Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในจีนเจ้าของแอป WeChat ประกาศความร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ Changan Automobile เพื่อพัฒนาแอป WeChat เวอร์ชันสำหรับรถยนต์ โดยจะเริ่มต้นกับรถยนต์บางรุ่นก่อน
ตัวแอป WeChat เวอร์ชันในรถยนต์นี้จะมีความสามารถรับคำสั่งด้วยเสียง หรือใช้ปุ่มบนพวงมาลัยรถเพื่อส่งคำสั่ง เช่น อ่านข้อความที่ยังไม่ได้เปิดอ่าน, ส่งข้อความใหม่ หรือคุยเสียงผ่าน WeChat ซึ่งการนำบริการหลักมาใส่ไว้นี้ทำให้ผู้ขับรถยนต์ไม่ต้องสลับสายตามาดูหน้าจอสมาร์ทโฟนเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
South China Morning Post รายงานความเคลื่อนไหวของวงการระบบจ่ายเงิน (Payment) ในจีน จากที่ผ่านมาเราพอทราบกันว่า QR Code เป็นเทคโนโลยีหลักในการจ่ายเงิน แต่ตอนนี้สองค่ายใหญ่ทั้ง Alipay ของ Alibaba และ WeChat Pay ของ Tencent พยายามผลักดันการจ่ายเงินแบบใหม่ โดยใช้การยืนยันด้วยใบหน้าบุคคลแทน
ปัจจุบัน Alipay มีจุดรับชำระเงินด้วยการใช้ใบหน้าอยู่มากกว่า 300 เมืองในจีน และติดตั้งในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ของปักกิ่ง ซึ่งระบบของ Alipay นั้นเรียกว่า Smile to Pay กล่าวคือ ลูกค้าต้องยิ้มให้กล้องก่อนเพื่อยืนยันการจ่ายเงิน
WeChat Pay ประกาศทดลองจ่ายเงินผ่าน QR แบบออฟไลน์เต็มรูปแบบ บนสายการบิน Spring Airlines ที่ทั้งผู้รับจ่าย (สายการบิน) และผู้จ่ายต่างก็ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การจ่ายแบบออฟไลน์นี้จะจำกัดวงเงินไว้ที่ 200 หยวน หรือประมาณ 900 บาท และผู้ใช้ต้องยื่นรับรองชื่อจริง และสมัครโครงการทดสอบโดยมีคะแนนเครดิตในระบบของ WeChat สูงกว่า 550 คะแนน
ในงาน Tencent Global Digital Ecosystem Summit ที่ยูนนาน ผู้บริหารของ Tencent ออกมาเผยยุทธศาสตร์ของบริษัท Tencent จะไป disrupt อุตสาหกรรมต่างๆ เองไม่ได้ แต่ต้องอาศัยพันธมิตรเพื่อสร้างโซลูชั่นของแต่ละอุตสาหกรรม โดย Martin Lau ประธานของ Tencent บอกว่า อนาคตของอินเทอร์เน็ต คือ จะไม่ไช่แค่เป็นอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตอย่างเดียวแล้ว แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นความสามารถสำคัญในทุกๆ อุตสาหกรรม
นักวิจัยด้านสื่อมหาวิทยาลัยฮ่องกง ทำการวิจัยประเด็นที่มีการเซนเซอร์มากที่สุดบน WeChat ในปี 2018 คือ พบว่าในบรรดาเนื้อหาที่ถูกเซนเซอร์มีประเด็น ประเด็นสงครามการค้า จีน-สหรัฐฯ, การแบนอุปกรณ์ ZTE และการจับกุมซีเอฟโอหัวเว่ย รวมอยู่ด้วย
ByteDance เจ้าของแอพ Tik Tok เปิดตัวแอพวิคีโอคอลใหม่ชื่อว่า Duoshan เป็นการผสมๆ กันระหว่าง Tik Tok และ Snapchat เข้าด้วยกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานคุยกับเพื่อนผ่านวิดีโอไปด้วย และเล่นสนุกๆ ประกอบเพลงไปด้วยได้
Duoshan จะต่างกับ Tik Tok ตรงที่มีความส่วนตัวมากกว่าคือคุยกับเพื่อนๆ ในขณะที่ Tik Tok จะเน้นให้ตามเซเลบริตี้ ซึ่งลูกเล่นต่างๆ ใน Duoshan ก็เป็นอะไรที่คนรุ่นใหม่สมัยนี้ใช้งานกันอย่างคุ้นเคย (ถ้าไม่ใช่คนจีนก็คงจะคุ้นกับการเล่นสตอรี่ สติกเกอร์แชทใน Facebook Messenger)
ด้าน WeChat ที่ถือเป็นแพลตฟอร์มแชทที่คนจีนใช้เยอะที่สุด ก็ต้องเพิ่มลูกเล่นสตอรี่เข้ามาเพื่อให้ตอบโจทย์วัยรุ่น เรียกได้ว่าโซเชียลมีเดียจีนตอนนี้ กำลังแข่งกันเพื่อแย่งกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นมากทีเดียว
