ช่วงนี้มีงาน VMworld 2011 ของบริษัท VMware ดังนั้นจะมีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สายนี้ออกมาค่อนข้างเยอะ คัดมาเฉพาะข่าวสำคัญๆ บางส่วนนะครับ
VMware ออก vSphere 5 มาเมื่อเดือนที่แล้ว เพียงไม่กีวันลูกค้าก็เริ่มโวยวายถึงระบบการนับไลเซนส์แบบใหม่ที่จำกัดแรมไว้เพียง 24-48GB ต่อไลเซนส์เท่านั้น จน VMware ต้องยอมถอยและออกมาเปลี่ยนราคาในที่สุด
บริษัท EMC แถลงผลประกอบการไตรมาสที่สองรายได้ 4.85 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 20% จากปีที่แล้ว ขณะที่กำไรอยู่ที่ 546 ล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือบริษัทลูกอีกสองบริษัทคือ VMware และ RSA นั้นก็กำไรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเหมือนกันทำให้สถานะทางการเงินของ EMC นั้นแข็งแกร่งมากในตอนนี้
VMware นั้นกำไรเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัวเป็น 220 ล้านดอลลาร์ จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่เพียง 75 ล้านดอลลาร์ กำไรที่ดีขึ้นคงมาตามกระแส cloud computing ที่บริษัทจำนวนมากกำลังพัฒนาระบบภายในกันทำให้ไลเซนส์ของ VMware ขายดิบขายดี
ที่น่าสนใจคือ RSA ซึ่งเป็นบริษัทลูกอีกบริษัทนั้นรายได้ก็ยังเพิ่มขึ้นถึง 13% แม้จะมีปัญหาข้อมูลรั่วไหลจนต้องเปลี่ยน SecurID ให้กับลูกค้าจำนวนมาก
เมื่อวานนี้ทาง VMware ได้เปิดตัว vSphere 5 ออกมาก็มีคนพบว่าทาง VMware ได้่ปรับโมเดลการขายไลเซนส์ไปพร้อมๆ กัน และดูจะเป็นปัญหาสำคัญสำหรับลูกค้าที่ต้องการอัพเกรด
โดยโมเดลราคาใหม่นั้นจะจำกัดแรมสำหรับแต่ละไลเซนส์ โดยรุ่น Standard จะจำกัดแรม "รวม" ของเครื่องเสมือนทุกเครื่องไว้ที่ 24GB, รุ่น Enterprise จะจำกัดไว้ที่ 32GB, และรุ่น Enterprise Plus จะจำกัดไว้ที่ 48GB
โมเดลราคาเดิมนั้นปล่อยให้ใช้แรมต่อไลเซนส์ได้ถึง 256GB สำหรับรุ่น Standard, Advanced, และ Enterprise ส่วนรุ่น Enterprise Plus นั้นไม่จำกัดแรมเลย แต่จำกัดจำนวนคอร์ต่อไลเซนส์ไว้ที่ 6 คอร์สำหรับรุ่น Standard และ 12 คอร์สำหรับรุ่น Enterprise Plus
เมื่อพูดถึง VMware คนส่วนมากมักคิดถึงซอฟต์แวร์ virtualization สำหรับผู้ใช้ทั่วไปอย่าง VMware Player/Workstation/Server/Fusion แต่จริงๆ แล้วบริษัท VMware ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะงานด้าน virtualization ในองค์กร, การจัดการศูนย์ข้อมูล และการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ
ซอฟต์แวร์สายองค์กรตัวหลักของ VMware คือ vSphere ซึ่งมันถูกเรียกว่า "virtualization engine" ทำหน้าที่บริหารจัดการสถาปัตยกรรมพื้นฐานในการประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นซีพียู เนื้อที่เก็บข้อมูล หรือระบบเครือข่าย
ข่าวนี้น่าสนใจมากสำหรับคนที่ตามเรื่อง cloud computing ครับ เพราะเป็นบริการกลุ่มเมฆที่ไม่ได้ทำโดยบริษัทไอทีโดยตรง และมีฐานลูกค้าเฉพาะของตัวเอง
