ฟีเจอร์ใหม่ของ Android P ที่ถูกพูดถึงกันมากคือ Navigation แบบใหม่ ที่เปลี่ยนจาก 3 ปุ่มมาตรฐาน ไปใช้ท่า gesture ปัดขึ้นแทน ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก ทั้งในโลกของผู้ใช้ Android เอง และในแง่ว่าลอก iPhone X หรือไม่
ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับ David Burke หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม Android (คนที่ออกมาเดโม Android P) และได้ฟังเขาอธิบายถึงที่มาที่ไปในประเด็นนี้
หลังมีภาพ Dongle ใหม่ของ Google หลุดออกมาจาก FCC ล่าสุด Google ได้เปิดตัว Dongle ใหม่นี้แล้วในงาน Google I/O 2018 ในชื่อ ADT-2 ซึ่งเป็น Android TV Dev Kit และ Reference Design ในตัว
Google ไม่ได้บอกสเปคบอก ADT-2 แต่ขนาดของจริงใกล้เคียงกับ Chromecast Ultra มาพร้อมรีโมทและน่าจะรันดวย Android P เมื่ออุปกรณ์ตัวจริงเริ่มวางจำหน่าย ซึ่ง Google บอกว่าน่าจะมาในช่วงปลายซัมเมอร์นี้ (ใกล้ๆ กับช่วงที่น่าจะปล่อย Android P ตัวเต็ม)
ที่มา - Android Central
โพสต์นี้เป็นการรวมของใหม่ใน Android P ทั้งหมด ที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O 2018 นะครับ (หลายอันเขียนเป็นข่าวไปแล้วแต่นำมารวมไว้เป็นบทความเดียวอีกทีหนึ่ง)
ฟีเจอร์ใหม่ของ Android P ถูกแบ่งออกเป็น 3 หมวดคือ Intelligence, Simplicity และ Digital Wellbeing มีรายละเอียดดังนี้
กูเกิลปล่อย Android Studio 3.2 ให้ทดสอบพร้อมของใหม่ๆ ที่ประกาศในงาน Google I/O 2018 โดยสถานะตอนนี้ยังเป็นรุ่น canary และต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าจะเป็น stable
ของใหม่ที่มีใน Android Studio 3.2 ได้แก่ ปรับเวอร์ชันมาใช้ IntelliJ IDEA 2018.1.1 เป็นฐาน, Slices, AndroidX, Android Jetpack, App Bundle
ฟีเจอร์ใหญ่ที่น่าสนใจคือ Navigation Editor ช่วยให้เราเห็นภาพการนำทาง (navigation) ในแต่ละหน้าจอของแอพ ว่ากดจากหน้าจอไหนแล้วจะไปโผล่หน้าจอไหน
ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจใน Android P สำหรับนักพัฒนาแอพคือ Slices และ App Actions ที่มาพร้อมแนวคิดใหม่ว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้งานแอพทั้งตัวก็ได้
Slices และ App Actions ออกแบบมาเพื่ออนาคตที่เราทำงานต่างๆ ผ่าน Google Assistant มากกว่าเรียกแอพขึ้นมาตามปกติ ทำให้นักพัฒนาสามารถ "หั่น" (slice) หน้าจอบางส่วนมาแสดงในหน้าจอของ Google Assistant ได้
กูเกิลเปิดตัว Android Jetpack เป็น "ชุด" เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา Android ที่คอยอำนวยความสะดวกให้การพัฒนาแอพสะดวกขึ้น
Jetpack ไม่ใช่ของใหม่ซะทั้งหมด หลายอย่างมีในโลกของ Android มานานแล้ว (เช่น Fragment/Layout) แต่ถูกนำมาจัดชุดใหม่ให้อยู่ภายใต้แบรนด์เดียว แต่ก็มีของใหม่บางอย่างเพิ่มเข้ามา เช่น Kotlin Extension (KTX) หรือ Slices ที่เป็นแนวคิดใหม่ใน Android P
