กูเกิลประกาศออก Android O Developer Preview 2 ซึ่งมีฟีเจอร์เพิ่มจาก Preview 1 ที่เปิดตัวไปก่อนแล้วในเดือนมีนาคม ผู้ใช้สามารถทดสอบได้แล้วผ่านโครงการ Android Beta บน Nexus 5X, 6P, Nexus Player, Pixel, Pixel XL, Pixel C
ของใหม่ใน Preview 2 มีดังนี้
กูเกิลเปิดตัวบริการความปลอดภัยแบรนด์ Google Play Protect สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Google Play
กูเกิลมีบริการความปลอดภัยหลายอย่างบน Google Play มานานแล้ว เช่น การสแกนหาแอพอันตรายที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องแล้วลบออกให้อัตโนมัติ และบริการตามหาเครื่อง-ควบคุมจากระยะไกล Find My Device เป็นต้น
คราวนี้กูเกิลนำบริการเหล่านี้มาจัดเป็นชุดรวมกันให้เห็นชัดๆ ภายใต้แบรนด์ Protect เพื่อให้ผู้ใช้เห็นการทำงานของระบบความปลอดภัยมากขึ้น อย่างใน Play Store เองก็จะแสดงสถานะการสแกนเหมือนกับที่เราเห็นในโปรแกรมแอนตี้ไวรัสทั่วไป
ผู้ที่ใช้งาน Google Play อยู่แล้วจะได้รับการคุ้มครองจาก Google Play Protect โดยอัตโนมัติ
กูเกิลเปิดตัว Android Go โครงการพัฒนาให้แพลตฟอร์ม Android ใช้งานได้ดีขึ้นบนสมาร์ทโฟนราคาถูก ที่มีแรม 1GB หรือน้อยกว่านั้น
Android Go ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
กูเกิลประกาศยอดอุปกรณ์ที่ใช้งาน Android เป็นประจำทุกเดือน (monthly active devices) ว่าทะลุหลัก 2 พันล้านเครื่องแล้ว
ตัวเลข 2 พันล้านส่งผลให้ Android กลายเป็นแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (iOS เคยประกาศยอดขายรวมเกิน 1 พันล้านเครื่อง แต่ไม่ใช่ active devices ส่วน Windows 10 มีอุปกรณ์ที่ใช้งานประจำ 500 ล้านเครื่อง)
กูเกิลเคยประกาศยอดผู้ใช้ 1 พันล้านคนในงาน Google I/O 2014 และ 1.4 พันล้านคนในเดือนกันยายน 2015
ถัดจากสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตอนนี้แอนดรอยด์ได้กลายมาเป็นระบบปฏิบัติการบนรถยนต์แล้ว นำโดย Volvo และ Audi ที่ประกาศจะนำแอนดรอยด์มารันบน Audi Q8 และ Volvo V90
ความแตกต่างจาก Android Auto คือไม่ใช่เพียงอินเทอร์เฟสที่เชื่อมกับสมาร์ทโฟน แต่เป็นระบบปฏิบัติการที่ควบคุมทั้งรถยนต์ ตั้งแต่แอพพลิเคชันผ่านหน้าจอคอนโซลกลาง, ระบบ Infotainment ไปจนถึงระบบแอร์, ซันรูฟ, หน้าต่างและระบบปรับเบาะ พร้อม Google Assistant ภายในรถยนต์ด้วย
Google จะโชว์พร้อมพูดถึงรายละเอียดของความร่วมมือนี้เพิ่มเติมในงาน Google I/O นี้
ที่มา - The Keyword
ปัญหาแอนดรอยด์ได้รับอัพเดตช้าเป็นปัญหาเรื้อรังต่อเนื่องมาหลายปี สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ใช้ที่ไม่ได้รับแพตช์ใหม่ๆ ทั้งที่ช่องโหว่ถูกเปิดเผยออกไปแล้วหลายเดือน ตอนนี้กูเกิลก็เปิดเผย Project Treble แยกชั้นฮาร์ดแวร์ออกจากชั้นแอนดรอยด์เอง
