VMware ประกาศปรับแนวทางการคิดค่าไลเซนส์จากเดิมคิดตามจำนวนซ็อกเก็ตซีพียูอย่างเดียวมาเป็นการนับจำนวนคอร์ด้วย โดยแต่ละไลเซนส์จะใช้ได้ไม่เกิน 32 คอร์
สินค้าบางตัวของ VMware คิดราคาตามจำนวนคอร์อยู่แล้ว เช่น VMware Enterprise PKS และ VMware NSX Data Center แต่ซอฟต์แวร์ส่วนมากยังคิดตามจำนวนซีพียูอยู่ โดยประกาศครั้งนี้จะมีผลกับซอฟต์แวร์ที่คิดราคาตามจำนวนซีพียูทุกตัวของ VMware
สำหรับลูกค้าที่ซื้อไลเซนส์ก่อน 30 เมษายนนี้การคิดค่าไลเซนส์จะยังคงแบบเดิมต่อไป
ซีพียูช่วงหลังๆ มีจำนวนคอร์สูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น AMD EPYC 7002 นั้นมีคอร์ถึง 64 คอร์
ที่มา - VMware
เว็บ Billboard.com อ้างแหล่งข่าวไม่ระบุตัวตน ระบุว่า Spotify กำลังพยายามเข้าเซ็นสัญญาโดยตรงกับศิลปินอินดี้และค่ายเพลงขนาดเล็ก แถมยังได้ค่าลิขสิทธิ์ล่วงหน้าอีกก้อนหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงขนาดเล็กมักนำเพลงเข้าไปยังแพลตฟอร์มอย่าง Spotify ผ่านค่ายเพลงขนาดใหญ่หรือตัวแทนอื่น โดยปกติแล้ว Spotify จะจ่ายส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ให้โดยเฉลี่ย 54% ของรายได้ แต่หากเซ็นสัญญาตรงเช่นนี้จะได้รับ 50% แต่เมื่อเทียบกับการเข้าแพลตฟอร์มผ่านตัวแทนอื่นอีกหลายชั้นตามปกติก็อาจจะเหลือถึงตัวศิลปินเพียง 20% เท่านั้น
แหล่งข่าวระบุว่า Spotify กำชับอย่างหนัก ว่าศิลปินห้ามเปิดเผยว่าเซ็นสัญญาโดยตรงกับ Spotify แต่สัญญาเปิดกว้างให้ศิลปินไปเซ็นสัญญากับผู้ให้บริการอื่นได้เองตามสะดวก
Facebook ยังคงเดินหน้าเซ็นสัญญากับค่ายเพลงต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดเพลงประกอบวิดีโอได้โดยไม่ติดปัญหาลิขสิทธิ์ ทั้งบน Facebook, Instagram, Messenger และ Oculus โดยล่าสุด Facebook ประกาศความร่วมมือเพิ่มอีก 3 ค่ายเพลง ดังนี้
เพื่อแก้ปัญหาผู้ใช้ Facebook อัพโหลดเพลงประกอบวิดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ค่ายเพลง Facebook จึงทยอยเซ็นสัญญากับบรรดาค่ายเพลง ปลายปี 2017 ทาง Facebook ก็เซ็นสัญญากับ Universal Music ไปแล้ว และล่าสุดก็คือ Sony/ATV Music นอกจากนี้ เว็บไซต์ Variety ยังอ้างแหล่งข่าวว่าคิวต่อไปอาจจะเป็น Warner Music
ภายใต้ข้อตกลงนี้ ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดวิดีโอกับเพลงประกอบที่เป็นลิขสิทธิ์ของ Sony และ ATV Music บน Facebook, Instagram, Oculus ได้ นักแต่งเพลงของค่ายมีโอกาสได้รับค่าลิขสิทธิ์จากการเผยแพร่เพลงผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียด้วย
Spotify ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงถูกลิขสิทธิ์ถูกบริษัท Wixen Music Publishing ของสหรัฐฟ้องฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพลงกว่า 1 พันเพลง เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ พร้อมให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
เพลงที่ Wixen ระบุว่า Spotify ละเมิดลิขสิทธิ์ตนมี Free Falling ของ Tom Petty, Light My Fire ของ The Doors, (Girl We Got a) Good Thing ของ Weezer เป็นต้น ขณะที่ทาง Spotify ปฏิเสธจะให้ความเห็นในกรณีนี้