Android Jetpack ประกอบด้วยคอมโพเนนต์ (components) เครื่องมือ (tools) และคำแนะนำในเชิงสถาปัตยกรรม (architectural guidance) ถ้าอิงตามการแบ่งหมวดของกูเกิลเองจะมี 4 หมวดคือ พื้นฐาน (fundamental) สถาปัตยกรรม (architecture) พฤติกรรม (behavior) และ UI
กูเกิลโชว์เทคนิคใหม่สำหรับการจัดแพ็กเกจ Android ช่วยให้ขนาดไฟล์ APK ลดลงได้สูงสุดถึง 50%
เทคนิคใหม่เรียกว่า Android App Bundle หลักการของมันคือ Dynamic Delivery ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์เฉพาะส่วนที่ต้องใช้เท่านั้น ไม่ต้องโหลด APK ทั้งก้อนที่มีส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน (เช่น ไฟล์ที่คอมไพล์มาสำหรับสถาปัตยกรรมอื่น) แถมยังสามารถดาวน์โหลดส่วนอื่นเข้ามาภายหลังได้เมื่อต้องใช้งาน
ในมุมของนักพัฒนาก็ทำงานง่ายขึ้น เพราะสร้างไฟล์ทั้งหมดชุดเดียว สร้าง APK ไฟล์เดียว ไม่ต้องสร้าง APK หลายชุดสำหรับการใช้งานแต่ละแบบ ที่เหลือนั้น Google Play จัดการต่อให้เราเอง
ในยุคสมัยที่อะไรๆ ก็ชื่อลงท้ายด้วย X กูเกิลเองก็เลยมี AndroidX กับเขาด้วย แต่มันไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด เพราะเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Android Support Library ที่นักพัฒนาแอพส่วนใหญ่ใช้งานอยู่แล้ว
ชื่อ AndroidX มาจากคำว่า Android extension libraries ส่วนเหตุผลที่ต้องมีชื่อใหม่ก็เพราะว่าไลบรารีในชุด Android Support Library งอกมาเพิ่มเรื่อยๆ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา จนทำให้นักพัฒนาเริ่มสับสนว่าต้องเรียกใช้ไลบรารีตัวไหนกันแน่ (ที่ชื่อดันแตกต่างกันด้วย)
กูเกิลเลยจัดระเบียบชื่อทั้งหมดใหม่ให้อยู่ภายใต้ชื่อ androidx ดังนั้นเวลาอ้างอิง namespace ในโค้ดก็จะขึ้นต้นด้วย androidx.* แทนของเดิมที่เป็น android.* (แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่ย้ายไปอยู่ใต้ androidx)
ตัวอย่าง
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าฟีเจอร์ Hyper-V บน Windows 10 รองรับ Android Emulator แล้ว ผลคือการรันอีมูเลเตอร์บนวินโดวส์จะเร็วกว่าเดิมจากการเร่งความเร็วที่ระดับฮาร์ดแวร์ ไม่อืดอาดแบบในอดีต
การใช้งานจำเป็นต้องอัพเกรด Windows 10 เป็น April 2018 Update ก่อน และเปิดใช้งาน Hyper-V จากหน้า Windows Feature, ติดตั้ง Visual Studio Tools for Xamarin preview และใช้งาน Android Emulator เวอร์ชัน 27.2.7 ขึ้นไป
ที่มา - Visual Studio Blog
นอกจากข่าวมือถือหลายค่ายจะได้ Android P Beta แล้ว กูเกิลยังประกาศข่าวว่าฟีเจอร์ Google Lens จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแอพกล้องในมือถืออีกหลากหลายค่ายด้วย
ผู้ผลิตมือถือที่มีชื่อปรากฏได้แก่ LG, Motorola, Xiaomi, Sony, Nokia, Transsion, TCL, OnePlus, BQ, ASUS
ที่ผ่านมา Google Lens อยู่ในแอพ Google Photos ทำให้ผู้ใช้หลายคนอาจไม่รู้จักวิธีใช้งาน แต่การที่ Google Lens จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของแอพกล้องหลักของเครื่อง น่าจะทำให้การใช้งานแพร่หลายขึ้นอีกมาก
