครบตามความตั้งใจ เลยขอเอามาเรียบเรียงอีกครั้งถึงข้อเสนอของผม
การเปลี่ยนหัวข้อบทความบนเฟซบุ๊กมีช่องทางให้คนแชร์ข้อความสามารถเปลี่ยนหัวข้อข่าวได้ตามใจชอบ และมีคนแปลงหัวข้อเพื่อล้อเลียนเสียดสี ตอนนี้ทางไทยรัฐ หนึ่งในเว็บขนาดใหญ่ที่ถูกนำข่าวไปแก้ไขข้อความก็ออกมาระบุว่ากำลังเตรียมเข้าแจ้งความดำเนินคดี
ไทยรัฐยังรายงานถึงเว็บอื่นๆ ที่ยังถูกแก้ไขหัวข้อข่าวแบบเดียวกัน และบางครั้งก็เป็นการโพสต์เลียนแบบ เช่น Sanook หรือ Truelife
ฟีเจอร์การแก้หัวข้อและคำอธิบายบทความก่อนที่จะแชร์บนเฟซบุ๊กเปิดให้ทุกคนใช้งานมาตั้งแต่ปี 2011 แต่คนทั่วไปมักไม่ตระหนักนัก เพราะเราสามารถกดที่หัวข้อและคำอธิบายเพื่อแก้ไขค่าได้ทันที โดยไม่มีปุ่มระบุว่าแก้ไขได้
ที่มา - ไทยรัฐ
คำถามว่าสติกเกอร์ LINE ค่านิยม 12 ประการมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ จนตอนนี้ยังไม่มีเอกสารยืนยันเพราะเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้เป็นราคากลางเท่านั้น แต่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีข้อมูลเพิ่มเติม
เมื่อวันพฤหัสที่แล้วรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีให้สัมภาษณ์กับช่องไบร์ททีวี ระบุว่า ค่าใช้จ่ายจริงของสติกเกอร์ LINE อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านบาท และการออกแบบได้รับความร่วมมือจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย