Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ประจำปีการเงินบริษัท 2023 สิ้นสุดเดือนมกราคม รายได้รวม 1,117.8 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และขาดทุนสุทธิตามบัญชี GAAP 104.1 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปีก่อนที่มีกำไร สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายหุ้นพนักงาน
ตัวเลขในการดำเนินงาน Zoom บอกว่ามีลูกค้าระดับองค์กรประมาณ 213,000 ราย เพิ่มขึ้น 12% และมีลูกค้าที่จ่ายเงินย้อนหลัง 12 เดือนมากกว่า 1 แสนดอลลาร์อยู่ 3,471 ราย อัตราผู้ใช้งานทั่วไปทางออนไลน์ที่เลิกใช้งาน (Churn Rate) อยู่ที่ 3.4% ลดลงจากปีก่อน
Zoom ประกาศปลดพนักงานประมาณ 1,300 คน คิดเป็น 15% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด โดย Eric Yuan ให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงการระบาดของโควิด 19 บริษัทได้เพิ่มพนักงานจำนวนมาก เพื่อให้รองรับต่อการเติบโตของแพลตฟอร์ม ที่มีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก ซึ่ง 24 เดือนที่ผ่านมา จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว
เขายอมรับว่าเป็นความผิดพลาด ที่โฟกัสการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันความต้องการลูกค้า แต่ไม่ได้ประเมินความจำเป็นของแต่ละทีมในการรับคนว่าจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เมื่อตอนนี้สถานการณ์โควิดกลับสู่ปกติ รวมกับปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน บริษัทจึงต้องรีเซตโครงสร้างองค์กรใหม่ มีผลกระทบกับทุกแผนกแต่มากน้อยต่างกัน
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Zoom ให้ฮาร์ดแวร์ประชุม Google Meet ใช้คุยวิดีโอคอลล์ข้ามกับ Zoom ได้ ในทางกลับกัน ฮาร์ดแวร์แบรนด์ Zoom Rooms ก็ใช้คุยผ่าน Google Meet ได้เช่นกัน
เมื่อปี 2021 กูเกิลมีความร่วมมือแบบเดียวกันกับ Cisco ให้ฮาร์ดแวร์ Meet กับ Webex คุยกันได้ ข้อดีของความร่วมมือแบบนี้คือลูกค้าองค์กรที่ลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมออนไลน์ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดแยกเมื่อต้องคุยผ่านโปรแกรมวิดีโอคอลล์อื่น (ในกรณีที่องค์กรพาร์ทเนอร์ใช้ตัวอื่น)
แอปพลิเคชันวิดีโอคอล Zoom หุ้นร่วงราว 90% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดหนักที่สุดในเดือนตุลาคมปี 2020 หลังไม่สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคหลังโควิด-19 ได้
หุ้นของ Zoom ลดลงเกือบ 10% หลังจากบริษัทได้ลดตัวเลขประมาณการณ์ยอดขายต่อปีลงและเผยว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ บริษัทเติบโตช้าที่สุด
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้นทำให้การประชุมผ่านวิดีโอลดลง Zoom ก็เน้นไปที่ฝั่งธุรกิจอย่าง Zoom Phone ที่เป็นบริการด้าน Cloud และการประชุมผ่าน Zoom Rooms แทน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้น 56% ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เพราะลงทุนกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดที่เพิ่มขึ้น
