ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้แอพ Copilot for Windows สองอย่างดังนี้
สองฟีเจอร์นี้ใช้ได้กับแอพ Copilot เวอร์ชัน 1.25034.133.0 ที่ทยอยอัพเดตให้กลุ่ม Insider ก่อน
ที่มา - Microsoft
Visual Studio Code เปิดฟีเจอร์ Copilot Agent Mode ให้ผู้ใช้ทุกคนแล้ว หลังจากเปิดทดสอบแบบพรีวิวมาสักระยะหนึ่ง
Copilot Agent Mode เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ GitHub Copilot ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด จากเดิมที่ตัวปัญญาประดิษฐ์ช่วยทำงานตามสั่งเป็นชิ้นๆ ไป ตอนนี้พัฒนาเป็นร่าง Agent เสมือนมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์อีกคนช่วยทำ peer programming คอยรับคำสั่งที่ซับซ้อนกว่าเดิม วิเคราะห์โค้ดเดิมของเราทั้งหมด อ่านไฟล์ที่จำเป็น นำเสนอแนวทางแก้ไขโค้ด รันคำสั่งในเทอร์มินัล รันทดสอบ แก้ข้อผิดพลาดต่างๆ แล้วทำเป็นลูปวนซ้ำๆ จนกว่างานที่สั่งจะเสร็จสิ้น
นอกจาก Copilot Search in Bing ไมโครซอฟท์ยังเปิดตัวบริการและฟีเจอร์ในชุด Copilot อีกชุดใหญ่ โดยใช้สโลแกนว่า Copilot is Your AI Companion
ในแง่ของฟีเจอร์อาจไม่ต่างอะไรมากกับคู่แข่งในท้องตลาด ที่มีฟีเจอร์เหล่านี้นำมาสักพักแล้ว แต่ก็ถือเป็นการไล่กวดของ Copilot ให้ยังตามคู่แข่งทัน
ถ้ายังจำกันได้ จุดเริ่มต้นของ Copilot เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2023 เมื่อไมโครซอฟท์นำโมเดล GPT เข้ามาใส่ใน Bing Search กลายเป็นฟีเจอร์ชื่อ Bing Chat
เวลาผ่านมา 3 ปีกว่า เราเห็น Copilot เติบโต แตกลูกแตกหลานมากมาย ในขณะที่ Bing กลับถูกลืมๆ ไป แต่ในโอกาสมงคล ไมโครซอฟท์มีอายุครบ 50 ปี ไมโครซอฟท์ก็เปิดตัว Copilot Search ใน Bing
อ่านชื่อแล้วอย่าเพิ่งงงว่า อ้าว Bing เป็น search engine อยู่แล้ว ทำไมเราต้องมี Copilot Search กันอีก
ไมโครซอฟท์มี Microsoft Security Copilot เป็น AI ช่วยวิเคราะห์หาช่องโหว่ความปลอดภัยมาตั้งแต่ปี 2023 ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกมาโชว์ผลงานแล้วว่า Security Copilot ช่วยให้ค้นหาช่องโหว่ได้จริง
ช่องโหว่ที่ค้นพบในรอบนี้เจอกับซอฟต์แวร์ bootloader สายโอเพนซอร์สหลายตัว เช่น GRUB2 ที่นิยมใช้ในลินุกซ์, U-boot, Barebox (สองตัวหลังนิยมใช้ในระบบปฏิบัติการฝังตัว) แนวทางที่ไมโครซอฟท์ใช้คือให้ทีมวิจัยช่องโหว่ Microsoft Threat Intelligence สั่งพร็อมต์ให้ Security Copilot ไล่หาช่องโหว่ประเภท integer overflow ที่เป็นไปได้จากโค้ดของซอฟต์แวร์ bootloader เหล่านี้ แทนการนั่งไล่อ่านโค้ดเองด้วยมนุษย์
ไมโครซอฟท์ขยายฟีเจอร์ Copilot ช่วยสรุปเอกสาร Word จากของเดิมได้ยาวสุด 300 หน้า เพิ่มเป็น 3,000 หน้า (10 เท่า!) ช่วยให้การอ่านเอกสารที่ยาวมากๆ ง่ายขึ้นมาก
วิธีการใช้งานสามารถเรียกได้จากเมนู Home > Copilot > Summarize this doc สามารถเลือกความยาวได้ 3 ระดับคือ Brief (a short paragraph), Standard (key points summarized), Detailed (a long-form summary)
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้แล้วกับ Word for Web วันนี้ ส่วน Word for Windows และ Word for Mac ต้องเริ่มจากกลุ่ม Insider ก่อน
ไมโครซอฟท์เปิดตัวผู้ช่วย AI บน Microsoft 365 Copilot สำหรับการค้นหาข้อมูลเชิงลึกและค้นหาข้อมูลสำหรับงานวิจัย ในรูปแบบเดียวกับ Deep Research ของ OpenAI และ Gemini Deep Research ของกูเกิล ซึ่งของไมโครซอฟท์แยก AI Agent เป็นสองตัวคือ Researcher และ Analyst
Researcher ระบุความสามารถช่วยการค้นคว้าข้อมูลที่มีขั้นตอนซับซ้อน ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง และตรงกับที่ต้องการใช้งานมากกว่าที่เคยมีมา ตัวผู้ช่วย AI ทำงานผสมผสานระหว่างโมเดล Deep Research ของ OpenAI กับเครื่องมือขั้นสูงของ Microsoft 365 Copilot รองรับการทำงานร่วมกับแหล่งข้อมูลภายนอกบน Salesforce, ServiceNow, Confluence และอื่น ๆ เพื่อหา insight ได้
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Security Copilot ในปี 2023, ออกตัวจริงในปี 2024 มาถึงวันนี้ปี 2025 ก็ประกาศฟีเจอร์ใหม่ Agentic AI จำนวน 11 รูปแบบ เพื่อช่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านต่างๆ
ความน่าสนใจคือ Security Copilot agent ที่เปิดตัว มี agent ของไมโครซอฟท์เอง 6 ตัว และ agent ของพาร์ทเนอร์ภายนอกอีก 5 ตัว ที่มาสร้างระบบ agent บนแพลตฟอร์ม Security Copilot
ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหาที่เกิดกับผู้ใช้งาน Windows 11 บางคน หลังอัปเดตแพตช์ล่าสุดเดือนมีนาคม แล้วแอป Microsoft Copilot หายไปจากเครื่อง
ไมโครซอฟท์อธิบายในหน้าซัพพอร์ตของแพตช์ KB5053598 ว่าแอปอาจถูกถอนการติดตั้งออกไป แล้วถูก Unpin จาก Taskbar ด้วย โดยปัญหานี้ไม่เกิดกับ Microsoft 365 Copilot
แนวทางแก้ไขเบื้องต้น ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลด Microsoft Copilot ได้เองผ่าน Microsoft Store หรือถ้าเลือกรอ ไมโครซอฟท์บอกกำลังแก้ไขปัญหานี้อยู่
ไมโครซอฟท์อัปเดตความสามารถให้โปรแกรม Snipping Tool และ Notepad บน Windows 11 โดยเริ่มทยอยอัปเดตให้กลุ่ม Windows Insiders แล้ว รายละเอียดดังนี้
Snipping Tool อัปเดตเวอร์ชัน 11.2502.18.0 เพิ่มความสามารถ Draw & Hold สามารถวาดรูปทรงในภาพที่จับหน้าจอมาได้สวยงามขึ้น
ส่วน Notepad เวอร์ชัน 11.2501.29.0 เพิ่มฟีเจอร์ Summarize โดยเมื่อไฮไลท์ข้อความที่ต้องการ แล้วเลือก Summarize จากปุ่ม Copilot หรือใช้ทางลัด Ctrl + M โปรแกรม Notepad จะสรุปเนื้อหาจากข้อความที่ไฮไลท์ รูปแบบเดียวกับโปรแกรม AI อื่น หากไม่ต้องการฟีเจอร์นี้สามารถปิดได้ใน Settings
Notepad ยังเพิ่ม Recent Files ให้สามารถเรียกไฟล์ล่าสุดที่เพิ่งกดปิดไปได้
แม้เมื่อไม่นานมานี้ทาง Microsoft ได้ประกาศว่า Skype จะปิดตัวลง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2025 แต่ Microsoft ยังเหลือแอปส่งข้อความอีกตัวที่ชื่อ GroupMe ซึ่งได้รับความนิยมจากวัยรุ่นของสหรัฐอยู่พอสมควร
