ทรูมูฟ เอช เตรียมนำเครือข่ายสู่ 5G ที่ให้ความเร็วได้สูงถึงระดับกิกะบิต ประกาศลงทุน 57,000 ล้านบาทด้านโครงข่าย เตรียมความพร้อมสู่ยุค 5G
Qualcomm เริ่มส่งชิปทดสอบ QTM052 โมดูลเสาอากาศ mmWave พร้อมกับโมดูล QPM56xx สำหรับคลื่น 5G NR ที่ใช้คลื่นย่าน 3GHz ไปจนถึง 5GHz และโมเด็ม Snapdragon™ X50 ให้กับผู้ผลิต พร้อมกับเปิดเผยรายละเอียดชิปต่างๆ มากขึ้น
ตัวที่แปลกที่สุดคงเป็น QTM052 เสาอากาศที่ใช้คลื่น mmWave หรือคลื่นความถี่สูงกว่า 24GHz ขึ้นไป โดยรับ 3 แถบคลื่น ได้แก่ 26.5-29.5 GHz (n257), 27.5-28.35 GHz (n261), และ 37-40 GHz (n260) ทาง Qualcomm ระบุว่าหาก mmWave ครอบคลุมพื้นที่ผู้ใช้ก็สามารถดาวน์โหลดความเร็วปกติประมาณ 1.4 กิกะบิตต่อวินาที หรือความเร็วสูงสุด 5 กิกะบิตต่อวินาที
สืบเนื่องจากกรณีที่กระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเตรียมเลิกใช้ Huawei และ ZTE ตามคำเตือนสหรัฐ ผลกระทบที่เกิดกับ Huawei ดูท่าจะยังไม่หมดแค่นี้ เมื่อแหล่งข่าวจากรัฐบาลเผยว่า Huawei กำลังจะถูกแบนจากการเป็นซัพพลายเออร์อุปกรณ์โครงข่าย 5G
การตัดสินใจครั้งนี้เกิดจากหน่วยงานข่าวกรองของออสเตรเลียแสดงความกังวลว่ารัฐบาลจีนอาจบีบให้ Huawei ส่งมอบข้อมูลที่อ่อนไหวก็เป็นได้ เพราะมองว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์และมีกฎหมายที่บังคับให้บริษัทเอกชนส่งมอบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในแง่ข่าวกรองหากถูกร้องขอ
สวนทางกับประเทศตะวันตกหลายประเทศอย่างแคนาดา, เยอรมนีหรือแม้แต่นิวซีแลนด์ มั่นใจว่าอุปกรณ์ Huawei ไม่สามารถแอบเข้าถึงข้อมูลหรือแอบเก็บข้อมูลได้แน่นอน
มาตรฐาน 5G ที่ดูแลโดยกลุ่มอุตสาหกรรม 3GPP ประกอบด้วยส่วนย่อยหลายส่วน ส่วนสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทางคลื่นที่เรียกว่า New Radio (NR) ซึ่งก็แบ่งเป็นสองส่วนย่อยอีก (อย่าเพิ่งงงนะครับ)
เมื่อปลายปีที่แล้ว 3GPP โหวตรับรองสเปก 5G New Radio ส่วนแรกที่เรียกว่า Non-Standalone (NSA) หรือการส่งข้อมูลแบบ 5G บนระบบโครงข่าย 4G LTE เดิม (ข้อมูลวิ่งบน 5G แต่การสื่อสารเพื่อสั่งการระหว่างอุปกรณ์กับเสาใช้โพรโทคอล 4G)
ทุกวันนี้ผู้ใช้ในประเทศไทยคงได้ใช้งานเครือข่าย 3G/4G กันเป็นปกติแล้ว แต่ทาง Ericson ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์มือถือก็ออกมานำเสนอนวัตกรรม 5G และเครือข่าย IoT ที่มาพร้อมกับ 5G เพื่อแสดงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในอนาคต
อินเทลประกาศความร่วมมือกับผู้ผลิตพีซีหลายราย เช่น Dell, HP, Lenovo รวมถึงไมโครซอฟท์ เตรียมผนวกชิปโมเด็ม 5G ซีรีส์ Intel XMM 8000 ไปกับโน้ตบุ๊กและพีซีพกพาในครึ่งหลังของปี 2019
อินเทลระบุว่าชิปโมเด็ม 5G ของตัวเองทุกตัวจะรองรับ eSIM เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้ อินเทลยังโชว์ชิป Wi-Fi รุ่นใหม่ที่รองรับมาตรฐาน 802.11ax ด้วย
แนวคิดเรื่องพีซีที่ต่อเน็ตตลอดเวลา กำลังกลายเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์ก็เพิ่งประกาศแผน Always Connected PC ผ่านความร่วมมือกับ Qualcomm