WeChat ถือเป็นแอพที่ครบเครื่องมากสำหรับคนจีนที่มีบริการหลายอย่างอยู่ข้างใน (คล้าย LINE) แต่ในแง่การใช้งานก็ต้องจำว่าเมนูแอพอยู่ตรงไหน ใช้งานอะไร ล่าสุด Tencent เจ้าของ WeChat เตรียมเปิดตัว Xiaowei ผู้ช่วยอัจฉริยะสั่งงานด้วยเสียงในการทำงานข้ามแอพในเครือ TenCent ไม่ว่าจะเป็นเปิดเพลงจาก QQ Music เรียกรถจากแอพภายนอกอย่าง Didi Chuxing
การสั่งงานเสียงอาจเป็นเรื่องที่คุ้นชินกับวัฒนธรรมเทคโนโลยีที่มาจากสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น Alexa, Siri, Google Assistant แต่สำหรับคนจีนยังถือเป็นเรื่องใหม่ และการใช้ผู้ช่วยอัจฉริยะใน WeChat ที่คนจีนส่วนใหญ่ใช้ ก็อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ของคนจีนได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะเปิดใช้งานเมื่อไร
WeChat ทำฟีเจอร์โพสต์วิดีโอสั้น 15 วินาที และจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง โดย WeChat ใช้ชื่อฟีเจอร์ใหม่นี้ว่า Time Capsule
อย่างไรก็ตาม การใช้งานของ Time Capsule กับ Stories บน Instagram และ Facebook นั้นต่างกันอยู่มาก Stories ที่เราคุ้นเคยคือ เราจะเห็นคนที่โพสต์ Stories ตรงด้านบนสุดของหน้าจอแอพ แต่ Time Capsule จะเห็นเป็นเพียงวงกลมสีฟ้าหลังชื่อโปรไฟล์เท่านั้น ไม่มีการดันฟีเจอร์นี้ไปอยู่ด้านบน ถ้าอยากรู้ว่าผู้ใช้คนนี้โพสต์ Time Capsule อะไรก็ต้องกดเข้าไปดูเอง
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า LINE Pay เตรียมประกาศความร่วมมือกับ WeChat Pay เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาญี่ปุ่น LINE ก็ได้ประกาศรายละเอียดความร่วมมือออกมาแล้ว
โดยโครงการดังกล่าวเรียกว่า LINE Pay Global Alliance โดยร้านค้าในญี่ปุ่นที่รับชำระเงินผ่าน LINE Pay จากนี้จะสามารถรองรับบริการจ่ายเงินผ่านมือถือจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวนั้นจะใช้แอปเดิมของประเทศตนเองได้เลย ไม่ต้องลงแอปใหม่เพิ่ม เริ่มต้นที่นักท่องเที่ยวจีนด้วยแอป WeChat Pay ก่อนเป็นกลุ่มแรก
Nikkei Asian Review รายงานว่า Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน เจ้าของแอป WeChat เตรียมร่วมมือกับ LINE เพื่อให้บริการจุดจ่ายเงินสำหรับธุรกิจในญี่ปุ่น ที่ต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยความร่วมมือนี้ LINE จะเป็นผู้ติดตั้งจุดจ่ายเงินให้กับร้านค้าขนาดกลาง-เล็กต่าง ๆ เพื่อให้รองรับการจ่ายเงินด้วย WeChat Pay ได้
ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมาคือ 7.35 ล้านคน และเป็นจำนวนที่เพิ่มถึงสามเท่าตัว เมื่อกับสามปีก่อนหน้านั้น แนวโน้มนี้จึงทำให้ร้านค้าสนใจติดตั้งจุดจ่ายเงินที่รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้กันมากขึ้น
WeChat ประกาศร่วมกับเชนโรงแรม InterContinental เพื่อเปิดให้บริการ smart hotel ในเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นระบบบริการตัวเอง ที่ให้ผู้ใช้ทำทุกอย่างผ่านมือถือ ตั้งแต่การจองโรงแรมไปจนถึงเช็คเอาท์ รวมทั้งมีการนำระบบสแกนใบหน้ามาใช้เพื่อยืนยันตัวตนอีกด้วย
โรงแรมแห่งนี้สามารถจองห้องพักได้ผ่านแอพบนมือถือ และเมื่อมาถึงโรงแรมแล้วก็ใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนผู้เข้าพัก ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าพักสะดวกยิ่งขึ้น เพราะปกติแล้วโรงแรมในจีนต้องถ่ายภาพผู้เข้าพักพร้อมถ่ายสำเนาเอกสารยืนยันตัวตน จากนั้นผู้ใช้ก็รับคีย์การ์ดบนสมาร์ทโฟนเพื่อใช้เข้าห้องพักที่จองไว้ได้ทันที