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนพฤษภาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 พ.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 พ.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 พ.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 พ.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 20 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 พ.ค. แก้เพิ่มอีก 98 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, MediaTek, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
Google ประกาศอัพเดต GBoard แอพคีย์บอร์ดของ Google เพิ่มโหมดใหม่ 2 โหมดคือโหมดปรับแต่งข้อความและปรับตำแหน่งรวมถึงขนาดของคีย์บอร์ด
โหมดใหม่ทั้งสองโหมดนี้เข้าถึงได้จากการกดสัญลักษณ์ G ด้านบนซ้ายของคีย์บอร์ด โดยโหมดปรับแต่งข้อความจะมีลูกศร 4 ทิศ ปุ่มเลือก (Select) รวมถึง Select All, Copy และ Paste มาให้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไข เลือกคำที่จะลบหรือก๊อปปี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่วนการปรับคีย์บอร์ด จากเดิมที่ GBoard รองรับขยับคีย์บอร์ดไปด้านซ้ายหรือขวา อย่างใดอย่างหนึ่ง ตอนนี้ผู้ใช้สามารถเลือกตำแหน่งให้คีย์บอร์ดอยู่ส่วนไหนก็ได้ในครึ่งล่างของหน้าจอ ไปจนถึงขนาดที่ต้องการได้อย่างอิสระ
หลังผู้ใช้งาน Instagram มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกว่า 80% เป็นผู้ใช้นอกสหรัฐและส่วนหนึ่งก็อยู่ในกลุ่มประเทศที่ดาต้ามีราคาค่อนข้างสูง ทางเฟซบุ๊กจึงเปิดตัวออฟไลน์โหมดบนแอนดรอยด์ สำหรับผู้ใช้กลุ่มนี้โดยเฉพาะ
เมื่ออยู่ในโหมดออฟไลน์ ผู้ใช้จะยังสามารถดูรูปภาพและคอนเทนท์ต่างๆ ที่พรีโหลดเอาไว้แล้วได้ตามปกติ สามารถคอมเมนท์ กดไลค์ เซฟภาพหรือวิดีโอหรือแม้แต่อันฟอลโลวผู้ใช้คนอื่น ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะถูกซิงก์เข้าเซิร์ฟเวอร์เมื่อผู้ใช้ต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ฟีเจอร์นี้เปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงก่อนเท่านั้น ก่อนที่จะปล่อยอัพเดตจริงในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่เวอร์ชัน iOS ก็มีอยู่ในแผนของเฟซบุ๊กด้วย
Elena Kovakina พนักงานในทีมความปลอดภัย Android ของกูเกิล ไปพูดที่งานสัมมนาของ Kaspersky เล่าว่ากูเกิลเก็บรวบรวม ransomware บน Android กว่า 50,000 ตัวอย่าง (คิดเป็น 30 ตระกูลมัลแวร์) เพื่อนำไปศึกษาพฤติกรรมของมันว่าทำงานอย่างไร
สิ่งที่กูเกิลสนใจคือ ransomware เหล่านี้มีพฤติกรรมอย่างไร เจาะเข้ามาทาง API ตัวไหน เพื่อว่ากูเกิลจะได้อุดช่องโหว่เหล่านั้น และที่ผ่านมา ระบบความปลอดภัยของ Android ก็พัฒนาขึ้นเพราะการศึกษามัลแวร์เหล่านี้ด้วย
Elena บอกว่าเป้าหมายของกูเกิลคือทำให้ต้นทุนการพัฒนามัลแวร์มีราคาแพงขึ้น ทำได้ยากขึ้น (making malware for Android should be hard) เพื่อลดแรงจูงใจของแฮ็กเกอร์ผู้สร้างมัลแวร์ลง เนื่องจากไม่คุ้มค่าเหนื่อย
หลัง HMD Global กลับมาชุบชีวิต Nokia ในร่างแอนดรอยด์ใหม่ ที่มาพร้อมกับ Pure Android ซึ่งประเด็นนี้เองที่ทาง HMD จะใช้เป็นจุดเด่นและยุทธศาสตร์ในการขายแบรนด์ Nokia
