Vizio ผู้ผลิตทีวีจากสหรัฐที่เข้าสู่ตลาดพีซีเมื่อกลางปี 2012 ใช้เวทีงาน CES 2013 เปิดตัวโน้ตบุ๊กสายบางเบา และพีซีแบบออลอินวันรุ่นใหม่
การอัพเกรดครั้งนี้ของ Vizio ถือเป็นการอัพเกรดย่อย เพราะโน้ตบุ๊กและพีซีใช้ดีไซน์เดิมของปี 2012 แต่เปลี่ยนจากจอธรรมดาเป็นจอสัมผัส และอัพเกรดสเปกมาเป็นซีพียูแบบควอดคอร์ทุกรุ่น โดยเพิ่มซีพียูจากเอเอ็มดีมาเป็นตัวเลือกนอกเหนือจากซีพียูฝั่งอินเทลด้วย ราคายังไม่ระบุ ส่วนกำหนดวางขายคือเดือนกุมภาพันธ์
พีซีของ Vizio ยังทำตลาดเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น แต่นี่ก็เป็นสัญญาณว่าผู้ผลิตพีซีเริ่มตอบรับจอสัมผัสของ Windows 8 มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะล่าช้าหลังไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 8 มานานหลายเดือนก็ตาม
ซัมซุงเปิดตัวจอแสดงผลใหม่สองรุ่นส่งท้ายปี 2555 ได้แก่ ซีรี่ส์ 7 (Series 7) และซีรี่ส์ 7 แบบจอสัมผัส (Series 7 Touch) โดยซีรี่ส์ 7 รุ่นจอสัมผัสนั้นเป็นจอมัลติทัชขนาด 24 นิ้ว ถูกปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานคู่กับวินโดวส์ 8 หน้าจอมีความละเอียดที่ 1920 x 1080 พิกเซล มีมุมการมอง 178 องศา และฐานจอสามารถปรับเอียงได้ถึง 60 องศา
ส่วนซีรี่ส์ 7 รุ่นธรรมดามีหน้าจอขนาด 27 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซลเท่ากัน ปรับหมุนจอได้ 90 องศา ทำให้สามารถใช้แบบแนวตั้งและแนวนอนได้ โดยทั้งสองรุ่นนี้จะวางตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556
ขณะนี้ยังไม่ปรากฏราคาออกมา แต่ทั้งคู่จะถูกเปิดตัวที่แรกในงาน CES 2013 ที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้าครับ
เว็บไซต์ MIT Technology Review มีบทสัมภาษณ์ Julie Larson-Green หัวหน้าฝ่ายพัฒนาวินโดวส์คนใหม่ ที่เลื่อนชั้นขึ้นมาแทน Stephen Sinofsky หัวหน้าฝ่ายวินโดวส์คนเดิมที่ลาออกจากบริษัทไป (คนที่ดูวิดีโองานแถลงข่าว Windows 8 คงคุ้นหน้าเธออยู่บ้างเพราะมาทุกงาน) ประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ
เทคโนโลยีนี้จะทำให้จอทัชสกรีนสามารถแยกแยะได้ว่าเราใช้อะไรสัมผัสหน้าจอ โดยใช้ sensor ขนาดเล็ก ในการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนของวัตถุที่กระทำกับหน้าจอ เพื่อแยกวัตถุที่ใช้สัมผัสหน้าจอแต่ละชนิดออกจากกัน ทำให้สามารถเขียนคำสั่งต่อการสัมผัสของวัตถุชนิดนั้นๆ ได้ เช่น ใช้ข้อนิ้วแทนการคลิกค้างเพื่อเรียกเมนู สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้จากวิดีโอด้านล่างครับ
ในตอนนี้ Qeexo บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีชิ้นนี้ได้ปล่อย sdk เวอร์ชั่นของ Android ออกมาแล้ว นักพัฒนาท่านไหนสนใจ สามารถอีเมลไปสอบถามกับทาง Qeexo ได้ ส่วนของฝั่ง iOS นั้นจะออกตามมาเร็วๆ นี้
ผลงานวิจัยจาก Disney Research นี้มีชื่อว่า **Capacitive Fingerprinting** ซึ่งเป็นระบบจำแนกบุคคลสำหรับอุปกรณ์ที่มีหน้าจอสัมผัส แม้จะใช้ชื่อดังกล่าวแต่งานนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวกับลายนิ้วมือเลย