ทั้งนี้เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Spotify ได้จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์เพลงราว 43 ล้านดอลลาร์ หลังถูกฟ้องร้องแบบกลุ่มจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะคล้ายๆ กันนี้
Spotify เซ็นสัญญาระยะยาวร่วมกับค่ายเพลงใหญ่ Warner Music หลังจากเจรจาต่อรองกันมาเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี โดย Warner Music ประกาศความเคลื่อนไหวนี้ผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง และมีความเป็นไปได้ว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะนำพา Spotify สู่การเข้าตลาดหุ้น IPO ง่ายขึ้น
เหตุที่ทำให้การเจรจากินระยะเวลานาน เพราะ Spotify จ่ายส่วนแบ่งให้ค่ายเพลงในตัวเลขที่ค่ายยังไม่พอใจ ตัวอย่างเช่นสัญญากับค่ายเพลงอื่นอย่าง Universal Music และ Sony Music ลดค่าตอบแทนค่ายจาก 55% มาเป็น 52% และจำกัดเพลงใหม่ของค่ายมาลงแพลตฟอร์มก่อน 2 สัปดาห์
ในส่วนของ Warner Music มีศิลปินดังในค่ายคือ Ed Sheeran ส่วนข้อตกลงระหว่าง Spotify และ Warner Music จะเป็นเหมือนข้อตกลงที่เซ็นกับค่ายอื่นหรือไม่นั้นยังไม่เปิดเผย
ออราเคิลปรับเอกสารนโยบายการคิดค่าไลเซนส์บนคลาวด์เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มความชัดเจนในการคิดค่าไลเซนส์จากผู้ให้บริการคลาวด์ที่ต่างกัน ทั้ง AWS และ Azure แต่กลับยกเลิกการปรับสัดส่วนคอร์ซีพียูสำหรับการใช้งานบนคลาวด์ไปด้วย ทำให้ผู้ที่ใช้งานออราเคิลบนคลาวด์ต้องจ่ายค่าไลเซนส์เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวบน Azure
แหล่งข่าวจากไต้หวันเผยว่า ไมโครซอฟท์ลดราคาไลเซนส์ Windows 10 ให้กับผู้ผลิตที่จะวางขายโน้ตบุ๊กหน้าจอเล็กกว่า 14.1 นิ้ว ในปีนี้
แหล่งข่าวเผยว่า การลดราคานี้อาจมาจากการแข่งขันกับ Chromebook ของกูเกิล ที่ไม่ได้มีค่าไลเซนส์ระบบปฏิบัติการ Chrome OS ทำให้ฮาร์ดแวร์มีราคาถูกกว่า และผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตฮาร์ดแวร์บนแพลตฟอร์ม Windows อย่าง เลอโนโว เอเซอร์ เอซุส เดลล์ และซัมซุงได้เปิดตัว Chromebook กันมากขึ้น
ที่มา: DigiTimes
Lenovo ประกาศจับมือกับไมโครซอฟท์ ในข้อตกลงใช้งานสิทธิบัตรร่วมกัน โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของข้อตกลงครั้งนี้ ซึ่งทางฝั่งของ Lenovo จะครอบคลุมสิทธิบัตรของโมโตโรลาที่ Lenovo ครอบครองอยู่ด้วย
นอกจากเรื่องสิทธิบัตรแล้ว ข้อตกลงนี้ยังทำให้ Lenovo จะติดตั้งแอพของไมโครซอฟท์อย่าง Skype, OneDrive และ Office ลงบนอุปกรณ์ของ Lenovo ด้วย ซึ่งดีลลักษณะนี้ทางไมโครซอฟท์เคยทำมาแล้วกับ Xiaomi อย่างไรก็ตาม Lenovo ยังไม่เปิดเผยว่าสมาร์ทโฟนรุ่นใดจะติดตั้งแอพไมโครซอฟท์มาให้จากโรงงานครับ
ที่มา - PhoneArena
Xiaomi หนึ่งในบริษัทจีนที่มีข่าวว่ากำลังทำชิปประมวลผลของตัวเองเมื่อไม่กี่วันก่อน ล่าสุดออกมาประกาศเซ็นสัญญาใช้งานสิทธิบัตรเทคโนโลยี 3G/4G จาก Qualcomm ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกแล้ว
การได้ Xiaomi เข้ามาร่วมเป็นลูกค้าสิทธิบัตรของ Qualcomm นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ในส่วนของค่าไลเซนส์ซึ่งเป็นส่วนที่ทำรายได้กว่าครึ่งของบริษัทแล้ว ยังเป็นการขยายตลาดในจีนเพิ่มเติม หลังจากเพิ่งปิดดีลกับยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ อย่าง Huawei, ZTE, TCL และ Lenovo ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลังจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนในจีนหลายรายเริ่มปันใจจาก Qualcomm เมื่อปีก่อนจนกระทบกับรายได้ และหุ้นของ Qualcomm เป็นอย่างมาก