หลังจากที่ประกาศว่ามือถือที่ได้รับ Android P Beta จะไม่ได้มีเพียงแค่ Pixel ล่าสุด Google ประกาศรายชื่อของรุ่นโทรศัพท์ที่รองรับ Android P Beta เป็นที่เรียบร้อย โดยมีรายชื่อรุ่นดังนี้
ในโทรศัพท์บางรุ่น กระบวนการติดตั้ง Android P Beta จำเป็นจะต้องใช้การแฟลชรอมผ่าน ADB และไม่สามารถอัพเดตผ่าน OTA โดยปกติได้
วันนี้กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Android P ที่กำลังจะออกมาภายในปีนี้ โดยกูเกิลประกาศปล่อย Android P Beta รุ่นต่อจากรุ่นพัฒนาแรกที่ปล่อยออกมาเมื่อเดือนมีนาคม ความพิเศษของปีนี้คือ Android P Beta จะปล่อยให้กับโทรศัพท์ Android Oreo หลายแบรนด์พร้อมๆ กันหมดตั้งแต่วันนี้ ได้แก่ Pixel, Nokia, Xiaomi, Oneplus, Vivo, Sony, Essential, และ Oppo
พบกันเป็นประจำทุกเดือนครับ ครั้งนี้ออกก่อนงาน Google I/O หนึ่งวันพอดี รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนพฤษภาคม 2018 แพตช์รอบนี้เป็นแบบตามปกติมี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 พ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน ชุด 5 พ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 พ.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 พ.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 7 จุด (CVE) ส่วนแพตช์ 5 พ.ค. แก้เพิ่มอีก 16 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, NVIDIA โดยในจำนวนนี้มีระดับร้ายแรง 2 จุด
สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus มีแพตช์ความปลอดภัยเพิ่มอีกถึง 34 จุดและปรับปรุง multi-touch สำหรับทุกรุ่น และเฉพาะบน Pixel XL จะแก้ปัญหาการดึงกระแสเกินเวลาชาร์จไฟ
Volvo ประกาศเป็นพันธมิตรกับ Google ในการนำระบบแอนดรอยด์มาใช้งานบน Infotainment ในรถยนต์รุ่นใหม่ของ Volvo ซึ่งจะมาพร้อม Google Assistant, Google Maps, Google Play และสารพัดแอปที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับใช้งานบนรถยนต์
ระบบ Infotainment ที่ Volvo พัฒนาร่วมกับ Google จะทำให้ผู้ใช้รถสามารถใช้งานได้เป็นอิสระจากสมาร์ทโฟน ไม่เหมือน Android Auto ที่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน โดย Volvo ระบุว่ารถยนต์รุ่นแรกที่มาพร้อมแอนดรอยด์ จะมาในอีกหนึ่งถึงสองปี
ที่มา - Volvo
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ Windows 10 โดยฟีเจอร์ Timeline ของ Windows 10 April 2018 Update จะซิงก์กับอุปกรณ์ iOS/Android ได้ด้วย ช่วยให้ผู้ใช้เห็นประวัติการทำงานแบบข้ามอุปกรณ์
วิธีการต่อเชื่อมมือถือเข้ากับ Windows 10 จะต่างกันอยู่บ้าง โดยฝั่ง iOS จะทำผ่านแอพ Microsoft Edge แต่ของ Android จะเป็นแอพ Microsoft Launcher แทน (ต้องอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดด้วย) จากนั้นเราจะเห็นประวัติการท่องเว็บบนมือถือ โผล่ขึ้นมาใน Timeline บนพีซี
Chainfire นักพัฒนาชื่อดังในโลกของ Rooted Android ผู้สร้างชื่อจากแอพ SuperSU (แต่ก็ยังมีผลงานทำแอพอื่นๆ อีกมาก) ประกาศเลิกทำงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการ root เครื่องแล้ว