WeChat แอพแชทจาก Tencent ซึ่งเป็นที่นิยมในจีนได้เพิ่ม Mini Programs ซึ่งเป็นฟีเจอร์ “แอพในแอพ” มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และล่าสุด WeChat ก็ประกาศว่าตอนนี้ Mini Programs มีผู้ใช้ต่อวันถึง 200 ล้านคนแล้ว และมี Mini Programs ทั้งหมดกว่า 1 ล้านแอพ
Mini Programs ของ WeChat นั้นเปิดตัวตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว โดยออกแบบมาเป็นแอพไว้สำหรับรันใน WeChat อีกที (อ่านเพิ่ม: ครบรอบ 1 ปี Mini Programs บน WeChat) ซึ่งจุดเด่นก็คือเบาและไม่ต้องโหลดแอพเพิ่ม ทำให้ Mini Programs นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว
โซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Facebook กำลังแก้ปัญหาข่าวปลอม และยิ่งต้องแก้กันอย่างเข้มข้นเพราะการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯกำลังจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายน
ข้ามมาที่ฝั่งจีนบ้าง Wechat คือโซเชียลมีเดียที่คนจีนใช้มากที่สุด นอกจากคุยกับเพื่อนแล้วยังเป็นแหล่งหาข้อมูลด้วย และเช่นกันกับโซเชียลอื่นที่ต้องเจอปัญหาข่าวปลอม สแปม และหนึ่งในวิธีที่ Wechat แก้ปัญหาคือ ใช้บัญชี Wechat ที่เป็นออฟฟิเชียล โพสต์ 10 อันดับข่าวปลอมยอดนิยมเองเสียเลย โดยทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้คนรู้โดยทั่วกันว่าเนื้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องแต่ง
ตัวอย่างข่าวปลอมที่แพร่ใน Wechat คือ ห้ามใช้ไมโครเวฟเพราะทำให้เป็นมะเร็ง, ใช้แอพ QQ สแกนเงินจีนได้เพื่อดูว่าเป็นเงินปลอมหรือไม่, ห้ามโพสต์โจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ และประเด็นการเมืองบน Wechat (แต่รัฐบาลก็เซนเซอร์เนื้อหาทำนองนี้จริงๆ)
ถ้าพูดถึงแอปแชทยอดนิยมของประเทศจีน ชื่อ Weixin หรือที่คนไทยรู้จักว่า WeChat ก็เป็นที่คุ้นกันอยู่แล้ว โดยมีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคน แต่ตอนนี้มีแอปแชทใหม่มาแรงที่จีน ชื่อว่า Bullet โดยมีผู้ใช้เพิ่มรวดเร็วกว่า 5 ล้านคน ในเวลาแค่สัปดาห์เดียว และขึ้นอันดับ App Store แซง WeChat
แนวคิดของแอป Bullet นั้นก็ง่ายมาก กล่าวคือเมื่อ WeChat เป็นแอปแบบ Super App ที่มีทุกอย่างในนั้น Bullet โฟกัสที่การเป็นแอปแชท โดยมีฟีเจอร์จุดขายคือการแปลงและแปลข้อมูลเสียงพูด ให้เป็นข้อความและส่งไปหาอีกคนได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้แอปโดดเด่น เพราะภาษากลางของจีนคือแมนดาริน แต่ประชากรจีนส่วนใหญ่ ไม่ได้พูดภาษาจีนแมนดารินนี้เป็นพื้นฐาน
The Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทฟินเทครายใหญ่ของจีน Ant Financial มีกำไรจากผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยตัวเลขอยู่ที่ 355.3 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 762 ล้านดอลลาร์ สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายการตลาดเพื่อเพิ่มและรักษาผู้ใช้งานที่สูงขึ้น
Ant Financial ยังเป็นบริษัทนอกตลาดหุ้นในตอนนี้ แต่เนื่องจากมี Alibaba เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีการรับรู้ส่วนแบ่งกำไร ทำให้มีการรายงานในผลประกอบการประจำไตรมาส จึงสามารถคำนวณกำไรของ Ant Financial ออกมาได้ แต่จะไม่ทราบรายได้
WebMD เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลด้านการแพทย์รายใหญ่ของโลก ประกาศความร่วมมือกับ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน เพื่อนำเนื้อหาจาก WebMD ไปแปลและเผยแพร่เป็นภาษาจีนผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ Tencent ทั้ง WeChat และ QQ