สืบเนื่องจากกรณีที่ SpaceX ต้องการเผยแพร่รูปภาพในโครงการที่ทำร่วมกับนาซาให้เป็นสาธารณสมบัติ หรือ public domain ผ่านทางหน้า Flickr แต่มีข้อจำกัดตรงที่ Flickr ไม่มีตัวเลือกสัญญาอนุญาตของรูปภาพแบบ public domain ในรายการ ทาง SpaceX จึงใช้วิธีกำหนดสัญญาอนุญาตเป็น CC By 2.0 ไว้แทน ล่าสุด Flickr ได้เพิ่มตัวเลือกสัญญาอนุญาตแบบ Public Domain Work และ Public Domain Dedication (CC0) เพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว
เดิมทีนั้นภาพถ่ายอวกาศที่มาจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซานั้นถือเป็นผลงานของรัฐ ภาพเหล่านั้นจึงถือเป็นสาธารณสมบัติที่ใครก็ได้สามารถคัดลอกหรือนำไปใช้งานได้อิสระโดยปราศจากเงื่อนไข ทางนาซานั้นก็มีการปล่อยภาพที่จัดทำขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอตามช่องทางต่างๆ หน้า Flickr ของนาซา อยู่แล้ว แต่กฎหมายก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผลงานที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชนนั้นว่าจะต้องมีสัญญาอนุญาตแบบใด
โดยทั่วไปแล้วการที่เราทำสำเนาไฟล์สื่อดิจิทัลเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้งานไฟล์ดังกล่าวหรืออัพโหลดไฟล์ที่ว่าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนอื่นดาวน์โหลดไปใช้งานนั้นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (แม้ว่าเราจะได้ไฟล์นั้นมาด้วยวิธีการถูกกฎหมายก็ตามที) ซึ่งตัวไฟล์ที่เป็นสำเนาก็จะถือเป็นไฟล์เถื่อนที่ผิดกฎหมาย
แต่แม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หลายคนก็ยังเลือกที่จะหาและแบ่งปันไฟล์สื่อด้วยวิธีนี้ โดยยกเหตุผลว่าไฟล์แท้ถูกลิขสิทธิ์นั้นแพงเกินไป Apple จึงหาวิธีที่จะทำให้คนซื้อสิทธิ์ใช้งานสื่อเหล่านั้นได้โดยเฉพาะ ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อไฟล์แบบธรรมดา และนำเอาแนวคิดของระบบที่ว่าไปจดสิทธิบัตรได้สำเร็จ
Lenovo วางแผนจะซื้อสิทธิบัตรและใบอนุญาตต่างๆ รวมมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมธุรกิจสมาร์ทโฟนของตนเอง โดยคาดว่าการซื้อขายครั้งนี้จะเสร็จสิ้นภายใน 30 วัน
แผนงานในครั้งนี้ เป็นการซื้อสิทธิบัตรส่วนหนึ่ง และซื้อสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรอีกบางส่วน จากบริษัท Unwired Planet ซึ่งเป็นบริษัทในรัฐ Nevada ของสหรัฐอเมริกา โดยเนื้อหาด้านเทคนิคของสิทธิบัตรที่อยู่ในข้อตกลงซื้อขาดนี้ เกี่ยวกับเทคโนโลยี 3G และ LTE แบ่งออกได้เป็น 21 หัวเรื่อง ส่วนสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรที่รวมอยู่ด้วยนั้น จะทำให้ Lenovo สามารถใช้งานสิทธิบัตรอื่นของ Unwired Planet (ทั้งที่รอจดสิทธิบัตรและจดสำเร็จแล้ว) จำนวนกว่า 2,500 รายการ
เมื่อปลายเดือนที่แล้วเราเคยมีข่าวลือว่าไมโครซอฟท์จะลดค่าไลเซนส์ Windows Phone ลง เพื่อให้ผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถทำสมาร์ทโฟน Windows Phone ได้ถูกลง แต่ล่าสุดก็มีข่าวมาจากสองคู่ค้าใหม่อย่าง Karbonn กับ Xolo ว่า ไมโครซอฟท์ยินยอมให้บริษัทสามารถใช้งาน Windows Phone ได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ต่อเครื่องแล้ว
