แม้ว่าภาษาจาวานั้นจริงๆ แล้วจะออกไว้ในตอนแรกเพื่อให้ทำงานในเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ในนวันนี้เราคงไม่ได้เห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจาวากันสักเท่าใหร่
แต่ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อซันออกสเปคของจาวาเพื่อการทำงานในเวลาจริง (Real-Time) ออกมาแล้ว โดยในรุ่นนี้จะแตกต่างจากรุ่นปรกติที่โปรแกรมสามารถเข้าถึงหน่วยความจำได้โดยตรง และมีสามารถเข้าควบคุมการจัดการเธรด (Thread) ได้อีกด้วย
น่าจะเร็วขึ้นมาก แต่เราอาจจะได้เห็นหน้าจอ
Java Segmentation Fault
มีการสัมภาษย์บิล เกตต์ เมื่อไม่นานมานี้ว่าไมโครซอฟท์มีแผนจะเปิดให้ผู้ผลิตรายอื่นได้ผลิตเครื่อง XBox หรือไม่ งานนี้บิล เกตต์ตอบแบบอ้อมๆ ว่า ยังไม่มีอะไรตายตัว
เรื่องนี้เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะหลังจากที่ XBox1 แพ้ราบคาบให้กับ PS2 ไปแล้ว จึงมีแนวคิดกันว่า หากไมโครซอฟท์ใช้พันธมิตรเข้ามาช่วยขยายตลาด น่าจะทำให้ตลาดของ XBox โตขึ้นมาอย่างผิดหูผิดตาได้
มีการคาดเดาไปกันถึงว่า ไมโครซอฟท์อาจขายซอฟท์แวร์เพื่อเล่นเกม XBox บนพีัซีแทน
อันนี้ไม่ใช่ราคาอย่างเป็นทางการครับ เป็นราคาที่ Merrill Lynch Japan คำนวณจากปัจจัยต่างๆ และคิดว่าโซนี่ควรจะตั้งราคาขายอยู่ที่ $399 ผมคิดเรตที่ $ ละ 40 บาทละกันง่ายๆ ก็ประมาณ 16,000 บาท (ถ้าคุณสามารถไปซื้อที่ญี่ปุ่นได้ตอนมันออกนะครับ)
Merrill Lynch คำนวณว่าราคาต้นทุนน่าจะอยู่ที่ $494 จากราคาของส่วนประกอบต่างๆ เช่น Cell และ Blu-Ray ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติของวงการเกมที่เครื่องเล่นเกมที่วางขายเป็นปีแรกจะตั้งราคาต่ำกว่าทุน เพราะไม่หวังกำไร แต่หวังผลในส่วนแบ่งตลาดมากกว่า อย่าง PS2 ทำโซนี่ขาดทุน 51.1 พันล้านเหรียญในปีแรก แต่ปีถัดๆ มาก็กลับมากำไรทั้งหมด
บริษัท Trolltech ที่ทำ Qt สภาพแวดล้อมในการพัฒนาโปรแกรมแบบข้ามแพลตฟอร์ม ที่ KDE ใช้อยู่ ได้ออกรุ่น Qt 4.0 แล้วครับ และนี่จะเป็นฐานสำคัญในการพัฒนา KDE 4.0 ต่อไป ใน Qt 4.0 ก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เยอะแยะ อย่างเช่น ปรับปรุงให้ optimize สำหรับ Visual Studio, ด้านกราฟฟิกและการทำงานแบบ multi-thread รายละเอียด
Qt 4.0 มีแบบที่เป็น GPL สำหรับโครงการโอเพ่นซอร์สด้วย อ่านได้ที่นี่ Qt Open Source Edition Licensing
ข้างล่างมีข่าวไมโครซอฟท์จับมือกับโตชิบา ผู้หนุนหลังสำคัญของฟอร์แมต HD-DVD ฝั่ง Blu-Ray ก็ไม่น้อยหน้าครับ จับมือกับซัน โดยจะนำจาวาไปใช้กับเครื่องเล่น Blu-Ray เช่น ใช้ในการทำเมนู หรือการใช้งานผ่านเน็ตเวิร์คเป็นต้น
สงครามฟอร์แมตแผ่นดิสก์ยุคหน้าระหว่าง HD-DVD กับ Blu-Ray ยังคงไม่ยุติง่ายๆ ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็หวังว่าจะจบลงด้วยดีมีฟอร์แมตเดียวล่ะครับ จาก CNET
IDE ทรงพลังของจาวา "Eclipse" ซึ่งออกเวอร์ชั่น 3.0 มาตั้งแต่ 25 มิถุนายน 47 ตอนนี้ได้ปล่อยเวอร์ชั่น 3.1 ให้ดาวน์โหลดแล้ว สนับสนุนการใช้งานจาวา 5.0 เต็มที่ ปรับปรุงส่วนการสนับสนุนสำหรับการพัฒนา "rich client applications"