WebMD บอกว่า ประชากรบนอินเทอร์เน็ตจีนถึง 2 ใน 3 มีการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ข้อมูลที่คนจีนได้มานั้นมักไม่ถูกต้อง, ไม่สมบูรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ผิด ความร่วมมือนี้จึงทำให้ชาวจีนได้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มใหญ่ที่คนจีนใช้กัน
ปัจจุบัน Tencent ให้ทุนสนับสนุนบริษัทด้านสุขภาพทั่วโลกหลายสิบแห่ง รวมทั้ง WeDoctor แพลตฟอร์มนัดหมายและขอคำปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ที่มีแผนจะเข้าตลาดหุ้นเร็ว ๆ นี้
Google ค่อยๆ เจาะกำแพงเมืองจีนเข้าไปมีบทบาทในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ตัวบริการหลักๆ ของ Google ไม่ว่าจะเป็น search, Gmail จะถูกบล็อก ล่าสุด Google ในจีนเปิดตัว "Guess My Sketch" ใน WeChat เป็นมินิแอพใน Mini Programs บน WeChat เป็นเกมวาดรูปที่แบ่งกันเป็นทีม ทายว่าอีกทีมวาดรูปอะไร โดยประสานพลัง AI เข้ามาร่วมทายภาพด้วย
Mini Programs ใน WeChat ที่เพิ่งเปิดใช้เมื่อปีที่แล้ว คือบริการที่สามารถเพิ่ม "แอพในแอพ" ได้ใน WeChat เลยโดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอพมาลงโทรศัพท์อีก คนจึงไม่จำเป็นต้องง้อ App Store หรือแพลตฟอร์มดาวน์โหลดแอพอื่นๆ แอพใน Mini Programs มีครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นเช่น ช็อปปิ้ง เกม ค้นหาร้านอาหาร ความงาม
Google ก็มองเห็นความช่องทางใน Mini Programs ที่จะสามารถเข้าไปนำเสนอแอพของ Google ได้ นอกจากนี้ เกมใน mini Program ใน WeChat ก็ได้รับความนิยมสูง
ผู้บริหาร Tencent ได้เปิดเผยกับ CNBC ว่าบริการจ่ายเงิน WeChat Pay จะเตรียมบุกตลาดอเมริกาโดยเพิ่มร้านค้าให้มากขึ้นแบบก้าวกระโดดภายในปีนี้ ซึ่งปัจจุบัน WeChat Pay มีผู้ใช้งานประมาณ 800 ล้านคน จากผู้ใช้ WeChat ทั้งหมดกว่าพันล้านคน
อย่างไรก็ตามการเพิ่มจุดจ่ายเงิน WeChat Pay นั้น ก็ยังคงเป็นทิศทางเดียวกับที่เห็นในหลายประเทศ คือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ใช่การเปิดให้บริการสำหรับคนในประเทศนั้น ๆ ปัจจุบัน WeChat Pay รองรับแล้วในร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินของอเมริกา แต่ยังไม่แพร่หลายนักตามร้านค้าที่รองรับนักท่องเที่ยว
ทั้งนี้คู่แข่งจากจีนอย่าง Alipay เริ่มให้บริการในอเมริกาไปตั้งแต่ปี 2017
Tencent ร่วมมือกับรัฐบาลจีน ทำระบบข้ามเขตแดนผ่าน WeChat อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่เดินทางข้ามเขตแดนระหว่างฮ่องกง และ จีนแผ่นดินใหญ่ โดยจะทำเป็นการเชื่อมโยงเอกสารประจำตัวไปยังแอปพลิเคชัน WeChat นักเดินทางสามารถข้ามพรมแดนด้วยโค้ดง่ายๆ และใช้การสแกนใบหน้า
ปกติแล้ว นักท่องเที่ยวระหว่างฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่จะต้องมีใบอนุญาตพิเศษคล้ายกับวีซ่า แม้ว่าทั้งสองพื้นที่จะนับเป็นประเทศเดียวกันก็ตาม ซึ่งในระบบใหม่นี้จะช่วยลดขั้นตอนการเดินทางได้
ความคาดหวังของ Tencent คือนอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปฮ่องกงแล้ว ยังจะขยายไปยังพื้นที่ทางใต้ของกวางตุ้ง มาเก๊า ที่ต้องทำเอกสารข้ามแดนเหมือนฮ่องกง