เทคโนโลยีใหม่นี้พัฒนาจากความสามารถของระบบ [Touché](http://www.blognone.com/node/32285) โดยอาศัยการปล่อยคลื่นแรงดันไฟฟ้าหลายความถี่จากหน้าจอสัมผัสและจดจำการตอบสนองของสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวซึ่งจะแตกต่างกันไปในขณะที่ผู้ใช้แต่ละคนสัมผัสหน้าจอ
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Office 2013 คือการปรับปรุงอินเทอร์เฟซของโปรแกรมให้รองรับกับจอสัมผัส ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ออกมาอธิบายผ่านบล็อก Office Next ว่าปรับปรุงในประเด็นใดบ้าง พร้อมทำวิดีโอประกอบให้เข้าใจกันง่ายขึ้น
อย่างแรกคือปรับปรุงการตอบสนองของนิ้วสัมผัสให้ราบรื่นมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ไมโครซอฟท์อธิบายว่าต้องเปลี่ยนระบบกราฟิกจาก GDI ของดั้งเดิม มาใช้ระบบกราฟิกแบบใหม่ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ช่วยเร่งประสิทธิภาพ (ไม่ได้เอ่ยชื่อแต่เข้าใจว่าหมายถึง Direct2D)
ไมโครซอฟท์ได้จดสิทธิบัตร "User Identification with Biokinematic Input" ซึ่งกล่าวถึงการระบุตัวตนโดยใช้ข้อมูลอย่างลายนิ้วมือหรือลายฝ่ามือที่ได้รับจากหน้าจอสัมผัสของอุปกรณ์โดยตรง
ทีมวิจัยได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของงานวิจัยชิ้นนี้ว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดมากมายที่เทคนิคการระบุตัวตนด้วยใช้ข้อมูลไบโอเมตริกไม่ได้รับการนำไปใช้บนแท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาทิ ไม่มีพื้นที่ที่จะติดตั้งตัวอ่านลายนิ้วมือหรือลายฝ่ามือ และถึงแม้จะมีหน้าจอสัมผัสที่ติดมากับอุปกรณ์ที่พอจะรับข้อมูลได้ แต่เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสในปัจจุบันนั้นก็ไม่มีความละเอียดที่มากพอที่จะเก็บภาพของพื้นผิวมนุษย์บนนิ้วมือหรือฝ่ามือซึ่งสามารถถูกใช้เพื่อแยกแยะตัวบุคคลได้
สองเรื่องของ Nexus 7 ครับ อย่างแรกคือร้านค้าต่างๆ ในสหรัฐรายงานว่า Nexus 7 ขายหมดเกลี้ยงและต้องรอสั่งของรอบใหม่กันถ้วนหน้า ส่วนในสหราชอาณาจักรที่เปิดขายแล้วเช่นกันก็มีข้อมูลจากร้านค้าว่าขายดีในทุกสาขา - ZDNet
อย่างไรก็ตาม มีรายงานจากผู้ใช้บางส่วนว่า Nexus 7 มีปัญหาเรื่องจอสัมผัสไม่ตอบสนองในฝั่งขวามือของตัวเครื่อง โดยการตรวจจับสัมผัสจะหายไปในบางครั้ง (ดูวิดีโอประกอบ) ทางออกแบบชั่วคราวคือต้องปิดแล้วเปิดจอใหม่ปัญหาจะหายไป ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลจากกูเกิลในเรื่องนี้ - Geek.com
บริษัท Microsoft ประกาศข้อตกลงกับบริษัท Perceptive Pixel ในการขอเข้าซื้อกิจการ
บริษัท Perceptive Pixel เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้า พวกระบบจอสัมผัสขนาดใหญ่ควบวงจร คือประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 โดย Jeff Han
บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 2008 บริษัทได้เปิดตัวสินค้าที่ทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักในวงกว้าง คือระบบจอสัมผัสขนาดใหญ่ครบวงจร ที่นำมาใช้ในการแสดงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยมีสำนักข่าว CNN และอีกหลายแห่งนำมาเป็นเครื่องมือช่วยในการรายงานข่าว