HMD Global เปิดเผยว่าได้ร่วมมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google เพื่อรับประกันประสบการณ์การใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บน Nokia ที่จะเหมือนกับ Nexus ไม่ว่าจะเป็นความเป็น Pure Android, ราคาที่เอื้อมถึง, และได้รับการอัพเดตอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่แพทช์ความปลอดภัยที่ผู้บริหาร HMD บอกว่าจะปล่อยอัพเดตให้ทันทีที่ Google ปล่อยแพทช์ออกมา
นอกจากแอนดรอยด์แล้ว HMD ยังจะดึงเอา Google Cloud มาใช้บน Nokia ด้วย แต่รายละเอียดคงต้องรอการประกาศต่อไป
ดีแทคเปิดตัวมือถือแบรนด์ dtac Phone ใหม่ 3 รุ่นคือ S3, T3, X3 ชูจุดเด่นว่ารองรับ 4G VoLTE, ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 7.0 รุ่นล่าสุด และได้รับการันตีคุณภาพซอฟต์แวร์จากกูเกิล
ผมสอบถามไปยังดีแทค และได้รับการชี้แจงว่า ตัวรอมของ S3/T3/X3 ผ่านการรับรองจากกูเกิล (เข้าใจว่าหมายถึง Compatibility Test Suite (CTS)) สามารถติดตั้งแอพจากกูเกิล (ต้นฉบับใช้คำว่า Google-certified applications) พร้อมทำตลาดด้วยโลโก้กูเกิลได้ แต่ยังไม่ถึงขั้นได้รับอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยหรืออัพเดตเวอร์ชันโดยตรง เหมือนกับสมาร์ทโฟนกลุ่ม Android One/Nexus/Pixel
กูเกิลประกาศตั้งกลุ่ม Android Networked Cross-License หรือ PAX ร่วมกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android หลายราย นำสิทธิบัตรมากองรวมกันเพื่อใช้เป็นอาวุธตอบโต้การฟ้องร้อง
บริษัทที่เข้าร่วมในตอนนี้คือ Samsung, LG, HTC, Foxconn, HMD Global และผู้ผลิตรายย่อยอย่าง Coolpad, BQ, Allview รวมสิทธิบัตรกันได้แล้ว 230,000 รายการ กูเกิลยังเชิญชวนให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ เข้าร่วมกลุ่มเพื่อสร้างคลังสิทธิบัตรขนาดใหญ่ ให้ความคุ้มครองสมาชิกร่วมกัน
StatCounter ผู้ให้บริการเก็บสถิติผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรายใหญ่ ประกาศว่าสัดส่วนการใช้งาน Android แซงหน้า Windows ได้เป็นครั้งแรกแล้ว
ตัวเลขของ StatCounter นับรวมอุปกรณ์ทุกประเภท ทั้งพีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน โดยนับเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตจริง (ไม่ได้นับตามจำนวนอุปกรณ์) ผลคือเดือนมีนาคม 2017 สัดส่วนการใช้งาน Android อยู่ที่ 37.93% ส่วน Windows อยู่ที่ 37.91%
อัตราการเติบโตของ Android ถือว่ารวดเร็วมาก เมื่อ 5 ปีก่อนเพิ่งมีส่วนแบ่งแค่ 2.4% เท่านั้น
ส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการ แปรผันตามภูมิภาคด้วย ในอเมริกาเหนือ Windows ยังมีส่วนแบ่งถึง 39.5% ตามด้วย iOS 25.7% ส่วน Android ตามมาอันดับสามที่ 21.2% แต่ในเอเชีย Android มีส่วนแบ่งถึง 52.2% ส่วน Windows อยู่ที่ 29.2%