บริษัท NYSE Technologies ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ NYSE Euronext (บริหารตลาดหุ้นนิวยอร์กและอีกหลายแห่งในยุโรป) ประกาศเปิดตัวบริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆสำหรับตลาดการเงินและตลาดทุนโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า Capital Markets Community Platform
บริษัทค้าหุ้น ค้าหลักทรัพย์ ที่ต้องการสร้างโซลูชันไอทีของตัวเองแต่ไม่อยากลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที สามารถ "เช่าใช้" บริการของ Capital Markets Community Platform ได้โดยคิดราคาเป็นจำนวนซีพียูต่อชั่วโมง (เหมือนกับ EC2)
ช่วงนี้มีข่าวบริการ cloud computing ระบบล่มออกมาเยอะ เจ้าตลาดอย่าง Amazon Web Services เป็นข่าวใหญ่โตไปแล้ว วันนี้ถึงคิวของผู้ท้าชิงรายใหม่อย่าง Cloud Foundry จากค่าย VMware บ้าง (เพิ่งเปิดบริการได้ไม่ถึงเดือน)
เมื่อวันที่ 25 เมษายนตามเวลาสหรัฐ Cloud Foundry ประสบปัญหาด้านระบบจ่ายพลังงาน ทำให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลล่มลงบางส่วน แอพพลิเคชันที่อยู่บน Cloud Foundry ยังไม่ตายแต่ก็สั่งแก้ไขข้อมูลไม่ได้ รอบแรกล่มเป็นเวลา 10 ชั่วโมง
ค่าย VMware เปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับการประมวลผลบนกลุ่มเมฆของตัวเองในชื่อ "Cloud Foundry" โดยเรียกมันว่าเป็น "Platform as a Service" (PaaS) ตัวแรกบนกลุ่มเมฆ
แนวคิด PaaS ของ VMware จะรวมบริการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการสร้างแอพพลิเคชันมาให้เบ็ดเสร็จ ซึ่งจะต่างไปจากพวก Amazon EC2 ที่มีให้เฉพาะองค์ประกอบพื้นฐานอย่างหน่วยประมวลผลหรือพื้นที่เก็บข้อมูล (VMware เรียกมันว่าเป็น infrastructure cloud) แนวคิดของ Cloud Foundry จะไปคล้ายพวก Microsoft Azure หรือ Google App Engine มากกว่า
เป็นข่าวการควบกิจการระหว่างบริษัทลูกของ EMC ด้วยกันครับ เมื่อยักษ์แห่งวงการ virtualization อย่าง VMware ประกาศดูดกิจการ (จะเรียกว่าซื้อก็คงไม่ได้) บริษัท Mozy ซึ่งเป็นลูกของ EMC เหมือนกัน
Mozy เป็นบริษัทสำรองข้อมูลออนไลน์ (ลักษณะเดียวกับ Dropbox) ปัจจุบันมีลูกค้าอยู่ 1 ล้านราย และลูกค้าส่วนมากเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ทีมงานเดิมของ Mozy จะกลายเป็นพนักงานของ VMware และเทคโนโลยีหลายๆ อย่างของ Mozy จะถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ของ VMware ต่อไป ส่วนบริการสำรองข้อมูลของ Mozy ก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
Google และ SpringSource (บริษัทลูกของ VMware) ได้ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เหล่านักพัฒนาในองค์กรสามารถพัฒนา ติดตั้ง และบริหารจัดการแอพพลิเคชันบนกลุ่มเมฆใดๆ บนอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ ที่งานสัมมนา SpringOne 2GX Developer Conference ประกอบด้วย
จากข่าววันก่อนว่า Novell เตรียมขายบริษัทแยกเป็นสองส่วน ตอนนี้มีข่าวคืบหน้ามาอีกแล้วว่า บริษัทที่อาจจะซื้อส่วนของ SUSE Linux อาจเป็น VMware ครับ
ถ้าข่าวเป็นจริง VMware จะมีซอฟต์แวร์สายเซิร์ฟเวอร์และ cloud computing เกือบครบทันที เพราะตอนนี้มี Zimbra และ SpringSource อยู่แล้ว และจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Red Hat ด้วย
ส่วนอีกซีกหนึ่งคือ Netware และอื่นๆ มีข่าวว่าบริษัท Attachmate จะเป็นคนซื้อ
VMWare เพิ่งได้ทำการปล่อยอัพเดตล่าสุดสำหรับ Fusion โปรแกรม Virtualization ที่สามารถทำให้ Mac OS X บนอินเทลแมครันระบบปฏิบัติการตัวอื่น ๆ ได้ โดยในเวอร์ชั่น 3.1 นี้ VMWare ได้พยายามดันให้อัพเดตนี้เป็นอัพเดตทางด้านเสถียรภาพครั้งใหญ่
โดยคราวนี้ VMWare ได้ออกมาบอกว่าความเร็วโดยรวมแล้วน่าจะเร็วขึ้นถึง 35% กว่าเวอร์ชั่นที่แล้ว ส่วนการประมวลผลสามมิติอาจจะเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 5 เท่า ส่วนเรื่องการเปิดเข้าโปรแกรม, Aero, การ Scroll และอื่น ๆ จะเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างรู้สึกได้อย่างแน่นอน
ใครใช้ VMWare อย่าลืมอัพเดตล่ะครับ
สืบเนื่องมาจากข่าวเก่าที่ VMware และ Salesforce.com จับมือกันให้บริการ cloud computing ภายใต้ชื่อบริการ vmforce แต่ทว่าในข่าวนั้น ทั้งสองบริษัทไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของ vmforce แต่อย่างใด
VMware ร่วมมือกับ Salesforce.com เปิดตัวบริการคลาวด์คอมพิวติงก์ภายใต้ชื่อ vmforce แต่ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่า vmforce ทำอะไรได้บ้าง โดยบริษัททั้งสองจะเปิดเผยข้อมูลของบริการดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ vmforce.com ในวันที่ 27 เมษายนนี้
บริษัท Zimbra ขายผลิตภัณฑ์ groupware ในลักษณะเดียวกับ Microsoft Exchange เพียงแต่ใช้ส่วนประกอบที่เป็นโอเพนซอร์สเป็นหลัก ยาฮูเข้าซื้อกิจการ Zimbra ในปี 2007 คิดเป็นมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์
แต่ภายหลังยาฮูประสบปัญหากิจการตกต่ำแบบที่เราทราบกันดี และแนวทางของซีอีโอคนใหม่ Carol Bartz ก็คือปิดหรือขายกิจการที่ไม่ทำเงินออกไป ตอนนี้เป็นคิวของ Zimbra แล้ว
ผู้ซื้อคือ VMware ซึ่งถือเป็นยักษ์ที่เริ่มจะใหญ่ในตลาดองค์กร มูลค่าการซื้อขายจากข่าววงในบอกว่าอยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้
บริษัท VMWare ประกาศวันนี้ (10 สิงหาคม) ว่าจะซื้อบริษัท SpringSource ด้วยเงินสด 362 ล้านเหรียญ พร้อมหุ้นอีก 58 ล้านเหรียญ คิดเป็นเงินไทยราว หมื่นสองพันล้านบาทและหนึ่งพันเก้าร้อยล้านบาทตามลำดับ
สำหรับท่านที่ไม่ทราบ VMWare มีผลิตภัณฑ์ดังคือซอฟต์แวร์จำลองการทำงานของเครื่องพีซีและเซิร์ฟเวอร์ที่มีชื่อเดียวกับบริษัทว่า VMWare ส่วน SpringSource เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชันเฟรมเวิร์ก Spring, Grails มีจาวาแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ tc Server และ dm Server รวมถึงขายการอบรมการใช้แอพพลิเคชันเฟรมเวิร์ก
ตอนนี้ ในตลาดด้านซอฟต์แวร์เหลือตัวใหญ่ๆ ตอนนี้ก็ IBM, Oracle, Microsoft จะมีเพิ่มอีกหนึ่งก็ VMWare นี่แหล่ะครับ
