ในยุค Wi-Fi ครองเมือง ไปไหนเราก็เจอ access point จำนวนมากและกระจายความถี่ตีกันจนใช้งานไม่ได้อยู่บ่อยครั้ง บริษัทไอทีจำนวนหนึ่ง (ที่มี Broadcom, Google, Microsoft, Comcast, Time Warner Cable ร่วมเป็นสมาชิกด้วย) จึงรวมกลุ่มกันเป็น WiFiForward เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทางนโยบาย
เป้าหมายของกลุ่ม WiFiForward คือเรียกร้องให้ FCC (กสทช. สหรัฐ) รักษาความถี่แบบ unlicensed (ใครๆ ก็ใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต) ของ Wi-Fi ในปัจจุบันไม่ให้ถูกใช้งานอย่างอื่น และต่อรองกับหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐเพื่อขอความถี่มาใช้งาน Wi-Fi ให้มากขึ้น
การใช้อุปกรณ์พกพาในสนามกีฬาหรืองานคอนเสิร์ตมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และเราก็ได้ยินปัญหา "เน็ตไม่วิ่ง" "โทรไม่ติด" ในพื้นที่ที่มีคนเข้าร่วมจำนวนมากอยู่บ่อยครั้ง
การแข่งกีฬานัดสำคัญอย่างอเมริกันฟุตบอล NFL นัดชิงชนะเลิศ (ที่เรียกกันว่าซูเปอร์โบล์ว) ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ที่สนาม MetLife Stadium ในนิวยอร์ก ก็พยายามรักษาคุณภาพการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (ทั้ง cellular และ Wi-Fi) โดยไม่ให้ผู้ชมในสนาม (ที่สามารถชมการแข่งขันด้วยตัวเองอยู่แล้ว) ดูวิดีโอการแข่งขันแบบสดๆ ผ่านเน็ต
ในที่สุดความพยายามของอินเทลในการบุกตลาดชิปโมเด็ม LTE ก็สำเร็จ โดยบริษัทสามารถวางขายชิปโมเด็ม LTE ใต้แพลตฟอร์ม XMM 7160 (ข่าวเก่า) เรียบร้อยแล้ว
XMM 7160 เป็นชิปโมเด็มสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รองรับเทคโนโลยีสื่อสารทั้ง 2G/3G/4G โดยส่วนของ 4G LTE รองรับคลื่นถึง 15 ย่าน และเทคโนโลยี VoLTE ด้วย โดยอุปกรณ์ตัวแรกที่ใช้งาน XMM 7160 คือแท็บเล็ต Galaxy Tab 3 (10.1) รุ่น LTE ที่วางขายแล้วในเอเชียและยุโรป
นอกจากนี้อินเทลยังออกโมดูล LTE ที่เสียบกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต PCIe ในชื่อ Intel M.2 เพื่อให้ผู้ผลิตแอร์การ์ดอย่าง Huawei, Sierra Wireless, Telit นำไปผลิตเป็นแอร์การ์ด LTE มาขายต่อไป
TransferJet มาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูงระยะสั้นมากๆ (3 ซม.) ที่โตชิบาปั้นมาตั้งแต่ปี 2008 แม้จะเงียบไปนานในช่วงหลัง จนถึงเมื่อต้นปีที่เปิดตัวการ์ด SD ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมา ปลายปีก็มีสินค้าชุดใหม่ในงาน CEATEC ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว
ของใหม่ที่ใช้ TransferJet ครั้งนี้เป็น dongle สำหรับเสียบ micro USB เพื่อให้สมาร์ทโฟนสามารถใช้งานฟังก์ชันของ TransferJet ได้ โดยในตอนนี้ยังสามารถใช้ได้กับ Android เท่านั้น และกำลังอยู่ในระหว่างหารือกับแอปเปิลอยู่
Ofcom เตรียมนำคลื่นโทรทัศน์ที่หมดอายุจากสถานีโทรทัศน์หรือที่เรียกว่าคลื่น whitespace ขนาด 72MHz มาให้ใช้งานแบบไม่ต้องขออนุญาต ในย่านลอนดอนปีหน้า
