เผอิญมีเว็บดังสองแห่งรีวิวพร้อมๆ กัน เลยเอาลิงก์มาลงเผื่อว่าใครสนใจจะซื้อ
สรุปคร่าวๆ คือ MacBook Pro มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า PowerBook G4 ในทุกด้าน แต่มีอายุแบตสั้นกว่าหน่อยนึง (ไม่กี่นาที) แต่ปัจจัยหลักที่ไม่แนะนำให้คนบางกลุ่มซื้อยังเป็นเรื่องของโปรแกรม ที่โปรแกรมสำหรับมืออาชีพหลายๆ ตัว ทั้งของแอปเปิลเอง หรืออย่าง Photoshop ยังไม่ออกมาเป็น Universal Binary
อาจจะดูเหมือนภาพตัดต่อ แต่ยืนยันแล้วว่าทำได้จริง
เนื่องจากใน Vista นั้นจะเปิดออพชันการเข้ารหัสไฟล์ในเครื่องมาให้อัตโนมัติ (ชื่อเทคโนโลยีคือ BitLocker Drive Encryption) ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ยากขึ้นถ้าเครื่องโดนแฮปไป ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับลูกค้า ในอีกกรณีหนึ่งคือป้องกันการรันโปรแกรมหรือฟังเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาต ตามแนวคิด DRM ซึ่งใช้ร่วมกับชิป Trusted Platform Module ที่อยู่ในฮาร์ดแวร์มาซักพักแล้ว
จากข่าวเก่า Skype จับมือกับอินเทล ออกโปรแกรมให้คุยพร้อมกัน 10 คนได้บนชิปอินเทลเท่านั้น ถ้าเป็นเอเอ็มดีจะได้แค่ห้า
ตอนนี้ Skype เวอร์ชันนั้นโดนแกะให้ใช้กับซีพียูอะไรก็ได้แล้ว ผลงานการแครกเป็นของ Maxxus แครกเกอร์คนที่แกะ Mac OS X มาลงพีซีได้ (ข่าวเก่า)
เด็กๆ อย่าเลียนแบบนะครับ มีเวลาว่างไปรับจ้างทำเว็บ/เขียนโปรแกรม สร้างสรรค์กว่า
ที่มา - Slashdot
รางวัลด้านคอมพิวเตอร์สูงสุดรางวัลหนึ่งในโลกคือ Turing Award ที่คิดเลือกโดย Association for Computing Machinery (ACM) สำหรับปี 2005 ก็ได้ผู้รับรางวัลแล้ว คือ Dr.Peter Naur ผู้ประดิษฐ์ภาษา Algol-60 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ Backus-Naur Form (BNF) ในการนิยามภาษาโปรแกรมมิ่งต่างๆ อย่างแพร่หลายในยุคต่อมา
รายงานการออกแบบภาษา Algol-60 เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1960 นับว่าเป็นการรอคอยรางวัลกันแบบมาราธอนอีกรายการหนึ่ง ยาวนานถึง 45 ปี
อาจจะเป็นข้อเตือนใจว่า จะสร้างสรรค์อะไรให้กับโลก ก็รีบๆ ซะ
เดี๋ยวจะตายก่อนได้รางวัล
เกมที่เริ่มใช้ความสามารถของคอนโทรลเลอร์ใหม่ใน Revolution เริ่มประกาศตัวกันแล้ว ล่าสุด Atlus ผู้พัฒนาเกม Trauma Center ซึ่งเป็นเกมผ่าตัดที่เคยลง DS (ผมก็ไม่เคยเล่นน่ะนะ) ได้ประกาศเกมเวอร์ชัน Revolution และบอกอีกด้วยว่าจะมีเดโมให้ลองเล่นในงาน E3 เดือนพฤษภาคมนี้
จอย Revolution เอามาเป็นมีดหมอ อืม ใช้ได้นะ
สก็อต แมคนีลลี ซีอีโอของซัน ส่งจดหมายเปิดผนึก ไปยังเอชพี เรียกร้องให้รวม HP-UX ยูนิกซ์ของเอชพีเข้ากับ Solaris ซึ่งเป็นยูนิกซ์ของซัน
ทั้งสองฝ่ายมีคู่แข่งที่สำคัญร่วมกันคือลินุกซ์ ซึ่งกินตลาดเซิร์ฟเวอร์ระดับล่างไปมาก และการลงทุนในระบบปฏิบัติการต้องใช้เงินสูงมาก การควบรวมระหว่าง HP-UX กับ Solaris จะสร้างน้ำหนักและความเชื่อถือให้กับระบบปฏิบัติการใหม่ได้มากทีเดียว ถึงแม้จะไม่มีใครรู้ว่าจริงๆ ในทางเทคนิคจะเป็นไปได้มากแค่ไหนก็ตาม