หลังจากที่เคยได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า VMware นั้นเตรียมจะออก Mobile Virtualization Platform (MVP) สำหรับการทำ Virtualization หรือการรันระบบปฏิบัติการหลายตัวบนโทรศัพท์แล้วนั้น วันนี้ VMware ออกมายืนยันถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วครับ
จากวิดีโอ (ดูด้านใน) เราจะเห็นการรันระบบปฏิบัติการ Windows CE ไปพร้อมกับ Android บนเครื่อง Nokia N800 โดยการทำงานนั้นเป็นไปอย่างคล่องตัวพอสมควร และถึงแม้ว่า N800 นั้นจะเป็น Tablet ไม่ใช่โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ก็มีแนวโน้มว่าเราน่าจะได้เห็นโปรแกรมนี้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในไม่ช้านี้ครับ
ยักษ์ใหญ่จอมซื้อกิจการในโลกไอทีนั้นมีไม่กี่เจ้า หลักๆ ได้แก่ไมโครซอฟท์ กูเกิล ออราเคิล และ Cisco
คราวนี้เป็นคิวของ Cisco แต่ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการเช่นเคย เป็นแค่การอ้างแหล่งข่าววงในจากนักวิเคราะห์การเงินในวอลล์สตรีทเท่านั้น มีเสียงร่ำลือว่า Cisco อาจจะซื้อ VMware ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่หุ้นส่วนใหญ่นั้นถือโดยบริษัท EMC โดย Cisco อาจจะเจรจาซื้อจาก EMC แล้วค่อยรับซื้อจากนักลงทุนอื่นๆ ต่อไป
ถ้าข่าวนี้เป็นจริงก็ค่อนข้างมีน้ำหนัก เพราะ VMware นั้นต่อยอดไปกันได้กับผลิตภัณฑ์ด้านเครือข่ายและโซลูชันองค์กรที่ Cisco มีอยู่
ถ้าใครคิดว่าเทคโนโลยี Virtualization นั้นมีไว้สำหรับเซิร์ฟเวอร์เพื่อแบ่งเครื่องแรงๆ ใช้กัน หรือใช้กับเดสก์ทอปเพื่อรันหลายๆ ระบบปฏิบัติการพร้อมๆ กันเท่านั้น ความเชื่อนี้กำลังกลายเป็นความเชื่อที่ไม่จริงอีกต่อไปเมื่อ VMWare แสดงท่าที่อย่างชัดเจนว่าสนใจในเทคโนโลยี Virtualization บนโทรศัพท์
ภายในงาน VMworld 2008 ที่ลาสเวกัส บริษัท VMware, Inc. ได้เปิดผ้่าคลุมผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ชื่อ Virtual Datacenter Operating System (VDC-OS) โดย VMware เรียกผลิตภัณฑ์นี้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการเสมือนสำหรับการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล (data center) เพื่อรองรับการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing)
นอกจากนี้ VMware ยังได้เปิดตัวโครงการชื่อ vCloud ที่ทาง VMware ร่วมมือกับบริษัทพาร์ทเนอร์มากกว่า 100 ราย เพื่อการพัฒนาเครือข่ายของบริการ Cloud Computing ขนาดใหญ่ โดยโครงการ vCloud จะใช้ผลิตภัณฑ์ VDC-OS สำหรับการสร้างเครือข่ายดังกล่าว
บริษัท Citrix ซึ่งมีชื่อเสียงด้านซอฟต์แวร์สำหรับ thin client และ remote server เข้าซื้อกิจการ XenSource ซึ่งเป็นบริษัทของนักพัฒนา Xen เป็นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์
การเข้าซื้อครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสายผลิตภัณฑ์ของ Citrix มากขึ้น ในทางกลับกัน สายสัมพันธ์ที่ดีของ Citrix กับไมโครซอฟท์ จะช่วยให้ Xen ทำงานกับวินโดวส์ได้ดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ Citrix ยังแนบแน่นกับผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์อย่าง IBM และ HP อีกด้วย