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดเดือนตุลาคม มีรายได้เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,101 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 48.4 ล้านดอลลาร์
จำนวนลูกค้าองค์กรมีเพิ่มขึ้นเป็น 209,300 ราย ขณะที่จำนวนลูกค้าที่สมัครใช้งานตรงผ่านเว็บไซต์ลดลง 9%
Eric S. Yuan ซีอีโอ Zoom กล่าวว่าลูกค้ายังคงใช้งาน Zoom เพื่อรองรับการทำงานที่ยืดหยุ่นและสามารถเชื่อมต่อผู้คนได้ต่อไป Zoom ก็ขยายความสามารถของแพลตฟอร์มเพื่อรองรับสิ่งนี้ด้วย
Zoom เปิดตัวไคลเอนต์อีเมลและปฏิทิน (Zoom Mail and Zoom Calendar) เสริมเรื่องการสื่อสารให้ครบวงจร จากเดิมที่มีประชุม (Meet), โทรศัพท์ (Phone) และห้องแชท (Team Chat) อยู่แล้ว ไม่ต้องสลับแอพไปมาให้เสียเวลา
แผนการใหญ่ของ Zoom เรียกว่า Zoom One ผู้ใช้งานเชื่อมต่อการสื่อสารหลายแบบผสมผสานกัน เช่น เปิดอีเมลแล้วเข้าห้องประชุมวิดีโอ, แชทคุยอยู่แล้วเปลี่ยนเป็นโทรคุย ทุกอย่างทำได้จากโปรแกรม Zoom ตัวเดียว และในปีหน้าจะเพิ่มฟีเจอร์ไวท์บอร์ด ระดมไอเดียร่วมกันด้วย
โปรแกรมอีเมลและปฏิทินของ Zoom ใช้กับอีเมลของค่ายใดก็ได้ หรือถ้าไม่มี ก็สามารถใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ Zoom Mail Service และ Zoom Calendar Service ได้เช่นกัน รวมอยู่ในแพ็กเกจแบบจ่ายเงินของ Zoom ให้พื้นที่สตอเรจเริ่มต้นที่ 15GB
Zoom ประกาศเปลี่ยนชื่อบริการแชตข้อความ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติการทำงานที่มีอยู่แล้วในแอป จากชื่อ Zoom Chat เป็น Zoom Team Chat เพื่อสะท้อนการเป็นแอปรองรับการติดต่อสื่อสาร สำหรับการทำงานร่วมกันในทุกรูปแบบมากยิ่งขึ้น
Sharvari Nerurkar หัวหน้าทีมผลิตภัณฑ์ของ Zoom Team Chat บอกว่าเหตุผลที่เพิ่มคำว่า Team ลงไป เนื่องจากลูกค้าให้ความเห็นว่าสับสนกับระบบแชตระหว่างการประชุม ซึ่งเป็นคนละตัวกัน การเปลี่ยนชื่อนี้เพื่อชูจุดขายของระบบแชตภายในองค์กร ที่ไม่จำเป็นต้องวิดีโอคอลนั่นเอง
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ตามปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดเดือนกรกฎาคม รายได้รวมเพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,099.5 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 45.7 ล้านดอลลาร์
Kelly Steckelberg ซีเอฟโอ Zoom ให้ข้อมูลเพิ่มเติมช่วงแถลงผลประกอบการ ว่าสาเหตุที่รายได้เติบโตไม่มาก มาจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ประกอบกับจำนวนการสมัครใช้งานผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ทำได้ไม่ดีอย่างที่บริษัทต้องการ