ความกว้างของคลื่นนั้นมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย เช่น คลื่นโทรศัพท์มือถือทุกวันนี้เราใช้คลื่นประมาณ 30MHz ต่อผู้ให้บริการแต่ละราย คลื่น Wi-Fi 2.4GHz นั้นมีความกว้าง 83MHz การได้รับคลื่น 72MHz ก็จะทำให้เรามีคลื่นใช้บริการแบบไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติมอีกเกือบเท่าตัว
อุปกรณ์ที่ใช้คลื่น whitespace นั้นจะถูกบังคับว่าต้องระบุพิกัดของตัวเองและตรวจสอบกับฐานข้อมูลก่อนเปิดสัญญาณวิทยุขึ้นมาใช้
ที่มา - The Register
ต่อจากข่าวเก่า เผย Galaxy Note 3 แบตอึดเพราะชิป Envelope Tracker จาก Qualcomm ล่าสุดทางต้นสังกัดผู้ผลิตชิปก็ออกมาอธิบายข้อมูลเพิ่มอีกนิดหน่อย
ชิปตัวนี้ชื่อว่า QFE1100 ส่วนหลักการทำงานก็เหมือนในข่าวเก่า นั่นคือปรับกำลังส่งสัญญาณตามลักษณะของลูกคลื่นสัญญาณ ตัวเลขของ Qualcomm เองระบุว่าช่วยลดความร้อนลงได้ 30%, ลดพลังงานที่ใช้ได้ 20%, ช่วยให้การส่งสัญญาณรวดเร็วขึ้น แถมยังมีประโยชน์ทางอ้อมให้แผงวงจรรวมมีขนาดเล็กลงเพราะสามารถออกแบบชิปส่งสัญญาณได้เล็กลง
ชิป Envelope Tracking (ET) ลักษณะนี้จะเริ่มใช้ใน Galaxy Note 3 เป็นรุ่นแรก และจะทยอยใช้งานในมือถือ LTE รุ่นต่อๆ ไปอีกมาก
อินเทลเตรียมวางขายชิปโมเด็ม LTE รุ่น XMM 7160 ช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัทในการลุยตลาดชิปสื่อสารระบบ cellular ด้วย
เดิมทีอินเทลเคยทำแต่ชิปสื่อสาร Wi-Fi เป็นหลัก ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้าน cellular มากนัก อย่างไรก็ตาม ด้วยกระแสตลาดที่หันมาเน้นอินเทอร์เน็ตไร้สายทั้ง 3G/LTE ทำให้อินเทลต้องหันมาลุยตลาดนี้อย่างจริงจัง (โดยเริ่มจาก LTE)
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวปกปิดตัวตนระบุว่า อเมซอนกำลังพัฒนาเครือข่ายไร้สายของตัวเองโดยใช้คลื่นที่ความถี่ที่ถือครองโดยบริษัท Globalstar บริษัทให้บริการดาวเทียม
ข่าวนี้ตรงกับการแถลงของ Globalstar ที่เคยเปิดเผยว่ากำลังอยู่ระหว่างการขออนุญาตจาก FCC ให้สามารถใช้คลื่นเดิมที่เคยใช้กับดาวเทียมอยู่แล้ว มาใช้ในกิจการภาคพื้นดินได้ด้วย
อเมซอนเป็นบริษัทที่ต้องส่งข้อมูลออกไปยังเครื่องลูกข่ายจำนวนมหาศาลทั่วสหรัฐฯ เป็นเรื่องปกติจากทั้งลูกค้า Kindle, และลูกค้า Amazon Prime ที่สามารถดูวิดีโอได้ การมีคลื่นความถี่ของตัวเองเป็นเรื่องสมเหตุสมผลกับอเมซอนที่ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจากการเช่าโครงข่ายของผู้ให้บริการรายอื่น เช่นทุกวันนี้ที่ต้องจ่ายเงินผ่านกับ Amazon Whispernet
ในงาน CES 2013 ช่วงต้นปี Seagate ได้เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ไร้สายซีรีส์ Wireless Plus ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สตรีมคอนเทนต์ไปยังอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะ และมาพร้อมกับแบตเตอรี่ในตัวสำหรับพกพาไปใช้งานนอกสถานที่