หลังจากปล่อยรุ่นทดสอบมาให้ผู้ใช้งานได้ทดลองกันหลายรุ่น ในที่สุด VMWare ก็ประกาศข่าวพร้อมปล่อย VMWare Fusion 6 สิงหาคมนี้ ราคาตั้งไว้ที่ 79.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,799 บาท) โดยจะเปิดขายก่อนกำหนดวางตลาดที่ราคา 39.99 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,399 บาท) ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดรุ่นทดลองใช้ มาใช้งานได้ก่อนเป็นระยะเวลา 30 วัน
Fusion นั้นพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี Virtualization ของ VMWare เช่นเดียวกับที่ VMWare ใช้กับระบบปฎิบัติการอื่น รองรับการทำงานบนซีพียูแบบ 64 บิต การใช้งานกราฟฟิกแบบสามมิติผ่าน Direct X ได้ อย่างไรก็ตาม ทั้ง Fusion และ Parallels ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน Direct X อยู่เพียงแค่รุ่น 8.1 ยังไม่สามารถใช้งาน Direct X รุ่นใหม่ๆ ได้
กองทุนของบริษัทอินเทล ได้แสดงความจำนงในการเข้าลงทุน ถือหุ้นในบริษัท VMWare ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ Virtualization รายใหญ่ เป็นจำนวนเงินกว่า 7 พันล้านบาท (218 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งหากผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ อินเทล ก็จะมีหุ้นของ VMWare ในสัดส่วน 2.5% เลยทีเดียว และอาจจะมีผู้บริหารจากอินเทล เข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการ ของ VMWare ด้วยก็เป็นได้
น่าจับตามองว่าหากข้อตกลงในครั้งนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ จะส่งผลอย่างไรกับตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ Virtualization คู่แข่งรายอื่นของ VMWare อย่าง Parallels ในตลาดแมคอินทอช จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
ที่มา - Mac World
VMware เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่อัพเดตผลิดภัณฑ์ค่อนข้างบ่อย และคราวนี้ก็เพิ่งจะปล่อย Workstation 6.0 ออกมา ซึ่งคราวนี้มีฟีเจอร์หลักๆ หลายอย่างซึ่งถือว่าสุดยอดเลยทีเดียว
ตั้งแต่ Inter Mac ออกมาได้ซักพัก ผมก็เริ่มอยากได้มาใช้บ้าง ติดปัญหาเดียวคือใช้ VMware จนติดเป็นนิสัย โดยเฉพาะ VMware Player เพราะมันสะดวกดี เลยเฝ้ารอ VMware สำหรับ Intel Mac OS X มานานแสนนาน ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง VMware สัญญาว่าจะทำ และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึงจนได้ VMware ได้ออกตัวเบต้ามาให้ลองใช้กันจนได้ รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า Fusion
โชคร้ายนิด ตั้งแต่วันที่อยากซื้อจนถึงวันนี้ผมก็ยังไม่มีวาสนาได้ Inter Mac มาครอบครองไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ตาม คงต้องพึ่งคนอื่นลองรีวิวซะแล้ว ระหว่างนี้ก็ Ubuntu...
ที่มา - OSNews