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าผลักดัน "Copilot ทุกหนทุกแห่ง" อย่างขยันขันแข็ง สถานีถัดไปของ Copilot ตอนนี้มาจอดที่บ้าน Xbox แล้วภายใต้ชื่อว่า Copilot for Gaming
Copilot for Gaming นิยามตัวเองว่าเป็น "เพื่อนเล่นเกมของคุณ" (your personalized gaming companion) ตัวอย่างการใช้งานคือ เราเล่นๆ เกมอยู่สามารถพูดถาม Copilot ได้เลยว่าจะเล่นตรงนี้ให้ผ่านได้อย่างไร แทนการไปนั่งอ่านคู่มือในเว็บหรือดูคลิปจากคนอื่นๆ ตัวอย่างเกมที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์คือ Age of Empires และ Minecraft แต่ก็มีหมายเหตุว่าเป็นแค่ต้นแบบเท่านั้น ยังไม่ใช่การนำไปใช้กับเกมจริงๆ
หลัง ไมโครซอฟท์ออกแอพ Copilot แบบเนทีฟบนวินโดวส์ ก็เดินหน้าออกฟีเจอร์ใหม่ต่อทันทีคือ Press to talk กดปุ่มลัดบนคีย์บอร์ดเพื่อส่งเสียงคุยกับ Copilot ได้โดยตรง (ลักษณะเดียวกับผู้ช่วย AI บนสมาร์ทโฟน)
วิธีการคือกด Alt + Spacebar ค้างไว้ 2 วินาทีจากที่ไหนก็ได้บน Windows แล้วพูดได้เลย พูดจบให้กด Esc เพื่อส่งคำสั่งเสียงไปยัง Copilot
ฟีเจอร์นี้เริ่มใช้กับแอพ Copilot บน Windows Insider แล้ว
ที่มา - Microsoft
ไมโครซอฟท์เริ่มทดสอบแอพ Copilot for Windows ตัวใหม่ที่เขียนแบบเนทีฟ XAML แทนแอพเวอร์ชันปัจจุบันที่เป็นเว็บแอพ โดยยังเปิดทดสอบเฉพาะกลุ่ม Insider Channels
ในแง่ความสามารถคงไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเดิม ยกเว้นหน้าตาสวยงามเป็นมาตรฐานแบบเนทีฟ ตอบสนองเร็วขึ้น สามารถเรียกใช้งานได้จากปุ่มลัด Alt + Space หรือปุ่ม Copilot บนคีย์บอร์ด
ที่มา - Microsoft
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2021 ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Nuance บริษัทซอฟต์แวร์สั่งงานด้วยเสียงชื่อดัง ด้วยมูลค่าสูงเกือบ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากนั้นข่าวของ Nuance ก็เงียบไปสักพักใหญ่ๆ
เดิมที Nuance โด่งดังขึ้นมาจากซอฟต์แวร์สั่งงานด้วยเสียงแบรนด์ Dragon (Nuance ทำอัลกอริทึมสั่งงานด้วยเสียงให้ Siri ในยุคแรกๆ) แต่เมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนแปลง ทำให้ Nuance เริ่มผันตัวจากตลาดคอนซูเมอร์ไปจับตลาด AI ทางการแพทย์ บวกกับยุคผู้ช่วย AI เกลื่อนเมือง ทำให้การสนทนาด้วยเสียง คุยกันด้วยภาษาธรรมชาติ กลายเป็นเรื่องปกติสามัญ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Dragon Copilot ผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับแพทย์เพื่อทำงานเอกสาร ลดความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยมีความสามารถหลากหลาย เช่น การเขียนจดหมายส่งตัว, สรุปการตรวจแต่ละครั้ง, สรุปหลักฐานการตัดสินใจรักษา, สั่งยาหรือการรักษา, ตลอดจนการเชื่อมต่อเข้าข้อมูลอื่นๆ