ตอนนี้เจ้าฮาร์ดดิสก์ไร้สายที่ว่าเริ่มขายในประเทศไทยแล้ว (ดูราคามาอยู่ที่ 6,390 บาท) ทาง Seagate ได้ส่งมาให้ลองใช้ดู โมเดลที่ได้มารีวิวเป็นรุ่น 1TB ครับ (เข้าใจว่ามีความจุเดียวเนี่ยแหละ)
เกริ่นมาพอสมควรแล้วก็มาดูเจ้า Seagate Wireless กันเลย ตัวแพคเกจมาในขนาดใหญ่พอตัว ด้านในมีอุปกรณ์คู่ชีวิตอย่าง อแดปเตอร์ชาร์จไฟ สาย AC-to-DC และสาย USM SATA-to-USB 3.0 ครับ (ไม่ได้ถ่ายรูปมา T__T)
เราเห็นข่าวอุปกรณ์ Wi-Fi มาตรฐาน IEEE 802.11ac กันมาพอสมควร แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลุ่มพันธมิตร Wi-Fi Alliance เพิ่งเริ่มกระบวนการออกใบรับรองให้กับอุปกรณ์เครือข่าย 802.11ac เช่น เราเตอร์ หรือ อแดปเตอร์ ว่าเข้ากันได้กับมาตรฐาน 802.11ac จริงๆ
อุปกรณ์ตระกูล 802.11ac ที่วางขายอยู่ในขณะนี้จึงเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานบนมาตรฐานฉบับ "ร่าง" เท่านั้น ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่จะอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้เข้ากับมาตรฐาน 802.11ac ฉบับสมบูรณ์ต่อไป (และติดตรา Wi-Fi CERTIFIED สำหรับอุปกรณ์ที่จะออกใหม่ในอนาคต)
Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่ากูเกิลกำลังร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย เข้ามาพัฒนาอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศกำลังพัฒนา ภูมิภาคที่กูเกิลสนใจคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่ระบุชื่อประเทศ) และแอฟริกากลาง-ใต้ (Sub-Saharan Africa)
เป้าหมายของกูเกิลคือผลักดันให้ประชาชนในประเทศเหล่านี้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น โดยกูเกิลแก้ปัญหาเรื่องโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (แบบมีสาย) ที่จำกัดพื้นที่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายเข้าช่วย ตามข่าวบอกว่ากูเกิลกำลังเริ่มคุยกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในหลายๆ ประเทศ เพื่อให้นำความถี่ด้านโทรทัศน์ที่ว่างอยู่มาให้บริการอินเทอร์เน็ตแทน
ยักษ์เครือข่าย Cisco ลุยตลาดไร้สายมาตรฐาน 802.11ac อย่างเป็นทางการแล้ว โดยเริ่มจากโมดูลเสริมสำหรับ access point ระดับองค์กร Aironet 3600 ให้ต่อเชื่อมเครือข่ายไร้สายแบบ 802.11ac ได้ (เดิมที Aironet รองรับเฉพาะ 802.11n)
เบื้องต้น โมดูลของ Cisco จะยังรองรับมาตรฐาน 802.11ac Wave 1 ที่ความเร็วสูงสุด 1.3Gbps และในอนาคตจะออกโมดูลอัพเกรดสำหรับ 802.11ac Wave 2 ที่รองรับฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น Multi-user MIMO, การเพิ่มช่องสัญญาณเป็นเท่าตัว (160MHz) เพื่อให้ได้แบนด์วิธีที่เพิ่มขึ้นที่ระดับ 3 Gpbs เป็นต้น