ที่มา - Intel
นอกจาก Qualcomm เปิดตัวชิปโมเด็ม LTE ตัวใหม่ที่รองรับ Category 20 บริษัทยังประกาศทำชิปโมเด็มสำหรับ 5G แล้ว
ชิปโมเด็มตัวใหม่จะใช้ชื่อรุ่นว่า Snapdragon X50 5G modem โดยพัฒนาขึ้นบนสเปกของ 5G New Radio ที่ออกเป็นมาตรฐานแล้ว
Qualcomm โชว์พันธมิตรที่ร่วมทดสอบ X50 เป็นโอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่จากทั่วโลก เช่น AT&T, Verizon, China Mobile, Vodafone, Docomo, KDDI, T-Mobile รวมไปถึงผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สมาร์ทโฟน ทั้ง Asus, HTC, LG, HMD Global, Oppo, OnePlus, Sony, Vivo, Xiaomi, ZTE
การทดสอบโมเด็ม X50 จะมีขึ้นภายในปีนี้ และสินค้าจริงจะวางขายในปี 2019
ก่อนหน้านี้มีรายงานเอกสารหลุดจาก National Security Council ว่ารัฐบาล Trump กำลังหาวิธีการป้องกันข้อมูลหลุดไปจีนโดยจะหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมจากจีน ซึ่งมีวิธีที่พิจารณาตั้งแต่การให้รัฐลงทุนเองทั้งหมดแล้วให้เอกชนเช่าใช้งาน หรือให้เอกชนรวมตัวกันสร้างเครือข่ายเดียว
ล่าสุด Recode ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวหลายคน โดยกล่าวว่าเอกสารที่หลุดออกมานั้นเก่าแล้ว และตอนนี้ข้อเสนอดังกล่าวก็ตกไปแล้ว รวมถึงข้อเสนอนี้ก็ไม่ใช่ข้อเสนอที่จริงจังมากของ NSC แต่เป็นเพียงไอเดียที่นำเสนอโดยพนักงานคนหนึ่งเท่านั้น และไม่น่าจะมีผลกับการปรับนโยบายใด ๆ
เว็บไซต์ข่าว Axios ได้เอกสารหลุดจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council คนละหน่วยกับ NSA) ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐในยุคทรัมป์ กำลังวางแผนจะลงทุนสร้างเครือข่าย 5G ด้วยตัวเอง เพื่อรับมือภัยคุกคามจากจีน
ในเอกสารให้เหตุผลว่า จีนกำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในตลาดอุปกรณ์เครือข่าย (ในเอกสารมีชาร์ทแสดงว่า Huawei กลายเป็นอันดับหนึ่งของตลาดแทน Nokia/Ericsson) และปัญหาภัยคุกคามด้านข่าวกรองไซเบอร์จีน ทำให้รัฐบาลสหรัฐมองว่าต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร (ในที่นี้คือ 5G) ที่ควบคุมได้
NTT DoCoMo ผู้ให้บริการโทรศัพท์รายใหญ่ของญี่ปุ่นประกาศร่วมมือกับโนเกียในการพัฒนาโครงข่าย 5G สำหรับใช้งานภายในประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทจะเลือกใช้ฮาร์ดแวร์จากโนเกียสำหรับการติดตั้งโครงข่าย 5G ในประเทศ คาดว่าน่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2020
สำนักข่าว BusinessKorea รายงานแผนของ Samsung ว่าชิพ Exynos 5G ซึ่งเป็นชิพโมเด็ม 5G สำหรับใช้ในสมาร์ทโฟนจะเริ่มนำมาใช้งานในมือถือรุ่นปี 2019