WeChat แอปแชตรายใหญ่ของจีน ที่สร้างฐานผู้ใช้ให้อยู่กับแอพนาน ๆ ด้วยกลยุทธ์ Mini Program คือการเพิ่มแอพในแอพ WeChat ได้เลย (เพิ่มเติม: ฟีเจอร์ Mini Programs บน WeChat) ช่วงที่ผ่านมา WeChat ขยายฐานของ Mini Program โดยเพิ่ม Mini Games ด้วยแนวทางเดียวกัน แต่เป็นการโหลดเกมไว้ในแอพ ซึ่งเริ่มเปิดตัวตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และผลลัพธ์ก็ออกมาน่าสนใจทีเดียว
Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2018 มีรายได้รวม 11,693 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 48% จากไตรมาสเดียวกันในปี 2017 และมีกำไรสุทธิ 3,812 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 65%
ซีอีโอ Ma Huateng กล่าวว่าในไตรมาสที่ผ่านมา Tencent มีการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ อาทิ การจัดแข่งขันเกมบนมือถือ, การผลักดัน Mini Programs ใน WeChat ให้มากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยเสริมผลิตภัณฑ์รวมให้แข็งแกร่งมากขึ้น
รายได้ Social Networks โต 47% จากการให้บริการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตแบบเสียเงิน, รายได้จากเกมออนไลน์โต 26% จากสองเกมหลักคือ Honour of Kings และ QQ Speed Mobile
ปัจจุบัน แอพ WeChat ของ Tencent มีฟีเจอร์หนึ่งที่เรียกว่า Mini Programs เป็นแอพแบบเบาที่เปิดใช้งานได้โดยไม่ต้องติดตั้ง ผู้ใช้สามารถเพิ่มแอพไว้ใน WeChat ได้เลย ฟีเจอร์นี้เพิ่งจะครบรอบ 1 ปี มี Mini Programs ครอบคลุมทุกหมวด แบรนด์ใหญ่ ๆ ก็ทำ Mini Programs ลง WeChat จำนวนมาก เพื่อให้เข้าถึงลูกค้า เนื่องจาก WeChat เป็นแอพแชทที่นิยมมากในหมู่ชาวจีน
ปลายเดือนที่แล้วกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียยอมรับว่าแบน Huawei และกำลังเลิกใช้ ZTE ในองค์กร ล่าสุด WeChat แอปแชทจากจีนกำลังเผชิญชะตากรรมคล้ายๆ กัน หลังกลาโหมกำลังประเมินความเสี่ยงด้านความมั่นคงและสั่งห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงใช้งานแอปนี้
กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียระบุด้วยว่าก่อนหน้านี้ก็เคยจำกัดการใช้เฟซบุ๊กของเจ้าหน้าที่ด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าคำสั่งครั้งนี้เพราะกลัวเรื่องการจารกรรมข้อมูลหรือเพียงเพราะ WeChat ไม่มีความปลอดภัยพอกันแน่
ที่มา - Business Insider
Pony Ma ซีอีโอ Tencent เจ้าของแอพแชต WeChat เปิดเผยว่าแอพ WeChat ตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) ทะลุ 1 พันล้านคนเป็นที่เรียบร้อย โดยสถิตินี้เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา
WeChat เคยรายงานตัวเลขผู้ใช้งานเมื่อไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ว่ามีจำนวน 980 ล้านคน จึงไม่น่าแปลกนักหากตัวเลขจะทะลุ 1 พันล้านคนได้ในที่สุด
WeChat แอพแชตและเครือข่ายสังคมรายใหญ่ที่สุดในจีน ตัวเลขจำนวนผู้ใช้งานล่าสุดคือ 980 ล้านคน แอพนี้เป็นแอพในเครือของ Tencent ยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตของจีน เมื่อปีที่แล้ว WeChat ได้เปิดตัวฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Mini Program โดยผู้ใช้สามารถเพิ่ม "แอพในแอพ" ได้ใน WeChat เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดแอพมาลงโทรศัพท์อีก ซึ่งตรงกับพฤติกรรมผู้ใช้จีนที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนมีพื้นที่ความจุเยอะ
กลยุทธ์ Mini Program ของ WeChat นั้นประสบความสำเร็จมาก มีผู้ใช้ถึง 170 ล้านคนที่ใช้งาน Mini Program ทุกวัน และมากกว่าครึ่งเป็นผู้ใช้จากเมืองรองในจีน ปัจจุบันมี Mini Program อยู่บน WeChat แล้วกว่า 580,000 โปรแกรม