นับตั้งแต่มาตรฐาน 802.11 ได้รับการยอมรับในวงกว้าง การใช้เครือข่ายแลนไร้สายก็กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานในโน้ตบุ๊กและคอมพิวเตอร์แทบทุกตัวในโลก แลนไร้สายเป็นฟีเจอร์สำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นโทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้โดยไม่ต้องมีพอร์ตสำหรับต่อสาย รวมถึงการให้บริการกับคนจำนวนมากก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องลากสายที่ยุ่งยาก
ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นเคยกับโครงการลินุกซ์เวอร์ชันปรับแต่งสำหรับเราเตอร์ เช่น DD-WRT, OpenWRT หรือ Tomato กันเป็นอย่างดี
ล่าสุดมีโครงการ Droidifi ที่อยากทำแบบเดียวกันแต่เปลี่ยนจากลินุกซ์มาเป็น Android แทน (ที่สำคัญใช้ตัวใหม่ล่าสุด 4.2.2 เป็นฐานเสียด้วย)
เป้าหมายของ Droidifi คือเราเตอร์ไร้สายที่มีความสามารถมากขึ้น เช่น จัดการแพกเกจ QoS, firewall, รองรับ mesh network, รองรับ USB, cloud storage, ทำตัวเป็น media/file server, remote GUI บนอุปกรณ์อื่นๆ และรันแอพจาก Android ได้ด้วย
ปัญหาลักษณะเดียวกับ iPhone 5 แยกรุ่นย่อยตามประเทศ เพราะใช้คลื่น LTE คนละย่าน (band) กำลังจะหมดไป เพราะล่าสุด Qualcomm เปิดตัวภาครับสัญญาณ LTE ตัวใหม่ที่ใช้ได้กับคลื่น LTE ทุกย่านในโลกเป็นที่เรียบร้อย
ภาครับสัญญาณตัวนี้ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า RF360 Front End Solution ประกอบด้วยชิ้นส่วนด้านการรับคลื่น-กำลังส่งรวม 4 ชิ้น รองรับย่านคลื่น LTE กว่า 40 ย่าน นอกจากนี้ยังรองรับการส่งสัญญาณแบบเดิมๆ ทั้ง 2G/3G แบบต่างๆ ครบถ้วน
ฟีเจอร์อื่นที่สำคัญคือลดการใช้พลังงานลงจากเดิม และมีขนาดเล็กลง 50% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน
FCC ออกข้อบังคับใหม่สำหรับการใช้เครื่องเร่งสัญญาณโทรศัพท์ (signal booster) บังคับให้เครื่องเร่งสัญญาณโทรศัพท์เหล่านี้ต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้ถือใบอนุญาตคลื่นความถี่ (ในที่นี้คือผู้ให้บริการโทรศัพท์) และผู้ใช้ทุกคนต้องลงทะเบียนเครื่องเร่งสัญญาณเหล่านี้ก่อนจึงสามารถใช้งานได้
เบื้องหลังประกาศนี้เพราะเครื่องเร่งสัญญาณเหล่านี้บางเครื่องมีคุณภาพต่ำจนกลายเป็นตัวรบกวนเครือข่าย ในแง่ของปัญหาคงคล้ายกับปัญหาในบ้านเราที่เคยมีกรณีเครื่องอ่านบัตร RFID ที่กำลังส่งแรงจนเกินไป ทำให้รบกวนคลื่นโทรศัพท์มือถือ
Google ยื่นคำขออนุญาตต่อ FCC เพื่อสร้างเครือข่ายไร้สายสำหรับทดลองใช้งานขนาดเล็กภายในสำนักงานของ Google เอง
เอกสารระบุว่า Google จะติดตั้งสถานี 50 จุด ภายในเขตสำนักงานที่ Mountain View เพื่อทดลองให้บริการโทรศัพท์มือถือราว 200 เครื่อง โดยสถานีที่ติดตั้งในอาคารจะมีรัศมีการให้บริการไม่เกิน 200 เมตร ส่วนสถานีที่ติดตั้งด้านนอกจะให้บริการภายในระยะไม่เกิน 1 กิโลเมตร ทั้งนี้มีกำหนดระยะเวลาใช้งาน 2 ปี
