เทคโนโลยี 5G เปิดทางให้การใช้เครือข่ายไร้สายสามารถใช้งานในโลกธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ได้มากมาย ทั้งจากประสิทธิภาพของเครือข่ายที่แบนวิดท์สูงกว่าเทคโนโลยีเดิมๆ และสามารถปรับแต่งการใช้งานคลื่นความถี่ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น เปิดทางให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการใช้งานได้ตามความต้องการ เช่น การติดตั้งเซ็นเซอร์จำนวนมากที่ไม่ต้องการแบนวิดท์สูง หรือการใช้งานที่ต้องการแบนวิดท์สูงพร้อมกับเวลาหน่วงที่ต่ำมากๆ เช่น แว่นตา VR/AR
Qualcomm ประกาศซื้อกิจการ Cellwize Wireless Technologies ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับจัดการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้ให้บริการ ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ Cellwize ได้รับเงินทุนมาแล้วรวม 56.5 ล้านดอลลาร์
Cellwize เป็นสตาร์ทอัพจากอิสราเอล จุดขายคือแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ RAN หรือ Radio Access Network ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมีการใช้งานใน 40 ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก คิดเป็นจำนวนเซลล์ติดตั้งรวมกว่า 3 ล้านจุด
แคนาดาประกาศแบนการใช้อุปกรณ์ 5G ของ Huawei และ ZTE โดยอ้างเรื่องมาตรการความปลอดภัยของประเทศ องค์กรใด ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมของ 2 แบรนด์นี้จะต้องถอดการติดตั้ง อุปกรณ์ 5G ต้องถอดการติดตั้งภายในเดือน มิ.ย. 2024 ส่วนอุปกรณ์ 4G ต้องถอดการติดตั้งภายในปี 2027
แคนาดานับเป็นประเทศที่ 5 ที่ประกาศแบนอุปกรณ์โทรคมนาคมของประเทศจีน ตามหลังสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่สำคัญแคนาดาเคยให้ความร่วมมือกับทางการสหรัฐอเมริกาในการจับกุม Meng Wanzhou ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของ Huawei และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเริ่มมีปัญหา
AIS Business เข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กร ภาคธุรกิจ และ SMEs ผ่านการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เสริมขีดความสามารถด้านการแข่งขัน และเพิ่มศักยภาพการทำงานในด้านต่าง ๆ เพื่อการทรานสฟอร์มภาคธุรกิจเข้าสู่ Digital Process แบบ 100%
นอกจากนี้ AIS Business ยังร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ทั้งในประเทศ และระดับโลก เพื่อสร้างบริการ และโซลูชันด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับองค์กรทุกระดับในประเทศไทย จนองค์กรเหล่านั้นเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรายได้ธุรกิจลูกค้าองค์กรของ AIS เติบโตกว่า 16%
AIS ร่วมกับ Qualcomm และ ZTE ทดสอบการส่งสัญญาณ 5G แบบ NR-DC (New Radio Dual Connectivity) ที่ไซต์ใน จ.นครราชสีมา สามารถสร้างสถิติส่งข้อมูลที่ 8.5Gbps (peak downlink) และ 2.17Gbps (peak uplink) ด้วยอุปกรณ์เครื่องเดียว
การส่งสัญญาณแบบ NR-DC เป็นการใช้คลื่น 2 ย่านความถี่คือ 2.6GHz (ทดสอบด้วยความกว้างคลื่น 100MHz) ร่วมกับ 26GHz (ความกว้างคลื่น 200MHz x4) ร่วมกันเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น ฝั่งอุปกรณ์เครื่องรับเป็นมือถือรุ่นทดสอบ ที่ใช้โมเด็ม Snapdragon X65 5G และฝั่งอุปกรณ์เครือข่ายเป็น ZTE mmWave AAU
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint ออกรายงานภาพรวมการขายสมาร์ทโฟน 5G ทั่วโลก พบข้อมูลน่าสนใจของเดือนมกราคม 2022 โดยสมาร์ทโฟน 5G มีส่วนแบ่ง 51% ของยอดขายสมาร์ทโฟนทั้งหมด แซงสมาร์ทโฟน 4G ได้เป็นครั้งแรก
ตลาดสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของสมาร์ทโฟน 5G คือ จีน อเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก หากดูตัวเลขเฉพาะในจีน ยอดขายสมาร์ทโฟน 5G คิดเป็น 84% ปัจจัยหลักทั้งการผลักดันจากฝั่งผู้ให้บริการเครือข่าย ร่วมกับผู้ผลิตในประเทศที่ต่างทำสมาร์ทโฟน 5G ออกมาในราคาที่น่าสนใจ ส่วนตัวเลขของอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก เป็น 73% และ 76% ตามลำดับ ซึ่งในสองภูมิภาคนี้ แอปเปิลเป็นสมาร์ทโฟน 5G ที่มียอดขายโดดเด่น
จากเหตุความกังวลผลกระทบคลื่น 5G ที่อาจกระทบการบิน ขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ตั้งแต่ปลายปีก่อน ทาง FAA จึงได้จัดทำหน้า 5G and Aviation Safety เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการปรับปรุงมาตราการความปลอดภัยจากประเด็นดัวกล่าว ที่นอกจากข่าวสารและลิงก์เอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีแสดงตำแหน่งสนามบินในสหรัฐอเมริกาที่มักประสบเหตุทัศนวิสัยต่ำและอยู่ในพื้นที่บริการ 5G จำนวน 87 สนามบิน และรายชื่อรุ่นเครื่องบินที่แสดงสัดส่วนจำนวนสนามบินที่อนุญาตให้ลงจอดจากทั้ง 87 สนามบินดังกล่าว
บริษัท AT&T และ Verizon ยอมเลื่อนการขยายเครือข่าย 5G อีกสองสัปดาห์ จากวันที่ 5 มกราคม 2022 ตามคำขอขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จากที่ก่อนหน้านี้ ยอมเลื่อนมาแล้วหนึ่งเดือน
FAA กังวลว่าคลื่นสัญญาณบริการ 5G ที่ใช้คลื่นความถี่ 3.7-3.98 GHz อาจรบกวนคลื่นย่านความถี่ 4.2-4.4 GHz ที่ใช้ในเครื่องวัดระยะสูงด้วยคลื่นวิทยุของเครื่องบิน (radio altimeter) ซึ่งมีความสำคัญเวลาเครื่องบินลงจอด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทัศนวิสัยต่ำหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำนักงานความปลอดภัยนิวเคลียร์และการป้องกันรังสี (Authority for Nuclear Safety and Radiation Protection - ANVS) ของเนเธอร์แลนด์ประกาศเตือนประชาชน ขอให้เลิกสวมใส่เครื่องประดับและเสื้อผ้าหลายรายการที่โฆษณาว่าเอาไว้ป้องกันคลื่น 5G
เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สร้อยข้อมือ, ผ้าปิดตา, สร้อยคอ บางรุ่นเป็นสาย wristband สำหรับเด็ก หลังตรวจสอบพบว่าเครื่องประดับเหล่านี้เจือสารกัมมันตภาพรังสีอยู่จริง และปล่อยรังสีต่ำๆ อย่างต่อเนื่อง แม้รังสีที่ปล่อยออกมาจะต่ำมาก แต่การสวมใส่อย่างต่อเนื่องก็อาจจะทำให้ร่างกายได้รับรังสีเกินระดับปลอดภัยอยู่ดี
ซัมซุงมีชิป Exynos Auto สำหรับตลาดอุปกรณ์แสดงข้อมูลในรถยนต์ (in-vehicle infotainment หรือ IVI) มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ล่าสุดซัมซุงออกชิปใหม่ตระกูล Exynos Auto มาอีก 2 ตัวคือ
Exynos Auto T5123 ไม่ได้เป็นชิปประมวลผลหลัก แต่เป็นชิปส่งข้อมูล (telematics control unit) ที่รองรับ 5G เป็นตัวแรกทั้งแบบ SA และ NSA (ความเร็วดาวน์โหลดสูงสุด 5.1 Gbps) ตัวมันเองมีซีพียู Cortex-A55 สองคอร์, ชิปนำทาง Global Navigation Satellite System (GNSS)
การมาถึงของ Exynos Auto T5123 จะทำให้เราเริ่มเห็นรถยนต์ติด 5G ออกสู่ตลาดกันในไม่ช้า
AWS เปิดบริการ AWS Private 5G เปิดให้ลูกค้าสั่งเสาสัญญาณโทรศัพท์ไปติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการ พร้อมกับเซิร์ฟเวอร์ และซิมการ์ด โดยมีจุดเด่นคือไม่มีค่าแรกเข้าหรือค่าบริการตามจำนวนอุปกรณ์ แต่คิดค่าบริการตามแบนด์วิดท์เน็ตเวิร์คที่ขอไว้ และพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน
การใช้งานสามารถเครือข่าย 5G ส่วนตัว สามารถใช้งานในงานที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง เช่น ระบบควบคุมการเข้าออกพื้นที่ (access control), กล้องวงจรปิด, ระบบควบคุมเครื่องจักร, หรืออุปกรณ์ IoT อื่นๆ