ความพิเศษของ Dragon Copilot คือผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงได้อย่างแม่นยำ ไมโครซอฟท์ระบุว่าฝึกระบบฟังเสียงมากด้วยข้อมูลมากกว่าพันล้านนาที และระบบ generative AI ด้านหลังก็เป็นตัวที่ฝึกกับข้อมูลทางการแพทย์มาโดยเฉพาะ
บริการนี้ขยายมาจาก Dragon Medical One ของ Nuance ที่ไมโครซอฟท์ซื้อมาตั้งแต่ปี 2022
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์เล็กๆ ให้กับ GitHub Copilot ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด โดยฟีเจอร์ Copilot Chat รองรับการใส่รูปภาพในช่องแชทแล้ว เราสามารถแปะภาพจาก clipboard หรือไฟล์ภาพ PNG, JPG, GIF เพื่อใช้โมเดล vision ทำความเข้าใจภาพ ประกอบกับคำสั่งใน prompt ได้ (ตัวโมเดลเป็น GTP-4o)
ตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์คือภาพของเกม breakout แล้วให้ Copilot บอกวิธีเขียนโค้ดสร้างเกมลักษณะนี้ขึ้นมา หรือจะนำภาพข้อความ error เข้ามาถาม Copilot ก็ได้เช่นกัน
ฟีเจอร์นี้เปิดใช้แล้วใน Visual Studio 17.13 Preview
ที่มา - Microsoft
Microsoft Copilot เปิดให้ใช้งาน 2 ฟีเจอร์ใหม่ (ที่เคยเปิดตัวไปแล้วแต่อาจยังไม่เปิดบริการในวงกว้าง) ฟรีแบบไม่จำกัดจำนวนการใช้งาน
ไมโครซอฟท์บอกว่า ก่อนหน้านี้ผู้ใช้เจอปัญหาติดลิมิตการใช้งาน บริษัทจึงทำงานหนักเพื่อให้สามารถใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ได้แบบไร้ข้อจำกัดใดๆ แต่ก็เตือนว่าอาจเจอปัญหาติดขัดหรือล่าช้าบ้างเวลามีคนใช้งานเยอะๆ
ไมโครซอฟท์อัพเดต Microsoft Paint ให้มีปุ่ม Copilot เพิ่มเข้ามาในแถบเครื่องมือ รวมฟีเจอร์ AI ทุกอย่างไว้ในปุ่มเดียว สามารถกดเพื่อให้ Copilot ช่วยงานได้ 4 อย่างคือ
ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้ใช้ Copilot ทุกคน เข้าถึงโมเดล OpenAI o1 ที่มีจุดเด่นเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning model) และมีความสามารถตอบคำถามด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เขียนโปรแกรม ดีขึ้นกว่าโมเดลรุ่นก่อนๆ มาก แลกกับการที่ต้องใช้เวลาประมวลผลนานขึ้นเป็นราวๆ 30 วินาที
ไมโครซอฟท์เรียกฟีเจอร์นี้ว่า Think Deeper เปิดให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งานฟรี หากเข้าไปในเว็บหรือแอพ Copilot จะเห็นปุ่ม Think Deeper โผล่ขึ้นมาแล้ว เมื่อกดแล้ว Copilot จะใช้เวลานานขึ้นในการคิด และตอบคำถามให้ยาวและละเอียดมากขึ้น
Frank X. Shaw หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของไมโครซอฟท์ ออกมาตอบโต้ Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce ที่มาวิจารณ์ Copilot ว่าไม่มีใครสนใช้งาน
Shaw ตั้งประเด็นว่าเขาสงสัยมากว่าทำไม Benioff ถึงหมกมุ่นกับ Copilot มากขนาดนี้ และพบคำตอบในหนังสือของ Benioff ที่ออกขายเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเขาเล่าตอนที่ Salesforce ทำศึกกับ Siebel และเผยเคล็ดลับส่วนตัวว่าให้วางตัวเองเป็นผู้นำ หรือคู่ต่อสู้ของผู้นำในวงการนั้นๆ เพื่อให้สื่อฉายภาพว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างบุคคลกับบุคคล ซึ่ง Salesfoce ที่ในตอนนั้นเป็นเบอร์รอง จะได้รับความสนใจมากกว่าผู้นำตลาด
นักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ปรับโค้ดของเคอร์เนลให้รองรับปุ่ม Copilot บนคีย์บอร์ด ตามนโยบายของไมโครซอฟท์ ที่เริ่มพบได้เรื่อยๆ ในพีซีใหม่ที่วางขายในปี 2024 เป็นต้นมา
เบื้องหลังการทำงานของปุ่ม Copilot ไม่ได้เป็นรหัสปุ่มใหม่บนคีย์บอร์ด แต่เป็นการส่งสัญญาณโค้ด Left Shift + Windows key + F23 ประเด็นคือไดรเวอร์คีย์บอร์ด atkbd ในลินุกซ์ไม่ได้ดักจับปุ่ม F23 (0x6e) มาก่อน ล่าสุด Mark Pearson นักพัฒนาเคอร์เนลจาก Lenovo ได้อัพเดตแพตช์ให้รองรับแล้ว แพตช์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของเคอร์เนล 6.14 ที่จะออกเป็นรุ่นถัดไป
ไมโครซอฟท์ประกาศอย่างเป็นทางการเรื่องการขึ้นราคา Microsoft 365 แบบลูกค้าทั่วไป (Consumer) มีผลทั่วโลก จากรายงานเมื่อวันก่อนพบข้อมูลการขึ้นราคาในไม่กี่ประเทศรวมทั้งประเทศไทย
โดยราคาในประเทศไทย Microsoft 365 Personal เพิ่มจาก 2,099 บาทต่อปี เป็น 2,999 บาทต่อปี (+43%) และ Microsoft 365 Family เพิ่มจาก 2,899 บาทต่อปี เป็น 3,699 บาทต่อปี (+28%) ส่วนในอเมริกาแผน Family เพิ่มจาก 99.99 ดอลลาร์ต่อปี เป็น 129.99 ดอลลาร์ต่อปี (+30%)
GitHub โชว์การใช้ GitHub Copilot ช่วยแก้ปัญหาโค้ดเก่าๆ (legacy) ที่เขียนไว้นานมากแล้ว ไม่มีใครรู้จักโค้ดชุดนั้นเหลืออยู่ในองค์กรแล้ว หากเป็นมนุษย์ทั่วไปอาจต้องใช้เวลาอย่างมากในการทำความเข้าใจโค้ดเก่าเหล่านี้ แต่เมื่อเป็น Copilot จะเป็นโค้ดเก่าหรือใหม่ ล้วนมองเหมือนกัน
วิธีการใช้งานสามารถใช้ Copilot Chat สั่งให้อธิบายโค้ดเก่าๆ ได้เหมือนกับโค้ดเขียนใหม่เลย ตัวอย่างในคลิปสั่งให้ Copilot Chat อ่านโค้ดภาษา COBOL แล้วแปลงมาเป็นภาษา Python ที่โปรแกรมเมอร์คนนั้นๆ คุ้นเคยและเข้าใจได้ง่ายกว่า ใช้พร้อมท์แค่ “Explain this code to me like I’m a Python developer.” เท่านั้น
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการแชทบอต AI Agent สำหรับใช้งานในองค์กร Microsoft 365 Copilot Chat ซึ่งเพิ่มเติมให้สำหรับลูกค้า Microsoft 365 Commercial
Copilot Chat มีจุดเด่นในการใช้งานคือ คิดเงินตามปริมาณใช้งาน, ได้โมเดล GPT-4o, มีระบบเรียก Agent ได้เลยผ่านกล่องแชท และมีระบบจัดการความปลอดภัยข้อมูลสำหรับฝ่ายไอที
ความสามารถของ Copilot Chat มีหลายอย่างเช่น รองรับการอัปโหลดไฟล์, สร้างเนื้อหา, สร้างรูปภาพด้วย AI, สร้าง Agent คัสตอมความสามารถเฉพาะด้านไว้ใช้งาน
อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้งานต้องการความสามารถที่มากขึ้น เช่น เรียกใช้ Copilot ในโปรแกม Office หรือ Teams จะต้องจ่ายเงินเพิ่ม 30 ดอลลาร์ต่อบัญชีต่อเดือน เพื่ออัปเกรดเป็น Microsoft 365 Copilot