กลุ่มมาตรฐาน Wireless Gigabit Alliance หรือ WiGig ที่มุ่งเป้าพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 7Gbps (ข่าวเก่า) ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทใหญ่หลายราย เช่น Broadcom, Intel, AMD, Microsoft, Cisco, Samsung, Qualcomm ประกาศเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม Wi-Fi Alliance แล้ว
ข้อตกลงนี้จะทำให้มาตรฐาน WiGig กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Wi-Fi (สเปกแบบเดิมแต่เปลี่ยนชื่อมาสังกัด Wi-Fi) โดยเน้นไปที่การสื่อสารผ่านความถี่ 60GHz เดิมของ WiGig เป็นหลัก
การ์ด SD ที่รองรับการส่งข้อมูลแบบไร้สายได้เคยถูกครองตลาดโดย Eye-Fi มาก่อน และโตชิบาเข้ามาด้วยเทคโนโลยี FlashAir ในตอนหลัง แต่ตอนนี้โตชิบาเตรียมเสนอมาตรฐานใหม่ในชื่อ TransferJet
TransferJet เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งข้อมูลระยะใกล้ที่ความเร็วถึง 560 เมกกะบิตต่อวินาที แต่สามารถส่งได้ระยะเพียงไม่กี่เซนติเมตรเท่านั้น
ตัวสเปคของ TransferJet จะออกมาเป็นมาตรฐานเปิดที่ดูแลโดย TransferJet Consortium ที่มีสมาชิก 45 บริษัท ส่วนโตชิบาเองที่เป็นหัวหอกของมาตรฐานนี้จะแสดงชิปตัวรับส่งสัญญาณ และการ์ด SD ตัวอย่างในงาน CES ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคมนี้ หลังจากโตชิบาปั้นมาตรฐานนี้มาตั้งแต่ปี 2008
ดูเหมือนความหวังจะเห็น NFC กลายเป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์พกพาคงใกล้เป็นความจริงเข้าไปทุกทีแล้ว หลังจาก Broadcom เปิดตัวชิปไร้สายใหม่ที่รวม NFC เข้าไปกับเทคโนโลยีไร้สายอื่นๆ แล้ว
จากเดิมที่เรามักจะเห็นอุปกรณ์รุ่นที่มี NFC มักจะแยกชิป NFC ออกจากชิปไร้สายตัวอื่น แต่ชิปตัวใหม่ในรหัส BCM43341 จะรวม NFC เข้าไปกับ Wi-Fi, Bluetooth 4.0 และ FM แล้ว แต่มีขนาดเล็กลง รวมถึงต้นทุนยังถูกลงด้วย
นอกจากนี้ยังมีอีกรุ่นสำหรับอุปกรณ์พกพารุ่นท็อปที่มาพร้อมกับการรองรับ Wi-Fi มาตรฐานใหม่อย่าง 802.11ac ที่ความเร็ว 433 Mbps และสามารถใช้งานร่วมกับชิป NFC ในแผงเดียวกันเพื่อใช้งานเทคโนโลยีที่ต้องการแบนด์วิดท์สูงๆ อย่าง Wi-Fi Direct หรือ Miracast ออกมาอีกด้วย
WHDI (Wireless Home Digital Interface) เทคโนโลยีสำหรับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์บันเทิงภายในบ้านที่มี AMIMON เป็นรายหลักถือสิทธิบัตรอยู่ แต่ยังไม่สามารถตีตลาดได้มากนัก เนื่องจากตัว AMIMON ผลิตอยู่เจ้าเดียว
ผ่านไปกว่าสามปี ตอนนี้ AMIMON ประกาศเปิดสิทธิ์การเข้าถึงสิทธิบัตรให้กับผู้ผลิตภายนอก สามารถนำเทคโนโลยี WHDI เข้าไปรวมกับชิปเซ็ตของตัวเองได้แล้ว เพื่อสร้าง ecosystem ในระดับโลก และขยายไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น รถยนต์ กล้อง หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ
ตอนนี้ WHDI เริ่มมีใช้วงแคบๆ ในทีวี แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊กบ้างแล้ว โดยสามารถสตรีมวิดีโอความละเอียด 1080p ได้ลื่น และกินไฟต่ำ รวมถึงมีแผนโชว์สตรีม 4K ในงาน CES 2013 อีกด้วย