แม้ว่าจะเป็นเสาสัญญาณ 5G ส่วนตัว แต่คลื่นความถี่นั้นจะแชร์กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือปกติ โดย AWS ไม่ได้ระบุว่าใช้คลื่นของผู้ให้บริการรายใดมาให้บริการนี้
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา AIS จัดงานสัมนา 5G for Business is Now เน้นย้ำความสำคัญของ 5G เพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมขีดความสามารถการทำงานของภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคการผลิต โรงงานเครื่องจักร โซลูชัน หรือแม้แต่กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ
AIS พูดถึงความพร้อมทั้งจากการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งในระดับนโยบายการขับเคลื่อนกับภาครัฐ และในระดับของการพัฒนาโซลูชันในด้านต่างๆ กับภาคเอกชน เพื่อติดปีกภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ด้วยเทคโนโลยีจาก AIS 5G ทั้งด้าน Platforms และ Solutions
ปีนี้โทรศัพท์มือถือที่มีเทคโนโลยี 5G เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเยอะแล้วในบ้านเรา ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ แพร่หลายมากขึ้น โดยมีให้ใช้งานกันครบทุกเครือข่าย และในหลายเขตทั้ง กทม. ปริมณฑล และในตัวเมืองต่างจังหวัดหลายจังหวัด
อีกทั้งมือถือที่รองรับ 5G ก็เริ่มราคาถูกลง จนมีมือถือราคาต่ำกว่า 10,000 บาทที่รองรับ 5G หลายรุ่นที่น่าสนใจ อาจถึงเวลาที่หลายๆ คนจะต้องอัพเกรดได้ซะที วันนี้ Blognone จึงนำโทรศัพท์มือถือราคาต่ำกว่า 10,000 บาท ที่รองรับ 5G และมีขายในไทยมา 5 รุ่น และรุ่นที่น่าสนใจ แต่ยังไม่วางจำหน่ายในไทยอีก 1 รุ่น สำหรับผู้ที่ยังพอรอได้อยู่
เครือข่ายยุคก่อนอย่าง 3G ใช้วิธีแยกช่องสัญญาณเสียงและข้อมูลจากกัน แต่พอยุค 4G เป็นต้นมา เทคโนโลยีเครือข่ายเปลี่ยนมาส่งสัญญาณแบบข้อมูลทั้งหมด ทำให้เราเห็นการโทรด้วยเสียงบนเครือข่าย 4G อย่าง VoLTE (Voice over LTE) แบบที่คุ้นเคยกัน
พอมาเป็นยุค 5G ก็มีเทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน กรณีของเครือข่าย 5G ยังแบ่งย่อยเป็น 5G แบบ Non-Standalone (NSA) ที่อิงอยู่บนอุปกรณ์และวิธีส่งสัญญาณของ 4G เดิมบางส่วน และ 5G แบบ Standalone (SA) ที่ใช้อุปกรณ์ของใหม่แยกจาก 4G เลย
กิจกรรมออนไลน์ของคนไทยในช่วงโรคระบาดถือว่ามีความหลากหลาย และใช้กำลังหรือแบนวิดธ์มากขึ้น ทั้งการประชุมออนไลน์ เรียนออนไลน์ หรือแม้แต่ทางเลือกช้อปปิ้งใหม่ๆ อย่างการไลฟ์ขายของ รวมทั้งรับชมความบันเทิงในรูปแบบไลฟ์ในภาวะที่ไม่สามารถจัดคอนเสิร์ตหรืออีเว้นท์ในสถานที่จริงได้
รายงานล่าสุดครึ่งปีหลังปีนี้จาก Global Digital Report 2021 ของ We Are Social และ Hootsuite พบว่าคนใช้มีพฤติกรรมใช้งานโซเชียลถึง 78% เป็นอันดับ 1 ของโลก ใช้งานโซเชียลมีเดีย และช้อปปิ้งออนไลน์ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลจากการล็อกดาวน์จากสถานการณ์โรคระบาด
อีกสถิติที่น่าสนใจคือ เมื่อคนอยู่บ้าน จำนวนเกมเมอร์ก็เพิ่มขึ้นตาม และอุปกรณ์หลักที่คนไทยใช้เล่นเกมคือมือถือ ตัวเลขจาก We Are Social เผยว่าอุปกรณ์หลักที่คนไทยนิยมใช้เล่นเกมคือโทรศัพท์มือถือ 90.7%
AIS Business และ AIS The StartUp จัดงาน NATIONAL DIGITAL CTO FORUM 2022 รวมผู้นำวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยี โอกาสและความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพที่กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สอง
ย้อนกลับไปราวปี 2011 ถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวงการสตาร์ทอัพในไทย เรามองเห็นการจัดการแข่งขันประชันไอเดีย สร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าและสังคม เรามองเห็นการระดมทุนอย่างคึกคักและไทยก็ถือว่ามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในอาเซียนได้