จากข่าวเก่า RIM เจ้าของ Blackberry ถูกฟ้องให้ยุติการทำธุรกิจ ตอนนี้คดียุติแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายคือ RIM และ NTP ตกลงกันได้
เงื่อนไขคือ RIM จะจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับ NTP 612.5 ล้านเหรียญ ถึงแม้ประธานของ RIM นาย Jim Balsillie จะบอกว่าไม่เต็มใจในการจ่ายเงินจำนวนนี้นัก แต่ก็เป็นทางเดียวที่ทำให้บริษัทก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะถึงในอนาคตอาจจะชนะคดี แต่ช่วงเวลาระหว่างการดำเนินคดีซึ่งใช้มาแล้ว 5 ปีนั้นก็จะทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจในอนาคตของบริษัท และอาจส่งผลถึงยอดขายด้วย ยิ่งตอนนี้คู่แข่งอย่าง Origami ของไมโครซอฟท์ก็เริ่มจะมาแล้ว
ก่อนอื่นต้องบอกว่าผมใช้ GNOME ครับ ยอมรับเลยว่า KDE เก่งกว่ามากในหลายๆ เรื่อง แต่เหตุผลที่ผมไม่ใช้คือหน้าตามันรกเข้าขั้นมากถึงมากที่สุด
ใน KDE4 พยายามแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งใช้วิธีดัดแปลง KDE เดิมให้มีตัวเลือกน้อยลง หน้าตาสะอาดขึ้น ในโครงการ SimpleKDE ถ้าสนใจดู screenshot หรืออ่าน สัมภาษณ์คนทำก็ได้
ผมเขียนเรื่อง OpenDocument ไปหลายรอบมาก ข้อดีมีซักแปดแสนข้อได้ แต่ต้องสู้กับข้อเสียเพียงหนึ่งเดียวคือความเคยชินของเราเอง
หลังจากการเลือกใช้ OpenDocument ในรัฐแมสซาชูเซทส์ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างมาก ขนาดไปถึงการล็อบบี้เพื่อให้ล้มการตัดสินใจนี้ ฝ่ายสนับสนุนจึงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาอีก และทางแก้คือรวมตัวกันเป็นพันธมิตร Open Document Format Alliance เพื่อความเข้มแข็ง
หลังจากวิกิพีเดียเพิ่งครบล้านบทความไป ในวันนี้เจ้าของไอพอดทุกท่านก็จะมีทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงสารานุกรมเสรีนี้ ทางไอพอดของเขาเอง
งานนี้ต้องการลินุกซ์บนไอพอด แต่หลายๆ คนก็คงจะลงกันอยู่แล้ว เลยคิดว่าไม่น่าลำบากอะไร ที่เหลือก็แค่ใส่วิกิพีเดียลงไปเท่านั้น อ่านขั้นตอนการลงได้ที่เว็บเอง
เท่าที่อ่านดูลงได้ทุกเวอร์ชั่น แน่นอนว่าไม่รวม iPod shuffle
ที่มา - Encyclopodia
เอ่ยชื่อ Will Wright เฉยๆ อาจไม่มีใครรู้จัก แต่ว่าถ้าบอกเกมที่เขาเป็นคนสร้างแล้วยังไม่รู้จัก ก็ควรพิจารณาตัวเองได้เลย เพราะว่าเกมของพี่แกมีดังๆ แค่สองเกมเองครับ Sim City กับ The Sims
ตอนนี้ Will Wright กลับมาอีกครั้งกับเกม Spore หรือชื่อเดิม Sim Everything ผมไม่รู้จะอธิบายว่า Spore มันเป็นเกมยังไง ถ้าให้เทียบใกล้เคียงที่สุดคงคล้ายกับเกม Populous เอาเป็นว่าไปดูวิดีโอความยาว 35 นาทีที่โชว์ในงาน Game Developer's Conference อาจจะยาวนิด โหลดนานหน่อย แต่ยืนยันว่าคุ้มชัวร์ๆ มันบรรเจิดมาก
พักหลังมีคนทักผมว่าข่าว Blognone เริ่มช้า งั้นขอแก้ตัวด้วยข่าวที่ไม่มีวันหาเจอจากที่อื่น และสดมากเนื่องจากผมแกะมาจาก newsgroup เลย ว่าด้วยหน้าตาของ Firefox 2 ครับ
ผมเคยเขียนไปทีนึงแล้วว่า Firefox 2 จะมีสิ่งที่เรียกว่า Place (ไปอ่านเอาเองน่อ)แต่นอกเหนือไปจากนั้น ทาง Mozilla กำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงหน้าตาครั้งยิ่งใหญ่อยู่ ดูจากร่างสเปกแรกสุดมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