Zoom มีลูกค้าระดับองค์กรเพิ่มเป็น 204,100 ราย ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มาจากฝ่ายขาย คิดเป็น 54% ของรายได้รวม และเป็นลูกค้าระดับที่สร้างรายได้เกิน 100,000 ดอลลาร์ต่อปี 3,116 ราย
Patrick Wardle นักวิจัยความปลอดภัยรายงานในงานสัมมนา Def Con ที่จัดขึ้นในลาสเวกัสเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ตอนนี้ Zoom มีช่องโหว่ความปลอดภัยสำคัญที่ทำให้ได้สิทธิ์ root บน Mac
วิธีใช้ช่องโหว่นี้ เพียงแค่ใช้เป้าหมายเป็นตัวติดตั้งแอป Zoom บน Mac ที่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ผู้ใช้ระดับสูงในการติดตั้งหรือลบแอป ซึ่งแม้ว่า Zoom จะขอให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านครั้งแรกที่เพิ่มแอปลงในระบบ แต่ Wardle พบว่าฟีเจอร์ออโต้อัพเดตสามารถใช้สิทธิ์ superuser ได้ในแบคกราวน์
Zoom ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ E2EE หรือการเข้ารหัสแบบ end-to-end ให้กับสองบริการหลักบนแพลตฟอร์ม คือ Zoom Phone บริการโทรด้วยเสียงของ Zoom แบบหนึ่งต่อหนึ่ง และ Breakout Rooms หรือห้องประชุมกลุ่มย่อย
Zoom Phone แบบ E2EE จะรองรับเฉพาะการโทรระหว่างผู้ใช้ 2 คนภายใต้บัญชี Zoom ของบริษัทเดียวกันเท่านั้น, รองรับเฉพาะ Zoom Phone ผ่านไคลเอนท์บนเดสก์ท็อปหรือมือถือเท่านั้น (ไม่รองรับ PSTN), ต้องปิดระบบอัดเสียงโทรศัพท์อัตโนมัติ และแอดมินจะต้องเปิดให้ใช้งานฟีเจอร์นี้ผ่านเว็บพอร์ทัลของ Zoom ด้วย
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2023 สิ้นสุดเดือนเมษายน รายได้รวมเพิ่มขึ้น 12% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,073.8 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 113.6 ล้านดอลลาร์
Zoom มีจำนวนลูกค้าระดับองค์กร 198,900 ราย เพิ่มขึ้น 24% และมีลูกค้าที่สร้างรายได้ย้อนหลัง 12 เดือนในระดับมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ จำนวน 2,916 ราย เพิ่มขึ้น 46%
Eric S. Yuan ซีอีโอ Zoom กล่าวว่าบริษัทยังเติบโตมีรายได้ระดับเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ ทั้งจากการเจาะตลาดลูกค้าองค์กร ไปจนถึงบริการอย่าง Zoom Rooms และ Zoom Phone ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้งานกว่า 3 ล้านคน
ภาพยนตร์ Doctor Strange in the Multiverse of Madness เข้าฉายมาได้เกือบครึ่งเดือน ขณะนี้กวาดรายได้ทั่วโลกไปแล้วกว่า 688 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นผลงานที่ทีมงานทำงานกันผ่าน Zoom เยอะมาก
Sam Raimi ผู้กำกับ Doctor Strange ภาคล่าสุดได้เปิดเผยว่าเขาทำงานกับทีมผลิตหนังโดยการประชุมผ่าน Zoom เกือบตลอด เช่น storyboard artist ก็ฉายงานขึ้นมาในที่ประชุม หรือนักตัดต่อก็เปิดคลิปที่ตัดมาแล้วให้ทุกคนได้ดู ซึ่ง Raimi บอกว่าการสื่อสารในทีมนั้นดีมาก และเขายังระบุว่าข้อดีอีกอย่างคือเขาสามารถคุยกับทีมงานหลักสิบหรือหลักร้อยคนได้พร้อมๆ กัน ทำให้การทำงานของเขาง่ายขึ้นมาก