Chainfire ประกาศหยุดพักงานเกี่ยวกับ Android และ SuperSU เมื่อครึ่งปีก่อน เพื่อทบทวนว่าเขาอยากทำอะไรต่อไป หลังเวลาผ่านมาครึ่งปี เขาพบว่าตัวเองไม่อยากกลับมาทำงานเดิมๆ ต่ออีก จึงตัดสินใจประกาศหยุดยุ่งเกี่ยวกับงานเหล่านี้
ผลคือในอีกไม่ช้า แอพบางตัวของ Chainfire จะหายไปเลย บางตัวจะขึ้นข้อความเตือนว่าหยุดพัฒนาและไม่อัพเดตแล้ว แต่เขาก็ยังไม่ได้บอกรายละเอียดว่าตัวไหนบ้าง
Chainfire ระบุว่าตอนนี้เขากำลังทำโครงการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Android และไม่เปิดเผยว่าเป็นโครงการอะไร
ปกติแล้วอุปกรณ์ Android ที่ต้องการใช้แบรนด์ Android ทำตลาด และต้องการพรีโหลดแอพของกูเกิล (Google Mobile Services) จำเป็นต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน Compatibility Test Suite (CTS) และได้การรับรองจากกูเกิลก่อนเสมอ
ล่าสุดเว็บไซต์ XDA รายงานข่าวว่ากูเกิล "ปิด" การรับรอง Android 7.0 Nougat ไปแล้วเมื่อสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้อุปกรณ์ Android ที่จะวางขายนับจากช่วงนี้เป็นต้นไป จะต้องเป็น Android 8.x Oreo เท่านั้น ([รายชื่ออุปกรณ์ที่ผ่านการรับรอง สามารถดูได้จาก Supported devices)
นอกจาก Xiaomi Mi A1 แล้วดูเหมือน Xiaomi มีแผนพัฒนาสมาร์ทโฟน Android One อีกหลายรุ่น ซึ่ง Lei Jen ซีอีโอระบุว่ามี Redmi แน่ๆ 1 รุ่น
ซีอีโอ Xiaomi ให้เหตุผลว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ใช้ในอินเดีย (ที่ Xiaomi เป็นเบอร์ 1) ชอบแอนดรอยด์สต๊อครอม ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นคงต้องรอติดตามกันต่อไปครับ
ที่มา - XDA
ASUS เปิดตัว Zenfone Max Pro (M1) มาตั้งแต่ปีที่แล้ว (อ่านรีวิวได้ที่นี่) ล่าสุดเปิดตัวอีกรุ่น แต่รันด้วย Android Oreo รุ่นไม่ปรับแต่ง โดยทาง ASUS รับรองการอัพเดตถึง Android Q ด้วย ถึงแม้รุ่นนี้จะไม่ได้เข้าโครงการ Android One ก็ตาม
ส่วนสเปคก็มีการอัพเดตจากปีที่แล้วให้ หน้าจอ 6 นิ้ว ความละเอียด 2160x1080 ชิปเซ็ต Snapdragon 636 กล้องหลัง 13+5 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 8 ล้าน แบตเตอรี่ยังจัดเต็มเหมือนเดิมที่ 5,000 mAh พร้อมเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
ในยุคสมัยหนึ่ง Motorola คือมือถือ Android ที่ได้รับอัพเดตรวดเร็ว แต่ดูจะไม่ใช่ยุคสมัยนี้แล้ว เพราะมือถือที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง Moto E5 และ Moto G6 ประกาศชัดเจนเรื่องการอัพเดต (ที่อาจไม่ค่อยมี)
ที่แย่หน่อยคือน้องเล็ก Moto E5 มาพร้อม Android Oreo และไม่การันตีว่าจะได้อัพเกรดข้ามเวอร์ชันใหญ่เป็น Android P ซึ่งประกาศลักษณะนี้เป็นที่รู้กันว่า "ไม่ได้อัพเกรด" นั่นเอง
ส่วน Moto G6 ได้รับการการันตีว่าจะได้ Android P แต่รอบการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยจะไม่ใช่รายเดือน เป็นทุก 60-90 วันแทน (คล้ายกับมือถือของซัมซุงรุ่นล่าง ที่ได้เป็นรายไตรมาสแทนรายเดือน)