ตอนนี้ Apple ก็ออก iTunes 4.9 ซึ่งจะสนับสนุน Podcasting โดยได้มีการรวบรวม podcast จากหลายๆที่มาจัดไว้เป็นหมวดหมู่ จากนั้นเราก็สามารถเลือกโหลดรายการที่ต้องการมาเก็บไว้บน iPod ไว้ฟังเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่เหมือนกับวิทยุปกติที่เราจะเป็นคนรอฟังว่าเค้าจะเลือกอะไรมาให้เรา แต่ คราวนี้เราจะเป็นคนเลือกว่าอยากฟังอะไรตอนไหนได้เอง
อยู่ดีๆ ไมโครซอฟท์ก็คึกแจกอีบุ๊คทั้งเล่มโดยให้โหลดกันไปฟรีๆ ทีเดียวครับ ไปโหลดกันมาอ่านได้เลย
ขอบคุณคุณ Plynoi สำหรับข้อมูลครับ
ที่มา Visual Basic Developer Center: Free Book - Introducing Visual Basic 2005 for Developers
รัฐมนตรีกระทรวง Modernization (ผมไม่รู้จะแปลว่าอะไรครับ) ของนอรเวย์ ประกาศในแผน eNorge 2009 ว่าประเทศนอรเวย์จะไม่ใช้ฟอร์แมตไฟล์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง (พูดอ้อมๆ แต่จริงๆ มันแปลว่า .doc) โดยภายในปี 2005 นี้จะเริ่มทำการย้ายระบบ และสิ้นปี 2006 การส่งข้อมูลระหว่างประชาชนกับรัฐ และภายในรัฐเอง จะไม่ใช้ฟอร์แมตเฉพาะทั้งหมด
ในข่าวไม่ได้พูดถึง OpenDocument แต่คงใช้ตัวนี้แน่นอน
ถึงแม้ว่าโลกจะหมุนไปในทาง Dual Core แต่ซีพียูที่แรงสุดในตอนนี้ยังเป็น Single Core ครับ
ยังไม่ลืมชื่อ Athlon FX ใช่มั้ยครับ ซีพียูของแรงสำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะ (แรงสุดก็แพงสุดนะอย่าเพิ่งลืม) โดย Athlon FX-57 ตัวใหม่จาก AMD เป็นซีพียูที่แรงที่สุดในตอนนี้ ใช้คอร์ San Diego ทำงานที่ 2.8 GHz กับซ็อกเก็ต 939 ผมอ่านประสิทธิภาพใน Anadtech แล้ว ด้านเกมทำคะแนนทิ้ง P4EE คู่แข่งโดยตรงไกลโขอยู่ ส่วนเรื่อง Multimedia Encoding ที่สาย P4 ใช้เป็นจุดขายมาตลอด FX-57 ก็ยังชนะอยู่ดีครับ (แต่อันนี้เฉียดๆ)
สำนักข่าวบลูมเบิร์ค (Bloomberg) รายงานว่าในวันนี้เอเอ็มดี ผู้ผลิตชิปในตลาดพีซีอันดับสองของโลก ประกาศฟ้องอินเทล ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าอินเทลพยายามผูกขาดตลาดพีซี อย่างไม่เป็นธรรม
มีข่าวลือถึงการฟ้องครั้งนี้มาก่อนนี้นี้สองสัปดาห์แล้ว โดยก่อนหน้านี้อินเทลก็ถูกฟ้องในญี่ปุ่น โดยคณะกรรมการการค้าเสรีของญี่ปุ่นด้วยข้อกล่าวหาเดียวกัน โดยมีการระบุว่าอินเทลทำข้อตกลงกับผู้ผลิตให้จำกัดปริมาณการใช้ชิปของเอเอ็มดี หรือกระทั่งบังคับให้ใช้ชิปของอินเทลทั้งหมด ตลอดจนมีการเสนอการลดราคาให้กับผู้ผลิตที่ใช้ชิปอินเทลทั้งหมด
หน้าเว็บของบลูมเบิร์คนั้น โฆษณาหลักคือโฆษณาของเอเอ็มดีและซัน..... :p
อีกบริการจากกูเกิลก็มาอีกครั้ง ด้วยการเปิดให้ดาวน์โหลดโปรแกรมดูหนังของกูเกิลเอง โดยเข้ามาเป็นตัวเสริมของบริการค้นหาอย่างของกูเกิลเดิม
กูเกิลให้สัญญาว่าโปรแกรมนี้จะไม่ไปรบกวนการทำงานของโปรแกรมอื่นๆ อย่าง วินโดว์มีเดีย หรือเรียลเพลย์เยอร์แต่อย่างใด
อีกหน่อยก็มี google office......................