ก่อนหน้านี้เราได้เห็น TapSense จอสัมผัสที่สามารถแยกแยะได้ว่าวัตถุไหนที่มาสัมผัสกับหน้าจอ โดยใช้เสียงเพื่อช่วยแยกประเภท วันนี้ Disney Reseach ได้ออกมาโชว์ Touché (อ่านว่า "ทู-เช") เซนเซอร์รับสัมผัสที่เหนือขึ้นไปอีกว่านอกจากจะบอกได้ว่าเราใช้อะไรสัมผัส ยังบอกละเอียดขึ้นไปว่าใช้นิ้วกี่นิ้ว ท่าที่สัมผัส (จีบนิ้ว หรือกุมทั้งมือ) แถมยังใช้ได้กับวัตถุอย่างอื่นนอกเหนือจากจอสัมผัส แม้แต่ในน้ำ หรือกระทั่งร่างกายของเราก็ได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออกมาชี้แจงผ่านบล็อก Building Windows 8 ว่าพีซีจอสัมผัสที่ออกมาสำหรับ Windows 7 อาจมีปัญหากับระบบสัมผัสของ Windows 8 ได้ เนื่องจากฮาร์ดแวร์ไม่ได้มาตรฐานตามที่ Windows 8 ระบุ
ไมโครซอฟท์จะใช้วิธีแก้ปัญหาทางซอฟต์แวร์เข้าช่วย เช่น เพิ่มพื้นที่ 20px ที่ขอบขวาและขอบล่างของหน้าจอ เพื่อดัก edge swipe gesture แต่ก็ไม่สามารถแก้ได้ในทุกกรณี ทำให้การสัมผัสและ gesture ของ Windows 8 บนพีซีจอสัมผัสรุ่นเก่าๆ อาจมีปัญหาขาดความแม่นยำได้
ความหวังเล็กๆ อยู่ที่ว่าปัญหาบางอย่างสามารถแก้ได้จากไดรเวอร์ ดังนั้นคงต้องลุ้นให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จอสัมผัสออกไดรเวอร์สำหรับ Windows 8 กันมาโดยเร็ว ส่วนคนที่เล็งๆ จะซื้อพีซีจอสัมผัสในช่วงนี้ ก็อาจจะต้องเช็คก่อนว่าผ่านมาตรฐานฮาร์ดแวร์ของ Windows 8 หรือไม่ครับ
ที่มา - Building Windows 8
งานวิจัยเกี่ยวกับจอสัมผัสอีกหนึ่งงานครับ แม้ว่าเราจะมีระบบสั่นเพื่อบ่งบอก feedback ของการสัมผัสจอ (haptic) แต่นั่นก็อาจไม่เพียงพอ ทีมนักวิจัยจากญี่ปุ่นจึงพัฒนาระบบจอสัมผัส ที่สามารถเคลื่อนตัวตอบสนองระหว่างวัตถุที่อยู่ในจอกับนิ้วมือเราได้ โดยยึดมุมทั้งสี่ของจอสัมผัสด้วยลวดและกลไกลที่จะคอยบังคับดึงมันไปในทิศทางต่างๆ ทำให้เกิดเป็นระบบจอสัมผัสที่สามารถบ่งบอกทิศทาง feedback ได้นั่นเองครับ (ดูวิดีโอได้ในข่าว)
ที่มา: Engadget
เว็บไซต์ Android and Me เกิดคำถามขึ้นว่า เกมสุดฮ็อตอย่าง Draw Something เหมาะกับการเล่นด้วยอะไรมากที่สุด เลย "ทดลอง" แบบง่ายๆ บนมือถือ Galaxy Note โดยใช้สถานการณ์ 3 แบบ
ผลปรากฏว่า S Pen นำมาเป็นอันดับหนึ่ง มีความแม่นยำสูงและเส้นคม ตามด้วย Adoint Jot Pro และนิ้วมือ อย่างไรก็ตาม Android and Me ก็ให้ความเห็นว่า Draw Something ไม่ได้ปรับแต่งมาสำหรับ S Pen และยังมีบั๊กอยู่บ้างเป็นบางจุด
ผลการทดลองดูได้จากวิดีโอครับ
เมื่อไม่นานมานี้ อินเทลเพิ่งโชว์ Ultrabook จอสัมผัสรุ่นต้นแบบที่งาน CeBIT
Google เปิดเผยสิทธิบัตรรูปการสั่งการบนจอสัมผัสแบบใหม่ด้วยการใช้การสัมผัสแบบต่อเนื่อง (continuous gesture) เช่นวาดเป็นตัวอักษร์ g พิมพ์เล็กตามด้วยวงกลมล้อมรอบตัวหนังสือหรือรูปภาพเพื่อที่จะสืบค้นบน Google ได้ทันที