แนวคิดของหน่วยงาน AIS the StartUp เองเริ่มก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงระยะแรกของวงการสตาร์ทอัพพอดี โดยเอไอเอสเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยสินค้าอย่างเดียว แต่ขับเคลื่อนด้วยบริการและต้องเป็นบริการดิจิทัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริหารเริ่มโครงการ Startup ขึ้นมา
จนถึงตอนนี้ผ่านมาสิบปี ก้าวสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพ มีการเปลี่ยนแปลงจากสิบปีที่แล้วอย่างไร และต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างไร Blognone จะพาไปหาคำตอบที่งานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้
บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานตัวเลขคาดการณ์ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ ว่าจะเติบโต 17.3% ในปี 2021 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขในปี 2020 ที่เติบโต 10.8% โดย IDC คาดว่าตลาดจะเริ่มเข้าสู่สมดุลของดีมานด์-ซัพพลาย ตั้งแต่กลางปี 2022 เนื่องจากจะมีกำลังการผลิตที่สูงกว่าความต้องการตลาดอย่างชัดเจนในปี 2023 เป็นต้นไป
ปัจจัยหลักที่ทำให้เซมิคอนดักเตอร์เติบโตมาจากทั้ง สมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค เซิร์ฟเวอร์ ยานยนต์ สมาร์ทโฮม เกม อุปกรณ์ wearable และอุปกรณ์ Wi-Fi รวมไปถึงราคาหน่วยความจำที่เพิ่มสูงขึ้น
AIS เป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกๆ ที่ลงทุนกับเครือข่าย 5G เริ่มต้นเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ เพื่อการใช้งานมือถือที่เร็วและลื่นไหล และชู 5G ว่าเป็นโอกาสสำคัญของเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง AR/VR, IoT, Smart City, Smart Transportation
แต่ในระยะหลังเราเห็นแล้วว่า 5G สามารถนำมาใช้กับกลุ่มธุรกิจองค์กรได้ด้วย Blognone ได้พูดคุยกับคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ถึงประเด็นโลกหลังจากนี้ว่า 5G จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อไป รวมถึงทิศทางของ AIS ในอนาคต
สำนักข่าว The Register รวบรวมข้อมูลแถลงยอดผู้ใช้ของค่ายมือถือใหญ่ในประเทศจีนสามค่ายเมื่อวานนี้ เพื่อสรุปยอดผู้ใช้เครือข่าย 5G ในประเทศจีน พบว่ามีจำนวนถึง 495 ล้านคน แบ่งเป็นค่าย China Mobile 251 ล้านคน, China Unicom 113 ล้านคน และ China Telecom 131 ล้านคน เพิ่มขึ้น 172.7 ล้านคนในครึ่งปีแรกของปี 2021
ทั้งสามค่ายยังระบุว่าเพิ่มเสาสัญญาณสัญญาณ 5G ใหม่เป็นจำนวนมาก โดย China Mobile ระบุว่ามีเพิ่มถึง 111,000 ต้น ใน 6 เดือน แต่เนื่องจาก China Unicom และ China Telecom ใช้เสาส่งสัญญาณร่วมกัน และรายงานตัวเลขเสาส่งสัญญาณใหม่เท่ากันที่ 80,000 ทำให้หายอดรวมจริงได้ยาก แต่ไม่น่าต่ำกว่า 1.9 แสนต้น
ที่ผ่านมา AIS ผลักดันการใช้งาน 5G ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ซึ่งเป็นภาคส่วนที่จะได้ผลประโยชน์จากการใช้เครือข่าย 5G มากที่สุด จากรายงานของ Author D. Little พบกรณีศึกษาการใช้งาน 5G ในอุตสาหกรรมการผลิตถึง 49% และมีการคาดการณ์ด้วยว่า 5G จะสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับองค์กรทั่วโลกได้มากถึง 475 ล้านเหรียญภายในปี 2025
ไทยเองถือเป็นหนึ่งในฐานการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญ และเพื่อให้ไทยยังสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก จำเป็นต้องปฏิวัติ ยกระดับวงการอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี
และถือเป็นก้าวสำคัญเมื่อ AIS Business ลงนามความร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ TKK Corporation ร่วมกันนำเสนอโซลูชัน e-F@ctory บนเครือข่าย AIS 5G เพื่อนำมาใช้งานจริง
AIS ลงนามบันทึกความเข้าใจกับ OMRON ผู้ให้บริการระบบควบคุมอัตโนมัติ เทคโนโลยีเซนเซอร์ กล้องอุตสาหกรรม และระบบหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ เพื่อเสนอโซลูชั่นสำหรับภาคอุตสาหกรรมให้สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุค Smart Manufacturing ที่โรงงานอุตสาหกรรมจะสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติไร้สาย, การเชื่อมต่อกับคลาวด์ เข้ามาช่วยให้โรงงานสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
MediaTek ออกชิป SoC ซีรีส์ Kompanio รุ่นใหม่ที่เน้นใช้งานกับแท็บเล็ตและ Chromebook ที่รองรับ 5G โดยชิปรุ่นใหม่ Kompanio 1300T ใช้กระบวนการผลิต 6nm TSMC มีสเปกดังนี้
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 เรามองเห็นความเคลื่อนไหวของซีพีในการใช้ทรัพยากรที่มี สร้างโซลูชันเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤตมาโดยตลอด ยกตัวอย่างเช่น การใช้ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบคุณภาพหน้ากากอนามัยที่เครือซีพีตั้งโรงงานผลิตเพื่อส่งมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้เปราะบางตั้งแต่โควิดรอบแรกจนถึงปัจจุบัน
วิกฤตโควิดรอบนี้ เครือซีพีผนึกกำลังกับบริษัทในเครือร่วมทำโครงการซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19 สนับสนุนภารกิจโรงพยาบาลสนาม โดย Blognone ได้พูดคุยกับ คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เกี่ยวกับการผนึกกำลังของซีพีและทรู ร่วมนำทรัพยากรและเทคโนโลยีมาสนับสนุนภารกิจภาคสาธารณสุข อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เสริมประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และช่วยเหลือคนไทยให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ในสถานการณ์โควิด-19
บริษัทวิจัยตลาด Strategy Analytics รายงานภาพรวมการส่งมอบสมาร์ทโฟน 5G ในไตรมาสที่ 1 ปี 2021 จำนวนส่งมอบรวม 136 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2020 ตลาดที่มีความต้องการสินค้าสูงได้แก่ จีน อเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามยี่ห้อ แอปเปิลมาเป็นอันดับ 1 ที่ 40.4 ล้านเครื่อง (29.8%) แต่ลดลงจากไตรมาส 4/2020 ที่ขายได้ 52.2 ล้านเครื่อง ตามด้วย OPPO, vivo, ซัมซุง และ Xiaomi ในลำดับที่ 2-5 ซึ่งทั้งหมดมีจำนวนส่งมอบเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2020
AIS Business จัดงาน AIS Business Digital Future 2021 - Your Trusted Smart Digital Partner งานสัมมนาออนไลน์ครั้งใหญ่ประจำปี พูดคุยเทรนด์เทคโนโลยีที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรม บทความที่แล้ว Blognone ได้สรุปส่วนหนึ่งจากงานสัมมนาในหัวข้อ 5G กับการเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมสู่ Smart Manufacturing 4.0
อีกหัวข้อยังคงเน้นเรื่อง 5G ในหัวข้อ Is 5G Ready for Smart Manufacturing: How does 5G Transform the Factory Automation มาเจาะรายละเอียดเพิ่มเติมว่า 5G มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านใดบ้าง และยกกรณีตัวอย่างเครือข่าย 5G ของ AIS ที่ใช้งานจริงแล้วในโรงงานไทยอย่าง Bosch, SNC Former
ผู้เข้าร่วมบรรยายในหัวข้อนี้คือ กรรณิกา ตันติการุณย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสำหรับธุรกิจองค์กร AIS และ จรัญ สินสวัสดิ์มงคล ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงข่ายอนาคต AIS