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนเมษายน 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 เม.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 เม.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 เม.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 เม.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 23 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 6 จุด ส่วนแพตช์ 5 เม.ย. แก้เพิ่มอีก 79 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Qualcomm, Broadcom, MediaTek, Synaptics และ NVIDIA
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่ได้รับแพตช์ จะมีดังนี้ครับ
ฟีเจอร์ใหม่ของ Galaxy S8 ที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยคือ Samsung DeX (Desktop eXperience) แปลงโทรศัพท์เป็นโหมด Desktop ใช้งานกับจอภาพ เมาส์ และคีย์บอร์ด ราวกับว่าเป็นพีซีจริงๆ โดยต้องต่อผ่านอุปกรณ์เสริม docking
กล่าวโดยสรุปคือ DeX คือการเปลี่ยน Android ให้เป็น Desktop OS อย่างแท้จริง รูปแบบจะคล้าย Windows 10 Continuum ของไมโครซอฟท์มากที่สุด (ถ้ายังไม่ถูกโลกลืม) แต่จะต่างจากแนวทางของกูเกิล ที่พยายามหลอมรวม Android เข้ากับ Chrome OS แทน
ผมมีโอกาสลองจับ Samsung DeX เป็นระยะเวลาสั้นๆ ในเดโมของซัมซุงที่งานแถลงข่าวเปิดตัว ได้ผลลัพธ์มาดังนี้ครับ
กูเกิลออกรายงาน Android Security 2016 Year in Review สรุปสถานการณ์ความปลอดภัยของ Android ตลอดทั้งปี 2016 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ในภาพรวม มาตรการต่างๆ ที่กูเกิลนำมาช่วยกรองไม่ให้ผู้ใช้ติดมัลแวร์ได้ผลดี อัตราการติดมัลแวร์ลดจำนวนลงจากในปี 2015 แต่อัตราการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ ยังไม่ดีนัก กูเกิลก็พยายามเลี่ยงข้อมูลนี้โดยไม่เผยข้อมูลอุปกรณ์ที่ได้แพตช์ "ล่าสุด" (บอกอ้อมๆ ว่า "เคยได้แพตช์อย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2016") แต่ในภาพรวมก็ถือว่าดีขึ้นจากปี 2015
จากที่นินเทนโดสัญญาไว้ว่า Super Mario Run บน Android เปิดให้เล่นวันที่ 23 มีนาคมนี้ วันนี้เกมก็เปิดให้ดาวน์โหลดบน Play Store เรียบร้อยแล้ว
เกมมีให้เล่นทั้งหมด 24 ด่าน โดยนินเทนโดเปิดให้เล่น 4 ด่านแรกฟรี ถ้าอยากเล่นทั้งหมดสามารถจ่ายเงินเพิ่มแบบ in-app purchase ราคา 9.99 ดอลลาร์ (349 บาท) ซึ่งจะปลดล็อคด่านทั้งหมดและโหมดอื่นๆ ให้เล่นด้วย
ที่มา - VentureBeat
Messenger Lite แอพพลิเคชั่นแชทที่แยกออกมาจาก Facebook Messenger ออกแบบมาสำหรับสมาร์ทโฟนสเปคต่ำ และใช้งานได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำกว่าค่าเฉลี่ย หลังจากเปิดให้ใช้บนแอนดรอยด์ ล่าสุดเปิดให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ในประเทศไทยแล้ว
Messenger Lite มีขนาดไฟล์ไม่ถึง 10 MB การทำงานและความสามารถเหมือน Facebook Messenger สามารถใช้งานหลักอย่างการพูดคุยส่งข้อความ รับและส่งรูปภาพ ลิงค์ และสติกเกอร์ไว้ทั้งหมด Messenger Lite ใช้โลโก้รูปสายฟ้าเช่นเดียวกันกับแอพ Messenger หลัก เพียงแต่สลับสีกันเป็นสายฟ้าสีฟ้าและพื้นหลังของบับเบิ้ลที่ใช้ในการแชทเป็นสีขาว