Google เป็นหนึ่งในบริษัทที่พยายามผลักดันเทคโนโลยี Rich Communication Services (RCS) ให้แทนที่ SMS มาหลายปีและล่าสุดก็พยายามจะผลักดันให้แพร่หลายมากขึ้น ด้วยการนำ RCS มาใช้แทนที่ SMS บนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ในอนาคตอันใกล้
แอปที่ใช้ RCS จะถูกเรียกว่า Chat และแทนที่ Android Message ในฐานะแอปดีฟอลต์สำหรับส่งข้อความบนแอนดรอยด์ (ซึ่งอาจมีเวอร์ชันบนเว็บด้วย) โดย RCS มีฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างแชทกลุ่ม, ขึ้นแจ้งว่าข้อความถูกอ่าน, สัญลักษณ์บอกว่าอีกฝ่ายกำลังพิมพ์, วิดีโอคอลล์และแชร์ไฟล์ ฯลฯ
คืน 19 เม.ย. 61 บุพเพสันนิวาสตอนสุดท้ายยังไม่ทันจบ Moto Z มีข้อความแจ้งเตือนให้ปรับปรุงระบบเป็น Android 8.0 Oreo ขนาด 1404.3 MB
หลังจากปรับปรุงระบบเรียบร้อยแล้ว ปุ่มกดเรียกหน้าแสดง Apps บนแถบ Favorites tray ด้านล่างจะหายไป โดยถูกแทนที่ด้วยไอคอน apps 5 อัน และมีลูกศรเพื่อให้ลากขึ้น หรือกดเพื่อแสดงหน้ารวม apps
นอกจากนั้นยังสามารถนำแถบค้นหาของ Google ออกจากหน้าจอได้ด้วย เชื่อว่าคงถูกใจคนที่ไม่ค่อยได้ใช้แถบค้นหานี้ และชอบที่จะได้เห็นภาพพื้นหลังโดยไม่มีอะไรมารกตา
Google ใส่ Safe Browsing เข้ามาใน WebView ตั้งแต่ Android Oreo ด้วยเอนจินต์เดียวกับที่ใช้บน Chrome ทำให้นักพัฒนาแอปสามารถเลือกเปิด Safe Browsing บน WebView ได้
แต่ล่าสุด Google ระบุว่า Safe Browsing จะเปิดเป็นค่าดีฟอลต์ใน WebView เวอร์ชัน 66 เท่ากับแอปบนแอนดรอยด์ที่มีการเชื่อมต่อเว็บจะถูกกรองผ่าน Safe Browsing ให้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามนักพัฒนาแอปยังสามารถปิดได้ผ่าน API และสามารถทดสอบ Safe Browsing บน WebView Beta ได้ด้วย URL chrome://safe-browsing/match?type=malware
Amazon เปิดตัวเว็บเบราว์เซอร์บนแอนดรอยด์อย่างเงียบๆ ในชื่อ Internet ซึ่ง Amazon คุยว่าเร็ว, เบาและเป็นส่วนตัว ด้วยขนาดแอปเพียง 2MB โดยตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดเฉพาะในอินเดียเท่านั้น รองรับแอนดรอยด์ 5.0 ขึ้นไป
Amazon ระบุในคำบรรยายแอปว่า Internet จะไม่มีการขอ permission หรือเก็บข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เหมือนเบราว์เซอร์อื่นๆ ขณะที่หน้าแรกของ Internet ค่อนข้างคล้าย Chrome บนแอนดรอยด์ คือมีตัวเลือกหน้าเว็บและ Trending News มาให้
ที่มา - Google Play via TechCrunch
จากประเด็น สหรัฐแบน ห้ามบริษัทอเมริกันค้าขายกับ ZTE อาจกลายเป็นปัญหาของสมาร์ทโฟนยี่ห้อ ZTE ที่ไม่มีสิทธิใช้ระบบปฏิบัติการ Android
เหตุผลก็ตรงไปตรงมาว่า Android เป็นของกูเกิลที่เป็นบริษัทอเมริกัน และถ้าคิดตามตรรกะนี้ ZTE ก็หมดสิทธิใช้งานระบบปฏิบัติการสัญชาติอเมริกันตัวอื่นๆ ด้วย (ทางออกที่พอเป็นไปได้คือ Tizen ของซัมซุง)
ปัญหานี้ยังไม่ชัดเจนนักว่าหมายถึง Google Android เพียงอย่างเดียวหรือไม่ และ ZTE มีสิทธิใช้ Android เวอร์ชันโอเพนซอร์ส (AOSP) หรือ Android เวอร์ชันจีนอื่นๆ (เช่น MIUI) แทนหรือไม่