การพัฒนา Exynos 5G ของ Samsung นี้เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตอื่น และเพิ่มอัตราการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตโดย Samsung เอง ซึ่งโมเด็ม 5G แบบใหม่นี้จะรองรับร่างมาตรฐานของ 3GPP สำหรับ Release 15 ซึ่งเป็นร่างมาตรฐาน 5G ที่คาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนปีนี้ ชิพของ Samsung จะรองรับทั้งมาตรฐาน non-standalone (NSA) และ standalone (SA) ซึ่งหมายความว่าชิพนี้จะรองรับการเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณ LTE เก่า และเสาสัญญาณแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อ 5G โดยเฉพาะ
3GPP กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ประกาศโหวตรับรองมาตรฐาน 5G ฉบับแรกคือ 5G NR (New Radio) แล้ว ถือเป็นก้าวแรกของการผลักดัน 5G ในการใช้งานจริง
ตามแผนของการออกมาตรฐาน 5G จะออกเวอร์ชันเต็ม (Standalone) ในเดือนมิถุนายน 2018 แต่ทางกลุ่ม 3GPP ตัดสินใจรีบออกส่วนที่เกี่ยวกับการใช้คลื่นวิทยุ (New Radio) มาก่อน เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm หรือ Intel มีเวลาพัฒนาอุปกรณ์ของตัวเองให้รองรับคลื่นชุดใหม่ได้ก่อน
ตามสเปกของ 5G รองรับคลื่นหลายย่าน ตั้งแต่คลื่นความถี่ต่ำ 600-700MHz ไปจนถึงคลื่นความถี่สูงถึง 50GHz ตัวเอกสารฉบับเต็มจะออกตามมาภายในสัปดาห์นี้
Ericsson ผู้ให้บริการโครงข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคมออกรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับเดือนพฤศจิกายน คาดการณ์การใช้งานเทคโนโลยี 5G ว่าจะเริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปีหน้า (2019) โดยสหรัฐ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและจีนจะเป็นกลุ่มๆ แรกที่มีการใช้งาน และจะแพร่หลายและมีผู้ใช้ถึง 1 พันล้านรายหรือ 20% ของประชากรโลกในปี 2023
ในส่วนของ LTE ทาง Ericsson คาดว่าจะถูกผลักดันให้กลายเป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่อหลักในสิ้นปีนี้ และภายใน 2023 จะมีการใช้บริการกว่า 5.5 พันล้านราย ซึ่งครอบคลุม 85% ของประชากรโลก เช่นเดียวปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายทั่วโลกจะเกิน 100 เอกซะไบต์ (1 ล้าน TB) โดยทราฟฟิคกว่า 75% มาจากเป็นวิดีโอ
SoftBank และ Honda ประกาศร่วมมือกันวิจัยการใช้เทคโนโลยี 5G กับการเชื่อมต่อรถยนต์ โดยทาง SoftBank จะเข้าไปติดตั้งฐาน 5G สำหรับการทดลองใน Takasu Proving Ground ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาของ Honda รวมถึงเป็นพื้นที่ปิดสำหรับการทดสอบรถยนต์ซึ่งอยู่ใน Hokkaido เพื่อทำงานวิจัยร่วมกัน
GSMA องค์กรกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสารร่วมกับ China Academy of Information and Communications Technology (CAICT) ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการคาดการณ์สภาพตลาดและการใช้งานเทคโนโลยี 5G ทั้งฝั่งผู้บริโภคและองค์กรในเอเชีย
ปรากฎว่าจีน ถูกคาดว่าจะเป็นตลาด 5G ที่ใหญ่ที่สุด ด้วยจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อ 5G ไม่ต่ำกว่า 428 ล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2025 คิดเป็น 39% ของการเชื่อมต่อกว่า 1.1 พันล้านการเชื่อมต่อทั่วโลก ภายใต้กรอบเวลาดังกล่าว สาเหตุหลักๆ มาจากความร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ในจีน ที่ตอนนี้ร่วมกันพัฒนาและเตรียมการก้าวไปสู่เทคโนโลยี 5G ร่วมกับรัฐบาลและองค์กรต่างๆ