บริษัท Gunze ได้พัฒนาระบบจอสัมผัส ที่สามารถแยกได้ว่า ณ จุดหนึ่งๆ ใครเป็นผู้ที่จิ้มจุดนั้นอยู่ โดยอาศัยหลักการไฟฟ้าครบวงจรง่ายๆ คือผู้ใช้ต้องเอามือข้างหนึ่งกดปุ่มที่เป็นตัวนำไฟฟ้า แล้วจึงจะสามารถใช้มืออีกข้างสัมผัสสั่งการหน้าจอได้นั่นเอง
จอสัมผัสตัวนี้ ถูกนำมาแสดงในงานนาโนเทคโนโลยีนานาชาติครั้งที่ 11 ที่กรุงโตเกียวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีจุดประสงค์แรกๆ คือเป็นโต๊ะเล่นเกมจอระบบจอสัมผัสที่สามารถเล่นได้หลายคนครับ
นักวิจัยจาก Georgia Tech ได้พัฒนาระบบ BrailleTouch ซึ่งเป็นการป้อนตัวอักษรบนมือถือจอสัมผัส ที่ใช้ตำแหน่งรูปร่างของอักษรเบรลล์ (ตัวอักษรแทนภาษาหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ด้วยการจุดหรือไม่จุดบนตารางขนาด 2x3) มาแทนการพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัว
ถึงแม้ว่าแอพนี้จะมีเป้าหมายหลักสำหรับผู้พิการทางสายตา แต่ว่ามันก็น่าจับตามองในเรื่องของความเร็วเป็นอย่างมาก ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนการป้อนอักษรด้วยระบบนี้ สามารถทำความเร็วได้ถึง 32 คำต่อนาทีที่ความแม่นยำ 92% เลยทีเดียว (นักวิจัยเคลมว่า เร็วกว่าการป้อนคำบนมือถือจอสัมผัสด้วยวิธีทั่วไปถึงหกเท่า)
เครื่องอ่านอีบุ๊ก Kindle Touch รองรับจอสัมผัสก็จริง แต่ Amazon ก็ตั้งใจเพียงแค่ให้สัมผัสเพื่อสั่งงานพื้นฐานทั่วไปเท่านั้น
แต่บริษัทหน้าใหม่ชื่อ Puzzazz ไปไกลกว่านั้น โดยพัฒนาเทคโนโลยีการแยกแยะลายมือชื่อ TouchWrite ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนตัวอักษร-ตัวเลขด้วยนิ้วได้
Puzzazz เริ่มใช้เทคโนโลยีใหม่นี้กับอีบุ๊กชื่อ Sudoku Unbound Volume 3 ทำให้มันกลายเป็นเกม Sudoku ที่สามารถป้อนตัวเลขโดยเอานิ้วลากบนหน้าจอได้โดยตรง (ดูคลิปประกอบ) ใครสนใจและมีอุปกรณ์พร้อมก็ซื้อมาเล่นกันได้ 2.99 ดอลลาร์
ที่มา - GeekWire
General Motors และ FUTURE LAB จาก Bezalel Academy of Art and Design ในอิสราเอลได้ร่วมกันตั้งโครงการ Windows of Opportunity (WOO) โดยมีเป้าหมายคือการสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับผู้โดยสารรถยนต์ โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ยังอายุไม่มากนัก
WOO คิดว่าการเปลี่ยนให้กระจกรถยนต์เป็นจอสัมผัสจะทำให้ผู้โดยสารนั้นรู้สึกมีส่วนร่วมกับสิ่งแวดล้อมภายนอกรถยนต์มากขึ้น และจะเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสและความอยากรู้อยากเห็นให้กับผู้โดยสารอีกด้วย (ลองชมวีดีโอได้ท้ายข่าว)
บริษัท Senseg ได้สาธิตหน้าจอสัมผัสแบบใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสกับจอภาพแล้วรับรู้ถึงความรู้สึกของพื้นผิวเสมือนจริงที่กำลังแสดงอยู่บนจอภาพในขณะนั้นเหมือนกับว่ากำลังใช้นิ้วแตะลงไปบนพื้นผิวนั้นจริงๆ
เทคโนโลยีนี้แตกต่างจากเทคโนโลยีอย่าง haptic feedback ที่อาศัยการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนภายในอุปกรณ์ โดยจอสัมผัสของ Senseg นั้นอาศัยไฟฟ้าสถิตในการทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกได้ถึงแรงเสียดทานที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของจอภาพ ลองชมวีดีโอได้ท้ายข่าวครับ