คลื่น Whitespace หรือคลื่นโทรทัศน์ในย่าน 400-800 MHz เป็นคลื่นที่เคยถูกกันไว้สำหรับทีวีอนาล็อกที่ทั่วโลกเริ่มปลดออกจากผังคลื่นความถี่ และแนวทางสองประเทศหลัก คือ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ก็ชัดเจนแล้วว่าจะนำคลื่นเหล่านี้มาใช้สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานแบบเดียวกับ Wi-Fi ตอนนี้ทาง Ofcom หรือกสทช. ของสหราชอาณาจักรก็เริ่มกระบวนการประชาพิจารณ์แล้ว
การรถไฟมหานครเสิ่นเจิ้น (Shenzhen Metro Group Co., Ltd. - SZMC) เขียนจดหมายถึงหน่วยงานกำกับคลื่นความถี่ของจีนเพื่อขออนุญาตบล็อคสัญญาณ 3G ในระบบรถไฟใต้ดิน หลังจากเดือนนี้ระบบรถไฟถูกรบกวนหลายครั้ง เพราะผู้ใช้ 3G จำนวนมากปล่อยคลื่น Wi-Fi ไปด้วย แต่คำร้องถูกปฎิเสธ
ระบบควบคุมรถไฟของ SZMC ใช้คลื่น 2.4GHz ที่ไม่ต้องขออนุญาตเช่นเดียวกับอุปกรณ์ Wi-Fi ทั่วไปเพราะ SZMC ไม่ต้องการขออนุญาตคลื่นพิเศษอื่นๆ แต่เมื่อบริการ 3G ให้บริการได้ถึงรถไฟใต้ดิน แม้ตัวสัญญาณ 3G จะไม่รบกวนการทำงาน แต่เมื่อผู้ใช้จำนวนมากแชร์อินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ไปด้วยก็ทำให้ขบวนรถไฟเต็มไปด้วยคลื่น 2.4GHz รบกวนการสื่อสารของขบวนรถไฟ
Google กำลังพัฒนาระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์ออกจอภาพแบบไร้สาย โดยมีส่วนติดต่อผู้ใช้งานผสานกันระหว่างอุปกรณ์แบบ AirPlay ของ Apple และ SmartGlass ของ Microsoft
ก่อนหน้านี้ Google เพิ่งปล่อย Android 4.2 ที่รองรับมาตรฐาน Miracast ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพาสามารถส่งภาพหน้าจอไปยังอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ อย่างเช่นทีวีได้ แต่ฟีเจอร์ดังกล่าว เป็นเสมือนเพียงกระจกที่สะท้อนภาพหน้าจอแบบขยายใหญ่ขึ้นเท่านั้น ขอบเขตในการตอบสนองและการสั่งงานต่างๆ ยังคงจำกัดอยู่ในพื้นที่เดิมเท่าที่หน้าจอของอุปกรณ์พกพาจะแสดงผลได้ ในขณะที่ AirPlay และ SmartGlass ทำได้มากกว่านั้น
Cisco ประกาศข่าวเข้าซื้อกิจการบริษัท Meraki ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับควบคุม Wi-Fi access point ผ่านกลุ่มเมฆ
Meraki เป็นบริษัทที่เคยได้รับเงินลงทุนจากกูเกิลในปี 2006 โดยช่วงแรกเน้นพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับให้เจ้าของ Wi-Fi แชร์อินเทอร์เน็ตให้คนที่ผ่านมาได้ ภายหลังผลิตภัณฑ์ของบริษัทพัฒนาขึ้นมาเป็นซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการระบบเครือข่ายจากระยะไกล เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กร และมีฐานลูกค้ากว่า 20,000 ราย
ระยะหลัง Cisco สนใจเรื่องการบริหารระบบเครือข่ายผ่านกลุ่มเมฆ ดังจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ Connect Cloud ของบริษัท (ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก) การซื้อ Meraki ครั้งนี้ถือเป็นการซื้อคู่แข่งมาเสริมทัพนั่นเอง