China International Capital Corporation ธนาคารเพื่อการลงทุนของจีนออกรายงานระบุถึงโอกาสความสำเร็จของเครือข่าย 5G ในจีนที่มีสูงจากความนิยมในการใช้ระบบ IoT เป็นวงกว้าง เช่นระบบเช่าจักรยาน Mobike และ Ofo
ระบบเช่าจักรยานของจีนไม่จำเป็นต้องนำจักรยานกลับไปยังจุดจอดที่จัดไว้ แต่จักรยานจะรายงานตำแหน่งของตัวเองกลับไปยังศูนย์ผ่านทางเครือข่าย 2G เฉพาะ Mobike บริษัทเดียวก็มีจักรยานที่ต้องจัดการถึง 800,000 คัน ขณะที่ Ofo ไม่ได้รายงานจำนวนจักรยานโดยตรงแต่ระบุว่ามีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 5 ล้านคน ใน 22 เมือง
มาตรฐาน 5G เพิ่งมีสถานะเป็นฉบับร่าง และน่าจะออกฉบับสมบูรณ์ในช่วงปลายปี 2018 แต่สงครามการตลาดเพื่อชิงความเป็นเจ้าแห่ง 5G ก็เริ่มต้นขึ้นแล้ว
AT&T โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ เปิดตัวแบรนด์ 5G Evolution เพื่อเคลมว่าตัวเองสามารถให้บริการ "5G" ระหว่างที่กำลังรอมาตรฐาน 5G ร่างเสร็จ เมืองแรกที่จะใช้งานได้คือ Austin โดยสามารถใช้ได้กับ Samsung Galaxy S8/S8+ เท่านั้นในตอนนี้
มาตรฐาน 2G, 3G, และ 4G ที่เราเรียกกันทุกวันนี้ ที่จริงแล้วเป็นสเปคของเทคโนโลยีที่กำหนดโดย International Telcommunication Union (ITU) จากนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะออกมาตรฐานรุ่นต่อไปของตัวเองมาล้อกับสเปคเหล่านี้อีกครั้ง หลายครั้งเทคโนโลยีก็ตกตรงกลางระหว่างรุ่น ทำให้เราเห็นคนพยายามเรียก 3.5G 4.5G 4.9G กันบ้าง ตอนนี้มาตรฐาน 5G หรือ IMT-2020 ก็เปิดร่างสเปคออกมาแล้ว
อินเทลเริ่มลุยตลาดระบบเครือข่าย 5G ล่วงหน้า โดยจับมือกับผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายรายใหญ่ทั้ง Ericsson และ Nokia
กลุ่มมาตรฐาน 3GPP ผู้กำหนดมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ประกาศโลโก้ 5G อย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีลักษณะคล้ายกับโลโก้ LTE ของเดิม แต่ปรับรูปลักษณ์ของคลื่นใหม่ให้โฉบเฉี่ยวขึ้นกว่าเดิม
โลโก้ LTE และ LTE-Advanced ใช้คลื่นสีแดง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสีเขียวใน LTE-Advanced Pro ส่งผลให้เทคโนโลยี 5G ยังคงใช้คลื่นสีเขียวตามมาด้วย
ตัวมาตรฐาน 5G ยังไม่เสร็จดี โดยมาตรฐานเวอร์ชันแรก 5G Phase 1 (Release 15 เลขเวอร์ชันนับต่อจาก LTE) มีกำหนดเสร็จช่วงปลายปี 2018 ตามด้วย 5G Phase 2 (Release 16) ในปี 2020
วันนี้ AIS จัดงานเผยวิสัยทัศน์ประจำปี 2017 (AIS Vision 2017) เตรียมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ซีอีโอ AIS ระบุว่าปี 2016 ที่ผ่านมาเป็นปีของการก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมสื่อสารคมนาคมไทย สำหรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเป็นปีแรกที่ AIS มีรายได้จากการใช้งานดาต้าสูงกว่า voice (ลูกค้า 41 ล้านราย ใช้ดาต้ากันไปแล้วกว่า 24 ล้านราย)