กระแส AJAX กำลังมาแรง ฝั่งไอบีเอ็มก็ส่ง AJAX Toolkit Framework ซึ่งส่วนหนึ่งของ Emerging Technologies Toolkit (ETTK) ที่ไอบีเอ็มกำลังสนับสนุน ตัวอื่นในซีรีย์ ETTK ก็มีพวก RFID เป็นต้น
คิดว่าคนแถวนี้คงใช้ Google Talk กันถ้วนหน้า แต่โปรแกรมต้นฉบับมันมีแต่บนวินโดวส์ ผมที่ใช้ทั้งแมคและลินุกซ์ย่อมต้องหาโปรแกรมอื่น (3rd party) ที่ต่อกับเครือข่าย Gtalk ได้มาแทน
สถิตินี้ไม่รวมการคุยผ่านหน้าเว็บ Gmail นะครับ (นับเป็น 1st party) อันดับหนึ่งคือ Gaim (48%) ตามมาด้วย iChat (14%) และ Trillian (11%) ที่น่าสนใจคือเว็บแชทอย่าง Meeboมีคนใช้เยอะระดับนึงเหมือนกัน (6%)
แหล่งข่าวในกูเกิลระบุว่ากูเกิลกำลังเริ่มใช้ซีพียูออปเทอรอน 64 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่จะซื้อในระยะนี้ เรื่องนี้ทำเอาหุ้นเอเอ็มดีทะยานขึ้นกันเป็นเรื่องเป็นราว เพราะก่อนหน้านี้เซิร์ฟเวอร์กว่าสองแสนตัวของกูเกิลนั้นใช้ชิปอินเทลเป็นหลัก
โฆษกของเอเอ็มดีไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่บอกเพียงว่ากูเกิลนั้นเลือกซื้อเซิร์ฟเวอร์โดยอาศัยราคาและประสิทธิภาพเป็นหลัก ด้านนักวิเคราะห์มีการคาดว่ากูเกิลกำลังจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ของเอเอ็มดีในไม่ช้า
แต่เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกของกูเกิลที่ผมจำได้นี่ มันใช้ซันด้วยนะ
ออราเคิลเริ่มเข้่าสู่ตลาดเสิร์ชด้วยการส่ง Oracle Secure Enterprise Search 10g เข้าสู่ตลาด โดยโปรแกรมนี้จะมีความสามารถในการค้นหาเอกสารหลายรูปแบบตั้งแต่อีเมล เอกสาร ไปจนถึงข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเป็นจุดแข็งของออราเคิลอยู่แล้ว
โปรแกรมของออราเคิลจะมีฟีเจอร์ในการตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงในทุกๆ ข้อมูลที่รวบรวมไว้ในโปรแกรม ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงไม่สามารถเสิร์ชไปยังข้อมูลนั้นได้
กูเกิลเพิ่งร่วมมือกับบริษัท BearingPoint เพื่อเตรียมให้บริการที่คล้ายๆ กันในเดืิอนที่แล้ว ในตอนนี้จึงเหมือนว่าทั้งสองบริษัทกำลังจะเป็นคู่แข่งกันเต็มตัวไปแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ริชาร์ด สตอลแมนได้ไปพูดถึง GPLv3 ที่งาน FOSDEM 2006 ผมเห็นว่าน่าจะเป็นบทบรรยายที่ให้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของ GPL ไปได้ดี พร้อมกับการอธิบายเหตุผลจากตัวสตอลแมนเอง เลยได้ขออนุญาตทาง IFSO ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บทพูดนี้ไป
ในวันนี้การแปลก็เสร็จแล้ว จริงๆ แล้วผมยังคิดว่าน่าจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ก็น่าจะอยู่ในระดับที่อ่านรู้เรื่อง ยังไงก็ลองไปอ่านกันดู (ที่นี่)
อ่านแล้วพบบั๊กตรงไหนเอามาแจ้งกันด้วยนะครับ
จากข่าว วิกิพีเดียภาษาอังกฤษครบ 1 ล้านบทความ หลายคนอยากให้ฉบับภาษาไทยมีข้อมูลเยอะๆ แบบนั้นบ้าง อย่าเอาแต่คิดแล้วจบลงแค่นั้นเลยครับ มาช่วยกันทำมันให้เป็นจริงดีกว่า