Zoom เปิดตัวฟีเจอร์ "อวตาร" (avatar) ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นจากโปรแกรมวิดีโอคอลล์อื่นๆ อย่าง Facebook Messenger, Google Duo นั่นคือให้เราแปลงกายเป็นตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ ที่ใช้การดักจับความเคลื่อนไหวของใบหน้ามาขยับตัวอวตารตาม
วิธีการใช้งานจะอยู่ตำแหน่งเดียวกับเมนู Virtual Background ของ Zoom โดนเพิ่มแท็บชื่อ Avatars เข้ามา
Zoom บอกว่าเพิ่มฟีเจอร์อวตารเข้ามาให้สนุกๆ กันเวลาประชุมออนไลน์ หรือถ้าใครที่ไม่อยากโชว์หน้าขึ้นกล้อง แต่อยากแสดงการขยับของร่างกาย ก็อาจเลือกใช้อวตารแทนได้
เมื่อปลายปีที่แล้ว คู่แข่ง Microsoft Teams เปิดตัวฟีเจอร์คล้ายกันชื่อ Mesh ซึ่งระบุว่าจะเริ่มใช้งานภายในไตรมาส 1 เช่นกัน
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ของปีการเงิน 2022 สิ้นสุดเดือนมกราคม รายได้รวมเพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,071.4 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP ที่ 490.5 ล้านดอลลาร์
จำนวนลูกค้าที่สร้างรายได้ย้อนหลัง 12 เดือนในระดับมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ มีจำนวน 2,725 ราย เพิ่มขึ้นมา 66% จากปีก่อน ภาพรวมมีลูกค้าที่มีพนักงานระดับมากกว่า 10 คนอยู่ประมาณ 509,800 ราย นอกจากนี้ Zoom ยังรายงานจำนวนลูกค้าระดับองค์กร ที่สั่งซื้อผ่านฝ่ายขายของ Zoom โดยตรง มีจำนวนราว 191,000 ราย
DocuSign ร่วมมือกับ Zoom เพื่ออินทิเกรตระบบเซ็นเอกสารออนไลน์ในระหว่างมีตติ้งผ่าน Zoom ให้สามารถลงนามในเอกสารต่าง ๆ ได้จบภายในมีตติ้งผ่านระบบ DocuSign eSignature for Zoom
การอินทิเกรตระบบ DocuSign เข้ากับ Zoom มีข้อดีคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรีวิวเอกสารกันผ่าน Zoom และเซ็นร่วมกันได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดแอปหรือส่งอีเมลไปมาหลังมีตติ้ง และผู้เซ็นไม่จำเป็นต้องมีบัญชี Zoom หรือ DocuSign เพียงแค่มาแสดงตัวในมีตติ้งเท่านั้น และเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ผู้ใช้สามารถใช้ระบบตรวจสอบตัวตนของผู้เซ็นของ DocuSign ได้เช่นกัน
แอป DocuSign eSignature สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน Zoom App Marketplace
Zoom ประกาศซื้อกิจการ Liminal ผู้พัฒนาเครื่องมือถ่ายทอดวิดีโอสำหรับเชื่อมต่อกับ Zoom โดยเป็นการซื้อเฉพาะสินทรัพย์หลักของบริษัท และซื้อตัวสองผู้ก่อตั้ง
เครื่องมือที่ Liminal พัฒนาคือ add-on ZoomOSC เครื่องมือช่วยการเชื่อมต่อ Zoom เข้ากับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อื่นผ่านโปรโตคอล Open Sound Control (OSC) และ ZoomISO เครื่องมือสำหรับส่งออกวิดีโอจากผู้เข้าร่วมมาใช้งาน ซึ่งสองเครื่องมือนี้เน้นใช้สำหรับงานการถ่ายทอดอีเวนต์ขนาดใหญ่ โดยคาดว่า Zoom จะนำสองเครื่องมือนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในซอฟต์แวร์หลัก