โดยเหตุผลหลักที่แท้จริงนั้นยังไม่มีการระบุว่าเพราะอะไร แต่เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าการที่ไมโครซอฟท์ปล่อยให้ผู้ผลิตใช้งาน Windows Phone ได้ฟรีนั้น จุดประสงค์น่าจะเป็นการปั๊มยอดผู้ใช้งาน Windows Phone ให้มากขึ้น และยังเป็นการตั้งป้อมต่อกรกับ Android และ iOS โดยตรง เพื่อไม่ให้ยอดผู้ใช้งานของสองระบบดังกล่าว เติบโตไปมากขึ้นกว่าเดิม
หลังจากเว็บไซต์ ZDNet เปิดประเด็นว่าอนาคตวินโดวส์อาจฟรีแต่มีป้ายโฆษณา แหล่งข่าวของเว็บไซต์ The Verge ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Windows 8.1 with Bing จะมากับแอพและบริการสำคัญๆ ของไมโครซอฟท์ โครงการนี้มีเป้าหมายเป็นตัวอัพเกรดฟรีหรือราคาถูกสำหรับผู้ที่ใช้ Windows 7 และคาดว่าไมโครซอฟท์อาจเสนอ Windows 8.1 with Bing ให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการลดค่าลิขสิทธิ์ที่เป็นข่าวลือก่อนหน้านี้
ตั้งแต่ Windows Vista เป็นต้นมา ไมโครซอฟท์จะขาย Windows รุ่น Enterprise ผ่านโปรแกรม Software Assurance (SA) เท่านั้น (อ้างอิง) แต่ล่าสุดบริษัทประกาศว่าตั้งแต่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไปจะขายปลีกชุดอัพเกรด (standalone upgrade) เป็น Windows รุ่น Enterprise ให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อได้แล้ว นอกจากนั้นบริษัทจะเปิดขายชุดอัพเกรดเป็น Windows รุ่นดังกล่าวกับโปรแกรมการจัดซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ Open License และ Select/Select Plus
ซีอีโอของ Infosonics ผู้ผลิตมือถือ Android ราคาถูกและขายสินค้าผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายในสหรัฐและละตินอเมริกา เปิดเผยกับนิตยสาร PCMag ว่า Microsoft จะลดค่าไลเซนส์ Windows Phone 8 ลงถึงร้อยละ 70 ซึ่งจะทำให้วินโดวส์โฟนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ในเชิงของราคามากขึ้น และหากค่าไลเซนส์ลดลงจริงบริษัทของเขาก็สนใจที่จะทำวินโดวส์โฟนอย่างแน่นอน
การให้สัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ Microsoft เปิดตัวคู่ค้าด้านฮาร์ดแวร์ที่เน้นผลิตมือถือต้นทุนต่ำอย่าง Longcheer กับ Gionee ในจีน และ Karbonn กับ Xolo ในอินเดีย
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ไมโครซอฟท์ตัดราคา Windows 8.1 ที่ขายให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ลงร้อยละ 70 หรือเพียง 15 ดอลลาร์เท่านั้น สำหรับการติดตั้งวินโดวส์ลงเครื่องรูปแบบใดก็ได้ (เดสก์ท็อป, แท็บเล็ต เป็นต้น) ที่มีราคาขายหน้าร้านต่ำกว่า 250 ดอลลาร์
นอกจากนั้น ไมโครซอฟท์ยังพยายามเร่งให้มีฮาร์ดแวร์ใหม่ที่รันระบบปฏิบัติการของตนออกสู่ตลาด โดยยอมให้ฮาร์ดแวร์ที่เสียค่าไลเซนส์วินโดวส์ราคาถูกไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์ (hardware compatibility) และฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องรองรับการสัมผัสอีกด้วย