หมวดที่ยังขาดอยู่มากคือเรื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมคิดว่าคนอ่านของเรามีความสามารถ ต่อไปนี้ผมจะพยายามคัดหัวข้อที่น่าสนใจมาให้ประมาณอาทิตย์ละเรื่อง ช่วยกันเขียนให้เสร็จเป็นหมวดย่อยไป
ถ้าไม่รู้จักวิกิพีเดีย หรือรู้จักแต่ไม่เคยเขียนมาก่อนเลย ขั้นตอนง่ายๆ มีดังนี้
วิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอันที่คนเข้ามากที่สุด มีบทความครบ 1 ล้านบทความแล้ว โดยบทความที่ 1 ล้านนั้นคือ Jordanhill railway station ซึ่งเป็นสถานีรถไฟในเมืองกลาสโกลว์ สกอตแลนด์ เริ่มเขียนโดย Ewan Macdonald
สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทยตอนนี้มีประมาณ 7,500 บทความ ยังขาดอีกมากโดยเฉพาะบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่คนอ่าน Blognone น่าจะช่วยกันเขียนได้ง่ายที่สุด
ที่มา - Wikipedia Press Release
ช่วงหลังนี้ข่าวของ Vista เริ่มเยอะ ก็จะพยายามคัดอันที่ไม่ซ้ำของเก่ามานะครับ
หลังออก Vista CTP ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ที่ ActiveWin มีรีวิวตัว CTP ตัวนี้ (Build 5308) ซึ่งถือเป็นตัวที่ฟีเจอร์ครบแล้ว (ต่อไปจะเป็นการแก้บั๊กอย่างเดียว)
การติดตั้งยังใช้เวลานานพอสมควร 40-50 นาที และต้องบูตเครื่องใหม่หลายครั้ง เนื้อที่บนดิสก์ที่หลายคนอยากรู้ สรุปว่าใช้ประมาณ 8 กิกะไบต์
GCC หรือ GNU Compiler Collection ออกเวอร์ชัน 4.1 แล้ว ถ้าสนใจว่ามีอะไรใหม่คงต้องอ่าน changelog กันเอง เพราะผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องคอมไพเลอร์เท่าไร แต่ที่ดูคร่าวๆ ซีรีย์ 4.x นี้เน้นประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของ GCC มายาวนาน และคิดว่าอนาคตอีกซักพักคงเข้าใกล้ Intel Compiler มากขึ้น
ใน Fedora Core 5 ที่จะออกกลางเดือนมีนาคมนี้ ใช้ GCC 4.1 เป็นคอมไพเลอร์หลักเลย
ที่มา - OSNews
แล้วเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดก็เกิดจนได้ เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มเดินหน้าตั้งเซิร์ฟเวอร์สำหรับ TLD (Top Level Domain) ที่เราเห็นเป็น .com, .org, หรือ .net กันในทุกวันนี้เป็นของตัวเอง
โดยจีนสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับสาม TLD ด้วยกันคือ .cn, .com และ .net ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ของทางจีนจะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับทางสหรัฐแม้แต่น้อย
ถึงแม้ว่ายุคนี้มหาลัยจะมี access point ให้ใช้กันเป็นเรื่องธรรมดา และนักศึกษาก็เดินถือโน้ตบุ๊คกันเกลื่อน แต่การที่ทุกคนจะใช้โน้ตบุ๊คยังดูเป็นเรื่องห่างไกลอีกนาน กว่าจะเป็นจริงได้
แต่มันไม่เป็นอย่างงั้นต่อไปอีกแล้ว เมื่อมหาวิทยาลัย Indiana State University ได้ประกาศว่า นักศึกษาใหม่ปีหน้าทุกคนจะต้องมีโน้ตบุ๊ค!
นอกจากนี้ยังไม่พอ ถ้ายังไม่มีเครื่อง มหาวิทยาลัยก็จัดบริการขายให้ถึงที่ โดยยี่ห้อที่ ISU เลือกคือ Lenovo Thinkpad ถ้ายังไม่คุ้นมันก็คือ IBM เก่าน่ะเอง ในแหล่งข่าวอ่านแล้วเหมือนข่าวประชาสัมพันธ์ Lenovo นิดๆ แต่เอามาเขียนลงเผื่อมหาลัยคุณจะทำตามมั่ง