WeChat ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าบริษัทไม่เคยเก็บประวัติการแชตเอาไว้บนเซิร์ฟเวอร์ โดยข้อมูลแชตย้อนหลังจะอยู่บนโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อื่นของผู้ใช้เท่านั้น และไม่ได้นำข้อมูลการแชตมาวิเคราะห์ใดๆ
ก่อนหน้านี้ Li Shufu ประธานบริษัท Geely Holdings ผู้ครองแบรนด์ Volvo ให้สัมภาณ์กับสื่อจีน และมีข้อความตอนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ระบุว่าเขาเชื่อว่า WeChat อ่านข้อความของผู้ใช้อยู่ทุกวัน
WeChat ยืนยันว่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นหลักสำคัญที่สุดของบริษัท และบริษัทไม่มีสิทธิอ่านข้อความผู้ใช้ และไม่มีเหตุผลที่จะเข้าไปอ่านอีกด้วย
ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก Li Shufu นักธุรกิจชาวจีนซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Geely Holdings (ผู้ถือหุ้นใหญ่รถยนต์ Volvo) ได้กล่าวถึง Ma Huateng ประธานบริษัท Tencent เจ้าของ WeChat ว่า Ma นั้น "จะต้องดูข้อความ WeChat ของพวกเราทุกวัน" หรือเขาเชื่อว่า WeChat มีเครื่องมือในการมอนิเตอร์ผู้ใช้ทุกคน ล่าสุด WeChat ก็ได้ออกมาปฏิเสธว่าสิ่งที่ Li พูดนั้นไม่เป็นความจริง
Tencent Holdings ยักษ์ใหญ่จากจีนเจ้าของ WeChat ได้เข้าถือหุ้น 12% ของบริษัท Snap เจ้าของ Snapchat ซึ่งถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในบริษัทอเมริกาโดยบริษัทเทคโนโลยีจากจีน
Ali Mogharabi นักวิเคราะห์จาก Morningstar กล่าวว่า ข่าวนี้ส่งผลบวกต่อตลาด โดยหุ้นที่ Tencent เข้าถือใน Snap นั้นเป็นหุ้นแบบไม่มีสิทธิโหวตคลาส A จึงทำให้โอกาสการเข้าซื้อ Snap โดย Tencent นั้นค่อนข้างน้อย โดยผลบวกคือบริษัททั้งสองสามารถความสัมพันธ์ทางธุรกิจ คือ Tencent อาจช่วย Snap ในการขยายตลาดเข้าสู่ประเทศจีนได้
Apple ส่งแอพพลิเคชั่น Apple Pay เข้าตีตลาด payment ในประเทศจีนมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ส่วนแบ่งการตลาดยังอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น ในขณะที่จีนมี WeChat Pay และ Alipay ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนแบ่งการตลาด WeChat Pay สูง 39.51% และ Alipay สูง 53.7%
ดังนั้น Apple จึงยอมเพิ่ม WeChat Pay เข้ามาใน App Store และ Apple Music ในจีน ส่วนหนึ่งคือคาดหวังเม็ดเงินการซื้อแอพจากคนจีนที่มักนิยมใช้ WeChat Pay จ่ายเงิน หลังจากช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว Apple Music และ iCloud รองรับการจ่ายผ่าน Alipay ไป
เว็บไซต์ข่าว South China Morning Post รายงานข่าวว่าหน่วยงานจัดการไซเบอร์ของจีน หรือ Cyberspace Administration of China กำลังอยู่ระหว่างสอบสวนเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตจากสามแพลตฟอร์มใหญ่คือ WeChat, Weibo และ Baidu โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าพบว่ามีผู้ใช้งานบางรายเผยแพร่ข้อมูลรุนแรง หยาบคาย เป็นภัยต่อความมั่นคง ความเป็นระเบียบของชาติ
Weibo ตอบนักข่าวกรณีกล่าวหาดังกล่าวว่า "Weibo เสียใจอย่างยิ่งต่อประสบการณ์เชิงลบของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เกิดจากข้อมูลที่เป็นอันตราย โดยเราจะเร่งแก้ปัญหาและให้ความร่วมมือกับการสืบสวน" ด้าน Baidu ก็ระบุจะเพิ่มมาตรการเซ็นเซอร์อย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการแสดงข้อมูลผิดกฎบนโลกออนไลน์ และ Tencent ผู้สร้าง Wechat ก็ระบุไปในทำนองเดียวกันคือจะให้ความร่วมมือกับการสอบสวน