Zoom มองว่าเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยปิดช่องว่างให้การใช้ Zoom รองรับมาตรฐานงานผลิตระดับสตูดิโอ หรืออีเวนต์ขนาดใหญ่ได้ดีมากยิ่งขึ้น
นอกจากเพิ่มอัพเดตอัตโนมัติแล้ว Zoom ยังประกาศฟีเจอร์ใหม่อีกหลายรายการดังนี้
นอกจากนี้ Zoom ยังเพิ่มฟีเจอร์ตรวจสอบว่าผู้เข้าร่วมมากันครบหรือไม่ โดยเชื่อมต่อกับปฏิทิน Google หรือ Outlook และดูว่าคนที่ตอบรับจะเข้าร่วม ตอนนี้มาเข้าร่วมครบหรือไม่
ก่อนหน้านี้แม้แอป Zoom บน Windows และ macOS จะมีระบบแจ้งเตือนให้ผู้ใช้กดยอมรับเพื่ออัพเดตแอป แต่ในหลายๆ ครั้ง ผู้ใช้อาจไม่ได้กดยอมให้อัพเดต เพราะกำลังจะต้องเข้าประชุมด่วน หรือมีงานที่ติดค้างอยู่ ทำให้ช่องโหว่ความปลอดภัยหรือบั๊กต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข ตอนนี้ Zoom กำลังจะแก้ปัญหานี้ โดยการทยอยเพิ่มฟีเจอร์อัพเดตอัตโนมัติให้ผู้ใช้แล้ว
หลังจากนี้ผู้ใช้จะสามารถเข้าไปที่ Settings > General และคลิกเลือก “Automatically keep my Zoom up to date.” เพื่อเปิดการอัพเดตอัตโนมัติ โดยอาจจะต้องใช้รหัสใช้งานของ Admin เพื่อเปิดใช้ โดยจะมีตัวเลือก “Slow” ที่จะรอให้เวอร์ชั่นล่าสุดมีความสเถียรเต็มที่ก่อนทำการอัพเดต และ “Fast” คืออัพเดตทันทีเมื่อมีเวอร์ชั่นใหม่ออก
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปีการเงินบริษัท 2022 สิ้นสุดตุลาคม 2021 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 35% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,050.8 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิตามบัญชีแบบ GAAP 340.3 ล้านดอลลาร์
ตัดชี้วัดการเติบโตที่สำคัญของ Zoom คือฐานลูกค้าแบบเสียเงิน โดยจำนวนลูกค้าที่สร้างรายได้ให้ระดับมากกว่า 1 แสนดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง มีทั้งสิ้น 2,507 ราย เพิ่มขึ้น 94% จำนวนลูกค้าที่มีพนักงานในองค์กรมากกว่า 10 คน คิดเป็น 512,100 ราย
Zoom ประกาศทดสอบการแสดงโฆษณา มีผลกับผู้ใช้งานแบบฟรี (Basic Plan) โดยโฆษณาจะปรากฏขึ้นบนเบราว์เซอร์หลังจากการประชุมสิ้นสุด รวมถึงกรณีเข้าร่วมประชุมโดยโฮสต์ที่ใช้ Basic Plan ด้วย
ทั้งนี้ Zoom บอกว่าการแสดงผลโฆษณาอยู่ในการทดสอบกับผู้ใช้งานบางประเทศเท่านั้น ซึ่ง Zoom คาดหวังว่ารายได้ส่วนนี้จะนำมาช่วยลงทุนและปรับปรุงให้แพลตฟอร์มรองรับผู้ใช้งานฟรีต่อไป
Zoom ยังปรับปรุงข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน โดยระบุว่าจะไม่ใช้ข้อมูลคอนเทนต์ใด ๆ ในระหว่างการประชุม เพื่อใช้ทำการตลาดหรือทำการแสดงผลโฆษณา แต่ทั้งนี้พาร์ทเนอร์ในการลงโฆษณาอาจใช้คุกกี้เพื่อแทร็กกิจกรรมระหว่างอยู่บนเว็บไซต์ของ Zoom เพื่อเป็นข้อมูลแสดงผลโฆษณา แต่ผู้ใช้งานก็สามารถบล็อกได้ผ่านการตั้งค่าของ Zoom
Zoom ล้มแผนการซื้อกิจการ Five9 บริษัทซอฟต์แวร์คอลเซ็นเตอร์ ที่ประกาศซื้อเมื่อเดือนกรกฎาคม ในราคา 14.7 พันล้านดอลลาร์