กูเกิลเปิดตัว Android O ที่ยังไม่รู้ว่าชื่อจริงว่าอะไร (แต่คนจำนวนมากก็ลุ้นให้เป็น Oreo) โดยมีฟีเจอร์ชุดแรกออกมาเพื่อฟังเสียงตอบรับจากนักพัฒนากันก่อน ฟีเจอร์เด่นๆ ได้แก่
ผ่านไปไม่นานหลังเดือนที่แล้ว Lineage OS มียอดผู้ใช้เกิน 5 แสนเครื่อง ล่าสุดยอดผู้ใช้สูงเกิน 1 ล้านเครื่องแล้ว (ณ เวลาเขียนคือราว 1 ล้านกับอีก 25,000 เครื่อง)
อุปกรณ์ที่มีการใช้งานมากที่สุดยังคงเป็น OnePlus One (Bacon) ที่ราว 67,000 เครื่อง ตามมาด้วย OnePlus 3 ที่ราว 39,229 เครื่อง, Galaxy S3 (i9300) ที่ 39,218, Redmi Note 3 (Kenzo) ที่ราว 38,000 เครื่องและ Galaxy S5 (klte) ที่ราว 31,000 เครื่อง
ที่มา - Lineage OS Stats via Android Police
ก่อนหน้านี้เราเห็นข่าว Galaxy S6 เริ่มได้อัพเดตเป็น Android Nougat แล้ว คราวนี้ถึงคิวของ Galaxy Note 5 ที่เริ่มได้อัพเดตกันบ้าง
ประเทศแรกที่มีข่าวการอัพเดตคือตุรกี โดย Samsung Turkey เริ่มปล่อยเฟิร์มแวร์เวอร์ชัน N920CXXU3CQC7 แล้ว
ซัมซุงยังไม่ประกาศข่าวการอัพเดตในประเทศอื่นๆ แต่ข่าวการอัพเดตในตุรกี ก็ถือเป็นสัญญาณอันดีว่าผู้ใช้ Note 5 ทั่วโลกไม่น่าจะต้องรอกันอีกนาน
ที่มา - SamMobile
หลังจากปล่อยให้ชาว Android รอกันมานาน (ไม่รู้ตลาดวายไปหรือยัง) ในที่สุดนินเทนโดก็ประกาศว่า Super Mario Run จะเปิดให้เล่นบน Android ในสัปดาห์หน้า 23 มีนาคม
ฝั่งของ iOS เองก็จะได้อัพเดตแอพเป็นเวอร์ชัน 2.0.0 ให้ทัดเทียมกัน โดยจะมีคาแรกเตอร์ใหม่ๆ เพิ่มมาให้เล่น และเปิดให้เล่น World 1-4 ที่จากเดิมต้องเสียเงินซื้อด้วย (จากเดิมฟรีเฉพาะ 3 ฉากแรก) หากผู้เล่นเอาชนะ challenge ในเกมได้
ที่มา - Polygon
กูเกิลออกแอพตัวใหม่ชื่อ Family Link เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถควบคุมการใช้งานมือถือ Android ของบุตรหลานได้
หลักการของ Family Link คือเด็กจะมีบัญชี Google Account ของตัวเองที่ผู้ปกครองเข้าถึงได้ กระบวนการใช้งานเริ่มจากผู้ปกครองดาวน์โหลด Family Link มาไว้ในเครื่องตัวเอง แล้วสร้างบัญชี Google Account ให้เด็กผ่านแอพนี้ จากนั้นเด็กล็อกอินบัญชี Google Account อันนี้ในเครื่องของตัวเอง บัญชีของเด็กจะสามารถจัดการได้จากแอพ Family Link ในเครื่องของผู้ปกครอง
ฟีเจอร์ของ Family Link สามารถดูปริมาณการใช้งานแอพต่างๆ, จำกัดชั่วโมงการใช้งานมือถือต่อวัน, สั่งห้ามใช้มือถือในช่วงที่ต้องการ (เช่น หลัง 3 ทุ่มจนถึงเช้า) และควบคุมการดาวน์โหลดแอพทุกตัว และสั่งบล็อคไม่ให้ดาวน์โหลดแอพบางตัวได้
ที่ผ่านมา Android ยังรองรับฟีเจอร์ของ Java ไม่ทันกับเวอร์ชันล่าสุด ส่งผลให้การนำฟีเจอร์ใหม่ๆ ของตัวภาษามาใช้กับ Android ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าไรนัก
แนวทางของ Android Nougat คือกูเกิลสร้างคอมไพเลอร์ตัวใหม่ Jack ที่รองรับ Java 8 ขึ้นมาเป็นทางเลือกจากคอมไพเลอร์ปกติของ Android โดยสถานะของ Jack ยังเป็นรุ่นทดลอง (experimental) ที่คาดว่าจะนำมาใช้แทนคอมไพเลอร์เดิมใน Android รุ่นถัดๆ ไป