ในขณะที่แอปเปิลให้ความสำคัญกับตลาดประเทศจีน แต่ดูเหมือนผลลัพธ์จะยังไม่ดีนัก เพราะส่วนแบ่งการตลาดของ iPhone ในจีนลดลงทุกไตรมาส คำอธิบายที่หลายคนคิดคือเพราะ iPhone ขายราคาแพงเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนของจีนเองค่ายอื่น แต่นักวิเคราะห์มองว่าแอพ WeChat น่าจะเป็นสาเหตุหลักมากกว่า และเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับแอปเปิล
WSJ ออกบทวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมของผู้ใช้สมาร์ทโฟนจีนนั้นติดกับแอพ WeChat ของ Tencent มาก ประเมินว่าเวลาบนหน้าจอ 35% อยู่ที่แอพตัวนี้ เนื่องจาก WeChat ในจีนสามารถทำได้แทบทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ส่งข้อความสนทนา แต่ยังจ่ายบิล, เรียกรถแท็กซี่, เล่นเกม, ดูวิดีโอ และล่าสุดยังมีฟีเจอร์ Mini Program โดยสามารถเรียกแอพอื่นบนคลาวด์ผ่าน WeChat ได้เลย โดยไม่ต้องโหลดแอพมาลงเพิ่ม ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในจีน ไม่ต้องยึดติดกับระบบปฏิบัติการอีกต่อไป สนใจเพียงว่าใช้แอพ WeChat ได้หรือไม่เท่านั้น
Tencent บริษัทด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2017 มีรายได้รวม 7,182 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 55% จากไตรมาสเดียวกันในปี 2016 และมีกำไรสุทธิ 2,109 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 57%
เกมออนไลน์เป็นธุรกิจทำเงินหลักของ Tencent ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีรายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นถึง 34% โดยมีเกม Honour of Kings ซึ่ง Tencent เป็นผู้พัฒนาเกมนี้เองเป็นตัวทำเงินหลัก ส่วน WeChat แอพแชทหลักของบริษัทก็มีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 23% เป็น 938 ล้านราย ซึ่งน่าจะทะลุ 1 พันล้านได้ภายในปีนี้
ที่ผ่านมาเรามักได้ยินข่าวรัฐบาลจีนบล็อคบริการสำคัญๆ ของชาติตะวันตกเรื่อยๆ เช่น กูเกิล, เฟซบุ๊ก, และทวิตเตอร์ แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลรัสเซียก็สั่งบล็อค WeChat ทั้งหมด
Roskomnadzor หน่วยงานกำกับดูแลการสื่อสารของรัสเซียระบุว่า WeChat ทำผิดกฎหมายข้อมูลข่าวสารและความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต มาตรา 15.4 ที่ระบุความรับผิดชอบของแพลตฟอร์มกระจายข้อมูลข่าวสารไว้หลายประการ รัสเซียบล็อคบริการยอดนิยมอื่นๆ เช่น LINE หรือ BlackBerry Messenger ด้วยเหตุผลเดียวกันมาก่อนแล้ว
การตัดสินใจของรัสเซียครั้งนี้กระทบคนจีนที่ทำงานในรัสเซียแต่กลับไม่สามารถติดต่องานได้ตามปกติ ทาง WeChat ระบุว่าการบล็อคครั้งนี้เกิดจาก "ความเข้าใจไม่ตรงกัน" และบริษัทกำลังสื่อสารกับรัฐบาลรัสเซียต่อไป
Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน รายงานตัวเลขสถิติผู้ใช้ WeChat นับถึงเดือนกันยายน 2016 ว่ามีผู้ใช้งานจริงต่อวัน (daily active users) ที่ 768 ล้านคน เพิ่มขึ้น 35% จากช่วงเดียวกันของปี 2015
สถิติอื่นๆ ที่น่าสนใจได้แก่
Tencent ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีจีนแถลงผลกำไรสุทธิ 10.6 พันล้านหยวน หรือ 1.5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นปีต่อปี 43% ด้านรายรับมี 40.4 พันล้านหยวน (6 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งทางบริษัทบอกว่าเป็นเพราะผลงานของ WeChat ล้วนๆ