ไมโครซอฟท์และโตชิบาได้กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2548 ที่ผ่านมาว่าทั้งสองจะร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับดีวีดียุคหน้าที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น ความละเอียดของการแสดงผลวีดีโอสูงขึ้น
ไมโครซอฟท์บริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกล่าวว่า จะทำให้การร่วมมือพัฒนาการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับโตชิบา ซึ่งเป็นบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์โน้ตบุกอันดับสามของโลกมีความแข็งแกร่งขึ้น
หลังจากวนเวียนอยู่แต่ในตลาดระดับองค์กร ในวันนี้ซันก็ประกาศวางตลาดเครื่องแลปท็อปเครื่องแรกนับแต่เปิดบริษัทมาแล้ว โดยเครื่อง Ultra 3 Mobile Workstation ใช้ซีพียู UltraSPARC ของซันเองโดยใส่แรม 512 เมกกะไบต์ และฮาร์ดดิสก์ 40 กิกะไบต์ ราคาอยู่ที่เครื่องละ 3,400 ดอลล่าห์
ข่าวนี้มาพร้อมกับการลดราคาเครื่องเดสก์ท็อปของซันไปพร้อมกัน โดยช่วงห้าปีหลังมานี้ ซันพบกับยอดขายที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงต้องปรับกลยุทธมาเล่นสงครามราคาโดยใช้เอเอ็มดีเป็นพันธมิตร
จริงๆ ออกมาได้หลายวันแล้ว
KOffice เป็นชุดโปรแกรมสำนักงานตัวแรก ที่สนับสนุนฟอร์แมทมาตรฐานสำนักงาน OpenDocument เป็นเจ้าแรก ผมเคยเขียนเรื่อง OpenDocument ไว้หลายที่ ไว้จะรวบรวมมาลงให้อ่านกันนะครับ เอาเป็นว่ามันเป็นฟอร์แมตเปิดที่เก็บในรูป XML และมีองค์กรกลางควบคุม โปรแกรมที่สนับสนุนตอนนี้มี KOffice 1.4, OpenOffice.org 2.0, OpenOffice.org 1.1.5 (ยังไม่ออก) และ Workplace ของ IBM ก็สนับสนุน
ถ้ามาใช้เจ้า OpenDocument กันเยอะๆ ต่อไปเราก็ใช้โปรแกรมออฟฟิศอะไรก็ได้ที่ชอบ เพราะตัวฟอร์แมทมีมาตรฐานกลางใช้ร่วมกัน
หลังจากกว่าสี่เดือนที่กูเกิลประกาศให้ความช่วยเหลือกับวิกิพีเดีย ยาฮูก็ออกมาตัดหน้าโดยประกาศว่าได้สั่งเครื่องเซิร์ฟเวอร์บริจาคให้กับวิกิพีเดียไปแล้วถึง 23 เครื่อง โดย 3 เครื่องแรกคือเซิร์ฟเวอร์ดาต้าเบสนั้นเป็นเครื่อง HP DL385 2 ซีพียู แรม 8 กิกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ 146 กิกะไบต์ 15000 รอบต่อนาที 6 ลูกต่อเครื่อง ส่วนอีก 20 เครื่องที่เหลือคือ HP DL140 ที่มีแรมครึ่งเดียวและฮาร์ดดิสก์ที่น้อยกว่า
ทางวิกิพีเดียวางแผนจะใช้ RedHat Enterprise Linux เป็นระบบปฏิบัติการในเครื่องทั้งหมด
ผู้บริหารของซัมซุง ซึ่งเป็นผู้ผลิตแฟลชไดร์วอันดับหนึ่งของโลก ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ในอนาคตแฟลชไดร์วน่าจะเข้ามาแทนที่ฮาร์ดดิสก์ในโน้ตบุ๊คได้ ถ้าทำได้จริงเราจะมีโน้ตบุ๊คที่เบาขึ้น เงียบขึ้นกับกินพลังงานน้อยลง (ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว) และอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น (ไม่ต้องหมุนจานก่อนอ่าน)
ที่ NewsForge มีการเปรียบมวยระหว่าง 2 โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ คือ Writer 2.0 กับ Word 2003 ในแง่มุมที่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปใช้ เช่น การใส่ตาราง การทำดัชนี (แต่บางฟีเจอร์ผมอ่านแล้วก็ไม่รู้ว่ามันทำอะไรอยู่ดีนะ แหะๆ ใช้ไม่ค่อยจะเป็นน่ะครับ)
ผลลัพธ์ก็คือ Writer ชนะเยอะกว่า และชนะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสไตล์ซะมาก ส่วน Word ชนะในเรื่องที่โดดเด่นกว่าจริงๆ เช่น ตาราง เป็นต้น
Bink.nu มีภาพแอบถ่ายหน้าจอ (แอบถ่ายหน้าจอ) ของ IE7 บน Longhorn ครับ จะเห็นว่ามี Tab แล้วก็ Search bar แล้ว และเพิ่มความสามารถในการอ่าน RSS ด้วย แต่ผมดูยังไงมันก็เหมือน Safari เบราวเซอร์ของ OSX มากกว่า Firefox อีก
ไมโครซอฟท์แถลงความสำเร็จในการเข้าซื้อบริษัท Sybari ู้ผลิตซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสบนหลายแพลตฟอร์ม พร้อมกับประกาศว่าจะไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์บนเครื่อง Unix และ Linux อีกต่อไป
ไมโครซอฟท์ระบุว่าเทคโนโลยีของ Sybari นั้นจะถูกรวมเข้าไปในโปรแกรมต้านไวรัสของไมโครซอฟท์ ซึ่งจะออกมาในเร็ววัน
หลังๆ เห็น ClamAV แล้วผมว่าก็น่าเล่นดีนะ...