เหตุผลที่ต้องยุติการซื้อกิจการเป็นเพราะผู้ถือหุ้น Five9 ลงมติขายกิจการด้วยเสียงโหวตที่มีจำนวนไม่มากพอ ทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบว่าควรยกเลิกข้อตกลงซื้อกิจการที่ประกาศไว้ก่อนหน้า
Zoom ระบุว่ายังจะเดินหน้าสู่ตลาดซอฟต์แวร์คอลเซ็นเตอร์ผ่านคลาวด์ต่อไป โดยจะเปิดตัว Zoom Video Engagement Center (VEC) โซลูชันของตัวเองในช่วงต้นปี 2022 แทน
Zoom ประกาศฟีเจอร์สำคัญยิ่งสำหรับนักประชุมออนไลน์ นั่นคือเราสามารถปิดเพื่อไม่ดูวิดีโอของคนอื่นๆ ในห้องประชุมได้ (stop incoming video) ซึ่งมีผลเฉพาะเครื่องเราเองเท่านั้น
Zoom บอกว่าฟีเจอร์นี้จะถูกใช้ใน 2 กรณีคือ แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตไม่ดี เลยอยากปิดวิดีโอของคนอื่นเพื่อไม่ให้การประชุมกระตุก หรือ ประชุมจนเหนื่อย (avoid mental fatigue) เลยขอปิดวิดีโอเพื่อนั่งฟังเฉยๆ แทน โดยผู้ร่วมประชุมคนอื่นจะไม่ทราบด้วยว่าเราปิดวิดีโอ
ฟีเจอร์นี้ทยอยปล่อยแล้วใน Zoom ทั้งบนเดสก์ท็อปและมือถือ Android/iOS ต้องเป็นเวอร์ชัน 5.8.0 ขึ้นไป
Zoom ประกาศลงทุนเพิ่มเติมใน Neat บริษัทผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับการประชุมออนไลน์ ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์รายสำคัญของ Zoom โดยลงทุนเพิ่มอีก 30 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการลงทุนรอบที่สาม มีเงินลงทุนรวม 41 ล้านดอลลาร์ โดย Neat มีมูลค่ากิจการจากการลงทุนรอบล่าสุดนี้ 640 ล้านดอลลาร์
Neat เป็นสตาร์ทอัพจากนอร์เวย์ ที่พัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับห้องประชุม เพื่อรองรับการทำงานในแบบไฮบริดให้ได้สภาพและบรรยากาศการทำงานเหมือนห้องประชุมปกติ มีผลิตภัณฑ์อย่าง Neat Bar เป็นฮาร์ดแวร์เชื่อมต่อกับจอได้สูงสุด 2 จอ พร้อม Pad สำหรับควบคุม, Neat Board จอสำหรับการประชุมขนาด 65 นิ้ว
นอกจาก Zoom แล้ว Neat ยังเป็นพาร์ตเนอร์กับไมโครซอฟท์พัฒนาฮาร์ดแวร์รองรับการทำงาน Teams ด้วยเช่นกัน
Zoom รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2021 รายได้รวม 1,021.5 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 54% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 316.9 ล้านดอลลาร์
Zoom ไม่ได้ระบุจำนวนผู้ใช้งานรวมทั้งหมด แต่บอกว่ามีจำนวนลูกค้าที่สร้างรายได้ระดับมากกว่า 1 แสนดอลลาร์ต่อปี 2,278 ราย จำนวนนี้เพิ่มขึ้น 131% จากปีก่อน และมีลูกค้าประมาณ 504,900 ราย ที่เป็นหน่วยงานมีพนักงานมากกว่า 10 คน
ญี่ปุ่นปรับตัวเข้าสู new normal แล้ว โดย Central Japan Railway หน่วยงานดูแลรถไฟของญี่ปุ่น ประกาศเริ่มเปลี่ยนบูธสูบบุหรี่บนรถไฟชินคันเซ็นให้เป็นห้องสำหรับประชุมออนไลน์ หรือ Zooming cars ในรถไฟบางสาย
ส่วนที่นั่งอื่นๆ เริ่มมีการปรับให้เหมาะสำหรับการทำงานมากขึ้น เช่น เพิ่มความเร็ว WiFi มีเมาส์ให้ยืม มีหมอนรองคอมพิวเตอร์ให้ยืม มีช่องเสียบพลังงานตรงที่นั่ง มีโต๊ะสำหรับวางโน้ตบุ๊ก เป็นต้น