ถ้าจอสัมผัสชนิดนี้ประสบความสำเร็จขึ้นมา นอกจากความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ ที่จะตามมาแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทำให้ผู้ที่มีความบกพร่องของร่างกายอย่างผู้พิการทางสายตา สามารถที่จะเข้าถึงโทรศัพท์หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นครับ
ในวันที่จอสัมผัสเพิ่งฮิตติดตลาดได้ไม่นาน นับเป็นโอกาสทองของนักวิจัย ที่จะได้ทดลองอะไรแปลกๆ เพื่อเพิ่มความสามารถของมันให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้นครับ
ไม่กี่วันมานี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ก็ได้ออกมาโชว์ TapSense งานวิจัยจอสัมผัสที่สามารถแยกแยะประเภทวัตถุที่มาสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดนิ้ว แตะนิ้ว เล็บ หรือเคาะด้วยข้อนื้ว (tip, pad, nail, knuckle ตามลำดับ) ถ้ายังงงอยู่ ก็เข้ามาดูวิดีโอให้หายสงสัยได้ในข่าวครับ
เป็นที่รู้กันดีว่า เทคโนโลยีจอสัมผัสนั้น มีจุดอ่อนตรงที่เราต้องมองหน้าจอตลอดเวลาเมื่อต้องการสัมผัส ซึ่งในการเล่นเกมก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่เมื่อต้องการพิมพ์งานแล้วจะพบว่าไม่สะดวกอย่างยิ่ง (นี่คงเป็นเหตุผลหลักที่ลูกค้าจำนวนไม่น้อยติดใจคีย์บอร์ด BlackBerry)
Outlook Web App (OWA) เป็นซอฟต์แวร์เว็บเมลของไมโครซอฟท์ ใช้ติดต่อกับเมลเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไม่อยากใช้ Outlook หรือไม่ได้อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองในขณะนั้น OWA แถมมากับ Microsoft Exchange และได้รับความนิยมในหมู่ลูกค้าองค์กรไม่น้อย
แต่เมื่อลูกค้าองค์กรเริ่มมีอุปกรณ์อย่างมือถือสมาร์ทโฟนจอสัมผัสและแท็บเล็ต โปรแกรมอีเมลเองก็ต้องปรับตัวตาม ทั้ง Gmail, Yahoo! หรือแม้แต่ Hotmail เองก็ปรับอินเทอร์เฟซให้เหมาะกับจอสัมผัสแล้ว แต่ OWA กลับยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ยื่นจดสิทธิบัตรจอโพลีเมอร์ชนิดปรับรูปร่างตามการเหนี่ยวนำของแสง หรือ light-induced shape-memory polymer display screen กับสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา โดยจอชนิดนี้สามารถสร้างรอยนูนของลวดลายบนผิวสัมผัส เช่น ปุ่มเวอร์ชวลคีย์บอร์ดที่เวลาลูบนิ้วไปบนนั้นจะให้ความรู้สึกเสมือนแป้นพิมพ์จริงเลยทีเดียว
ฮิตาชิได้โชว์ต้นแบบหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ที่ไม่เพียงแต่รองรับการสัมผัสจากนิ้วมือโดยตรงเท่านั้น แต่ยังรองรับการสัมผัสขณะสวมถุงมือและรองรับการใช้ปากกาแทนนิ้วได้อีกด้วย
ฮิตาชิไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเชิงลึกของเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาหน้าจอดังกล่าว แต่บริษัทเปิดเผยแต่เพียงว่าวิศวกรได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและเพิ่มส่วนประกอบเข้าไปโดยคงความหนาและขนาดของ LCD ไว้เหมือนจอแบบปัจจุบัน นอกจากนั้นทีมพัฒนายังได้ปรับปรุงอัลกอริทึมเพื่อใช้ตรวจจับวัตถุอื่นที่มิใช่นิ้วมือคนอีกด้วย