WeChat แอพแชทครอบจักรวาลของ Tencent มีผู้ใช้ต่อเดือนกว่า 800 ล้านราย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี คิดเป็นปีละ 30% ซึ่ง WeChat เป็นสื่อสำคัญช่วยในการโฆษณาธุรกิจในเครือ Tencent ได้เป็นอย่างดี ทาง Tencent ระบุเลยว่าการใช้กลยุทธ์โฆษณาสินค้าบนไทม์ไลน์ของ WeChat คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ
เมื่อมาดูยอดรายได้จากการโฆษณามี 7.1 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วกว่า 50% และการโฆษณาช่วยเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์อื่นใน Tencent ได้ถึง 83%
หลังจากที่มีการหลุดของแอพ WeChat เวอร์ชัน Windows 10 บนสไลด์ของไมโครซอฟท์ และตอนนี้ ตัวแอพได้ขึ้นบนหน้า Windows Store แล้ว โดยในตอนนี้จะยังรองรับแค่พีซีและ Surface Hub โดยมาพร้อมฟีเจอร์ ดังนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศเตือนร้านค้าและสถานประกอบการ ให้ระวังความเสี่ยงของการชำระเงินผ่าน "ผู้ให้บริการต่างประเทศ" ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จาก ธปท. เพราะมีความเสี่ยงว่าถ้าหากถูกเชิดเงิน ผู้รับเงินจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากทางการไทย
ประกาศของ ธปท. มุ่งไปที่ร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยว ที่ยอมรับการชำระเงินจากผู้ให้บริการในต่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนในไทย ถึงแม้ ธปท. ไม่ได้ระบุชื่อ แต่หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์และ ThaiPBS รายงานว่าผู้ให้บริการรายดังกล่าวคือ WeChat Pay ที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้งาน แต่ WeChat Pay ไม่ได้ขอรับใบอนุญาตจาก ธปท. ดังนั้น ธปท. จึงไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ถ้าเกิดปัญหาขึ้น
เมื่อต้นปีมีข่าวว่า Tencent บริษัทแม่ WeChat หยุดพัฒนาแอพบน Windows 10 แต่ล่าสุด เมื่อกลางเดือนที่แล้วมีคนโพสต์ภาพ WeChat UWP บน Windows 10 Mobile และมีคนพบว่าสไลด์ Windows Ink ในงาน WinHEC 2016 ของไมโครซอฟท์มีการกล่าวถึง WeChat บน Windows 10 ซึ่งผู้ใช้สามารถวาดเขียนลงบนไวท์บอร์ดและรูปภาพได้
จากหลักฐานข้างต้น แสดงให้เห็นว่าโครงการพัฒนา WeChat UWP บน Windows 10 น่าจะดำเนินอยู่ต่อไป ก็คงต้องตามกันต่อว่าจะได้เห็นแอปข้างต้นเมื่อไร
ที่มา: @hykenblue, Nokiapoweruser
Tencent เคยประกาศไว้ว่ากำลังพัฒนาแอพ Enterprise WeChat เวอร์ชันคุยงานในองค์กร วันนี้แอพเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว แต่ยังมีเฉพาะภาษาจีนเท่านั้น
ความสามารถของ Enterprise WeChat ก็เหมือน WeChat มาตรฐาน หน้าตาดูคล้าย Slack ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่ การตั้งสถานะว่าไม่อยู่ที่โต๊ะ, การสนทนาด้วยเสียงแบบกลุ่ม, การกรอกฟอร์มมาตรฐานในองค์กร เช่น เบิกค่าใช้จ่าย ใบลา
นอกจากนี้ Enterprise WeChat ยังสามารถโทรออกผ่าน VoIP ไปเข้าเบอร์โทรศัพท์ปกติได้ โดยลงบิลเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กรได้ด้วย
แอพมีให้ดาวน์โหลดบน iOS, Android, OS X, Windows แต่ยังมีเฉพาะภาษาจีน และการใช้งานต้องมีใบอนุญาตธุรกิจในจีนเพื่อเปิดบัญชีขององค์กรก่อนด้วย