ที่่มา Sybari acquisition completed by Microsoft - update 2 | newratings.com
หลังจากที่โซนี่ระบุว่าต้องการให้ UMD เป็นดิสก์มาตรฐานที่ใช้งานกันทั่วไปนอกจากการใช้ใน PSP อย่างในวันนี้ ในวันนี้ ECMA ซึ่งเป็นองค์กรณ์รับรองมาตรฐานของยุโรปได้ประกาศรับรอง UMD แล้ว
โดยแผ่น UMD เป็นแผ่นความจุ 1.8 กิกะไบต์ ซึ่งได้รับการแนะนำในครั้งแรกพร้อมกับการเปิดตัวเครื่อง PSP
ไอ้เครื่องที่จ็อบส์เอาไปโชว์ในงาน WWDC ส่งถึงมือลูกค้าแล้วครับ (พวกนี้เป็น Developer Kit น่ะนะ) ไม่ว่าจะข้างในข้างนอกมันก็เป็นพีซีธรรมดา เพราะยังไม่สนเรื่องดีไซน์ ทีนี้มาถึงเรื่องที่ทุกคนอยากรู้ สรุปว่าเอาวินโดวส์ไปลงได้สบายๆ ในแหล่งข่าวมีปัญหาเรื่องความละเอียด แต่ก็รันขึ้น ส่วนการเอาแผ่น MacOSX ที่มากะชุดไปลองลงบนพีซี ปรากฎว่าได้ข้อความ Error บอกว่าไม่สนับสนุนฮาร์ดแวร์นี้ (แอบเศร้ากันล่ะสิ)
คาดว่าแอปเปิลคงใส่ชิปอะไรลงไปบนบอร์ด ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันก็เป็นไปได้ที่จะแก้ได้ครับ รอลุ้นกันละ
Fedora Core 4 ออกยังไม่ทันไร ทางโครงการ Fedora ได้เตรียมแผนการสำหรับ FC5 แล้ว
แนวทางของโครงการก็เริ่มจะเปลี่ยนไปแล้วครับ จากที่ Red Hat เคยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ก็เริ่มย้ายโครงการออกมาให้มีลักษณะเป็น Community มากขึ้น (เหมือนอย่าง Mozilla หรือ Gentoo ที่ตั้ง Foundation ของตัวเองมารองรับ)
ZDNET Australia มีบทความน่าอ่านเกี่ยวกับการแข่งขันของ Google และ Yahoo! ครับ
สรุปคร่าวๆ ว่ารายรับ รายจ่าย มูลค่าหุ้น ของทั้งคู่นั้นไม่แตกต่างกันมากนัก (คืออยู่ในเลขหลักเดียวกันเกือบทั้งหมด) แต่วิธีการทำธุรกิจนั้นแตกต่างออกไป Yahoo! ใต้การนำของซีอีโอ ซึ่งเคยทำงานที่ Time Warner มาก่อน วางตัวเป็นบริษัทเกี่ยวกับสื่อ และการโฆษณาออนไลน์ ที่วัฒนธรรมองค์กรค่อนข้างจะซีเรียสจริงจังกว่า Yahoo! สมัยก่อน มีโปสเตอร์แปะข้างฝาเชิญชวนให้พนักงานส่งไอเดียใหม่ๆ ให้บริษัท
เรื่องนี้ค่อนข้างยาวครับ ผมเขียนรวมในข่าวเดียวเลยละกัน