ส่วนในปีนี้ AIS เน้นการก้าวเข้าสู่เครือข่าย Next Generation (Next G Network) การเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย IoT และ Digital Service
AT&T ได้ประกาศเปิดตัวโครงการใหม่ที่เรียกว่า AT&T Network 3.0 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Indigo โดยเป็นโครงการที่ AT&T ตั้งใจนำซอฟต์แวร์มาปรับปรุงการให้บริการเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้การอัพเกรดโครงข่ายง่ายขึ้น ซึ่ง John Donovan ผู้บริหารของบริษัทกล่าวว่า AT&T มอง Indigo เป็นเครือข่ายสมัยใหม่ยุคที่สาม เป็นคำสำหรับเรียกทุกอย่างที่ไม่ใช่แค่ความเร็วที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นทุกอุปกรณ์ในเครือข่ายที่ทำงานได้อย่างไร้รอยต่อ
ถึงแม้ปัจจุบันเทคโนโลยีในยุค 3G และ 4G กำลังถูกใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเทคโนโลยีเก่าอย่าง 2G กำลังจะตายไป (แต่ก็ยังมีตัวเลขผู้ใช้งานเยอะที่สุดในโลก) แต่เทคโนโลยีในอนาคตอย่าง 5G ก็เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้นและล่าสุด Ericsson ผู้ให้บริการโครงข่ายและอุปกรณ์โทรคมนาคม ได้จัดแสดงนวัตกรรม 5G ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อฉลองการดำเนินงานในไทยครบ 111 ปีด้วย
EU มีภารกิจใหม่คือจัดให้มีฟรีไวไฟอย่างทั่วถึงภายในสี่ปี ส่วนความเร็วในการดาวน์โหลดต้องมีอย่างน้อย 100 Mbps ภายในปี 2025 และยังคาดหวังว่าจะสามารถปล่อยสัญญาณ 5G ในพื้นที่ EU ให้ได้ภายในปี 2025 เช่นกัน
สำหรับงบประมาณทำเมกะโปรเจกต์นี้สูงราวๆ 120 ล้านปอนด์ ให้หน่วยงานรัฐจัดซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สาย ซึ่งถ้าโครงการได้รับการอนุมัติจากรัฐสภายุโรปก็สามารถดำเนินการจัดซื้อได้ก่อนสิ้นปีหน้า
เพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวจำเป็นต้องเสนอกฎหมายใหม่ อย่างกฎหมายของอียูด้านการติดต่อสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และ ปรับปรุงกฎระเบียบในหน่วยงานกำกับดูแลของยุโรปด้านสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (BEREC) ซึ่งเป็นกฎการสนับสนุนท้องถิ่นในการใช้ไวไฟสาธารณะฟรี รวมถึงออกแบบแผนปฏิบัติการปล่อยสัญญาณ 5G ด้วย
โนเกียไปร่วมงาน Mobile World Congress ประกาศข่าวอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นใหม่ที่รองรับ 5G (ยังไม่มีมาตรฐานกลาง 5G ดังนั้นเทคโนโลยียังถือเป็น pre-standard) ว่าจะพร้อมให้โอเปอเรเตอร์ใช้งานได้ช่วงต้นปี 2017 เป็นอย่างเร็ว
อุปกรณ์เครือข่าย 5G ของโนเกียมีชื่อรุ่นว่า Nokia AirScale Base Station ใช้เสาอากาศแบบ MIMO 8x8, มีอัตราส่งข้อมูลได้มากกว่า 20Gbps, มีค่า latency น้อยกว่า 1ms, สามารถใช้กับความถี่ได้หลากหลายย่าน และสามารถอัพเกรดจากอุปกรณ์ LTE เดิมต่อได้ง่าย
โนเกียคาดว่าเราจะได้เห็นบริการ 5G เชิงพาณิชย์เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2020