เว็บไซต์ MyNokiaBlog ได้รับรายงานจากแหล่งข่าววงในของไมโครซอฟท์ว่า ตอนนี้ค่าลิขสิทธิ์ที่ไมโครซอฟท์เก็บอยู่สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone และ Windows RT อยู่ที่ 25 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๆ 750 บาท) และ 90 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว ๆ 2,700 บาท) ตามลำดับ
ถ้ารายงานก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า ไมโครซอฟท์เตรียมจะยกเลิกการเก็บค่าลิขสิทธิ์ของ Windows Phone และ Windows RT เป็นจริง ก็ถือว่าเป็นการตัดรายได้ที่ค่อนข้างมากของไมโครซอฟท์พอสมควรเลยทีเดียว
ออราเคิลประกาศเปลี่ยนสัญญาอนุญาตระบบฐานข้อมูล Berkeley DB ในรุ่น 6.0 เป็นต้นไป เป็น AGPL แทนที่ไลเซนส์แบบ Sleepycat เดิม
AGPL เป็นสัญญาอนุญาตที่ "แน่น" กว่า GPL ปกติค่อนข้างมาก เงื่อนไขสำคัญที่เพิ่มขึ้นคือการปรับปรุงโค้ดแม้ไม่ได้ส่งซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าแต่ให้บริการแบบออนไลน์ก็ต้องเปิดซอร์สโค้ดที่แก้ไขไปด้วยเช่นกัน มันถูกออกแบบมาเพื่อบีบให้ผู้ให้บริการออนไลน์ที่ต้องการใช้งานซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ต้องซื้อซอฟต์แวร์รุ่นเพื่อการค้า หรือไม่ก็ต้องใช้ตัวอื่นแทนที่
กสทช. เซ็นใบอนุญาต 3G พร้อมให้ค่ายมือถือผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่มารับได้ มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันด้านผู้ประกอบการขอเลขหมายเพิ่มอีก 20 ล้านเลขหมายหมวด 091
ใบอนุญาต 3G มีอายุ 15 ปี ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 6 ธันวาคม 2570 โดย กสทช. พร้อมให้ผู้ประกอบการมารับใบอนุญาตได้ทันที โดยมีเงื่อนไขในขั้นตอนรับใบอนุญาต 4 ข้อ ได้แก่
ก่อนที่จะลงรายละเอียดข่าวนี้ก็ต้องเท้าความเกี่ยวกับแพ็คเกจที่ไมโครซอฟท์วางขาย Windows ก่อน
ปัจจุบันนี้ไมโครซอฟท์วางขาย Windows 7 กับผู้ใช้งานทั่วไปในสามรูป คือ ชุดอัพเกรด ชุด OEM สำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ (System Builder) และชุด FPP (หรือที่เรียก "แบบกล่อง") โดยชุด System Builder จะมีราคาถูกกว่าชุด FPP ทำให้ผู้ใช้ (end user) ซื้อไปติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ของตน แต่ความเป็นจริงแล้วไมโครซอฟท์ห้ามผู้ใช้ติดตั้งและใช้ Windows ที่มีไลเซนส์แบบ OEM (System Builder) เอง แต่ต้องซื้อแบบกล่องมาใช้
สองผู้คร่ำหวอดในเรื่องราวเกี่ยวกับไมโครซอฟท์ Paul Thurrott จากเว็บไซต์ Super Site for Windows และ Mary Jo Foley นักเขียนคอลัมน์ All About Microsoft ของ ZDNet ได้เปิดเผยในรายการ แบบพอดคาสต์ Windows Weekly ว่าไมโครซอฟท์อาจไม่วางขาย Windows 8 แบบกล่อง (หรือที่ไมโครซอฟท์เรียก Full Package Product: FPP -- เพิ่มเติมโดยผู้เขียน) อีกต่อไป โดยจะวางขายชุดอัพเกรดและชุด System Builder เท่านั้น
OnLive Desktop เป็นบริการให้เช่าใช้งานวินโดวส์ด้วยการรีโมตเข้าไปวินโดวส์จริงๆ แต่ปรากฏว่าไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่าการใช้ Windows 7 ให้บริการเช่นนี้ผิดไลเซนส์ของไมโครซอฟท์ มาวันนี้ผู้ใช้พบว่า OnLive Desktop เปลี่ยนไปใช้ Windows Server 2008 แล้วเงียบๆ
ผู้ใช้นั้นแทบไม่เห็นความแตกต่างอะไรเลยในการเปลี่ยนแปลงนี้ จะมีบ้างแค่หน้า About ของโปรแกรมต่างๆ เช่น Notepad นั้นเปลี่ยนไป กับคีย์บอร์ดที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยเท่านั้น
ที่มา - OnLive Fans