Tencent บริษัทแม่เจ้าของแอพแชท WeChat กำลังจะเปิดตัวแอพส่งข้อความที่เจาะจงกลุ่มผู้ใช้คนทำงาน อาจมาในชื่อ Enterprise WeChat (企业微信) ที่ Tech in Asia ชี้ว่าจะมาแบบฟรี รองรับหลายอุปกรณ์ และมีคุณสมบัติเฉพาะให้ธุรกิจแต่ละสายงานด้วย ทีมนักพัฒนาเปิดเผยคุณสมบัติอื่นๆ ดังนี้
ช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา ผู้ใช้ LINE ในไทยจำนวนหนึ่งคงสนุกสนานกับการแจก "อั่งเปา" กันบ้าง แต่ในประเทศจีน ต้นฉบับการแจกอั่งเปาอย่าง WeChat ที่เริ่มเทศกาลนี้ครั้งแรกในปี 2014 มีสถิติการแจกซองแดงให้กันสูงถึง 8.08 พันล้านซอง สูงกว่าปีที่แล้วถึง 8 เท่า
ผู้บริหารของ Tencent เองก็ให้สัมภาษณ์ว่าฮิตเกินคาด ความสำเร็จของเทศกาลนี้ส่งผลให้มีผู้ใช้ Tenpay ระบบจ่ายเงินของ Tencent/WeChat เพิ่มขึ้นอีกหลายล้านคนในเวลาไม่กี่วัน ผู้ใช้เหล่านี้ต้องเชื่อมบัญชีธนาคารเข้ากับ WeChat จึงส่งผลให้ผู้ใช้กลุ่มนี้จะคุ้นเคยกับการจ่ายเงินออนไลน์อีกมาก
ไมโครซอฟท์พยายามสุดตัวในการดัน Universal Windows Platform (UWP) เพื่อสร้างแอพที่รันได้บน Windows 10 ทุกรุ่น และเราเริ่มเห็นแอพดังๆ อย่าง Twitter และ Netflix มาลงแพลตฟอร์มนี้กันบ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีข่าวไม่ยืนยันจากเมืองจีนว่า Tencent บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน และพาร์ทเนอร์ร่วมเปิดตัว Windows 10 ในจีน หยุดการพัฒนาแอพบน UWP ทั้งหมด และถึงขั้นโยกนักพัฒนาในทีม UWP ไปอยู่ทีมอื่นด้วย
นี่อาจเป็นคำอธิบายว่าทำไมเรายังไม่เห็น WeChat บน Windows 10 สักที และถ้าข่าวเป็นจริง การขยายฐานลูกค้าในจีนของไมโครซอฟท์ก็น่าจะยากขึ้นไปอีก
บทความจากหนังสือพิมพ์ South China Morning Post (SCMP) เตือนชาวฮ่องกงที่เริ่มใช้บริการ WeChat เพื่อติดต่อกับชาวจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ว่าต้องระวังในการเปิดห้องแชตแบบกลุ่ม เพราะกฎหมายจีนมีแนวโน้มจะเอาผิดต่อผู้ตั้งห้องแชตเหล่านี้อย่างต่อเนื่องแม้จะเป็นการโพสข้อความโดยคนอื่นก็ตาม
รายงานที่ผ่านมา มีตั้งแต่คดีการโพสภาพอนาจารที่หัวหน้าห้องแชตถูกลงโทษที่ไม่หยุดสมาชิกคนอื่นๆ ไม่ให้โพสภาพอนาจาร และไม่ได้ลบภาพเหล่านั้นออกจากห้อง อีกกรณีคือชาวบ้านพยายามต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่พยายามขายที่ดินของหมู่บ้าน เมื่อผู้ต่อต้านโพสข้อความต่อต้านลงในกลุ่มแชต ทำให้หัวหน้ากลุ่มถูกลงโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 293 (4) ที่ระบุถึงความผิดในการปลุกปั่นประชาชนมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี
WeChat นับเป็นแอพสื่อสารด้วยข้อความที่นิยมสูงตัวหนึ่งในจีน และสิ่งที่ตามมาคือเหล่าบอท ที่คอยโต้ตอบข้อความกับผู้ใช้ เช่นบอทหญิงสาวที่ชื่อ Xiaoice ของไมโครซอฟท์ มีคนตามกว่า 20 ล้านราย
เวอร์ชัน iOS ด้วย
XcodeGhost อาศัยช่องว่างที่ว่าไฟล์ Xcode ของแอปเปิลมีขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาดาวน์โหลดนาน นักพัฒนาในประเทศจีนจึงใช้วิธีดาวน์โหลดจาก mirror ในประเทศแทน ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์แก้แพ็กเกจของ Xcode โดยฝังมัลแวร์ลงไปด้วย (อยู่ในส่วน CoreServices)
Xcode เวอร์ชันฝังพิษจะแอบฝังโค้ดของตัวเองลงในแอพ iOS ตอนคอมไพล์ แอพเหล่านี้จะแอบดึงข้อมูลในเครื่องผู้ใช้ แล้วส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์
สงครามแอพเรียกรถแท็กซี่ในจีนเริ่มร้อนระอุ หลัง Uber ออกมาเปิดเผยว่าโดน Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน บล็อคบัญชีบนแอพแชตยอดนิยม WeChat ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา
Tencent ไม่ได้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่โดยตรง แต่ลงทุนในสตาร์ตอัพ Didi Kuaidi ผู้ให้บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่ของจีนที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญของ Uber (และมีส่วนแบ่งตลาดในจีนมากถึง 78%) ทำให้ Uber มองว่าโดนกลั่นแกล้งจาก Tencent ที่มีประโยชน์ทับซ้อนกัน
สื่อจีนรายงานว่าตอนแรก Tencent แบนบัญชีด้วยข้อหาละเมิดเงื่อนไขการใช้งานและปัญหาทางเทคนิค แต่ไม่มีข้อมูลยืนยันว่าตกลงแล้ว Tencent มีเหตุผลใดในการแบนกันแน่
Kik Messenger ผู้พัฒนาแอพแชตสัญชาติแคนาดา ประกาศรับเงินลงทุน 50 ล้านดอลลาร์จาก Tencent ยักษ์ออนไลน์จากประเทศจีน
ความน่าสนใจของดีลนี้อยู่ที่ Tencent เป็นเจ้าของ WeChat แอพแชตร่วมวงการเดียวกันด้วย ซึ่งเรื่องนี้ Ted Livingston ผู้ก่อตั้ง Kik อธิบายว่าโฟกัสหลักของ Tencent อยู่ในประเทศจีน ไม่ทับซ้อนกับ Kik ที่เน้นตลาดสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน Tencent ทำธุรกิจแอพแชตโดยตรงเลยทำให้เข้าใจ Kik เป็นอย่างดี แถมนำหน้า Kik ไปไกลแล้วในเรื่องการเชื่อมต่อบริการต่างๆ เข้ากับการแชต
Livingston บอกว่าผู้ให้บริการแอพแชตที่มีวิสัยทัศน์นี้มีทั้งหมด 6 รายคือ Kik, Tencent, Line, Facebook, Snapchat, Telegram
กูเกิลเคยสัญญาไว้เมื่อต้นปีว่ากำลังพัฒนา Google Now API ให้แอพเชื่อมต่อข้อมูลได้ วันนี้เราเริ่มเห็นผลงานแล้ว โดยผู้ใช้ Android สามารถสั่งงานด้วยเสียงพูดว่า “Ok Google, send a WhatsApp message to Joe” เพื่อส่งข้อความ IM ในระบบแชตได้แล้ว (ของเดิมทำได้แต่ SMS)
แอพแชตที่รองรับในตอนนี้คือ WhatsApp, Viber, WeChat, Telegram, NextPlus (ไม่มี LINE นะครับ) ยังใช้ได้เฉพาะเสียงพูดภาษาอังกฤษเท่านั้น กูเกิลสัญญาว่าจะขยายไปยังภาษาอื่นๆ และแอพตัวอื่นๆ ในอนาคตต่อไป
WeChat แนะนำฟีเจอร์ใหม่ Voiceprint ในวงการโซเชียลแอปพลิเคชั่นเป็นครั้งแรก ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานบัญชีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย ผ่านทางเสียงของผู้ใช้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคล้ายๆ กับลายนิ้วมือ
การใช้งาน Voiceprint ช่วยให้ไม่จำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านอีกต่อไปในการล็อกอินเข้าสู่บัญชี ระบบจดจำเสียงจะจดจำเอกลักษณ์ของเสียงเพื่อใช้ยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน โดยต้องเข้าไปตั้งค่าที่ ฉัน > ตั้งค่า > บัญชีของฉัน > Voiceprint จะมีชุดตัวเลขแสดงออกมา โดยผู้ใช้ต้องกดปุ่มสีเขียวค้างไว้ขณะอ่านชุดตัวเลข 2 ครั้ง ระบบจะเริ่มทำงานและเมื่อเข้า WeChat จะสามารถเลือกเข้าสู่ระบบผ่าน Voiceprint ได้
นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป เว็บไซต์สังคมออนไลน์ Weibo (เวย์ปั๋ว) หรือ Twitter ของจีน ผู้ใช้ชาวจีนจะต้องให้ชื่อจริงและหมายเลขบัตรประชาชนกับทางการจีนก่อนเข้าใช้ กฎใหม่ที่ออกมานี้ทำให้สถานที่ที่เปิดให้มีการพูดคุยอย่างเสรีซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในจีนต้องมีอันแปรเปลี่ยนไปอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้คนจำนวนมากมองว่าการที่ออกกฎบังคับส่งข้อมูลให้กับทางการจีนเช่นนี้จะเป็นการเร่งให้ Weibo ล่มสลายเร็วขึ้น